SlideShare a Scribd company logo
1 of 53
อุปสรรคความสำาเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
เขียนโดย อ.ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
1.แนวความคิดทางการเมืองของอาจารย์ปรีดี
อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นคนสำาคัญทางการเมืองระดับสูงของประเทศไทย อสัญกรรมขอท่านจึง
เป็นอนุสสติอย่างสูงสำาหรับประชาชนชาวไทยผู้เป็นพุทธมามกชน สมดังพระบาลีว่า
พุทธา นุสสติ เมตตา จ
อสุภำ มรณสฺสติ
อิจฺจิมา จตุรา รกฺขา
กาตพฺพา จ วิปสฺสนา
แปลว่า ภาวนาทั้งสี่นี้ คือพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมตตาปรารถนาจะให้เป็นสุข อสุภ เห็น
เป็นของไม่งาม มรณัสสติระลึกถึงความตาย เป็นวิปัสสนาอันพึงบำาเพ็ญ และนี่คือวิปัสสนาซึ่งคนไทยทั้ง
ชาติควรบำาเพ็ญ โดยเฉพาะคนที่เป็นศัตรูกับอาจารย์ปรีดี อย่างเช่นอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ซึ่งวันก่อนผม
ได้อ่านคำาให้สัมภาษณ์ของท่านว่า ต่อสู้กับคุณปรีดีมานาน เดี๋ยวนี้ก็แก่ชราลืมไปหมดแล้ว ผมว่าอย่าเพ่อลืม
ครับ ยิ่งอาจารย์ปรีดีถึงอสัญกรรมยิ่งต้องไม่ลืม เพราะอีกไม่นานอาจารย์คึกฤทธิ์ก็จะถึงอสัญกรรมอย่าง
ปรีดี พึงยึดมั่นในมรณสติไว้ ซึ่งรับรู้ว่าหมดฤทธิ์ในโลกนี้จะได้มีฤทธิ์ไปต่อสู้กันใหม่ในนรก หรือบน
สวรรค์ต่อไป
คนที่เป็นหมอไม่ใช่ว่าจะต้องยกย่องเสมอไป หมอที่รักษาไข้ให้หายจึงควรยกย่องแต่หมอที่รักษา
ไข้ให้ตายควรตำาหนิ เว้นแต่คนไข้ที่จะต้องตายอยู่แล้ว หมอเทวดาก็รักษาไม่หาย ญาติสนิทของผมคน
หนึ่งตายเสียเปล่าๆ เมื่ออายุยังไม่ถึงสามสิบ เพราะหมอรักษาให้ตายคือ ญาติผมปวดท้องอย่างแรง
นิตยสาร “หลักไท” ส่งคำาถาม 8 ข้อ เกี่ยวกับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ไปให้ผมตอบคือ
1.อาจารย์เริ่มรู้จัก อาจารย์ปรีดีตั้งแต่เมื่อไหร่และมีความสัมพันธ์อย่างไร
2.ในสายตาของอาจารย์เห็นว่าอาจารย์ปรีดีเป็นคนมีบุคลิกทั้งทางส่วนตัวและการเมือง(ด้านการ
เป็นผู้นำา) เป็นอย่างไร
3 .สภาพการเมืองในระยะที่อาจารย์ปรีดีเรืองอำานาจอยู่เป็นอย่างไร และในสายตาของอาจารย์
เห็นอย่างไร
4. มีการถกเถียงกันมากเรื่องแนวความคิดของอาจารย์ปรีดีในการแก้ปัญหาของชาติ อาจารย์ช่วย
อธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ให้เข้าใจขึ้นอีกได้หรือไม่ และอาจารย์มองปัญหานี้อย่างไร โดยเฉพาะสมุดปก
เหลืองที่อาจารย์ปรีดีต้อการให้นำามาแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจขณะนั้น
5. ตามความเห็นของอาจารย์คิดว่าระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้ามีการนำาเอาแนวความคิดของอาจารย์
ปรีดีมาแก้ไขปัญหาของชาติจะประสบผลสำาเร็จอย่างไรหรือไม่ เพราะอะไร
6.และแนวความคิดของอาจารย์ปรีดีในระยะหลัง อาจารย์ได้ติดตามบ้างหรือไม่ และมีความเห็น
อย่างไรถ้าจะนำามาแก้ไขปัญหาของชาติ
7.เพราะเหตุใดอาจารย์ปรีดีจึงต้องลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศสแทนที่จะอยู่เมืองจีนต่อ และที่ว่าอาจารย์ปรีดี
ไม่ลงรอยกับทางพคท.ที่มาชักชวนให้ร่วมพรรคด้วยกันนั้นเป็นอย่างไร อาจารย์พอจะบอกรายละเอียดได้
หรือไม่
8.ตอนที่อาจารย์ไปอยู่เมืองจีนระยะหนึ่งนั้น ได้ติดต่อกับอาจารย์ปรีดีบ้างหรือไม่หรือมีความ
สัมพันธ์กันอย่างไร
เนื่องจากผมเคยตำาหนิอาจารย์ปรีดีไว้มาก ทั้งเมื่ออยู่ในเมืองไทยและเมื่อไปพบกันในเมืองจีน
เป็นการตำาหนิต่อหน้า ไม่ใช่ตำาหนิลับหลังและไม่เพียงต่อหน้าสองต่อสองหากต่อหน้าท่านกับบุคคลในคณะ
ของท่าน ซึ่งเวลานี้ก็ยังมีตัวตนอยู่ เช่นคุณสงวน ตุลารักษ์ คุณสุรีย์ ทองวาณิชย์ คุณสมศักดิ์ พัวเวส คุณ
วัชรชัย ชัยสิทธิเวช เป็นต้น เมื่อผมกลับมาเมืองไทยใหม่ๆพบคุณสังข์ พัธโนทัย ครั้งแรก เขาถามว่า “ลื้อไป
คัดค้านอาจารย์หรือ ?” ผมถามว่า “รู้ได้ยังไง ? ” คุณสังข์บอกว่า “รู้ซิ” และเมื่อไม่นานมานี้ผมยังเขียน
ตำาหนิอาจารย์ปรีดีลงใน “ตะวันใหม่ ” ซึ่งท่านก็ได้อ่านที่ปารีสทุกฉบับ แต่ผมไม่ได้ตำาหนิอาจารย์ปรีดีข้าง
เดียวดอก อาจารย์ปรีดีก็ตำาหนิผมเหมือนกัน แต่ผมรู้สึกว่าผมตำาหนิอาจารย์ปรีดีหนักกว่าอาจารย์ปรีดี
ตำาหนิผม เพราะผมตำาหนิท่านในปัญหาหลักการของการปฏิวัติประชาธิปไตยเป็นสำาคัญโดยผมเปรียบเทียบ
ท่านเป็นหมอที่รักษาไข้ให้ตาย
อาจารย์ปรีดีเป็นนักปฏิวัติประชาธิปไตยที่สำาคัญที่สุดของ “คณะราษฎร” กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้นำา
ที่แท้จริงของคณะราษฎร แต่แทนที่ท่านจะนำาการปฏิวัติประชาธิปไตย ของไทยไปสู่ความสำาเร็จ ท่านกลับ
เป็นต้นเหตุให้การปฏิวัติพัง พังมาจนถึงวันอสัญกรรมของท่าน และยังจะพังต่อไปอีกนานทีเดียว
เมื่อพูดถึงอาจารย์ปรีดีในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำาของการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎร ผมมี
แต่การตำาหนิอย่างเดียว เพราะหมอที่รักษาไข้ให้ตายนั้น ไม่มีอะไรที่จะสรรเสริญกันได้ และหมอปฏิวัติ
ประชาธิปไตยนั้นสำาคัญกว่าหมอแพทย์และหมอยาหลายร้อยหลายพันเท่า เพราะไม่รับผิดชอบชีวิตของ
บุคคลเอกชน แต่รับผิดชอบชีวิตของประเทศชาติและประชาชน ฉะนั้นหมอปฏิวัติที่ทำาให้การปฏิวัติ
ประชาธิปไตยพังจะต้องตำาหนิทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งสองต่อสองและต่อมวลชน ทั้งเมื่อยังไม่ตายและเมื่อ
ตายแล้ว เพราะถ้าจะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยให้สำาเร็จ ก็จะต้องตำาหนิอาจารย์ปรีดีใน
การนำาปฏิวัติที่ผิดพลาดของท่านตามความเป็นจริง และถ้าไม่แก้ไขความผิดพลาดที่อาจารย์ปรีดีปลูกฝังไว้
เป็นเวลายาวนานแล้ว การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยจะไม่มีทางสำาเร็จ
เนื่องจากผมยกอาจารย์ปรีดีไว้ในฐานะผู้นำาการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎร ดั้งนั้นเมื่อ
“หลักไท” หรือใครๆถามมา ไม่ว่า เมื่อท่านมีชีวิตอยู่หรือเมื่อถึงอสัญกรรมแล้วคำาตอบของผมจึงมีแต่การ
ตำาหนิ และถ้าจะสรรเสริญท่านก็มีแต่อย่างเดียวว่า ท่านได้สร้างความผิดพลาดไว้เป็นบทเรียนแก่คนรุ่นหลัง
สำาหรับแสวงหาแนวทางที่ถูกต้องเพื่อความสำาเร็จของการปฏิวัติประชาธิปไตยต่อไปเท่านั้น และดังนั้นเพื่อ
ตำาหนิให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ผมจึงขอเขียนเป็นบทความให้แก่ “หลักไท” แทนที่จะตอบคำาถามเป็นข้อๆ เท่ากับ
รวมคำาถามทุกข้อตอบเป็นข้อใหญ่ข้อเดียวเลย
ในด้านการเมือง อาจารย์ปรีดีเขียนอธิบายนโยบายและวิธีการปฏิวัติไว้ในเรื่องการก่อตั้งคณะ
ราษฎรที่ปารีสว่า ในขณะนั้นคำาว่า Revolution ยังไม่ได้แปลเป็นศัพท์ว่าปฏิวัติจึงแปลเป็นคำาธรรมดาว่า
เปลี่ยนแปลงการปกครองจากกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยไม่ได้
อธิบายให้ชัดเจนว่าระบอบการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายนั้น เป็นระบอบอะไร เราจึงไม่รู้ว่าระบอบที่
จะสร้างขึ้นใหม่ตามทัศนะของอาจารย์ปรีดีนั้นเป็นระบอบเผด็จการนั้นเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบ
เผด็จการ เพราะระบอบที่กษัตริย์อยู่ได้กฎหมายนั้นอาจเป็นระบอบประชาธิปไตยก้ได้ อาจเป็นระบอบ
เผด็จการก็ได้ แสดงว่าความต้องการของอาจารย์ปรีดีนั้น ขอแต่ให้เป็นระบอบที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายก็
แล้วกัน
ความไม่ชัดเจนข้อนี้แสดงให้เห็นด้านหนึ่งในบทรัฐธรรมนูญซึ่งอาจารย์ปรีดีเป็นผู้ร่างหรือมีส่วน
สำาคัญในการร่าง คือรัฐธรรมนูญฉบับแรกซึ่งเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
ชั่วคราวพ.ศ. 2475” ซึ่งอาจารย์ปรีดีเป็นผู้ร่าง มาตรา 1. บัญญัติว่า “อำานาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของ
ราษฎรทั้งหลาย ” ซึ่งแสดงว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเพราะระบอบประชาธิปไตยก็คือระบอบที่อำานาจ
สูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร (ต่อมาอำานาจสูงสุดของประเทศใช้เป็นศัพท์ว่าอำานาจอธิปไตยและราษฎร
