SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  48
Télécharger pour lire hors ligne
รายงาน
โลกหลังโควิด-19:
บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
จัดทาโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
พฤษภาคม 2563
2
รายงาน
โลกหลังโควิด-19:
บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ: เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร ปาณัท ทองพ่วง ณัฐธิดา เย็นบารุง
อานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปีที่เผยแพร่: พฤษภาคม 2563
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
3
สารบัญ
หน้า
คานา 4
บทสรุปสาหรับผู้บริหาร 5-6
โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองนักคิดไทย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี 8-9
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์เสถียรไทย 10-12
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 13-19
รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ 20-23
ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ 24-26
โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไทย 28-30
โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองความมั่นคงทางทหาร 32-34
โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองนักคิดต่างประเทศ
Kishore Mahbubani 37
Joseph S. Nye, Jr. 38
John Allen 39
Richard N. Haass 40
Kori Schake 41
Nicholas Burns 42
บทสรุป
บริบทใหม่และข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทย 44-46
รายการอ้างอิง 47-48
4
คานา
โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงที่ทาให้มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตทั่วโลกจานวนมาก
รายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ระบุว่า จานวนผู้ติดเชื้อสะสม
ทั่วโลกมีสูงถึง 5,434,617 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วจานวนประมาณ 344,504 คน ในจานวนนี้
สหรัฐอเมริกามีจานวนผู้ติดเชื้อประมาณ 1.7 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 100,000 คน ถือเป็น
ประเทศที่มีจานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในโลก ขณะที่ประเทศไทยมีจานวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่
3,040 คน และมียอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 56 คน
รัฐบาลหลายประเทศได้ประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว เช่น
การปิดเมือง การจากัดจานวนผู้คนเดินทางระหว่างประเทศและภายในประเทศ การเว้นระยะห่างทาง
กายภาพและทางสังคม มาตรการเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตปกติทุกรูปแบบอย่างลึกซึ้ง โรคโควิด-19 มี
แนวโน้มทาให้สังคมเหลื่อมล้ายิ่งขึ้นในทุกมิติ เศรษฐกิจมหภาคของหลายประเทศถดถอยอย่างมาก และ
ทาให้การแข่งขันทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแหลมคมมากยิ่งขึ้น ขณะที่หลายประเทศ
เลือกแก้ปัญหานี้ด้วยกาลังของตนเองมากกว่าแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ แตกต่างจาก
ช่วงเวลาที่โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส (SARS) ระบาดในค.ศ. 2003
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่ปรากฏในสื่อส่วนใหญ่มักเป็นการรายงานสถานการณ์
และความคืบหน้า หรือเป็นการวิเคราะห์เฉพาะเหตุการณ์มากกว่าเป็นการนาเสนอองค์ความรู้ มุมมอง
(Perspectives) และข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงคัดสรร
รวบรวม และสังเคราะห์ทัศนะของนักคิด นักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจ นักการทหารของไทย และนักคิด
ต่างประเทศจากสื่อต่าง ๆ ทั้งบทความ บทวิเคราะห์ บทสัมภาษณ์ในรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงของโลกหลังโควิด-19 ในมิติสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเพื่อฉายภาพของ "บริบทใหม่
(New Context)" ที่กาลังจะเกิดขึ้นในระดับโลก พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ที่จะเป็นประโยชน์
ต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของโลกที่กาลังเปลี่ยนแปลงนี้
5
บทสรุปสาหรับผู้บริหาร
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
นักคิด นักธุรกิจ นักการทหารของไทย และนักคิดแนวหน้าของต่างประเทศต่างเห็นสอดคล้องกัน
ว่า ในโลกหลังโควิด-19 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งในระดับโลกและ
ระดับประเทศ ซึ่งจะกลายเป็น "บริบทใหม่ (New Context)" ของการกาหนดนโยบายของภาครัฐ และการ
ปรับตัวของภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป บริบทใหม่ดังกล่าวมี 3 ประเด็น ได้แก่ ดุลอานาจระหว่าง
ประเทศใหม่ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจใหม่ และทางเลือกทางความคิดใหม่
ในแง่ดุลอานาจระหว่างประเทศใหม่ การแข่งขันทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน
จะมีแนวโน้มเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากจีนมีบทบาทนาในระดับโลกมากขึ้น ดังที่แสดงออกในการช่วยเหลือ
ประเทศต่าง ๆ ในด้านมนุษยธรรม ขณะที่ความพยายามปิดล้อมและสกัดอานาจของจีนดารงอยู่อย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา และมีแนวโน้มดาเนินต่อไปไม่ว่าจะเปลี่ยนประธานาธิบดี
หลังการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ก็ตาม อีกด้านหนึ่ง องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทในการนาและ
ขับเคลื่อนวาระร่วมของโลกน้อยลง ทั้งองค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก องค์กรระหว่าง
ประเทศที่มีบทบาทอย่างแข็งขันกลับกลายเป็นสถาบันหรือกลไกระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน
สาหรับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจใหม่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโรคโควิด-19 ทาให้เกิด
เงื่อนไขทางเศรษฐกิจใหม่ 2 ประการ ประการแรก ประเทศในโลกจะแสวงหาระบบเศรษฐกิจและสร้าง
เครือข่ายการผลิตที่กระจายความเสี่ยง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากสงครามการค้า อย่างน้อยที่สุดคือ
ผู้ผลิตต้องสามารถผลิตเองให้ได้จุดคุ้มทุน อีกด้านหนึ่ง นักลงทุนและผู้ประกอบการจะคิดเรื่องการ
กระจายความเสี่ยงทางธุรกิจมากขึ้น ประการที่สอง การพัฒนาทางดิจิทัลจะเป็นอีกกระบวนการสาคัญที่
จะเป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนเพิ่มมูลค่าการพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจ การพัฒนาระบบ 5G จะเป็นปัจจัย
เร่งให้โลกาภิวัตน์มีความเร็วมากขึ้น เนื่องจากการสื่อสารแบบออนไลน์สามารถทาได้ไกลกว่า รวดเร็ว
กว่า และแม่นยากว่าระบบที่เป็นอยู่
บริบทใหม่ประเด็นสุดท้ายคือ ทางเลือกทางความคิดใหม่ แนวทางการรับมือโรคโควิด-19 ของ
ประเทศต่าง ๆ ทาให้เห็นว่า โลกหลังโควิดจะเป็นโลกที่ "ก้าวข้ามความคิดตะวันตก (Post-Westernism)"
เป็นโลกที่ความคิดและการปฏิบัติของตะวันออกเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ซึ่งความคิดแบบหลังตะวันตกนิยม
นี้ไม่ใช่ความคิดเดียวกันกับการต่อต้านตะวันตก (Anti-Westernism) นอกจากการก้าวข้ามความคิด
ตะวันตกแล้ว การพัฒนาที่ยั่งยืน การพึ่งตนเอง และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะกลายเป็น
ความคิดกระแสหลักกระแสหนึ่งของโลก ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคมจะมุ่งแสวงหาจุดสมดุลที่จะ
ทาให้ประเทศอยู่รอดและอยู่ดีได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
6
การปรับบริบทใหม่ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นให้กลายเป็นโอกาสนั้น ไทยควรมียุทธศาสตร์ที่รอบด้าน
เหมาะสม สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติได้ประมวลทัศนะของนักคิด นักธุรกิจ นักการทหารทั้ง
ไทยและต่างประเทศ และสังเคราะห์ ต่อยอดเป็นข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศ
ไทยควรใช้ประโยชน์จากเวทีระหว่างประเทศ เช่น เวทีองค์การอนามัยโลก เวทีอาเซียน ในการ
สนับสนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน มุ่งสร้างข้อเสนอที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของโลก เช่น การ
เผยแพร่ความคิดและแนวปฏิบัติเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโลก
หลังโควิด-19 โดยเฉพาะการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางสุขภาพ ซึ่งเป็นวาระที่
ประเทศไทยผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับแบ่งปันประสบการณ์ที่เป็นจุดแข็งของไทยในการควบคุม
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การทางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน ความ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทยที่มีต่อกันและมีต่อชาวต่างชาติให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภายในประเทศ
มีแนวโน้มว่า ประเทศต่าง ๆ จะหันกลับมาใช้แนวทางการพัฒนาประเทศแบบพึ่งตนเอง พึ่ง
ตลาดภายในมากขึ้นหลังโควิด-19 สิ้นสุด นักคิด นักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไทยหลายท่านเสนอว่า
ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้ โดยเชื่อมโยงและรับพลังความเข้มแข็ง
ทางเศรษฐกิจจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมกับขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
กับภูมิภาคเอเชียใต้ ทั้งนี้ ภาครัฐควรเลือกส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยมีความโดดเด่น
มาก เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นโดย
ใช้การพัฒนาทางดิจิทัลเป็นปัจจัยหนุนเสริมในการสร้างตลาดสาหรับสินค้าและบริการจากท้องถิ่น และ
ขยายช่องทางการจาหน่ายไปสู่ระดับชาติและต่างประเทศเป็นลาดับ
3. ยุทธศาสตร์การยกระดับความคิดของสังคม
โลกหลังโควิด-19 จะเป็นโลกแห่งความเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และ
การเมือง เป็นโลกแห่งความไม่แน่นอนและพลิกผัน สังคมไทยจึงจาเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันทางปัญญาที่จะ
ช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกลมกลืน
ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้แบบหลัง
ตะวันตกนิยมที่เน้นองค์รวมและความเข้มแข็งของการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็กไป
จนถึงชุมชนโลก พร้อมกับสนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ที่สั่งสม หลอมรวมขึ้นจาก
ประสบการณ์การพัฒนาของไทยออกไปสู่โลกภายนอก ทดแทนการนาความรู้ตะวันตกเข้ามาครอบงา
สังคมไทยดังที่เคยเป็นมาอย่างยาวนาน
7
โลกหลังโควิด-19
ในมุมมองนักคิดไทย
8
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีนักคิด นักวิชาการไทยหลายท่านได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับโลกหลัง
โควิด-19 อาทิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์
เสถียรไทย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะ
รังสรรค์ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติเห็นว่า ทัศนะของทุกท่าน
เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในฐานะองค์ความรู้ที่ทาให้เข้าใจสังคมไทย เป็นภูมิปัญญาที่ทาให้สังคมเตรียมพร้อม
ปรับตัวให้เข้ากับ "บริบทใหม่" ของโลกและไทยที่กาลังเปลี่ยนแปลง และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อ
ยอดเชิงนโยบาย สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้คัดสรร รวบรวม และสังเคราะห์ทัศนะของนักคิด นักวิชาการ
ทั้ง 5 ท่านจากบทความเผยแพร่สาธารณะในโลกออนไลน์ บทวิเคราะห์ บทสัมภาษณ์ในรายการต่าง ๆ
ซึ่งการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทัศนะของท่านเหล่านี้เป็นมุมมองของสถาบันคลังปัญญาฯ แหล่งข้อมูล
ทั้งหมดที่ใช้ประกอบการเรียบเรียงปรากฏอยู่ในรายการอ้างอิงท้ายเล่มรายงานฉบับนี้
สร้างความเข้มแข็งของการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์และนักวิชาการด้าน
สาธารณสุขและการศึกษาได้อธิบายสถานะของโลกก่อนและหลังโควิด-19 จานวน 2 ตอน พร้อมให้
ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายนโยบาย มีสาระสาคัญดังนี้
สถานะของโลกก่อนโควิด-19
นพ. ประเวศชี้ให้เห็นสถานะของโลกก่อนโควิด-19 ว่า เป็นโลกที่สะสมความตึงเครียดและความ
รุนแรงไว้อย่างมาก ความตึงเครียดที่ว่านี้หมายถึง ความตึงเครียดที่สะสมในตัวมนุษย์ที่แสดงอาการทาง
จิตประสาทและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่นโดยไม่มีสาเหตุ ภาวะซึมเศร้า ซึ่ง
กระตุ้นสมองส่วนหลังให้ "กัมมันตะ" มากขึ้น มนุษย์จึงใช้ "สัญชาตญาณ" มากกว่า "ปรีชาญาณ" ในการ
กระทาและแสดงออก ความตึงเครียดที่สะสมนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรงในระดับโลกที่ไม่ใช่แค่
ความรุนแรงทางกายภาพ แต่มี "ความรุนแรงอย่างเงียบ (Silenced Violence)" นั่นคือ ความทุกข์ยาก
และความอยุติธรรมทางสังคม ความเหลื่อมล้าทั้งภายในและระหว่างประเทศที่สุดโต่ง สมทบด้วยความ
ขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อุดมการณ์ ฯลฯ ผลคือ โลกมีแนวโน้มมุ่งไปสู่ภาวะมิคสัญญีหรือ
สงครามโลก ซึ่งโควิด-19 มีส่วนช่วยชะลอการปะทุในครั้งนี้
มุมมองต่อโลกหลังโควิด-19
นพ. ประเวศเสนอว่า โลกหลังโควิด-19 จะมี "อิทัปปัจจยตาสู่สภาพใหม่" ที่สรุปได้เป็น "7 ใหม่"
หรือ "7N" ได้แก่ จิตสานึกใหม่ (New Consciousness) การรับรู้ใหม่ (New Perception) วิธีคิดใหม่
(New Thinking) การทาใหม่ (New Action) ความมุ่งหมายใหม่ (New Purpose) ระบบการอยู่ร่วมกัน
9
ใหม่ (New System of Living) ยุคใหม่ของมนุษยชาติ (New Era of Mankind) ซึ่งทั้ง "7 ใหม่" นี้มีหลัก
คิดที่สอดคล้องกันคือ การเปลี่ยนวิธีคิดและการกระทาแบบแยกส่วนไปสู่การคิดเชิงบูรณาการ สร้าง
เอกภาพและความสอดประสาน เพราะ "ชีวิตคือการเชื่อมโยง การพัฒนาคือการเชื่อมโยง หรือบูรณาการ
ทุกองค์ประกอบเข้าด้วยกัน" ดังนั้น ความมุ่งหมายใหม่หลังโควิดคือ "การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล
(Living Together)" ไม่นาระบบที่ผิด ๆ เป็นจุดตั้งต้นดังที่ผ่านมา
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ฐานความคิดคิดของนพ. ประเวศอยู่ที่การสร้างองค์รวมและการสร้างความเข้มแข็งของการอยู่
ร่วมกันเป็นชุมชน ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็กไปจนถึงชุมชนโลก (World Community) "โดยแต่ละชุมชนมี
ความเป็นองค์รวม (Holistic) ของตัวเองและสัมพันธ์กับแบบผสมผสานส่วนย่อยเข้ากับระบบใหญ่
(Chaordic)" นอกจากข้อเสนอเชิงปรัชญาแล้ว นพ. ประเวศได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติที่จะเป็น
ประโยชน์ต่อการต่อสู้กับโควิด-19 ของภาคนโยบาย 2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรกคือ ให้ภาครัฐ
ปฏิบัติการในพื้นที่ความเสี่ยงสูงอย่างเข้มข้น และทยอยเปิดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่า พร้อมกับแสวงหา
กลไกใหม่ที่จะมาสนับสนุนการทางานของรัฐ อีกประเด็นหนึ่งคือ ให้จัดตั้ง "สภาผู้นาภาคธุรกิจเพื่อ
บรรเทาความยากจนเร่งด่วน" เนื่องจากภาคธุรกิจมีการจัดการที่ดีกว่าภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ
ภาคการศึกษา หรือภาคประชาสังคม กลุ่มผู้นาภาคธุรกิจส่วนใหญ่ "ก่อตัวขึ้นเอง (Self-organized)"
ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงมีศักยภาพที่จะให้ข้อเสนอแนะและชี้นาสังคมหลังโควิด-19 ต่อไปในระยะยาวได้
10
"โลกาสามัคคี โลกาพึ่งพา" ฝ่าวิกฤตโควิด-19
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความ
ปรองดองแห่งเอเชีย (APRC) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้วิเคราะห์
สถานะของระเบียบระหว่างประเทศปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และสถานะของระเบียบ
ดังกล่าวหลังโรคโควิดสิ้นสุด โดยมีประเด็นสาคัญดังนี้
โลกยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า "ความปกติแบบใหม่ (New Normal)"
โลกในขณะนี้เป็นโลกที่มีภาวะแบบที่ ดร. สันติธาร เสถียรไทย เรียกว่า "ความไม่ปกติแบบใหม่
(New Abnormal)" ซึ่งเป็นผลจากการดาเนินมาตรการต่าง ๆ ของรัฐที่กาหนดขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุม
การระบาด ดร. สุรเกียรติ์ตั้งข้อสังเกตว่า สถานะของระเบียบระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ขณะนี้เป็นปัจจัยที่
ผลักความร่วมมือออกไปมากกว่าจะเป็นการสนับสนุนความร่วมมือ ไม่มีการประชุมระดับระหว่างประเทศ
เพื่อแสดงเจตนาในการแก้ไขปัญหาตั้งแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อในเดือนมกราคม นอกจากการประชุม
อาเซียน-จีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรคของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน และบทบาทขององค์การ
ระหว่างประเทศและทบวงการชานัญพิเศษต่าง ๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การอนามัยโลก
(WHO) ก็ไม่ชัดเจน ทั้งที่ควรจะเป็นผู้นาในการคลี่คลายปัญหา
มาตรการป้ องกันและควบคุมโรคของแต่ละประเทศสะท้อนวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเอง
ธรรมชาติของคนไทยเป็นคนมีน้าใจ เกื้อกูล และมีความอดทนอย่างสูง แตกต่างจากสังคม
ตะวันตกที่รัฐพยายามจากัดบทบาท และให้ปัจเจกเป็นผู้รับผิดชอบปัญหามากกว่า ในระดับประเทศ
ประเทศในโลกตะวันออก เช่น จีน ใช้โอกาสจากโรคโควิด-19 ในการปรับบทบาทและแสดงความเป็นผู้นา
ระดับโลก เป็นประเทศที่ไปช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ ทั้งที่มีผู้ติดเชื้อจานวนมาก ภาคประชาสังคมของไทย
ก็ออกไปช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกัน ในขณะที่โลกตะวันตก ประเทศส่วนใหญ่ต้องช่วยเหลือ
ตัวเอง ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า โลกจะเป็นโลกแบบ "โลกาภิวัตน์ที่เป็นเสี่ยงเสี้ยว (Fragmented
Globalization)" เป็นโลกาภิวัตน์ไม่เต็มรูปแบบที่ประเทศต่าง ๆ หันไปเน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น และ
กลไกหรือสถาบันระหว่างประเทศระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน จะมีบทบาทมากขึ้น
โลกจะให้ความสาคัญแก่ความมั่นคงทางสาธารณสุขมากขึ้น
โลกพูดถึงความมั่นคงไม่ตามแบบ (Non-traditional Security) เช่น ความมั่นคงทางพลังงาน
ความมั่นคงทางอาหาร มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า โลกจะใส่ใจประเด็นความมั่นคง
ทางสุขภาพหรือความมั่นคงทางสาธารณสุขมากขึ้น ควรเน้นการส่งเสริมอาหารปลอดภัยที่สามารถต้าน
ไวรัสได้ด้วย ดร. สุรเกียรติ์เล่าว่า ในช่วงที่ดารงตาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น โรค
ทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส (SARS) กาลังระบาด และยังเกิดเหตุการณ์สึนามิ แต่ทั้ง
11
สองเหตุการณ์กลายเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ แตกต่างจากในครั้งนี้ที่
หลายประเทศขัดแย้ง แย่งกันส่งหน้ากากอนามัยออกนอกประเทศ แย่งชุดป้องกันไวรัส
เผชิญระเบียบโลกที่ไม่เป็นระเบียบ
กฎเกณฑ์การแข่งขัน (Rule of the Game) และกฎเกณฑ์การสานสัมพันธ์ (Rule of
Engagement) จะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนความขัดแย้งระหว่างสองมหาอานาจจะลุกลามกลายเป็นสงคราม
เย็นครั้งที่สองหรือไม่ ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า อาจเป็นสงครามเกือบเย็น (Cool War) มากกว่าสงครามเย็น
(Cold War) เช่นเดียวกับ Kevin Rudd อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียที่เสนอว่า เป็นสงครามเย็น 1.5
ไม่ใช่สงครามเย็น 2.0 เนื่องจากยังไม่มีตัวแทน (Proxy) อย่างไรก็ดี ประเทศต่าง ๆ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ
อดีตนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสแสดงความกังวลในการพูดคุยกับ ดร. สุรเกียรติ์ทางโทรศัพท์ว่า สื่อของ
ฝรั่งเศสเริ่มนาเสนอข่าวไปในทางเดียวกันกับสี่ออเมริกันที่สรุปว่า จีนเป็นต้นเหตุของไวรัสและควรจะต้อง
แสดงความรับผิดชอบ แต่หากย้อนกลับไปในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในค.ศ. 2008 และช่วงที่ไข้หวัด
ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1 ระบาดในค.ศ. 2009 ก็จะเห็นว่า ไม่มีใครเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา
ออกมาแสดงความรับผิดชอบเช่นกัน นี่คือระเบียบโลกที่ไม่เป็นระเบียบ
สถานะและบทบาทของสหรัฐอเมริกาและจีนจะยังเหมือนเดิมหรือไม่
ในอดีต ความเป็นมหาอานาจทางทหารของสหรัฐอเมริกาและความเป็นมหาอานาจทางเศรษฐกิจ
ของจีนค่อนข้างชัดเจน แต่ก็มีคาถามเกี่ยวกับสถานะมหาอานาจของทั้งสองเช่นกัน จีนเป็นประเทศที่
เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็กู้เงินเป็นจานวนมาก คาถามคือ จีนจะยังเป็นกลจักรสาคัญในการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศดังที่เคยพึ่งพาได้เหมือนในอดีตหรือไม่ ประเทศเหล่านั้นผลิตสินค้า
แล้วจะยังส่งไปขายจีนหรือไม่ ส่วนสหรัฐอเมริกา จะยังเป็นพี่ใหญ่ได้ต่อไปหรือไม่ ทรัมป์จะมีพฤติกรรม
อะไรน่าตื่นตาตื่นใจบ้างก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปี เนื่องจากคนอเมริกันชอบเห็นผู้นาที่
เป็นวีรบุรุษ ทาสิ่งที่แตกต่าง แต่การที่สหรัฐอเมริกาแยกการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีออกจากจีน ก็
แสดงให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาไม่เข้าใจห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain)
โลกจะเป็นโลกที่มีผู้นาหลาย ๆ คนในหลาย ๆ เรื่อง
การจัดการปกครองระดับโลกต่อจากนี้อาจจะมีหนึ่งหรือสองประเทศแข่งกันเรื่องการทหารและ
เศรษฐกิจ และจะมีหนึ่งหรือสองประเทศที่เป็นผู้นาด้านอาหารปลอดภัย เป็นผู้นาความมั่นคงทางสุขภาพ
(ซึ่ง ดร. สุรเกียรติ์ไม่ได้ระบุว่าเป็นประเทศใด) ประเทศที่เป็นผู้นาของประเด็นเหล่านี้จะเป็นผู้มีบทบาท
สาคัญในโลกหลังโควิด-19 ภาวะผู้นาแบบ "หลายประเด็น หลายขั้ว (Multi-issue/Multipolar
Leadership)" กาลังเกิดขึ้น ประเทศไทยมีโอกาสจะเป็นผู้นาในเรื่องเหล่านี้ได้ ในโลกหลังโควิด-19 นั้น
บางสิ่งจะกลับมาเหมือนเดิม บางสิ่งจะไม่เหมือนเดิม และบางสิ่งอาจกลายเป็นของใหม่ โลกกาลังอยู่ใน
ภาวะพลิกผัน เช่น บริษัท Uber ที่เคยรุ่งเรืองก็ปลดพนักงานออก เนื่องจากไม่สามารถรองรับความเสี่ยง
ที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 ได้ ขณะที่เทคโนโลยีเสมือนจริงต่าง ๆ เช่น การออกกาลังกายเสมือนจริง (Virtual
12
Exercise) จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจาวันมากขึ้น โลกจะไม่เหมือนเดิม แต่จะไม่เหมือนเดิม
อย่างไรนั้นไม่รู้ ที่สาคัญคือ เราไม่รู้ว่าเรายังไม่รู้อะไร
ยุทธศาสตร์ของไทยและอาเซียน
มีแนวโน้มว่า โลกหลังโควิด-19 จะเป็นโลกที่ต่างคนต่างอยู่ แข่งขันกัน ไม่ร่วมมือกันเท่าที่ควร
ขณะที่กลไกหรือสถาบันพหุภาคีก็มีบทบาทที่จากัด ต้องหันมาพึ่งองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค
เช่น อาเซียน ดร. สุรเกียรติ์จึงเสนอแนวคิด "โลกาสามัคคี โลกาพึ่งพา" ซึ่งเป็นแนวคิดโลกนิยม
(Globalism) แบบหนึ่งที่ทุกคนถ้อยทีถ้อยอาศัยกันในการฝ่าวิกฤต แนวคิดนี้สอดคล้องกับวิธีคิดแบบไทย
ดร. สุรเกียรติ์เล่าว่า เพื่อนชาวตะวันตกของท่านคนหนึ่งประทับใจลักษณะนิสัยของคนไทยที่โอบอ้อมอารี
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ คนไทยแบ่งข้าวให้ชายคนนั้นทั้งที่ตัวเองก็ไม่มี
รับประทาน ภาคประชาสังคมของไทยเองในขณะนี้ก็ทางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยเข้ามามี
บทบาทในการผลิตอุปกรณ์ เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีระดับท้องถิ่น (Local Technologist) ซึ่งรัฐเองก็ควร
ร่วมคิดด้วยว่า จะแก้กฎหมายอย่างไรเพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรที่มีความสามารถมาทางานร่วมกันได้
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ นอกจากนี้ รัฐควรส่งเสริมการน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาปฏิบัติ และส่งเสริมการสร้างความร่วมมือ เน้นแนวทางพหุภาคีนิยมไม่ใช่ชาตินิยม
นอกจากนี้ ประเทศไทยควรกาหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิ
เศรษฐกิจโลก เลือกส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical
Tourism) คิดค้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพียงพอที่สามารถทดแทนการส่งออก ดร. สุรเกียรติ์เล่า
ว่า ประเทศขนาดเล็กอย่างประเทศในตะวันออกกลางและสิงคโปร์ไม่มีความมั่นคงทางอาหาร สิงคโปร์ที่
เคยกระจายความเสี่ยงด้วยการส่งเสริมการผลิตในประเทศต่าง ๆ แล้วส่งกลับมาที่สิงคโปร์ก็มีปัญหา
เนื่องจากมีการปิดพรมแดนทั้งทางบกและทางอากาศ ดังนั้น ควรคานึงถึงกลไกหรือสถาบันที่ใหม่กว่า
WHO องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และธนาคารโลก (World Bank) อาเซียนควร
ตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาเพื่อช่วยกันระดมความคิดว่า ในสภาวะแบบนี้ ประเทศต่าง ๆ จะอยู่รอดได้
อย่างไร เอเชียจะช่วยคิดช่วยหาทางออกจากวิกฤตให้โลกได้อย่างไรบ้าง
ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า โควิด-19 เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นผู้นาของอาเซียน เนื่องจาก
อาเซียนเป็นสะพานเชื่อมภูมิภาค (Regional Bridge) ที่ทุกประเทศสบายใจ แตกต่างจากประเทศใหญ่ ๆ
ที่ประเทศอื่น ๆ มักจะระแวงเมื่อนาเสนอความคิดออกมาดังที่ปรากฏในการเสนอยุทธศาสตร์อินโด-
แปซิฟิกและข้อเสนอแถบและเส้นทาง (BRI) ดังนั้น ประเทศไทยต้องใช้ประโยชน์จากเวทีอาเซียนให้
เต็มที่
13
โลกที่ก้าวข้ามกรอบความคิดตะวันตก
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์
ชาติ และภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภาได้เขียนบทความเพื่อชี้ให้เห็นแง่งามของสังคมไทย และยังเสนอ
ประเด็นทางสังคมการเมืองที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับโลกหลังโควิด-19 ซึ่งจะเป็นโลกที่ "ก้าวข้ามกรอบ
ความคิดตะวันตก" และเป็นโลกที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนจะกลายเป็น
ความคิดหลัก บทความทั้งสามชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุ๊ก เอนก เหล่าธรรมทัศน์ – Anek
Laothamatas สถาบันคลังปัญญาฯ ได้นามาเผยแพร่ต่อทางเว็บไซต์ของสถาบันฯ และเผยแพร่ซ้าอีก
ครั้งโดยรักษาสาระสาคัญและสานวนของผู้เขียนไว้ในเอกสารส่วนนี้
สังคมไทยมีอะไรดี: ตอบจากไวรัสโควิด-19
สังคมไทยมีอะไรดีจริงหรือเปล่า? ในยามอื่น คาถามอย่างนี้คงตอบได้หลายแบบ ตอบกันยาว ใช้
ทฤษฎีและข้อมูลมากมาย แต่ความสาเร็จจากการขับเคี่ยวกับโควิด-19 ที่เกิดมาไม่กี่เดือนนี้ ทาให้เรา
ตอบได้ค่อนข้างมั่นใจว่า ใช่! สังคมไทยมีอะไรดีจริง ๆ ดี อย่างที่เราเองไม่เคยคิดกันมาก่อน
ภาคสังคม-ชุมชนหรือ "ประชาชน" ของเรานั้น เก่ง เข้าใจ และยอมรับสถานการณ์ระบาดที่หนัก
หน่วงได้และพร้อมใจกันอยู่ในกฎเกณฑ์และระเบียบวินัย มีความเห็นใจและโอบอ้อมอารีคนที่ลาบาก และ
ยังได้หนุนช่วยหยูกยา อุปกรณ์ ของใช้ของกินแก่บรรดา "นักรบแนวหน้า" รวมทั้งให้กาลังใจพวกเขา
อย่างเหลือล้น
อนึ่ง ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ แม้นายกรัฐมนตรีจะรวบอานาจของกรมและกระทรวงมามากมาย แต่
สังเกตเถิด ระบบฉุกเฉินของเราก็ส่งมอบอานาจและการวินิจฉัยสั่งการต่อให้จังหวัดต่าง ๆ ปรากฏการณ์
"กระจายการตัดสินใจ" ไปยังพื้นที่หรือไป "หน้างาน" อย่างนี้ ก็แทบไม่เคยเห็นกันมาก่อน และก็น่ายินดี
นะครับ ในแทบทุกจังหวัด เราคุมการระบาดของโรคอย่างได้ผล
พระราชกาหนดให้รัฐกู้เงินมาหนึ่งล้านล้านบาท เพื่อนามาช่วยเหลือชดเชยเยียวยาประชาชน
ทั่วไป รวมทั้งเกษตรกร หรือฟื้นฟูเศรษฐกิจกิจสังคมก็ออกมาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อประสานเข้ากับกองทุน
ประกันสังคม กระทรวงแรงงานที่สามารถนาเงินสะสมที่ผู้ใช้แรงงานใส่เข้าไปในกองทุนมาจ่ายให้แก่ผู้
ว่างงานจากเหตุการณ์โควิด-19 โดยที่เป็น "เหตุสุดวิสัย" ได้ ก็ทาให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบหลายสิบ
ล้านคน จะได้รับเงินเยียวยาจาก "ส่วนรวม" คือ จากรัฐบาล ได้
แน่นอน ประชาชนที่ไม่อยู่ในระบบประกันตน ได้รับเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท แต่ประชาชน
ที่ว่างงานแต่ประกันตนอยู่ในกองทุนประกันสังคมนั้น จะได้ราว 5- 9 พันบาท อาจมีคาถามครับ ว่า ทาไม
14
ถึงได้รับเงินไม่เท่ากัน? เหตุผล: ก็เพราะผู้ใช้แรงงานผู้ประกันตนกับกองทุนนั้นได้จ่ายเงินเดือนส่วนหนึ่ง
สมทบเข้าไปในกองทุนนี้มาเป็นเวลาหนึ่งแล้ว บางคนพูดได้ด้วยว่า "ฉันจ่ายมาให้ช้านานแล้ว ตั้งแต่ยัง
สาว" ดังนั้น เงินที่จะได้รับนั้น ย่อมชอบธรรมที่จะได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ประกันตน
เงินที่บรรดาผู้ประกันตน ซึ่ง ณ บัดนี้ว่างงาน จะได้รับมากกว่าประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ
นี้ อาจคิดได้ว่ามาจากเงินที่พวกเขาได้จ่ายสมทบเข้าไปทุกเดือน หนึ่ง บวกกับเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ
จานวนเดียวกันอีกหนึ่ง และยังบวกกับเงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเข้าไปอีกเป็นจานวนครึ่งหนึ่งของที่
ผู้ประกันตนได้จ่ายไปอีกหนึ่ง
แม้ว่าเงินราว 5- 9 พันบาทนี้ จะไม่ถือว่ามากมายนัก แต่อย่างน้อย ก็ทาให้ผู้ประกันตนตระหนัก
ว่า เงินที่พวกตน ผู้ใช้แรงงาน ได้จ่ายสมทบกองทุนเข้าไปทุกเดือน ทุกเดือนนั้น ไม่ได้สูญเปล่า ในคราวนี้
เงินนั้นก็หวนกลับมาช่วยตนเองที่ตกงานจาก "เหตุสุดวิสัย" ในภาวะที่ผลกระทบต่อนายจ้างก็หนักหน่วง
รุนแรง และฉันพลัน จนส่วนใหญ่นั้น แบกรับค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ว่างงานไม่ได้อยู่แล้ว
โลกยุคหลังโควิดก็คือ โลกที่ก้าวข้ามกรอบความคิดตะวันตก
ถามว่าหลังเหตุการณ์โควิด-19 โลกจะเป็นอย่างไร เปลี่ยนไปอย่างไร? ในความเห็นผม ยุคหลัง
โควิด-19 (Post-COVID-19) น่าจะเป็นยุคที่โลกตะวันออกจะเริ่มก้าวข้ามตะวันตก (Post-Western) ไป
ด้วย ทาไมจึงกล่าวเช่นนั้น?
ก่อนอื่น ในทางวิทยาศาสตร์เอง คือไวรัสวิทยาและระบาดวิทยา ศาสตราจารย์ นายแพทย์
ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา แห่งจุฬาฯ ผู้เป็นหัวกะทิในเรื่องโรคอุบัติใหม่ สรุปไว้น่าฟังว่า "ที่เราเอาตัวรอดมาจาก
โควิด-19 ได้ ก็เพราะไม่เชื่อความรู้เก่าของฝรั่ง" หากแต่เรา "มองไปที่จีนอย่างตั้งใจ จริงจัง ถอดความรู้
และบทเรียนจากเขามาเป็นสาคัญ" ขอขยายความว่า วงการตะวันตกนั้นบอกเราไว้ว่า "เจ้าโควิดเที่ยวนี้ก็
คงคล้ายไข้หวัด และ สอนเราว่า มันติดเชื้อจากสัตว์สู่คน แต่จีนกลับเชื่อว่ามันร้ายแรงกว่าไข้หวัด-ไข้หวัด
ใหญ่มาก เพราะติดจากคนสู่คนได้ด้วย และมีหลักฐานชี้ว่าเจ้าเชื้อนี้ยังกลายพันธุ์ได้รวดเร็ว" เสียด้วย
ผลลัพธ์: การปฏิบัติที่ผ่านไปชี้ว่าจีนนั้นมองอะไรได้ "ใหม่กว่า" และ "ถูกต้องกว่า" หมอและ
อาจารย์ "ฝรั่ง" ถามว่าแล้วไทยนั้น ทาอย่างไร? ตอบว่าแม้เราจะคล้อยไปทางจีน แต่ก็หาเดิน "ตามจีน"
ไม่ คือไม่ได้ปิดล้อมหรือกักกันอย่าง "เอาเป็นเอาตาย" ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการ
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ บอกว่า การปิดเมือง ปิดประเทศ แบบไทย คือ "ปิดแบบ รั่ว ๆ หรือ ปิดเป็นหลัก
แต่ก็ปล่อยบ้าง" นั่นคือ เราไม่ยอมปล่อยปละแบบตะวันตก ต่อสู้กับโควิด-19 ตามแบบของเราเต็มที่ แต่ก็
