SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  19
คุณค่าจาก ยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ “เทพบุตรกู้บัลลังก์”
โดย นพพร เทพสิทธา
ยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” ประพันธ์โดย จิ่วถู และ เรียบ
เรียงเป็นไทย โดย น.นพรัตน์ เป็นวรรณกรรมชิ้นเอก ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งอีกชิ้นหนึ่งในบรรณ
พิภพของยุทธนิยายจีน ที่ผู้ประพันธ์นําเหตุการณ์และบุคคลในประวัติศาสตร์ มาแต่งเติมเพิ่ม
สีสันอย่างสมจริงสมจัง เพื่อถ่ายทอดความคิด ความห่วงใย และ ความต้องการ “ปกปักรักษา”
ชาติมาตุภูมิของตน คือ ประเทศจีน ที่กําลังเผชิญกับความท้าทายและความขัดแย้งทางอารย
ธรรม การปกครอง และเศรษฐกิจ จากระบบและเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ากว่าของชาติ
ตะวันตก ซึ่งผลจากการปะทะกันนี้อาจส่งผลให้ฝ่ายที่อ่อนแอกว่าต้องถูกทาลายล้างไป
จิ่วถู ใช้เรื่องราวในประวัติศาสตร์จีนยุคจักรวรรดิต้าสุย (ค.ศ.581-618) และ ต้าถัง
(ค.ศ.618-907) ประพันธ์มหากาพย์สุยถังไตรภาค ภาค 1 เรื่อง “ยุทธการล่าบัลลังก์” กล่าวถึง
ความเสื่อมโทรมและความล่มสลายของจักรวรรดิต้าสุย ซึ่งถูกแทนที่ด้วยจักรวรรดิใหม่ ตาม
ด้วยภาค 2 เรื่อง “ขุนโจรคู่บัลลังก์” กล่าวถึงยุคสร้างประเทศของจักรวรรดิต้าถัง และ จบด้วย
ภาค 3 เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” กล่าวถึงยุคกลางของจักรวรรดิต้าถัง ที่ประเทศพัฒนาถึงขีด
สุดแล้วหยุดอยู่กับที่ และก็เริ่มถอยหลัง รอกาลเวลาแตกดับ ถือเป็นภาคที่ดีที่สุด เป็นบทสรุป
ของประเทศและวีรชน
ยุทธนิยายชุดนี้ สะท้อนภาพให้เห็น วัฎจักรของประเทศ ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรที่แปลกใหม่
เพราะประวัติศาสตร์มักจะซํ้ารอยเดิมเสมอ เพียงเปลี่ยนตัวละคร ฉาก และ ยุคสมัย แต่ที่ไม่เคย
เปลี่ยนแปลงและแน่นอนเสมอก็คือ ธรรมชาติของคน และ สัจธรรมของชีวิต ซึ่งไม่จํากัด
กาลเวลาและสถานที่ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ไม่ว่าของประเทศใด ยุคใด ย่อมทําให้เราทราบ
เรื่องราวความเป็นมาแต่หนหลัง และ สามารถคาดเดาเค้าลางของอนาคตได้ ยืนยันและตอกยํ้า
ว่า กฎของธรรมชาติเป็นผู้ชนะตลอดกาล มนุษย์ทุกยุคสมัยต่างเรียนรู้ประวัติศาสตร์
แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งวัฏจักรของประวัติศาสตร์ได้
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้อ่านเข้าใจบทเรียนจากประวัติศาสตร์ นํามาทบทวนการดําเนินชีวิตใน
ยุคปัจจุบัน จิ่วถู สร้างภาพซ้อนระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ระหว่างมหานครฉางอานกับ
มหานครปักกิ่งที่ค่อนข้างลงตัว และ หยิบยก ความภาคภูมิใจ ความรัก และความ
ผูกพันต่อชาติมาตุภูมิและครอบครัว เป็น หัวใจของเรื่องราวทั้งหมด ถือเรื่องอื่น เช่น
ความรักระหว่างหญิงชาย หรือ นํ้าใจระหว่างมิตรสหาย เป็นเรื่องรอง
เมื่ออ่านเรื่องนี้จบ ผมต้องย้อนกลับมาอ่านบางตอนที่ผมชื่นชอบอีกครั้งด้วยความชื่นชม
และทึ่งจิ่วถูว่าเป็นวิศวกรไฟฟ้ า แล้วแต่งเรื่องสุดยอดแบบนี้ได้อย่างไร ทาให้เห็นว่า
จินตนาการและปัญญาของมนุษย์ ไม่มีสิ้นสุดจริงๆ
ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวลํ้าไปไกลเพียงใด แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อนุรักษ์ปกปักรักษา
ศิลปวัฒนธรรมเอาไว้ และพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยได้อย่างเฉียบคม ทําให้มั่นใจในความคิด
ที่ว่า มนุษยชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ ไม่ใช่ด้วยเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น จะต้องมี วัฒนธรรม
เป็นพื้นฐาน มี ศิลปะ เป็นแรงบันดาลใจ และ สิ่งสําคัญที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ คุณธรรม หาก
ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป สมดุลไม่มี เมื่อนั้นความเสื่อมถอยก็จะเริ่มเข้ามาแทนที่
ผมขอยกย่องว่า “เทพบุตรกู้บัลลังก์” จัดเป็นวรรณศิลป์ ที่ยอดเยี่ยม ให้คุณค่ายอด
เยี่ยม สมบูรณ์ ทั้ง 3 ระดับ
ระดับแรก คือ สะท้อนความรู้สึก และ เร้าอารมณ์ (EQ)
จิวถู่ สะท้อนความรู้สึกของตัวละครได้หลากหลาย สมจริง เร้าอารมณ์ ชวนให้ติดตาม
มีทั้ง ฟุ้ งเฟ้ อ จนปัญญา ท้อแท้ ไร้ความหวัง หมดศักดิ์ศรี กลัวตาย หนีปัญหา ได้สํานึก เสี่ยง
ตาย สู้ไม่ถอย พร้อมเสียสละ ฯลฯ อ่านแล้ว เหมือนทานอาหารจานเด็ดที่แซ่บครบทุกรสชาติ
แต่หนักไปทางเผ็ดมัน
ระดับสอง คือ ประเทืองปัญญา (IQ)
จิ่วถู สอดแทรกความรู้ที่น่าสนใจไว้หลายแง่มุม ทั้งด้านสถานที่ ภูมิประเทศ ชีวิตความ
เป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบราชการ การปกครอง การทหาร การรบ ทั้งในเมืองหลวง
และเมืองชายแดน เหมือนอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ที่ให้ทั้งสาระและความบันเทิง
จุดที่โดดเด่นประการหนึ่งของ “เทพบุตรกู้บัลลังก์” คือเป็นยุทธนิยายที่เขียนแบบ
เหมือนจริง (Realistic) ซึ่งเขียนให้สนุกได้ยากกว่าแบบจินตนิมิต (Fantacy) ดั่งเช่นยุทธนิยาย
กําลังภายในทั่วๆไป ซึ่งมีข้อจํากัดในการเขียนน้อย และก็เป็นที่นิยมของผู้อ่านมากกว่า เพราะ
สามารถสนองตอบความต้องการรํ่าร้องหาวีรบุรุษในอุดมคติและชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ที่ฝังอยู่ใน
จิตวิญญาณของผู้อ่านได้ดีกว่า ในขณะที่การเขียนแบบเหมือนจริง ต้องดึงผู้อ่านกลับมายังโลก
แห่งความจริงที่บีบคั้นความรู้สึก
จิ่วถู ได้แสดงฝีมือให้เห็นประจักษ์ในการเขียนยุทธนิยายเชิงประวัติศาสตร์แบบเหมือน
จริงได้ดีเยี่ยมทั้ง 3 ภาค สามารถวางเค้าโครงเรื่องของแต่ละภาค ให้มีจุดเด่นแตกต่างกัน แต่ก็
เชื่อมโยงกัน, เดินเรื่องได้กระชับ ทั้งๆที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ ตัวละคร และ ช่วงเวลา ซับซ้อน,
ทั้งสื่อสารความในใจของผู้เขียน ผ่านบทบาทและคําพูดของตัวละครต่างๆ ให้ผู้อ่านซึมซับได้
อย่างแนบเนียน
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเรื่องนี้ ที่จิ่วถูฝากฝีมือไว้ ก็คือ ฉากการต่อสู้ในสงคราม ที่
อ่านแล้วเหมือนเห็นภาพเคลื่อนไหวแบบช้า (Slow Motion) ของการรบ หรือ เหมือนซื้อตั๋วหนัง
เข้าไปนั่งดูคนสู้กันอยู่ข้างสนามรบ และ มีคนคอยสรุปสถานการณ์ให้ฟังอยู่ข้างๆ เห็น
รายละเอียดการรบเกือบทุกแง่มุม ให้ความรู้สึกแตกต่างจากฉากการต่อสู้ของหวงอี้ ที่ต้องใช้
จินตนาการคิดถึงกระบวนท่าอันวิจิตรพิสดาร
ทําให้เห็นว่า การต่อสู้ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ไม่มีกระบวนท่าที่สวยงาม ไม่มีเวลา
ให้คิดมาก ต้องอาศัยทักษะและพละกําลังที่เกิดจากการฝึกซํ้าแล้วซํ้าอีกจนกลายเป็นสัญชาติ
ญาณในการต่อสู้เอาตัวรอด บวกกับ ความรวดเร็ว การตัดสินใจที่ฉับไว สติ และ ปัญญา
เท่านั้น ที่จะทําให้รอดออกมาจากสนามรบและชนะศึกได้
ดังที่ซุนวูเขียนไว้ว่า
“สายนํ้าเชี่ยวจะพัดพาหินให้เคลื่อนลอยได้ด้วยความไหลแรง นกอินทรีย์ที่รวดเร็วจะทํา
ให้เหยื่อพินาศได้ ด้วยรู้จักช่วงระยะโจมตี ดังนั้น ท่วงทานองยุทธ์ต้องรวดเร็ว น่าสะพึงกลัว
และจู่โจมช่วงสั้น” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 5)
“การสัปยุทธ์ชิงชัย ต้องมีความเร็วเสมือนลมเพชรหึง เชื่องช้าประหนึ่งแมกไม้
ในพงไพร รบเฉกเช่นไฟบรรลัยกัลป์ หนักแน่นปานภูผา ยากที่จะหยั่งรู้ดุจท้องฟ้ าอัน
คลุมเครือ ไหวตัวดังสายฟ้ าคํารณสะท้านสะเทือน” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 7)
ระดับสาม คือ เพิ่มคุณค่าทางจิตวิญญาณ (SQ)
คุณค่าในข้อนี้เป็นคุณค่าที่สาคัญที่สุดของศิลปะทุกประเภท ผมขอยกย่อง ผลงาน
ชิ้นนี้ของ จี่วถู ว่า เข้าขั้นเป็นวรรณกรรม หรือ วรรณศิลป์ เพราะเพิ่มคุณค่าทางจิตวิญญาณได้
อย่างลึกซึ้ง ทั้งด้านจินตนาการและแรงบันดาลใจ
เกือบทุกหน้า ตลอดทั้งเรื่องนี้ถ้าค่อยๆอ่านดีๆ จะพบว่า มีคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายๆอย่าง แฝงไว้อยู่เสมอ สามารถหยิบยกมาพิจารณาและพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
ในวงวิจารณ์ได้อย่างมีรสชาติและไม่รู้เบื่อ
ขอยกตัวอย่างความประทับใจและคุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” บาง
ประเด็น ดังนี้
1. อารมณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและเชื่อว่าเป็นความตั้งใจของจิ่วถู ที่ต้องการสื่อสารให้
ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วม ก็คือ ความสลดใจจากภัยสงคราม อ่านเล่มแรกๆรู้สึกทึ่งและชอบฉาก
รบที่จิ่วถูบรรยายได้อย่างละเอียดเร้าใจ คิดว่า ใช่เลย การต่อสู้ของจริง มันต้องเป็นแบบนี้ ผู้ที่
เชี่ยวชาญกว่า อาวุธเหนือกว่า มีกลยุทธ์ดีกว่า ย่อมต้องเป็นผู้ชนะ อ่านไปสักพักก็รู้สึกเฉยๆ
เป็นความรู้สึกคล้ายๆกับตัวละครในเรื่องที่ชาชินกับการสู้รบ แต่พอช่วงหลังๆ แทบไม่อยากอ่าน
ฉากการรบเลย รู้สึกว่า น่าสลดสังเวช การรบกัน การฆ่าฟันกัน เป็นความโหดเหี้ยมอํามหิต ที่ไม่
ควรมีในหมู่มนุษย์ด้วยกัน มีแต่ความสูญเสีย ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครอยากทํา แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
เข้าใจถึงความรู้สึกของคนในสนามรบ ทั้งผู้ฆ่า ผู้ถูกฆ่า ผู้ชนะ ผู้แพ้ เกิดคําถามว่า สู้กันทําไม?
ชนะเพื่ออะไร? ตายเพื่อใคร? ทําไมมนุษย์ต้องเข่นฆ่ากันเอง?
จิ่วถู เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “หนึ่งขุนพลแลกจากหมื่นโครงกระดูก ขอเพียงช่วงชิงชัย
ชนะครั้งสุดท้าย ต่อให้ต้องเสียสละคนของตนเอง มันจะไม่รีรอลังเล” (เล่ม 9 หน้า 80)
นึกถึงที่ ซุนวู เขียนไว้หลายบทว่า “การชนะร้อยทั้งร้อย มิใช่วิธีอันประเสริฐแท้
ชนะโดยไม่ต้องรบเลย ถือว่าเป็นวิธีอันเลิศยิ่ง”, “ผู้นาที่มีคุณธรรม พึงใคร่ครวญผลได้
ผลเสียของการทาสงครามให้จงหนัก และ ขุนพลที่ดี ย่อมเผด็จศึกให้ได้ในเร็ววัน”,
“เมื่อไม่อยู่ในสถานะที่ล่อแหลมอันตราย ไม่พึงทําสงคราม, จงอย่าก่อสงคราม เพราะ ความ
โกรธแค้น, จงอย่ารุก เพราะ ความขึงเครียด, จงทาสงคราม ก็ต่อเมื่อเห็นผลประโยชน์ต่อ
ส่วนรวมแล้ว, ประเทศที่ล่มสลาย ผู้คนที่เสียชีวิต ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้”
สงครามมีแต่ความหายนะ ชัยชนะที่แท้จริง คือ ชัยชนะที่ไม่ต้องรบ นั่นคือ การสร้าง
ความเข้มแข็งให้ตนเองอยู่ตลอดเวลา จนไม่ต้องรบกับใคร เพราะไม่มีใครอยากมารบด้วย
2. อะไรเรียกว่า ชาติ ความรักชาติ การตอบแทนคุณแผ่นดิน? จิ่วถู นําเสนอเรื่อง
นี้จากมุมมองของประชาชนคนหนึ่ง ที่ไม่ใช่มาจากคําพูดของผู้ปกครอง นักการเมือง นักการ
ทหาร นักวิชาการ ซึ่งเป็นมุมมองที่เป็นบ่อเกิดของวีรชนในยามที่ประเทศมีภัย
ยามเมื่อชาติรุ่งเรือง ประชาชนทุกคนได้รับประโยชน์กันถ้วนหน้า, ต่างกินดีอยู่ดี ต่าง
กอบโกยหาความสุขความสบายใส่ตัว, รู้สึกขอบคุณชาติ ระลึกถึงบุญคุณของชาติ รักชาติ, เกิด
ความผูกพัน หวงแหน ภาคภูมิใจในชาติ
ยามเมื่อชาติเดือดร้อนมีภัย จึงค่อยเห็นชัดว่า ความรักชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เมื่อหยั่งลึกลงไปในจิตวิญญาณของทุกคน จะพบว่า สิ่งที่ทุกคนรักและหวงแหน ก็คือ
ครอบครัว บ้าน และแผ่นดินของตน ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และเราต้องรักษาไว้ให้กับ
ลูกหลานของเราต่อๆไป ไม่ว่าผู้ปกครองจะเปลี่ยนไปกี่คนก็ตาม ที่เราเปลี่ยนไม่ได้ ก็คือ
ครอบครัวที่ผูกพันกันทางสายเลือดและความรักความห่วงใยที่มีให้แก่กัน สุดท้ายเมื่อจะต้อง
ต่อสู้ ก็จะต่อสู้เพื่อรักษาแผ่นดิน บ้าน และ ครอบครัวของเรา นั่นเอง
จิ่วถู ได้ถ่ายทอดความรู้สึกรักชาติ ผ่านคําพูดของตัวเอกของเรื่องและตัวละครหลาย
คน เช่น
“ข้าพเจ้าไม่คิดหลบหนีอีกต่อไป และไม่สามารถหลบหนีต่อไป ไม่เช่นนั้นชั่วชีวิตของ
ข้าพเจ้าคงไม่อาจหลับตาลง นี่เป็นบ้านของข้าพเจ้า เป็นที่บรรพชนข้าพเจ้าเคยอาศัยอยู่ ก่อนนี้
ข้าพเจ้าสู้เพื่อมัน หลังจากนี้ก็จะสู้เพื่อมัน ที่ข้าพเจ้าปกปักรักษามิใช่แผ่นดินของตระกูล
หนึ่งตระกูลใด ที่ข้าพเจ้าปกปักรักษาคือบ้านของตัวเอง ของบิดามารดาและบุตร
ภรรยาตัวเอง ยังมีศักดิ์ศรีที่อยู่ในสายเลือดซึ่งตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ” (เล่ม 8 หน้า 87)
“แผ่นดินเป็นแผ่นดินของผู้ใด? ทุกท่านต่อสู้เพื่ออันใด? มิใช่เพื่อลาภยศสรรเสริญ มิใช่
ตั้งแต่แรก มันเพียงไม่อาจทนดูฝ่ายกบฏก่อหวอดในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ไม่อาจ
ปล่อยให้ทรัพย์สินสุดท้ายของตนถูกแย่งชิงไป มันกับพี่น้องทั้งหลายสู้เพื่อความอยู่รอด และสู้
เพื่อศักดิ์ศรี มิใช่เพื่อความยั่งยืนยาวของตระกูลใดทั้งสิ้น เพียงแต่ตอนนั้นพวกมันไม่ทราบ
กระจ่าง เพียงกระทําการตามสัญชาตญาณของลูกผู้ชายเท่านั้น หากว่าฝ่ายกบฏบุกถึงหน้า
ประตูบ้าน ลูกผู้ชายผู้หนึ่งไม่ลุกขึ้นต่อต้าน ได้แต่เบิ่งตาดูเสบียงคาสุดท้ายถูกแย่งชิงไป
เบิ่งตาดูบุตรีและภรรยาถูกข่มเหง ทั้งหนีไม่รอดและไม่มีที่ให้หลบหนี ในสายตาของผู้