ใช้ว่าปวงชน)
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ต่อมาได้ตั้งคณะกรรมการร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งมีอาจารย์ปรีดีเป็นกรรมการคนสำาคัญที่สุดในคณะกรรมการชุดนั้น รัฐธรรมนูญ
ถาวรดังกล่าวประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นคือ ยกเลิกระบอบ
ประชาธิปไตย โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ว่า “อำานาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม” จะเห็นได้ว่า
รัฐธรรมนูญฉบับแรกบัญญัติให้อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวสยาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่สองบัญญัติ
ให้อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวสยาม รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับนี้ร่างโดยคนเดียวกันคืออาจารย์
ปรีดี แต่มีหลักสาระตรงกันข้าม คืออำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนนั้นเป็นระบอบประชาธิปไตย(โดยหลัก
การ) แต่อำานาจอธิปไตยมาจากปวงชนนั้น หมายความว่าอำานาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชน แต่
เป็นการบิดเบือนและหลอกลวงประชาชนโดยใช้ถ้อยคำาใกล้เคียงกันให้เข้าใจผิด และนำาไปสู่ข้อยุติว่าการ
เลือกตั้งคือระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งแบบชั่วช้าสามานย์สักเพียงใดก็ตาม ก็ถือว่าเป็น
ระบอบประชาธิปไตย อย่างการเลือกตั้งที่ผ่านมาหยกๆ ซึ่งก็รู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองว่าเลือกตั้งกันอย่างไร ก็
ยังอุตส่าห์บอกกันว่าการปกครองของเราเป็นระบอบประชาธิปไตย
เวลานี้ ถ้าถามนักการเมืองและนักวิชาการว่า การปกครองของประเทศไทยเป็นระบอบอะไร เขาจะ
ตอบว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย และถามต่อไปว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเพราะอะไร เขาจะตอบว่าเพราะ
อำานาจอธิปไตยมาจากปวงชน ถามอีกว่าอำานาจอธิปไตยมาจากปวงชนหมายความว่าอะไร เขาจะตอบว่า
ส.ส.ซึ่งทำาหน้าที่นิติบัญญัติและควบคุมการบริหารนั้น เลือกตั้งมาจากประชาชน
นี่คือการบิดเบือนและหลอกลวงประชาชนในความหมายของระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง
ที่สุด และแก้ยากที่สุด เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะการเปลี่ยนแปลงอำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นอำานาจ
อธิปไตยมาจากปวงชน ซึ่งอาจารย์ปรีดีเป็นผู้เปลี่ยนแปลงหรือมีส่วนสำาคัญในการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
จึงเห็นได้ว่า การที่อาจารย์ปรีดีแปลคำา Revolution ว่าเปลี่ยนแปลงการปกครองที่กษัตริย์อยู่เหนือ
กฎหมายเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายนั้น กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วอาจารย์ปรีดีไม่ได้คิดที่จะ
เปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการรูปหนึ่งเป็น
ระบอบเผด็จการอีกรูปหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงเป็นดังที่รัชกาลที่7 ทรงบันทึก
ไว้ว่า “ผลร้ายของการปกครองแบบ Absolute Monarchy มิได้เสื่อมคลาย แต่เปลี่ยนตัวเปลี่ยนคณะกัน
เท่านั้น” (จากพระราชบันทึกของร.7 เสนอต่อรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475)
อีกประการหนึ่ง นโยบายของคณะราษฎรที่เรียกว่าหลัก 6 ประการนั้น ขาดหลักสำาคัญที่สุดของ
ระบอบประชาธิปไตยไป ขอให้ดูหลัก 6 ประการของคณะราษฎรดังนี้
“1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทาง
เศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้
ราษฎรทุกๆคนทำา จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้สิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพมีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าว
ข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
หลักสำาคัญที่สุดอันเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย คือหลักอธิปไตยของปวงชน หลักเอกราช
นั้นเป็นหลักสำาคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตยในประเทศเมืองขึ้น การที่ประเทศเมืองขึ้นจะเป็นประเทศ
ประชาธิปไตยได้นั้น ต้องมีเอกราชของประชาชาติเสียก่อน แล้วจึงจะมีอธิปไตยของประชาชนได้ ถ้าไม่มี
เอกราชของประชาชาติก็ไม่ต้องพูดถึงอธิปไตยของประชาชน แต่ประเทศที่มีเอกราชของประชาชาติแล้ว
อาจไม่มีอธิปไตยของประชาชนก็ได้ เพราะอธิปไตยไปตกอยู่ในกำามือของชนส่วนน้อย จะเห็นได้ว่าประเทศ
ที่เป็นเอกราชไม่จำาเป็นต้องเป็นประเทศประชาธิปไตยเสมอไป ประเทศเอกราชที่เป็นประเทศเผด็จการก็มี
อยู่มากอย่างเยอรมันสมัยฮิตเลอร์มีเอกราชของประชาชาติอย่างสมบูรณ์ แต่อธิปไตยของประชาชนไม่มี
เลย ฉะนั้น การเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้นมีเอกราชอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีอธิปไตยของ
ประชาชนด้วย
ประเทศไทยในสมัยที่อาจารย์ปรีดีเป็นผู้นำาการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎรนั้น ขาดทั้ง
เอกราชของประชาชาติและอธิปไตยของประชาชน แต่ 2 อย่างนี้ขาดมากน้อยกว่ากัน คือขาดอธิปไตย
ของประชาชนมากกว่าขาดเอกราชของประชาชาติ เพราะถึงแม้จะยังขาดเอกราชขอประชาชาติอยู่บ้างแต่
ประเทศไทยก็เป็นที่ยอมรับแก่คนไทยและแก่ชาวโลก ว่าเป็นประเทศเอกราชประเทศหนึ่งในทวีปอาเซีย
ซึ่งกล่าวกันว่า ในตะวันออกไกลมีประเทศเอกราชเพียง 2 ประเทศ คือไทยและญี่ปุ่น ข้อเท็จจริงประการ
หนึ่งก็คือในขณะนั้นประเทศไทยเป็นสมาชิกของสมาคมโลกคือสันนิบาตชาติ ซึ่งเอกราชเท่านั้นที่จะเป็น
สมาชิกได้ และความหมายของเอกราชนั้นย่อมหมายถึงเอกราชทางการเมือง ไม่หมายถึงปัญหา
เศรษฐกิจ ตามสภาพความเป็นจริงของประเทศไทยในสมัยนั้นก็เช่นเดียวกันกับสมัยนี้ คือขาดอธิปไตยขอ
ประชาชนมากกว่าขาดเอกราชของประชาชาติ สมัยนั้นประเทศไทยเป็นเอกราชที่ไม่สมบูรณ์ แต่เป็น
เผด็จการที่สมบูรณ์ คือเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งแม้ว่าจะมีเสรีภาพของบุคคลพอสมควรแต่
อธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยโดยสิ้นเชิง ปัญหาเอกราชของประชาชาติจึขึ้นต่อปัญหาอธิปไตยของ
ประชาชน จะต้องแก้ปัญหาอธิปไตยขอปวงชนให้ตกไปก่อน จึงจะแก้ปัญหาเอกราชของประชาติให้ตกไป
ได้ ปัญหาเอกราชก็จะแก้ตกไปโดยง่าย แต่ถ้าเอาปัญหาประชาธิปไตยไปขึ้นต่อปัญหาเอกราช จะแก้
ปัญหาไม่ตก
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งกำาหนดโดยอาจารย์ปรีดีเป็นสำาคัญ ยกเอาหลักเอกราชเป็น
หลักที่หนึ่งแต่ไม่มีหลักประชาธิปไตยหรือหลักอธิปไตยของปวงชนปรากฏอยู่เลย ซึ่งที่ถูกแล้วหลักที่หนึ่ง
ควรจะเป็นหลักประชาธิปไตยหรือหลักอธิปไตยของปวงชนปรากฎอยู่เลยซึ่งที่ถูกแล้วหลักที่หนึ่งควรจะเป็น
หลักประชาธิปไตยหรือหลักอธิปไตยเป็นของปวงชนนี่ก็เป็นหลักฐานอีกข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า
Revolution หรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายเป็นกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายของ
อาจารย์ปรีดีนั้น หาได้มีความมุ่งหมายเพื่อจะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยเปลี่ยนระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ หากเพียงแต่เปลี่ยนแปลงระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบเผด็จการอีกรูปหนึ่งเท่านั้นเอง
นี่ผมพูดถึงนโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยของอาจารย์ปรีดี ในแง่ของหัวใจของระบอบ
ประชาธิปไตย ซึ่งนักรัฐศาสตร์ย่อมรู้กันดีว่าหลักการปกครองที่สำาคัญของระบอบประชาธิปไตยในลัทธิ
ประชาธิปไตยสากลนิยมนั้น ประกอบด้วย 1) อธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People หรือ
Popular Sovereignty) 2) เสรีภาพ (Freedom) 3) เสมอภาค (Equality) 4) หลักนิติธรรม (Rule of Law)
