SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  5
Télécharger pour lire hors ligne
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 1 
1.1 
สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ 
ปัจจุบัน Asean Economic Community (AEC) และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย เป็นข้ออ้างที่ 
แทบจะเป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่การดำเนินกิจกรรม (Event) และโครงการต่างๆของหน่วยงานภาครัฐและ 
เอกชนในประเทศไทย หยิบยกมาใช้เป็นเหตุผลในการดำเนินงานและขอรับงบประมาณ เหมือนครั้งหนึ่งที่คำว่า 
โลจิสติกส์ ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆตลอดระยะเวลาร่วม 10 ปีที่ผ่านมา 
อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับการก้าวย่างไปสู่ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทยที่พบเห็นอยู่ทั่วไป 
ในขณะนี้ ยังตั้งอยู่บนกรอบการพิจารณาที่ค่อนข้างจำกัด โดยคำนึงถึงเฉพาะบริบทการแข่งขันระหว่างประเทศที่ 
เป็นสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น ขาดมุมมองของพิจารณาอย่างครอบคลุมไปถึงบริบทในการแข่งขันของไทยและ 
ของอาเซียนภายใต้กรอบของการแข่งขันระดับโลก (Global Competition) อันอาจทำให้หลายภาคส่วน เกิด 
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับหรือความท้าทาย (Challenges) ที่จะเกิดขึ้นจากการ 
ก้าวสู่ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งในท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การกำหนดนโยบายและ 
ยุทธศาสตร์ในการแข่งขันทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่ผิดพลาดได้ บทความนี้จึงขอคิดต่างด้วยการนำเสนอการ 
พินิจและพิเคราะห์การก้าวเข้าสู่ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ให้สอดคล้องกับทิศทางของการ 
ดำเนินการทางการค้าและการผลิตยุคใหม่ เพื่อรองรับการแข่งขันทางการค้าระดับโลก ภายใต้บริบทของโลกาภิ 
วัตน์ ที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจไร้พรมแดน 
บทความนี้ได้แบ่งออกเป็นหลายตอน เพื่อสะดวกในการเรียบเรียงและติดตาม โดยจะเริ่มตอนแรกด้วยการ 
อภิปรายถึงประเด็นที่ว่าประเทศไทยได้ก้าวมาถึงจุดที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของการพัฒนาประเทศแล้ว และมี 
ความจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์กันทั้งองคาพยพกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้าง 
พื้นฐานของการเจริญเติบโตของประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศพัฒนา 
(Developed Country) อย่างแท้จริง ตอนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างการผลิตและรูปแบบทางธุรกิจ 
(Business Model) ที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “Global Value Chain (GVC)” ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญที่ 
ขับเคลื่อนการค้าโลกอยู่ในปัจจุบัน และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการผลักดันให้นานาประเทศดำเนินการเปิดเสรี 
ทางการค้า ตอนที่ 3 จะอภิรายถึงแนวความคิดของการสร้างคุณค่าเพิ่มหรือความมั่งคั่งในเศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งจะ 
เป็นกรอบความคิด (Framework) ที่น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกำหนดทิศทางการพัฒนาขีด 
ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจและของประเทศ ส่วนตอนที่ 4 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายจะเป็นการนำการ 
อภิปรายทั้งหมดมาประมวลเพื่อพินิจพิเคราะห์ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย โดยมุ่งหวังกระตุ้น 
ให้เกิดการทบทวนและเปลี่ยนความคิดในการพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไป 
1. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) 
สิ่งที่ทุกท่านมักใฝ่ฝันอยากให้เป็นจริง คือ ประเทศไทยได้รับการพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว 
(Developed Country) และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ จากการทบทวนแนว
ทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลก เราพอจะแบ่งระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจออกได้เป็น 3 ระยะ 
(Stages) คือ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ภายในประเทศเป็นหลัก 
(Resource Driven) ประเทศที่มีการพัฒนาในระยะนี้มักถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม ประเทศด้อยพัฒนา การพัฒนา 
เศรษฐกิจระยะนี้จะพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัย 
การผลิตขั้นพื้นฐาน เช่น ที่ดิน แรงงานไร้ฝีมือ เป็นต้น เป็นสำคัญ สินค้าส่งออกมาที่มีรากฐานมาจาก 
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น แร่ ป่าไม้ เป็นต้น เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหวสูงต่อภาวะเศรษฐกิจของ 
โลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การพัฒนาระยะที่ 2เป็นการพัฒนาที่ 
เกิดขึ้นจากการยกระดับ (Efficiency/Investment Driven) เป็นระดับการพัฒนาของประเทศในกลุ่มประเทศที่ 
กำลังพัฒนา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการยกระดับประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการผลิตสินค้าและ 
บริการพื้นฐาน ในบทบาทของ OEM ที่เป็นผู้รับจ้างผลิตเพื่อการส่งออก โดยอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยีจาก 
ต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนโดยภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ 
โดยการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะนี้ต้องพึ่งพาการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศและการขยายตัว 
ทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสินค้า การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาในกลุ่มประเทศที่ 
พัฒนาแล้ว ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ (Innovation Driven) ด้วย 
การปรับฐานจากการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก มาเป็นเศรษฐกิจที่สามารถสร้างเทคโนโลยี องค์ความรู้ และ 
นวัตกรรมด้วยตนเองได้ จนเกิดความสามารถในการผลิตและนำเสนอสินค้าและบริการที่สร้างคุณค่าเพิ่มที่แตกต่าง 
จากคู่แข่งขันได้ด้วยตนเอง การเข้าสู่การพัฒนาในระยะนี้จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา 
(Research and Development) การพัฒนาตลาดทุนเพื่อการลงทุนและการเข้าถึงเทคโนโลยี การพัฒนา 
บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและมีความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 
วงจรการพัฒนาเศรษฐกิจ 
1.2 
เวลา 
ด้อยพัฒนา 
กำลังพัฒนา 
Stage 1 
Factor Driven 
Stage 2 
Efficiency/Investment 
Driven 
พัฒนาแล้ว Stage 3 
Innovation Driven 
การพัฒนา 
Eastern Seaboard 
? 
กับดักรายได้ปานกลาง 
Middle Income Trap
การพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละระยะ มักจะมีอัตราการเติบโตในรูปของตัว S (S Curve) โดยจะมีอัตราการ 
เติบโตค่อนข้างช้าในช่วงแรก และจะขยายตัวในอัตราที่สูงในช่วงถัดมา ก่อนที่การเจริญเติบโตจะเริ่มชะลอตัว 
ในช่วงสุดท้าย หากจะรักษาอัตราการเติบโตที่สูงต่อไป การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องขยับไปสู่การพัฒนาในระยะ 
ที่สูงกว่า ดังนั้น การก้าวข้ามจากการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่ต่ำกว่าไปยังเศรษฐกิจในระยะที่สูงกว่า ซึ่งมัก 
จำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนหรือการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตและโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เป็น 
จังหวะเวลาที่สำคัญของความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่สูงได้อย่างยั่งยืน 
ประเทศไทยได้ก้าวข้ามรอยต่อที่สำคัญจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยนโยบาย 
สำคัญที่ขับเคลื่อนให้ไทยสามารถยกระดับระบบเศรษฐกิจจากประเทศด้อยพัฒนาในระยะแรกมาเป็นประเทศกำลัง 
พัฒนา คือ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ Eastern Seaboard Development Program 
(ESB) ซึ่งดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ได้ปรับโครงสร้าง 