รุกรานยึดถือทั้งหมดเป็นเหยื่อทั้งสิ้น” (เล่ม 9 หน้า 36)
และให้ตัวเอกของเรื่อง ทิ้งคาพูดสุดท้ายไว้ก่อนจบเรื่องว่า
“ข้าพเจ้าขอยํ้าอีกครา นครฉางอานมิใช่สมบัติส่วนตัวของตระกูลหลี่ ต้าถังก็มิใช่ต้าถัง
ของตระกูลหนึ่งตระกูลใด นี่เป็นบ้านของเราผู้แซ่หวัง เราผู้แซ่หวังตัดสินใจเฝ้ าอยู่ที่นี้
ผู้ใดคิดฆ่าคนวางเพลิง ต้องเหยียบย่าศพของข้าพเจ้าไปก่อน” (เล่ม 9 หน้า 238)
3. สาเหตุของความล่มสลายของชาติบ้านเมือง ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบ ไม่ใช่
คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การกอบกู้ชาติ ต้องอาศัยจิตสํานึกที่เห็นความผิดพลาดของ
ตนเอง ไม่ใช่โยนความผิดให้คนอื่น และ ความกล้าหาญที่จะยอมรับผิดและแก้ไขความ
ผิดพลาดของตนเอง แม้นต้องสละชีวิต
จิ่วถู ตอกยํ้าความคิดนี้ไว้มากหลายตอน ผ่านคําพูดและการกระทําของตัวละครหลาย
คน โดยเฉพาะตอนที่ตัวละครที่ในอดีตมีพฤติกรรมเป็นที่ดูแคลนของวิญํูชน แต่สุดท้ายก็
กลับใจสํานึกผิดและพยายามทําความดีลบล้างความผิด เพื่อลดทอนความทรมานใจที่ถูกมโน
ธรรมเคี่ยวเข็ญลงโทษ
“ไม่ว่าขุนนางหยอกเย้าก็ดี ตัวตลกก็ช่าง เราถือเป็นขุนนางต้าถังคนหนึ่ง ต้าถังที่ตกตํ่า
ถึงเพียงนี้ เราสมควรมีส่วนรับผิดชอบ บอกไปไม่กลัวท่านหัวเราะเยาะ จิตปณิธานของเรา
ในตอนนี้คือ หาทางฟื้นฟูต้าถังขึ้นใหม่ เพื่อบรรลุจุดหมายนี้ ต่อให้เราร่างกายแหลกลาญเป็น
ผุยผงก็ไม่เสียดาย” (เล่ม 8 หน้า 174)
“วันเวลาที่ผ่านมา เราเฝ้ าครุ่นคิด เหตุใดต้าถังจึงพังครืนโดยเร็วถึงเพียงนี้ แต่ก็ไม่ได้
คําตอบที่แน่ชัด หากทว่าเราทราบว่า ผู้ที่ผลักต้าถังล้มลงไม่เพียงโจรกบฏอันลู่ซาน และ ไม่
เพียงขุนนางโฉดเช่นหลี่หลินฝู่และหยางกว๋อจง ไม่ว่าฝ่าบาท ไทจือ กุ้ยเฟยเหนียงเหนียง เกาลี่
ซือ เปียนหลงเฉิ่ง เราท่านล้วนยากรอดพ้นจากความรับผิดชอบ ท่านอย่าเพิ่งสั่นศีรษะ
ลองนึกทบทวนพฤติการณ์ในนครฉางอานเมื่อครั้งกระโน้น แม้ไม่ถึงกับก่อกรรมทําชั่ว แต่ก็ถือ
อํานาจบาตรใหญ่ ฉกฉวยแย่งชิงมาครอบครอง เราก็ติดสินบน เป็นสะพานเชื่อมช่วยเหลือคน
กระทําผิด ซื้อขายตําแหน่งขุนนาง ตอนนั้นยังเข้าใจว่าตัวเองมีความสามารถ หารู้ไม่ว่า ทุก
สิ่งที่กระทา เท่ากับขุดหลุมฝังตัวเองลึกลงไปอีกหุนหนึ่ง ดังนั้นจุดประสงค์ที่เรามีชีวิตอยู่
เพื่อฟื้นฟูต้าถังขึ้นใหม่ ไม่เช่นนั้นหลังจากที่เราตายแล้ว กระทั่งซากศพยังไม่ปลอดภัย” (เล่ม 8
หน้า 174-175)
“ทั้งหมดนี้เป็นพวกมันพึ่งพาใบบุญของบรรพบุรุษ กัดกร่อนจนต้าถังในกลวง
ดังนั้นพวกมันมีหน้าที่ต้องชุบสร้างต้าถังขึ้นใหม่ แต่หวังสุนไม่ต้องการให้ต้าถังชุบสร้างขึ้นมา
ใหม่เช่นเดิม แต่หวังว่า ในรากฐานของต้าถังที่ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ มีอันใดต่างกับกาลก่อน อย่าง
น้อยไม่เย็นเยือกและแตกง่ายเช่นกาลก่อน นี่เป็นสิ่งที่มันคิดชุบขึ้นมา และเป็นชีวิตใหม่ของมัน”
(เล่ม 8 หน้า 175)
“มันดูแคลนเรา เนื่องเพราะก่อนนี้เราไม่เคยกระทําการใดที่สมควรแก่การยกย่อง แต่
หากการกระทําของเราในวันนี้ ถูกส่งกลับไปยังทัพอันซี เราเชื่อว่า มันจะตอบแทนเราอย่าง
สมเหตุสมผล สิ่งที่พวกท่านเคี่ยวกรําต่อเรา มันจะทวงถามกลับคืนให้เราเป็นสิบเท่า ต่างกับ
กาลก่อนที่เราแม้นตายในสมรภูมิ ก็ไม่มีผู้ใดสนใจ ถึงกับอาจต้องแบกหม้อก้นดาแทน
ผู้อื่น ดังนั้นก่อนนี้เราไม่มีความกล้าเผชิญกับความตาย วันนี้แม้กลัวตายแทบตาย กลับ
ไม่ย่อมคุกเข่าต่อท่าน” (เล่ม 9 หน้า 106-107)
4. เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” สมควรเรียกว่า เป็นตานานการต่อสู้ของวีรชน ที่
บุกเบิกสร้างเส้นทางของตนเองทีละก้าวทีละก้าวจนมีความสําเร็จ เป็นตัวอย่างให้คนรุ่นหลัง
เรียนรู้ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างตํานานวีรชนของตนเอง ซึ่งต้องอาศัยทั้งความอดทน
ความมานะพยายาม สติปัญญา คนสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม โชควาสนา และ เวลา
แต่ที่สําคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ คุณธรรม
จิ่วถู สร้างเรื่องราวของวีรชนที่ประสบความสาเร็จบนพื้นฐานของคุณธรรม โดย
สอดแทรกคุณธรรมไว้ตลอดเส้นทางในแต่ละก้าวที่เดิน ไม่ว่าจะคิด พูด หรือ ทา
ชี้ให้เห็นว่า ความสําเร็จที่ได้มาเหมือนโชคช่วย หรือ ฟลุ้ค หรือ มีคนแอบช่วยเหลืออยู่เงียบๆ
จริงๆแล้วเป็นเพราะ คําว่า คุณธรรม คุณธรรมที่มีอยู่ในใจทุกคน แทรกซึมอยู่ทุกหนแห่ง
แม้นว่ามีหลายตอนในเรื่อง ที่จิ่วถูพูดถึงเส้นทางของวีรชนว่า ถูกกําหนดมาตั้งแต่กําเนิด
หรือ มีมือจากห้วงอันลี้ลับมาผลักดันให้เดินไปข้างหน้า เช่น
“นับตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงบัดนี้ ในห้วงอันลี้ลับคล้ายกับมีมือข้างหนึ่งผลักดันให้มันเดิน
ออกไป สุดที่มันจะหลีกหนี ทั้งไม่มีทางเลือกได้” ( เล่ม 8 หน้า15)
“เด็กน้อย มีภาระหน้าที่บางอย่างติดตัวมาแต่กําเนิด คิดหนีก็หนีไม่พ้น” (เล่ม 8 หน้า
89)
ทุกคนที่เกิดมา ล้วนมีบทบาทหน้าที่ ที่เลือกได้ แต่บทบาทหน้าที่บางอย่าง ที่
ไม่เคยคิดจะทา ไม่อยากทา พยายามเลี่ยงที่จะทา แต่สุดท้ายก็ต้องทา เมื่อหนีไม่พ้น ก็
ทาให้เต็มที่ ทาให้ดีที่สุด ตัดสินใจให้ดีที่สุด
แต่ถ้าดูลึกๆแล้ว จะพบว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของตัวเราเอง การ
ตัดสินใจที่เกิดขึ้นเพียงชั่วเสี้ยววินาที อาจพาเราไปสู่ความสําเร็จ หรือ ประสบความหายนะโดย
ไม่รู้ตัว แต่ถ้ามีคุณธรรมเป็นหลักประจาใจ ไม่ว่าจะดัดสินใจอย่างไร ก็ไม่ฉุดเราลงเหว
อย่างแน่นอน ซึ่งจิ่วถูได้สอดแทรกความคิดนี้ไว้ตลอดเรื่อง
คุณธรรมของวีรชน ที่จิ่วถูใช้ปั้นตัวเอกในเรื่องจนประสบความสําเร็จ ก็คือ กล้าหาญ
เพียรพยายาม รับผิดชอบ เมตตา ตอบแทนคุณ ส่วนรวมมาก่อนส่วนตัว และ เสียสละ
จุดสูงสุดของเรื่อง อยู่ที่ตอนสุดท้ายก่อนปิดฉาก แสดงถึง ความสําเร็จสูงสุดของตัว
เอก หวังสุน ที่บ่มเพาะคุณธรรมจนถึงระดับผู้นาที่ยิ่งใหญ่ไร้ตัวตน พร้อมสละชีวิตเพื่อ
รักษาคุณธรรมอย่างกล้าหาญ ยอมละทิ้งความสุขส่วนตัว ครอบครัวที่ตนรัก ทรัพย์สมบัติ
ยศตําแหน่ง เพื่อปกปักรักษาชีวิตและทรัพย์สินของคนที่ไม่รู้จักและไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ
ขอนําบทความบางตอนที่เขียนไว้เรื่อง “ปีม้า ปีแห่งวีรชน ผู้เสียสละ” คอลัมน์ คู่มือ
ชีวิต ในเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1128 วันที่ 10 มกราคม 2557 มากล่าวถึงวีรชนเพิ่มเติมดังนี้
“ความเสียสละ คือ คุณธรรมพื้นฐานที่สําคัญที่สุด ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและ
นําไปสู่ความสําเร็จอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก ไม่มีความเปลี่ยนแปลงและความสําเร็จ
ยิ่งใหญ่ใด ที่ปราศจากความเสียสละ จากน้อยไปหามาก จากคนเดียวไปสู่คนกลุ่มใหญ่
มีเรื่องราวของเหล่า วีรชน เหลือคณานับ ที่ทอดร่างทับถมอยู่ใต้พื้นพสุธา ทั้งที่บันทึกไว้
ได้อย่างไม่หมดสิ้น และที่ไม่ปรากฏชื่ออีกมากมาย ต่างเสียสละ ทุ่มเทกําลังกายกําลังใจ
ทรัพย์สิน แม้นกระทั่งชีวิตของตนเองและคนที่ตนรัก เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมให้ธํารงอยู่ โดยไม่
ก้มหัวให้กับอํานาจใดๆที่ตั้งอยู่บนความไม่ถูกต้อง นี่คือ ผู้กล้าหาญ หรือ วีรชน ตาม
ความหมายของขงจื้อ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของนิยายกําลังภายในหรือยุทธนิยายต่างๆ
วีรชน ย่อมไม่ทําเพราะหวังชื่อเสียงเกียรติยศเงินทอง แต่ทําด้วย ปัญญา ด้วยพิจารณา
เห็นแล้วว่า เป็นสิ่งถูกต้องที่ต้องทํา เป็นบทบาทหน้าที่ที่ต้องทํา ก็ทําด้วย ธรรม อย่างสุดกําลัง
มีความภูมิใจเบิกบานใจในบทบาทหน้าที่นั้น เชื่อมั่นว่า ผลของการกระทําด้วย ธรรม ย่อมทํา
ให้เปลี่ยนแปลงดีขึ้นจนสําเร็จอย่างแน่นอน เมื่อเหตุดี ผลก็ต้องดีตามมา แม้นจะยังไม่เห็น
ความสําเร็จ ก็จะทําต่อไป”
นอกจากนี้ จิ่วถู ยังได้นาเสนอคุณสมบัติสาคัญ ที่ผู้นาหรือวีรชนรุ่นใหม่พึงมี คือ
ความคิดสร้างสรรค์และไม่ยึดติดในกรอบเดิม ดังตอนหนึ่งที่กล่าวว่า
“คู่มือที่นอกเมืองแสดงว่า ไม่ได้ใช้ความพากเพียรต่อวิชาความรู้ใด ไม่เพียงแต่ลายมือ
ยํ่าแย่ แม้แต่ไหวพริบในการรับเหตุเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การศึก แม้แต่วิชาการต่อสู้ก็ไม่โดดเด่น
เท่าใด แต่ว่าคนหนุ่มที่ไม่โดดเด่นเท่าใดผู้นี้ กลับมีขีดความสามารถที่ไม่มีผู้ใดเทียบ
เปรียบได้ นั่นคือ แปรความเปื่ อยผุเป็นความพิสดาร ไม่ว่ามูลฝอยอันใด พอเก็บขึ้นมา
ก็สามารถปั้นแต่งให้เกิดมูลค่า ยังมี คนผู้นี้ปกครองคนหนุ่มมากหลาย ล้วนสร้าง
ผลงานลือลั่น ขณะเดียวกันก็เห็นซึ้งชืดชาต่อลาภยศสรรเสริญ คนเหล่านี้ล้วนเยาว์วัย
เยาว์วัยจนไม่รู้จักปัดแข้งปัดขา ไม่รู้จักกระตุกขาหลังกันและกัน หากเต็มไปด้วย
ชีวิตชีวา จับดาบบุกบั่นไปข้างหน้า เมื่อเผชิญคู่มือเช่นนี้ นับเป็นความโชคร้าย มันเห็นศัตรู
เจริญเติบใหญ่ เข้มแข็งแกร่งกร้าวขึ้นทุกวัน ขณะที่ฝ่ายตนกลับอ่อนโทรมลง กลายเป็นเปื่อยผุ
จนใจที่มันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ ไม่สามารถนึกหาวิธีแก้ไข ได้แต่หลับตาอุด
ใบหู แสร้งเป็นไม่ได้ยินไม่ได้เห็นอันใด จวบกระทั่งเภทภัยกรายมา” (เล่ม 9 หน้า109)
5. จิ่วถู นับเป็นสุดยอดฝีมือในบรรยายภาพฉากการรบแต่ละฉากได้อย่างเร้า
อารมณ์ ปลุกเลือดลมให้พลุ่งพล่าน ตวัดปลายปากกาบรรยายฉากการรบ ดั่งจิตรกรตวัด
ปลายพู่กันวาดภาพศิลป์ สร้าง วรรณศิลป์ แห่งสงคราม ตัวอย่างเช่น
“มองดูกลุ่มผงคลีนี้เคลื่อนเข้าใกล้กลุ่มผงคลีกลางสมรภูมิ ต่อจากนั้นเห็นประกายโลหิต
ฉีดพุ่ง ม้าศึกทรุดฮวบลง ศีรษะหัวหนึ่งปลิวกระเด็นขึ้นสู่ท้องฟ้ า ไม่มีผู้ใดจําแนกฐานะของ
ผู้ตายได้ ผงคลีที่ทั้งหนาทั้งหนักเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น แม้แต่การสู้รบของทั้งสองฝ่ายก็
พร่ามัวเลือนราง แต่พริบตาต่อมา สุ้มเสียงทั้งหมดกลายเป็นชัดเจนขึ้นมา เสียงคนแผดร้อง
เสียงม้าครํ่าครวญ ยังมีเสียงอาวุธกระทบกัน เสียงโลหิตฉีดพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้ า แม้แต่เสียงสะอื้น
ของวิญญาณที่หลุดรอยจากร่าง ล้วนถูกลมชิวเทียนหอบพัดจากสมรภูมิมากระทบโสตทั้งหมด”
“เหล่านักรบเยลั่วเหอส่งเสียงขู่คํารามดุจภูตครํ่า เผยแพร่ความน่าสะพรึงกลัวเข้าหูทุก
คนในสมรภูมิ ไม่มีผู้ใดยอมต่อกรกับสัตว์ร้าย และ ไม่มีผู้ใดยอมร่วมทางกับสัตว์ร้าย”
“ความมืดพลันปกคลุมทั่วพสุธา พลันปรากฏลําแสงสีขาวสายหนึ่งขวางอยู่หน้าความ
มืด ทั้งหมดไม่ทันเห็นที่มาของแสงสว่าง ผงคลีสีเหลืองหม่นก็รวมตัวกันใหม่ กลบกลืนทั้งศัตรู
และฝ่ายตน และบดบังสุ้มเสียงทั้งมวลไป มีคนไม่อาจทนทานความกดดันจากสมรภูมิ ส่งเสียง
อาเจียนออกมา ลมชิวเทียนโชยพัดม่านผงคลีสีเหลืองหม่นจนบัดเดี๋ยวอ่อนจางบัดเดี๋ยวหนา
หนัก ภาพและสุ้มเสียงบัดเดี๋ยวแจ่มชัดบัดเดี๋ยวพร่ามัว ทั้งหมดคล้ายมองเห็นทุกสิ่ง และคล้าย
มองไม่เห็นอันใด” (เล่ม 8 หน้า 160-161)
6. จิ่วถู วางยุทธการสงครามในแต่ละสนามได้อย่างเฉียบแหลม เหนือความ
คาดหมาย อ่านเรื่องนี้แล้วเหมือนกับได้อ่าน ตาราพิชัยสงครามของซุนวูภาคปฏิบัติ
แนวคิดและกลยุทธ์ที่ใช้ในการรบส่วนมาก มีกล่าวอยู่ในตําราพิชัยสงครามของซุนวู ทําให้
เรียนรู้และเข้าใจยุทธศาสตร์การสงครามเพิ่มขึ้น สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับโลกปัจจุบันได้
อย่างดี นอกจากนี้ยังทําให้นึกถึง ขงเบ้งในสามก๊ก ที่วางกลยุทธ์โดยอ่านใจของผู้นําทัพของคู่
ต่อสู้ได้ทะลุปรุโปร่ง และใช้ความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้ าอากาศมาเป็นข้อได้เปรียบในการรบ
คุณค่าในส่วนของกลยุทธ์นี้เองที่ทําให้เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” มีความโดดเด่นเหนือกว่ายุทธ
นิยายและนิยายกําลังภายในที่ผ่านมา เสมือนเป็น สามก๊กน้อยๆในยุคจักรวรรดิต้าถัง
จิ่วถู สอดแทรกกลยุทธ์ในการทําสงคราม จากตาราพิชัยสงครามของซุนวู ไว้หลาย
ตอน แต่ได้ขยายความเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ทั้งแนวคิด วิธีดําเนินการ และ ผลที่ได้รับ ผ่านคําบอก
เล่าและบทบาทของตัวละครในเรื่อง บางตอนก็กล่าวถึงอย่างอ้อมๆ บางตอนก็พูดถึงตรงๆ เช่น
“จํานวนพลไม่ได้หมายถึงความมีเปรียบกว่า ไม่ว่าดินฟ้ าอากาศชัยภูมิพื้นที่ และ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ขีดความสามารถของผู้นําทัพ ตลอดจนการฝึกปรือของไพร่พล
ล้วนนําไปสู่ผลการสู้รบที่แตกต่าง” (เล่ม 8 หน้า145)
“ชัยชนะครั้งนี้แม้เกิดจากความประมาทศัตรูของซุนเสี้ยวเจ๋อ แต่ทั้งหมดยังเห็นว่า เป็น
หวังต้าเจียงจวินคํานวณปฏิกิริยาของซุนเสี้ยวเจ๋อได้ นี่เป็นการใช้คนน้อยเอาชนะพวกมาก
อาศัยความเตรียมพร้อมเอาชนะความประมาท” (เล่ม 8 หน้า 166)
“สองทัพทําสงคราม การข่าวมีความสําคัญที่สุด หากสามารถทําความเข้าใจข้าศึก
กว่าเดิม จะเพิ่มความมั่นใจเอาชัยอีกส่วนหนึ่ง” (เล่ม 8 หน้า 179)
“ข้อเสนอของเจี้ยชางไม่ต่างกับส่งฟืนไฟกลางหิมะ หวังสุนมีที่ใดไม่แน่ใจก็ซักไซ้ถามไถ่
อย่างรวดเร็ว ทั้งสองบรรลุข้อตกลงติดต่อสื่อสารกัน หากสามารถดําเนินการตามนี้ ต่อให้ไม่