5)รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง (Elected Government)
ในบรรดาหลักเหล่านี้ หัวใจคืออธิปไตยของปวงชน จะต้องมีอธิปไตยของปวงชนจึงจะเป็นระบอบ
ประชาธิปไตย ถ้าปราศจากอธิปไตยของปวงชนแล้ว ถึงจะมีหลักอื่นๆครบถ้วนก็ไม่ใช่ระบอบ
ประชาธิปไตย
แต่เนื่องจากอาจารย์ปรีดี นำาคณะราษฎรและประชาชนทั่วไปให้เข้าใจผิดเสียว่า ระบอบ
ประชาธิปไตยคืออำานาจอธิปไตยมาจากปวงชนอันหมายถึงการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นหลักการ
ปกครองที่ไม่ใช่หัวใจของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ยังเป็นหลักข้อท้ายๆ ซึ่งในบางกรณีอาจมีและใน
บางกรณีอาจไม่มีอีกด้วย เช่นในระยะเริ่มแรกของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
นั้นถ้าเลือกตั้งทันทีก็จะยุ่งกันใหญ่ ต้องรอไปอีกปีกว่าจึงจะเลือกตั้งได้ และการเลือกตั้งก็เป็นหลักการ
ปกครองของทุกระบอบ หาใช่เป็นหลักการปกครองแต่เฉพาะของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นไม่ ใน
ระบอบเผด็จการก็มีการเลือกตั้ง ในระบอบคอมมิวนิสต์ก็มีการเลือกตั้งหากแต่เนื้อหาของการเลือกตั้งแตก
ต่างไปจากการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น เช่นการเลือกตั้งครั้งที่แล้วมีเนื้อหาแตกต่างจาก
การเลือกตั้งเมื่อพ.ศ. 2476 และ 2480 อย่างเปรียบกันไม่ได้ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2476 และ 2480 เป็นการ
เลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยจึงไม่มีเรื่องชั่วช้าสามานย์ เช่นระบบหัวคะแนนเอาการเล่นพนันมาหาเสียง
ใช้อำานาจ อิทธิพล เงิน ซึ่งผู้ซื้อก็ทุ่มไม่อั้น ผู้ขายก็ไม่ได้ขายเพราะถ้าไม่ขายจะถึงอดตาย แต่ขายด้วย
ความสนุก เพราะเห็นว่าพรรคการเมืองและผู้สมัครส.ส.ไม่ได้คิดจะแก้ไขบ้านเมืองอะไร เลือกหรือไม่เลือก
พวกเราก็ไส้แห้งเหมือนเดิม สู้ขายคะแนนๆละร้อยสองร้อยไม่ได้ เอาไปกินเหล้าให้ครึกครื้นกันดีกว่า ฯลฯ
นี่คือการเลือกตั้งในระบอบเผด็จการ ซึ่งไม่อาจจะหลีกเลี่ยงความชั่วช้าสามานย์เหล่านี้ไปได้ ทั้งนี้แสดงให้
เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงหลักการอธิปไตยเป็นของปวงชนไปเป็นอธิปไตยมาจากปวงชน ก็คือเอาเงื่อนไขที่
ไม่สำาคัญของระบอบประชาธิปไตยคือรัฐบาลจากการเลือกตั้งไปเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยคือ
อธิปไตยของปวงชน ซึ่งเมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้วก็คือเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการ
นั่นเอง
หลักการปกครอง 5 ประการของระบอบประชาธิปไตยที่กล่าวข้างต้นนั้น ถ้าจะย่อลงไปก็ได้เป็น
2 ประการ คืออธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพของบุคคล หมายความว่าถ้าจะพูดง่ายๆ ระบอบ
ประชาธิปไตยก็คืออธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพของบุคคล
เมื่อได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า อาจารย์ปรีดีได้ทำาลายอธิปไตยของปวงชนอย่างไร ต่อไปนี้จะขอชี้ให้
เห็นในแง่ที่ว่า อาจารย์ปรีดีได้ทำาลายเสรีภาพของบุคคลอย่างไร
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า กฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์เป็นกฎหมายทำาลายเสรีภาพของบุคคลอย่าง
ร้ายแรงเพียงใด กฎหมายคอมมิวนิสต์นั้น ไม่ว่าจะเป็นฉบับใดๆ หาใช่กฎหมายป้องกันหรือปราบปราม
คอมมิวนิสต์ไม่ แต่เป็นกฎหมายทำาลายเสรีภาพของบุคคล ซึ่งขัดต่อหลักการปกครองอันสำาคัญเป็นอันดับ
สอง แต่อาจารย์ปรีดีซึ่งกลับมาเป็นผู้นำาของคณะราษฎรอีกครั้งหนึ่งหลังจากพญามโนฯหมดอำานาจไปแล้ว
กลับรักษากฎหมายฉบับนี้ไว้ต่อไปและเมื่อผมเสนอให้ยกเลิกกฎหมายนี้ ทีแรกอาจารย์ปรีดีก็ไม่ยอม
สนับสนุน โดยอ้างว่าการกระทำาของผมเป็นลูกไม้ของพรรคประชาธิปัตย์ ผมต้องอาศัยคุณเตียงช่วย
ทำาความเข้าใจเสียแทบล้มแทบตาย อาจารย์ปรีดีจึงยอมสนับสนุนให้ยกเลิกซึ่งถ้าอาจารย์ปรีดีรักเสรีภาพ
ของบุคคลจริงๆแล้ว ถึงแม้การยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์จะเป็นลูกไม้ของใครก็ตามทีก็จะต้องสนับสนุน
เพราะเป็นลูกไม้ที่ดี เป็นลูกไม้ที่ทำาให้ประชาชนมีเสรีภาพมากขึ้น แต่ความจริงการเสนอยกเลิกกฎหมาย
คอมมิวนิสต์เป็นการกระทำาของผมเองไม่เกี่ยวกับใครๆทั้งสิ้น อาจารย์ปรีดีก็ยังหาข้ออ้างที่จะไม่สนับสนุนจน
ได้ (เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้ใน”ตะวันใหม่”)
อีกเรื่องหนึ่งคือร่างกฎหมายแรงงานซึ่งผมร่างมาด้วยมือเองร่วมกับผู้แทน กรรมกรและคุณดุสิต
บุญธรรม ส.ส.นครนายกเป็นผู้เสนอเมื่อ พ.ศ. 2490 ภายหลังยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์เพียงเล็กน้อย แต่
ร่างกฎหมายนี้ก็ตกไปในสภาผู้แทนราษฎร เวลานั้นสภาผู้แทนราษฎรเต็มไปด้วยส.ส.ฝ่ายอาจารย์ปรีดี
เพราะพรรคฝ่ายค้านมีแต่พรรคประชาธิปัตย์เพียงพรรคเดียว นอกนั้นเป็นฝ่ายอาจารย์ปรีดีทั้งสิ้น เช่นสห
ชีพ แนวรัฐธรรมนูญ อิสระเป็นต้น ถ้าอาจารย์ปรีดีสนับสนุนร่างกฎหมายแรงงาน สภาก็จะรับหลักการและ
ออกเป็นกฎหมายได้ เช่นเดียวกับร่างกฎหมายคอมมิวนิสต์
นอกจากนั้น อาจารย์ปรีดี ยังมีแนวโน้มคัดค้านการนัดหยุดงานของกรรมกร มีข้อเท็จจริงให้
เห็นบางเรื่อง เช่นคัดค้านการนัดหยุดงานของกรรมกรรถไฟ โดยอ้างว่ากรรมกรรถไฟเป็นข้าราชการ
เป็นต้น ซึ่งผมเองก็ได้เห็นเรื่องนี้มากับตา
จึงเห็นได้ว่าอาจารย์ปรีดีไม่แต่เพียงเป็นปฏิปักษ์ต่ออธิปไตยของปวงชน แต่ยังเป็นปฏิปักษ์ต่อ
เสรีภาพของบุคคลด้วย ก็คือเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง
ข้อควรกล่าวว่าที่จะขาดเสียมิได้อีกประการหนึ่งคือ การยกรัฐธรรมนูญสูงเกินไปและถือเอา
รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตย
ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 สถาบันสูงสุดของประเทศมีเพียงสามคือ ชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพิ่มเป็นสี่คือ ชาติ ศาสนา พระมหา
กษัตริย์และรัฐธรรมนูญ เป็นการยกรัฐธรรมนูญให้สูงเท่าชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ตรงกับ
ความจริง เพราะรัฐธรรมนูญที่ว่านี้หมายถึงรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเป็นกฎหมายภายหลังการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ หรือจะไม่มีเสียเลยก็ได้ (อย่าง
อังกฤษ) และรัฐธรรมนูญของบ้านเรามีคนฉีกทิ้งเสียบ่อยๆ ฉะนั้น รัฐธรรมนูญจึงมีฐานะแตกต่างอย่าง
มากมายกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งดำารงอยู่อย่างมั่นคงตลอดไป การยกรัฐธรรมนูญขึ้นสูง
เท่าเทียมกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงไม่ถูกต้องเลย และผู้กระทำาเช่นนี้ก็คือคณะราษฎรซึ่งมี
อาจารย์ปรีดีเป็นผู้นำา
ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ เขียนไว้ในคอลัมน์ ”เทศกาลบ้านเมือง” ในหนังสือพิมพ์ ”สยามรัฐ”
ฉบับวันที่ 11 กรกฎาคม 2521 ว่า “คนไทยเราเข้าใจคำาว่ารัฐธรรมนูญผิดหมดเพราะคำาว่า “รัฐธรรมนูญ”
นั้น คณะราษฎรท่านนำามาใช้เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แล้ว คณะราษฎรท่านเชื่อว่า
ท่านจะใช้รัฐธรรมนูญสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาได้ ซึ่งความคิดเช่นนี้ก็ได้สร้างความล้มเหลวใน
ทางการเมืองตลอดมา อย่างที่เห็นกันแม้จนทุกวันนี้...คนไทยเรา ด้วยการปลูกฝังของคณะราษฎรทำาให้
เชื่อมั่นว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นของคู่กับประชาธิปไตย และเชื่อว่าเราสามารถสร้าง “ประชาธิปไตย” ด้วย
การเขียน”รัฐธรรมนูญ” ฉะนั้น เมื่อประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งล้มเหลวในทางการเมือง
ตลอดมา อย่างที่เห็นกันแม้จนทุกวันนี้....คนไทยเราด้วยการปลูกฝังของคณะราษฎรทำาให้เชื่อมั่นว่า
“รัฐธรรมนูญ” เป็นของคู่กับประชาธิปไตย และเชื่อว่าเราสามารถสร้าง “ประชาธิปไตย” ด้วยการเขียน