การผลิตของประเทศไทย จากการผลิตสินค้าเกษตรกรรมขั้นพื้นฐานและการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เป็นการ 
ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งส่งผลต่อศักยภาพของประเทศในการผลิตและส่งออกสินค้า การดึงดูดการลงทุนจาก 
ต่างประเทศ และการจ้างงานจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่สูงมาก 
อย่างต่อเนื่อง จนมีการกล่าวถึงในวงกว้างว่า ไทยกำลังจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (Newly 
Industrial Country) แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการปรับพื้นฐานโครงสร้างการผลิตและฎขีดความสามารถใน 
การแข่งขันของประเทศกันอย่างจริงจังในช่วงเวลาดังกล่าว จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยยังคงมีลักษณะของ 
ประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถก้าวข้ามไปเป็นประเทศที่พัฒนาตามที่คาดหวังได้ 
ทั้งนี้ การเปลี่ยนถ่ายจากระดับการพัฒนาเศรษฐกิจจากระยะที่ 2 เป็นระยะที่ 3 จะเผชิญความท้าทาย 
มากกว่าการก้าวข้ามจากระยะที่ 1 เป็นระยะที่ 2 เป็นปรับเปลี่ยนทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจจากการ 
พัฒนาระยะที่ 2 ซึ่งเน้นการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกและการลงทุนจากต่างประเทศ ไปสู่การพัฒนาระยะที่ 3 
ซึ่งต้องอาศัยฐานของการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมด้วยตนเอง จะเป็นการยกระดับ 
การพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนจนถึงการปฏิรูป (Transformation) โครงสร้างของธุรกิจและ 
ของการผลิตที่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในการพัฒนาและในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดนวัตกรรม มาก 
ไปกว่าการมุ่งเน้นเฉพาะไปที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างที่เรา 
คุ้นเคยกันมาตลอด การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะเริ่มแรก เกิดจากความสามารถในการแทรกตัวเข้า 
ไปแข่งขันในตลาดโลกของไทยที่ส่วนใหญ่ อาศัยความพร้อมของปัจจัยการผลิตและแรงงานมีฝีมือที่มีค่าจ้างต่ำ แต่ 
เมื่อประเทศได้พัฒนามาถึงจุดหนึ่งแล้ว ค่าแรงย่อมสูงขึ้นและต้นทุนของปัจจัยการผลิตต่างๆก็สูงขึ้นด้วย ทำให้ 
ประเทศไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันภายใต้รูปแบบหรือโครงสร้างการผลิตแบบเดิมๆ อีกแล้ว เมื่อเทียบกับ 
ประเทศอื่นที่มีค่าแรงที่ถูกกว่า โดยฮ่องกงและไต้หวันเป็นตัวอย่างของประเทศที่สามารถก้าวข้ามจากการพัฒนา 
ระยะที่ 2 จนมาสู่ระยะที่ 3 ได้ ส่วนประเทศอาร์เจนติน่า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับการยกย่องว่าจะสามารถก้าวขึ้น 
เป็นประเทศที่พัฒนาได้ กลับไม่สามารถก้าวข้ามรอยต่อของการพัฒนานี้ไปได้ จนทำให้ประเทศเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ 
อยู่เนืองๆ 
1.3
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้เริ่มเกิดความตระหนักและกระแสความกังวลถึงความจำเป็นที่ไทยจะต้องก้าว 
ข้ามกับดักของประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) แต่ความพยายามที่ผ่านมายัง 
เป็นเพียงวาทกรรม (Lip Service) โดยยังไม่เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) กันอย่างแท้จริง 
ตัวอย่าง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ 
แห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2550 .... บนหลักการเหตุผลที่ว่า สัดส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP (Cost to GDP ratio) 
ของประเทศไทยมีค่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่พัฒนาแล้ว จึงได้เกิดการผลักดันแผนงานโครงการต่างๆ ภายใต้ 
เป้าหมายของการลดสัดส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP จำนวนมาก และหน่วยงานต่างๆก็ได้ท่องคาถานี้มา 
ตลอดในการจัดทำของงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินโครงการ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วจะ 
เห็นว่า แนวความคิดในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ที่ดำเนินการกันมา ยังเป็นแนวความคิดภายใต้กระบวน 