สามารถล่วงรู้แนวโน้มของทัพกบฏโดยกระจ่างดุจนิ้วบนฝ่ามือ อย่างน้อยก็คาดคํานวณ
จุดมุ่งหมายของข้าศึก ล่วงรู้ทุกย่างก้าวของซุนเสี้ยวเจ๋อ ขอเพียงทัพอันซีเตรียมการพร้อมสรรพ
จะพิชิตชัยเป็นมั่นเหมาะ” (เล่ม 8 หน้า 179)
เทียบกับตาราพิชัยสงครามของซุนวู ที่กล่าวว่า
“อันการสงคราม เป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ หมายถึงการคงอยู่หรือล่มสลายของ
ประเทศ เกี่ยวพันถึงชีวิตของราษฎร จะไม่วิเคราะห์หาได้ไม่ ต้องคํานึงถึงปัจจัยพื้นฐาน 5
ประการ เปรียบเทียบสภาพของข้าศึกกับเรา เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะ ปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ
ได้แก่ มรรค (ธรรม), ฟ้ า (ภูมิอากาศ), ดิน (ภูมิประเทศ), แม่ทัพ, และ ระเบียบวินัย” (ตําราพิชัย
สงครามของซุนวู บรรพ 1)
“อันการรบมิใช่สําคัญที่มีจํานวนมาก แต่ต้องรวบรวมกําลังเป็นอย่างดี พิเคราะห์การ
ศึกให้ถูกต้องแม่นยํา และ เข้าราญรอนข้าศึกได้” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 9)
“การที่จะล่วงรู้ความในของข้าศึก จงอย่าถือเอาจากภูตพรายหรือเทวดา อย่าคาดคะเน
จากปรากฏการณ์หรืองลางบอกเหตุเพียงผิวเผิน อย่าเชื่อโหราศาสตร์หรือการโคจรของดวงดาว
จําเป็นต้องรู้จากบุคคลที่รู้ความในของข้าศึกอย่างแท้จริง” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ
13)
7. กลยุทธ์ของซุนวูที่จิ่วถูให้น้าหนักความสาคัญเป็นพิเศษ ก็คือ ”ปัจจัยแห่ง
ความสาเร็จในการทาสงคราม ประการแรก ได้แก่ มรรคหรือธรรม” หวังสุน ตัวเอกของ
เรื่อง ยึดถือ มรรคหรือธรรม ที่ซุนวูพูดถึง ตลอดทั้งเรื่อง ได้แก่ ความสงบสุขของแผ่นดิน
และ มนุษยธรรม จึงทําให้ได้รับชัยชนะและประสบความสําเร็จ มรรคหรือธรรม นี้ส่วนหนึ่ง
มาจาก คุณธรรม ที่มีอยู่ในจิตใจตั้งแต่แรก อีกส่วนหนึ่งบ่มเพาะจากประสบการณ์ในการทํา
สงครามกับชนเผ่า การควบคุมกองทัพและพันธมิตรที่มาร่วมรบ และ การปกครองเมืองที่ยึด
ครองมาได้
จิ่วถู ได้กล่าวบรรยายไว้ว่า
“หนึ่งเดียวที่ต่างกับกาลก่อน คือ การจัดระเบียบภายในเมืองดีขึ้นทันตาเห็น อันธพาลที่
เที่ยวรีดไถเงินทองผู้คนล้วนอันตรธานหายไป ขโมยและขอทานก็หายสาบสูญ ภายใต้การเร่งรัด
ของใบหน้าที่ไม่คุ้นเคย ทําการจัดตั้งกองกําลังท้องถิ่น เดินลาดตระเวนตามท้องถนน หากพบ
เห็นนํ้าขังก็ช่วยระบายนํ้า พบเห็นผู้สูงอายุล้มลงก็เข้ามาช่วยประคับประคอง” (เล่ม 8 หน้า 12 )
“การปฏิบัติต่อเชลยศึกด้วยดี ไม่เพียงเกิดจากเมตตาจิตของมัน ทั้งยังแฝงความหมาย
ตามความเป็นจริง หากว่ามันสั่งฆ่าเชลยศึก ภายหน้าพอสู้รบกับฝ่ายกบฏอีก จะกระตุ้นให้ฝ่าย
ตรงข้ามต่อสู้ขัดขืนอย่างสุดกําลัง” (เล่ม 8 หน้า168)
ซุนวู ได้ระบุ “ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการทาสงคราม 5 ประการ” ไว้เป็นข้อแรก
สุดในตําราพิชัยสงครามของซุนวู และ จิ่วถู ได้นําปัจจัยประการแรก “มรรคหรือธรรม” มา
ขยายความให้เห็นความสําคัญของปัจจัยประการแรก ซึ่งมีความหมายกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับการ
นําไปใช้ อาจหมายถึง มรรค ที่หมายถึง วิถีทาง วัตถุประสงค์หรือเป้ าหมาย วิสัยทัศน์ นโยบาย
อุดมการณ์ คุณค่า หรือ ธรรม ที่หมายถึง ความเป็นธรรม ความชอบธรรม คุณธรรม ปัจจัย
ประการนี้มีความสําคัญมาก หากประชาชนและทหารทุกคน เข้าใจเหตุผลในการดารง
อยู่และการต่อสู้ พร้อมทาทุกอย่างเพื่อ “มรรคหรือธรรม” ก็จะเกิดขวัญและกาลังใจ มี
ความสมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวกัน ประเทศและกองทัพก็จะเข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศ กองทัพ องค์กรใดๆก็ตาม จําเป็นต้อง สื่อสารอย่างมี
ประสิทธิภาพ สร้างความตระหนัก ปรับความเข้าใจให้ตรงกัน และ ดําเนินการไปในทาง
เดียวกัน
จิ่วถู ใช้พื้นที่หลายหน้ากระดาษและตัวอักษรอีกนับพันตัว บรรยายฉากการสร้างกอง
กําลังและตัวละครที่ต้องการเข้าสังกัดกองกําลังด้วยเหตุผลต่างๆกัน เพื่อเน้นยํ้าถึงความสําคัญ
ของ มรรคหรือธรรม (หรือ อุดมการณ์) ที่เป็นหัวใจในการหล่อหลอมกองทัพให้เข้มแข็งและ
เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นผลให้กองทัพอันซีขยายตัวและมีความเข้มแข็งอย่างรวดเร็ว
จิ่วถู จงใจสร้างฉากรับสมัครและคัดเลือกทหาร ที่ฉีกแนวไปจากเดิม คือ ให้เริ่มจากการ
สอบข้อเขียนก่อนการทดสอบอาวุธ ทุกคนจะต้องตอบคําถาม “แผ่นดิน เป็นแผ่นดินของผู้ใด?”,
“ทุกท่านต่อสู้เพื่ออันใด?” เพื่อให้ทหารทบทวนความต้องการและจุดยืนของตนเอง และ
เข้าใจอุดมการณ์ของกองทัพ จะได้เกิดแรงบันดาลใจที่จะต่อสู้ร่วมกับเพื่อนในกองทัพ
เพื่ออุดมการณ์ของตนเองและกองทัพ ดังตัวอย่างจากเรื่องบางตอน ดังนี้
“หม่าเยี่ยคิดไม่ถึงว่า นายทหารยศหลี่ไซว่ทั้งสามมีความคิดเอาชนะรุนแรงถึงเพียงนี้
นับว่าค้นพบข้อแตกต่างระหว่างทัพอันซีและทัพหลิงอู่ อย่างน้อยนี่เป็นความภาคภูมิใจของ
นายทหารต้าถัง ซึ่งหามีในทัพหลิงอู่ไม่” (เล่ม 9 หน้า 42)
“สาเหตุที่ตนเองไม่อาจตัดใจละทิ้ง คือพลังชีวิตอันเข้มแข็ง ความถือดีที่ติดตัวมาแต่
กําเนิด ยังมีความภาคภูมิใจที่เป็นชายชาติชาวถัง ความรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ต่อสู้เพื่อชาติ
มาตุภูมิ ทําให้มันยินยอมสู้ตายร่วมกับพี่น้องทั้งหลาย โดยไม่ยอมหนีเอาชีวิตรอดเพียงลําพัง”
(เล่ม 9 หน้า 43)
“ทัพอันซีมีกําลังน้อยนิด ต้องรับสมัครผู้เข้มแข็งจากทุกสารทิศ จึงเติบโตแข็งกล้าโดยเร็ว
หลังจากที่ผู้เข้มแข็งจากทุกสารทิศมาถึง ทําอย่างไรจึงหลอมกลืนเข้ากับทัพอันซี เป็นส่วนหนึ่ง
ของทัพอันซี นับเป็นภารกิจที่ลําบากยากเย็น” (เล่ม 9 หน้า 51)
กลยุทธ์ที่ทั้งซุนวูและจิ่วถู ให้ความสาคัญ ประการนี้ ก็คือ หลักสาคัญในการ
บริหารบุคคล ที่ทุกองค์กรต้องเรียนรู้และดําเนินการอย่างจริงจัง และเป็นปัจจัยแห่ง
ความสําเร็จที่สําคัญของการบริหารจัดการธุรกิจในยุคปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วย การ
ปฏิบัติตามหลักการ (Rational Compliance) ซึ่ง ซุนวู ใช้คําว่า ระเบียบวินัย หมายถึง การ
บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการกําหนดวิสัยทัศน์ เป้ าหมาย นโยบาย กลยุทธ์ KPI รางวัล
และการลงโทษ และ การผูกพันทางใจ (Emotional Commitment) ซึ่ง ซุนวู ใช้คําว่า มรรค
หรือธรรม หมายถึง การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางด้าน
จิตใจ เช่น ความภาคภูมิใจ การมีส่วนร่วม ความมุ่งมั่นต่อความสําเร็จ การปฏิบัติตามหลักการ
และการผูกพันทางใจ จะต้องทําควบคู่กันไปและบูรณาการกันอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
ดังคําของ ซุนวู ที่กล่าวว่า “ผู้เชี่ยวชาญศึก มุ่งผดุงคุณธรรม และ รักษาระเบียบวินัย”
(ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 4)
8. สาหรับฉากรักในยามสงครามและลีลารักของนักรบแบบ Realistic จิ่วถู
ตั้งใจแสดงให้เห็นว่า ชีวิตจริงของนักรบและวีรชนในยามประเทศมีภัย ไม่ได้ปูด้วยดอกกุหลาบ
หรือมีความโรแมนติกอะไรมากนัก แต่ทุกคนก็ต้องการมีคนที่คอยห่วงใยและเป็นกําลังใจให้อยู่
เบื้องหลัง ไม่ว่าภายนอกจะเป็นเยี่ยงไร ครอบครัวก็ยังเป็นหลักประกันอันมั่นคงและอบอุ่น
ใจเสมอ ดังนั้น ความจริงใจที่พร้อมจะร่วมเป็นร่วมตาย ความเข้มแข็งที่พร้อมต่อสู้เมื่อภัยมา
และ ความเชื่อใจที่พร้อมรับภาระดูแลครอบครัว ในยามที่หัวหน้าครอบครัวต้องออกไปเสี่ยงเป็น
เสี่ยงตายภายนอก จึงเป็นเรื่องที่สําคัญมากกว่า โดยเฉพาะเหล่าวีรชนที่ไม่ยึดติดกับหน้าตา
ทางสังคม และ มีใจมั่นคง ถือคุณธรรมเป็นสรณะ
จิ่วถู บรรยายฉากรักในสงคราม ไว้อย่างเรียบง่าย แต่มีความหมายกินใจ ดังเช่น
“นี่เป็นสตรีที่ร้องขับขานบทเพลงเพื่อท่าน และอยู่เป็นเพื่อนท่านอย่างเงียบงัน เป็นสตรีที
ยินยอมมอบชีวิตให้ เพียงเพราะท่านให้สัญญาไว้ เป็นสตรีที่ยามปรกติขอซุกอยู่ใต้ปีกของท่าน
แต่พอถึงห้วงคับขัน กลับชักดาบออกมาเพื่อปกป้ องผู้คนที่ด้านหลังของท่าน นางอาจไม่สูงส่ง
พอ ไม่ใช่กุลสตรีในสายตาของผู้อื่น แต่ว่านางยอมยื่นส่งมือให้กับท่าน เดินเป็นเพื่อนท่านไปชั่ว
ชีวิต ไม่ว่าเบื้องหน้าเป็นบุปผาบานสะพรั่ง หรือว่าท้องฟ้ ามืดครึ้มก็ตาม” (เล่ม 8 หน้า 39)
“สําหรับลูกหลานตระกูลใหญ่ นางระบําคนหนึ่งเพียงเป็นเครื่องเล่นไม่ต่างกับลูกแมวลูก
สุนัข ท่านอยู่เบื้องนอกไม่ว่าสนุกสนานอย่างไร ต่อให้เรียกหาหญิงสาวสิบนางร่วมหลับนอน
ผู้อื่นอย่างมากบอกท่านเจ้าชู้กรุ้มกริ่ม แต่รับนางระบําผู้หนึ่งไปเป็นภรรยา ต่อให้เพียงเป็น
อนุภรรยา ไม่เพียงเป็นการท้าทายกฎหมายราชวงศ์ถัง ทั้งยังต้องเผชิญกับป้ อมปราการแห่งชน
ชั้นในนครฉางอาน
แต่วันนี้ ไม่มีผู้ใดเคลือบแคลงสงสัยต่อการตัดสินใจเลือกของหวังสุน ในตอนแรกฮ่องเต้
หลบหนีไปแล้ว ราชสํานักสลายตัว นครฉางอานกําลังจะตกเป็นของฝ่ายกบฏ ไม่ว่าลาภ ยศ
สรรเสริญ หรืออนาคตอันเรืองรองล้วนเป็นเช่นควันเมฆผ่านตา มีแต่คนที่ท่านเคยรักและรักท่าน
ยังรอท่านอยู่หน้าประตูบ้าน จึงไม่เปลี่ยนผัน และ ไม่มีวันเปลี่ยนผัน” (เล่ม 8 หน้า 39-40)
“คําพูดที่นุ่มนวลเอาใจ ไม่จําเป็นต้องกล่าวต่อหน้าคนนอก หากบอกกล่าว กลับ
กลายเป็นห่างเหิน” (เล่ม 8 หน้า 41)
บทสรุป
คุณค่าที่น่าประทับใจที่สุดของเรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” ก็คือ สะท้อนสัจธรรม
เกี่ยวกับความเจริญและความเสื่อมของประเทศ สงครามระหว่างชนชาติ การต่อสู้เข่นฆ่ากัน
เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ ที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซํ้าแล้วซํ้าเล่า
ทุกหนแห่งในโลก และ นาเสนอเส้นทางของวีรชนยุคใหม่ ที่จะปกปักรักษาสิ่งที่ตนรัก และ
บุกเบิกเส้นทางใหม่ให้หลุดพ้นจากวังวนแห่งความเสื่อมทราม ไปสู่อนาคตที่สดใส มีอิสระเสรี
และ สร้างสังคมที่สันติสุขกับคนที่เดินอยู่บนเส้นทางเดียวกัน
ประเทศไทยในปัจจุบัน ก็ตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย ไม่ต่างไปจากต้าถังยุคกลาง และ
คงเลวร้ายกว่าจีนยุคใหม่ ที่เสื่อมลงทุกๆด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม, ศักยภาพในการ
แข่งขันก็อ่อนด้อยลงเรื่อยๆ มีแนวโน้มว่าจะสู้เพื่อนบ้านในอาเซียนที่เคยช้ากว่าเราในอดีตไม่ได้,
ต่างชาติที่เจริญกว่าก็เข้ามากอบโกยทรัพยากรของชาติไปเรื่อยๆ, ทิศทางของประเทศก็ไม่
ชัดเจน, ประชาชนแตกแยก กลุ่มใครกลุ่มมัน ผลัดกันสูบกินผลประโยชน์ของส่วนรวม ทุจริต
คอรัปชั่นสูง, การศึกษาตกตํ่า ช่องว่างระหว่างชนชั้นห่างขึ้นๆ, คนบางกลุ่มยังไม่ตระหนักไม่ใส่
ใจกับภัยพิบัติของชาติ ยังหลงระเริงใช้จ่ายดื่มกินเที่ยวเล่นกันอย่างฟุ่มเฟือย, ปัญหาเก่ายังแก้
ไม่ได้ ปัญหาใหม่ก็เกิดซํ้าเติม ดูแล้วยังไม่เห็นแสงสว่าง และ เห็นทางออกของประเทศ
บทเรียนจาก “เทพบุตรกู้บัลลังก์” ทําให้ต้องคิด คิด และ คิด อีกหลายรอบ
จีน เป็นประเทศที่ใหญ่และมั่นคง กว่าไทยมาก แต่ก็ยังมีปัญหาที่น่าห่วง
จิ่วถู หนึ่งในพันกว่าล้านคน ยังเป็นห่วงและทําอะไรบางอย่างให้กับประเทศของเขา
แล้วเราล่ะ จะทาอะไรได้บ้าง ?
เรายอมรับหรือไม่ว่า
ปัญหาของไทย เราทุกคนมีส่วนรับผิดชอบอย่างแน่นอน มากน้อยต่างกันไป
เราเริ่มถามตัวเองหรือยังว่า
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังมีความหมายกับเราอยู่หรือไม่?
เรารู้จักรากเหง้าของเรามากแค่ไหน และ ยังภูมิใจในความเป็นไทยอยู่หรือไม่?
เรายังรัก หวงแหน พร้อมต่อสู้เพื่อครอบครัวและสิ่งที่บรรพชนสร้างมาหรือไม่?
เราอยากเห็นลูกหลานของเรา มีชีวิตอย่างไรในอนาคต?
เราเริ่มทาอะไรบ้างหรือยัง เพื่อคนที่เรารัก ครอบครัว เพื่อน และ สังคม?
เราจะเริ่มถามตัวเองเมื่อไหร่ ตอนนี้เรารออะไรอยู่?
ถ้ายังหาคําตอบให้ตัวเองไม่ได้ ขอแนะนําให้ไปอ่าน “เทพบุตรกู้บัลลังก์”
ถ้าอ่านแล้ว ก็ลองอ่านอีกสักรอบ หรือ อ่านให้ครบไตรภาค
และ ชวนเพื่อนสนิทที่สนใจเหมือนๆกัน มาสนทนาภาษายุทธภพกันสักหน่อย
เราคงไม่หวังจะเป็นวีรชน ขอเพียงแค่ค้นพบเส้นทางของเราเอง
เส้นทางที่เป็นตานานของเรา ที่ไม่ละอายใจตัวเอง ลูกหลาน และ บรรพชน
ปลุกความกล้าหาญ ความห่วงใย ความกตัญํู ที่มีอยู่แล้วในใจขึ้นมา
แล้วใช้สติ ปัญญา ควบกับ ความพร้อมที่จะสละอะไรบ้างอย่าง เพื่อคนที่เรารัก
เชื่อว่า เราจะเขียนตานานชีวิต ที่มีคุณค่าต่อลูกหลานของเราได้มากกว่าจิ่วถู
ขอชื่นชม ขอบคุณ และ คารวะ น.นพรัตน์ ที่เรียบเรียงจากจีนเป็นไทย ได้อย่างยอด
เยี่ยม สมกับเป็นปรมาจารย์ในวงการนี้
ขอชื่นชม ขอบคุณ และ คารวะ จิ่วถู ที่ทําให้พวกเราได้อ่านสุดยอดวรรณกรรมของยุทธ
นิยายในยุคนี้และ ได้รับคุณค่าที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อตนเอง ครอบครัว และ สังคม
หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยเพิ่มคุณค่าบ้าง ให้กับเพื่อนในเส้นทางเดียวกัน
ขอเป็นสมาชิกของกวางอีกตัวหนึ่ง อย่างที่ จิ่วถู เขียนไว้ในภาค 1 และ คําตามว่า
“ตัวเรานี้เป็นกวาง ที่ใส่ใจ คือ มิใช่ตายใต้เงื้อมมือผู้ใด หากแต่สามารถวิ่งตะบึง
อยู่ใต้แสงอาทิตย์โดยอิสรเสรี”