“รัฐธรรมนูญ “ ฉะนั้น เมื่อประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งล้มเหลว ก็ “ฉีก” รัฐธรรมนูญฉบับนั้น
ทิ้งเสียแล้วก็มานั่ง “ร่าง” รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตยกันใหม่ พอร่างเสร็จ พิจารณาเสร็จ
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็โล่งอกโล่งใจ นึกว่าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้ว เพราะมี
รัฐธรรมนูญ แต่ต่อมาประชาธิปไตยก็ล้มเหลวอีก ก็ต้อง “ฉีก” รัฐธรรมนูญเพื่อ “ร่างรัฐธรรมนูญสร้าง
ประชาธิปไตยกันใหม่” ทำาวนเวียนกันอยู่อย่างนี้จนชาวบ้านชาวเมืองเบื่อ “รัฐธรรมนูญ”
และ”ประชาธิปไตย” กันหมดแล้ว ผมว่าทั้งคนฉีกและคนร่างรัฐธรรมนูญต่างฝ่ายต่างเข้าใจความหมายของ
“รัฐธรรมนูญ” และ “ประชาธิปไตย” ผิดด้วยกันทั้งคู่....ปัญหามีอยู่ว่าทุกวันนี้เราตัดสินใจกันหรือยังว่าเรา
เป็นประชาธิปไตยกันโดยแน่แท้ ถ้าเรามั่นใจในเรื่องนี้แล้ว เราก็ลงมือเป็นประชาธิปไตยกันได้เลย แล้ว
เราจะมีรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมาเสียเวลานั่งลับเดือยเพื่อโต้คารมใน
สภานิติบัญญัติฯ เรื่องร่างรัฐธรรมนูญกันอีก ”
นี่คือข้อเขียนของดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
ทรรศนะเช่นนี้ของดร.เกษมต่อคณะราษฎรในปัญหารัฐธรรมนูญ ถูกต้อง ผมเชื่อว่าถึงแม้ว่าตอน
นี้ดร.เกษมจะเป็นใหญ่เป็นโตก็คงยึดถือทรรศนะที่ถูกต้องนี้อยู่ และด้วยเหตุผลนี้กระมัง ดร.เกษมจึง
สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนิดๆหน่อยๆของพรรคกิจสังคมเพราะรู้อยู่ว่าถึงแม้จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้
เป็นประชาธิปไตยวิเศษวิโสสักเพียงใด แต่ถ้าไม่แก้ระบอบให้เป็นประชาธิปไตย ก็ไร้ประโยชน์
ทรรศนะที่ยกรัฐธรรมนูญขึ้นสูงลิ่วของคณะราษฎรซึ่งนำาโดยอาจารย์ปรีดี ยังครอบงำาวงการ
เมืองไทยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่เพียงแต่ความผิดพลาดที่แก้ยากที่สุดเรื่องหนึ่งเท่านั้น หากยังเป็นเครื่องมือ
สำาคัญของการแสวงอำานาจของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะคือกรณี 14 ตุลาคม
2516
ก่อนที่ญี่ปุ่นจะรุกรานไทย รัฐบาลไทยซึ่งมีจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีและ
อาจารย์ปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศนโยบายเป็นกลางไว้ ครั้นเมื่อญี่ปุ่นยกพล
เข้าไทย และเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อขอเดินทัพผ่านไทย ระหว่างที่ยังไม่มีการตกลง
กันมีการสู้รบกับญี่ปุ่นหลายแห่งในที่สุดคณะรัฐมนตรีลงมติอนุญาตให้ญี่ปุเดินผ่านไทย ซึ่งไม่ผิดนโยบาย
เป็นกลางแต่อย่างใด ถึงกระนั้นคนไทยทั่วประเทศก็ไม่พอใจญี่ปุ่น และมีการต่อต้านญี่ปุ่นโดยทั่วไป
ต่อมาจอมพลป.พิบูลสงคราม ได้ทำาลายนโยบายเป็นกลางโดยพลการด้วยการเข้าเป็นมิตรร่วม
รบร่วมรุกรานกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา อาจารย์ปรีดีในระหว่างดำารงตำาแหน่งผู้
สำาเร็จราชการแทนพระองค์ได้ก่อตั้งขบวนเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ
ครั้นเมื่อญี่ปุ่นยอมจำานน อาจารย์ปรีดี ในฐานะผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ได้ออกประกาศสันติภาพมี
ความตอนหนึ่งว่า ”โดยที่ประทศไทยได้เคยถือนโยบายอันแน่วแน่ที่จะรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
และจะต่อสู้กับการรุกรานของต่างประเทศทุกวิถีทาง ดังปรากฎเห็นได้ชัดจากการที่ได้มีกฎหมายกำาหนด
หน้าที่คนไทยในเวลารบ เมื่อพุทธศักราช 2484 อยู่แล้วนั้น ความจำานงอันแน่วแน่ดังกล่าวนี้ได้แสดงให้
เห็นประจักษ์แล้ว ในเมื่อญี่ปุ่นได้ยาตราทัพเข้าในดินแดนประเทศไทยในวันที่8 ธันวาคม 2484 โดยได้มี
การต่อสู้การรุกรานทุกแห่ง และทหาร ตำารวจประชาชนพลเมืองได้เสียชีวิตไปในการนี้เป็นอันมาก
“เหตุการณ์อันปรากฎเป็นสักขีพยานนี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การประกาศสงครามเมื่อ
วันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2485 ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ตลอดทั้งการกระทำาทั้งหลายซึ่ง
เป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้นเป็นการกระทำาอันผิดจากเจตจำานงของประชาชนชาวไทยและฝ่าฝืนขืน
ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประชาชนชาวไทยทั้งภายในและภายนอก
ประเทศซึ่งอยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือสนับสนุนสหประชาชาติผู้รักที่จะให้มีสันติภาพในโลกนี้ ได้กระทำาการ
ทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือสหประชาชาติดังที่ประชาชาติส่วนมากย่อมทราบอยู่แล้ว ทั้งนี้เป็นการแสดง
เจตจำานง ของประชาชนอยู่แล้วไทยอีกครั้งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยต่อการประกาศสงครามและการกระทำาอันเป็น
ปฏิปักษ์ต่อสหประชาชาติดังกล่าวมาแล้ว
“ บัดนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ยอมปฏิบัติตามคำาประกาศของสหรัฐอเมริกา บริเตนใหญ่ จีน และสหภาพ
โซเวียต ซึ่งได้กระทำา ณ นครปอตสดัมแล้ว สันติภาพจึงกลับคืนมาประเทศไทย อันเป็นความประสงค์ของ
ประชาชนชาวไทย
“ผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาธิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอประกาศโดยเปิดเผย
แทนประชาชนชาวไทยว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะไม่ผูกพัน
ประชาชนชาวไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับสหประชาชาติประเทศไทยได้ตัดสินใจที่จะกลับคืนมาซึ่งสัมพันธไมตรี
อันดีอันเคยมีมากับสหประชาชาติเมื่อก่อนวันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2484 และพร้อมที่จะร่วมมือเต็มที่
ทุกทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้....”
ภายหลังประกาศสันติภาพ มีการสวนสนามของขบวนเสรีไทยที่ถนนราชดำาเนินผ่านอนุสาวรีย์
ประชาธิปไตย อาจารย์ปรีดีเป็นประธาน ท่านได้กล่าวคำาปราศรัยตอนหนึ่งว่า
“ ผู้ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าครั้งนี้ถือว่าทำาหน้าที่เป็นผู้รับใช้ชาติ มิได้ถือว่าเป็นผู้กู้ชาติ การกู้ชาติ
เป็นการกระทำาของคนไทยทั้งปวงซึ่งแม้ผู้ไม่ได้ร่วมองค์การนี้โดยตรง ก็ยังมีอีกประมาณ 17 ล้านคน ที่ได้
กระทำาโดยอิสระของคน ในการต่อต้านด้วยวิถีทางที่เขาเหล่านั้นสามารถทำาได้ หรือเอากำาลังใจช่วยขับไล่
ให้ญี่ปุ่นพ้นไปจากประเทศไทยโดยเร็วก็มีหรือแม้แต่คนไทยที่นั่งอยู่โดยไม่ได้ทำาการขัดขวางผู้ต่อต้าน
ญี่ปุ่นหรือผู้รับใช้ชาติ ซึ่งเท่ากับเปิดโอกาสให้ผู้รับใช้ชาติทำางานได้สะดวกฯลฯ เป็นต้น คนไทยทั้งปวง
เหล่านี้ ทุกๆคนร่วมกันทำาการกู้ชาติของตนด้วยทั้งสิ้น...”
การตั้งขบวนเสรีไทย การร่วมมือกับสหประชาชาติ การประกาศสันติภาพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขให้
ประเทศไทยไม่ต้องเป็นประเทศแพ้สงคราม ตลอดจนคำาปราศรัยอย่างถูกต้องว่าการกู้ชาติเป็นเรื่องของคน
ไทยทั้ง 17 ล้านคนนั้น จะต้องเป็นความดีความชอบอันยิ่งใหญ่ของอาจารย์ปรีดี ถ้าหากการกระทำาเหล่า
นั้นไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงการขึ้นต่อญี่ปุ่นไปเป็นการหวังพึ่งหรือขึ้นต่อหรือรับใช้อเมริกา
ถ้าอาจารย์ปรีดีนำาขบวนขับไล่ญี่ปุ่นสำาเร็จ ทำาให้ประเทศไทยเป็นอิสระอย่างแท้จริงและสถาปนา
ระบอบประชาธิปไตยขึ้นแทนระบอบเผด็จการ ท่านจะเป็นรัฐบุรุษของประเทศไทย
ข้อเท็จจริงที่ผมจะเล่าต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่า ความคิดของอาจารย์ปรีดีนั้น หวังพึ่งอเมริกาหลัง
สงคราม เท่าๆกับจอมพลป.หวังพึ่งญี่ปุ่นในระหว่างสงคราม
เนื่องจากผมรู้ชัดว่าจอมพลป.ซึ่งพ้นคดีอาชญากรสงครามแล้ว เตรียมการจะทำารัฐประหารโดย
ตนเองไม่ออกหน้า แต่อาศัยคนอื่นที่คิดทำาอยู่แล้วเหมือนกัน เช่น พล.ท.ผินชุณหะวัณ พ.อ.เผ่า ศรียา
