SlideShare a Scribd company logo
1 of 73
Download to read offline
รายงาน
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย
ในทศวรรษ 2020
จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ เวทียุทธศาสตร์
2 มีนาคม 2563
รายงานถอดความ (Transcript)
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย
ในทศวรรษ 2020
ผู้นําเสนอหลัก
อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีวินท์ สุพุทธิกุล
ดร. อดุลย์ กําไลทอง
รองศาสตราจารย์ ดร. ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย
รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียใน
ทศวรรษ 2020" จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 ณ โรงแรม
แมนดาริน สามย่าน กรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ: เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ปาณัท ทองพ่วง ชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร
อํานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปีที่เผยแพร่: มีนาคม 2563
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
2
สารบัญ
หน้า
คํานํา
บทนํา
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 6
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020
อาจารย์ ดร. ปิยณัฐ สร้อยคํา 7-14
บทอภิปราย 14-22
มหายุทธศาสตร์โลกของญี่ปุ่นในทศวรรษ 2020
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีวินท์ สุพุทธิกุล 23-31
บทอภิปราย 31-40
มหายุทธศาสตร์โลกของรัสเซียในทศวรรษ 2020
ดร. อดุลย์ กําไลทอง 41-51
ยุทธศาสตร์ของรัสเซียต่อยูเรเชียในทศวรรษ 2020
รองศาสตราจารย์ ดร. ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย 52-64
บทอภิปราย 65-69
บทสรุป
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 70
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 71-73
3
คํานํา
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 เวลา 8.30-13.00 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจัด
ประชุมเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020"
ณ ห้องประชุมบุษบา โรงแรมแมนดาริน สามย่าน ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร โดยมีนักคิด นัก
ยุทธศาสตร์ นักวิชาการ อดีตเอกอัครราชทูต และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็น
มหายุทธศาสตร์โลกของทั้งสามประเทศ
โลกในทศวรรษ 2020 เป็นโลกแห่งความไม่แน่นอนพลิกผัน สหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดี
ทรัมป์มีแนวโน้มถอยห่างออกจากระบบพหุภาคีที่ตนเองเคยเป็นผู้สนับสนุน ขณะที่สหภาพยุโรปเริ่ม
สั่นคลอนจากการที่อังกฤษประกาศถอนตัว (Brexit) แต่ท่ามกลางความพลิกผันนี้ โลกได้เห็นการผงาด
ขึ้นมาของเอเชีย โดยเฉพาะจีน ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอินเดีย เช่นเดียวกับ
ญี่ปุ่นและรัสเซียที่ยังคงมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องแข็งขัน บริบทเช่นนี้สร้างเงื่อนไขให้
ประเทศไทยต้องกําหนดท่าทีและยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมี
ประสิทธิภาพ ซึ่งควรเกิดจากการวิเคราะห์ภาพรวมมหายุทธศาสตร์โลกและการเมืองภายในของทั้งสาม
ประเทศ เพื่อประเมินบทบาทและท่าทีของไทยในการตอบสนองยุทธศาสตร์ของทั้งสามประเทศให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทํารายงานสรุปและถอดความเนื้อหาการ
ประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กําหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา
และประชาชนทั่วไปที่สนใจการกําหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในดุลอํานาจโลกที่กําลัง
เปลี่ยนแปลงนี้
4
5
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
บทนํา
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา
เวทีวันนี้เป็นเรื่องของมหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020 ต้องขอ
เท้าความเล็กน้อยว่า ในช่วงต้น ๆ เราสนใจเรื่องบูรพาภิวัตน์ การปรากฏขึ้นมาของจีนในเวทีระดับโลก
และได้ผลิตหนังสือหลายเล่ม เล่มที่สําคัญเล่มหนึ่งคือ บูรพาภิวัตน์ (ภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลกใหม่)
จากนั้น เราก็ติดตามดุลอํานาจโลกใหม่ ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อจีนขึ้นมาเป็นมหาอํานาจ น่าจะหมายเลข
2 ของโลก สหรัฐอเมริกามีท่าทีอย่างไร ในขั้วอํานาจของโลกนั้นเป็นอย่างไร แล้วประเทศไทยจะปรับตัว
เข้ากับขั้วอํานาจโลกใหม่ ในระเบียบโลกใหม่ ในสถานการณ์ระหว่างประเทศใหม่ได้อย่างไร สักสองปีมา
นี้ เราก็สนใจความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันและอนาคตใกล้ ๆ ศึกษามาเรื่อย ๆ แต่
ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่เราศึกษาเกี่ยวกับมหายุทธศาสตร์โลก (ถ้าหากว่ามี) ของอินเดีย ญี่ปุ่น และ
รัสเซียในทศวรรษ 2020 ในเวลาที่ไม่นานนัก เราก็จะศึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของยุโรปที่มีต่อโลกด้วย
เราจะเริ่มที่มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 โดย ดร. ปิยณัฐ สร้อยคํา ซึ่งท่าน
เป็นอาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ
ท่านจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย St. Andrews สกอตแลนด์ จบปริญญาโทที่ Osmania University
เมืองไฮเดอราบัด (Hyderabad) ซึ่งก็เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของอินเดีย แล้วก็จบปริญญาตรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เกียรตินิยมนะครับ ขอเชิญอาจารย์ปิยณัฐครับ
6
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020
อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา
ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ขอขอบคุณท่านศาสตราจารย์เอนกเป็นอย่างสูงนะครับ วันนี้รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ
ที่ได้มาเล่าเรื่องอินเดียให้ฟัง ขออนุญาตใช้คําว่า เล่าให้ฟังนะครับ เนื่องจากตัวผมเองก็ถือเป็นนักเรียนที่
ยังต้องเรียนเกี่ยวกับอินเดียอีกมาก แล้วก็สนใจเรื่องอินเดียมาตลอดตั้งแต่สมัยปริญญาตรี เพื่อน ๆ
หลายคนเลือกไปเรียนนโยบายต่างประเทศของจีน อเมริกา อาเซียน แต่ผมน่าจะเป็นคนเดียวของรุ่นที่
ตอนนั้นเลือกเรียนนโยบายของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ แล้วก็ฝังใจมาโดยตลอดว่าอยากไปเรียนต่อที่
อินเดีย และทําวิจัยเรื่องอินเดีย
วันนี้ผมมีทั้งสิ้น 5 ประเด็นครับ ผมจะเริ่มจากสถานะของอินเดียในปัจจุบัน จากนั้น ผมจะพูดถึง
ความแตกต่างระหว่างอินเดียในอดีตกับอินเดียในปัจจุบันโดยขยายความถึงภาพรวมนโยบาย
ต่างประเทศของอินเดียตั้งแต่ค.ศ. 1947 เป็นต้นมาว่า นโยบายต่างประเทศของอินเดียมีลักษณะสําคัญ
อย่างไร หัวข้อต่อมาคือ มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจาก
นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ขึ้นมามีอํานาจ การต่างประเทศของอินเดียเปลี่ยนแปลง
ไปมากจากการเน้นอุดมคตินิยม (Idealism) มาสู่การพิจารณาสภาพจริง (Realism) มากยิ่งขึ้น ในส่วน
7
สุดท้าย ผมจะเล่าถึงความท้าทายและปัญหาที่เกิดขึ้นภายในในปัจจุบัน และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ
เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียครับ
สถานะของอินเดียในปัจจุบัน
ในส่วนแรก อินเดียในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างจากอินเดียที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ในอีกไม่กี่ปี
ข้างหน้า อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มีความเจริญรุดหน้า ขนาดเศรษฐกิจ
จะเป็นอันดับ 5 ของโลกถ้าวัดจาก GDP งบประมาณด้านความเข้มแข็งทางการทหารที่อินเดียใช้จะเป็น
อันดับ 5 ของโลก มีทหารประจําการทั้งทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ อินเดียมองตัวเองเป็นรัฐ
ประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบัน มีเขตการปกครองทั้งสิ้น 28 รัฐ แบ่งออกเป็น 8 ดินแดน
สหภาพ ทั้งหมดนี้เป็นรากฐานสําหรับนโยบายต่างประเทศของอินเดีย
บรรทัดฐานนโยบายต่างประเทศของอินเดีย
ผมขอสรุปแนวทางหลักในนโยบายต่างประเทศของอินเดียดังนี้
1) อินเดียให้ความสําคัญแก่อารยธรรมและวัฒนธรรมของคนเป็นอย่างมาก อารยธรรมของ
อินเดียยิ่งใหญ่และยาวนานกว่า 5,000 ปี กระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของโลก อินเดียได้ใช้ความยิ่งใหญ่ทาง
อารยธรรมนี้เชื่อมต่อและเชื่อมโยงกับโลกผ่านกลุ่มคนอินเดียที่กระจายตัวอยู่ตามประเทศต่าง ๆ (Indian
Diaspora) นายกฯ โมดีใช้การเยือนประเทศต่าง ๆ เชื่อมความสัมพันธ์กับชาวอินเดียโพ้นทะเล ชาว
อินเดียโพ้นทะเลหลายกลุ่มมีบทบาทในการเมืองหลายประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ ในส่วนของไทย
ท่านเปิดสนามกีฬาเพื่อพบปะพูดคุยกับชาวอินเดียโพ้นทะเลในประเทศไทย นอกจากนี้ อินเดียยังใช้การ
ทูตวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นภาษาสันสกฤตหรือพุทธศาสนาเชื่อมโยงกับไทยด้วย
2) อินเดียให้ความสําคัญแก่หลักการตัดสินใจด้วยตนเอง และเคารพอํานาจอธิปไตยของรัฐอื่น ๆ
เรื่องนี้มาจากการที่อินเดียเคยมีประสบการณ์ในการต่อสู้เพื่อเอกราช และต่อต้านอาณานิคม (Anti-
Colonialism) อินเดียสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชในประเทศอื่น ๆ และสนับสนุนให้แต่ละประเทศเลือก
แนวทางของตัวเอง การประกาศตัวเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM) แม้จะ
อยู่ในภาวะสงครามเย็นก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
3) อินเดียให้ความสําคัญแก่การทูตพหุภาคี (Multilateral Diplomacy) อินเดียริเริ่มและเข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
(Brazil-Russia-India-China-South Africa: BRICS) ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือ
หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and
Economic Cooperation: BIMSTEC) ก รอบ ค วามร่วม มือแม่นํ้ าโขง-ค งค า (Mekong-Ganga
8
Cooperation: MGC) เวทีเหล่านี้ทําให้อินเดียมีบทบาทในการรวบรวมประเทศต่าง ๆ และสร้าง
บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนในระดับพหุภาคี
4) อินเดียให้ความสําคัญแก่การสร้างความตระหนักรู้สถานะมหาอํานาจของตน (Great Power
Recognition) อินเดียอยากให้ประเทศต่าง ๆ มองอินเดียเป็นมหาอํานาจ แต่ไม่ใช่มองเป็นมหาอํานาจที่มี
เศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ หรือมีกําลังทางทหาร กองทัพขนาดใหญ่ การเป็นมหาอํานาจสําหรับอินเดียนั้น
อินเดียพูดเรื่องสันติภาพ และชูมหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ อินเดีย
จะเป็นมหาอํานาจที่เป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง แม้ว่าอินเดียจะไม่ได้บังคับหรือกดดันประเทศต่าง ๆ ให้
เป็นประชาธิปไตยตามอินเดีย แต่อินเดียก็ใช้การทูตแบบประชาธิปไตยในการส่งเสริมการสร้างสถาบัน
ประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง เช่น การแนะนําเครื่องเลือกตั้งอัตโนมัติที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ประเทศใน
แอฟริกา
อินเดียยังสนับสนุนและช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาด้วย อินเดีย
เห็นความสําคัญของการเสริมสร้างกําลังทหาร แต่ก็พยายามกําหนดขอบเขตความร่วมมือและเสริมสร้าง
ขีดความสามารถทางทหารให้เป็นไปเพื่อธํารงรักษาสันติภาพและความมั่นคงแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง การเตือนและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งอาเซียนได้รับความร่วมมือจากอินเดียในมิติดังกล่าว
เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ อินเดียให้ความสําคัญแก่การพัฒนา แต่การพัฒนาของอินเดียนั้นไม่ได้เป็นการพัฒนา