เดิน "สายกลาง" ซึ่งได้ผลเช่นกัน แต่ ความสาเร็จของเรานั้น เริ่มต้นที่วงการสาธารณสุขเรานั้น ไม่เป็น
15
"ตะวันตกจ๋า" ท่านหันหน้าออกจากตาราฝรั่ง ผินหน้าไปสู่จีน รับความรู้และแง่คิดดี ๆ ของจีน แต่ท่านก็
ตัดสินใจทาแบบไทย ๆ
ก็นี่แหละที่ชี้ว่า วงการสาธารณสุขและแพทย์ของเรา เดินหนทางที่เป็นอิสระมากขึ้น ได้ไป "ไกล"
กว่าฝรั่ง "ข้ามพ้น" ฝรั่งไปไม่น้อย (เรียกว่าท่านได้ เป็น Post-Western แล้ว) แน่นอน ที่ว่า "ก้าวข้าม"
หรือ "ไปให้ไกลกว่า" นั้น ไม่ได้แปลว่า "คัดค้าน" หรือ "ต่อต้าน" ตะวันตก (คนที่เป็นหรือที่คิดแบบ Post-
Western นั้น ไม่ใช่คนที่คิดหรือทาแบบ Anti-Western) เรายอมรับของดี และเหมาะสมจากเขา แต่ก็กล้า
ที่จะก้าวข้ามหรือไปให้ไกลกว่าได้หรือออกนอกกรอบตะวันตกในระดับที่พอดีและไปรับเอาความคิด
ประสบการณ์และกระบวนทัศน์ "ตะวันออก" ทั้งตะวันออกแห่งอดีต และตะวันออกที่เป็นปัจจุบัน มาปรับ
ใช้ มาคิด-ทา ร่วมกับทฤษฎีและการปฏิบัติแบบตะวันตก ที่ผสมผสานกันไปก็มี ที่หนุนเสริมกันไปก็มี ที่
แย้งกันไปก็ได้ ที่ต่อสู้กันไปก็ได้ แต่ล้วนคิด-ทาอย่างสร้างสรรค์
นอกจากเรื่อง "มดหมอ" แล้ว ระบาดโควิด-19 เที่ยวนี้ยังทาให้อุดมคติหรือแบบฉบับในทาง
เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกตะวันตก ถูกสั่นคลอนและท้าทาย โควิด-19 นั้นท้าทายโลกาภิวัตน์
มาก กล่าวได้ว่า เป็นความพลิกผัน (Disruption) ต่อโลกาภิวัตน์เลย ก็ว่าได้ เพราะตะวันตกนั้น
โดยทั่วไปเชื่อว่า ผลประโยชน์เฉพาะตน เฉพาะส่วน หรือเฉพาะชาติ (ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
Private Benefits) ที่มีการแข่งขันกันด้วยแล้วไซร้ จะนามาซึ่งเรื่องดี คือผลประโยชน์ของส่วนรวม (หรือ
Public Interest) โดยมี "มือ" ที่ "มองไม่เห็น" มาทาให้เกิดขึ้นเอง
แล้วความจริงล่ะ? การระบาดของโควิด-19 นั้นทาให้เห็นว่า ชาติต่าง ๆ (ที่ถือ เป็น Private
Benefits) นั้นขัดแย้งกันเหลือเกิน มีตั้งแต่โจมตีกันว่าใครเป็นคนปล่อยไวรัส หรือ อุปกรณ์การแพทย์ที่
ผลิตโดยบริษัทอเมริกัน แม้ในต่างประเทศนั้น รัฐบาลอเมริกันก็ห้ามขายไปประเทศอื่น ให้ขายหรือส่งต่อ
ให้บริษัทอเมริกันเท่านั้น เราซึ่งเคยสั่งซื้อวัคซีน ยา หน้ากาก ชุด PPE จากต่างประเทศอย่างสะดวก
บัดนี้ ในยุคที่โควิดบุกโจมตี ของข้างต้นหาซื้อได้ยาก หรือ ซื้อไม่ได้ ก็มี ทั้งที่มีเงินทองพอซื้อ แสดงว่า
ระบบที่อาศัยตลาด (Market) แบบตะวันตก แต่ใดมา บัดนี้ ไม่เพียงพอที่จะทาให้ผลประโยชน์ส่วนรวม
ของโลกเกิดได้
ในยามที่วิกฤตใหญ่ของโลกมาเยือนนั้น ตลาดหรือตลาดโลกจะถูกรัฐ โดยเฉพาะมหาอานาจ
แทรกแซง เป็นเศรษฐกิจที่รัฐจัดการจนตลาดแทบหมดความหมาย อาจเรียกได้ว่าเป็น "ทุนนิยมโลกแบบ
มีการจัดการ (Managed Global Capitalism)" หรือเป็นระบบ "พาณิชยนิยมใหม่" (Neo-Mercantilism) ที่
รัฐเข้ามาชี้นา-จัดการเศรษฐกิจอย่างหนัก ขะมักเขม้นปกป้องอุตสาหกรรมหลัก กีดกันสินค้านาเข้าเป็น
"ชาตินิยม" ทางเศรษฐกิจชัดเจน ยอมรับระบบตลาดก็เพียงแต่น้อย ทั้งไม่รับอุดมคติโลกาภิวัตน์ รัฐบาล
จะมุ่งสร้างความเพียงพอ ความเข้มแข็ง และขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจชาติเป็นสาคัญ
โมเดลทางเศรษฐกิจแบบนี้อย่าประมาท อาจกลับมาเป็นกระแสหลักได้ สืบต่อจากที่โควิดระบาดไปทั่ว
โลก
16
ฉะนั้น หลังจากนี้ รัฐที่สนใจน่าจะมีการสร้างให้ทุนนิยมหรือระบบตลาดของตนมีสาระและ
เป้าหมายในทางสังคมด้วย แทนที่จะยอมให้มีแต่การแข่งขันล้วน ๆ เช่น เป็นไปได้ไหมที่จะมีทุนนิยม
"เพื่อคนยากจนหรือคนด้อยโอกาส" หรือมีทุนนิยมที่ "เอื้อหนุนสิ่งแวดล้อมที่ดี" หรือมีกระทั่ง "ทุนนิยม
เพื่อสุขอนามัยโลก" หรือทุนนิยมที่เปิดให้มี "เศรษฐกิจพอเพียง" เคียงคู่กันไป การคิดแบบนี้ทานองนี้จะ
ทาให้เราออกจากกระบวนทัศน์เดิม
ในแง่ของอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น แนวคิดตะวันตกอย่าง "เสรีนิยม" และ "ประชาธิปไตย" เมื่อ
วัดจากการสู้ภัยโควิด ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสักเท่าไร การแก้ปัญหายามวิกฤตนั้น ความจริง
แล้ว ชาติที่ทาได้สาเร็จไม่ใช่ "แม่แบบ" ของระบอบประชาธิปไตย เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ประเทศ
เหล่านี้ดูแล้วล้วนแต่ "พ่ายแพ้" หรือ "บาดเจ็บอย่างหนัก" จากสงครามโควิด-19
แม้แต่ความเข้มแข็ง ชอบธรรม หรือความดีของอุดมการณ์ "เสรีนิยม" ก็ควรคิดทบทวนใหม่ แต่
ไหนแต่ไรมาสานัก "เสรีนิยม" นั้น มองว่า สังคมอันประกอบไปด้วยปัจเจกชนนั้นเป็นจุดก่อกาเนิดของรัฐ
การมีรัฐนั้น จะต้องตอบสนองต่อปัจเจกชน และสิ่งที่คนตะวันตกหวงแหนที่สุด ต้องการเป็นที่สุด ก็คือ
"ความเป็นส่วนตัว" และ "สิทธิเสรีภาพ" สานักเสรีนิยมจึงได้สอนว่ารัฐนั้นต้องแทรกแซงหรือบงการสังคม
ให้น้อยที่สุด
ทว่า ในความเป็นจริง ครั้นเกิดไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก รัฐบาลล้วนจาต้อง "ล็อกดาวน์" เมือง
และประเทศ ผู้คนตะวันตกในหลายประเทศจานวนไม่น้อยทนไม่ได้ ชุมนุมประท้วงการ "ปิดเมือง" และ
พูดถึงขนาดว่า "จะมีคนตายไปบ้างก็ไม่เป็นไร" และ "อะไรจะเกิดก็ช่าง เศรษฐกิจจะต้องดาเนินต่อไป"
เกือบจะตรงข้าม ในด้านตะวันออกของโลก ความคิดดั้งเดิมที่ไม่ถูกครอบงาด้วยคติเสรีนิยมเสีย
ทั้งหมด ทาให้ผู้คนยังสนใจเพื่อนบ้าน สนใจและห่วงใยญาติพี่น้อง เห็นใจ สงสารคนในชาติ พร้อมกันนั้น
ก็เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กาลังใจ ช่วยเหลือ คนอื่น พากัน "ยอมเจ็บ" ในเรื่องการงาน เรื่องอาชีพและธุรกิจ
ยอมสูญเสียเสรีภาพชั่วขณะ กักตัวเองในบ้าน ส่วนรัฐเองนั้น ก็แสดงบทบาท มีการสั่งการ บังคับ เพื่อจะ
ปกป้องชีวิตผู้คน รัฐบาลไทยดูจะทาอะไรได้ค่อนข้างเต็มที่ ไม่ถูกพันธนาการไว้ด้วยข้ออ้างหรือข้อห้าม
อันสืบเนื่องมาจาก "สิทธิเสรีภาพ" มากนัก
ความจริงสังคมไทยก็สนใจและกังวลเรื่องสิทธิและเสรีภาพอยู่พอควร แต่ก็ไม่เท่ากับที่เป็นไปใน
ตะวันตก และในการปฏิบัติ ไทยมีแนวทางของตนเองในการสู้โควิด-19 ที่ค่อนข้างจะได้ผล เมื่อเป็นเช่นนี้
แล้ว แนวการเมืองและสังคมในโลกเรานี้ ก็ใช่จะมีแต่เพียง "เสรีนิยม" สุดขั้ว หรือ "ประชาธิปไตย" สุดขั้ว
เท่านั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละที่ แต่ละส่วนของโลกมีแนวทางและส่วนผสมจากหลายแหล่งที่
ผสมผสานได้ด้วยตนเอง แต่ละที่ทาเองได้มากขึ้น
17
กล่าวโดยรวม โลกยุคหลังโควิด นั้นน่าจะเป็นโลกที่ในความคิดและการปฏิบัติ "ก้าวข้าม
ตะวันตก" หรือ เป็นโลกยุค "หลังตะวันตก" ไปในตัว เพราะขณะนี้หมดเวลาแล้วที่ฝ่าย "ตะวันตก" จะเป็น
ใหญ่แต่ฝ่ายเดียว สั่งสอนและให้ความรู้แต่ฝ่ายเดียว ฝ่าย "ตะวันออก" นั้นจะสาคัญขึ้น มีอะไรดี ๆ มอบ
แก่โลก แม้แต่ในด้านอุดมคติและแนวทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมด้วย พูดอีกอย่างได้ว่า โลกมีทีท่าว่า
จะออกจากแนว "ตะวันตกนิยม" แท้ ๆ หรือ "ตะวันตกนิยมสุดขั้ว" ไปสู่กรอบใหม่ ที่ไม่ปฏิเสธตะวันตก
แต่สนใจที่จะดึงเอา เลือกเอาสิ่งทีดี สิ่งที่มีคุณค่าจากโลกตะวันออกมาผสมด้วย ซึ่งผมจะเรียกกรอบ
ความคิดใหม่นี้ว่า "ก้าวข้ามตะวันตก" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "Post-Westernism" ซึ่งขอย้า ณ ที่นี้ว่า
ไม่ได้หมายความเราจะทิ้ง "ตะวันตก" ไปเสียหมด หากแต่จะกล้ารับเอาอะไรที่ดีที่เหมาะสมที่ถูกต้องของ
"ตะวันออก" เข้ามาผสมผสานด้วย จึงจะทาให้อยู่กับวิกฤตและฝ่ามันไปได้
ตัวอย่างของความคิดแบบ "ก้าวข้ามตะวันตก" (Post-Westernism) ที่กลั่นกรองเอาจาก
เหตุการณ์โควิด-19 ในไทยนั้น มีอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม? ผมขอเสนอว่า อาจหมายถึงว่า หน่วยหลักของ
เศรษฐกิจไทยนั้นควรมี "บ้านและชุมชน" อยู่ด้วย ซึ่งย่อมจะต่างไปจากความคิดตะวันตกพอควรที่เชื่อว่า
หน่วยหลักเศรษฐกิจนั้น คือ โรงงาน หรือออฟฟิศ หรือเมือง แต่ของไทยเรานั้นควรจะเป็นบ้านและชุมชน
ซึ่งอยู่ทั้งในเมืองและชนบท นั่นประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง คือแง่คิดตะวันออกนั้น มักจะเห็นผู้คนทั้งหลายเป็น "มนุษย์รวมหมู่" มากกว่า
เป็น "มนุษย์ปัจเจก" แบบตะวันตก เรานั้นไม่ได้ชื่นชมการอยู่และการทางานด้วยตนเองเท่านั้น แต่ชอบ
ช่วยเหลือกัน ห่วงใยกัน สงสารกัน เราควรเห็นว่านี่เป็นของดี ของจริงของเรา และยอมรับว่า มันเป็นจุด
แข็งของไทย
ผมยังคิดต่อด้วยว่า "ของดี" "ของเด่น" "เรื่องดี" "เรื่องน่าสนใจ" ของไทยนั้น นักวิชาการไทยต้อง
เร่งสร้างทฤษฏีขึ้นมาอธิบาย อย่าอาศัยทฤษฎีตะวันตกร่าไป เสร็จแล้วเผยแพร่ ส่งความรู้และทฤษฎีแบบ
ไทย "ออกนอก" กันบ้าง เป็นเวลานานเต็มทีแล้ว ที่พวกเรายอมเป็นเพียงพวก "รับหรือนาเข้า" ความรู้
และทฤษฎีของฝรั่ง แต่หลังโควิด-19 นี้ เราควรจะมองความรู้ความคิดของไทยและตะวันออกอื่น ๆ ทั้งที่
มีมาแต่ดั้งเดิม ทั้งที่นามาจากตะวันตกแล้วประยุกต์ใช้ในยุคสมัยใหม่ แต่มีข้อสรุปหรือทฤษฎีที่แตกต่าง
จากของ "ฝรั่ง" เจ้าของเดิมนั้น และเร่ง "ส่งออก" ความรู้ของเราไปให้โลกภายนอกได้รับรู้ด้วย
วิกฤตโควิดกับเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อคราววิกฤต "ต้มยากุ้ง" พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) เราได้เห็นความสาคัญของชนบทและภาค
เกษตรที่ช่วยรองรับคนว่างงานกลับบ้าน ออกจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมาอยู่มากินในชนบท
ความลาบากในยามนั้นทาให้เราคิดกันได้ว่า เงินทองนั้นเป็นเพียง "มายา" ข้าวปลาอาหารต่าง ๆ คือ
"ของจริง" แม้อยาก "ทันโลก" อยาก "รุ่งเรือง" ปานใด ก็จะทิ้งภาคเกษตร-อาหารไม่ได้
18
วิกฤตโควิด-19 เที่ยวนี้ ทาให้ได้เห็นกันถึงความสาคัญของความ "พอเพียง" อีกครั้งหนึ่ง ในแง่ที่
เราจะอาศัยแต่ตลาดโดยเฉพาะตลาดโลกมาจัดหาหยูกยา วัคซีน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการ
แพทย์ไม่ได้ ในยามที่วิกฤตเกิดทั้งโลกนั้น ถึงเรามีเงิน เขาก็ต้องเก็บ "ของ" ไว้ใช้เอง ไม่ยอมขายเรา เงิน
ทองเป็น "มายา" อีกรอบ "หยูกยา" ต่างหากคือ "ของจริง"
ในช่วงที่ผ่านมานี้ ก็มีข่าวดีว่ากองทัพเรือประดิษฐ์ห้องความดันต่าสาหรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ เป็น
แบบง่าย ๆ อาศัยประสบการณ์ของทหารเรือในการทาอุปกรณ์ดาน้า ผมลองคุยกับหมอ ๆ ทั้งหลายดู ไม่
แน่ใจนะครับว่า เขาจะยอมใช้ "ของใน" กันแทน "ของนอก" ง่าย ๆ ไหม
ก็ด้วยธรรมชาติเดิม นั่นแหละ แทนที่จะพากันตื่นเต้น และวางแผนให้เกิดห้องความดันต่าแบบ
"เมด อิน ไทยแลนด์" ให้จงได้ แพงหน่อยก็ต้องทา รัฐต้องวางแผนสนับสนุน แม้ไม่ดีหน่อย เราก็ให้
โอกาส ให้ปรับปรุงกันไป ทาให้การแพทย์-สาธารณสุขของไทยไม่เพียงจะ "ทันสมัย" หรือ "เก่งระดับ
โลก" อย่างที่คุยกันอยู่ แต่ยังจะ "พอเพียง-พึ่งตนเอง" ได้มากขึ้นด้วย แน่นอนครับ เราย่อมไม่ปิดกั้นการ
เอาต่างชาติมาร่วมทาร่วมลงทุน เพียงเราต้องเป็นหุ้นใหญ่ และผลิตใช้ในประเทศเป็นสาคัญ ในยามคับ
ขัน ก็ห้ามส่งออกได้ และเรานั้นไม่ปฏิเสธ "ตลาด" แต่ก็ไม่อาศัยแต่เพียง "ตลาด" และระบบ "โลกาภิวัตน์"
มาจัดหาหรือจัดสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์-สาธารณสุขที่สาคัญ
ก่อนหน้าเรื่องนี้ ก็มีอีกเรื่องหนึ่ง คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ผลิตเครื่องช่วย
หายใจแบบง่าย ๆ ขึ้นมาได้ มีคนชื่นชมและให้กาลังใจมากมาย แต่ก็มีคุณหมอจานวนหนึ่ง ทั้งที่ยังไม่
เห็นเครื่อง ก็อดเป็นห่วงก่อนว่ามาตรฐานอาจจะไม่ถึง ช่วยชีวิตไม่ได้จริง ครับ หากคิดแบบเดิม คุณหมอ
และพยาบาล ย่อมไม่ค่อยอยากลอง เพราะ ยัง "สู้ของนอกไม่ได้"
เรามีวิศวกร ช่างฝีมือ นักประดิษฐ์ที่มีความสามารถไม่น้อย วิกฤตโควิดแทบทั้งโลกเช่นนี้ รัฐบาล
และสังคมต้องเปลี่ยนหลักคิด พลิกวิกฤตมาเป็นโอกาส เวลานี้เห็นชัดแล้วว่าเราอยู่แถวหน้าของโลกทาง
อาหารและทางแพทย์-สาธารณสุข อีกในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ อาหารรวมทั้งข้าวจะแพง หายากกันทั้งโลก
ถ้าเราทาเป็น ทาทัน อย่าจมอยู่กับไวรัสอย่างเดียว เร่งทาการเพาะปลูก จะมีรายได้มหาศาลกัน แต่อย่า
ลืม: คนไทยเองต้องมีอาหารพอเพียงด้วย ขณะเดียวกัน ได้เห็นแล้วว่าการแพทย์-สาธารณสุขของเรานั้น
ดีจริง แต่ต้องเปลี่ยนให้ "พึ่งตนเอง" ให้ได้มากขึ้น
สุดท้าย ภาคท่องเที่ยว ที่เคยทารายได้ให้ประเทศมากมายนั้น ก็ต้องฟื้นขึ้นมา อย่าปล่อยให้ฟุบ
อยู่นานเกินไป เฉพาะหน้านี้ อาจทา "ท่องเที่ยวเชิงสุขอนามัย" เป็นที่กักเก็บตัวคนชั้นกลางชั้นสูงทั่วโลก
โดยชี้ให้โลกเห็นว่า นักท่องเที่ยวเหล่านั้น อยู่กับระบบการแพทย์และสุขอนามัยที่ดีในระดับโลก
19
ทั้งหมดนี้มีรายละเอียด ซึ่งต้องคิดกันต่อไป ฝรั่งมักจะพูดว่าถ้าจะตามหา "พระเจ้า" มาช่วยทา
เรื่องแสนยากแสนยุ่งให้เกิดขึ้นได้นั้น จะไปหาท่านได้ที่ไหน คาตอบ: ท่านสถิตอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า
"รายละเอียด" ไงครับ ช่วยกันคิดต่อไปด้วยนะครับ
20
ไทยต้องเป็นศูนย์กลางของอาเซียนให้ได้
รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์
รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ให้
สัมภาษณ์เกี่ยวกับโลกท่ามกลางโควิด-19 และแนวโน้มโลกหลังโควิด โดยมีประเด็นสาคัญดังนี้
การพัฒนาทางดิจิทัล (Digitalization)
ระบบ 5G จะเป็นปัจจัยเร่งให้โลกาภิวัตน์มีความเร็วมากขึ้น การสื่อสารแบบออนไลน์สามารถทา
ได้ไกลกว่า รวดเร็วกว่า และแม่นยากว่าระบบที่เป็นอยู่
การพัฒนาทางการแพทย์ (Medicalization)
แนวโน้มการบริการทางการแพทย์มีทั้งการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นและการร่วมมือกันมากขึ้น
เช่น สหรัฐอเมริกาใช้แนวคิด 3 ประสาน รัฐ-เอกชน-กองทัพร่วมกันคิดค้นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เสร็จ
ภายในต้น ค.ศ. 2021 ขณะที่จีนประกาศเร่งทาให้เสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ ดร. สมภพเห็นว่า จีนจะมี
บทบาทนาในทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น และอาจกลายเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการแพทย์ต่อสู้โค
วิด-19 ประเทศไทยเองก็มีศักยภาพ เนื่องจากมีจุดแข็งด้านระบบสาธารณสุข แต่ที่ผ่านมา ประเทศไทย
เน้นไปที่การรักษาโรค ในอนาคต ควรเน้นต่อยอดการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะยาและเวชภัณฑ์ ให้ครบ
วงจรมากขึ้น
การพัฒนาทางการเงิน (Financialization)
โรคโควิด-19 ทาให้เห็นว่า บทบาทของธนาคารกลางสาคัญมาก และมีส่วนสาคัญในการประคอง
ตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ให้ดีขึ้นด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นที่
ยอมรับตั้งแต่สมัยอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีทุนสารองประมาณ 2.2 แสนล้าน
เหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หนี้สาธารณะก็อยู่ในอัตราที่ดี
ปัจจัยด้านการคลังก็ดี ดร. สมภพเห็นว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่พอดาเนินไปได้ล้วนมาจาก
บทบาทของธนาคารกลาง (FED) โดยเฉพาะการใช้บาซูก้าการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังโควิด-19
บทบาทของรัฐในการพัฒนาทางการเงินจะเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี ดร. สมภพ เสนอให้พิจารณา "ความปกติต่อไป (Next Normal) นอกเหนือจาก
"ความปกติแบบใหม่ (New Normal)" ด้วย ที่ผ่านมา ภาคการเงินของโลกเติบโตมาก แต่ภาคเศรษฐกิจ
จริงกลับไม่เติบโตเท่าที่ควร และการที่เศรษฐกิจโลกไม่มีเงินเฟ้อมากนักก็เนื่องมาจากเงินที่รัฐอัดฉีด
ออกไปอยู่ในภาคการเงินเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้อยู่ในภาคเศรษฐกิจจริง คนอเมริกันมีเงินออมที่เป็นเงินสด
ไม่เกินคนละ 400 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น มีแนวโน้มว่า กองทุนบริหารความเสี่ยง (Hedge Fund) จะ
ร่ารวยมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน โลกก็จะเหลื่อมล้ายิ่งขึ้นด้วย
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ

Contenu connexe

Tendances

สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034Kasem Boonlaor
 
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Klangpanya
 
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2sarawut chaicharoen
 
เรื่อง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง  การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรื่อง  การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าSomporn Laothongsarn
 
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...KruNistha Akkho
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็นTaraya Srivilas
 
เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558
เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558
เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558ปริญญา สุโพธิ์
 
Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62Wichai Likitponrak
 
การดูแลผู้ป่วย Replantation
การดูแลผู้ป่วย Replantationการดูแลผู้ป่วย Replantation
การดูแลผู้ป่วย ReplantationNattakul Yamprasert
 
วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...
วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...
วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...Joy Kularbam
 
GHY101 Unit 1.a How to excel on the exams
GHY101 Unit 1.a How to excel on the examsGHY101 Unit 1.a How to excel on the exams
GHY101 Unit 1.a How to excel on the examsMark M. Miller
 
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์อนุชา โคยะทา
 
แรงและการเคลื่อนที่
แรงและการเคลื่อนที่แรงและการเคลื่อนที่
แรงและการเคลื่อนที่Dew Thamita
 
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน Sircom Smarnbua
 
ตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISA
ตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISAตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISA
ตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISAChay Kung
 
Slชุดการสอนวงจรไฟฟ้า
Slชุดการสอนวงจรไฟฟ้าSlชุดการสอนวงจรไฟฟ้า
Slชุดการสอนวงจรไฟฟ้าkrupornpana55
 
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก Suparat2804
 

Tendances (20)

สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาวัสดุศาสตร์ 3 พว32034
 
ทักษะการปฏิเสธ
ทักษะการปฏิเสธทักษะการปฏิเสธ
ทักษะการปฏิเสธ
 
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
 
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
 
เรื่อง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง  การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรื่อง  การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เรื่อง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558
เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558
เปิดสอบทหารสัญญาบัตร 155 อัตรา 2558
 
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
 
บริบทโลกและเศษฐกิจพอเพียง 6 เฟรม
บริบทโลกและเศษฐกิจพอเพียง 6 เฟรมบริบทโลกและเศษฐกิจพอเพียง 6 เฟรม
บริบทโลกและเศษฐกิจพอเพียง 6 เฟรม
 
Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62
 
การดูแลผู้ป่วย Replantation
การดูแลผู้ป่วย Replantationการดูแลผู้ป่วย Replantation
การดูแลผู้ป่วย Replantation
 
วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...
วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...
วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดธ...
 