นนท์ ที่จริงถ้าว่ากันในทางส่วนตัวแล้ว จอมพลป.ทำารัฐประหารผมไม่เดือดร้อนอะไร กลับจะดีเสียอีก
เพราะเป็นพรรคพวกเก่ากับ จอมพลป. แต่ผมไม่อยากให้เกิดรับประหาร อยากให้ดำาเนินการตามวิถีทาง
รัฐสภากันไปอย่างนั้นผมจึงไปหาอาจารย์ปรีดีที่ทำาเนียบท่าช้าง ซึ่งผมไม่เคยไปเลย เพียงแต่พบท่านใน
สภาตามปกติเท่านั้น ที่ผมไปหาท่านที่ทำาเนียบท่าช้างก็เพื่อเรียนว่าจะเกิดรัฐประหาร ขอให้ป้องกันเสีย
และผมเห็นว่าจะป้องกันได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องไปทำาอะไรให้ใครเดือดร้อนด้วย อาจารย์ปรีดีบอกผมว่าคุณ
ประเสริฐวิตกไปเปล่าๆ จอมพลป.ไม่มีทางทำารัฐประหาร ผมไปหาคุณเตียง เขาก็นอนหัวเราะ ผมไปหา
อาจารย์ปรีดีอีก 3-4 ครั้งจนท่านชักจะโกรธผม เพราะผมไปเตือนซำ้าซากในที่สุดท่านก็พูดกับผมว่าถ้าจอม
พลป.ทำารัฐประหารท่านจะถอนประกาศสันติภาพ แล้วอเมริกันก็จะมาเล่นงานจอมพลป.เอง ผมจึงเรียนท่าน
ว่า เดี๋ยวนี้อเมริกันเอากับจอมพลป.แล้ว และไม่เอากับท่านแล้วครับเท่านั้นเอง อาจารย์ปรีดีก็แสดงความ
โกรธต่อผมอย่างชัดเจน ผมจึงลากลับ และเดินทางไปสุราษฎร์ นอนรอรัฐประหารอยู่ที่บ้าน พอรุ่งเช้าเห็น
นายอำาเภอเดินมาแต่ไกลจะไปจังหวัด ผมด็รู้ทันทีว่าได้เรื่องแล้ว เพราะนายอำาเภอไม่เคยไปจังหวัด แต่เช้า
พอนายอำาเภอเดินมาถึงก็บอกกับผมว่า เมื่อคืนยึดอำานาจแล้วครับ
เคราะห์ดีที่อาจารย์ปรีดี เผ่นลงเรือจ้างหลังทำาเนียบทัน เรื่องนี้ผมเอาไปวิจารณ์ท่านต่อหน้า
คณะของท่านเมื่อพบกันที่ปักกิ่ง ซึ่งท่านถือว่าความพ่ายแพ้ที่ผ่านมาเกิดจากความผิดพลาดของคนอื่นทั้ง
นั้น ท่านนั่งตำาหนิพรรคพวกทุกคนอยู่ตลอดเวลา ผมจึงเรียนขึ้นว่าท่านคนเดียวเป็นคนผิด คนอื่นไม่ผิด
เพราะท่านนำาเขาผิดและคนอื่นเขาทำาตามท่าน ท่านเป็นผู้รับผิดชบ เพราะฉะนั้นอย่าตำาหนิใครเลย
นอกจากตำาหนิตัวท่านเอง ท่านโกรธผมไปพักใหญ่ แต่ต่อมาก็ชวนผมไปกินข้าวและเรื่องนี้เองที่คุณสังข์
ถามผมอย่างที่เล่าไว้ในตอนต้นและเรื่องนี้ผมเขียนไว้ใน”ตะวันใหม่”แล้ว
ประเด็นสำาคัญของข้อเท็จจริงที่เล่ามานี้อยู่ที่ว่าอาจารย์ปรีดีเมื่อตั้งขบวนเสรีไทยขับไล่ญี่ปุ่นออกไปแล้ว ไม่
เป็นอิสระแก่ตนเองแต่กลับไปหวังพึ่งอเมริกา ผมเองได้พบเสรีไทยชั้นใหญ่ๆ หลายคน ล้วนแล้วแต่เชียร์อเมริกาก็จะมา
เล่นงานจอมพลป.เองก็เห็นได้ชัดทันทีว่า อาจารย์ปรีดีหวังพึ่งอเมริกาสุดตัวเสียแล้ว แต่จอมพลป.พึ่งอเมริกาเก่งกว่า
จึงทำารัฐประหารโค่นอาจารย์ปรีดีได้ง่ายดาย แล้วก็พึ่งอเมริกาเต็มเหยียดตลอดมาจนเกือบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเลย
อย่างที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้ว
จึงเห็นได้ว่า การที่นโยบายต่างประเทศของไทยหลังสงครามเสียหายไปอย่างมากสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ต้นตอก็อยู่ที่การหวังพึ่งอเมริกาจนเกินขอบเขตของอาจารย์ปรีดีตั้งแต่สมัยทำาเสรีไทยนั่นเอง จอมพลป.และคนอื่นๆ
เป็นแต่เพียงผู้สืบทอดการหวังพึ่งอเมริกาของอาจารย์ปรีดีเท่านั้นเอง
ผมคิดว่า ถ้าอาจารย์ปรีดีหวังพึ่งตนเองไม่หวังพึ่งอเมริกา จอมพลป.คงจะทำารัฐประหารต่อท่านไม่สำาเร็จ
ส่วนนโยบายภายในประเทศหลังสงคราม อาจารย์ปรีดีก็คงรักษาระบอบเผด็จการไว้ตามเดิม จะเห็นได้จาก
รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2489
ซึ่งท่านร่างเองก็คงบัญญัติไว้ว่า “อำานาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวไทย” ตัดเสรีภาพทางการเมืองอย่าง
รุนแรงโดยกำาหนดให้มีพรรคการเมืองภายใต้กฎหมายพรรคการเมืองและไม่อนุญาตให้ตั้งสหภาพแรงงาน นอกจาก
การไม่สนับสนุนให้มีกฎหมายแรงงานดังกล่าวมาแล้ว
สำาหรับทัศนคติต่อพรรคคอมมิวนิสต์นั้น อาจารย์ปรีดีถือว่าตนเองเป็นผู้รู้ลัทธิมาร์กซ์ลัทธิเลนิน แต่ตาม
ความเห็นของผม ท่านรู้ไม่ถึงแก่นแท้ แต่ท่านไม่ปฏิเสธการติดต่อกับพรรคคอมมิวนิสต์ พคท.พยายามทำาแนวร่วมกับ
ท่านหลายครั้งแต่ไม่เคยสำาเร็จ ครั้งหลังสุดพคท.ตั้งแนวร่วมรักชาติ มีพ.ท.พโยม จุลานนท์เป็นผู้แทนในต่างประเทศ
มีหน้าที่สำาคัญในการทำาแนวร่วมกับอาจารย์ปรีดี แต่เขาเล่ากันว่า พ.ท.พโยมกลับเป็นต้นเหตุให้การทำาแนวร่วมกับ
อาจารย์ปรีดีพัง อาจารย์ปรีดีนั้น เพียงแต่เป็นแนวร่วมกับพคท.ก็ยังไม่ได้ แต่ก็ยังมีคนพูดไปได้ว่าอาจารย์ปรีดีเป็น
คอมมิวนิสต์ ส่วนความสัมพันธ์กับประเทศสังคมนิยมนั้น อาจารย์ปรีดีทำาได้เหนือกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ คือเป็นผู้
เปิดความสัมพันธ์การทูตกับสหภาพโซเวียตและกำาลังเตรียมจะเปิดความสัมพันธ์การทูตกับจีนคอมมิวนิสตืเมื่อพรรค
คอมมิวนิสต์ชนะในแผ่นดินใหญ่เมื่อพ.ศ. 2492 แต่อาจารย์ปรีดีถูกโค่นเสียก่อน ความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนจึง
เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อม.ร.ว.คึกฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี
ผมเข้าใจว่าการที่อาจารย์ปรีดีไปลี้ภัยในประเทศจีนก็เพื่อหลบคดีลอบปลงพระชนม์และจิตใจของอาจารย์
ปรีดีคงชอบเสรีนิยมมากกว่าสังคมนิยม เมื่อหมดอายุความล้วจึงย้ายจากจีนไปอยู่ฝรั่งเศส และที่ท่านไม่กลับเมืองนั้น
ผมคิดว่าท่านอาจจะกลัวมากไปหน่อย ผมเคยบอกกับคนใกล้ชิดของอาจารย์ปรีดีว่า กลับมาเมืองไทยดีกว่า จะได้หมด
ปัญหาที่สงสัยกันไปต่างๆนานา คนใกล้ชิดบอกว่าท่านกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย ผมบอกว่าเมื่อหนุ่มไม่กลัว กล้าล้มระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งน่ากลัวที่สุด แก่แล้วทำาไมจึงกลัว ตอนหนุ่มต่างหากน่ากลัว เพราะจะยังอยู่อีกนานแก่แล้ว
อยู่อีกไม่กี่ปีจะกลัวไปทำาไม และที่จริงก็ไม่เห็นจะมีอะไรขอให้ดูจอมพลถนอมจอมพลประภาสถูกหาว่าเป็นถึงทรราชก็
มาอยู่บ้านสบายดีผมเคยฝากคนใกล้ชิดไปเรียนอาจารย์ปรีดีว่า กลับมาเมืองไทยเสียดีกว่า
เหล่านี้ คือปัญหาการเมืองในด้านนโยบายอย่างย่อๆของอาจารย์ปรีดีตามที่ผมเคยเห็นมา
ทีนี้จะขอกล่าวถึงด้านวิธีการของท่าน วิธีการของอาจารย์ปรีดีคือวิธีรัฐประหาร จะเห็นได้จากคำาอธิบาย
ของอาจารย์ปรีดี เกี่ยวกับวิธีการปฏิวัติประชาธิปไตย ในเอกสารเรื่อง “บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร
และระบบประชาธิปไตย” ว่า
“ โดยคำานึงถึงสภาพของสยามที่ถูกแวดล้อมโดยอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งชาติทั้ง
สองนี้มีข้อตกลงกันถือเอาสยามเป็นประเทศกันชน แต่เขาอาจพร้อมกันยกกำาลังทหารเข้ามายึดครอง
แล้วแบ่งดินแดนสยามไปเป็นเมืองขึ้นหรืออยู่ใต้อำานาจอิทธิพลของประเทศทั้งสอง ดังนั้นเราจึงเห็นว่า
วิธีการเปลี่ยนการปกครองดังกล่าวจะต้องกระทำาโดยวิธี Coup d’etat ซึ่งเราเรียกกันด้วยคำาไทยธรรม
ดาว่าการยึดอำานาจโดยฉับพลัน เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีผู้ใดตั้งศัพท์ไทยว่า “รัฐประหาร” เพื่อ
ถ่ายทอดศัพท์ฝรั่งเศสดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการแทรกแซงของมหาอำานาจเพราะเมื่อคณะ
ราษฎรได้อำานาจโดยฉับพลันแล้ว มหาอำานาจก็จะต้องเผชิญต่อสถานการณ์ที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า
Fait accompli คือพฤติการณ์ที่สำาเร็จรูปแล้ว”
รัฐประหาร หมายถึงการเปลี่ยนรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยวิธีผิดกฎหมาย รัฐประหารไม่
หมายความถึงการเปลี่ยนรัฐหรือเปลี่ยนระบอบการปกครอง ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้วจะนำาเอารัฐประหารมาใช้ในการ
เปลี่ยนรัฐหรือเปลี่ยนระบอบการปกครองมิได้ หากจะมีได้ก็ในกรณีพิเศษโดยแท้เท่านั้น
แต่อาจารย์ปรีดีกำาหนดให้ใช้วิธีการรัฐประหารในการปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งใช้ไม่ได้สำาหรับ
ประเทศไทย และนี่คือเหตุสำาคัญประการหนึ่งของความล้มเหลวของการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎร ซึ่งนำา
โดยอาจารย์ปรีดี
พวกเราเกลียดกลัวรัฐประหารกันมาก และเมืองไทยมีรัฐประหารมากครั้งจนผมเองก็จำาไม่ได้ แต่พวกเรา