จากบนลงล่าง ไม่ใช่การพัฒนาจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกําลังพัฒนา อินเดียเชื่อเรื่องการสร้าง
ความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาด้วยกันเอง เพราะไม่มีใครจะเข้าใจประเทศกําลังพัฒนาได้ดี
เท่ากับประเทศกําลังพัฒนาด้วยกันเอง นโยบายของอินเดียนั้นมุ่งช่วยเหลือประเทศในแอฟริกา เอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียกลาง โดยเน้นการให้ทุนการศึกษา ซึ่งผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับ
ทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินเดียให้ไปศึกษา
ผมรู้สึกว่า นี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างอํานาจโน้มนํา (Soft Power) ในการรวมนักศึกษาจาก
หลายประเทศ ซึ่งไม่ได้มีแค่ผมจากประเทศไทย ลาตินอเมริกาและยุโรปตะวันออกก็มี เลขาธิการอาเซียน
ท่านก่อนจากเวียดนาม (Lê Lương Minh) และประธานาธิบดีอัฟกานิสถานท่านปัจจุบัน (Ashraf Ghani)
ก็เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลอินเดียด้วย
การให้ทุนการศึกษานี้มีมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 ในช่วงเวลานั้น แม้อินเดียเป็นประเทศ
ยากจนมาก แต่ก็เชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่กลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีทั้งอาเซียนเก่าหรืออาเซียนที่พัฒนาแล้วและอาเซียน
ใหม่หรืออาเซียนที่กําลังพัฒนา ซึ่งกลุ่มอาเซียนที่กําลังพัฒนานี้คือกลุ่มประเทศที่อินเดียพยายามเข้ามามี
บทบาทในการเชื่อมโยงและลดความเหลื่อมลํ้าในการพัฒนา โดยการจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษา
9
คอมพิวเตอร์ และการเป็นผู้ประกอบการ นี่คือบรรทัดฐานที่เกิดขึ้นในการต่างประเทศของอินเดียตั้งแต่
ค.ศ. 1947
แต่บรรทัดฐานนี้มาเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ค.ศ. 2014 หลังจากนายกฯ โมดีขึ้นดํารงตําแหน่ง
นโยบายได้เปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร แต่เดิม พรรคคองเกรส (The Congress Party) เน้นการ
ต่างประเทศและการแก้ปัญหาภายในประเทศด้วยแนวทางสังคมนิยม เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่ยัง
ยากจนอยู่ รัฐจึงต้องเข้าไปมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรและสาธารณูปโภค
เมื่อพรรคภารตียชนตา (Bharatiya Janata Party) ขึ้นมามีอํานาจ ได้เปลี่ยนแปลงประเทศไป
หลายด้าน ในด้านการเมือง นายกฯ โมดีได้เปลี่ยนแนวทางจากรัฐโลกวิสัย (Secularism) ที่ไม่ได้อิง
ศาสนาใด มาเป็นชาตินิยมฮินดู (Hindu Nationalism) ยกเลิกการให้สิทธิพิเศษแก่แคชเมียร์ (Kashmir)
ในด้านเศรษฐกิจ ปรับระบบเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมให้เปิดรับการลงทุนจากภายนอกมากขึ้น
ในด้านการทูต โมดีเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมอินเดีย ออกเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ
โดยเฉพาะมหาอํานาจ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในช่วงหลัง ท่านหันกลับมาสนใจประเทศอํานาจขนาด
กลางมากขึ้น เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปลี่ยนนโยบายจาก Look East Policy เป็น Act East Policy
ไม่ใช่แค่มองแต่ต้องลงมือทําอะไรสักอย่างกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านให้ความสําคัญแก่
การจับมือกับมหาอํานาจโดยไม่แบ่งขั้ว ต้อนรับรับทั้งทรัมป์และสี จิ้นผิง ท่านไปเยือนรัสเซีย ญี่ปุ่น และ
เดินทางเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ขยายผลประโยชน์แห่งชาติ เปลี่ยนแนวทางจากอุดมคตินิยมมาสู่การ
พิจารณาสภาพจริง เพื่อขยายผลประโยชน์ของอินเดียให้มากขึ้น
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020
สิ่งที่อินเดียพยายามให้ความสําคัญในทศวรรษ 2020 ผมขอสรุปไว้ 8-9 ข้อ ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก
ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกเป็นหนึ่งในมหายุทธศาสตร์ที่อินเดียให้ความสําคัญ อินเดียมุ่งขยาย
อิทธิพลของตนมาทางตะวันออกอยู่แล้ว แต่เนื่องจากอินเดียไม่ได้อยู่ในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-
แปซิฟิก (APEC) นักวิชาการอินเดียจึงเสนอว่า ในเมื่อเข้าไปไม่ได้ ก็ให้ลองขยายยุทธศาสตร์ที่เชื่อมสอง
มหาสมุทรคือมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าด้วยกัน ซึ่งยุทธศาสตร์นี้ ทั้งอเมริกาและญี่ปุ่น
ต่างก็พูดถึง สําหรับอินเดีย อินเดียกําหนดมหาสมุทรอินเดียเป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์นี้ ถ้ามองตาม
ภูมิรัฐศาสตร์ของอินเดียแล้ว อินเดียอยู่ตรงกลางของมหาสมุทรที่สามารถเชื่อมโยงไปทั้งแอฟริกา
ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ โอเชียเนีย โดยมีอาเซียนเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างสองมหาสมุทร
10
2) New India @ 75
ค.ศ. 2022 เป็นปีที่อินเดียได้รับเอกราชครบ 75 ปี อินเดียพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ด้วยการ
ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน มูลค่าทาง
เศรษฐกิจของอินเดียอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อินเดียทุ่มเงินมหาศาลโดยมุ่งเน้นการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานในแต่ละรัฐของอินเดีย อินเดียมีรัฐทั้งสิ้น 28 รัฐ แต่ระดับการพัฒนาในแต่ละรัฐค่อนข้าง
แตกต่างกัน จุดเน้นก็แตกต่างกัน รัฐกรณาฏกะ (Karnataka) ให้ความสําคัญเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์
ใครสนใจเรื่องชาก็ไปรัฐเบงกอลตะวันตก (West Bengal) นอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้วก็มีการพัฒนา
โครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเท่าเทียมทั่วประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น มีการจัดตั้งหน่วยงานของ
รัฐเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนมากขึ้น
3) เทคโนโลยี 5G
อินเดียกําลังมุ่งไปสู่เทคโนโลยี 5G หลายรัฐกําลังนําเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบบริการภาครัฐ
เช่น การเสียภาษี การเสียค่าสาธารณูปโภค ในระดับหมู่บ้าน ก็มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้
อินเดียมีกระทรวงชื่อ กระทรวงการปกครองหมู่บ้าน (Ministry of Panchayati Raj) ที่ทําให้การกระจาย
อํานาจเข้าถึงท้องถิ่นได้มากขึ้น
4) การเป็นมหาอํานาจเชิงวัฒนธรรมและการทูตเชื่อมชาวอินเดียโพ้นทะเล
ตั้งแต่นายกฯ โมดีขึ้นมามีอํานาจ เวลาที่ท่านเดินทางไปต่างประเทศ ท่านก็จะหาจุดเชื่อมโยง
ทางวัฒนธรรมกับประเทศเหล่านั้น เช่น เมื่อครั้งท่านเดินทางไปประเทศมอริเชียส (Mauritius) ท่าน
เดินทางไปสักการะศิวลึงค์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า อินเดียกับประเทศเหล่านี้มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม
ที่แน่นแฟ้น นอกจากนี้ ท่านยังใช้การทูตเหล่านี้เชื่อมโยงกับชาวอินเดียโพ้นทะเล มอริเชียสเองก็เป็นหนึ่ง
ในอาณานิคมของอังกฤษ มีแรงงานอินเดียอพยพไปอาศัยอยู่จํานวนมาก ครั้งหนึ่ง อินเดียมีกระทรวงชาว
อินเดียโพ้นทะเล (Ministry of Overseas Indian Affairs) ปัจจุบัน กระทรวงนี้ผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ
กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชาวอินเดียโพ้นทะเลกับการต่างประเทศมีความเชื่อมโยง
กัน อีกเรื่องหนึ่งคือ การทูตแบบโยคะ (Yoga Diplomacy) โยคะเป็นสิ่งที่อินเดียมอบให้แก่มนุษยชาติ เรา
จะได้เห็นการจัดงานนี้ที่จุฬาฯ เชียงใหม่ พนมเปญ ฯลฯ
5) ยุทธศาสตร์มหาอํานาจ
เดิม อินเดียประกาศตัวว่าเป็นมหาอํานาจที่สงบสุข รักสันติ ปัจจุบัน อินเดียพยายามแสดง
บทบาทการเป็นมหาอํานาจทางทหารมากขึ้น ในการสู้รบกับปากีสถาน อินเดียอวดขีปนาวุธ พิสัยของ
ขีปนาวุธนั้นครอบคลุมมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์เองก็อยู่ในพิสัยดังกล่าว อย่างไรก็ดี การ
พัฒนาขีดความสามารถของขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของอินเดียนั้นมีมาตั้งแต่หลังได้รับเอกราช
แต่อินเดียยืนยันว่า นี่เป็นการพัฒนาเพื่อใช้ผลิตพลังงาน และใช้ควบคู่กันไปกับภารกิจทางทหาร
11
6) SAGA
อินเดียให้ความสําคัญแก่ความมั่นคงและความเจริญเติบโตในภูมิภาค อินเดียมียุทธศาสตร์
SAGA หรือภาษาสันสกฤตคือ "สาคร" ย่อมาจาก Security and Growth for All in the Region
ยุทธศาสตร์นี้เป็นการสร้างมิตรในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการส่งเรือ ซึ่งเป็น
การทูตวัฒนธรรมแบบหนึ่ง บางประเทศอาจเห็นว่าการส่งเรือไปเช่นนี้เป็นการคุกคาม แต่การที่เรือรบ
อินเดียไปเยือนมิใช่การแสดงแสนยานุภาพ เป็นการย้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ที่กษัตริย์อินเดียเคย
เดินทางไปเยือนดินแดนต่าง ๆ เพื่อแสดงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นในความสัมพันธ์ที่ผ่านมา
7) Trisul
การทูต "ตรีศูล" ของอินเดียนั้นให้ความสําคัญแก่ 3 ส่วน ส่วนแรก อินเดียเน้นยํ้าความสําคัญของ
กฎหมาย บรรทัดฐาน และความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่วนที่สองและสาม อินเดียใช้ทั้งเวทีพหุภาคีและ
ทวิภาคีในการขยายผลประโยชน์แห่งชาติของตนเอง
8) การเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
อินเดียพยายามสร้างความเป็นตัวเองในความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ขณะที่อินเดียเป็นส่วน
หนึ่งของ Quad (ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา) คล้าย ๆ จะเป็นปฏิปักษ์กับจีน แต่นายกฯ โมดีก็มองว่า
มหาสมุทรนี้ใหญ่พอที่เสือสองตัวแห่งเอเชียจะอยู่ด้วยกันได้ ในช่วงที่สหรัฐอเมริกามีปัญหากับกลุ่ม
ประเทศตะวันออกกลาง ด้านหนึ่งอินเดียจับมือสหรัฐอเมริกา แต่อีกด้านหนึ่ง อินเดียก็ยังจับมือกับกลุ่ม
ประเทศตะวันออกกลางด้วย
9) ความร่วมมือกับประเทศอํานาจขนาดกลาง
อินเดียพยายามร่วมมือกับประเทศอํานาจขนาดกลางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มเอเชีย
ตะวันตก ยูเรเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอเชียกลาง อินเดียก็พยายามมีความร่วมมือด้านพลังงาน ขณะนี้มี
นโยบาย Look Far East Policy เพื่อแสวงหาแนวทางร่วมมือกับประเทศตะวันออกไกล และอาเซียนของ
เราด้วย
ความท้าทายหลักของอินเดียในทศวรรษ 2020
1) การครองอํานาจนําในภูมิภาคเอเชียใต้
แม้อินเดียเป็นประเทศที่พยายามจะมีบทบาทระดับโลก อินเดียกลับมีปัญหาในระดับภูมิภาค
เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ ยังมีความหวาดระแวงต่อท่าที
ของอินเดียในหลายเรื่อง ในกรณีปากีสถาน ปัจจุบันก็ไปจับมือกับจีนทําระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน
(China-Pakistan Economic Corridor: CPEC) ซึ่งอินเดียหวาดวิตกเป็นอย่างมาก
12
อีกกรณีหนึ่งก็คือ แคว้นแคชเมียร์ หลายท่านอาจคิดว่า ในอดีต ปัญหาแคชเมียร์เป็นปัญหาสืบ
เนื่องมาจากชาติพันธุ์และศาสนา แต่ปัจจุบัน เราจะเห็นได้ชัดว่า ปัญหาแคชเมียร์เป็นปัญหาทรัพยากร
แคชเมียร์ที่อินเดียครอบครองนั้นเป็นแหล่งกําเนิดของแม่นํ้าหกสาย ซึ่งแม่นํ้าเหล่านี้หล่อเลี้ยงชีวิตของทั้ง
สองประเทศ ต้นกําเนิดแม่นํ้าเหล่านี้อยู่ในอินเดีย ปากีสถานจึงหวาดวิตก หากวันหนึ่งอินเดียปิดทางต้น
นํ้าแล้ว ปากีสถานจะทําอย่างไร
นอกจากนี้ อินเดียประกาศใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยสัญชาติ (Citizenship Amendment Act: CAA)
และความเป็นพลเมือง (The Proposed National Register of Citizens: NRC) อินเดียได้ประกาศให้
สัญชาติแก่ผู้ลี้ภัยไม่ว่าจะเป็นชาวปากีสถาน บังกลาเทศ หรืออัฟกานิสถาน แต่ปัญหาคือ อินเดียให้
เฉพาะผู้ลี้ภัยที่เป็นฮินดู เป็นพุทธ เป็นเชน แต่ไม่ให้ชาวมุสลิม อินเดียเปลี่ยนแปลงจุดยืนจากรัฐโลกวิสัย