ทัศน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่ 2 ที่เน้นเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพ กล่าวคือ แผนงานโครงการต่างๆ 
“หมกมุ่น” อยู่กับการลด “ตัวเศษ” ของสัดส่วนดังกล่าว เกิดเป็นความพยายามที่ใช้งบประมาณส่วนใหญ่ของ 
ประเทศไปกับการลดต้นทุนแต่ถ่ายเดียวตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะต้นทุนขนส่งด้วย 
รถบรรทุกที่ลดกันจนค่าขนส่งด้วยรถบรรทุกของไทยต่ำกว่าค่าขนส่งในประเทศเพื่อนบ้านมากแล้ว เหลือแต่เพียง 
การเปลี่ยนไปใช้การขนส่งทางรถไฟและทางน้ำที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดีกว่า ซึ่งก็ได้มีแผนงาน 
โครงการอยู่แล้ว รอแต่เพียงการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมเท่านั้น สิ่งที่ขาดอย่างมาก คือ การดำเนินการ 
อย่างจริงจังตามกรอบแนวความคิดภายใต้กระบวนทัศน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจระยะที่ 3 คือ แทนที่คิดเพียงแต่ 
จะทุ่มงบประมาณไปกับการลดตัวเศษของสัดส่วนดังกล่าว ควรหันกลับมาทุ่มสรรพกำลังในการแปลง 
ความสามารถในการจัดการโลจิสติกส์ให้สามารถเพิ่มมูลค่าที่ได้รับจากสินค้าหรือเพิ่มมูลค่า “ตัวส่วน” ของสัดส่วน 
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมกันอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ทุเรียนจำหน่ายหน้าสวนมีราคาประมาณ 25 บาทต่อกิโลกรัม 
ขณะที่ราคาขาย ณ ตลาดในประเทศจีน อาจสูงถึง 90 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบัน ชาวสวนไทยจะจำหน่ายทุเรียนที่ 
หน้าสวน โดยได้รับผลตอบแทนเพียง 25 บาทต่อกิโลกรัม แล้วปล่อยให้ส่วนต่างของราคาที่มีมูลค่าสูงตกอยู่ในมือ 
ของผู้ประกอบการต่างชาติ แทนที่เราจะมุ่งเพียงแต่ลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการส่งออกทุเรียนที่มีมูลค่า 25 บาทต่อ 
กิโลกรัม เราควรหันมาพิจารณาถึงการพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ การจัดจำหน่าย และการ 
กระจายสินค้าของเกษตรกรไทยหรือผู้ประกอบการไทย เพื่อให้สามารถเป็นผู้ขายทุเรียนที่มีมูลค่า 90 บาทต่อ 
กิโลกรัมแทน 
เราควรเริ่มตระหนักว่า ข้อมูลและสถิติที่ได้ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในอัตราที่ 
ค่อนข้างต่ำในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเตือนในระดับหนึ่งให้ทราบแล้วว่า ประเทศไทยอาจจะ 
เริ่มเข้าสู่ปลายของตัว S ของการเติบโต หรือ ช่วงปลายของการขยายตัวของเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งจะมีอัตราการ 
ขยายตัวลดลงจากที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ จะ 
โทษแต่เพียงว่า เป็นเพราะวิกฤตการณ์การเมืองจึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้า โดยไม่เริ่มทบทวนว่ารากฐานของขีด 
ความสามารถในการแข่งขันของไทยที่พึ่งพาแต่สินค้าส่งออก โดยหวังเพียงผลบุญจากการลงทุนต่างชาติที่มีต่อการ 
จ้างแรงงานจำนวนมากและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ยังเหมาะสมอยู่หรือไม่ ถ้าทุกภาคส่วนของไทยยังไม่เริ่มที่ 
จะเลิกกระบวนทัศน์เดิม (Old Paradigm) ที่ตั้งอยู่บนความสำเร็จเก่าๆที่อาศัยใบบุญจากการส่งออกสินค้าที่ผลิต 
แบบ OEM มาเป็นการพัฒนาโครงสร้างและสภาวะแวดล้อมที่จะเป็นพื้นฐานและสนับสนุนให้เกิดขีดความสามารถ 
1.4
ในการพัฒนานวัตกรรมและการพัฒนาหรือต่อยอดเทคโนโลยี และการดูดซับเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ประเทศไทย 
ก็อาจจะติดอยู่ในกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง จนเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักชัน (Stalled Economy) ได้ 
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างในการเติบโตของไทยครั้งล่าสุดของไทยเกิดขึ้นภายใต้โครงการ Eastern 
Seaboard ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เราแทบจะไม่ได้ 
ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทางสังคมกันอย่างจริงจังอีกเลย และในขณะนี้ “บุญเก่า” ที่ได้สร้าง 
มาเมื่อ 30 ปีน่าจะใกล้หมดแล้ว หากยังไม่ดำเนินการสร้าง “บุญใหม่” ด้วยการปฏิรูปกระบวนทัศน์กันอย่างจริงจัง 
แล้ว เราอาจจะเดินเข้าสู่ช่วงของการชดใช้ “กรรมเก่า” ในไม่ช้า 
1.5