มักจะโยนเรื่องรัฐประหารไปให้ทหาร ที่จริง ต้นคิดรัฐประหารของไทยเป็นพลเรือน ไม่ใช่ทหาร ทหาร
เพียงแต่เอาอย่างพลเรือนเท่านั้นเอง และพลเรือนผู้ต้นคิดรัฐประหารให้พวกเราเกลียดกลัวกันหนัก
หนา ก็คืออาจารย์ปรีดีนั่นเอง อาจารย์ปรีดีคิดอะไรและทำาอะไรไว้ ผู้คนมักจะเอาอย่างและแก้ยาก
ดังเรื่องราวในด้านนโยบายที่ผมเล่ามาในด้านวิธีการก็เช่นเดียวกัน ความคิดรัฐประหารและการทำา
รัฐประหารของอาจารย์ปรีดี ผู้คนก็เอาอย่างและแก้ยากเช่นเดียวกัน แม้จนถึงวันนี้ผู้คนก็ยังไม่นอนใจ
ว่าจะเกิดรัฐประหารหรือไม่ ทั้งๆที่ต้นคิดรัฐประหารถึงอสัญกรรมไปแล้ว
ฉะนั้น ความคิดรัฐประหารและการทำารัฐประหารจึงเป็นความผิดพลาดร้ายแรงของอาจารย์ปรีดีในด้านวิธี
การ ไม่น้อยกว่าในด้านนโยบาย
เมื่อได้กล่าวถึงนโยบายและวิธีการในการปฏิวัติของคณะราษฎร ซึ่งนำาโดยอาจารย์ปรีดีแล้ว เนื่องจากใน
ระยะเดียวกัน มีนโยบายและวิธีการปฏิวัติประชาธิปไตยของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งควรเอานำามาเปรียบเทียบเพื่อประกอบการ
พิจารณา
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ทรงรับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ ได้ทรงพระราชดำาริที่จะทำาการ
ปฏิวัติประชาธิปไตยมาโดยตลอด และเมื่อเสด็จประพาสสหรัฐฯ ได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในสหรัฐฯว่า
เมื่อเสด็จนิวัตพระนครแล้วจะทรง “ ทำาการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นหลัง
จากเสด็จนิวัติพระนคร จึงทรงมีพระบรมราชโองการดำารัสสั่งให้กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดี
กระทรวงการต่างประเทศ ทรงจัดการร่างรัฐธรรมนูญ กรมหมื่นเทววงศ์ทรงมอบให้นายเรมอนด์ บี สตี
เวน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศกับพระยาศรีสาร
วาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ บุคคลทั้งสองเห็นว่ายังไม่
ควรให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อตั้งสภาผู้แทนราษฎรในทันที แต่ควรดำาเนินการเป็นขั้นๆ โดยขยายการ
ใช้กฎหมายเทศบาล (เวลานั้นเรียกว่าสุขาภิบาล) ออกไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรชำานาญในการ
เลือกตั้งตามหลักของระบบรัฐสภา ในขณะเดียวกันก็ให้จัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้น โดยใช้
สภาองคมนตรีเป็นแกนของสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว เพราะว่าสภาองคมนตรีซึ่งประกอบด้วยสมาชิก
40 คนนั้น เป็นผู้แทนของปัญญาชนในประเทศไทยอยู่แล้ว ถ้าใช้สภาองคมนตรีเป็นแกนและขยาย
สมาชิกภาพให้กว้างออกไป โดยประกอบด้วยผู้แทนของสาขากิจการและสาขาอาชีพต่างๆ สภา
องคมนตรีจะกลายเป็นสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวได้ และดำาเนินการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเอารัฐสภาซึ่ง
ประกอบด้วยสมาชิกจากการเลือกตั้งเข้าแทนที่สภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว พร้อมทั้งโอนอำานาจอธิปไตย
ซึ่งเป็นของพระมหากษัตริย์ไปให้แก่รัฐสภา รัชกาลที่ ๗ ทรงเห็นชอบกับนโยบายนี้ และทรงกำาหนด
ให้เปิดรัฐสภาในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันจักรีครบรอบ ๑๕๐ ปี ”
แต่นโยบายนี้ถูกคัดค้านจากวงการที่มีอิทธิพลสูง รัชกาลที่ ๗ จึงทรงเลื่อนวันพระราชทาน
รัฐธรรมนูญออกไป เพื่อศึกษาเรื่องนี้ให้ดี
ยิ่งขึ้น แต่ขณะที่เสด็จประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน คณะราษฎรก็ทำารัฐประหารปฏิวัติเมื่อวันที่ ๒๔
มิถุนายน ๒๔๗๕
สำาหรับวิธีการนั้น รัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชดำาริที่จะใช้วิธีการรัฐประหาร แต่จะทรงดำาเนินการด้วย
อำานาจสมบูรณาญาสิทธิ์ที่ทรงมีอยู่แล้ว
จะเห็นได้ว่า ในระยะแรก คณะราษฎรกับรัชกาลที่ ๗ มีความเห็นตรงกัน คือสถาปนาอำานาจอธิปไตยของ
ปวงชน ทางด้านคณะราษฎรแม้ว่าจะไม่สู้ชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะในนโยบายเพียงแต่กำาหนดว่า “การเปลี่ยนแปลง
การปกครองของกษัตริย์เหนือกฎหมายเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย” ก็ตาม แต่ใน
รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนว่า “ อำานาจสูงสุดนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ซึ่งรัชกาลที่ ๗ ไม่ได้ทรงขัดแย้ง
ในข้อนนี้ แต่ทรงยืนยันตลอดมาว่า “ ข้าพเจ้าได้พูดไว้นานแล้วว่า ข้าพเจ้าจะยอมสละอำานาจของข้าพเจ้า
ให้แก่ราษฎรทั้งปวง...” และว่า “ โดยเหตุนี้ เมื่อคณะผู้ก่อการฯ ร้องขอให้ข้าพเจ้าเป็นพระมหากษัตริย์
ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าจึงรับรองได้ทันที โดยไม่มีเหตุข้องใจอย่างใดเลย ” (จากพระราชบันทึก)
ต่อมา เกิดความขัดแย้งในปัญหาการเมืองระหว่างร.๗ กับคณะราษฎรมากมายหลายเรื่อง แต่มูลเหตุมา
จากเรื่องเดียวคือคณะราษฎรยกเลิกเรื่องหลักสาระสำาคัญของระบอบประชาธิปไตยเสีย โดยเปลี่ยนหลัก “อำานาจ
อธิปไตยเป็นของปวงชน” ซึ่งก็คือเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการนั่นเอง และโดยเหตุนี้ ร.๗ จึง
ทรงประโยคต่อไปในพระราชบันทึกว่า “ แต่ไม่สมัครที่จะสละอำานาจให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะใด
คณะหนึ่ง เว้นแต่จะรู้ว่า เป็นความประสงค์ของประชาชนอันแท้จริงเช่นนั้น ”
การที่คณะราษฎร ภายใต้การนำาของอาจารย์ปรีดี เริ่มเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการ
ตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ นั้น ไม่ “ เป็นความประสงค์ของประชาชนอัน
แท้จริงเช่นนั้น ” เพราะประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตย ต้องการอำานาจอธิปไตยของปวงชน
ฉะนั้น เมื่อนำาเอานโยบายและวิธีการปฏิวัติประชาธิปไตยของร.๗ กับของคณะราษฎรภายใต้การนำาของ
อาจารย์ปรีดีมาเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า นโยบายและวิธีการของร.๗ ถูกต้องกว่า ถ้า ร.๗ ทรงทำาการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยเอง ตามนโยบายและวิธีการดังกล่าว โดยคณะราษฎรไม่ชิงทำาเสียก่อนการปฏิวัติประชาธิปไตยใน
ประเทศไทยก็คงจะสำาเร็จไปนานแล้ว
ผมขอกล่าวถึงด้านการเมืองของอาจารย์ปรีดี เพียงย่อๆเท่านี้
ด้านเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจของอาจารย์ปรีดีก็คือ “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ซึ่งอาจารย์
ปรีดีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และขณะเตรียมเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร พระยามโนฯนายกรัฐมนตรีก็ปิดสภา
เสียก่อน
มีผู้เข้าใจว่า “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ของอาจารย์ปรีดีนั้น เป็นแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ จึง
เข้าใจว่าอาจารย์ปรีดีเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติคนแรก ความจริง “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” หรือ
“สมุดปกเหลือง” ของอาจารย์ปรีดีนั้นเป็นนโยบาย (Policy) ไม่ใช่แผน อาจารย์ปรีดีเพียงแต่เสนอ
นโยบายเศรษฐกิจ ยังไม่ได้เสนอแผนเศรษฐกิจ อาจารย์ปรีดีจะเสนอแผนเศรษฐกิจ ยังไม่ได้เสนอแผน
เศรษฐกิจ อาจารย์ปรีดีจะเสนอแผนเศรษฐกิจเมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับนโยบายเศรษฐกิจแล้ว แต่นโยบาย
เศรษฐกิจไม่ได้เข้าสภา อาจารย์ปรีดีจึงไม่ได้เสนอแผนเศรษฐกิจเลย ฉะนั้นการที่มีผู้เข้าใจว่าอาจารย์ปรีดี
เป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจคนแรก จึงไม่ตรงกับความจริง ผู้เสนอแผนเศรษฐกิจคนแรกคือ จอมพลสฤษฎิ์ ธนะ
รัชต์
ความจริงคือ ในระยะแรกของการปฏิวัติประชาธิปไตย 2475 นั้น มีนโยบายเศรษฐกิจอยู่สอง
นโยบาย คือนโยบายของฝ่ายสมเด็จพระปกเกล้า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของพระยามโนฯและนโยบาย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย

More Related Content

What's hot

~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยาchakaew4524
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3AJ Por
 
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลาEbook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลาPanda Jing
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3AJ Por
 
U2 origin of state
U2 origin of stateU2 origin of state
U2 origin of stateKatawutPK
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550Poramate Minsiri
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยchatsawat265
 
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์kulrisa777_999
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Medical Student, GCM
 
พระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระพระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระKrusupharat
 
9789740335542
97897403355429789740335542
9789740335542CUPress
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3AJ Por
 

What's hot (18)

~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
 
งานสังคม...
งานสังคม...งานสังคม...
งานสังคม...
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
 
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
 
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลาEbook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
 
U2 origin of state
U2 origin of stateU2 origin of state
U2 origin of state
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
 
Pw4 5
Pw4 5Pw4 5
Pw4 5
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
 
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)
 
พระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระพระอนุรูทธเถระ
พระอนุรูทธเถระ
 
Presentation3
Presentation3Presentation3
Presentation3
 
9789740335542
97897403355429789740335542
9789740335542
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 3
 

Viewers also liked

Academics and professional records
Academics and professional recordsAcademics and professional records
Academics and professional recordsCheetamun Geeandeo
 
Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649
Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649
Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649Arlen Meyers, MD, MBA
 
AINE i calcificacions_ heterotopicas
AINE i calcificacions_ heterotopicasAINE i calcificacions_ heterotopicas
AINE i calcificacions_ heterotopicasCIMSFHUVH
 
Ofimatica
OfimaticaOfimatica
Ofimaticayohe82
 
เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์ธนาภรณ์ กองวาจา
 
презентация1
презентация1презентация1
презентация1NataKvasha
 
ιγνάτιος ο θεοφόρος
ιγνάτιος ο θεοφόροςιγνάτιος ο θεοφόρος
ιγνάτιος ο θεοφόροςPanos2001
 
Ofício nº13300 MPF PR RJ
Ofício nº13300 MPF PR RJOfício nº13300 MPF PR RJ
Ofício nº13300 MPF PR RJCarlos Eduardo
 
Gabapentina bloc 04
Gabapentina bloc 04Gabapentina bloc 04
Gabapentina bloc 04CIMSFHUVH
 
Ιγνάτιος ο Θεοφόρος
Ιγνάτιος ο ΘεοφόροςΙγνάτιος ο Θεοφόρος
Ιγνάτιος ο Θεοφόρος88DIMATH
 
Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12
Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12
Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12squline
 
Pola keruangan desa dan kota
Pola keruangan desa dan kotaPola keruangan desa dan kota
Pola keruangan desa dan kotaDwi Sulistiyo
 
Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05
Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05
Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05Prof. Dr. Halit Hami Öz
 
Interdisciplinaridade no contexto da escola
Interdisciplinaridade no contexto da escolaInterdisciplinaridade no contexto da escola
Interdisciplinaridade no contexto da escolaVitor Miranda
 

Viewers also liked (20)

Academics and professional records
Academics and professional recordsAcademics and professional records
Academics and professional records
 
Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649
Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649
Sandiegosummit pptmaster169meyers2carlen1-160813175649
 
Inserto Cut09 Op[1]
Inserto Cut09 Op[1]Inserto Cut09 Op[1]
Inserto Cut09 Op[1]
 
Start ups infodeck
Start ups infodeckStart ups infodeck
Start ups infodeck
 
Rosa
RosaRosa
Rosa
 
AINE i calcificacions_ heterotopicas
AINE i calcificacions_ heterotopicasAINE i calcificacions_ heterotopicas
AINE i calcificacions_ heterotopicas
 
Ofimatica
OfimaticaOfimatica
Ofimatica
 
เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
 
презентация1
презентация1презентация1
презентация1
 
ιγνάτιος ο θεοφόρος
ιγνάτιος ο θεοφόροςιγνάτιος ο θεοφόρος
ιγνάτιος ο θεοφόρος
 
Programm Hoffest 2012.pdf
Programm Hoffest 2012.pdfProgramm Hoffest 2012.pdf
Programm Hoffest 2012.pdf
 
Ofício nº13300 MPF PR RJ
Ofício nº13300 MPF PR RJOfício nº13300 MPF PR RJ
Ofício nº13300 MPF PR RJ
 
Gabapentina bloc 04
Gabapentina bloc 04Gabapentina bloc 04
Gabapentina bloc 04
 
Ιγνάτιος ο Θεοφόρος
Ιγνάτιος ο ΘεοφόροςΙγνάτιος ο Θεοφόρος
Ιγνάτιος ο Θεοφόρος
 
Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12
Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12
Squline Mandarin Beginner 1 Lesson 12
 
Pola keruangan desa dan kota
Pola keruangan desa dan kotaPola keruangan desa dan kota
Pola keruangan desa dan kota
 
Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05
Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05
Prof.dr.halit hami oz enginering ethics-course-unit-05
 
Ideas irracionales
Ideas irracionalesIdeas irracionales
Ideas irracionales
 
Anarchism
AnarchismAnarchism
Anarchism
 
Interdisciplinaridade no contexto da escola
Interdisciplinaridade no contexto da escolaInterdisciplinaridade no contexto da escola
Interdisciplinaridade no contexto da escola
 

More from Thongkum Virut

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัยThongkum Virut
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)Thongkum Virut
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยThongkum Virut
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณThongkum Virut
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓Thongkum Virut
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...Thongkum Virut
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริThongkum Virut
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่Thongkum Virut
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรThongkum Virut
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์Thongkum Virut
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการThongkum Virut
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูThongkum Virut
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกThongkum Virut
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...Thongkum Virut
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยThongkum Virut
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยThongkum Virut
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาThongkum Virut
 

More from Thongkum Virut (20)