มาเป็นรัฐชาตินิยมฮินดู นําการเมืองกับการศาสนามาปะปนกัน ทําให้เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในภูมิภาค
2) ความสัมพันธ์กับจีน
แม้จีนพยายามจะเป็นมิตรกับอินเดีย เนื่องจากการค้าระหว่างสองประเทศมีปริมาณสูง แต่อินเดีย
พยายามเข้าไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกด้วยการสนับสนุนบทบาททางทหารของเวียดนามในทะเลจีนใต้ เช่น
ต่อเรือรบ สนับสนุนขีปนาวุธ ทําให้จีนไม่พอใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีนจึงสร้างฐานทัพเรือที่เมียนมา
บังกลาเทศ ศรีลังกา ปากีสถาน ใช้ฐานทัพเหล่านี้เป็นเหมือนสร้อยที่รัดคออินเดียไว้ จีนจึงเป็นความท้า
ทายสําคัญของอินเดียในทศวรรษ 2020
3) ประเด็นปัญหาภายในประเทศ
เดิม อินเดียให้ความสําคัญแก่รัฐโลกวิสัยและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ศาสนา แต่ปัจจุบัน
รัฐบาลเน้นชาตินิยมฮินดู ฮินดูต้องมาก่อน อินเดียต้องยิ่งใหญ่อีกครั้ง สิ่งเหล่านี้ทําให้ชนกลุ่มน้อยใน
อินเดียรู้สึกถูกคุกคาม บางนโยบายสร้างความไม่พอใจมาก เช่น การเปลี่ยนมัสยิดเป็นวิหารหรือวัดฮินดู
อีกประการหนึ่งคือ การเมืองระดับรัฐและการเมืองระดับประเทศ อินเดียมีรัฐทั้งสิ้น 28 รัฐ แต่ละ
รัฐมีมุขมนตรีซึ่งมีอํานาจบริหารภายในรัฐของตนเอง ปัจจุบัน การเมืองระดับรัฐรุนแรงมากขึ้น อินเดียไม่
สามารถมีรัฐบาลพรรคใหญ่พรรคเดียว พรรคของรัฐบาลส่วนกลางก็จะต้องจับมือกับพรรคของท้องถิ่นให้
มากขึ้น ท้องถิ่นเองก็มีบทบาทในการระหว่างประเทศมากขึ้น รัฐที่อยู่ตะวันออกเฉียงเหนือก็พยายามผูก
สัมพันธ์กับไทย เพื่อขยายความเชื่อมโยงเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐอานธรประเทศ (Andhra
Pradesh) ก็ผูกสัมพันธ์กับสิงคโปร์
นอกจากนี้ ปัญหาความรุนแรงอื่น ๆ เช่น ปัญหาแคชเมียร์ ปัญหารัฐนาคาแลนด์ (Nagaland) ที่
ต้องการแบ่งแยกดินแดนก็ยังมีอยู่ อินเดียก็จําเป็นต้องจัดการ
13
โอกาสของไทยในการยกระดับความสัมพันธ์กับอินเดีย
อินเดียกับไทยมีช่วงเวลาแห่งความมืดเฉพาะช่วงสงครามเย็น เนื่องจากไทยเลือกข้างอเมริกา
อินเดียช่วงนั้นมองไทยแปลกไป แต่โดยรวม ไทยกับอินเดียมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ สังคม และ
การค้าที่ดีมาโดยตลอด สิ่งที่อินเดียกับไทยจะสามารถผูกสัมพันธ์กันได้มีหลายด้าน ด้านหนึ่งคือ Act
East Policy อินเดียให้ความสําคัญแก่ไทยและอาเซียน ส่วนนี้ทําให้ไทยเป็นพระเอกในเรื่องนี้ได้ ปัจจุบัน
อินเดีย-เมียนมา-ไทย กําลังสร้างทางหลวงไตรภาคี (India-Myanmar-Thailand Trilateral Highway)
เชื่อมจากโมเรห์ (Moreh) ของอินเดีย ผ่านย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ แล้วเข้าแม่สอด ประเทศไทย ผมเชื่อว่า
ปัจจุบันเสร็จไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่ติดขัดเรื่องกฎหมายคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ ทั้งนี้ มีการจัด
แรลลี่จากอินเดียเข้าสู่อาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ด้วยยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก อาเซียน
และประเทศไทยอยู่ตรงกลางระหว่างสองมหาสมุทร ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงนี้
และอินเดียจะให้ความสําคัญมากขึ้น
นอกจากนี้ อินเดียยังเน้นการทูตแบบพหุภาคี ปั้จจุบัน ก็มีเวทีประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน-
อินเดีย (ASEAN-India Summit) BIMSTEC MGC ไทยก็ได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทอด
เทคโนโลยี การเกษตร การประมง หากใครไปเที่ยวอินเดียแล้วถือหนังสือเดินทางไทย สามารถเข้าไป
เยี่ยมชมทัชมาฮาลโดยได้ส่วนลดจากราคา 700 รูปี เป็น 500 รูปี น่าเสียดายที่อินเดียยังไม่ได้ลงนามใน
RCEP เนื่องจากมีเหตุผลสําคัญคือ เกษตรกรและชาวนาจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี
ในด้านการทูตวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีบริษัทอินเดียเป็นจํานวนมาก และมีหลาย
หน่วยงานทําหน้าที่ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย ปัจจุบันมีศูนย์อินเดียศึกษาที่จุฬาฯ
ธรรมศาสตร์ รังสิต มหิดล เชียงใหม่ ศูนย์เหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียได้
มากขึ้น นี่คือภาพรวมมหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 ครับ
บทอภิปราย
อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม
ขอถามคําถามเดียวนะครับ ขอบคุณท่านวิทยากรที่ให้ภาพใหญ่เรื่องนโยบายต่างประเทศของ
อินเดีย ท่านพูดผมก็เห็นด้วยเรื่องบริบทที่เป็นตัวกําหนดนโยบายต่างประเทศของอินเดีย แล้วก็เรื่อง
Geopolitics อินเดียยังคงยึดมั่นนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ก็อยากจะถามท่านวิทยากรครับว่า ในปัจจุบันนี้ นโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่อินเดียชูมาตลอดตั้งแต่
สมัยเนห์รู (Jawaharlal Nehru) ยังมีความหมายในด้านสารัตถะหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น
ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ อินเดียกับอาเซียนในยุคสงครามเย็นมีปัญหาเรื่องกัมพูชา เราก็ขอร้อง
ไม่ให้อินเดียรับรองรัฐบาลหุ่นเชิดเฮง สัมริน อินเดียก็พูด พูดแบบภาษาอินเดีย เราก็รู้ ๆ กันอยู่ อาจมี
14
กลิ่นถั่วเหลืองถั่วดําบ้าง แต่ก็เข้าใจ ในที่สุด เราก็ไม่สามารถโน้มน้าวอินเดียได้ อินเดียก็รับรองรัฐบาล
เฮง สัมริน พอรับรองแล้ว แน่นอน มันก็มีผลกระทบต่อความรู้สึกของประเทศอาเซียน 5 ประเทศต่อ
อินเดีย นี่กําหนดโดย Geopolitics ของยุคนั้น ขณะนั้น บริบทนั้น
นโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของอินเดียในปัจจุบัน เราควรมองว่า ยังมีความสําคัญ ตราบใดที่ยัง
ตอบสนองอินเดียได้ในบริบทข้างหน้าหรือที่เป็นอยู่ แต่ไม่ใช่นโยบายที่เขายึดไว้ตลอดเวลา อย่างกรณี
รัฐบาลเฮง สัมริน ผลประโยชน์ของอินเดียตอนนั้นก็อยู่กับสหภาพโซเวียต ปากีสถานก็อยู่กับจีน ฉะนั้น
เราจะสรุปได้ไหมว่า อินเดียปัจจุบัน ในยุคช่วงหลังสงครามเย็น ก็เหมือนอีกหลายประเทศที่ยึดนโยบาย
ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดไว้เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ตัวกําหนดจริง ๆ ก็คือบริบทและผลประโยชน์แห่งชาติ
ของอินเดีย ไม่ทราบว่า ท่านมีความเห็นอย่างไร ผมจําได้ว่า จีนกับอินเดีย เนห์รูกับโจวเอินไหลรักกัน
มาก ถึงขั้นคนอินเดียเผาสถานทูตจีนตอนมีปัญหาระหว่างกัน สองประเทศนี้เขารบกันมาสองครั้งแล้วนะ
ครับ ผมจําได้ภาษาฮินดีเขาบอกว่า "Indian Jini Baibai" แปลว่า จีนกับอินเดียเป็นเพื่อนรักกัน แต่นี่
ขนาดรักกันแล้วนะ ขอบคุณมากครับ
อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา
ขอบพระคุณท่านอย่างสูงนะครับ จริง ๆ ผมเห็นด้วยกับท่านอย่างมากนะครับว่า บริบทขณะนั้น
จะเป็นตัวกําหนดนโยบายต่างประเทศของอินเดีย ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์เอกอัครราชทูตอินเดียหลาย
ท่านที่มาประจําในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านก็ยอมรับว่า การทูตในช่วงนั้นเป็นจุดหนึ่งที่อินเดียเสียใจ
มาโดยตลอดที่ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียกับอาเซียนค่อนข้าง
จะไม่ลงรอยกัน ในช่วงนั้นอาเซียนเองก็พยายามจับมือ ผูกสัมพันธ์กับอินเดีย แต่อินเดียเองที่เป็นคน
ปฏิเสธอาเซียน ในยุคนั้น ผมเห็นด้วยครับว่า นโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างสอง
ภูมิภาคนี้ไม่ได้เป็นไปด้วยดี
แต่ในปัจจุบัน ผมคิดว่ากลิ่นอายของ NAM เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จริง ๆ ก็ไม่ใช่พอสมควร
เปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ ทีเดียว จากเดิมที่เป็นเรื่องของการไม่ฝักใฝ่ในทางการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นการ
ทูตเพื่อการพัฒนามากขึ้น เป็นความช่วยเหลือ ความร่วมมือในบริบทของประเทศกําลังพัฒนา ถ้าผม
เข้าใจไม่ผิด ประเทศไทยก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ NAM ด้วย แต่ไม่ได้เป็นในบริบทของการเมือง แต่
เป็นความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันมากกว่า ต้องขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ
รองศาสตราจารย์ ดร. ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย
ในส่วนของอินเดีย ผมคิดว่า อินเดียไม่ได้เป็นผู้เล่นหลักในเวทีภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์โลก
อินเดียยังต้องการซื้อนํ้ามันจากรัสเซีย และซื้อระบบติดตั้งขีปนาวุธ S-400 ประเด็นคือ นโยบายที่เป็น
กลางของอินเดียไม่มี ขึ้นอยู่กับว่าอินเดียจัดการสมดุลหรือถ่วงอํานาจอย่างไร การจัดการดุลอํานาจของ
อินเดียก็ขึ้นอยู่กับ หนึ่ง ความสามารถหมุนเวียนเงินดอลลาร์ที่อินเดียต้องการใช้ซื้อขายในต่างประเทศ
15
แต่สหรัฐอเมริกาไม่สามารถสนับสนุนเงินดอลลาร์ในการทําธุรกรรมได้ สอง ถ้าอินเดียมีความสัมพันธ์
ใกล้ชิดกับจีนหรือรัสเซีย สหรัฐอเมริกาจะปิดกั้นการทําธุรกรรมดังกล่าว ดังนั้น ความเป็นกลางของ
อินเดียไม่มี ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจระดับชาติของอินเดียมากกว่า นโยบายเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางไม่น่าจะ
มีผลต่อนโยบายของอินเดีย น่าจะขึ้นอยู่กับว่าการทหารกํากับแค่ไหน แล้วอินเดียก็ไม่ได้เป็นประเทศที่มี
อธิปไตยอย่างเต็มที่ในเวทีระดับโลก
ดร. อดุลย์ กําไลทอง
ขอบคุณอาจารย์ปิยณัฐนะครับ วันนี้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะนโยบายของโมดีที่
เกี่ยวกับการทําให้อินเดียเป็นมหาอํานาจอีกครั้งหนึ่ง นโยบายชาตินิยมฮินดูนั้นแน่นอนว่า มันจะทําให้
ชาติเข้มแข็ง ในขณะเดียวกัน มันจะเกิดปัญหาภายในหรือความอ่อนแอภายในไหมครับ ที่ชนกลุ่มน้อย
มุสลิมจะลุกขึ้นมาต่อต้าน ผมมีโอกาสได้คุยกับชาวมุสลิมเชื้อสายอินเดีย (Indian Muslim) หลายคน เขา
ก็บอกว่า ข้างนอกนั้น อินเดียกําลังไปได้ดีมาก แต่ภายในอาจมีวิกฤตได้ในวันหนึ่ง อยากถามอาจารย์ว่า
มีความเห็นอย่างไรบ้าง
อดีตเอกอัครราชทูต ดร. จริย์วัฒน์ สันตะบุตร
ผมว่าเรื่องภายในประเทศของอินเดีย นอกจากปัญหาที่น้องเขาถามแล้ว ผมว่า เราไม่ได้พูดถึง
เรื่องวรรณะ (Caste) เลย ผมว่า เป็นอุปสรรคสําคัญยิ่งที่ไม่สามารถทําให้อินเดียขับเคลื่อนแบบจีนได้
นอกจากเรื่องวิธีการปกครองแล้ว ผมมองกว้าง ๆ อย่างนั้น แล้วผมคิดว่า หลาย ๆ อย่างที่อินเดียทําอยู่
มันเป็นการตอบสนองบริบทปัจจุบันมากกว่า พอจีนเข้ามาทํา One Belt One Road อินเดียก็เลย
ตอบสนอง มันไม่ได้เป็นนโยบายรุกของอินเดียที่คิดอยากจะทํา
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ผมขอร่วมนิด เหมือนพวกเรารู้สึกว่า ที่อินเดียพูด ๆ ทําไม่ได้หรอก แล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่จะ
สร้างสรรค์ได้จริง ๆ กึ่งโม้นิด ๆ นี่พูดเพื่อให้อาจารย์มีความฮึกเหิมที่จะตอบนะครับ
อดีตเอกอัครราชทูตกิตติพงษ์ ณ ระนอง
ก่อนอื่นขอขอบคุณสถาบันคลังปัญญาฯ นะครับที่จัดงานนี้ ทําให้ผมได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ที่ไม่มี
ความรู้มากนัก โดยเฉพาะอินเดีย ขอตรงประเด็นเลยนะครับ ผมว่าจริง ๆ อินเดียไม่ได้มีอะไรใหม่หรอก
แต่ผมว่า มีอยู่ 3 อย่างที่อินเดียพยายามทํา
1) Repackage สิ่งที่เคยทําในอดีตแล้วมานําเสนอใหม่
2) Narrative ใช้เรื่องราวที่ฟังดูน่าคล้อยตาม ไม่ว่าจะเป็นตรีศูลหรือสาคร นี่คือ Narrative ที่เขา
รู้จักเล่น รู้จักพูด ไม่ใช่ทําแล้วพูดไม่เป็น แล้วคนอื่นไม่เข้าใจ
16
3) Re-prioritize รู้จักจัดลําดับความสําคัญของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ฉะนั้น เรื่องนโยบายพลเมือง
ผมว่าเขาจะมีลําดับความสําคัญที่ต้องคิดคํานึง แต่แน่นอนว่า พอไปได้ใจทางฮินดู ก็อาจทําให้มุสลิม ทํา
ให้ซิกข์ไม่พอใจ เรื่องการต่างประเทศก็เหมือนกัน ต้องมีลําดับความสําคัญ ดูว่าเขาอยากได้อะไร ณ เวลา
นั้น ก็ต้องกลับมาที่ท่านทูตสุรพงษ์ หนีไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ หนีไม่พ้นเรื่องบริบทที่แตกต่าง