Contenu connexe

Plus de Nopporn Thepsithar

2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชนNopporn Thepsithar
 
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556Nopporn Thepsithar
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance IndexNopporn Thepsithar
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsNopporn Thepsithar
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Nopporn Thepsithar
 
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะNopporn Thepsithar
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน Nopporn Thepsithar
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRINopporn Thepsithar
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1Nopporn Thepsithar
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06Nopporn Thepsithar
 
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingPresentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingNopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingPresentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingNopporn Thepsithar
 
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Nopporn Thepsithar
 

Plus de Nopporn Thepsithar (20)

2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
 
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
 
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
 
2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
 
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย 2556 - 2560 brief 2013-03-06
 
LIFFA Presentation
LIFFA Presentation LIFFA Presentation
LIFFA Presentation
 
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
ร่างแผนพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและโซ่อุปทาน 2556 2560
 
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity BuildingPresentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
Presentation 2013-01-20 Supply Chain Capacity Building
 
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
Presentation 2013-01-06 Supply Chain Capacity Building - Transportation Manag...
 
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on CoachingPresentation 2013-01-11 My experience on Coaching
Presentation 2013-01-11 My experience on Coaching
 
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
Presentation 2012 12-02 ประสบการณ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ v2
 

พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 1

  • 1. พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 1 1.1 สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ ปัจจุบัน Asean Economic Community (AEC) และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย เป็นข้ออ้างที่ แทบจะเป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่การดำเนินกิจกรรม (Event) และโครงการต่างๆของหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนในประเทศไทย หยิบยกมาใช้เป็นเหตุผลในการดำเนินงานและขอรับงบประมาณ เหมือนครั้งหนึ่งที่คำว่า โลจิสติกส์ ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆตลอดระยะเวลาร่วม 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับการก้าวย่างไปสู่ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทยที่พบเห็นอยู่ทั่วไป ในขณะนี้ ยังตั้งอยู่บนกรอบการพิจารณาที่ค่อนข้างจำกัด โดยคำนึงถึงเฉพาะบริบทการแข่งขันระหว่างประเทศที่ เป็นสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น ขาดมุมมองของพิจารณาอย่างครอบคลุมไปถึงบริบทในการแข่งขันของไทยและ ของอาเซียนภายใต้กรอบของการแข่งขันระดับโลก (Global Competition) อันอาจทำให้หลายภาคส่วน เกิด ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับหรือความท้าทาย (Challenges) ที่จะเกิดขึ้นจากการ ก้าวสู่ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งในท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การกำหนดนโยบายและ ยุทธศาสตร์ในการแข่งขันทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่ผิดพลาดได้ บทความนี้จึงขอคิดต่างด้วยการนำเสนอการ พินิจและพิเคราะห์การก้าวเข้าสู่ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ให้สอดคล้องกับทิศทางของการ ดำเนินการทางการค้าและการผลิตยุคใหม่ เพื่อรองรับการแข่งขันทางการค้าระดับโลก ภายใต้บริบทของโลกาภิ วัตน์ ที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจไร้พรมแดน บทความนี้ได้แบ่งออกเป็นหลายตอน