Contenu connexe

Tendances

Tendances (8)

Bridging the gap between one way and two-way shear in slabs
Bridging the gap between one way and two-way shear in slabsBridging the gap between one way and two-way shear in slabs
Bridging the gap between one way and two-way shear in slabs
 
Integrated presentation pdf
Integrated presentation pdfIntegrated presentation pdf
Integrated presentation pdf
 
Gioi thieu khoa hoc idea statica AISC 360 - 16
Gioi thieu khoa hoc idea statica AISC 360 - 16Gioi thieu khoa hoc idea statica AISC 360 - 16
Gioi thieu khoa hoc idea statica AISC 360 - 16
 
Liên kết trong kết cấu thép
Liên kết trong kết cấu thépLiên kết trong kết cấu thép
Liên kết trong kết cấu thép
 
Rc detailing-to-ec2
Rc detailing-to-ec2Rc detailing-to-ec2
Rc detailing-to-ec2
 
Gantry Girder Design.pptx
Gantry Girder Design.pptxGantry Girder Design.pptx
Gantry Girder Design.pptx
 
TCVN 22TCN 18-79
TCVN 22TCN 18-79TCVN 22TCN 18-79
TCVN 22TCN 18-79
 
Chapter one introduction optimization
Chapter one  introduction optimizationChapter one  introduction optimization
Chapter one introduction optimization
 

Similaire à คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"

สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Nakkarin Keesun
 
สามัคคีเภทคำฉันท1
สามัคคีเภทคำฉันท1สามัคคีเภทคำฉันท1
สามัคคีเภทคำฉันท1
Sirisak Promtip
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Jariya Huangjing
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
A'waken P'Kong
 
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
Chinnakorn Pawannay
 

Similaire à คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์" (13)

สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท1
สามัคคีเภทคำฉันท1สามัคคีเภทคำฉันท1
สามัคคีเภทคำฉันท1
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
พุทธทำนาย
พุทธทำนายพุทธทำนาย
พุทธทำนาย
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
ในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติ
ในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติ
ในหลวงดวงใจไทยทั้งชาติ
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
 

Plus de Nopporn Thepsithar

2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC
2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC 2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC
2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC
Nopporn Thepsithar
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release
Nopporn Thepsithar
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Nopporn Thepsithar
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Nopporn Thepsithar
 

Plus de Nopporn Thepsithar (20)

2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC
2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC 2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC
2015-09-28 National Development Strategy proposed by TNSC
 
การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อมการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยปรัชญาหมากล้อม
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 4
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 3
 
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
พินิจ AEC และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของไทย ภายใต้การค้าไร้พรมแดน ตอนที่ 2
 
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
 
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
2014-05-07 ปรับกลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์ก่อนบุกตลาด AEC
 
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
2014-02-06 การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคเอกชน
 
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
จุลสารอุตสาหกรรมสีเขียว ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2556
 
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
2014-02-04 Logistics Performance Index & Supply Chain Performance Index
 
2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release 2013 12-03 TNSC Press Release
2013 12-03 TNSC Press Release
 
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class LogisticsPresentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
Presentation 2013 09-13 Thai Logistics Standard to World Class Logistics
 
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
Executive Summary CSCMP Europe Conference 2013
 
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แผนการลงทุน ความคุ้มค่า และ ข้อเสนอแนะ
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน 2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
2013-03-21 การบริหารกำลังพลคุณภาพในภาคเอกชน
 
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจPresentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
Presentation เต้าเต๋อจิง คัมภีร์นักปกครอง โดยอาจารย์ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
2013-03-27 ประเทศไทยในกระแส AEC โดย ดร.สมเกียรติ TDRI
 
2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center2013 03-15 Thai Truck Center
2013 03-15 Thai Truck Center
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
 

คุณค่าจากยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ "เทพบุตรกู้บัลลังก์"