กันไป
อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม
ผมสนใจที่อาจารย์พูด ซึ่งก็เป็นความจริง ในเรื่องที่ว่าอินเดียให้ความสําคัญแก่การทูตการ
ต่างประเทศแบบพหุภาคี แต่ผมมีข้อสังเกตและอยากฟังความเห็นของท่านอาจารย์ด้วย ถ้าประเทศไหน
เป็นประเทศมหาอํานาจอย่างแท้จริง แนวโน้ม และสัญชาตญาณหรือสันดานของประเทศใหญ่ ถ้ามี
ศักยภาพที่จะดําเนินการแบบเอกภาคี (Unilateral) ต่ออีกประเทศได้ เขาก็จะทําครับ แต่อินเดียขณะนี้ไม่
มีศักยภาพ แม้แต่จะจับคู่กับจีน ไม่ต้องไปพูดถึงสหรัฐอเมริกา หรืออดีตสหภาพโซเวียต เขาก็ต้องยึดอัน
นี้ไว้ก่อน เพราะพหุภาคีเป็นเวทีเดียวที่ทําให้เขารักษามิตรไว้ ซื้อเวลาเพื่อสร้างศักยภาพของเขาได้
ประเทศไทยเราก็ถือว่าเป็นประเทศเล็กประเทศหนึ่ง ประเทศกําลังพัฒนา เราก็ต้องยึดพหุภาคีให้มาก ไม่
มีกําลังไปดําเนินการโดยเอกเทศ ก็ต้องยึดกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นเกราะ
เป็นโล่กําบังให้เรา ผมคิดว่า อินเดียยังให้ความสําคัญแก่การทูตและการต่างประเทศพหุภาคีก็เพราะเหตุ
นี้ ขอบคุณครับ
คุณสถาพร บุญประเสริฐ
สนใจประเด็นที่อาจารย์เสนอว่า ไทยกับอินเดียจะเป็นศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก
นั้น ไทยจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน หรือถูกอินเดียกดดันมากน้อยแค่ไหน
พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง
เรื่องอินโด-แปซิฟิก ก็มีคนถามว่า ไทยจะอยู่ตรงไหน ผมก็บอกว่า ไทยก็อยู่ตรงกลางนั่นแหละ
ไม่เข้าทั้ง BRI และอะไรอย่างเต็มที่ รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ผมก็ถามเขาคืนว่า ในยุทธศาสตร์อินโด-
แปซิฟิก อินเดียจะทําอะไรกับอาเซียนบ้าง เพราะอาเซียนมี Outlook 3 เรื่องคือ เรื่องความร่วมมือทาง
ทะเล SDGs แล้วก็เรื่องการค้าเสรี เรื่องการค้าเสรี อินเดียก็ไม่กล้า ทุนที่จะลงไปเรื่องการสร้างความ
ร่วมมือทางทะเลก็ไม่มี อยากทราบจากอาจารย์ว่า อินเดียมีแผนอะไรเกี่ยวกับ SDGs บ้าง
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ผมเติมเล็กน้อยนะครับ เศรษฐกิจอินเดียที่ว่าเป็นอันดับ 5 ถ้าเทียบเศรษฐกิจอาเซียนนี่ถือว่าเล็ก
กว่า เศรษฐกิจอาเซียนทั้งหมดใหญ่กว่าเศรษฐกิจอินเดียนะครับ
17
รองศาสตราจารย์ ดร. จํานง สรพิพัฒน์
ผมเสริมท่านสุรสิทธิ์เล็กน้อย ผมมีประสบการณ์ตรงที่ได้ทํางานให้กระทรวงพลังงานอัน
เนื่องมาจากข้อตกลง BIMSTEC BIMSTEC นี่เกิดขึ้นหลังจากที่จีนใช้นโยบาย Look South หลังจากนั้น
การทํางานของรัฐบาลไทยก็คือ แต่ละกระทรวงเมื่อได้รับข้อความจากกระทรวงการต่างประเทศแล้วก็ต้อง
ทําแผน หลังจากพูดคุยกันแล้วปรากฏว่า เราอยากเสนอตัวแบบการสร้างสํานักงานประสานงานด้าน
พลังงานเหมือนที่ทําในกลุ่มประเทศอาเซียน ผลก็คือว่า รายการนี้ไม่สําเร็จ เพราะไม่มีใครยอมออกเงิน
จะให้ประเทศไทยออกเงิน นี่ก็เป็นอย่างที่ท่านสุรพงษ์พูดไว้เลยคือ มีแต่คําพูด ราคาคุย
อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา
ขอบพระคุณทุกท่านนะครับ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ชินสัคคนะครับว่า การทหารและเศรษฐกิจมี
บทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบายต่างประเทศอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพยายามหาทางเบี่ยงที่จะ
นําพลังงานเข้ามาในอินเดีย ดังที่เราจะเห็นได้จากโครงการหลายโครงการที่อินเดียพยายามเชื่อมโยงกับ
เอเชียกลาง
ในส่วนของชาตินิยมฮินดูและการต่อต้านมุสลิมนั้น ผมเชื่อว่า ทําให้เกิดความระสํ่าระสายขึ้น
อย่างมากในอินเดีย ประชากรที่เป็นมุสลิมในอินเดีย แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อย แต่ก็มีถึง 300 กว่าล้านคน
ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก นโยบายนี้แม้จะได้ใจชาวฮินดู แต่ขณะเดียวกัน ชาว
มุสลิมก็ได้รับผลกระทบพอสมควร ถามว่า ชาวฮินดูเห็นด้วยกับนโยบายนี้ของโมดี 100 เปอร์เซ็นต์ไหม
ผมเชื่อว่า หลายคนพอชั่งนํ้าหนักแล้ว อาจยังเลือกทางนี้เพื่อให้อินเดียพัฒนาไปข้างหน้า แต่คนที่เห็นว่า
อินเดียควรอยู่กันแบบรัฐโลกวิสัยก็ยังมีอยู่ ซึ่งผลการเลือกตั้งท้องถิ่นของเดลีที่พรรคไม่ใช่รัฐบาลชนะก็
สะท้อนว่า มีคนไม่เห็นด้วยอยู่มาก
ในเรื่องของวรรณะ ผมเห็นว่าภาพของวรรณะก็เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว อินเดียมีนโยบายให้
โควตาเรียนหนังสือ สมมติว่า 100 คนเข้าแพทย์ 50 คนอาจให้คนที่มาจากวรรณะปกติ อีก 25 คนอาจให้
จัณฑาล และอีก 25 คนอาจให้มาจากชนเผ่า การให้โควตาการเรียนการทํางานนี้ทําให้คนที่อยู่ในวรรณะ
ที่แตกต่างสามารถเข้าใกล้กันได้มากขึ้น สามารถกลับไปดูแลสังคมของตนเองได้ ปัจจุบันวรรณะยังมีผล
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนชั้นสูงกดขี่คนชั้นล่าง ตอนนี้คนชั้นล่างเข้ามามีบทบาทมากขึ้น บางรัฐนั้นมี
มุขมนตรีมาจากจัณฑาล ประธานาธิบดีอินเดียปัจจุบันก็เป็นจัณฑาล ซึ่งเรื่องวรรณะอาจกลายเป็นว่า คน
วรรณะบนอาจถูกวรรณะล่างกดขี่ก็เป็นได้
ส่วนเรื่องการทูตแบบพหุภาคีนั้น ผมเห็นด้วยอย่างมากครับ แต่ผมลองมองอีกมุมหนึ่งว่า การทูต
พหุภาคีอาจไม่ใช่การทูตของมหาอํานาจ อาจจะเป็นการทูตที่อินเดียเองใช้เสียงของเวทีนั้นพูดแทนตัวเอง
นําสิ่งที่ตัวเองต้องการให้องค์กรระหว่างประเทศ ให้เวทีระหว่างประเทศพูด ผมว่า ก็เป็นความชาญฉลาด
อย่างหนึ่ง ซึ่งอินเดียก็ไม่ได้หักด้ามพร้าด้วยเข่า
18
อีกประเด็นหนึ่งที่ว่า อินเดียนั้น Repackage ใช้ Narrative แล้วก็ Re-prioritize สามข้อนี้ผมเห็น
ด้วยอย่างมากครับ แล้วก็อยู่ในกรอบ 4 แนวคิดที่ผมวาดไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งอินเดียใช้มาโดยตลอด และจะใช้
ต่อไปในอนาคต
สําหรับประเด็นที่ว่า ไทยกับอินเดียจะเป็นศูนย์กลางอินโด-แปซิฟิกได้ไหม จริง ๆ แล้วอินเดียกับ
ไทยเราเป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นเพื่อนบ้านทางทะเล (Maritime Neighbor) เวลาเราพูดถึงเพื่อนบ้าน เราจะ
มองว่า มีแค่เมียนมา ลาว กัมพูชา มาเลเซีย จริง ๆ ไทยกับอินเดียเป็นเพื่อนบ้านทางทะเล ในส่วนของ
ทะเลอันดามัน นิโคบาร์ (Nicobar Islands) กับภูเก็ตนั้นไม่ได้อยู่ห่างกัน และเรามีสัญญาบ้านพี่เมืองน้อง
กันแล้ว ทําให้ความใกล้ชิดและการขยับเข้าสู่อินโด-แปซิฟิกนั้นอาจจะชัดเจนขึ้น
ส่วนสุดท้าย เรื่องความร่วมมือทางทะเลกับ SDGs ใน ASEAN Outlook ผมคิดว่า อินเดียก็มี
เรื่องนี้เช่นกัน ในส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการให้ทุนการศึกษาแก่อาเซียน เช่น การอบรมครูในโครงการ
ITEPS (Integrated Teacher Education Programmes) การซ้อมรบระหว่างกองทัพเรือไทย อาเซียน
กับอินเดียก็ยังมีอยู่เช่นกัน ผมคิดว่า อินเดียก็ยังให้ความสําคัญแก่อาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่นกันครับ ขอบคุณครับ
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ผมก็สนใจอยู่อย่างนะครับว่า ทําไมอินเดียรู้สึกห่างเหินจากเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศไทย
พอไปศึกษาหนังสือ นี่ก็อินเดียเต็มไปหมด กษัตริย์ของเราก็อินเดีย ธรรมนิติ ราชนีติ ธรรมศาสตร์ ก็ของ
อินเดียหมด แต่พอเห็นคนอินเดียแล้วไม่คุ้น ก็แปลกดี ที่จริงแล้ว เอเชียอาคเนย์ก็คือสุวรรณภูมิของ
อินเดีย อินเดียมาเจอเราก่อนจีน เพราะอินเดียเดินทะเลก่อนจีน ก็เรียกสุวรรณภูมิบ้าง สุวรรณทวีปบ้าง
อารยธรรมชนชั้นสูงของเอเชียอาคเนย์ก็เกิดจากอินเดีย ผมก็พูดกับทูตของอินเดียไปหลายคนว่า ทําไม
ไม่เห็นมาทําอะไรในเอเชียอาคเนย์ให้เป็นเรื่องเป็นราว จีนนั้น แม้หน้าตาพวกเราจะคล้ายจีนกว่าอินเดีย
แต่เราไม่ได้รับอารยธรรมชั้นสูงจากจีนเท่าไหร่ จะเป็นวัฒนธรรมระดับครอบครัว แต่ทําไมจีนถึงเดิน
สัมพันธ์กับไทยได้ดีเหลือเกิน มันแปลก ที่พูดนี่เพื่อจะฝากอาจารย์ปิยณัฐให้ไปบอกอินเดียว่าให้ทําอะไร
ในเอเชียอาคเนย์เหมือนที่เป็นญาติของพวกเรา เราก็ปรารถนาจะเห็นทั้งจีนและอินเดียเข้ามา เราไม่ได้
อยากจะเห็นแต่จีนเข้ามาอย่างเดียว เราก็พยายามเหมือนให้ท่าแล้ว อินเดียก็ยังไม่ค่อยสนใจเรา เมื่อก่อน
ผมดูแล้ว อินเดียก็หันหน้าไปทางตะวันตกจริง ๆ คือเรื่องปากีสถานกับตะวันออกกลาง ส่วนเรื่องพวกเรา
อินเดียก็พูดไปอย่างนั้น ไม่ค่อยสนใจพวกเราเท่าไหร่ นี่ก็ฝากไปนะครับ เราก็ปรารถนาจะเห็นเขาเข้ามา
ทําอะไรมากขึ้น
19
คุณชีวินท์ ณ ถลาง
ขอบคุณสถาบันฯ และอาจารย์ปิยณัฐด้วยครับ ผมไม่มีคําถามแต่อยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ผม
เห็นด้วยกับท่านวิทยากรและท่านทูตทุกท่าน เรากับอินเดียยังมีมุมมองไม่ค่อยตรงกันอย่างที่ท่าน
อาจารย์เอนกพูดเมื่อสักครู่แม้ว่าทั้งสองฝ่ายสามารถแบ่งปันและร่วมมือกันได้หลายเรื่อง เท่าที่ผมได้
สัมผัสกับอินเดียโดยตรงพบว่าทั้งสองฝ่ายมีคลื่นความถี่ที่ยังไม่ตรงกันนักครับ เขาให้ความสําคัญแก่
ประเด็นความมั่นคงมากซึ่งก็เข้าใจได้เพราะเขามีประเด็นปัญหาภายใน เช่น เรื่องแคชเมียร์ และอื่น ๆ
ขณะที่ฝ่ายเรามองเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักเพราะอินเดียเป็นตลาดใหญ่มีประชากรเป็นพันล้าน นอกจากนี้
อินเดียมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นรองใคร มีนิวเคลียร์ มียานอวกาศ คนอินเดียจํานวนมาก
ไปทํางานในประเทศตะวันตก ในยุโรป ในอเมริกา คนอินเดียจํานวนมากมีความเก่ง ที่ผ่านมา อินเดีย
พยายามมีความร่วมมือกับไทย แต่ต้องเล่าให้ฟังว่า เขามองว่าไทยเอนเอียงไปทางจีน ซึ่งผมก็รู้สึกว่า
อาจจะเป็นอย่างนั้น เรามีคําเปรียบเปรยว่า เจอแขกกับเจองู ต้องตีแขกก่อน ความคิดนี้ยังอยู่ในทัศนะ
ของคนไทยหลายกลุ่ม จึงต้องฝากคนรุ่นใหม่อย่างอาจารย์ปิยณัฐด้วยในการช่วยแนะคนรุ่นใหม่ให้ปรับ
มุมมองต่ออินเดีย
พูดถึงภาคประชาสังคม สถานทูตอินเดียพยายามเสริมความเชื่อมโยงในระดับประชาชนของทั้ง
สองฝ่าย เช่น การจัดงาน North East India Festival ในไทย ส่วนกระทรวงการต่างประเทศก็ได้จัดคณะ
ไปเยือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งมีความเชื่อมโยงกับไทยในด้านชาติพันธุ์ที่เรียกว่าชนเผ่า
ไท เพื่อกระชับความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษา กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA)
ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ชาวอินเดียในดินแดนแถบนั้นซึ่งยังมีการพัฒนาที่เป็นรองกว่าพื้นที่อื่น ผมขอเน้น
ฝากคนรุ่นใหม่อย่างอาจารย์ปิยณัฐด้วยในเรื่องการสร้างทัศนคติที่ดี ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่จะเข้าข้างอินเดีย
ทั้งหมดเพราะรู้ว่าบางเรื่องก็ยังมีข้อด้อยพอสมควร แต่อยากให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้อง
เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ มีทัศนคติมองอินเดียในมุมใหม่มากขึ้น ปัจจุบัน อินเดียมีหลายอย่างที่ไม่เหมือน
อินเดียยุคโบราณ มุมไบ (Mumbai) บังกาลอร์ (Bangalore) ก็มีความก้าวหน้ามาก และเขามีความ
เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน (FinTech) ซึ่งน่าสนใจ ด้วยประชากรจํานวนพันกว่าล้าน
แต่เขาสามารถทําให้ระบบของเขาเข้าถึงชุมชนได้ การค้าขายออนไลน์ก็ขยายตัวขึ้นมาก ที่ผ่านมาทาง
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนเสริมสร้างความร่วมมืออยู่ ก็ฝากไว้เป็นข้อมูลครับ
คุณวรพันธุ์ ศรีวรนารถ
ขอแบ่งปันข้อมูลดังนี้
ประเด็นที่หนึ่งคือ อินเดียปัจจุบันเป็นอย่างที่ผอ.ชีวินท์บอกคือ อินเดียใหม่ โดยยกตัวอย่าง
โทรศัพท์มือมือ ซึ่งถือได้ว่าเป็น Equalizing Factor (ปัจจัยที่ทําให้ทุกคนเท่าเทียมกันมากขึ้น) ที่สําคัญ
เพราะทําให้ระบบวรรณะหายไป เนื่องจากไม่มีวรรณะอยู่ในโลกดิจิทัล ยิ่งอินเดียเคลื่อนสู่สังคมเทคโนโลยี
มาก ๆ สังคมอินเดียก็ยิ่งจะเปลี่ยนแปลงไป
20
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020
มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบบทที่ 1
แบบทดสอบบทที่ 1แบบทดสอบบทที่ 1
แบบทดสอบบทที่ 1Teerasak Muntha
 
สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคมสถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคมthnaporn999
 
เล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียน
เล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียนเล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียน
เล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียนหรร 'ษๅ
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตTaraya Srivilas
 
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศChainarong Maharak
 
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4sonsukda
 
โครงงานอารยธรรมอียิปต์
โครงงานอารยธรรมอียิปต์โครงงานอารยธรรมอียิปต์
โครงงานอารยธรรมอียิปต์FlookBoss Black
 
Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์
Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์
Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์efin
 
แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2
แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2
แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2teerachon
 
แบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงานแบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงานRattana Wongphu-nga
 
ชุด บรรษัทข้ามชาติ
ชุด บรรษัทข้ามชาติชุด บรรษัทข้ามชาติ
ชุด บรรษัทข้ามชาติthnaporn999
 
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์Kapom K.S.
 
ทรรศนะ2
ทรรศนะ2ทรรศนะ2
ทรรศนะ2krubuatoom
 
แบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนวัดทองทั่ว
 

What's hot (20)

แบบทดสอบบทที่ 1
แบบทดสอบบทที่ 1แบบทดสอบบทที่ 1
แบบทดสอบบทที่ 1
 
สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคมสถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม
 
เล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียน
เล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียนเล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียน
เล่มที่ 2 ความร่วมมือในอาเซียน
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
ชีวประวัติ มหาตมา คานธี
ชีวประวัติ มหาตมา  คานธีชีวประวัติ มหาตมา  คานธี
ชีวประวัติ มหาตมา คานธี
 
แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน  หลังเรียนแบบทดสอบก่อนเรียน  หลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
 
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
 
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
 
โครงงานอารยธรรมอียิปต์
โครงงานอารยธรรมอียิปต์โครงงานอารยธรรมอียิปต์
โครงงานอารยธรรมอียิปต์
 
Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์
Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์
Ebook กระจายพอร์ตทุกทิศ พิชิตเมกะเทรนด์
 
แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2
แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2
แบบทดสอบ สังคมศึกษา ม.2
 
Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่
 
แบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงานแบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงาน
 
ชุด บรรษัทข้ามชาติ
ชุด บรรษัทข้ามชาติชุด บรรษัทข้ามชาติ
ชุด บรรษัทข้ามชาติ
 
ทวีปอาฟริกา
ทวีปอาฟริกาทวีปอาฟริกา
ทวีปอาฟริกา
 
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
 
ทรรศนะ2
ทรรศนะ2ทรรศนะ2
ทรรศนะ2
 
แบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แบบสำรวจข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 

Similar to มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020

แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์Maewmeow Srichan
 
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์chaiwat vichianchai
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์pyopyo
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนJar 'zzJuratip
 
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมKruthai Kidsdee
 
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์Aun Chun Cha Ree
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Wannwipha Kanjan
 
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)SAKANAN ANANTASOOK
 
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์Kaofang Chairat
 
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563taem
 

Similar to มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020 (20)

แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นในระดับปริญญาเอก ของ อ.กอบวิทย์
 
V 282
V 282V 282
V 282
 
Tsmt vol16
Tsmt vol16Tsmt vol16
Tsmt vol16
 
แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.
 
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์
 
No8 february2013
No8 february2013No8 february2013
No8 february2013
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
 
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
 
Project m607
Project m607Project m607
Project m607
 
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
แบบเสนอโครงงานเรื่อง อารยธรรมอียิปต์
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
No7 january2013
No7 january2013No7 january2013
No7 january2013
 