เพื่อสะดวกในการเรียบเรียงและติดตาม โดยจะเริ่มตอนแรกด้วยการ อภิปรายถึงประเด็นที่ว่าประเทศไทยได้ก้าวมาถึงจุดที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของการพัฒนาประเทศแล้ว และมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์กันทั้งองคาพยพกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้าง พื้นฐานของการเจริญเติบโตของประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศพัฒนา (Developed Country) อย่างแท้จริง ตอนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างการผลิตและรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) ที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “Global Value Chain (GVC)” ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญที่ ขับเคลื่อนการค้าโลกอยู่ในปัจจุบัน และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการผลักดันให้นานาประเทศดำเนินการเปิดเสรี ทางการค้า ตอนที่ 3 จะอภิรายถึงแนวความคิดของการสร้างคุณค่าเพิ่มหรือความมั่งคั่งในเศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งจะ เป็นกรอบความคิด (Framework) ที่น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกำหนดทิศทางการพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจและของประเทศ ส่วนตอนที่ 4 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายจะเป็นการนำการ อภิปรายทั้งหมดมาประมวลเพื่อพินิจพิเคราะห์ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย โดยมุ่งหวังกระตุ้น ให้เกิดการทบทวนและเปลี่ยนความคิดในการพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไป 1. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) สิ่งที่ทุกท่านมักใฝ่ฝันอยากให้เป็นจริง คือ ประเทศไทยได้รับการพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country) และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ จากการทบทวนแนว
  • 2. ทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลก เราพอจะแบ่งระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจออกได้เป็น 3 ระยะ (Stages) คือ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ภายในประเทศเป็นหลัก (Resource Driven) ประเทศที่มีการพัฒนาในระยะนี้มักถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม ประเทศด้อยพัฒนา การพัฒนา เศรษฐกิจระยะนี้จะพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัย การผลิตขั้นพื้นฐาน เช่น ที่ดิน แรงงานไร้ฝีมือ เป็นต้น เป็นสำคัญ สินค้าส่งออกมาที่มีรากฐานมาจาก ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น แร่ ป่าไม้ เป็นต้น เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหวสูงต่อภาวะเศรษฐกิจของ โลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การพัฒนาระยะที่ 2เป็นการพัฒนาที่ เกิดขึ้นจากการยกระดับ (Efficiency/Investment Driven) เป็นระดับการพัฒนาของประเทศในกลุ่มประเทศที่ กำลังพัฒนา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการยกระดับประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการผลิตสินค้าและ บริการพื้นฐาน ในบทบาทของ OEM ที่เป็นผู้รับจ้างผลิตเพื่อการส่งออก โดยอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนโดยภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ โดยการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะนี้ต้องพึ่งพาการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศและการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสินค้า การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาในกลุ่มประเทศที่ พัฒนาแล้ว ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ (Innovation Driven) ด้วย การปรับฐานจากการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก มาเป็นเศรษฐกิจที่สามารถสร้างเทคโนโลยี องค์ความรู้ และ นวัตกรรมด้วยตนเองได้ จนเกิดความสามารถในการผลิตและนำเสนอสินค้าและบริการที่สร้างคุณค่าเพิ่มที่แตกต่าง จากคู่แข่งขันได้ด้วยตนเอง การเข้าสู่การพัฒนาในระยะนี้จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การพัฒนาตลาดทุนเพื่อการลงทุนและการเข้าถึงเทคโนโลยี การพัฒนา บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและมีความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีสมัยใหม่ วงจรการพัฒนาเศรษฐกิจ 1.2 เวลา ด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา Stage 1 Factor Driven Stage 2 Efficiency/Investment Driven พัฒนาแล้ว Stage 3 Innovation Driven การพัฒนา Eastern Seaboard ? กับดักรายได้ปานกลาง Middle Income Trap