GHY101 Unit 1.a How to excel on the exams
GHY101 Unit 1.a How to excel on the examsGHY101 Unit 1.a How to excel on the exams
GHY101 Unit 1.a How to excel on the exams
 
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
 
แรงและการเคลื่อนที่
แรงและการเคลื่อนที่แรงและการเคลื่อนที่
แรงและการเคลื่อนที่
 
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
 
ตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISA
ตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISAตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISA
ตัวอย่างข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอบ PISA
 
Slชุดการสอนวงจรไฟฟ้า
Slชุดการสอนวงจรไฟฟ้าSlชุดการสอนวงจรไฟฟ้า
Slชุดการสอนวงจรไฟฟ้า
 
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
 

Similaire à โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ

อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติTeeranan
 
1 การพัฒนาที่ยั่งยืน
1 การพัฒนาที่ยั่งยืน1 การพัฒนาที่ยั่งยืน
1 การพัฒนาที่ยั่งยืนWatcharin Chongkonsatit
 
World issues 160155
World issues 160155World issues 160155
World issues 160155Teeranan
 
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...Klangpanya
 
World issues
World issuesWorld issues
World issuesTeeranan
 
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าบทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าTeeranan
 
Global issues 220355
Global issues 220355Global issues 220355
Global issues 220355Teeranan
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางUSMAN WAJI
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางKlangpanya
 
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...Klangpanya
 
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน Klangpanya
 
Chapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern cultureChapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern cultureTeetut Tresirichod
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559Klangpanya
 
โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์Lao-puphan Pipatsak
 
โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์Jib Dankhunthot
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559Klangpanya
 
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไรบทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไรSakdaNasongsi1
 

Similaire à โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ (20)

รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
ภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
 
1 การพัฒนาที่ยั่งยืน
1 การพัฒนาที่ยั่งยืน1 การพัฒนาที่ยั่งยืน
1 การพัฒนาที่ยั่งยืน
 
World issues 160155
World issues 160155World issues 160155
World issues 160155
 
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
 
World issues
World issuesWorld issues
World issues
 
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าบทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
 
Global issues 220355
Global issues 220355Global issues 220355
Global issues 220355
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
 
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
 
Chapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern cultureChapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern culture
 
Gat1 มี.ค. 60
Gat1 มี.ค. 60Gat1 มี.ค. 60
Gat1 มี.ค. 60
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
 
โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์
 
โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
 
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไรบทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
 