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
 
มคอ3
มคอ3มคอ3
มคอ3
 
Ast.c2560.5tp
Ast.c2560.5tpAst.c2560.5tp
Ast.c2560.5tp
 
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
 
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020

  • 1. รายงาน มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย ในทศวรรษ 2020 จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ เวทียุทธศาสตร์ 2 มีนาคม 2563
  • 2. รายงานถอดความ (Transcript) มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย ในทศวรรษ 2020 ผู้นําเสนอหลัก อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีวินท์ สุพุทธิกุล ดร. อดุลย์ กําไลทอง รองศาสตราจารย์ ดร. ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียใน ทศวรรษ 2020" จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 ณ โรงแรม แมนดาริน สามย่าน กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ: เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ปาณัท ทองพ่วง ชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร อํานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปีที่เผยแพร่: มีนาคม 2563 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864 2
  • 3. สารบัญ หน้า คํานํา บทนํา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 6 มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 อาจารย์ ดร. ปิยณัฐ สร้อยคํา 7-14 บทอภิปราย 14-22 มหายุทธศาสตร์โลกของญี่ปุ่นในทศวรรษ 2020 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีวินท์ สุพุทธิกุล 23-31 บทอภิปราย 31-40 มหายุทธศาสตร์โลกของรัสเซียในทศวรรษ 2020 ดร. อดุลย์ กําไลทอง 41-51 ยุทธศาสตร์ของรัสเซียต่อยูเรเชียในทศวรรษ 2020 รองศาสตราจารย์ ดร. ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย 52-64 บทอภิปราย 65-69 บทสรุป ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 70 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 71-73 3
  • 4. คํานํา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 เวลา 8.30-13.00 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจัด ประชุมเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020" ณ ห้องประชุมบุษบา โรงแรมแมนดาริน สามย่าน ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร โดยมีนักคิด นัก ยุทธศาสตร์ นักวิชาการ อดีตเอกอัครราชทูต และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็น มหายุทธศาสตร์โลกของทั้งสามประเทศ โลกในทศวรรษ 2020 เป็นโลกแห่งความไม่แน่นอนพลิกผัน สหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดี ทรัมป์มีแนวโน้มถอยห่างออกจากระบบพหุภาคีที่ตนเองเคยเป็นผู้สนับสนุน ขณะที่สหภาพยุโรปเริ่ม สั่นคลอนจากการที่อังกฤษประกาศถอนตัว (Brexit) แต่ท่ามกลางความพลิกผันนี้ โลกได้เห็นการผงาด ขึ้นมาของเอเชีย โดยเฉพาะจีน ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอินเดีย เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่นและรัสเซียที่ยังคงมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องแข็งขัน บริบทเช่นนี้สร้างเงื่อนไขให้ ประเทศไทยต้องกําหนดท่าทีและยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งควรเกิดจากการวิเคราะห์ภาพรวมมหายุทธศาสตร์โลกและการเมืองภายในของทั้งสาม ประเทศ เพื่อประเมินบทบาทและท่าทีของไทยในการตอบสนองยุทธศาสตร์ของทั้งสามประเทศให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทํารายงานสรุปและถอดความเนื้อหาการ ประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กําหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจการกําหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในดุลอํานาจโลกที่กําลัง เปลี่ยนแปลงนี้ 4
  • 5. 5
  • 6. มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020 บทนํา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา เวทีวันนี้เป็นเรื่องของมหายุทธศาสตร์โลกของอินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียในทศวรรษ 2020 ต้องขอ เท้าความเล็กน้อยว่า ในช่วงต้น ๆ เราสนใจเรื่องบูรพาภิวัตน์ การปรากฏขึ้นมาของจีนในเวทีระดับโลก และได้ผลิตหนังสือหลายเล่ม เล่มที่สําคัญเล่มหนึ่งคือ บูรพาภิวัตน์ (ภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลกใหม่) จากนั้น เราก็ติดตามดุลอํานาจโลกใหม่ ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อจีนขึ้นมาเป็นมหาอํานาจ น่าจะหมายเลข 2 ของโลก สหรัฐอเมริกามีท่าทีอย่างไร ในขั้วอํานาจของโลกนั้นเป็นอย่างไร แล้วประเทศไทยจะปรับตัว เข้ากับขั้วอํานาจโลกใหม่ ในระเบียบโลกใหม่ ในสถานการณ์ระหว่างประเทศใหม่ได้อย่างไร สักสองปีมา นี้ เราก็สนใจความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันและอนาคตใกล้ ๆ ศึกษามาเรื่อย ๆ แต่ ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่เราศึกษาเกี่ยวกับมหายุทธศาสตร์โลก (ถ้าหากว่ามี) ของอินเดีย ญี่ปุ่น และ รัสเซียในทศวรรษ 2020 ในเวลาที่ไม่นานนัก เราก็จะศึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของยุโรปที่มีต่อโลกด้วย เราจะเริ่มที่มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 โดย ดร. ปิยณัฐ สร้อยคํา ซึ่งท่าน เป็นอาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ ท่านจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย St. Andrews สกอตแลนด์ จบปริญญาโทที่ Osmania University เมืองไฮเดอราบัด (Hyderabad) ซึ่งก็เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของอินเดีย แล้วก็จบปริญญาตรี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เกียรตินิยมนะครับ ขอเชิญอาจารย์ปิยณัฐครับ 6
  • 7. มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขอขอบคุณท่านศาสตราจารย์เอนกเป็นอย่างสูงนะครับ วันนี้รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ ที่ได้มาเล่าเรื่องอินเดียให้ฟัง ขออนุญาตใช้คําว่า เล่าให้ฟังนะครับ เนื่องจากตัวผมเองก็ถือเป็นนักเรียนที่ ยังต้องเรียนเกี่ยวกับอินเดียอีกมาก แล้วก็สนใจเรื่องอินเดียมาตลอดตั้งแต่สมัยปริญญาตรี เพื่อน ๆ หลายคนเลือกไปเรียนนโยบายต่างประเทศของจีน อเมริกา อาเซียน แต่ผมน่าจะเป็นคนเดียวของรุ่นที่ ตอนนั้นเลือกเรียนนโยบายของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ แล้วก็ฝังใจมาโดยตลอดว่าอยากไปเรียนต่อที่ อินเดีย และทําวิจัยเรื่องอินเดีย วันนี้ผมมีทั้งสิ้น 5 ประเด็นครับ ผมจะเริ่มจากสถานะของอินเดียในปัจจุบัน จากนั้น ผมจะพูดถึง ความแตกต่างระหว่างอินเดียในอดีตกับอินเดียในปัจจุบันโดยขยายความถึงภาพรวมนโยบาย ต่างประเทศของอินเดียตั้งแต่ค.ศ. 1947 เป็นต้นมาว่า นโยบายต่างประเทศของอินเดียมีลักษณะสําคัญ อย่างไร หัวข้อต่อมาคือ มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจาก นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ขึ้นมามีอํานาจ การต่างประเทศของอินเดียเปลี่ยนแปลง ไปมากจากการเน้นอุดมคตินิยม (Idealism) มาสู่การพิจารณาสภาพจริง (Realism) มากยิ่งขึ้น ในส่วน 7
  • 8. สุดท้าย ผมจะเล่าถึงความท้าทายและปัญหาที่เกิดขึ้นภายในในปัจจุบัน และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียครับ สถานะของอินเดียในปัจจุบัน ในส่วนแรก อินเดียในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างจากอินเดียที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้า อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มีความเจริญรุดหน้า ขนาดเศรษฐกิจ จะเป็นอันดับ 5 ของโลกถ้าวัดจาก GDP งบประมาณด้านความเข้มแข็งทางการทหารที่อินเดียใช้จะเป็น อันดับ 5 ของโลก มีทหารประจําการทั้งทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ อินเดียมองตัวเองเป็นรัฐ ประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบัน มีเขตการปกครองทั้งสิ้น 28 รัฐ แบ่งออกเป็น 8 ดินแดน สหภาพ ทั้งหมดนี้เป็นรากฐานสําหรับนโยบายต่างประเทศของอินเดีย บรรทัดฐานนโยบายต่างประเทศของอินเดีย ผมขอสรุปแนวทางหลักในนโยบายต่างประเทศของอินเดียดังนี้ 1) อินเดียให้ความสําคัญแก่อารยธรรมและวัฒนธรรมของคนเป็นอย่างมาก อารยธรรมของ อินเดียยิ่งใหญ่และยาวนานกว่า 5,000 ปี กระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของโลก อินเดียได้ใช้ความยิ่งใหญ่ทาง อารยธรรมนี้เชื่อมต่อและเชื่อมโยงกับโลกผ่านกลุ่มคนอินเดียที่กระจายตัวอยู่ตามประเทศต่าง ๆ (Indian Diaspora) นายกฯ โมดีใช้การเยือนประเทศต่าง ๆ เชื่อมความสัมพันธ์กับชาวอินเดียโพ้นทะเล ชาว อินเดียโพ้นทะเลหลายกลุ่มมีบทบาทในการเมืองหลายประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ ในส่วนของไทย ท่านเปิดสนามกีฬาเพื่อพบปะพูดคุยกับชาวอินเดียโพ้นทะเลในประเทศไทย นอกจากนี้ อินเดียยังใช้การ ทูตวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นภาษาสันสกฤตหรือพุทธศาสนาเชื่อมโยงกับไทยด้วย 2) อินเดียให้ความสําคัญแก่หลักการตัดสินใจด้วยตนเอง และเคารพอํานาจอธิปไตยของรัฐอื่น ๆ เรื่องนี้มาจากการที่อินเดียเคยมีประสบการณ์ในการต่อสู้เพื่อเอกราช และต่อต้านอาณานิคม (Anti- Colonialism) อินเดียสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชในประเทศอื่น ๆ และสนับสนุนให้แต่ละประเทศเลือก แนวทางของตัวเอง การประกาศตัวเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM) แม้จะ อยู่ในภาวะสงครามเย็นก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน 3) อินเดียให้ความสําคัญแก่การทูตพหุภาคี (Multilateral Diplomacy) อินเดียริเริ่มและเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Brazil-Russia-India-China-South Africa: BRICS) ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือ หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) ก รอบ ค วามร่วม มือแม่นํ้ าโขง-ค งค า (Mekong-Ganga 8
  • 9. Cooperation: MGC) เวทีเหล่านี้ทําให้อินเดียมีบทบาทในการรวบรวมประเทศต่าง ๆ และสร้าง บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนในระดับพหุภาคี 4) อินเดียให้ความสําคัญแก่การสร้างความตระหนักรู้สถานะมหาอํานาจของตน (Great Power Recognition) อินเดียอยากให้ประเทศต่าง ๆ มองอินเดียเป็นมหาอํานาจ แต่ไม่ใช่มองเป็นมหาอํานาจที่มี เศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ หรือมีกําลังทางทหาร กองทัพขนาดใหญ่ การเป็นมหาอํานาจสําหรับอินเดียนั้น อินเดียพูดเรื่องสันติภาพ และชูมหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ อินเดีย จะเป็นมหาอํานาจที่เป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง แม้ว่าอินเดียจะไม่ได้บังคับหรือกดดันประเทศต่าง ๆ ให้ เป็นประชาธิปไตยตามอินเดีย แต่อินเดียก็ใช้การทูตแบบประชาธิปไตยในการส่งเสริมการสร้างสถาบัน ประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง เช่น การแนะนําเครื่องเลือกตั้งอัตโนมัติที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ประเทศใน แอฟริกา อินเดียยังสนับสนุนและช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาด้วย อินเดีย เห็นความสําคัญของการเสริมสร้างกําลังทหาร แต่ก็พยายามกําหนดขอบเขตความร่วมมือและเสริมสร้าง ขีดความสามารถทางทหารให้เป็นไปเพื่อธํารงรักษาสันติภาพและความมั่นคงแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง การเตือนและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งอาเซียนได้รับความร่วมมือจากอินเดียในมิติดังกล่าว เป็นอย่างดี นอกจากนี้ อินเดียให้ความสําคัญแก่การพัฒนา แต่การพัฒนาของอินเดียนั้นไม่ได้เป็นการพัฒนา จากบนลงล่าง ไม่ใช่การพัฒนาจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกําลังพัฒนา อินเดียเชื่อเรื่องการสร้าง ความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาด้วยกันเอง เพราะไม่มีใครจะเข้าใจประเทศกําลังพัฒนาได้ดี เท่ากับประเทศกําลังพัฒนาด้วยกันเอง นโยบายของอินเดียนั้นมุ่งช่วยเหลือประเทศในแอฟริกา เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียกลาง โดยเน้นการให้ทุนการศึกษา ซึ่งผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับ ทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินเดียให้ไปศึกษา ผมรู้สึกว่า นี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างอํานาจโน้มนํา (Soft Power) ในการรวมนักศึกษาจาก หลายประเทศ ซึ่งไม่ได้มีแค่ผมจากประเทศไทย ลาตินอเมริกาและยุโรปตะวันออกก็มี เลขาธิการอาเซียน ท่านก่อนจากเวียดนาม (Lê Lương Minh) และประธานาธิบดีอัฟกานิสถานท่านปัจจุบัน (Ashraf Ghani) ก็เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลอินเดียด้วย การให้ทุนการศึกษานี้มีมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 ในช่วงเวลานั้น แม้อินเดียเป็นประเทศ ยากจนมาก แต่ก็เชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่กลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีทั้งอาเซียนเก่าหรืออาเซียนที่พัฒนาแล้วและอาเซียน ใหม่หรืออาเซียนที่กําลังพัฒนา ซึ่งกลุ่มอาเซียนที่กําลังพัฒนานี้คือกลุ่มประเทศที่อินเดียพยายามเข้ามามี บทบาทในการเชื่อมโยงและลดความเหลื่อมลํ้าในการพัฒนา โดยการจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษา 9
  • 10. คอมพิวเตอร์ และการเป็นผู้ประกอบการ นี่คือบรรทัดฐานที่เกิดขึ้นในการต่างประเทศของอินเดียตั้งแต่ ค.ศ. 1947 แต่บรรทัดฐานนี้มาเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ค.ศ. 2014 หลังจากนายกฯ โมดีขึ้นดํารงตําแหน่ง นโยบายได้เปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร แต่เดิม พรรคคองเกรส (The Congress Party) เน้นการ ต่างประเทศและการแก้ปัญหาภายในประเทศด้วยแนวทางสังคมนิยม เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่ยัง ยากจนอยู่ รัฐจึงต้องเข้าไปมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรและสาธารณูปโภค เมื่อพรรคภารตียชนตา (Bharatiya Janata Party) ขึ้นมามีอํานาจ ได้เปลี่ยนแปลงประเทศไป หลายด้าน ในด้านการเมือง นายกฯ โมดีได้เปลี่ยนแนวทางจากรัฐโลกวิสัย (Secularism) ที่ไม่ได้อิง ศาสนาใด มาเป็นชาตินิยมฮินดู (Hindu Nationalism) ยกเลิกการให้สิทธิพิเศษแก่แคชเมียร์ (Kashmir) ในด้านเศรษฐกิจ ปรับระบบเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมให้เปิดรับการลงทุนจากภายนอกมากขึ้น ในด้านการทูต โมดีเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมอินเดีย ออกเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะมหาอํานาจ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในช่วงหลัง ท่านหันกลับมาสนใจประเทศอํานาจขนาด กลางมากขึ้น เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปลี่ยนนโยบายจาก Look East Policy เป็น Act East Policy ไม่ใช่แค่มองแต่ต้องลงมือทําอะไรสักอย่างกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านให้ความสําคัญแก่ การจับมือกับมหาอํานาจโดยไม่แบ่งขั้ว ต้อนรับรับทั้งทรัมป์และสี จิ้นผิง ท่านไปเยือนรัสเซีย ญี่ปุ่น และ เดินทางเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ขยายผลประโยชน์แห่งชาติ เปลี่ยนแนวทางจากอุดมคตินิยมมาสู่การ พิจารณาสภาพจริง เพื่อขยายผลประโยชน์ของอินเดียให้มากขึ้น มหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 สิ่งที่อินเดียพยายามให้ความสําคัญในทศวรรษ 2020 ผมขอสรุปไว้ 8-9 ข้อ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกเป็นหนึ่งในมหายุทธศาสตร์ที่อินเดียให้ความสําคัญ อินเดียมุ่งขยาย อิทธิพลของตนมาทางตะวันออกอยู่แล้ว แต่เนื่องจากอินเดียไม่ได้อยู่ในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย- แปซิฟิก (APEC) นักวิชาการอินเดียจึงเสนอว่า ในเมื่อเข้าไปไม่ได้ ก็ให้ลองขยายยุทธศาสตร์ที่เชื่อมสอง มหาสมุทรคือมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าด้วยกัน ซึ่งยุทธศาสตร์นี้ ทั้งอเมริกาและญี่ปุ่น ต่างก็พูดถึง สําหรับอินเดีย อินเดียกําหนดมหาสมุทรอินเดียเป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์นี้ ถ้ามองตาม ภูมิรัฐศาสตร์ของอินเดียแล้ว อินเดียอยู่ตรงกลางของมหาสมุทรที่สามารถเชื่อมโยงไปทั้งแอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ โอเชียเนีย โดยมีอาเซียนเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างสองมหาสมุทร 10