  • 3. การพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละระยะ มักจะมีอัตราการเติบโตในรูปของตัว S (S Curve) โดยจะมีอัตราการ เติบโตค่อนข้างช้าในช่วงแรก และจะขยายตัวในอัตราที่สูงในช่วงถัดมา ก่อนที่การเจริญเติบโตจะเริ่มชะลอตัว ในช่วงสุดท้าย หากจะรักษาอัตราการเติบโตที่สูงต่อไป การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องขยับไปสู่การพัฒนาในระยะ ที่สูงกว่า ดังนั้น การก้าวข้ามจากการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่ต่ำกว่าไปยังเศรษฐกิจในระยะที่สูงกว่า ซึ่งมัก จำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนหรือการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตและโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เป็น จังหวะเวลาที่สำคัญของความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่สูงได้อย่างยั่งยืน ประเทศไทยได้ก้าวข้ามรอยต่อที่สำคัญจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยนโยบาย สำคัญที่ขับเคลื่อนให้ไทยสามารถยกระดับระบบเศรษฐกิจจากประเทศด้อยพัฒนาในระยะแรกมาเป็นประเทศกำลัง พัฒนา คือ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ Eastern Seaboard Development Program (ESB) ซึ่งดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ได้ปรับโครงสร้าง การผลิตของประเทศไทย จากการผลิตสินค้าเกษตรกรรมขั้นพื้นฐานและการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เป็นการ ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งส่งผลต่อศักยภาพของประเทศในการผลิตและส่งออกสินค้า การดึงดูดการลงทุนจาก ต่างประเทศ และการจ้างงานจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่สูงมาก อย่างต่อเนื่อง จนมีการกล่าวถึงในวงกว้างว่า ไทยกำลังจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (Newly Industrial Country) แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการปรับพื้นฐานโครงสร้างการผลิตและฎขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศกันอย่างจริงจังในช่วงเวลาดังกล่าว จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยยังคงมีลักษณะของ ประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถก้าวข้ามไปเป็นประเทศที่พัฒนาตามที่คาดหวังได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนถ่ายจากระดับการพัฒนาเศรษฐกิจจากระยะที่ 2 เป็นระยะที่ 3 จะเผชิญความท้าทาย มากกว่าการก้าวข้ามจากระยะที่ 1 เป็นระยะที่ 2 เป็นปรับเปลี่ยนทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจจากการ พัฒนาระยะที่ 2 ซึ่งเน้นการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกและการลงทุนจากต่างประเทศ ไปสู่การพัฒนาระยะที่ 3 ซึ่งต้องอาศัยฐานของการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมด้วยตนเอง จะเป็นการยกระดับ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนจนถึงการปฏิรูป (Transformation) โครงสร้างของธุรกิจและ ของการผลิตที่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในการพัฒนาและในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดนวัตกรรม มาก ไปกว่าการมุ่งเน้นเฉพาะไปที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างที่เรา คุ้นเคยกันมาตลอด การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะเริ่มแรก เกิดจากความสามารถในการแทรกตัวเข้า ไปแข่งขันในตลาดโลกของไทยที่ส่วนใหญ่ อาศัยความพร้อมของปัจจัยการผลิตและแรงงานมีฝีมือที่มีค่าจ้างต่ำ แต่ เมื่อประเทศได้พัฒนามาถึงจุดหนึ่งแล้ว ค่าแรงย่อมสูงขึ้นและต้นทุนของปัจจัยการผลิตต่างๆก็สูงขึ้นด้วย ทำให้ ประเทศไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันภายใต้รูปแบบหรือโครงสร้างการผลิตแบบเดิมๆ อีกแล้ว เมื่อเทียบกับ ประเทศอื่นที่มีค่าแรงที่ถูกกว่า โดยฮ่องกงและไต้หวันเป็นตัวอย่างของประเทศที่สามารถก้าวข้ามจากการพัฒนา ระยะที่ 2 จนมาสู่ระยะที่ 3 ได้ ส่วนประเทศอาร์เจนติน่า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับการยกย่องว่าจะสามารถก้าวขึ้น เป็นประเทศที่พัฒนาได้ กลับไม่สามารถก้าวข้ามรอยต่อของการพัฒนานี้ไปได้ จนทำให้ประเทศเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ อยู่เนืองๆ 1.3