  • 1. คุณค่าจาก ยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ “เทพบุตรกู้บัลลังก์” โดย นพพร เทพสิทธา ยุทธนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” ประพันธ์โดย จิ่วถู และ เรียบ เรียงเป็นไทย โดย น.นพรัตน์ เป็นวรรณกรรมชิ้นเอก ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งอีกชิ้นหนึ่งในบรรณ พิภพของยุทธนิยายจีน ที่ผู้ประพันธ์นําเหตุการณ์และบุคคลในประวัติศาสตร์ มาแต่งเติมเพิ่ม สีสันอย่างสมจริงสมจัง เพื่อถ่ายทอดความคิด ความห่วงใย และ ความต้องการ “ปกปักรักษา” ชาติมาตุภูมิของตน คือ ประเทศจีน ที่กําลังเผชิญกับความท้าทายและความขัดแย้งทางอารย ธรรม การปกครอง และเศรษฐกิจ จากระบบและเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ากว่าของชาติ ตะวันตก ซึ่งผลจากการปะทะกันนี้อาจส่งผลให้ฝ่ายที่อ่อนแอกว่าต้องถูกทาลายล้างไป จิ่วถู ใช้เรื่องราวในประวัติศาสตร์จีนยุคจักรวรรดิต้าสุย (ค.ศ.581-618) และ ต้าถัง (ค.ศ.618-907) ประพันธ์มหากาพย์สุยถังไตรภาค ภาค 1 เรื่อง “ยุทธการล่าบัลลังก์” กล่าวถึง ความเสื่อมโทรมและความล่มสลายของจักรวรรดิต้าสุย ซึ่งถูกแทนที่ด้วยจักรวรรดิใหม่ ตาม ด้วยภาค 2 เรื่อง “ขุนโจรคู่บัลลังก์” กล่าวถึงยุคสร้างประเทศของจักรวรรดิต้าถัง และ จบด้วย ภาค 3 เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” กล่าวถึงยุคกลางของจักรวรรดิต้าถัง ที่ประเทศพัฒนาถึงขีด สุดแล้วหยุดอยู่กับที่ และก็เริ่มถอยหลัง รอกาลเวลาแตกดับ ถือเป็นภาคที่ดีที่สุด เป็นบทสรุป ของประเทศและวีรชน ยุทธนิยายชุดนี้ สะท้อนภาพให้เห็น วัฎจักรของประเทศ ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรที่แปลกใหม่ เพราะประวัติศาสตร์มักจะซํ้ารอยเดิมเสมอ เพียงเปลี่ยนตัวละคร ฉาก และ ยุคสมัย แต่ที่ไม่เคย เปลี่ยนแปลงและแน่นอนเสมอก็คือ ธรรมชาติของคน และ สัจธรรมของชีวิต ซึ่งไม่จํากัด กาลเวลาและสถานที่ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ไม่ว่าของประเทศใด ยุคใด ย่อมทําให้เราทราบ เรื่องราวความเป็นมาแต่หนหลัง และ สามารถคาดเดาเค้าลางของอนาคตได้ ยืนยันและตอกยํ้า ว่า กฎของธรรมชาติเป็นผู้ชนะตลอดกาล มนุษย์ทุกยุคสมัยต่างเรียนรู้ประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งวัฏจักรของประวัติศาสตร์ได้
  • 2. เพื่อให้มั่นใจว่าผู้อ่านเข้าใจบทเรียนจากประวัติศาสตร์ นํามาทบทวนการดําเนินชีวิตใน ยุคปัจจุบัน จิ่วถู สร้างภาพซ้อนระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ระหว่างมหานครฉางอานกับ มหานครปักกิ่งที่ค่อนข้างลงตัว และ หยิบยก ความภาคภูมิใจ ความรัก และความ ผูกพันต่อชาติมาตุภูมิและครอบครัว เป็น หัวใจของเรื่องราวทั้งหมด ถือเรื่องอื่น เช่น ความรักระหว่างหญิงชาย หรือ นํ้าใจระหว่างมิตรสหาย เป็นเรื่องรอง เมื่ออ่านเรื่องนี้จบ ผมต้องย้อนกลับมาอ่านบางตอนที่ผมชื่นชอบอีกครั้งด้วยความชื่นชม และทึ่งจิ่วถูว่าเป็นวิศวกรไฟฟ้ า แล้วแต่งเรื่องสุดยอดแบบนี้ได้อย่างไร ทาให้เห็นว่า จินตนาการและปัญญาของมนุษย์ ไม่มีสิ้นสุดจริงๆ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวลํ้าไปไกลเพียงใด แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อนุรักษ์ปกปักรักษา ศิลปวัฒนธรรมเอาไว้ และพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยได้อย่างเฉียบคม ทําให้มั่นใจในความคิด ที่ว่า มนุษยชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ ไม่ใช่ด้วยเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น จะต้องมี วัฒนธรรม เป็นพื้นฐาน มี ศิลปะ เป็นแรงบันดาลใจ และ สิ่งสําคัญที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ คุณธรรม หาก ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป สมดุลไม่มี เมื่อนั้นความเสื่อมถอยก็จะเริ่มเข้ามาแทนที่ ผมขอยกย่องว่า “เทพบุตรกู้บัลลังก์” จัดเป็นวรรณศิลป์ ที่ยอดเยี่ยม ให้คุณค่ายอด เยี่ยม สมบูรณ์ ทั้ง 3 ระดับ ระดับแรก คือ สะท้อนความรู้สึก และ เร้าอารมณ์ (EQ) จิวถู่ สะท้อนความรู้สึกของตัวละครได้หลากหลาย สมจริง เร้าอารมณ์ ชวนให้ติดตาม มีทั้ง ฟุ้ งเฟ้ อ จนปัญญา ท้อแท้ ไร้ความหวัง หมดศักดิ์ศรี กลัวตาย หนีปัญหา ได้สํานึก เสี่ยง ตาย สู้ไม่ถอย พร้อมเสียสละ ฯลฯ อ่านแล้ว เหมือนทานอาหารจานเด็ดที่แซ่บครบทุกรสชาติ แต่หนักไปทางเผ็ดมัน ระดับสอง คือ ประเทืองปัญญา (IQ)
  • 3. จิ่วถู สอดแทรกความรู้ที่น่าสนใจไว้หลายแง่มุม ทั้งด้านสถานที่ ภูมิประเทศ ชีวิตความ เป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบราชการ การปกครอง การทหาร การรบ ทั้งในเมืองหลวง และเมืองชายแดน เหมือนอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ที่ให้ทั้งสาระและความบันเทิง จุดที่โดดเด่นประการหนึ่งของ “เทพบุตรกู้บัลลังก์” คือเป็นยุทธนิยายที่เขียนแบบ เหมือนจริง (Realistic) ซึ่งเขียนให้สนุกได้ยากกว่าแบบจินตนิมิต (Fantacy) ดั่งเช่นยุทธนิยาย กําลังภายในทั่วๆไป ซึ่งมีข้อจํากัดในการเขียนน้อย และก็เป็นที่นิยมของผู้อ่านมากกว่า เพราะ สามารถสนองตอบความต้องการรํ่าร้องหาวีรบุรุษในอุดมคติและชีวิตที่สมบูรณ์แบบ ที่ฝังอยู่ใน จิตวิญญาณของผู้อ่านได้ดีกว่า ในขณะที่การเขียนแบบเหมือนจริง ต้องดึงผู้อ่านกลับมายังโลก แห่งความจริงที่บีบคั้นความรู้สึก จิ่วถู ได้แสดงฝีมือให้เห็นประจักษ์ในการเขียนยุทธนิยายเชิงประวัติศาสตร์แบบเหมือน จริงได้ดีเยี่ยมทั้ง 3 ภาค สามารถวางเค้าโครงเรื่องของแต่ละภาค ให้มีจุดเด่นแตกต่างกัน แต่ก็ เชื่อมโยงกัน, เดินเรื่องได้กระชับ ทั้งๆที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ ตัวละคร และ ช่วงเวลา ซับซ้อน, ทั้งสื่อสารความในใจของผู้เขียน ผ่านบทบาทและคําพูดของตัวละครต่างๆ ให้ผู้อ่านซึมซับได้ อย่างแนบเนียน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเรื่องนี้ ที่จิ่วถูฝากฝีมือไว้ ก็คือ ฉากการต่อสู้ในสงคราม ที่ อ่านแล้วเหมือนเห็นภาพเคลื่อนไหวแบบช้า (Slow Motion) ของการรบ หรือ เหมือนซื้อตั๋วหนัง เข้าไปนั่งดูคนสู้กันอยู่ข้างสนามรบ และ มีคนคอยสรุปสถานการณ์ให้ฟังอยู่ข้างๆ เห็น รายละเอียดการรบเกือบทุกแง่มุม ให้ความรู้สึกแตกต่างจากฉากการต่อสู้ของหวงอี้ ที่ต้องใช้ จินตนาการคิดถึงกระบวนท่าอันวิจิตรพิสดาร ทําให้เห็นว่า การต่อสู้ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ไม่มีกระบวนท่าที่สวยงาม ไม่มีเวลา ให้คิดมาก ต้องอาศัยทักษะและพละกําลังที่เกิดจากการฝึกซํ้าแล้วซํ้าอีกจนกลายเป็นสัญชาติ ญาณในการต่อสู้เอาตัวรอด บวกกับ ความรวดเร็ว การตัดสินใจที่ฉับไว สติ และ ปัญญา เท่านั้น ที่จะทําให้รอดออกมาจากสนามรบและชนะศึกได้
  • 4. ดังที่ซุนวูเขียนไว้ว่า “สายนํ้าเชี่ยวจะพัดพาหินให้เคลื่อนลอยได้ด้วยความไหลแรง นกอินทรีย์ที่รวดเร็วจะทํา ให้เหยื่อพินาศได้ ด้วยรู้จักช่วงระยะโจมตี ดังนั้น ท่วงทานองยุทธ์ต้องรวดเร็ว น่าสะพึงกลัว และจู่โจมช่วงสั้น” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 5) “การสัปยุทธ์ชิงชัย ต้องมีความเร็วเสมือนลมเพชรหึง เชื่องช้าประหนึ่งแมกไม้ ในพงไพร รบเฉกเช่นไฟบรรลัยกัลป์ หนักแน่นปานภูผา ยากที่จะหยั่งรู้ดุจท้องฟ้ าอัน คลุมเครือ ไหวตัวดังสายฟ้ าคํารณสะท้านสะเทือน” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 7) ระดับสาม คือ เพิ่มคุณค่าทางจิตวิญญาณ (SQ) คุณค่าในข้อนี้เป็นคุณค่าที่สาคัญที่สุดของศิลปะทุกประเภท ผมขอยกย่อง ผลงาน ชิ้นนี้ของ จี่วถู ว่า เข้าขั้นเป็นวรรณกรรม หรือ วรรณศิลป์ เพราะเพิ่มคุณค่าทางจิตวิญญาณได้ อย่างลึกซึ้ง ทั้งด้านจินตนาการและแรงบันดาลใจ เกือบทุกหน้า ตลอดทั้งเรื่องนี้ถ้าค่อยๆอ่านดีๆ จะพบว่า มีคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายๆอย่าง แฝงไว้อยู่เสมอ สามารถหยิบยกมาพิจารณาและพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ในวงวิจารณ์ได้อย่างมีรสชาติและไม่รู้เบื่อ ขอยกตัวอย่างความประทับใจและคุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” บาง ประเด็น ดังนี้ 1. อารมณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและเชื่อว่าเป็นความตั้งใจของจิ่วถู ที่ต้องการสื่อสารให้ ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วม ก็คือ ความสลดใจจากภัยสงคราม อ่านเล่มแรกๆรู้สึกทึ่งและชอบฉาก รบที่จิ่วถูบรรยายได้อย่างละเอียดเร้าใจ คิดว่า ใช่เลย การต่อสู้ของจริง มันต้องเป็นแบบนี้ ผู้ที่ เชี่ยวชาญกว่า อาวุธเหนือกว่า มีกลยุทธ์ดีกว่า ย่อมต้องเป็นผู้ชนะ อ่านไปสักพักก็รู้สึกเฉยๆ เป็นความรู้สึกคล้ายๆกับตัวละครในเรื่องที่ชาชินกับการสู้รบ แต่พอช่วงหลังๆ แทบไม่อยากอ่าน ฉากการรบเลย รู้สึกว่า น่าสลดสังเวช การรบกัน การฆ่าฟันกัน เป็นความโหดเหี้ยมอํามหิต ที่ไม่
  • 5. ควรมีในหมู่มนุษย์ด้วยกัน มีแต่ความสูญเสีย ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครอยากทํา แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เข้าใจถึงความรู้สึกของคนในสนามรบ ทั้งผู้ฆ่า ผู้ถูกฆ่า ผู้ชนะ ผู้แพ้ เกิดคําถามว่า สู้กันทําไม? ชนะเพื่ออะไร? ตายเพื่อใคร? ทําไมมนุษย์ต้องเข่นฆ่ากันเอง? จิ่วถู เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “หนึ่งขุนพลแลกจากหมื่นโครงกระดูก ขอเพียงช่วงชิงชัย ชนะครั้งสุดท้าย ต่อให้ต้องเสียสละคนของตนเอง มันจะไม่รีรอลังเล” (เล่ม 9 หน้า 80) นึกถึงที่ ซุนวู เขียนไว้หลายบทว่า “การชนะร้อยทั้งร้อย มิใช่วิธีอันประเสริฐแท้ ชนะโดยไม่ต้องรบเลย ถือว่าเป็นวิธีอันเลิศยิ่ง”, “ผู้นาที่มีคุณธรรม พึงใคร่ครวญผลได้ ผลเสียของการทาสงครามให้จงหนัก และ ขุนพลที่ดี ย่อมเผด็จศึกให้ได้ในเร็ววัน”, “เมื่อไม่อยู่ในสถานะที่ล่อแหลมอันตราย ไม่พึงทําสงคราม, จงอย่าก่อสงคราม เพราะ ความ โกรธแค้น, จงอย่ารุก เพราะ ความขึงเครียด, จงทาสงคราม ก็ต่อเมื่อเห็นผลประโยชน์ต่อ ส่วนรวมแล้ว, ประเทศที่ล่มสลาย ผู้คนที่เสียชีวิต ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้” สงครามมีแต่ความหายนะ ชัยชนะที่แท้จริง คือ ชัยชนะที่ไม่ต้องรบ นั่นคือ การสร้าง ความเข้มแข็งให้ตนเองอยู่ตลอดเวลา จนไม่ต้องรบกับใคร เพราะไม่มีใครอยากมารบด้วย 2. อะไรเรียกว่า ชาติ ความรักชาติ การตอบแทนคุณแผ่นดิน? จิ่วถู นําเสนอเรื่อง นี้จากมุมมองของประชาชนคนหนึ่ง ที่ไม่ใช่มาจากคําพูดของผู้ปกครอง นักการเมือง นักการ ทหาร นักวิชาการ ซึ่งเป็นมุมมองที่เป็นบ่อเกิดของวีรชนในยามที่ประเทศมีภัย ยามเมื่อชาติรุ่งเรือง ประชาชนทุกคนได้รับประโยชน์กันถ้วนหน้า, ต่างกินดีอยู่ดี ต่าง กอบโกยหาความสุขความสบายใส่ตัว, รู้สึกขอบคุณชาติ ระลึกถึงบุญคุณของชาติ รักชาติ, เกิด ความผูกพัน หวงแหน ภาคภูมิใจในชาติ ยามเมื่อชาติเดือดร้อนมีภัย จึงค่อยเห็นชัดว่า ความรักชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อหยั่งลึกลงไปในจิตวิญญาณของทุกคน จะพบว่า สิ่งที่ทุกคนรักและหวงแหน ก็คือ ครอบครัว บ้าน และแผ่นดินของตน ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และเราต้องรักษาไว้ให้กับ
  • 6. ลูกหลานของเราต่อๆไป ไม่ว่าผู้ปกครองจะเปลี่ยนไปกี่คนก็ตาม ที่เราเปลี่ยนไม่ได้ ก็คือ ครอบครัวที่ผูกพันกันทางสายเลือดและความรักความห่วงใยที่มีให้แก่กัน สุดท้ายเมื่อจะต้อง ต่อสู้ ก็จะต่อสู้เพื่อรักษาแผ่นดิน บ้าน และ ครอบครัวของเรา นั่นเอง จิ่วถู ได้ถ่ายทอดความรู้สึกรักชาติ ผ่านคําพูดของตัวเอกของเรื่องและตัวละครหลาย คน เช่น “ข้าพเจ้าไม่คิดหลบหนีอีกต่อไป และไม่สามารถหลบหนีต่อไป ไม่เช่นนั้นชั่วชีวิตของ ข้าพเจ้าคงไม่อาจหลับตาลง นี่เป็นบ้านของข้าพเจ้า เป็นที่บรรพชนข้าพเจ้าเคยอาศัยอยู่ ก่อนนี้ ข้าพเจ้าสู้เพื่อมัน หลังจากนี้ก็จะสู้เพื่อมัน ที่ข้าพเจ้าปกปักรักษามิใช่แผ่นดินของตระกูล หนึ่งตระกูลใด ที่ข้าพเจ้าปกปักรักษาคือบ้านของตัวเอง ของบิดามารดาและบุตร ภรรยาตัวเอง ยังมีศักดิ์ศรีที่อยู่ในสายเลือดซึ่งตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ” (เล่ม 8 หน้า 87) “แผ่นดินเป็นแผ่นดินของผู้ใด? ทุกท่านต่อสู้เพื่ออันใด? มิใช่เพื่อลาภยศสรรเสริญ มิใช่ ตั้งแต่แรก มันเพียงไม่อาจทนดูฝ่ายกบฏก่อหวอดในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ไม่อาจ ปล่อยให้ทรัพย์สินสุดท้ายของตนถูกแย่งชิงไป มันกับพี่น้องทั้งหลายสู้เพื่อความอยู่รอด และสู้ เพื่อศักดิ์ศรี มิใช่เพื่อความยั่งยืนยาวของตระกูลใดทั้งสิ้น เพียงแต่ตอนนั้นพวกมันไม่ทราบ กระจ่าง เพียงกระทําการตามสัญชาตญาณของลูกผู้ชายเท่านั้น หากว่าฝ่ายกบฏบุกถึงหน้า ประตูบ้าน ลูกผู้ชายผู้หนึ่งไม่ลุกขึ้นต่อต้าน ได้แต่เบิ่งตาดูเสบียงคาสุดท้ายถูกแย่งชิงไป เบิ่งตาดูบุตรีและภรรยาถูกข่มเหง ทั้งหนีไม่รอดและไม่มีที่ให้หลบหนี ในสายตาของผู้ รุกรานยึดถือทั้งหมดเป็นเหยื่อทั้งสิ้น” (เล่ม 9 หน้า 36) และให้ตัวเอกของเรื่อง ทิ้งคาพูดสุดท้ายไว้ก่อนจบเรื่องว่า “ข้าพเจ้าขอยํ้าอีกครา นครฉางอานมิใช่สมบัติส่วนตัวของตระกูลหลี่ ต้าถังก็มิใช่ต้าถัง ของตระกูลหนึ่งตระกูลใด นี่เป็นบ้านของเราผู้แซ่หวัง เราผู้แซ่หวังตัดสินใจเฝ้ าอยู่ที่นี้ ผู้ใดคิดฆ่าคนวางเพลิง ต้องเหยียบย่าศพของข้าพเจ้าไปก่อน” (เล่ม 9 หน้า 238)