  • 11. 2) New India @ 75 ค.ศ. 2022 เป็นปีที่อินเดียได้รับเอกราชครบ 75 ปี อินเดียพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ด้วยการ ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน มูลค่าทาง เศรษฐกิจของอินเดียอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อินเดียทุ่มเงินมหาศาลโดยมุ่งเน้นการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในแต่ละรัฐของอินเดีย อินเดียมีรัฐทั้งสิ้น 28 รัฐ แต่ระดับการพัฒนาในแต่ละรัฐค่อนข้าง แตกต่างกัน จุดเน้นก็แตกต่างกัน รัฐกรณาฏกะ (Karnataka) ให้ความสําคัญเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์ ใครสนใจเรื่องชาก็ไปรัฐเบงกอลตะวันตก (West Bengal) นอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้วก็มีการพัฒนา โครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเท่าเทียมทั่วประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น มีการจัดตั้งหน่วยงานของ รัฐเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนมากขึ้น 3) เทคโนโลยี 5G อินเดียกําลังมุ่งไปสู่เทคโนโลยี 5G หลายรัฐกําลังนําเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบบริการภาครัฐ เช่น การเสียภาษี การเสียค่าสาธารณูปโภค ในระดับหมู่บ้าน ก็มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ อินเดียมีกระทรวงชื่อ กระทรวงการปกครองหมู่บ้าน (Ministry of Panchayati Raj) ที่ทําให้การกระจาย อํานาจเข้าถึงท้องถิ่นได้มากขึ้น 4) การเป็นมหาอํานาจเชิงวัฒนธรรมและการทูตเชื่อมชาวอินเดียโพ้นทะเล ตั้งแต่นายกฯ โมดีขึ้นมามีอํานาจ เวลาที่ท่านเดินทางไปต่างประเทศ ท่านก็จะหาจุดเชื่อมโยง ทางวัฒนธรรมกับประเทศเหล่านั้น เช่น เมื่อครั้งท่านเดินทางไปประเทศมอริเชียส (Mauritius) ท่าน เดินทางไปสักการะศิวลึงค์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า อินเดียกับประเทศเหล่านี้มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม ที่แน่นแฟ้น นอกจากนี้ ท่านยังใช้การทูตเหล่านี้เชื่อมโยงกับชาวอินเดียโพ้นทะเล มอริเชียสเองก็เป็นหนึ่ง ในอาณานิคมของอังกฤษ มีแรงงานอินเดียอพยพไปอาศัยอยู่จํานวนมาก ครั้งหนึ่ง อินเดียมีกระทรวงชาว อินเดียโพ้นทะเล (Ministry of Overseas Indian Affairs) ปัจจุบัน กระทรวงนี้ผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชาวอินเดียโพ้นทะเลกับการต่างประเทศมีความเชื่อมโยง กัน อีกเรื่องหนึ่งคือ การทูตแบบโยคะ (Yoga Diplomacy) โยคะเป็นสิ่งที่อินเดียมอบให้แก่มนุษยชาติ เรา จะได้เห็นการจัดงานนี้ที่จุฬาฯ เชียงใหม่ พนมเปญ ฯลฯ 5) ยุทธศาสตร์มหาอํานาจ เดิม อินเดียประกาศตัวว่าเป็นมหาอํานาจที่สงบสุข รักสันติ ปัจจุบัน อินเดียพยายามแสดง บทบาทการเป็นมหาอํานาจทางทหารมากขึ้น ในการสู้รบกับปากีสถาน อินเดียอวดขีปนาวุธ พิสัยของ ขีปนาวุธนั้นครอบคลุมมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์เองก็อยู่ในพิสัยดังกล่าว อย่างไรก็ดี การ พัฒนาขีดความสามารถของขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของอินเดียนั้นมีมาตั้งแต่หลังได้รับเอกราช แต่อินเดียยืนยันว่า นี่เป็นการพัฒนาเพื่อใช้ผลิตพลังงาน และใช้ควบคู่กันไปกับภารกิจทางทหาร 11
  • 12. 6) SAGA อินเดียให้ความสําคัญแก่ความมั่นคงและความเจริญเติบโตในภูมิภาค อินเดียมียุทธศาสตร์ SAGA หรือภาษาสันสกฤตคือ "สาคร" ย่อมาจาก Security and Growth for All in the Region ยุทธศาสตร์นี้เป็นการสร้างมิตรในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการส่งเรือ ซึ่งเป็น การทูตวัฒนธรรมแบบหนึ่ง บางประเทศอาจเห็นว่าการส่งเรือไปเช่นนี้เป็นการคุกคาม แต่การที่เรือรบ อินเดียไปเยือนมิใช่การแสดงแสนยานุภาพ เป็นการย้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ที่กษัตริย์อินเดียเคย เดินทางไปเยือนดินแดนต่าง ๆ เพื่อแสดงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นในความสัมพันธ์ที่ผ่านมา 7) Trisul การทูต "ตรีศูล" ของอินเดียนั้นให้ความสําคัญแก่ 3 ส่วน ส่วนแรก อินเดียเน้นยํ้าความสําคัญของ กฎหมาย บรรทัดฐาน และความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่วนที่สองและสาม อินเดียใช้ทั้งเวทีพหุภาคีและ ทวิภาคีในการขยายผลประโยชน์แห่งชาติของตนเอง 8) การเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด อินเดียพยายามสร้างความเป็นตัวเองในความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ขณะที่อินเดียเป็นส่วน หนึ่งของ Quad (ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา) คล้าย ๆ จะเป็นปฏิปักษ์กับจีน แต่นายกฯ โมดีก็มองว่า มหาสมุทรนี้ใหญ่พอที่เสือสองตัวแห่งเอเชียจะอยู่ด้วยกันได้ ในช่วงที่สหรัฐอเมริกามีปัญหากับกลุ่ม ประเทศตะวันออกกลาง ด้านหนึ่งอินเดียจับมือสหรัฐอเมริกา แต่อีกด้านหนึ่ง อินเดียก็ยังจับมือกับกลุ่ม ประเทศตะวันออกกลางด้วย 9) ความร่วมมือกับประเทศอํานาจขนาดกลาง อินเดียพยายามร่วมมือกับประเทศอํานาจขนาดกลางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มเอเชีย ตะวันตก ยูเรเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอเชียกลาง อินเดียก็พยายามมีความร่วมมือด้านพลังงาน ขณะนี้มี นโยบาย Look Far East Policy เพื่อแสวงหาแนวทางร่วมมือกับประเทศตะวันออกไกล และอาเซียนของ เราด้วย ความท้าทายหลักของอินเดียในทศวรรษ 2020 1) การครองอํานาจนําในภูมิภาคเอเชียใต้ แม้อินเดียเป็นประเทศที่พยายามจะมีบทบาทระดับโลก อินเดียกลับมีปัญหาในระดับภูมิภาค เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ ยังมีความหวาดระแวงต่อท่าที ของอินเดียในหลายเรื่อง ในกรณีปากีสถาน ปัจจุบันก็ไปจับมือกับจีนทําระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor: CPEC) ซึ่งอินเดียหวาดวิตกเป็นอย่างมาก 12
  • 13. อีกกรณีหนึ่งก็คือ แคว้นแคชเมียร์ หลายท่านอาจคิดว่า ในอดีต ปัญหาแคชเมียร์เป็นปัญหาสืบ เนื่องมาจากชาติพันธุ์และศาสนา แต่ปัจจุบัน เราจะเห็นได้ชัดว่า ปัญหาแคชเมียร์เป็นปัญหาทรัพยากร แคชเมียร์ที่อินเดียครอบครองนั้นเป็นแหล่งกําเนิดของแม่นํ้าหกสาย ซึ่งแม่นํ้าเหล่านี้หล่อเลี้ยงชีวิตของทั้ง สองประเทศ ต้นกําเนิดแม่นํ้าเหล่านี้อยู่ในอินเดีย ปากีสถานจึงหวาดวิตก หากวันหนึ่งอินเดียปิดทางต้น นํ้าแล้ว ปากีสถานจะทําอย่างไร นอกจากนี้ อินเดียประกาศใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยสัญชาติ (Citizenship Amendment Act: CAA) และความเป็นพลเมือง (The Proposed National Register of Citizens: NRC) อินเดียได้ประกาศให้ สัญชาติแก่ผู้ลี้ภัยไม่ว่าจะเป็นชาวปากีสถาน บังกลาเทศ หรืออัฟกานิสถาน แต่ปัญหาคือ อินเดียให้ เฉพาะผู้ลี้ภัยที่เป็นฮินดู เป็นพุทธ เป็นเชน แต่ไม่ให้ชาวมุสลิม อินเดียเปลี่ยนแปลงจุดยืนจากรัฐโลกวิสัย มาเป็นรัฐชาตินิยมฮินดู นําการเมืองกับการศาสนามาปะปนกัน ทําให้เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในภูมิภาค 2) ความสัมพันธ์กับจีน แม้จีนพยายามจะเป็นมิตรกับอินเดีย เนื่องจากการค้าระหว่างสองประเทศมีปริมาณสูง แต่อินเดีย พยายามเข้าไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกด้วยการสนับสนุนบทบาททางทหารของเวียดนามในทะเลจีนใต้ เช่น ต่อเรือรบ สนับสนุนขีปนาวุธ ทําให้จีนไม่พอใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีนจึงสร้างฐานทัพเรือที่เมียนมา บังกลาเทศ ศรีลังกา ปากีสถาน ใช้ฐานทัพเหล่านี้เป็นเหมือนสร้อยที่รัดคออินเดียไว้ จีนจึงเป็นความท้า ทายสําคัญของอินเดียในทศวรรษ 2020 3) ประเด็นปัญหาภายในประเทศ เดิม อินเดียให้ความสําคัญแก่รัฐโลกวิสัยและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ศาสนา แต่ปัจจุบัน รัฐบาลเน้นชาตินิยมฮินดู ฮินดูต้องมาก่อน อินเดียต้องยิ่งใหญ่อีกครั้ง สิ่งเหล่านี้ทําให้ชนกลุ่มน้อยใน อินเดียรู้สึกถูกคุกคาม บางนโยบายสร้างความไม่พอใจมาก เช่น การเปลี่ยนมัสยิดเป็นวิหารหรือวัดฮินดู อีกประการหนึ่งคือ การเมืองระดับรัฐและการเมืองระดับประเทศ อินเดียมีรัฐทั้งสิ้น 28 รัฐ แต่ละ รัฐมีมุขมนตรีซึ่งมีอํานาจบริหารภายในรัฐของตนเอง ปัจจุบัน การเมืองระดับรัฐรุนแรงมากขึ้น อินเดียไม่ สามารถมีรัฐบาลพรรคใหญ่พรรคเดียว พรรคของรัฐบาลส่วนกลางก็จะต้องจับมือกับพรรคของท้องถิ่นให้ มากขึ้น ท้องถิ่นเองก็มีบทบาทในการระหว่างประเทศมากขึ้น รัฐที่อยู่ตะวันออกเฉียงเหนือก็พยายามผูก สัมพันธ์กับไทย เพื่อขยายความเชื่อมโยงเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ก็ผูกสัมพันธ์กับสิงคโปร์ นอกจากนี้ ปัญหาความรุนแรงอื่น ๆ เช่น ปัญหาแคชเมียร์ ปัญหารัฐนาคาแลนด์ (Nagaland) ที่ ต้องการแบ่งแยกดินแดนก็ยังมีอยู่ อินเดียก็จําเป็นต้องจัดการ 13
  • 14. โอกาสของไทยในการยกระดับความสัมพันธ์กับอินเดีย อินเดียกับไทยมีช่วงเวลาแห่งความมืดเฉพาะช่วงสงครามเย็น เนื่องจากไทยเลือกข้างอเมริกา อินเดียช่วงนั้นมองไทยแปลกไป แต่โดยรวม ไทยกับอินเดียมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ สังคม และ การค้าที่ดีมาโดยตลอด สิ่งที่อินเดียกับไทยจะสามารถผูกสัมพันธ์กันได้มีหลายด้าน ด้านหนึ่งคือ Act East Policy อินเดียให้ความสําคัญแก่ไทยและอาเซียน ส่วนนี้ทําให้ไทยเป็นพระเอกในเรื่องนี้ได้ ปัจจุบัน อินเดีย-เมียนมา-ไทย กําลังสร้างทางหลวงไตรภาคี (India-Myanmar-Thailand Trilateral Highway) เชื่อมจากโมเรห์ (Moreh) ของอินเดีย ผ่านย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ แล้วเข้าแม่สอด ประเทศไทย ผมเชื่อว่า ปัจจุบันเสร็จไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่ติดขัดเรื่องกฎหมายคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ ทั้งนี้ มีการจัด แรลลี่จากอินเดียเข้าสู่อาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ด้วยยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก อาเซียน และประเทศไทยอยู่ตรงกลางระหว่างสองมหาสมุทร ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงนี้ และอินเดียจะให้ความสําคัญมากขึ้น นอกจากนี้ อินเดียยังเน้นการทูตแบบพหุภาคี ปั้จจุบัน ก็มีเวทีประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน- อินเดีย (ASEAN-India Summit) BIMSTEC MGC ไทยก็ได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทอด เทคโนโลยี การเกษตร การประมง หากใครไปเที่ยวอินเดียแล้วถือหนังสือเดินทางไทย สามารถเข้าไป เยี่ยมชมทัชมาฮาลโดยได้ส่วนลดจากราคา 700 รูปี เป็น 500 รูปี น่าเสียดายที่อินเดียยังไม่ได้ลงนามใน RCEP เนื่องจากมีเหตุผลสําคัญคือ เกษตรกรและชาวนาจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ในด้านการทูตวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีบริษัทอินเดียเป็นจํานวนมาก และมีหลาย หน่วยงานทําหน้าที่ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย ปัจจุบันมีศูนย์อินเดียศึกษาที่จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รังสิต มหิดล เชียงใหม่ ศูนย์เหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียได้ มากขึ้น นี่คือภาพรวมมหายุทธศาสตร์โลกของอินเดียในทศวรรษ 2020 ครับ บทอภิปราย อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม ขอถามคําถามเดียวนะครับ ขอบคุณท่านวิทยากรที่ให้ภาพใหญ่เรื่องนโยบายต่างประเทศของ อินเดีย ท่านพูดผมก็เห็นด้วยเรื่องบริบทที่เป็นตัวกําหนดนโยบายต่างประเทศของอินเดีย แล้วก็เรื่อง Geopolitics อินเดียยังคงยึดมั่นนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ก็อยากจะถามท่านวิทยากรครับว่า ในปัจจุบันนี้ นโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่อินเดียชูมาตลอดตั้งแต่ สมัยเนห์รู (Jawaharlal Nehru) ยังมีความหมายในด้านสารัตถะหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ อินเดียกับอาเซียนในยุคสงครามเย็นมีปัญหาเรื่องกัมพูชา เราก็ขอร้อง ไม่ให้อินเดียรับรองรัฐบาลหุ่นเชิดเฮง สัมริน อินเดียก็พูด พูดแบบภาษาอินเดีย เราก็รู้ ๆ กันอยู่ อาจมี 14
  • 15. กลิ่นถั่วเหลืองถั่วดําบ้าง แต่ก็เข้าใจ ในที่สุด เราก็ไม่สามารถโน้มน้าวอินเดียได้ อินเดียก็รับรองรัฐบาล เฮง สัมริน พอรับรองแล้ว แน่นอน มันก็มีผลกระทบต่อความรู้สึกของประเทศอาเซียน 5 ประเทศต่อ อินเดีย นี่กําหนดโดย Geopolitics ของยุคนั้น ขณะนั้น บริบทนั้น นโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของอินเดียในปัจจุบัน เราควรมองว่า ยังมีความสําคัญ ตราบใดที่ยัง ตอบสนองอินเดียได้ในบริบทข้างหน้าหรือที่เป็นอยู่ แต่ไม่ใช่นโยบายที่เขายึดไว้ตลอดเวลา อย่างกรณี รัฐบาลเฮง สัมริน ผลประโยชน์ของอินเดียตอนนั้นก็อยู่กับสหภาพโซเวียต ปากีสถานก็อยู่กับจีน ฉะนั้น เราจะสรุปได้ไหมว่า อินเดียปัจจุบัน ในยุคช่วงหลังสงครามเย็น ก็เหมือนอีกหลายประเทศที่ยึดนโยบาย ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดไว้เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ตัวกําหนดจริง ๆ ก็คือบริบทและผลประโยชน์แห่งชาติ ของอินเดีย ไม่ทราบว่า ท่านมีความเห็นอย่างไร ผมจําได้ว่า จีนกับอินเดีย เนห์รูกับโจวเอินไหลรักกัน มาก ถึงขั้นคนอินเดียเผาสถานทูตจีนตอนมีปัญหาระหว่างกัน สองประเทศนี้เขารบกันมาสองครั้งแล้วนะ ครับ ผมจําได้ภาษาฮินดีเขาบอกว่า "Indian Jini Baibai" แปลว่า จีนกับอินเดียเป็นเพื่อนรักกัน แต่นี่ ขนาดรักกันแล้วนะ ขอบคุณมากครับ อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา ขอบพระคุณท่านอย่างสูงนะครับ จริง ๆ ผมเห็นด้วยกับท่านอย่างมากนะครับว่า บริบทขณะนั้น จะเป็นตัวกําหนดนโยบายต่างประเทศของอินเดีย ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์เอกอัครราชทูตอินเดียหลาย ท่านที่มาประจําในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านก็ยอมรับว่า การทูตในช่วงนั้นเป็นจุดหนึ่งที่อินเดียเสียใจ มาโดยตลอดที่ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียกับอาเซียนค่อนข้าง จะไม่ลงรอยกัน ในช่วงนั้นอาเซียนเองก็พยายามจับมือ ผูกสัมพันธ์กับอินเดีย แต่อินเดียเองที่เป็นคน ปฏิเสธอาเซียน ในยุคนั้น ผมเห็นด้วยครับว่า นโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างสอง ภูมิภาคนี้ไม่ได้เป็นไปด้วยดี แต่ในปัจจุบัน ผมคิดว่ากลิ่นอายของ NAM เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จริง ๆ ก็ไม่ใช่พอสมควร เปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ ทีเดียว จากเดิมที่เป็นเรื่องของการไม่ฝักใฝ่ในทางการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นการ ทูตเพื่อการพัฒนามากขึ้น เป็นความช่วยเหลือ ความร่วมมือในบริบทของประเทศกําลังพัฒนา ถ้าผม เข้าใจไม่ผิด ประเทศไทยก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ NAM ด้วย แต่ไม่ได้เป็นในบริบทของการเมือง แต่ เป็นความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันมากกว่า ต้องขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ รองศาสตราจารย์ ดร. ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย ในส่วนของอินเดีย ผมคิดว่า อินเดียไม่ได้เป็นผู้เล่นหลักในเวทีภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์โลก อินเดียยังต้องการซื้อนํ้ามันจากรัสเซีย และซื้อระบบติดตั้งขีปนาวุธ S-400 ประเด็นคือ นโยบายที่เป็น กลางของอินเดียไม่มี ขึ้นอยู่กับว่าอินเดียจัดการสมดุลหรือถ่วงอํานาจอย่างไร การจัดการดุลอํานาจของ อินเดียก็ขึ้นอยู่กับ หนึ่ง ความสามารถหมุนเวียนเงินดอลลาร์ที่อินเดียต้องการใช้ซื้อขายในต่างประเทศ 15