  • 4. ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้เริ่มเกิดความตระหนักและกระแสความกังวลถึงความจำเป็นที่ไทยจะต้องก้าว ข้ามกับดักของประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) แต่ความพยายามที่ผ่านมายัง เป็นเพียงวาทกรรม (Lip Service) โดยยังไม่เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) กันอย่างแท้จริง ตัวอย่าง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ แห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2550 .... บนหลักการเหตุผลที่ว่า สัดส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP (Cost to GDP ratio) ของประเทศไทยมีค่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่พัฒนาแล้ว จึงได้เกิดการผลักดันแผนงานโครงการต่างๆ ภายใต้ เป้าหมายของการลดสัดส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP จำนวนมาก และหน่วยงานต่างๆก็ได้ท่องคาถานี้มา ตลอดในการจัดทำของงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินโครงการ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วจะ เห็นว่า แนวความคิดในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ที่ดำเนินการกันมา ยังเป็นแนวความคิดภายใต้กระบวน ทัศน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่ 2 ที่เน้นเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพ กล่าวคือ แผนงานโครงการต่างๆ “หมกมุ่น” อยู่กับการลด “ตัวเศษ” ของสัดส่วนดังกล่าว เกิดเป็นความพยายามที่ใช้งบประมาณส่วนใหญ่ของ ประเทศไปกับการลดต้นทุนแต่ถ่ายเดียวตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะต้นทุนขนส่งด้วย รถบรรทุกที่ลดกันจนค่าขนส่งด้วยรถบรรทุกของไทยต่ำกว่าค่าขนส่งในประเทศเพื่อนบ้านมากแล้ว เหลือแต่เพียง การเปลี่ยนไปใช้การขนส่งทางรถไฟและทางน้ำที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดีกว่า ซึ่งก็ได้มีแผนงาน โครงการอยู่แล้ว รอแต่เพียงการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมเท่านั้น สิ่งที่ขาดอย่างมาก คือ การดำเนินการ อย่างจริงจังตามกรอบแนวความคิดภายใต้กระบวนทัศน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจระยะที่ 3 คือ แทนที่คิดเพียงแต่ จะทุ่มงบประมาณไปกับการลดตัวเศษของสัดส่วนดังกล่าว ควรหันกลับมาทุ่มสรรพกำลังในการแปลง ความสามารถในการจัดการโลจิสติกส์ให้สามารถเพิ่มมูลค่าที่ได้รับจากสินค้าหรือเพิ่มมูลค่า “ตัวส่วน” ของสัดส่วน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมกันอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ทุเรียนจำหน่ายหน้าสวนมีราคาประมาณ 25 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาขาย ณ ตลาดในประเทศจีน อาจสูงถึง 90 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบัน ชาวสวนไทยจะจำหน่ายทุเรียนที่ หน้าสวน โดยได้รับผลตอบแทนเพียง 25 บาทต่อกิโลกรัม แล้วปล่อยให้ส่วนต่างของราคาที่มีมูลค่าสูงตกอยู่ในมือ ของผู้ประกอบการต่างชาติ แทนที่เราจะมุ่งเพียงแต่ลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการส่งออกทุเรียนที่มีมูลค่า 25 บาทต่อ กิโลกรัม เราควรหันมาพิจารณาถึงการพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ การจัดจำหน่าย และการ กระจายสินค้าของเกษตรกรไทยหรือผู้ประกอบการไทย เพื่อให้สามารถเป็นผู้ขายทุเรียนที่มีมูลค่า 90 บาทต่อ กิโลกรัมแทน เราควรเริ่มตระหนักว่า ข้อมูลและสถิติที่ได้ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในอัตราที่ ค่อนข้างต่ำในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเตือนในระดับหนึ่งให้ทราบแล้วว่า ประเทศไทยอาจจะ เริ่มเข้าสู่ปลายของตัว S ของการเติบโต หรือ ช่วงปลายของการขยายตัวของเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งจะมีอัตราการ ขยายตัวลดลงจากที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ จะ โทษแต่เพียงว่า เป็นเพราะวิกฤตการณ์การเมืองจึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้า โดยไม่เริ่มทบทวนว่ารากฐานของขีด ความสามารถในการแข่งขันของไทยที่พึ่งพาแต่สินค้าส่งออก โดยหวังเพียงผลบุญจากการลงทุนต่างชาติที่มีต่อการ จ้างแรงงานจำนวนมากและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ยังเหมาะสมอยู่หรือไม่ ถ้าทุกภาคส่วนของไทยยังไม่เริ่มที่ จะเลิกกระบวนทัศน์เดิม (Old Paradigm) ที่ตั้งอยู่บนความสำเร็จเก่าๆที่อาศัยใบบุญจากการส่งออกสินค้าที่ผลิต แบบ OEM มาเป็นการพัฒนาโครงสร้างและสภาวะแวดล้อมที่จะเป็นพื้นฐานและสนับสนุนให้เกิดขีดความสามารถ 1.4
  • 5. ในการพัฒนานวัตกรรมและการพัฒนาหรือต่อยอดเทคโนโลยี และการดูดซับเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ประเทศไทย ก็อาจจะติดอยู่ในกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง จนเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักชัน (Stalled Economy) ได้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างในการเติบโตของไทยครั้งล่าสุดของไทยเกิดขึ้นภายใต้โครงการ Eastern Seaboard ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เราแทบจะไม่ได้ ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทางสังคมกันอย่างจริงจังอีกเลย และในขณะนี้ “บุญเก่า” ที่ได้สร้าง มาเมื่อ 30 ปีน่าจะใกล้หมดแล้ว หากยังไม่ดำเนินการสร้าง “บุญใหม่” ด้วยการปฏิรูปกระบวนทัศน์กันอย่างจริงจัง แล้ว เราอาจจะเดินเข้าสู่ช่วงของการชดใช้ “กรรมเก่า” ในไม่ช้า 1.5