Plus de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ

  • 2. 2 รายงาน โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ: เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร ปาณัท ทองพ่วง ณัฐธิดา เย็นบารุง อานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปีที่เผยแพร่: พฤษภาคม 2563 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 3 สารบัญ หน้า คานา 4 บทสรุปสาหรับผู้บริหาร 5-6 โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองนักคิดไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี 8-9 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์เสถียรไทย 10-12 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 13-19 รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ 20-23 ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ 24-26 โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไทย 28-30 โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองความมั่นคงทางทหาร 32-34 โลกหลังโควิด-19 ในมุมมองนักคิดต่างประเทศ Kishore Mahbubani 37 Joseph S. Nye, Jr. 38 John Allen 39 Richard N. Haass 40 Kori Schake 41 Nicholas Burns 42 บทสรุป บริบทใหม่และข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทย 44-46 รายการอ้างอิง 47-48
  • 4. 4 คานา โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงที่ทาให้มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตทั่วโลกจานวนมาก รายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ระบุว่า จานวนผู้ติดเชื้อสะสม ทั่วโลกมีสูงถึง 5,434,617 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วจานวนประมาณ 344,504 คน ในจานวนนี้ สหรัฐอเมริกามีจานวนผู้ติดเชื้อประมาณ 1.7 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 100,000 คน ถือเป็น ประเทศที่มีจานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในโลก ขณะที่ประเทศไทยมีจานวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,040 คน และมียอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 56 คน รัฐบาลหลายประเทศได้ประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว เช่น การปิดเมือง การจากัดจานวนผู้คนเดินทางระหว่างประเทศและภายในประเทศ การเว้นระยะห่างทาง กายภาพและทางสังคม มาตรการเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตปกติทุกรูปแบบอย่างลึกซึ้ง โรคโควิด-19 มี แนวโน้มทาให้สังคมเหลื่อมล้ายิ่งขึ้นในทุกมิติ เศรษฐกิจมหภาคของหลายประเทศถดถอยอย่างมาก และ ทาให้การแข่งขันทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแหลมคมมากยิ่งขึ้น ขณะที่หลายประเทศ เลือกแก้ปัญหานี้ด้วยกาลังของตนเองมากกว่าแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ แตกต่างจาก ช่วงเวลาที่โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส (SARS) ระบาดในค.ศ. 2003 อย่างไรก็ดี ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่ปรากฏในสื่อส่วนใหญ่มักเป็นการรายงานสถานการณ์ และความคืบหน้า หรือเป็นการวิเคราะห์เฉพาะเหตุการณ์มากกว่าเป็นการนาเสนอองค์ความรู้ มุมมอง (Perspectives) และข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงคัดสรร รวบรวม และสังเคราะห์ทัศนะของนักคิด นักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจ นักการทหารของไทย และนักคิด ต่างประเทศจากสื่อต่าง ๆ ทั้งบทความ บทวิเคราะห์ บทสัมภาษณ์ในรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของโลกหลังโควิด-19 ในมิติสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเพื่อฉายภาพของ "บริบทใหม่ (New Context)" ที่กาลังจะเกิดขึ้นในระดับโลก พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของโลกที่กาลังเปลี่ยนแปลงนี้
  • 5. 5 บทสรุปสาหรับผู้บริหาร โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ นักคิด นักธุรกิจ นักการทหารของไทย และนักคิดแนวหน้าของต่างประเทศต่างเห็นสอดคล้องกัน ว่า ในโลกหลังโควิด-19 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งในระดับโลกและ ระดับประเทศ ซึ่งจะกลายเป็น "บริบทใหม่ (New Context)" ของการกาหนดนโยบายของภาครัฐ และการ ปรับตัวของภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป บริบทใหม่ดังกล่าวมี 3 ประเด็น ได้แก่ ดุลอานาจระหว่าง ประเทศใหม่ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจใหม่ และทางเลือกทางความคิดใหม่ ในแง่ดุลอานาจระหว่างประเทศใหม่ การแข่งขันทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน จะมีแนวโน้มเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากจีนมีบทบาทนาในระดับโลกมากขึ้น ดังที่แสดงออกในการช่วยเหลือ ประเทศต่าง ๆ ในด้านมนุษยธรรม ขณะที่ความพยายามปิดล้อมและสกัดอานาจของจีนดารงอยู่อย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา และมีแนวโน้มดาเนินต่อไปไม่ว่าจะเปลี่ยนประธานาธิบดี หลังการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ก็ตาม อีกด้านหนึ่ง องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทในการนาและ ขับเคลื่อนวาระร่วมของโลกน้อยลง ทั้งองค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก องค์กรระหว่าง ประเทศที่มีบทบาทอย่างแข็งขันกลับกลายเป็นสถาบันหรือกลไกระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน สาหรับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจใหม่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโรคโควิด-19 ทาให้เกิด เงื่อนไขทางเศรษฐกิจใหม่ 2 ประการ ประการแรก ประเทศในโลกจะแสวงหาระบบเศรษฐกิจและสร้าง เครือข่ายการผลิตที่กระจายความเสี่ยง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากสงครามการค้า อย่างน้อยที่สุดคือ ผู้ผลิตต้องสามารถผลิตเองให้ได้จุดคุ้มทุน อีกด้านหนึ่ง นักลงทุนและผู้ประกอบการจะคิดเรื่องการ กระจายความเสี่ยงทางธุรกิจมากขึ้น ประการที่สอง การพัฒนาทางดิจิทัลจะเป็นอีกกระบวนการสาคัญที่ จะเป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนเพิ่มมูลค่าการพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจ การพัฒนาระบบ 5G จะเป็นปัจจัย เร่งให้โลกาภิวัตน์มีความเร็วมากขึ้น เนื่องจากการสื่อสารแบบออนไลน์สามารถทาได้ไกลกว่า รวดเร็ว กว่า และแม่นยากว่าระบบที่เป็นอยู่ บริบทใหม่ประเด็นสุดท้ายคือ ทางเลือกทางความคิดใหม่ แนวทางการรับมือโรคโควิด-19 ของ ประเทศต่าง ๆ ทาให้เห็นว่า โลกหลังโควิดจะเป็นโลกที่ "ก้าวข้ามความคิดตะวันตก (Post-Westernism)" เป็นโลกที่ความคิดและการปฏิบัติของตะวันออกเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ซึ่งความคิดแบบหลังตะวันตกนิยม นี้ไม่ใช่ความคิดเดียวกันกับการต่อต้านตะวันตก (Anti-Westernism) นอกจากการก้าวข้ามความคิด ตะวันตกแล้ว การพัฒนาที่ยั่งยืน การพึ่งตนเอง และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะกลายเป็น ความคิดกระแสหลักกระแสหนึ่งของโลก ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคมจะมุ่งแสวงหาจุดสมดุลที่จะ ทาให้ประเทศอยู่รอดและอยู่ดีได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
  • 6. 6 การปรับบริบทใหม่ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นให้กลายเป็นโอกาสนั้น ไทยควรมียุทธศาสตร์ที่รอบด้าน เหมาะสม สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติได้ประมวลทัศนะของนักคิด นักธุรกิจ นักการทหารทั้ง ไทยและต่างประเทศ และสังเคราะห์ ต่อยอดเป็นข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ไทยควรใช้ประโยชน์จากเวทีระหว่างประเทศ เช่น เวทีองค์การอนามัยโลก เวทีอาเซียน ในการ สนับสนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน มุ่งสร้างข้อเสนอที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของโลก เช่น การ เผยแพร่ความคิดและแนวปฏิบัติเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโลก หลังโควิด-19 โดยเฉพาะการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงทางสุขภาพ ซึ่งเป็นวาระที่ ประเทศไทยผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับแบ่งปันประสบการณ์ที่เป็นจุดแข็งของไทยในการควบคุม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การทางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน ความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทยที่มีต่อกันและมีต่อชาวต่างชาติให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภายในประเทศ มีแนวโน้มว่า ประเทศต่าง ๆ จะหันกลับมาใช้แนวทางการพัฒนาประเทศแบบพึ่งตนเอง พึ่ง ตลาดภายในมากขึ้นหลังโควิด-19 สิ้นสุด นักคิด นักเศรษฐศาสตร์และนักธุรกิจไทยหลายท่านเสนอว่า ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้ โดยเชื่อมโยงและรับพลังความเข้มแข็ง ทางเศรษฐกิจจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมกับขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับภูมิภาคเอเชียใต้ ทั้งนี้ ภาครัฐควรเลือกส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยมีความโดดเด่น มาก เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นโดย ใช้การพัฒนาทางดิจิทัลเป็นปัจจัยหนุนเสริมในการสร้างตลาดสาหรับสินค้าและบริการจากท้องถิ่น และ ขยายช่องทางการจาหน่ายไปสู่ระดับชาติและต่างประเทศเป็นลาดับ 3. ยุทธศาสตร์การยกระดับความคิดของสังคม โลกหลังโควิด-19 จะเป็นโลกแห่งความเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง เป็นโลกแห่งความไม่แน่นอนและพลิกผัน สังคมไทยจึงจาเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันทางปัญญาที่จะ ช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกลมกลืน ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้แบบหลัง ตะวันตกนิยมที่เน้นองค์รวมและความเข้มแข็งของการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็กไป จนถึงชุมชนโลก พร้อมกับสนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ที่สั่งสม หลอมรวมขึ้นจาก ประสบการณ์การพัฒนาของไทยออกไปสู่โลกภายนอก ทดแทนการนาความรู้ตะวันตกเข้ามาครอบงา สังคมไทยดังที่เคยเป็นมาอย่างยาวนาน
  • 8. 8 ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีนักคิด นักวิชาการไทยหลายท่านได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับโลกหลัง โควิด-19 อาทิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะ รังสรรค์ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติเห็นว่า ทัศนะของทุกท่าน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในฐานะองค์ความรู้ที่ทาให้เข้าใจสังคมไทย เป็นภูมิปัญญาที่ทาให้สังคมเตรียมพร้อม ปรับตัวให้เข้ากับ "บริบทใหม่" ของโลกและไทยที่กาลังเปลี่ยนแปลง และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อ ยอดเชิงนโยบาย สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้คัดสรร รวบรวม และสังเคราะห์ทัศนะของนักคิด นักวิชาการ ทั้ง 5 ท่านจากบทความเผยแพร่สาธารณะในโลกออนไลน์ บทวิเคราะห์ บทสัมภาษณ์ในรายการต่าง ๆ ซึ่งการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทัศนะของท่านเหล่านี้เป็นมุมมองของสถาบันคลังปัญญาฯ แหล่งข้อมูล ทั้งหมดที่ใช้ประกอบการเรียบเรียงปรากฏอยู่ในรายการอ้างอิงท้ายเล่มรายงานฉบับนี้ สร้างความเข้มแข็งของการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์และนักวิชาการด้าน สาธารณสุขและการศึกษาได้อธิบายสถานะของโลกก่อนและหลังโควิด-19 จานวน 2 ตอน พร้อมให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายนโยบาย มีสาระสาคัญดังนี้ สถานะของโลกก่อนโควิด-19 นพ. ประเวศชี้ให้เห็นสถานะของโลกก่อนโควิด-19 ว่า เป็นโลกที่สะสมความตึงเครียดและความ รุนแรงไว้อย่างมาก ความตึงเครียดที่ว่านี้หมายถึง ความตึงเครียดที่สะสมในตัวมนุษย์ที่แสดงอาการทาง จิตประสาทและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่นโดยไม่มีสาเหตุ ภาวะซึมเศร้า ซึ่ง กระตุ้นสมองส่วนหลังให้ "กัมมันตะ" มากขึ้น มนุษย์จึงใช้ "สัญชาตญาณ" มากกว่า "ปรีชาญาณ" ในการ กระทาและแสดงออก ความตึงเครียดที่สะสมนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรงในระดับโลกที่ไม่ใช่แค่ ความรุนแรงทางกายภาพ แต่มี "ความรุนแรงอย่างเงียบ (Silenced Violence)" นั่นคือ ความทุกข์ยาก และความอยุติธรรมทางสังคม ความเหลื่อมล้าทั้งภายในและระหว่างประเทศที่สุดโต่ง สมทบด้วยความ ขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อุดมการณ์ ฯลฯ ผลคือ โลกมีแนวโน้มมุ่งไปสู่ภาวะมิคสัญญีหรือ สงครามโลก ซึ่งโควิด-19 มีส่วนช่วยชะลอการปะทุในครั้งนี้ มุมมองต่อโลกหลังโควิด-19 นพ. ประเวศเสนอว่า โลกหลังโควิด-19 จะมี "อิทัปปัจจยตาสู่สภาพใหม่" ที่สรุปได้เป็น "7 ใหม่" หรือ "7N" ได้แก่ จิตสานึกใหม่ (New Consciousness) การรับรู้ใหม่ (New Perception) วิธีคิดใหม่ (New Thinking) การทาใหม่ (New Action) ความมุ่งหมายใหม่ (New Purpose) ระบบการอยู่ร่วมกัน
  • 9. 9 ใหม่ (New System of Living) ยุคใหม่ของมนุษยชาติ (New Era of Mankind) ซึ่งทั้ง "7 ใหม่" นี้มีหลัก คิดที่สอดคล้องกันคือ การเปลี่ยนวิธีคิดและการกระทาแบบแยกส่วนไปสู่การคิดเชิงบูรณาการ สร้าง เอกภาพและความสอดประสาน เพราะ "ชีวิตคือการเชื่อมโยง การพัฒนาคือการเชื่อมโยง หรือบูรณาการ ทุกองค์ประกอบเข้าด้วยกัน" ดังนั้น ความมุ่งหมายใหม่หลังโควิดคือ "การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล (Living Together)" ไม่นาระบบที่ผิด ๆ เป็นจุดตั้งต้นดังที่ผ่านมา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ฐานความคิดคิดของนพ. ประเวศอยู่ที่การสร้างองค์รวมและการสร้างความเข้มแข็งของการอยู่ ร่วมกันเป็นชุมชน ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็กไปจนถึงชุมชนโลก (World Community) "โดยแต่ละชุมชนมี ความเป็นองค์รวม (Holistic) ของตัวเองและสัมพันธ์กับแบบผสมผสานส่วนย่อยเข้ากับระบบใหญ่ (Chaordic)" นอกจากข้อเสนอเชิงปรัชญาแล้ว นพ. ประเวศได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติที่จะเป็น ประโยชน์ต่อการต่อสู้กับโควิด-19 ของภาคนโยบาย 2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรกคือ ให้ภาครัฐ ปฏิบัติการในพื้นที่ความเสี่ยงสูงอย่างเข้มข้น และทยอยเปิดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่า พร้อมกับแสวงหา กลไกใหม่ที่จะมาสนับสนุนการทางานของรัฐ อีกประเด็นหนึ่งคือ ให้จัดตั้ง "สภาผู้นาภาคธุรกิจเพื่อ บรรเทาความยากจนเร่งด่วน" เนื่องจากภาคธุรกิจมีการจัดการที่ดีกว่าภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคการศึกษา หรือภาคประชาสังคม กลุ่มผู้นาภาคธุรกิจส่วนใหญ่ "ก่อตัวขึ้นเอง (Self-organized)" ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงมีศักยภาพที่จะให้ข้อเสนอแนะและชี้นาสังคมหลังโควิด-19 ต่อไปในระยะยาวได้