  • 16. แต่สหรัฐอเมริกาไม่สามารถสนับสนุนเงินดอลลาร์ในการทําธุรกรรมได้ สอง ถ้าอินเดียมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับจีนหรือรัสเซีย สหรัฐอเมริกาจะปิดกั้นการทําธุรกรรมดังกล่าว ดังนั้น ความเป็นกลางของ อินเดียไม่มี ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจระดับชาติของอินเดียมากกว่า นโยบายเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางไม่น่าจะ มีผลต่อนโยบายของอินเดีย น่าจะขึ้นอยู่กับว่าการทหารกํากับแค่ไหน แล้วอินเดียก็ไม่ได้เป็นประเทศที่มี อธิปไตยอย่างเต็มที่ในเวทีระดับโลก ดร. อดุลย์ กําไลทอง ขอบคุณอาจารย์ปิยณัฐนะครับ วันนี้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะนโยบายของโมดีที่ เกี่ยวกับการทําให้อินเดียเป็นมหาอํานาจอีกครั้งหนึ่ง นโยบายชาตินิยมฮินดูนั้นแน่นอนว่า มันจะทําให้ ชาติเข้มแข็ง ในขณะเดียวกัน มันจะเกิดปัญหาภายในหรือความอ่อนแอภายในไหมครับ ที่ชนกลุ่มน้อย มุสลิมจะลุกขึ้นมาต่อต้าน ผมมีโอกาสได้คุยกับชาวมุสลิมเชื้อสายอินเดีย (Indian Muslim) หลายคน เขา ก็บอกว่า ข้างนอกนั้น อินเดียกําลังไปได้ดีมาก แต่ภายในอาจมีวิกฤตได้ในวันหนึ่ง อยากถามอาจารย์ว่า มีความเห็นอย่างไรบ้าง อดีตเอกอัครราชทูต ดร. จริย์วัฒน์ สันตะบุตร ผมว่าเรื่องภายในประเทศของอินเดีย นอกจากปัญหาที่น้องเขาถามแล้ว ผมว่า เราไม่ได้พูดถึง เรื่องวรรณะ (Caste) เลย ผมว่า เป็นอุปสรรคสําคัญยิ่งที่ไม่สามารถทําให้อินเดียขับเคลื่อนแบบจีนได้ นอกจากเรื่องวิธีการปกครองแล้ว ผมมองกว้าง ๆ อย่างนั้น แล้วผมคิดว่า หลาย ๆ อย่างที่อินเดียทําอยู่ มันเป็นการตอบสนองบริบทปัจจุบันมากกว่า พอจีนเข้ามาทํา One Belt One Road อินเดียก็เลย ตอบสนอง มันไม่ได้เป็นนโยบายรุกของอินเดียที่คิดอยากจะทํา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผมขอร่วมนิด เหมือนพวกเรารู้สึกว่า ที่อินเดียพูด ๆ ทําไม่ได้หรอก แล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่จะ สร้างสรรค์ได้จริง ๆ กึ่งโม้นิด ๆ นี่พูดเพื่อให้อาจารย์มีความฮึกเหิมที่จะตอบนะครับ อดีตเอกอัครราชทูตกิตติพงษ์ ณ ระนอง ก่อนอื่นขอขอบคุณสถาบันคลังปัญญาฯ นะครับที่จัดงานนี้ ทําให้ผมได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ที่ไม่มี ความรู้มากนัก โดยเฉพาะอินเดีย ขอตรงประเด็นเลยนะครับ ผมว่าจริง ๆ อินเดียไม่ได้มีอะไรใหม่หรอก แต่ผมว่า มีอยู่ 3 อย่างที่อินเดียพยายามทํา 1) Repackage สิ่งที่เคยทําในอดีตแล้วมานําเสนอใหม่ 2) Narrative ใช้เรื่องราวที่ฟังดูน่าคล้อยตาม ไม่ว่าจะเป็นตรีศูลหรือสาคร นี่คือ Narrative ที่เขา รู้จักเล่น รู้จักพูด ไม่ใช่ทําแล้วพูดไม่เป็น แล้วคนอื่นไม่เข้าใจ 16
  • 17. 3) Re-prioritize รู้จักจัดลําดับความสําคัญของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ฉะนั้น เรื่องนโยบายพลเมือง ผมว่าเขาจะมีลําดับความสําคัญที่ต้องคิดคํานึง แต่แน่นอนว่า พอไปได้ใจทางฮินดู ก็อาจทําให้มุสลิม ทํา ให้ซิกข์ไม่พอใจ เรื่องการต่างประเทศก็เหมือนกัน ต้องมีลําดับความสําคัญ ดูว่าเขาอยากได้อะไร ณ เวลา นั้น ก็ต้องกลับมาที่ท่านทูตสุรพงษ์ หนีไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ หนีไม่พ้นเรื่องบริบทที่แตกต่าง กันไป อดีตเอกอัครราชทูตสุรพงษ์ ชัยนาม ผมสนใจที่อาจารย์พูด ซึ่งก็เป็นความจริง ในเรื่องที่ว่าอินเดียให้ความสําคัญแก่การทูตการ ต่างประเทศแบบพหุภาคี แต่ผมมีข้อสังเกตและอยากฟังความเห็นของท่านอาจารย์ด้วย ถ้าประเทศไหน เป็นประเทศมหาอํานาจอย่างแท้จริง แนวโน้ม และสัญชาตญาณหรือสันดานของประเทศใหญ่ ถ้ามี ศักยภาพที่จะดําเนินการแบบเอกภาคี (Unilateral) ต่ออีกประเทศได้ เขาก็จะทําครับ แต่อินเดียขณะนี้ไม่ มีศักยภาพ แม้แต่จะจับคู่กับจีน ไม่ต้องไปพูดถึงสหรัฐอเมริกา หรืออดีตสหภาพโซเวียต เขาก็ต้องยึดอัน นี้ไว้ก่อน เพราะพหุภาคีเป็นเวทีเดียวที่ทําให้เขารักษามิตรไว้ ซื้อเวลาเพื่อสร้างศักยภาพของเขาได้ ประเทศไทยเราก็ถือว่าเป็นประเทศเล็กประเทศหนึ่ง ประเทศกําลังพัฒนา เราก็ต้องยึดพหุภาคีให้มาก ไม่ มีกําลังไปดําเนินการโดยเอกเทศ ก็ต้องยึดกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นเกราะ เป็นโล่กําบังให้เรา ผมคิดว่า อินเดียยังให้ความสําคัญแก่การทูตและการต่างประเทศพหุภาคีก็เพราะเหตุ นี้ ขอบคุณครับ คุณสถาพร บุญประเสริฐ สนใจประเด็นที่อาจารย์เสนอว่า ไทยกับอินเดียจะเป็นศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก นั้น ไทยจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน หรือถูกอินเดียกดดันมากน้อยแค่ไหน พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง เรื่องอินโด-แปซิฟิก ก็มีคนถามว่า ไทยจะอยู่ตรงไหน ผมก็บอกว่า ไทยก็อยู่ตรงกลางนั่นแหละ ไม่เข้าทั้ง BRI และอะไรอย่างเต็มที่ รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ผมก็ถามเขาคืนว่า ในยุทธศาสตร์อินโด- แปซิฟิก อินเดียจะทําอะไรกับอาเซียนบ้าง เพราะอาเซียนมี Outlook 3 เรื่องคือ เรื่องความร่วมมือทาง ทะเล SDGs แล้วก็เรื่องการค้าเสรี เรื่องการค้าเสรี อินเดียก็ไม่กล้า ทุนที่จะลงไปเรื่องการสร้างความ ร่วมมือทางทะเลก็ไม่มี อยากทราบจากอาจารย์ว่า อินเดียมีแผนอะไรเกี่ยวกับ SDGs บ้าง ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผมเติมเล็กน้อยนะครับ เศรษฐกิจอินเดียที่ว่าเป็นอันดับ 5 ถ้าเทียบเศรษฐกิจอาเซียนนี่ถือว่าเล็ก กว่า เศรษฐกิจอาเซียนทั้งหมดใหญ่กว่าเศรษฐกิจอินเดียนะครับ 17
  • 18. รองศาสตราจารย์ ดร. จํานง สรพิพัฒน์ ผมเสริมท่านสุรสิทธิ์เล็กน้อย ผมมีประสบการณ์ตรงที่ได้ทํางานให้กระทรวงพลังงานอัน เนื่องมาจากข้อตกลง BIMSTEC BIMSTEC นี่เกิดขึ้นหลังจากที่จีนใช้นโยบาย Look South หลังจากนั้น การทํางานของรัฐบาลไทยก็คือ แต่ละกระทรวงเมื่อได้รับข้อความจากกระทรวงการต่างประเทศแล้วก็ต้อง ทําแผน หลังจากพูดคุยกันแล้วปรากฏว่า เราอยากเสนอตัวแบบการสร้างสํานักงานประสานงานด้าน พลังงานเหมือนที่ทําในกลุ่มประเทศอาเซียน ผลก็คือว่า รายการนี้ไม่สําเร็จ เพราะไม่มีใครยอมออกเงิน จะให้ประเทศไทยออกเงิน นี่ก็เป็นอย่างที่ท่านสุรพงษ์พูดไว้เลยคือ มีแต่คําพูด ราคาคุย อาจารย์ ดร. ปิ ยณัฐ สร้อยคํา ขอบพระคุณทุกท่านนะครับ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ชินสัคคนะครับว่า การทหารและเศรษฐกิจมี บทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบายต่างประเทศอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพยายามหาทางเบี่ยงที่จะ นําพลังงานเข้ามาในอินเดีย ดังที่เราจะเห็นได้จากโครงการหลายโครงการที่อินเดียพยายามเชื่อมโยงกับ เอเชียกลาง ในส่วนของชาตินิยมฮินดูและการต่อต้านมุสลิมนั้น ผมเชื่อว่า ทําให้เกิดความระสํ่าระสายขึ้น อย่างมากในอินเดีย ประชากรที่เป็นมุสลิมในอินเดีย แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อย แต่ก็มีถึง 300 กว่าล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก นโยบายนี้แม้จะได้ใจชาวฮินดู แต่ขณะเดียวกัน ชาว มุสลิมก็ได้รับผลกระทบพอสมควร ถามว่า ชาวฮินดูเห็นด้วยกับนโยบายนี้ของโมดี 100 เปอร์เซ็นต์ไหม ผมเชื่อว่า หลายคนพอชั่งนํ้าหนักแล้ว อาจยังเลือกทางนี้เพื่อให้อินเดียพัฒนาไปข้างหน้า แต่คนที่เห็นว่า อินเดียควรอยู่กันแบบรัฐโลกวิสัยก็ยังมีอยู่ ซึ่งผลการเลือกตั้งท้องถิ่นของเดลีที่พรรคไม่ใช่รัฐบาลชนะก็ สะท้อนว่า มีคนไม่เห็นด้วยอยู่มาก ในเรื่องของวรรณะ ผมเห็นว่าภาพของวรรณะก็เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว อินเดียมีนโยบายให้ โควตาเรียนหนังสือ สมมติว่า 100 คนเข้าแพทย์ 50 คนอาจให้คนที่มาจากวรรณะปกติ อีก 25 คนอาจให้ จัณฑาล และอีก 25 คนอาจให้มาจากชนเผ่า การให้โควตาการเรียนการทํางานนี้ทําให้คนที่อยู่ในวรรณะ ที่แตกต่างสามารถเข้าใกล้กันได้มากขึ้น สามารถกลับไปดูแลสังคมของตนเองได้ ปัจจุบันวรรณะยังมีผล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนชั้นสูงกดขี่คนชั้นล่าง ตอนนี้คนชั้นล่างเข้ามามีบทบาทมากขึ้น บางรัฐนั้นมี มุขมนตรีมาจากจัณฑาล ประธานาธิบดีอินเดียปัจจุบันก็เป็นจัณฑาล ซึ่งเรื่องวรรณะอาจกลายเป็นว่า คน วรรณะบนอาจถูกวรรณะล่างกดขี่ก็เป็นได้ ส่วนเรื่องการทูตแบบพหุภาคีนั้น ผมเห็นด้วยอย่างมากครับ แต่ผมลองมองอีกมุมหนึ่งว่า การทูต พหุภาคีอาจไม่ใช่การทูตของมหาอํานาจ อาจจะเป็นการทูตที่อินเดียเองใช้เสียงของเวทีนั้นพูดแทนตัวเอง นําสิ่งที่ตัวเองต้องการให้องค์กรระหว่างประเทศ ให้เวทีระหว่างประเทศพูด ผมว่า ก็เป็นความชาญฉลาด อย่างหนึ่ง ซึ่งอินเดียก็ไม่ได้หักด้ามพร้าด้วยเข่า 18
  • 19. อีกประเด็นหนึ่งที่ว่า อินเดียนั้น Repackage ใช้ Narrative แล้วก็ Re-prioritize สามข้อนี้ผมเห็น ด้วยอย่างมากครับ แล้วก็อยู่ในกรอบ 4 แนวคิดที่ผมวาดไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งอินเดียใช้มาโดยตลอด และจะใช้ ต่อไปในอนาคต สําหรับประเด็นที่ว่า ไทยกับอินเดียจะเป็นศูนย์กลางอินโด-แปซิฟิกได้ไหม จริง ๆ แล้วอินเดียกับ ไทยเราเป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นเพื่อนบ้านทางทะเล (Maritime Neighbor) เวลาเราพูดถึงเพื่อนบ้าน เราจะ มองว่า มีแค่เมียนมา ลาว กัมพูชา มาเลเซีย จริง ๆ ไทยกับอินเดียเป็นเพื่อนบ้านทางทะเล ในส่วนของ ทะเลอันดามัน นิโคบาร์ (Nicobar Islands) กับภูเก็ตนั้นไม่ได้อยู่ห่างกัน และเรามีสัญญาบ้านพี่เมืองน้อง กันแล้ว ทําให้ความใกล้ชิดและการขยับเข้าสู่อินโด-แปซิฟิกนั้นอาจจะชัดเจนขึ้น ส่วนสุดท้าย เรื่องความร่วมมือทางทะเลกับ SDGs ใน ASEAN Outlook ผมคิดว่า อินเดียก็มี เรื่องนี้เช่นกัน ในส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการให้ทุนการศึกษาแก่อาเซียน เช่น การอบรมครูในโครงการ ITEPS (Integrated Teacher Education Programmes) การซ้อมรบระหว่างกองทัพเรือไทย อาเซียน กับอินเดียก็ยังมีอยู่เช่นกัน ผมคิดว่า อินเดียก็ยังให้ความสําคัญแก่อาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นกันครับ ขอบคุณครับ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผมก็สนใจอยู่อย่างนะครับว่า ทําไมอินเดียรู้สึกห่างเหินจากเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศไทย พอไปศึกษาหนังสือ นี่ก็อินเดียเต็มไปหมด กษัตริย์ของเราก็อินเดีย ธรรมนิติ ราชนีติ ธรรมศาสตร์ ก็ของ อินเดียหมด แต่พอเห็นคนอินเดียแล้วไม่คุ้น ก็แปลกดี ที่จริงแล้ว เอเชียอาคเนย์ก็คือสุวรรณภูมิของ อินเดีย อินเดียมาเจอเราก่อนจีน เพราะอินเดียเดินทะเลก่อนจีน ก็เรียกสุวรรณภูมิบ้าง สุวรรณทวีปบ้าง อารยธรรมชนชั้นสูงของเอเชียอาคเนย์ก็เกิดจากอินเดีย ผมก็พูดกับทูตของอินเดียไปหลายคนว่า ทําไม ไม่เห็นมาทําอะไรในเอเชียอาคเนย์ให้เป็นเรื่องเป็นราว จีนนั้น แม้หน้าตาพวกเราจะคล้ายจีนกว่าอินเดีย แต่เราไม่ได้รับอารยธรรมชั้นสูงจากจีนเท่าไหร่ จะเป็นวัฒนธรรมระดับครอบครัว แต่ทําไมจีนถึงเดิน สัมพันธ์กับไทยได้ดีเหลือเกิน มันแปลก ที่พูดนี่เพื่อจะฝากอาจารย์ปิยณัฐให้ไปบอกอินเดียว่าให้ทําอะไร ในเอเชียอาคเนย์เหมือนที่เป็นญาติของพวกเรา เราก็ปรารถนาจะเห็นทั้งจีนและอินเดียเข้ามา เราไม่ได้ อยากจะเห็นแต่จีนเข้ามาอย่างเดียว เราก็พยายามเหมือนให้ท่าแล้ว อินเดียก็ยังไม่ค่อยสนใจเรา เมื่อก่อน ผมดูแล้ว อินเดียก็หันหน้าไปทางตะวันตกจริง ๆ คือเรื่องปากีสถานกับตะวันออกกลาง ส่วนเรื่องพวกเรา อินเดียก็พูดไปอย่างนั้น ไม่ค่อยสนใจพวกเราเท่าไหร่ นี่ก็ฝากไปนะครับ เราก็ปรารถนาจะเห็นเขาเข้ามา ทําอะไรมากขึ้น 19
  • 20. คุณชีวินท์ ณ ถลาง ขอบคุณสถาบันฯ และอาจารย์ปิยณัฐด้วยครับ ผมไม่มีคําถามแต่อยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ผม เห็นด้วยกับท่านวิทยากรและท่านทูตทุกท่าน เรากับอินเดียยังมีมุมมองไม่ค่อยตรงกันอย่างที่ท่าน อาจารย์เอนกพูดเมื่อสักครู่แม้ว่าทั้งสองฝ่ายสามารถแบ่งปันและร่วมมือกันได้หลายเรื่อง เท่าที่ผมได้ สัมผัสกับอินเดียโดยตรงพบว่าทั้งสองฝ่ายมีคลื่นความถี่ที่ยังไม่ตรงกันนักครับ เขาให้ความสําคัญแก่ ประเด็นความมั่นคงมากซึ่งก็เข้าใจได้เพราะเขามีประเด็นปัญหาภายใน เช่น เรื่องแคชเมียร์ และอื่น ๆ ขณะที่ฝ่ายเรามองเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักเพราะอินเดียเป็นตลาดใหญ่มีประชากรเป็นพันล้าน นอกจากนี้ อินเดียมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นรองใคร มีนิวเคลียร์ มียานอวกาศ คนอินเดียจํานวนมาก ไปทํางานในประเทศตะวันตก ในยุโรป ในอเมริกา คนอินเดียจํานวนมากมีความเก่ง ที่ผ่านมา อินเดีย พยายามมีความร่วมมือกับไทย แต่ต้องเล่าให้ฟังว่า เขามองว่าไทยเอนเอียงไปทางจีน ซึ่งผมก็รู้สึกว่า อาจจะเป็นอย่างนั้น เรามีคําเปรียบเปรยว่า เจอแขกกับเจองู ต้องตีแขกก่อน ความคิดนี้ยังอยู่ในทัศนะ ของคนไทยหลายกลุ่ม จึงต้องฝากคนรุ่นใหม่อย่างอาจารย์ปิยณัฐด้วยในการช่วยแนะคนรุ่นใหม่ให้ปรับ มุมมองต่ออินเดีย พูดถึงภาคประชาสังคม สถานทูตอินเดียพยายามเสริมความเชื่อมโยงในระดับประชาชนของทั้ง สองฝ่าย เช่น การจัดงาน North East India Festival ในไทย ส่วนกระทรวงการต่างประเทศก็ได้จัดคณะ ไปเยือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งมีความเชื่อมโยงกับไทยในด้านชาติพันธุ์ที่เรียกว่าชนเผ่า ไท เพื่อกระชับความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษา กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ชาวอินเดียในดินแดนแถบนั้นซึ่งยังมีการพัฒนาที่เป็นรองกว่าพื้นที่อื่น ผมขอเน้น ฝากคนรุ่นใหม่อย่างอาจารย์ปิยณัฐด้วยในเรื่องการสร้างทัศนคติที่ดี ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่จะเข้าข้างอินเดีย ทั้งหมดเพราะรู้ว่าบางเรื่องก็ยังมีข้อด้อยพอสมควร แต่อยากให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้อง เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ มีทัศนคติมองอินเดียในมุมใหม่มากขึ้น ปัจจุบัน อินเดียมีหลายอย่างที่ไม่เหมือน อินเดียยุคโบราณ มุมไบ (Mumbai) บังกาลอร์ (Bangalore) ก็มีความก้าวหน้ามาก และเขามีความ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน (FinTech) ซึ่งน่าสนใจ ด้วยประชากรจํานวนพันกว่าล้าน แต่เขาสามารถทําให้ระบบของเขาเข้าถึงชุมชนได้ การค้าขายออนไลน์ก็ขยายตัวขึ้นมาก ที่ผ่านมาทาง ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนเสริมสร้างความร่วมมืออยู่ ก็ฝากไว้เป็นข้อมูลครับ คุณวรพันธุ์ ศรีวรนารถ ขอแบ่งปันข้อมูลดังนี้ ประเด็นที่หนึ่งคือ อินเดียปัจจุบันเป็นอย่างที่ผอ.ชีวินท์บอกคือ อินเดียใหม่ โดยยกตัวอย่าง โทรศัพท์มือมือ ซึ่งถือได้ว่าเป็น Equalizing Factor (ปัจจัยที่ทําให้ทุกคนเท่าเทียมกันมากขึ้น) ที่สําคัญ เพราะทําให้ระบบวรรณะหายไป เนื่องจากไม่มีวรรณะอยู่ในโลกดิจิทัล ยิ่งอินเดียเคลื่อนสู่สังคมเทคโนโลยี มาก ๆ สังคมอินเดียก็ยิ่งจะเปลี่ยนแปลงไป 20