  • 7. 3. สาเหตุของความล่มสลายของชาติบ้านเมือง ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบ ไม่ใช่ คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การกอบกู้ชาติ ต้องอาศัยจิตสํานึกที่เห็นความผิดพลาดของ ตนเอง ไม่ใช่โยนความผิดให้คนอื่น และ ความกล้าหาญที่จะยอมรับผิดและแก้ไขความ ผิดพลาดของตนเอง แม้นต้องสละชีวิต จิ่วถู ตอกยํ้าความคิดนี้ไว้มากหลายตอน ผ่านคําพูดและการกระทําของตัวละครหลาย คน โดยเฉพาะตอนที่ตัวละครที่ในอดีตมีพฤติกรรมเป็นที่ดูแคลนของวิญํูชน แต่สุดท้ายก็ กลับใจสํานึกผิดและพยายามทําความดีลบล้างความผิด เพื่อลดทอนความทรมานใจที่ถูกมโน ธรรมเคี่ยวเข็ญลงโทษ “ไม่ว่าขุนนางหยอกเย้าก็ดี ตัวตลกก็ช่าง เราถือเป็นขุนนางต้าถังคนหนึ่ง ต้าถังที่ตกตํ่า ถึงเพียงนี้ เราสมควรมีส่วนรับผิดชอบ บอกไปไม่กลัวท่านหัวเราะเยาะ จิตปณิธานของเรา ในตอนนี้คือ หาทางฟื้นฟูต้าถังขึ้นใหม่ เพื่อบรรลุจุดหมายนี้ ต่อให้เราร่างกายแหลกลาญเป็น ผุยผงก็ไม่เสียดาย” (เล่ม 8 หน้า 174) “วันเวลาที่ผ่านมา เราเฝ้ าครุ่นคิด เหตุใดต้าถังจึงพังครืนโดยเร็วถึงเพียงนี้ แต่ก็ไม่ได้ คําตอบที่แน่ชัด หากทว่าเราทราบว่า ผู้ที่ผลักต้าถังล้มลงไม่เพียงโจรกบฏอันลู่ซาน และ ไม่ เพียงขุนนางโฉดเช่นหลี่หลินฝู่และหยางกว๋อจง ไม่ว่าฝ่าบาท ไทจือ กุ้ยเฟยเหนียงเหนียง เกาลี่ ซือ เปียนหลงเฉิ่ง เราท่านล้วนยากรอดพ้นจากความรับผิดชอบ ท่านอย่าเพิ่งสั่นศีรษะ ลองนึกทบทวนพฤติการณ์ในนครฉางอานเมื่อครั้งกระโน้น แม้ไม่ถึงกับก่อกรรมทําชั่ว แต่ก็ถือ อํานาจบาตรใหญ่ ฉกฉวยแย่งชิงมาครอบครอง เราก็ติดสินบน เป็นสะพานเชื่อมช่วยเหลือคน กระทําผิด ซื้อขายตําแหน่งขุนนาง ตอนนั้นยังเข้าใจว่าตัวเองมีความสามารถ หารู้ไม่ว่า ทุก สิ่งที่กระทา เท่ากับขุดหลุมฝังตัวเองลึกลงไปอีกหุนหนึ่ง ดังนั้นจุดประสงค์ที่เรามีชีวิตอยู่ เพื่อฟื้นฟูต้าถังขึ้นใหม่ ไม่เช่นนั้นหลังจากที่เราตายแล้ว กระทั่งซากศพยังไม่ปลอดภัย” (เล่ม 8 หน้า 174-175)
  • 8. “ทั้งหมดนี้เป็นพวกมันพึ่งพาใบบุญของบรรพบุรุษ กัดกร่อนจนต้าถังในกลวง ดังนั้นพวกมันมีหน้าที่ต้องชุบสร้างต้าถังขึ้นใหม่ แต่หวังสุนไม่ต้องการให้ต้าถังชุบสร้างขึ้นมา ใหม่เช่นเดิม แต่หวังว่า ในรากฐานของต้าถังที่ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ มีอันใดต่างกับกาลก่อน อย่าง น้อยไม่เย็นเยือกและแตกง่ายเช่นกาลก่อน นี่เป็นสิ่งที่มันคิดชุบขึ้นมา และเป็นชีวิตใหม่ของมัน” (เล่ม 8 หน้า 175) “มันดูแคลนเรา เนื่องเพราะก่อนนี้เราไม่เคยกระทําการใดที่สมควรแก่การยกย่อง แต่ หากการกระทําของเราในวันนี้ ถูกส่งกลับไปยังทัพอันซี เราเชื่อว่า มันจะตอบแทนเราอย่าง สมเหตุสมผล สิ่งที่พวกท่านเคี่ยวกรําต่อเรา มันจะทวงถามกลับคืนให้เราเป็นสิบเท่า ต่างกับ กาลก่อนที่เราแม้นตายในสมรภูมิ ก็ไม่มีผู้ใดสนใจ ถึงกับอาจต้องแบกหม้อก้นดาแทน ผู้อื่น ดังนั้นก่อนนี้เราไม่มีความกล้าเผชิญกับความตาย วันนี้แม้กลัวตายแทบตาย กลับ ไม่ย่อมคุกเข่าต่อท่าน” (เล่ม 9 หน้า 106-107) 4. เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” สมควรเรียกว่า เป็นตานานการต่อสู้ของวีรชน ที่ บุกเบิกสร้างเส้นทางของตนเองทีละก้าวทีละก้าวจนมีความสําเร็จ เป็นตัวอย่างให้คนรุ่นหลัง เรียนรู้ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างตํานานวีรชนของตนเอง ซึ่งต้องอาศัยทั้งความอดทน ความมานะพยายาม สติปัญญา คนสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม โชควาสนา และ เวลา แต่ที่สําคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ คุณธรรม จิ่วถู สร้างเรื่องราวของวีรชนที่ประสบความสาเร็จบนพื้นฐานของคุณธรรม โดย สอดแทรกคุณธรรมไว้ตลอดเส้นทางในแต่ละก้าวที่เดิน ไม่ว่าจะคิด พูด หรือ ทา ชี้ให้เห็นว่า ความสําเร็จที่ได้มาเหมือนโชคช่วย หรือ ฟลุ้ค หรือ มีคนแอบช่วยเหลืออยู่เงียบๆ จริงๆแล้วเป็นเพราะ คําว่า คุณธรรม คุณธรรมที่มีอยู่ในใจทุกคน แทรกซึมอยู่ทุกหนแห่ง แม้นว่ามีหลายตอนในเรื่อง ที่จิ่วถูพูดถึงเส้นทางของวีรชนว่า ถูกกําหนดมาตั้งแต่กําเนิด หรือ มีมือจากห้วงอันลี้ลับมาผลักดันให้เดินไปข้างหน้า เช่น
  • 9. “นับตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงบัดนี้ ในห้วงอันลี้ลับคล้ายกับมีมือข้างหนึ่งผลักดันให้มันเดิน ออกไป สุดที่มันจะหลีกหนี ทั้งไม่มีทางเลือกได้” ( เล่ม 8 หน้า15) “เด็กน้อย มีภาระหน้าที่บางอย่างติดตัวมาแต่กําเนิด คิดหนีก็หนีไม่พ้น” (เล่ม 8 หน้า 89) ทุกคนที่เกิดมา ล้วนมีบทบาทหน้าที่ ที่เลือกได้ แต่บทบาทหน้าที่บางอย่าง ที่ ไม่เคยคิดจะทา ไม่อยากทา พยายามเลี่ยงที่จะทา แต่สุดท้ายก็ต้องทา เมื่อหนีไม่พ้น ก็ ทาให้เต็มที่ ทาให้ดีที่สุด ตัดสินใจให้ดีที่สุด แต่ถ้าดูลึกๆแล้ว จะพบว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของตัวเราเอง การ ตัดสินใจที่เกิดขึ้นเพียงชั่วเสี้ยววินาที อาจพาเราไปสู่ความสําเร็จ หรือ ประสบความหายนะโดย ไม่รู้ตัว แต่ถ้ามีคุณธรรมเป็นหลักประจาใจ ไม่ว่าจะดัดสินใจอย่างไร ก็ไม่ฉุดเราลงเหว อย่างแน่นอน ซึ่งจิ่วถูได้สอดแทรกความคิดนี้ไว้ตลอดเรื่อง คุณธรรมของวีรชน ที่จิ่วถูใช้ปั้นตัวเอกในเรื่องจนประสบความสําเร็จ ก็คือ กล้าหาญ เพียรพยายาม รับผิดชอบ เมตตา ตอบแทนคุณ ส่วนรวมมาก่อนส่วนตัว และ เสียสละ จุดสูงสุดของเรื่อง อยู่ที่ตอนสุดท้ายก่อนปิดฉาก แสดงถึง ความสําเร็จสูงสุดของตัว เอก หวังสุน ที่บ่มเพาะคุณธรรมจนถึงระดับผู้นาที่ยิ่งใหญ่ไร้ตัวตน พร้อมสละชีวิตเพื่อ รักษาคุณธรรมอย่างกล้าหาญ ยอมละทิ้งความสุขส่วนตัว ครอบครัวที่ตนรัก ทรัพย์สมบัติ ยศตําแหน่ง เพื่อปกปักรักษาชีวิตและทรัพย์สินของคนที่ไม่รู้จักและไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ขอนําบทความบางตอนที่เขียนไว้เรื่อง “ปีม้า ปีแห่งวีรชน ผู้เสียสละ” คอลัมน์ คู่มือ ชีวิต ในเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1128 วันที่ 10 มกราคม 2557 มากล่าวถึงวีรชนเพิ่มเติมดังนี้ “ความเสียสละ คือ คุณธรรมพื้นฐานที่สําคัญที่สุด ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและ นําไปสู่ความสําเร็จอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก ไม่มีความเปลี่ยนแปลงและความสําเร็จ ยิ่งใหญ่ใด ที่ปราศจากความเสียสละ จากน้อยไปหามาก จากคนเดียวไปสู่คนกลุ่มใหญ่
  • 10. มีเรื่องราวของเหล่า วีรชน เหลือคณานับ ที่ทอดร่างทับถมอยู่ใต้พื้นพสุธา ทั้งที่บันทึกไว้ ได้อย่างไม่หมดสิ้น และที่ไม่ปรากฏชื่ออีกมากมาย ต่างเสียสละ ทุ่มเทกําลังกายกําลังใจ ทรัพย์สิน แม้นกระทั่งชีวิตของตนเองและคนที่ตนรัก เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมให้ธํารงอยู่ โดยไม่ ก้มหัวให้กับอํานาจใดๆที่ตั้งอยู่บนความไม่ถูกต้อง นี่คือ ผู้กล้าหาญ หรือ วีรชน ตาม ความหมายของขงจื้อ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของนิยายกําลังภายในหรือยุทธนิยายต่างๆ วีรชน ย่อมไม่ทําเพราะหวังชื่อเสียงเกียรติยศเงินทอง แต่ทําด้วย ปัญญา ด้วยพิจารณา เห็นแล้วว่า เป็นสิ่งถูกต้องที่ต้องทํา เป็นบทบาทหน้าที่ที่ต้องทํา ก็ทําด้วย ธรรม อย่างสุดกําลัง มีความภูมิใจเบิกบานใจในบทบาทหน้าที่นั้น เชื่อมั่นว่า ผลของการกระทําด้วย ธรรม ย่อมทํา ให้เปลี่ยนแปลงดีขึ้นจนสําเร็จอย่างแน่นอน เมื่อเหตุดี ผลก็ต้องดีตามมา แม้นจะยังไม่เห็น ความสําเร็จ ก็จะทําต่อไป” นอกจากนี้ จิ่วถู ยังได้นาเสนอคุณสมบัติสาคัญ ที่ผู้นาหรือวีรชนรุ่นใหม่พึงมี คือ ความคิดสร้างสรรค์และไม่ยึดติดในกรอบเดิม ดังตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “คู่มือที่นอกเมืองแสดงว่า ไม่ได้ใช้ความพากเพียรต่อวิชาความรู้ใด ไม่เพียงแต่ลายมือ ยํ่าแย่ แม้แต่ไหวพริบในการรับเหตุเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การศึก แม้แต่วิชาการต่อสู้ก็ไม่โดดเด่น เท่าใด แต่ว่าคนหนุ่มที่ไม่โดดเด่นเท่าใดผู้นี้ กลับมีขีดความสามารถที่ไม่มีผู้ใดเทียบ เปรียบได้ นั่นคือ แปรความเปื่ อยผุเป็นความพิสดาร ไม่ว่ามูลฝอยอันใด พอเก็บขึ้นมา ก็สามารถปั้นแต่งให้เกิดมูลค่า ยังมี คนผู้นี้ปกครองคนหนุ่มมากหลาย ล้วนสร้าง ผลงานลือลั่น ขณะเดียวกันก็เห็นซึ้งชืดชาต่อลาภยศสรรเสริญ คนเหล่านี้ล้วนเยาว์วัย เยาว์วัยจนไม่รู้จักปัดแข้งปัดขา ไม่รู้จักกระตุกขาหลังกันและกัน หากเต็มไปด้วย ชีวิตชีวา จับดาบบุกบั่นไปข้างหน้า เมื่อเผชิญคู่มือเช่นนี้ นับเป็นความโชคร้าย มันเห็นศัตรู เจริญเติบใหญ่ เข้มแข็งแกร่งกร้าวขึ้นทุกวัน ขณะที่ฝ่ายตนกลับอ่อนโทรมลง กลายเป็นเปื่อยผุ จนใจที่มันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ ไม่สามารถนึกหาวิธีแก้ไข ได้แต่หลับตาอุด ใบหู แสร้งเป็นไม่ได้ยินไม่ได้เห็นอันใด จวบกระทั่งเภทภัยกรายมา” (เล่ม 9 หน้า109)
  • 11. 5. จิ่วถู นับเป็นสุดยอดฝีมือในบรรยายภาพฉากการรบแต่ละฉากได้อย่างเร้า อารมณ์ ปลุกเลือดลมให้พลุ่งพล่าน ตวัดปลายปากกาบรรยายฉากการรบ ดั่งจิตรกรตวัด ปลายพู่กันวาดภาพศิลป์ สร้าง วรรณศิลป์ แห่งสงคราม ตัวอย่างเช่น “มองดูกลุ่มผงคลีนี้เคลื่อนเข้าใกล้กลุ่มผงคลีกลางสมรภูมิ ต่อจากนั้นเห็นประกายโลหิต ฉีดพุ่ง ม้าศึกทรุดฮวบลง ศีรษะหัวหนึ่งปลิวกระเด็นขึ้นสู่ท้องฟ้ า ไม่มีผู้ใดจําแนกฐานะของ ผู้ตายได้ ผงคลีที่ทั้งหนาทั้งหนักเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น แม้แต่การสู้รบของทั้งสองฝ่ายก็ พร่ามัวเลือนราง แต่พริบตาต่อมา สุ้มเสียงทั้งหมดกลายเป็นชัดเจนขึ้นมา เสียงคนแผดร้อง เสียงม้าครํ่าครวญ ยังมีเสียงอาวุธกระทบกัน เสียงโลหิตฉีดพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้ า แม้แต่เสียงสะอื้น ของวิญญาณที่หลุดรอยจากร่าง ล้วนถูกลมชิวเทียนหอบพัดจากสมรภูมิมากระทบโสตทั้งหมด” “เหล่านักรบเยลั่วเหอส่งเสียงขู่คํารามดุจภูตครํ่า เผยแพร่ความน่าสะพรึงกลัวเข้าหูทุก คนในสมรภูมิ ไม่มีผู้ใดยอมต่อกรกับสัตว์ร้าย และ ไม่มีผู้ใดยอมร่วมทางกับสัตว์ร้าย” “ความมืดพลันปกคลุมทั่วพสุธา พลันปรากฏลําแสงสีขาวสายหนึ่งขวางอยู่หน้าความ มืด ทั้งหมดไม่ทันเห็นที่มาของแสงสว่าง ผงคลีสีเหลืองหม่นก็รวมตัวกันใหม่ กลบกลืนทั้งศัตรู และฝ่ายตน และบดบังสุ้มเสียงทั้งมวลไป มีคนไม่อาจทนทานความกดดันจากสมรภูมิ ส่งเสียง อาเจียนออกมา ลมชิวเทียนโชยพัดม่านผงคลีสีเหลืองหม่นจนบัดเดี๋ยวอ่อนจางบัดเดี๋ยวหนา หนัก ภาพและสุ้มเสียงบัดเดี๋ยวแจ่มชัดบัดเดี๋ยวพร่ามัว ทั้งหมดคล้ายมองเห็นทุกสิ่ง และคล้าย มองไม่เห็นอันใด” (เล่ม 8 หน้า 160-161) 6. จิ่วถู วางยุทธการสงครามในแต่ละสนามได้อย่างเฉียบแหลม เหนือความ คาดหมาย อ่านเรื่องนี้แล้วเหมือนกับได้อ่าน ตาราพิชัยสงครามของซุนวูภาคปฏิบัติ แนวคิดและกลยุทธ์ที่ใช้ในการรบส่วนมาก มีกล่าวอยู่ในตําราพิชัยสงครามของซุนวู ทําให้ เรียนรู้และเข้าใจยุทธศาสตร์การสงครามเพิ่มขึ้น สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับโลกปัจจุบันได้ อย่างดี นอกจากนี้ยังทําให้นึกถึง ขงเบ้งในสามก๊ก ที่วางกลยุทธ์โดยอ่านใจของผู้นําทัพของคู่ ต่อสู้ได้ทะลุปรุโปร่ง และใช้ความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้ าอากาศมาเป็นข้อได้เปรียบในการรบ
  • 12. คุณค่าในส่วนของกลยุทธ์นี้เองที่ทําให้เรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” มีความโดดเด่นเหนือกว่ายุทธ นิยายและนิยายกําลังภายในที่ผ่านมา เสมือนเป็น สามก๊กน้อยๆในยุคจักรวรรดิต้าถัง จิ่วถู สอดแทรกกลยุทธ์ในการทําสงคราม จากตาราพิชัยสงครามของซุนวู ไว้หลาย ตอน แต่ได้ขยายความเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ทั้งแนวคิด วิธีดําเนินการ และ ผลที่ได้รับ ผ่านคําบอก เล่าและบทบาทของตัวละครในเรื่อง บางตอนก็กล่าวถึงอย่างอ้อมๆ บางตอนก็พูดถึงตรงๆ เช่น “จํานวนพลไม่ได้หมายถึงความมีเปรียบกว่า ไม่ว่าดินฟ้ าอากาศชัยภูมิพื้นที่ และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ขีดความสามารถของผู้นําทัพ ตลอดจนการฝึกปรือของไพร่พล ล้วนนําไปสู่ผลการสู้รบที่แตกต่าง” (เล่ม 8 หน้า145) “ชัยชนะครั้งนี้แม้เกิดจากความประมาทศัตรูของซุนเสี้ยวเจ๋อ แต่ทั้งหมดยังเห็นว่า เป็น หวังต้าเจียงจวินคํานวณปฏิกิริยาของซุนเสี้ยวเจ๋อได้ นี่เป็นการใช้คนน้อยเอาชนะพวกมาก อาศัยความเตรียมพร้อมเอาชนะความประมาท” (เล่ม 8 หน้า 166) “สองทัพทําสงคราม การข่าวมีความสําคัญที่สุด หากสามารถทําความเข้าใจข้าศึก กว่าเดิม จะเพิ่มความมั่นใจเอาชัยอีกส่วนหนึ่ง” (เล่ม 8 หน้า 179) “ข้อเสนอของเจี้ยชางไม่ต่างกับส่งฟืนไฟกลางหิมะ หวังสุนมีที่ใดไม่แน่ใจก็ซักไซ้ถามไถ่ อย่างรวดเร็ว ทั้งสองบรรลุข้อตกลงติดต่อสื่อสารกัน หากสามารถดําเนินการตามนี้ ต่อให้ไม่ สามารถล่วงรู้แนวโน้มของทัพกบฏโดยกระจ่างดุจนิ้วบนฝ่ามือ อย่างน้อยก็คาดคํานวณ จุดมุ่งหมายของข้าศึก ล่วงรู้ทุกย่างก้าวของซุนเสี้ยวเจ๋อ ขอเพียงทัพอันซีเตรียมการพร้อมสรรพ จะพิชิตชัยเป็นมั่นเหมาะ” (เล่ม 8 หน้า 179) เทียบกับตาราพิชัยสงครามของซุนวู ที่กล่าวว่า “อันการสงคราม เป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ หมายถึงการคงอยู่หรือล่มสลายของ ประเทศ เกี่ยวพันถึงชีวิตของราษฎร จะไม่วิเคราะห์หาได้ไม่ ต้องคํานึงถึงปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ เปรียบเทียบสภาพของข้าศึกกับเรา เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะ ปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ
  • 13. ได้แก่ มรรค (ธรรม), ฟ้ า (ภูมิอากาศ), ดิน (ภูมิประเทศ), แม่ทัพ, และ ระเบียบวินัย” (ตําราพิชัย สงครามของซุนวู บรรพ 1) “อันการรบมิใช่สําคัญที่มีจํานวนมาก แต่ต้องรวบรวมกําลังเป็นอย่างดี พิเคราะห์การ ศึกให้ถูกต้องแม่นยํา และ เข้าราญรอนข้าศึกได้” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 9) “การที่จะล่วงรู้ความในของข้าศึก จงอย่าถือเอาจากภูตพรายหรือเทวดา อย่าคาดคะเน จากปรากฏการณ์หรืองลางบอกเหตุเพียงผิวเผิน อย่าเชื่อโหราศาสตร์หรือการโคจรของดวงดาว จําเป็นต้องรู้จากบุคคลที่รู้ความในของข้าศึกอย่างแท้จริง” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 13) 7. กลยุทธ์ของซุนวูที่จิ่วถูให้น้าหนักความสาคัญเป็นพิเศษ ก็คือ ”ปัจจัยแห่ง ความสาเร็จในการทาสงคราม ประการแรก ได้แก่ มรรคหรือธรรม” หวังสุน ตัวเอกของ เรื่อง ยึดถือ มรรคหรือธรรม ที่ซุนวูพูดถึง ตลอดทั้งเรื่อง ได้แก่ ความสงบสุขของแผ่นดิน และ มนุษยธรรม จึงทําให้ได้รับชัยชนะและประสบความสําเร็จ มรรคหรือธรรม นี้ส่วนหนึ่ง มาจาก คุณธรรม ที่มีอยู่ในจิตใจตั้งแต่แรก อีกส่วนหนึ่งบ่มเพาะจากประสบการณ์ในการทํา สงครามกับชนเผ่า การควบคุมกองทัพและพันธมิตรที่มาร่วมรบ และ การปกครองเมืองที่ยึด ครองมาได้ จิ่วถู ได้กล่าวบรรยายไว้ว่า “หนึ่งเดียวที่ต่างกับกาลก่อน คือ การจัดระเบียบภายในเมืองดีขึ้นทันตาเห็น อันธพาลที่ เที่ยวรีดไถเงินทองผู้คนล้วนอันตรธานหายไป ขโมยและขอทานก็หายสาบสูญ ภายใต้การเร่งรัด ของใบหน้าที่ไม่คุ้นเคย ทําการจัดตั้งกองกําลังท้องถิ่น เดินลาดตระเวนตามท้องถนน หากพบ เห็นนํ้าขังก็ช่วยระบายนํ้า พบเห็นผู้สูงอายุล้มลงก็เข้ามาช่วยประคับประคอง” (เล่ม 8 หน้า 12 )
  • 14. “การปฏิบัติต่อเชลยศึกด้วยดี ไม่เพียงเกิดจากเมตตาจิตของมัน ทั้งยังแฝงความหมาย ตามความเป็นจริง หากว่ามันสั่งฆ่าเชลยศึก ภายหน้าพอสู้รบกับฝ่ายกบฏอีก จะกระตุ้นให้ฝ่าย ตรงข้ามต่อสู้ขัดขืนอย่างสุดกําลัง” (เล่ม 8 หน้า168) ซุนวู ได้ระบุ “ปัจจัยแห่งความสาเร็จในการทาสงคราม 5 ประการ” ไว้เป็นข้อแรก สุดในตําราพิชัยสงครามของซุนวู และ จิ่วถู ได้นําปัจจัยประการแรก “มรรคหรือธรรม” มา ขยายความให้เห็นความสําคัญของปัจจัยประการแรก ซึ่งมีความหมายกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับการ นําไปใช้ อาจหมายถึง มรรค ที่หมายถึง วิถีทาง วัตถุประสงค์หรือเป้ าหมาย วิสัยทัศน์ นโยบาย อุดมการณ์ คุณค่า หรือ ธรรม ที่หมายถึง ความเป็นธรรม ความชอบธรรม คุณธรรม ปัจจัย ประการนี้มีความสําคัญมาก หากประชาชนและทหารทุกคน เข้าใจเหตุผลในการดารง อยู่และการต่อสู้ พร้อมทาทุกอย่างเพื่อ “มรรคหรือธรรม” ก็จะเกิดขวัญและกาลังใจ มี ความสมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวกัน ประเทศและกองทัพก็จะเข้มแข็ง มีศักยภาพสูง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศ กองทัพ องค์กรใดๆก็ตาม จําเป็นต้อง สื่อสารอย่างมี ประสิทธิภาพ สร้างความตระหนัก ปรับความเข้าใจให้ตรงกัน และ ดําเนินการไปในทาง เดียวกัน จิ่วถู ใช้พื้นที่หลายหน้ากระดาษและตัวอักษรอีกนับพันตัว บรรยายฉากการสร้างกอง กําลังและตัวละครที่ต้องการเข้าสังกัดกองกําลังด้วยเหตุผลต่างๆกัน เพื่อเน้นยํ้าถึงความสําคัญ ของ มรรคหรือธรรม (หรือ อุดมการณ์) ที่เป็นหัวใจในการหล่อหลอมกองทัพให้เข้มแข็งและ เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นผลให้กองทัพอันซีขยายตัวและมีความเข้มแข็งอย่างรวดเร็ว จิ่วถู จงใจสร้างฉากรับสมัครและคัดเลือกทหาร ที่ฉีกแนวไปจากเดิม คือ ให้เริ่มจากการ สอบข้อเขียนก่อนการทดสอบอาวุธ ทุกคนจะต้องตอบคําถาม “แผ่นดิน เป็นแผ่นดินของผู้ใด?”, “ทุกท่านต่อสู้เพื่ออันใด?” เพื่อให้ทหารทบทวนความต้องการและจุดยืนของตนเอง และ เข้าใจอุดมการณ์ของกองทัพ จะได้เกิดแรงบันดาลใจที่จะต่อสู้ร่วมกับเพื่อนในกองทัพ เพื่ออุดมการณ์ของตนเองและกองทัพ ดังตัวอย่างจากเรื่องบางตอน ดังนี้
  • 15. “หม่าเยี่ยคิดไม่ถึงว่า นายทหารยศหลี่ไซว่ทั้งสามมีความคิดเอาชนะรุนแรงถึงเพียงนี้ นับว่าค้นพบข้อแตกต่างระหว่างทัพอันซีและทัพหลิงอู่ อย่างน้อยนี่เป็นความภาคภูมิใจของ นายทหารต้าถัง ซึ่งหามีในทัพหลิงอู่ไม่” (เล่ม 9 หน้า 42) “สาเหตุที่ตนเองไม่อาจตัดใจละทิ้ง คือพลังชีวิตอันเข้มแข็ง ความถือดีที่ติดตัวมาแต่ กําเนิด ยังมีความภาคภูมิใจที่เป็นชายชาติชาวถัง ความรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ต่อสู้เพื่อชาติ มาตุภูมิ ทําให้มันยินยอมสู้ตายร่วมกับพี่น้องทั้งหลาย โดยไม่ยอมหนีเอาชีวิตรอดเพียงลําพัง” (เล่ม 9 หน้า 43) “ทัพอันซีมีกําลังน้อยนิด ต้องรับสมัครผู้เข้มแข็งจากทุกสารทิศ จึงเติบโตแข็งกล้าโดยเร็ว หลังจากที่ผู้เข้มแข็งจากทุกสารทิศมาถึง ทําอย่างไรจึงหลอมกลืนเข้ากับทัพอันซี เป็นส่วนหนึ่ง ของทัพอันซี นับเป็นภารกิจที่ลําบากยากเย็น” (เล่ม 9 หน้า 51) กลยุทธ์ที่ทั้งซุนวูและจิ่วถู ให้ความสาคัญ ประการนี้ ก็คือ หลักสาคัญในการ บริหารบุคคล ที่ทุกองค์กรต้องเรียนรู้และดําเนินการอย่างจริงจัง และเป็นปัจจัยแห่ง ความสําเร็จที่สําคัญของการบริหารจัดการธุรกิจในยุคปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วย การ ปฏิบัติตามหลักการ (Rational Compliance) ซึ่ง ซุนวู ใช้คําว่า ระเบียบวินัย หมายถึง การ บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการกําหนดวิสัยทัศน์ เป้ าหมาย นโยบาย กลยุทธ์ KPI รางวัล และการลงโทษ และ การผูกพันทางใจ (Emotional Commitment) ซึ่ง ซุนวู ใช้คําว่า มรรค หรือธรรม หมายถึง การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางด้าน จิตใจ เช่น ความภาคภูมิใจ การมีส่วนร่วม ความมุ่งมั่นต่อความสําเร็จ การปฏิบัติตามหลักการ และการผูกพันทางใจ จะต้องทําควบคู่กันไปและบูรณาการกันอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ ดังคําของ ซุนวู ที่กล่าวว่า “ผู้เชี่ยวชาญศึก มุ่งผดุงคุณธรรม และ รักษาระเบียบวินัย” (ตําราพิชัยสงครามของซุนวู บรรพ 4)
  • 16. 8. สาหรับฉากรักในยามสงครามและลีลารักของนักรบแบบ Realistic จิ่วถู ตั้งใจแสดงให้เห็นว่า ชีวิตจริงของนักรบและวีรชนในยามประเทศมีภัย ไม่ได้ปูด้วยดอกกุหลาบ หรือมีความโรแมนติกอะไรมากนัก แต่ทุกคนก็ต้องการมีคนที่คอยห่วงใยและเป็นกําลังใจให้อยู่ เบื้องหลัง ไม่ว่าภายนอกจะเป็นเยี่ยงไร ครอบครัวก็ยังเป็นหลักประกันอันมั่นคงและอบอุ่น ใจเสมอ ดังนั้น ความจริงใจที่พร้อมจะร่วมเป็นร่วมตาย ความเข้มแข็งที่พร้อมต่อสู้เมื่อภัยมา และ ความเชื่อใจที่พร้อมรับภาระดูแลครอบครัว ในยามที่หัวหน้าครอบครัวต้องออกไปเสี่ยงเป็น เสี่ยงตายภายนอก จึงเป็นเรื่องที่สําคัญมากกว่า โดยเฉพาะเหล่าวีรชนที่ไม่ยึดติดกับหน้าตา ทางสังคม และ มีใจมั่นคง ถือคุณธรรมเป็นสรณะ จิ่วถู บรรยายฉากรักในสงคราม ไว้อย่างเรียบง่าย แต่มีความหมายกินใจ ดังเช่น “นี่เป็นสตรีที่ร้องขับขานบทเพลงเพื่อท่าน และอยู่เป็นเพื่อนท่านอย่างเงียบงัน เป็นสตรีที ยินยอมมอบชีวิตให้ เพียงเพราะท่านให้สัญญาไว้ เป็นสตรีที่ยามปรกติขอซุกอยู่ใต้ปีกของท่าน แต่พอถึงห้วงคับขัน กลับชักดาบออกมาเพื่อปกป้ องผู้คนที่ด้านหลังของท่าน นางอาจไม่สูงส่ง พอ ไม่ใช่กุลสตรีในสายตาของผู้อื่น แต่ว่านางยอมยื่นส่งมือให้กับท่าน เดินเป็นเพื่อนท่านไปชั่ว ชีวิต ไม่ว่าเบื้องหน้าเป็นบุปผาบานสะพรั่ง หรือว่าท้องฟ้ ามืดครึ้มก็ตาม” (เล่ม 8 หน้า 39) “สําหรับลูกหลานตระกูลใหญ่ นางระบําคนหนึ่งเพียงเป็นเครื่องเล่นไม่ต่างกับลูกแมวลูก สุนัข ท่านอยู่เบื้องนอกไม่ว่าสนุกสนานอย่างไร ต่อให้เรียกหาหญิงสาวสิบนางร่วมหลับนอน ผู้อื่นอย่างมากบอกท่านเจ้าชู้กรุ้มกริ่ม แต่รับนางระบําผู้หนึ่งไปเป็นภรรยา ต่อให้เพียงเป็น อนุภรรยา ไม่เพียงเป็นการท้าทายกฎหมายราชวงศ์ถัง ทั้งยังต้องเผชิญกับป้ อมปราการแห่งชน ชั้นในนครฉางอาน แต่วันนี้ ไม่มีผู้ใดเคลือบแคลงสงสัยต่อการตัดสินใจเลือกของหวังสุน ในตอนแรกฮ่องเต้ หลบหนีไปแล้ว ราชสํานักสลายตัว นครฉางอานกําลังจะตกเป็นของฝ่ายกบฏ ไม่ว่าลาภ ยศ สรรเสริญ หรืออนาคตอันเรืองรองล้วนเป็นเช่นควันเมฆผ่านตา มีแต่คนที่ท่านเคยรักและรักท่าน ยังรอท่านอยู่หน้าประตูบ้าน จึงไม่เปลี่ยนผัน และ ไม่มีวันเปลี่ยนผัน” (เล่ม 8 หน้า 39-40)
  • 17. “คําพูดที่นุ่มนวลเอาใจ ไม่จําเป็นต้องกล่าวต่อหน้าคนนอก หากบอกกล่าว กลับ กลายเป็นห่างเหิน” (เล่ม 8 หน้า 41) บทสรุป คุณค่าที่น่าประทับใจที่สุดของเรื่อง “เทพบุตรกู้บัลลังก์” ก็คือ สะท้อนสัจธรรม เกี่ยวกับความเจริญและความเสื่อมของประเทศ สงครามระหว่างชนชาติ การต่อสู้เข่นฆ่ากัน เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ ที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซํ้าแล้วซํ้าเล่า ทุกหนแห่งในโลก และ นาเสนอเส้นทางของวีรชนยุคใหม่ ที่จะปกปักรักษาสิ่งที่ตนรัก และ บุกเบิกเส้นทางใหม่ให้หลุดพ้นจากวังวนแห่งความเสื่อมทราม ไปสู่อนาคตที่สดใส มีอิสระเสรี และ สร้างสังคมที่สันติสุขกับคนที่เดินอยู่บนเส้นทางเดียวกัน ประเทศไทยในปัจจุบัน ก็ตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย ไม่ต่างไปจากต้าถังยุคกลาง และ คงเลวร้ายกว่าจีนยุคใหม่ ที่เสื่อมลงทุกๆด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม, ศักยภาพในการ แข่งขันก็อ่อนด้อยลงเรื่อยๆ มีแนวโน้มว่าจะสู้เพื่อนบ้านในอาเซียนที่เคยช้ากว่าเราในอดีตไม่ได้, ต่างชาติที่เจริญกว่าก็เข้ามากอบโกยทรัพยากรของชาติไปเรื่อยๆ, ทิศทางของประเทศก็ไม่ ชัดเจน, ประชาชนแตกแยก กลุ่มใครกลุ่มมัน ผลัดกันสูบกินผลประโยชน์ของส่วนรวม ทุจริต คอรัปชั่นสูง, การศึกษาตกตํ่า ช่องว่างระหว่างชนชั้นห่างขึ้นๆ, คนบางกลุ่มยังไม่ตระหนักไม่ใส่ ใจกับภัยพิบัติของชาติ ยังหลงระเริงใช้จ่ายดื่มกินเที่ยวเล่นกันอย่างฟุ่มเฟือย, ปัญหาเก่ายังแก้ ไม่ได้ ปัญหาใหม่ก็เกิดซํ้าเติม ดูแล้วยังไม่เห็นแสงสว่าง และ เห็นทางออกของประเทศ บทเรียนจาก “เทพบุตรกู้บัลลังก์” ทําให้ต้องคิด คิด และ คิด อีกหลายรอบ จีน เป็นประเทศที่ใหญ่และมั่นคง กว่าไทยมาก แต่ก็ยังมีปัญหาที่น่าห่วง จิ่วถู หนึ่งในพันกว่าล้านคน ยังเป็นห่วงและทําอะไรบางอย่างให้กับประเทศของเขา แล้วเราล่ะ จะทาอะไรได้บ้าง ?
  • 18. เรายอมรับหรือไม่ว่า ปัญหาของไทย เราทุกคนมีส่วนรับผิดชอบอย่างแน่นอน มากน้อยต่างกันไป เราเริ่มถามตัวเองหรือยังว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังมีความหมายกับเราอยู่หรือไม่? เรารู้จักรากเหง้าของเรามากแค่ไหน และ ยังภูมิใจในความเป็นไทยอยู่หรือไม่? เรายังรัก หวงแหน พร้อมต่อสู้เพื่อครอบครัวและสิ่งที่บรรพชนสร้างมาหรือไม่? เราอยากเห็นลูกหลานของเรา มีชีวิตอย่างไรในอนาคต? เราเริ่มทาอะไรบ้างหรือยัง เพื่อคนที่เรารัก ครอบครัว เพื่อน และ สังคม? เราจะเริ่มถามตัวเองเมื่อไหร่ ตอนนี้เรารออะไรอยู่? ถ้ายังหาคําตอบให้ตัวเองไม่ได้ ขอแนะนําให้ไปอ่าน “เทพบุตรกู้บัลลังก์” ถ้าอ่านแล้ว ก็ลองอ่านอีกสักรอบ หรือ อ่านให้ครบไตรภาค และ ชวนเพื่อนสนิทที่สนใจเหมือนๆกัน มาสนทนาภาษายุทธภพกันสักหน่อย เราคงไม่หวังจะเป็นวีรชน ขอเพียงแค่ค้นพบเส้นทางของเราเอง เส้นทางที่เป็นตานานของเรา ที่ไม่ละอายใจตัวเอง ลูกหลาน และ บรรพชน ปลุกความกล้าหาญ ความห่วงใย ความกตัญํู ที่มีอยู่แล้วในใจขึ้นมา แล้วใช้สติ ปัญญา ควบกับ ความพร้อมที่จะสละอะไรบ้างอย่าง เพื่อคนที่เรารัก เชื่อว่า เราจะเขียนตานานชีวิต ที่มีคุณค่าต่อลูกหลานของเราได้มากกว่าจิ่วถู ขอชื่นชม ขอบคุณ และ คารวะ น.นพรัตน์ ที่เรียบเรียงจากจีนเป็นไทย ได้อย่างยอด เยี่ยม สมกับเป็นปรมาจารย์ในวงการนี้
  • 19. ขอชื่นชม ขอบคุณ และ คารวะ จิ่วถู ที่ทําให้พวกเราได้อ่านสุดยอดวรรณกรรมของยุทธ นิยายในยุคนี้และ ได้รับคุณค่าที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อตนเอง ครอบครัว และ สังคม หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยเพิ่มคุณค่าบ้าง ให้กับเพื่อนในเส้นทางเดียวกัน ขอเป็นสมาชิกของกวางอีกตัวหนึ่ง อย่างที่ จิ่วถู เขียนไว้ในภาค 1 และ คําตามว่า “ตัวเรานี้เป็นกวาง ที่ใส่ใจ คือ มิใช่ตายใต้เงื้อมมือผู้ใด หากแต่สามารถวิ่งตะบึง อยู่ใต้แสงอาทิตย์โดยอิสรเสรี”