  • 10. 10 "โลกาสามัคคี โลกาพึ่งพา" ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความ ปรองดองแห่งเอเชีย (APRC) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้วิเคราะห์ สถานะของระเบียบระหว่างประเทศปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และสถานะของระเบียบ ดังกล่าวหลังโรคโควิดสิ้นสุด โดยมีประเด็นสาคัญดังนี้ โลกยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า "ความปกติแบบใหม่ (New Normal)" โลกในขณะนี้เป็นโลกที่มีภาวะแบบที่ ดร. สันติธาร เสถียรไทย เรียกว่า "ความไม่ปกติแบบใหม่ (New Abnormal)" ซึ่งเป็นผลจากการดาเนินมาตรการต่าง ๆ ของรัฐที่กาหนดขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุม การระบาด ดร. สุรเกียรติ์ตั้งข้อสังเกตว่า สถานะของระเบียบระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ขณะนี้เป็นปัจจัยที่ ผลักความร่วมมือออกไปมากกว่าจะเป็นการสนับสนุนความร่วมมือ ไม่มีการประชุมระดับระหว่างประเทศ เพื่อแสดงเจตนาในการแก้ไขปัญหาตั้งแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อในเดือนมกราคม นอกจากการประชุม อาเซียน-จีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรคของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน และบทบาทขององค์การ ระหว่างประเทศและทบวงการชานัญพิเศษต่าง ๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ไม่ชัดเจน ทั้งที่ควรจะเป็นผู้นาในการคลี่คลายปัญหา มาตรการป้ องกันและควบคุมโรคของแต่ละประเทศสะท้อนวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเอง ธรรมชาติของคนไทยเป็นคนมีน้าใจ เกื้อกูล และมีความอดทนอย่างสูง แตกต่างจากสังคม ตะวันตกที่รัฐพยายามจากัดบทบาท และให้ปัจเจกเป็นผู้รับผิดชอบปัญหามากกว่า ในระดับประเทศ ประเทศในโลกตะวันออก เช่น จีน ใช้โอกาสจากโรคโควิด-19 ในการปรับบทบาทและแสดงความเป็นผู้นา ระดับโลก เป็นประเทศที่ไปช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ ทั้งที่มีผู้ติดเชื้อจานวนมาก ภาคประชาสังคมของไทย ก็ออกไปช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกัน ในขณะที่โลกตะวันตก ประเทศส่วนใหญ่ต้องช่วยเหลือ ตัวเอง ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า โลกจะเป็นโลกแบบ "โลกาภิวัตน์ที่เป็นเสี่ยงเสี้ยว (Fragmented Globalization)" เป็นโลกาภิวัตน์ไม่เต็มรูปแบบที่ประเทศต่าง ๆ หันไปเน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น และ กลไกหรือสถาบันระหว่างประเทศระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน จะมีบทบาทมากขึ้น โลกจะให้ความสาคัญแก่ความมั่นคงทางสาธารณสุขมากขึ้น โลกพูดถึงความมั่นคงไม่ตามแบบ (Non-traditional Security) เช่น ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางอาหาร มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า โลกจะใส่ใจประเด็นความมั่นคง ทางสุขภาพหรือความมั่นคงทางสาธารณสุขมากขึ้น ควรเน้นการส่งเสริมอาหารปลอดภัยที่สามารถต้าน ไวรัสได้ด้วย ดร. สุรเกียรติ์เล่าว่า ในช่วงที่ดารงตาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น โรค ทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส (SARS) กาลังระบาด และยังเกิดเหตุการณ์สึนามิ แต่ทั้ง
  • 11. 11 สองเหตุการณ์กลายเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ แตกต่างจากในครั้งนี้ที่ หลายประเทศขัดแย้ง แย่งกันส่งหน้ากากอนามัยออกนอกประเทศ แย่งชุดป้องกันไวรัส เผชิญระเบียบโลกที่ไม่เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์การแข่งขัน (Rule of the Game) และกฎเกณฑ์การสานสัมพันธ์ (Rule of Engagement) จะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนความขัดแย้งระหว่างสองมหาอานาจจะลุกลามกลายเป็นสงคราม เย็นครั้งที่สองหรือไม่ ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า อาจเป็นสงครามเกือบเย็น (Cool War) มากกว่าสงครามเย็น (Cold War) เช่นเดียวกับ Kevin Rudd อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียที่เสนอว่า เป็นสงครามเย็น 1.5 ไม่ใช่สงครามเย็น 2.0 เนื่องจากยังไม่มีตัวแทน (Proxy) อย่างไรก็ดี ประเทศต่าง ๆ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ อดีตนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสแสดงความกังวลในการพูดคุยกับ ดร. สุรเกียรติ์ทางโทรศัพท์ว่า สื่อของ ฝรั่งเศสเริ่มนาเสนอข่าวไปในทางเดียวกันกับสี่ออเมริกันที่สรุปว่า จีนเป็นต้นเหตุของไวรัสและควรจะต้อง แสดงความรับผิดชอบ แต่หากย้อนกลับไปในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในค.ศ. 2008 และช่วงที่ไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1 ระบาดในค.ศ. 2009 ก็จะเห็นว่า ไม่มีใครเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา ออกมาแสดงความรับผิดชอบเช่นกัน นี่คือระเบียบโลกที่ไม่เป็นระเบียบ สถานะและบทบาทของสหรัฐอเมริกาและจีนจะยังเหมือนเดิมหรือไม่ ในอดีต ความเป็นมหาอานาจทางทหารของสหรัฐอเมริกาและความเป็นมหาอานาจทางเศรษฐกิจ ของจีนค่อนข้างชัดเจน แต่ก็มีคาถามเกี่ยวกับสถานะมหาอานาจของทั้งสองเช่นกัน จีนเป็นประเทศที่ เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็กู้เงินเป็นจานวนมาก คาถามคือ จีนจะยังเป็นกลจักรสาคัญในการ กระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศดังที่เคยพึ่งพาได้เหมือนในอดีตหรือไม่ ประเทศเหล่านั้นผลิตสินค้า แล้วจะยังส่งไปขายจีนหรือไม่ ส่วนสหรัฐอเมริกา จะยังเป็นพี่ใหญ่ได้ต่อไปหรือไม่ ทรัมป์จะมีพฤติกรรม อะไรน่าตื่นตาตื่นใจบ้างก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงปลายปี เนื่องจากคนอเมริกันชอบเห็นผู้นาที่ เป็นวีรบุรุษ ทาสิ่งที่แตกต่าง แต่การที่สหรัฐอเมริกาแยกการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีออกจากจีน ก็ แสดงให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาไม่เข้าใจห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) โลกจะเป็นโลกที่มีผู้นาหลาย ๆ คนในหลาย ๆ เรื่อง การจัดการปกครองระดับโลกต่อจากนี้อาจจะมีหนึ่งหรือสองประเทศแข่งกันเรื่องการทหารและ เศรษฐกิจ และจะมีหนึ่งหรือสองประเทศที่เป็นผู้นาด้านอาหารปลอดภัย เป็นผู้นาความมั่นคงทางสุขภาพ (ซึ่ง ดร. สุรเกียรติ์ไม่ได้ระบุว่าเป็นประเทศใด) ประเทศที่เป็นผู้นาของประเด็นเหล่านี้จะเป็นผู้มีบทบาท สาคัญในโลกหลังโควิด-19 ภาวะผู้นาแบบ "หลายประเด็น หลายขั้ว (Multi-issue/Multipolar Leadership)" กาลังเกิดขึ้น ประเทศไทยมีโอกาสจะเป็นผู้นาในเรื่องเหล่านี้ได้ ในโลกหลังโควิด-19 นั้น บางสิ่งจะกลับมาเหมือนเดิม บางสิ่งจะไม่เหมือนเดิม และบางสิ่งอาจกลายเป็นของใหม่ โลกกาลังอยู่ใน ภาวะพลิกผัน เช่น บริษัท Uber ที่เคยรุ่งเรืองก็ปลดพนักงานออก เนื่องจากไม่สามารถรองรับความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 ได้ ขณะที่เทคโนโลยีเสมือนจริงต่าง ๆ เช่น การออกกาลังกายเสมือนจริง (Virtual
  • 12. 12 Exercise) จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจาวันมากขึ้น โลกจะไม่เหมือนเดิม แต่จะไม่เหมือนเดิม อย่างไรนั้นไม่รู้ ที่สาคัญคือ เราไม่รู้ว่าเรายังไม่รู้อะไร ยุทธศาสตร์ของไทยและอาเซียน มีแนวโน้มว่า โลกหลังโควิด-19 จะเป็นโลกที่ต่างคนต่างอยู่ แข่งขันกัน ไม่ร่วมมือกันเท่าที่ควร ขณะที่กลไกหรือสถาบันพหุภาคีก็มีบทบาทที่จากัด ต้องหันมาพึ่งองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน ดร. สุรเกียรติ์จึงเสนอแนวคิด "โลกาสามัคคี โลกาพึ่งพา" ซึ่งเป็นแนวคิดโลกนิยม (Globalism) แบบหนึ่งที่ทุกคนถ้อยทีถ้อยอาศัยกันในการฝ่าวิกฤต แนวคิดนี้สอดคล้องกับวิธีคิดแบบไทย ดร. สุรเกียรติ์เล่าว่า เพื่อนชาวตะวันตกของท่านคนหนึ่งประทับใจลักษณะนิสัยของคนไทยที่โอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ คนไทยแบ่งข้าวให้ชายคนนั้นทั้งที่ตัวเองก็ไม่มี รับประทาน ภาคประชาสังคมของไทยเองในขณะนี้ก็ทางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยเข้ามามี บทบาทในการผลิตอุปกรณ์ เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีระดับท้องถิ่น (Local Technologist) ซึ่งรัฐเองก็ควร ร่วมคิดด้วยว่า จะแก้กฎหมายอย่างไรเพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรที่มีความสามารถมาทางานร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ นอกจากนี้ รัฐควรส่งเสริมการน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาปฏิบัติ และส่งเสริมการสร้างความร่วมมือ เน้นแนวทางพหุภาคีนิยมไม่ใช่ชาตินิยม นอกจากนี้ ประเทศไทยควรกาหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิ เศรษฐกิจโลก เลือกส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) คิดค้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพียงพอที่สามารถทดแทนการส่งออก ดร. สุรเกียรติ์เล่า ว่า ประเทศขนาดเล็กอย่างประเทศในตะวันออกกลางและสิงคโปร์ไม่มีความมั่นคงทางอาหาร สิงคโปร์ที่ เคยกระจายความเสี่ยงด้วยการส่งเสริมการผลิตในประเทศต่าง ๆ แล้วส่งกลับมาที่สิงคโปร์ก็มีปัญหา เนื่องจากมีการปิดพรมแดนทั้งทางบกและทางอากาศ ดังนั้น ควรคานึงถึงกลไกหรือสถาบันที่ใหม่กว่า WHO องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และธนาคารโลก (World Bank) อาเซียนควร ตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาเพื่อช่วยกันระดมความคิดว่า ในสภาวะแบบนี้ ประเทศต่าง ๆ จะอยู่รอดได้ อย่างไร เอเชียจะช่วยคิดช่วยหาทางออกจากวิกฤตให้โลกได้อย่างไรบ้าง ดร. สุรเกียรติ์เห็นว่า โควิด-19 เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นผู้นาของอาเซียน เนื่องจาก อาเซียนเป็นสะพานเชื่อมภูมิภาค (Regional Bridge) ที่ทุกประเทศสบายใจ แตกต่างจากประเทศใหญ่ ๆ ที่ประเทศอื่น ๆ มักจะระแวงเมื่อนาเสนอความคิดออกมาดังที่ปรากฏในการเสนอยุทธศาสตร์อินโด- แปซิฟิกและข้อเสนอแถบและเส้นทาง (BRI) ดังนั้น ประเทศไทยต้องใช้ประโยชน์จากเวทีอาเซียนให้ เต็มที่
  • 13. 13 โลกที่ก้าวข้ามกรอบความคิดตะวันตก ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ ชาติ และภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภาได้เขียนบทความเพื่อชี้ให้เห็นแง่งามของสังคมไทย และยังเสนอ ประเด็นทางสังคมการเมืองที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับโลกหลังโควิด-19 ซึ่งจะเป็นโลกที่ "ก้าวข้ามกรอบ ความคิดตะวันตก" และเป็นโลกที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืนจะกลายเป็น ความคิดหลัก บทความทั้งสามชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุ๊ก เอนก เหล่าธรรมทัศน์ – Anek Laothamatas สถาบันคลังปัญญาฯ ได้นามาเผยแพร่ต่อทางเว็บไซต์ของสถาบันฯ และเผยแพร่ซ้าอีก ครั้งโดยรักษาสาระสาคัญและสานวนของผู้เขียนไว้ในเอกสารส่วนนี้ สังคมไทยมีอะไรดี: ตอบจากไวรัสโควิด-19 สังคมไทยมีอะไรดีจริงหรือเปล่า? ในยามอื่น คาถามอย่างนี้คงตอบได้หลายแบบ ตอบกันยาว ใช้ ทฤษฎีและข้อมูลมากมาย แต่ความสาเร็จจากการขับเคี่ยวกับโควิด-19 ที่เกิดมาไม่กี่เดือนนี้ ทาให้เรา ตอบได้ค่อนข้างมั่นใจว่า ใช่! สังคมไทยมีอะไรดีจริง ๆ ดี อย่างที่เราเองไม่เคยคิดกันมาก่อน ภาคสังคม-ชุมชนหรือ "ประชาชน" ของเรานั้น เก่ง เข้าใจ และยอมรับสถานการณ์ระบาดที่หนัก หน่วงได้และพร้อมใจกันอยู่ในกฎเกณฑ์และระเบียบวินัย มีความเห็นใจและโอบอ้อมอารีคนที่ลาบาก และ ยังได้หนุนช่วยหยูกยา อุปกรณ์ ของใช้ของกินแก่บรรดา "นักรบแนวหน้า" รวมทั้งให้กาลังใจพวกเขา อย่างเหลือล้น อนึ่ง ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ แม้นายกรัฐมนตรีจะรวบอานาจของกรมและกระทรวงมามากมาย แต่ สังเกตเถิด ระบบฉุกเฉินของเราก็ส่งมอบอานาจและการวินิจฉัยสั่งการต่อให้จังหวัดต่าง ๆ ปรากฏการณ์ "กระจายการตัดสินใจ" ไปยังพื้นที่หรือไป "หน้างาน" อย่างนี้ ก็แทบไม่เคยเห็นกันมาก่อน และก็น่ายินดี นะครับ ในแทบทุกจังหวัด เราคุมการระบาดของโรคอย่างได้ผล พระราชกาหนดให้รัฐกู้เงินมาหนึ่งล้านล้านบาท เพื่อนามาช่วยเหลือชดเชยเยียวยาประชาชน ทั่วไป รวมทั้งเกษตรกร หรือฟื้นฟูเศรษฐกิจกิจสังคมก็ออกมาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อประสานเข้ากับกองทุน ประกันสังคม กระทรวงแรงงานที่สามารถนาเงินสะสมที่ผู้ใช้แรงงานใส่เข้าไปในกองทุนมาจ่ายให้แก่ผู้ ว่างงานจากเหตุการณ์โควิด-19 โดยที่เป็น "เหตุสุดวิสัย" ได้ ก็ทาให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบหลายสิบ ล้านคน จะได้รับเงินเยียวยาจาก "ส่วนรวม" คือ จากรัฐบาล ได้ แน่นอน ประชาชนที่ไม่อยู่ในระบบประกันตน ได้รับเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท แต่ประชาชน ที่ว่างงานแต่ประกันตนอยู่ในกองทุนประกันสังคมนั้น จะได้ราว 5- 9 พันบาท อาจมีคาถามครับ ว่า ทาไม
  • 14. 14 ถึงได้รับเงินไม่เท่ากัน? เหตุผล: ก็เพราะผู้ใช้แรงงานผู้ประกันตนกับกองทุนนั้นได้จ่ายเงินเดือนส่วนหนึ่ง สมทบเข้าไปในกองทุนนี้มาเป็นเวลาหนึ่งแล้ว บางคนพูดได้ด้วยว่า "ฉันจ่ายมาให้ช้านานแล้ว ตั้งแต่ยัง สาว" ดังนั้น เงินที่จะได้รับนั้น ย่อมชอบธรรมที่จะได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ประกันตน เงินที่บรรดาผู้ประกันตน ซึ่ง ณ บัดนี้ว่างงาน จะได้รับมากกว่าประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ นี้ อาจคิดได้ว่ามาจากเงินที่พวกเขาได้จ่ายสมทบเข้าไปทุกเดือน หนึ่ง บวกกับเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ จานวนเดียวกันอีกหนึ่ง และยังบวกกับเงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเข้าไปอีกเป็นจานวนครึ่งหนึ่งของที่ ผู้ประกันตนได้จ่ายไปอีกหนึ่ง แม้ว่าเงินราว 5- 9 พันบาทนี้ จะไม่ถือว่ามากมายนัก แต่อย่างน้อย ก็ทาให้ผู้ประกันตนตระหนัก ว่า เงินที่พวกตน ผู้ใช้แรงงาน ได้จ่ายสมทบกองทุนเข้าไปทุกเดือน ทุกเดือนนั้น ไม่ได้สูญเปล่า ในคราวนี้ เงินนั้นก็หวนกลับมาช่วยตนเองที่ตกงานจาก "เหตุสุดวิสัย" ในภาวะที่ผลกระทบต่อนายจ้างก็หนักหน่วง รุนแรง และฉันพลัน จนส่วนใหญ่นั้น แบกรับค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ว่างงานไม่ได้อยู่แล้ว โลกยุคหลังโควิดก็คือ โลกที่ก้าวข้ามกรอบความคิดตะวันตก ถามว่าหลังเหตุการณ์โควิด-19 โลกจะเป็นอย่างไร เปลี่ยนไปอย่างไร? ในความเห็นผม ยุคหลัง โควิด-19 (Post-COVID-19) น่าจะเป็นยุคที่โลกตะวันออกจะเริ่มก้าวข้ามตะวันตก (Post-Western) ไป ด้วย ทาไมจึงกล่าวเช่นนั้น? ก่อนอื่น ในทางวิทยาศาสตร์เอง คือไวรัสวิทยาและระบาดวิทยา ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา แห่งจุฬาฯ ผู้เป็นหัวกะทิในเรื่องโรคอุบัติใหม่ สรุปไว้น่าฟังว่า "ที่เราเอาตัวรอดมาจาก โควิด-19 ได้ ก็เพราะไม่เชื่อความรู้เก่าของฝรั่ง" หากแต่เรา "มองไปที่จีนอย่างตั้งใจ จริงจัง ถอดความรู้ และบทเรียนจากเขามาเป็นสาคัญ" ขอขยายความว่า วงการตะวันตกนั้นบอกเราไว้ว่า "เจ้าโควิดเที่ยวนี้ก็ คงคล้ายไข้หวัด และ สอนเราว่า มันติดเชื้อจากสัตว์สู่คน แต่จีนกลับเชื่อว่ามันร้ายแรงกว่าไข้หวัด-ไข้หวัด ใหญ่มาก เพราะติดจากคนสู่คนได้ด้วย และมีหลักฐานชี้ว่าเจ้าเชื้อนี้ยังกลายพันธุ์ได้รวดเร็ว" เสียด้วย ผลลัพธ์: การปฏิบัติที่ผ่านไปชี้ว่าจีนนั้นมองอะไรได้ "ใหม่กว่า" และ "ถูกต้องกว่า" หมอและ อาจารย์ "ฝรั่ง" ถามว่าแล้วไทยนั้น ทาอย่างไร? ตอบว่าแม้เราจะคล้อยไปทางจีน แต่ก็หาเดิน "ตามจีน" ไม่ คือไม่ได้ปิดล้อมหรือกักกันอย่าง "เอาเป็นเอาตาย" ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ บอกว่า การปิดเมือง ปิดประเทศ แบบไทย คือ "ปิดแบบ รั่ว ๆ หรือ ปิดเป็นหลัก แต่ก็ปล่อยบ้าง" นั่นคือ เราไม่ยอมปล่อยปละแบบตะวันตก ต่อสู้กับโควิด-19 ตามแบบของเราเต็มที่ แต่ก็ เดิน "สายกลาง" ซึ่งได้ผลเช่นกัน แต่ ความสาเร็จของเรานั้น เริ่มต้นที่วงการสาธารณสุขเรานั้น ไม่เป็น
  • 15. 15 "ตะวันตกจ๋า" ท่านหันหน้าออกจากตาราฝรั่ง ผินหน้าไปสู่จีน รับความรู้และแง่คิดดี ๆ ของจีน แต่ท่านก็ ตัดสินใจทาแบบไทย ๆ ก็นี่แหละที่ชี้ว่า วงการสาธารณสุขและแพทย์ของเรา เดินหนทางที่เป็นอิสระมากขึ้น ได้ไป "ไกล" กว่าฝรั่ง "ข้ามพ้น" ฝรั่งไปไม่น้อย (เรียกว่าท่านได้ เป็น Post-Western แล้ว) แน่นอน ที่ว่า "ก้าวข้าม" หรือ "ไปให้ไกลกว่า" นั้น ไม่ได้แปลว่า "คัดค้าน" หรือ "ต่อต้าน" ตะวันตก (คนที่เป็นหรือที่คิดแบบ Post- Western นั้น ไม่ใช่คนที่คิดหรือทาแบบ Anti-Western) เรายอมรับของดี และเหมาะสมจากเขา แต่ก็กล้า ที่จะก้าวข้ามหรือไปให้ไกลกว่าได้หรือออกนอกกรอบตะวันตกในระดับที่พอดีและไปรับเอาความคิด ประสบการณ์และกระบวนทัศน์ "ตะวันออก" ทั้งตะวันออกแห่งอดีต และตะวันออกที่เป็นปัจจุบัน มาปรับ ใช้ มาคิด-ทา ร่วมกับทฤษฎีและการปฏิบัติแบบตะวันตก ที่ผสมผสานกันไปก็มี ที่หนุนเสริมกันไปก็มี ที่ แย้งกันไปก็ได้ ที่ต่อสู้กันไปก็ได้ แต่ล้วนคิด-ทาอย่างสร้างสรรค์ นอกจากเรื่อง "มดหมอ" แล้ว ระบาดโควิด-19 เที่ยวนี้ยังทาให้อุดมคติหรือแบบฉบับในทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกตะวันตก ถูกสั่นคลอนและท้าทาย โควิด-19 นั้นท้าทายโลกาภิวัตน์ มาก กล่าวได้ว่า เป็นความพลิกผัน (Disruption) ต่อโลกาภิวัตน์เลย ก็ว่าได้ เพราะตะวันตกนั้น โดยทั่วไปเชื่อว่า ผลประโยชน์เฉพาะตน เฉพาะส่วน หรือเฉพาะชาติ (ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Private Benefits) ที่มีการแข่งขันกันด้วยแล้วไซร้ จะนามาซึ่งเรื่องดี คือผลประโยชน์ของส่วนรวม (หรือ Public Interest) โดยมี "มือ" ที่ "มองไม่เห็น" มาทาให้เกิดขึ้นเอง แล้วความจริงล่ะ? การระบาดของโควิด-19 นั้นทาให้เห็นว่า ชาติต่าง ๆ (ที่ถือ เป็น Private Benefits) นั้นขัดแย้งกันเหลือเกิน มีตั้งแต่โจมตีกันว่าใครเป็นคนปล่อยไวรัส หรือ อุปกรณ์การแพทย์ที่ ผลิตโดยบริษัทอเมริกัน แม้ในต่างประเทศนั้น รัฐบาลอเมริกันก็ห้ามขายไปประเทศอื่น ให้ขายหรือส่งต่อ ให้บริษัทอเมริกันเท่านั้น เราซึ่งเคยสั่งซื้อวัคซีน ยา หน้ากาก ชุด PPE จากต่างประเทศอย่างสะดวก บัดนี้ ในยุคที่โควิดบุกโจมตี ของข้างต้นหาซื้อได้ยาก หรือ ซื้อไม่ได้ ก็มี ทั้งที่มีเงินทองพอซื้อ แสดงว่า ระบบที่อาศัยตลาด (Market) แบบตะวันตก แต่ใดมา บัดนี้ ไม่เพียงพอที่จะทาให้ผลประโยชน์ส่วนรวม ของโลกเกิดได้ ในยามที่วิกฤตใหญ่ของโลกมาเยือนนั้น ตลาดหรือตลาดโลกจะถูกรัฐ โดยเฉพาะมหาอานาจ แทรกแซง เป็นเศรษฐกิจที่รัฐจัดการจนตลาดแทบหมดความหมาย อาจเรียกได้ว่าเป็น "ทุนนิยมโลกแบบ มีการจัดการ (Managed Global Capitalism)" หรือเป็นระบบ "พาณิชยนิยมใหม่" (Neo-Mercantilism) ที่ รัฐเข้ามาชี้นา-จัดการเศรษฐกิจอย่างหนัก ขะมักเขม้นปกป้องอุตสาหกรรมหลัก กีดกันสินค้านาเข้าเป็น "ชาตินิยม" ทางเศรษฐกิจชัดเจน ยอมรับระบบตลาดก็เพียงแต่น้อย ทั้งไม่รับอุดมคติโลกาภิวัตน์ รัฐบาล จะมุ่งสร้างความเพียงพอ ความเข้มแข็ง และขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจชาติเป็นสาคัญ โมเดลทางเศรษฐกิจแบบนี้อย่าประมาท อาจกลับมาเป็นกระแสหลักได้ สืบต่อจากที่โควิดระบาดไปทั่ว โลก
  • 16. 16 ฉะนั้น หลังจากนี้ รัฐที่สนใจน่าจะมีการสร้างให้ทุนนิยมหรือระบบตลาดของตนมีสาระและ เป้าหมายในทางสังคมด้วย แทนที่จะยอมให้มีแต่การแข่งขันล้วน ๆ เช่น เป็นไปได้ไหมที่จะมีทุนนิยม "เพื่อคนยากจนหรือคนด้อยโอกาส" หรือมีทุนนิยมที่ "เอื้อหนุนสิ่งแวดล้อมที่ดี" หรือมีกระทั่ง "ทุนนิยม เพื่อสุขอนามัยโลก" หรือทุนนิยมที่เปิดให้มี "เศรษฐกิจพอเพียง" เคียงคู่กันไป การคิดแบบนี้ทานองนี้จะ ทาให้เราออกจากกระบวนทัศน์เดิม ในแง่ของอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น แนวคิดตะวันตกอย่าง "เสรีนิยม" และ "ประชาธิปไตย" เมื่อ วัดจากการสู้ภัยโควิด ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสักเท่าไร การแก้ปัญหายามวิกฤตนั้น ความจริง แล้ว ชาติที่ทาได้สาเร็จไม่ใช่ "แม่แบบ" ของระบอบประชาธิปไตย เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ประเทศ เหล่านี้ดูแล้วล้วนแต่ "พ่ายแพ้" หรือ "บาดเจ็บอย่างหนัก" จากสงครามโควิด-19 แม้แต่ความเข้มแข็ง ชอบธรรม หรือความดีของอุดมการณ์ "เสรีนิยม" ก็ควรคิดทบทวนใหม่ แต่ ไหนแต่ไรมาสานัก "เสรีนิยม" นั้น มองว่า สังคมอันประกอบไปด้วยปัจเจกชนนั้นเป็นจุดก่อกาเนิดของรัฐ การมีรัฐนั้น จะต้องตอบสนองต่อปัจเจกชน และสิ่งที่คนตะวันตกหวงแหนที่สุด ต้องการเป็นที่สุด ก็คือ "ความเป็นส่วนตัว" และ "สิทธิเสรีภาพ" สานักเสรีนิยมจึงได้สอนว่ารัฐนั้นต้องแทรกแซงหรือบงการสังคม ให้น้อยที่สุด ทว่า ในความเป็นจริง ครั้นเกิดไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก รัฐบาลล้วนจาต้อง "ล็อกดาวน์" เมือง และประเทศ ผู้คนตะวันตกในหลายประเทศจานวนไม่น้อยทนไม่ได้ ชุมนุมประท้วงการ "ปิดเมือง" และ พูดถึงขนาดว่า "จะมีคนตายไปบ้างก็ไม่เป็นไร" และ "อะไรจะเกิดก็ช่าง เศรษฐกิจจะต้องดาเนินต่อไป" เกือบจะตรงข้าม ในด้านตะวันออกของโลก ความคิดดั้งเดิมที่ไม่ถูกครอบงาด้วยคติเสรีนิยมเสีย ทั้งหมด ทาให้ผู้คนยังสนใจเพื่อนบ้าน สนใจและห่วงใยญาติพี่น้อง เห็นใจ สงสารคนในชาติ พร้อมกันนั้น ก็เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กาลังใจ ช่วยเหลือ คนอื่น พากัน "ยอมเจ็บ" ในเรื่องการงาน เรื่องอาชีพและธุรกิจ ยอมสูญเสียเสรีภาพชั่วขณะ กักตัวเองในบ้าน ส่วนรัฐเองนั้น ก็แสดงบทบาท มีการสั่งการ บังคับ เพื่อจะ ปกป้องชีวิตผู้คน รัฐบาลไทยดูจะทาอะไรได้ค่อนข้างเต็มที่ ไม่ถูกพันธนาการไว้ด้วยข้ออ้างหรือข้อห้าม อันสืบเนื่องมาจาก "สิทธิเสรีภาพ" มากนัก ความจริงสังคมไทยก็สนใจและกังวลเรื่องสิทธิและเสรีภาพอยู่พอควร แต่ก็ไม่เท่ากับที่เป็นไปใน ตะวันตก และในการปฏิบัติ ไทยมีแนวทางของตนเองในการสู้โควิด-19 ที่ค่อนข้างจะได้ผล เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้ว แนวการเมืองและสังคมในโลกเรานี้ ก็ใช่จะมีแต่เพียง "เสรีนิยม" สุดขั้ว หรือ "ประชาธิปไตย" สุดขั้ว เท่านั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละที่ แต่ละส่วนของโลกมีแนวทางและส่วนผสมจากหลายแหล่งที่ ผสมผสานได้ด้วยตนเอง แต่ละที่ทาเองได้มากขึ้น
  • 17. 17 กล่าวโดยรวม โลกยุคหลังโควิด นั้นน่าจะเป็นโลกที่ในความคิดและการปฏิบัติ "ก้าวข้าม ตะวันตก" หรือ เป็นโลกยุค "หลังตะวันตก" ไปในตัว เพราะขณะนี้หมดเวลาแล้วที่ฝ่าย "ตะวันตก" จะเป็น ใหญ่แต่ฝ่ายเดียว สั่งสอนและให้ความรู้แต่ฝ่ายเดียว ฝ่าย "ตะวันออก" นั้นจะสาคัญขึ้น มีอะไรดี ๆ มอบ แก่โลก แม้แต่ในด้านอุดมคติและแนวทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมด้วย พูดอีกอย่างได้ว่า โลกมีทีท่าว่า จะออกจากแนว "ตะวันตกนิยม" แท้ ๆ หรือ "ตะวันตกนิยมสุดขั้ว" ไปสู่กรอบใหม่ ที่ไม่ปฏิเสธตะวันตก แต่สนใจที่จะดึงเอา เลือกเอาสิ่งทีดี สิ่งที่มีคุณค่าจากโลกตะวันออกมาผสมด้วย ซึ่งผมจะเรียกกรอบ ความคิดใหม่นี้ว่า "ก้าวข้ามตะวันตก" หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า "Post-Westernism" ซึ่งขอย้า ณ ที่นี้ว่า ไม่ได้หมายความเราจะทิ้ง "ตะวันตก" ไปเสียหมด หากแต่จะกล้ารับเอาอะไรที่ดีที่เหมาะสมที่ถูกต้องของ "ตะวันออก" เข้ามาผสมผสานด้วย จึงจะทาให้อยู่กับวิกฤตและฝ่ามันไปได้ ตัวอย่างของความคิดแบบ "ก้าวข้ามตะวันตก" (Post-Westernism) ที่กลั่นกรองเอาจาก เหตุการณ์โควิด-19 ในไทยนั้น มีอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม? ผมขอเสนอว่า อาจหมายถึงว่า หน่วยหลักของ เศรษฐกิจไทยนั้นควรมี "บ้านและชุมชน" อยู่ด้วย ซึ่งย่อมจะต่างไปจากความคิดตะวันตกพอควรที่เชื่อว่า หน่วยหลักเศรษฐกิจนั้น คือ โรงงาน หรือออฟฟิศ หรือเมือง แต่ของไทยเรานั้นควรจะเป็นบ้านและชุมชน ซึ่งอยู่ทั้งในเมืองและชนบท นั่นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง คือแง่คิดตะวันออกนั้น มักจะเห็นผู้คนทั้งหลายเป็น "มนุษย์รวมหมู่" มากกว่า เป็น "มนุษย์ปัจเจก" แบบตะวันตก เรานั้นไม่ได้ชื่นชมการอยู่และการทางานด้วยตนเองเท่านั้น แต่ชอบ ช่วยเหลือกัน ห่วงใยกัน สงสารกัน เราควรเห็นว่านี่เป็นของดี ของจริงของเรา และยอมรับว่า มันเป็นจุด แข็งของไทย ผมยังคิดต่อด้วยว่า "ของดี" "ของเด่น" "เรื่องดี" "เรื่องน่าสนใจ" ของไทยนั้น นักวิชาการไทยต้อง เร่งสร้างทฤษฏีขึ้นมาอธิบาย อย่าอาศัยทฤษฎีตะวันตกร่าไป เสร็จแล้วเผยแพร่ ส่งความรู้และทฤษฎีแบบ ไทย "ออกนอก" กันบ้าง เป็นเวลานานเต็มทีแล้ว ที่พวกเรายอมเป็นเพียงพวก "รับหรือนาเข้า" ความรู้ และทฤษฎีของฝรั่ง แต่หลังโควิด-19 นี้ เราควรจะมองความรู้ความคิดของไทยและตะวันออกอื่น ๆ ทั้งที่ มีมาแต่ดั้งเดิม ทั้งที่นามาจากตะวันตกแล้วประยุกต์ใช้ในยุคสมัยใหม่ แต่มีข้อสรุปหรือทฤษฎีที่แตกต่าง จากของ "ฝรั่ง" เจ้าของเดิมนั้น และเร่ง "ส่งออก" ความรู้ของเราไปให้โลกภายนอกได้รับรู้ด้วย วิกฤตโควิดกับเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อคราววิกฤต "ต้มยากุ้ง" พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) เราได้เห็นความสาคัญของชนบทและภาค เกษตรที่ช่วยรองรับคนว่างงานกลับบ้าน ออกจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมาอยู่มากินในชนบท ความลาบากในยามนั้นทาให้เราคิดกันได้ว่า เงินทองนั้นเป็นเพียง "มายา" ข้าวปลาอาหารต่าง ๆ คือ "ของจริง" แม้อยาก "ทันโลก" อยาก "รุ่งเรือง" ปานใด ก็จะทิ้งภาคเกษตร-อาหารไม่ได้
  • 18. 18 วิกฤตโควิด-19 เที่ยวนี้ ทาให้ได้เห็นกันถึงความสาคัญของความ "พอเพียง" อีกครั้งหนึ่ง ในแง่ที่ เราจะอาศัยแต่ตลาดโดยเฉพาะตลาดโลกมาจัดหาหยูกยา วัคซีน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการ แพทย์ไม่ได้ ในยามที่วิกฤตเกิดทั้งโลกนั้น ถึงเรามีเงิน เขาก็ต้องเก็บ "ของ" ไว้ใช้เอง ไม่ยอมขายเรา เงิน ทองเป็น "มายา" อีกรอบ "หยูกยา" ต่างหากคือ "ของจริง" ในช่วงที่ผ่านมานี้ ก็มีข่าวดีว่ากองทัพเรือประดิษฐ์ห้องความดันต่าสาหรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ เป็น แบบง่าย ๆ อาศัยประสบการณ์ของทหารเรือในการทาอุปกรณ์ดาน้า ผมลองคุยกับหมอ ๆ ทั้งหลายดู ไม่ แน่ใจนะครับว่า เขาจะยอมใช้ "ของใน" กันแทน "ของนอก" ง่าย ๆ ไหม ก็ด้วยธรรมชาติเดิม นั่นแหละ แทนที่จะพากันตื่นเต้น และวางแผนให้เกิดห้องความดันต่าแบบ "เมด อิน ไทยแลนด์" ให้จงได้ แพงหน่อยก็ต้องทา รัฐต้องวางแผนสนับสนุน แม้ไม่ดีหน่อย เราก็ให้ โอกาส ให้ปรับปรุงกันไป ทาให้การแพทย์-สาธารณสุขของไทยไม่เพียงจะ "ทันสมัย" หรือ "เก่งระดับ โลก" อย่างที่คุยกันอยู่ แต่ยังจะ "พอเพียง-พึ่งตนเอง" ได้มากขึ้นด้วย แน่นอนครับ เราย่อมไม่ปิดกั้นการ เอาต่างชาติมาร่วมทาร่วมลงทุน เพียงเราต้องเป็นหุ้นใหญ่ และผลิตใช้ในประเทศเป็นสาคัญ ในยามคับ ขัน ก็ห้ามส่งออกได้ และเรานั้นไม่ปฏิเสธ "ตลาด" แต่ก็ไม่อาศัยแต่เพียง "ตลาด" และระบบ "โลกาภิวัตน์" มาจัดหาหรือจัดสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์-สาธารณสุขที่สาคัญ ก่อนหน้าเรื่องนี้ ก็มีอีกเรื่องหนึ่ง คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ผลิตเครื่องช่วย หายใจแบบง่าย ๆ ขึ้นมาได้ มีคนชื่นชมและให้กาลังใจมากมาย แต่ก็มีคุณหมอจานวนหนึ่ง ทั้งที่ยังไม่ เห็นเครื่อง ก็อดเป็นห่วงก่อนว่ามาตรฐานอาจจะไม่ถึง ช่วยชีวิตไม่ได้จริง ครับ หากคิดแบบเดิม คุณหมอ และพยาบาล ย่อมไม่ค่อยอยากลอง เพราะ ยัง "สู้ของนอกไม่ได้" เรามีวิศวกร ช่างฝีมือ นักประดิษฐ์ที่มีความสามารถไม่น้อย วิกฤตโควิดแทบทั้งโลกเช่นนี้ รัฐบาล และสังคมต้องเปลี่ยนหลักคิด พลิกวิกฤตมาเป็นโอกาส เวลานี้เห็นชัดแล้วว่าเราอยู่แถวหน้าของโลกทาง อาหารและทางแพทย์-สาธารณสุข อีกในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ อาหารรวมทั้งข้าวจะแพง หายากกันทั้งโลก ถ้าเราทาเป็น ทาทัน อย่าจมอยู่กับไวรัสอย่างเดียว เร่งทาการเพาะปลูก จะมีรายได้มหาศาลกัน แต่อย่า ลืม: คนไทยเองต้องมีอาหารพอเพียงด้วย ขณะเดียวกัน ได้เห็นแล้วว่าการแพทย์-สาธารณสุขของเรานั้น ดีจริง แต่ต้องเปลี่ยนให้ "พึ่งตนเอง" ให้ได้มากขึ้น สุดท้าย ภาคท่องเที่ยว ที่เคยทารายได้ให้ประเทศมากมายนั้น ก็ต้องฟื้นขึ้นมา อย่าปล่อยให้ฟุบ อยู่นานเกินไป เฉพาะหน้านี้ อาจทา "ท่องเที่ยวเชิงสุขอนามัย" เป็นที่กักเก็บตัวคนชั้นกลางชั้นสูงทั่วโลก โดยชี้ให้โลกเห็นว่า นักท่องเที่ยวเหล่านั้น อยู่กับระบบการแพทย์และสุขอนามัยที่ดีในระดับโลก
  • 19. 19 ทั้งหมดนี้มีรายละเอียด ซึ่งต้องคิดกันต่อไป ฝรั่งมักจะพูดว่าถ้าจะตามหา "พระเจ้า" มาช่วยทา เรื่องแสนยากแสนยุ่งให้เกิดขึ้นได้นั้น จะไปหาท่านได้ที่ไหน คาตอบ: ท่านสถิตอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า "รายละเอียด" ไงครับ ช่วยกันคิดต่อไปด้วยนะครับ
  • 20. 20 ไทยต้องเป็นศูนย์กลางของอาเซียนให้ได้ รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ให้ สัมภาษณ์เกี่ยวกับโลกท่ามกลางโควิด-19 และแนวโน้มโลกหลังโควิด โดยมีประเด็นสาคัญดังนี้ การพัฒนาทางดิจิทัล (Digitalization) ระบบ 5G จะเป็นปัจจัยเร่งให้โลกาภิวัตน์มีความเร็วมากขึ้น การสื่อสารแบบออนไลน์สามารถทา ได้ไกลกว่า รวดเร็วกว่า และแม่นยากว่าระบบที่เป็นอยู่ การพัฒนาทางการแพทย์ (Medicalization) แนวโน้มการบริการทางการแพทย์มีทั้งการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นและการร่วมมือกันมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกาใช้แนวคิด 3 ประสาน รัฐ-เอกชน-กองทัพร่วมกันคิดค้นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เสร็จ ภายในต้น ค.ศ. 2021 ขณะที่จีนประกาศเร่งทาให้เสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ ดร. สมภพเห็นว่า จีนจะมี บทบาทนาในทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น และอาจกลายเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการแพทย์ต่อสู้โค วิด-19 ประเทศไทยเองก็มีศักยภาพ เนื่องจากมีจุดแข็งด้านระบบสาธารณสุข แต่ที่ผ่านมา ประเทศไทย เน้นไปที่การรักษาโรค ในอนาคต ควรเน้นต่อยอดการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะยาและเวชภัณฑ์ ให้ครบ วงจรมากขึ้น การพัฒนาทางการเงิน (Financialization) โรคโควิด-19 ทาให้เห็นว่า บทบาทของธนาคารกลางสาคัญมาก และมีส่วนสาคัญในการประคอง ตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ให้ดีขึ้นด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นที่ ยอมรับตั้งแต่สมัยอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีทุนสารองประมาณ 2.2 แสนล้าน เหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หนี้สาธารณะก็อยู่ในอัตราที่ดี ปัจจัยด้านการคลังก็ดี ดร. สมภพเห็นว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่พอดาเนินไปได้ล้วนมาจาก บทบาทของธนาคารกลาง (FED) โดยเฉพาะการใช้บาซูก้าการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังโควิด-19 บทบาทของรัฐในการพัฒนาทางการเงินจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ดร. สมภพ เสนอให้พิจารณา "ความปกติต่อไป (Next Normal) นอกเหนือจาก "ความปกติแบบใหม่ (New Normal)" ด้วย ที่ผ่านมา ภาคการเงินของโลกเติบโตมาก แต่ภาคเศรษฐกิจ จริงกลับไม่เติบโตเท่าที่ควร และการที่เศรษฐกิจโลกไม่มีเงินเฟ้อมากนักก็เนื่องมาจากเงินที่รัฐอัดฉีด ออกไปอยู่ในภาคการเงินเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้อยู่ในภาคเศรษฐกิจจริง คนอเมริกันมีเงินออมที่เป็นเงินสด ไม่เกินคนละ 400 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น มีแนวโน้มว่า กองทุนบริหารความเสี่ยง (Hedge Fund) จะ ร่ารวยมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน โลกก็จะเหลื่อมล้ายิ่งขึ้นด้วย