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
 
All10
All10All10
All10
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
 
ข้าว
ข้าวข้าว
ข้าว
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
 

อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย

  • 1. อุปสรรคความสำาเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย เขียนโดย อ.ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร 1.แนวความคิดทางการเมืองของอาจารย์ปรีดี อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นคนสำาคัญทางการเมืองระดับสูงของประเทศไทย อสัญกรรมขอท่านจึง เป็นอนุสสติอย่างสูงสำาหรับประชาชนชาวไทยผู้เป็นพุทธมามกชน สมดังพระบาลีว่า พุทธา นุสสติ เมตตา จ อสุภำ มรณสฺสติ อิจฺจิมา จตุรา รกฺขา กาตพฺพา จ วิปสฺสนา แปลว่า ภาวนาทั้งสี่นี้ คือพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธเจ้า เมตตาปรารถนาจะให้เป็นสุข อสุภ เห็น เป็นของไม่งาม มรณัสสติระลึกถึงความตาย เป็นวิปัสสนาอันพึงบำาเพ็ญ และนี่คือวิปัสสนาซึ่งคนไทยทั้ง ชาติควรบำาเพ็ญ โดยเฉพาะคนที่เป็นศัตรูกับอาจารย์ปรีดี อย่างเช่นอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ซึ่งวันก่อนผม ได้อ่านคำาให้สัมภาษณ์ของท่านว่า ต่อสู้กับคุณปรีดีมานาน เดี๋ยวนี้ก็แก่ชราลืมไปหมดแล้ว ผมว่าอย่าเพ่อลืม ครับ ยิ่งอาจารย์ปรีดีถึงอสัญกรรมยิ่งต้องไม่ลืม เพราะอีกไม่นานอาจารย์คึกฤทธิ์ก็จะถึงอสัญกรรมอย่าง ปรีดี พึงยึดมั่นในมรณสติไว้ ซึ่งรับรู้ว่าหมดฤทธิ์ในโลกนี้จะได้มีฤทธิ์ไปต่อสู้กันใหม่ในนรก หรือบน สวรรค์ต่อไป คนที่เป็นหมอไม่ใช่ว่าจะต้องยกย่องเสมอไป หมอที่รักษาไข้ให้หายจึงควรยกย่องแต่หมอที่รักษา
  • 2. ไข้ให้ตายควรตำาหนิ เว้นแต่คนไข้ที่จะต้องตายอยู่แล้ว หมอเทวดาก็รักษาไม่หาย ญาติสนิทของผมคน หนึ่งตายเสียเปล่าๆ เมื่ออายุยังไม่ถึงสามสิบ เพราะหมอรักษาให้ตายคือ ญาติผมปวดท้องอย่างแรง นิตยสาร “หลักไท” ส่งคำาถาม 8 ข้อ เกี่ยวกับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ไปให้ผมตอบคือ 1.อาจารย์เริ่มรู้จัก อาจารย์ปรีดีตั้งแต่เมื่อไหร่และมีความสัมพันธ์อย่างไร 2.ในสายตาของอาจารย์เห็นว่าอาจารย์ปรีดีเป็นคนมีบุคลิกทั้งทางส่วนตัวและการเมือง(ด้านการ เป็นผู้นำา) เป็นอย่างไร 3 .สภาพการเมืองในระยะที่อาจารย์ปรีดีเรืองอำานาจอยู่เป็นอย่างไร และในสายตาของอาจารย์ เห็นอย่างไร 4. มีการถกเถียงกันมากเรื่องแนวความคิดของอาจารย์ปรีดีในการแก้ปัญหาของชาติ อาจารย์ช่วย อธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ให้เข้าใจขึ้นอีกได้หรือไม่ และอาจารย์มองปัญหานี้อย่างไร โดยเฉพาะสมุดปก เหลืองที่อาจารย์ปรีดีต้อการให้นำามาแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจขณะนั้น 5. ตามความเห็นของอาจารย์คิดว่าระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้ามีการนำาเอาแนวความคิดของอาจารย์ ปรีดีมาแก้ไขปัญหาของชาติจะประสบผลสำาเร็จอย่างไรหรือไม่ เพราะอะไร 6.และแนวความคิดของอาจารย์ปรีดีในระยะหลัง อาจารย์ได้ติดตามบ้างหรือไม่ และมีความเห็น อย่างไรถ้าจะนำามาแก้ไขปัญหาของชาติ 7.เพราะเหตุใดอาจารย์ปรีดีจึงต้องลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศสแทนที่จะอยู่เมืองจีนต่อ และที่ว่าอาจารย์ปรีดี ไม่ลงรอยกับทางพคท.ที่มาชักชวนให้ร่วมพรรคด้วยกันนั้นเป็นอย่างไร อาจารย์พอจะบอกรายละเอียดได้ หรือไม่ 8.ตอนที่อาจารย์ไปอยู่เมืองจีนระยะหนึ่งนั้น ได้ติดต่อกับอาจารย์ปรีดีบ้างหรือไม่หรือมีความ สัมพันธ์กันอย่างไร เนื่องจากผมเคยตำาหนิอาจารย์ปรีดีไว้มาก ทั้งเมื่ออยู่ในเมืองไทยและเมื่อไปพบกันในเมืองจีน เป็นการตำาหนิต่อหน้า ไม่ใช่ตำาหนิลับหลังและไม่เพียงต่อหน้าสองต่อสองหากต่อหน้าท่านกับบุคคลในคณะ ของท่าน ซึ่งเวลานี้ก็ยังมีตัวตนอยู่ เช่นคุณสงวน ตุลารักษ์ คุณสุรีย์ ทองวาณิชย์ คุณสมศักดิ์ พัวเวส คุณ วัชรชัย ชัยสิทธิเวช เป็นต้น เมื่อผมกลับมาเมืองไทยใหม่ๆพบคุณสังข์ พัธโนทัย ครั้งแรก เขาถามว่า “ลื้อไป คัดค้านอาจารย์หรือ ?” ผมถามว่า “รู้ได้ยังไง ? ” คุณสังข์บอกว่า “รู้ซิ” และเมื่อไม่นานมานี้ผมยังเขียน ตำาหนิอาจารย์ปรีดีลงใน “ตะวันใหม่ ” ซึ่งท่านก็ได้อ่านที่ปารีสทุกฉบับ แต่ผมไม่ได้ตำาหนิอาจารย์ปรีดีข้าง เดียวดอก อาจารย์ปรีดีก็ตำาหนิผมเหมือนกัน แต่ผมรู้สึกว่าผมตำาหนิอาจารย์ปรีดีหนักกว่าอาจารย์ปรีดี ตำาหนิผม เพราะผมตำาหนิท่านในปัญหาหลักการของการปฏิวัติประชาธิปไตยเป็นสำาคัญโดยผมเปรียบเทียบ ท่านเป็นหมอที่รักษาไข้ให้ตาย อาจารย์ปรีดีเป็นนักปฏิวัติประชาธิปไตยที่สำาคัญที่สุดของ “คณะราษฎร” กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้นำา ที่แท้จริงของคณะราษฎร แต่แทนที่ท่านจะนำาการปฏิวัติประชาธิปไตย ของไทยไปสู่ความสำาเร็จ ท่านกลับ เป็นต้นเหตุให้การปฏิวัติพัง พังมาจนถึงวันอสัญกรรมของท่าน และยังจะพังต่อไปอีกนานทีเดียว เมื่อพูดถึงอาจารย์ปรีดีในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำาของการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎร ผมมี แต่การตำาหนิอย่างเดียว เพราะหมอที่รักษาไข้ให้ตายนั้น ไม่มีอะไรที่จะสรรเสริญกันได้ และหมอปฏิวัติ ประชาธิปไตยนั้นสำาคัญกว่าหมอแพทย์และหมอยาหลายร้อยหลายพันเท่า เพราะไม่รับผิดชอบชีวิตของ บุคคลเอกชน แต่รับผิดชอบชีวิตของประเทศชาติและประชาชน ฉะนั้นหมอปฏิวัติที่ทำาให้การปฏิวัติ ประชาธิปไตยพังจะต้องตำาหนิทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งสองต่อสองและต่อมวลชน ทั้งเมื่อยังไม่ตายและเมื่อ ตายแล้ว เพราะถ้าจะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยให้สำาเร็จ ก็จะต้องตำาหนิอาจารย์ปรีดีใน การนำาปฏิวัติที่ผิดพลาดของท่านตามความเป็นจริง และถ้าไม่แก้ไขความผิดพลาดที่อาจารย์ปรีดีปลูกฝังไว้
  • 3. เป็นเวลายาวนานแล้ว การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยจะไม่มีทางสำาเร็จ เนื่องจากผมยกอาจารย์ปรีดีไว้ในฐานะผู้นำาการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎร ดั้งนั้นเมื่อ “หลักไท” หรือใครๆถามมา ไม่ว่า เมื่อท่านมีชีวิตอยู่หรือเมื่อถึงอสัญกรรมแล้วคำาตอบของผมจึงมีแต่การ ตำาหนิ และถ้าจะสรรเสริญท่านก็มีแต่อย่างเดียวว่า ท่านได้สร้างความผิดพลาดไว้เป็นบทเรียนแก่คนรุ่นหลัง สำาหรับแสวงหาแนวทางที่ถูกต้องเพื่อความสำาเร็จของการปฏิวัติประชาธิปไตยต่อไปเท่านั้น และดังนั้นเพื่อ ตำาหนิให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ผมจึงขอเขียนเป็นบทความให้แก่ “หลักไท” แทนที่จะตอบคำาถามเป็นข้อๆ เท่ากับ รวมคำาถามทุกข้อตอบเป็นข้อใหญ่ข้อเดียวเลย ในด้านการเมือง อาจารย์ปรีดีเขียนอธิบายนโยบายและวิธีการปฏิวัติไว้ในเรื่องการก่อตั้งคณะ ราษฎรที่ปารีสว่า ในขณะนั้นคำาว่า Revolution ยังไม่ได้แปลเป็นศัพท์ว่าปฏิวัติจึงแปลเป็นคำาธรรมดาว่า เปลี่ยนแปลงการปกครองจากกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยไม่ได้ อธิบายให้ชัดเจนว่าระบอบการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายนั้น เป็นระบอบอะไร เราจึงไม่รู้ว่าระบอบที่ จะสร้างขึ้นใหม่ตามทัศนะของอาจารย์ปรีดีนั้นเป็นระบอบเผด็จการนั้นเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบ เผด็จการ เพราะระบอบที่กษัตริย์อยู่ได้กฎหมายนั้นอาจเป็นระบอบประชาธิปไตยก้ได้ อาจเป็นระบอบ เผด็จการก็ได้ แสดงว่าความต้องการของอาจารย์ปรีดีนั้น ขอแต่ให้เป็นระบอบที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายก็ แล้วกัน ความไม่ชัดเจนข้อนี้แสดงให้เห็นด้านหนึ่งในบทรัฐธรรมนูญซึ่งอาจารย์ปรีดีเป็นผู้ร่างหรือมีส่วน สำาคัญในการร่าง คือรัฐธรรมนูญฉบับแรกซึ่งเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ชั่วคราวพ.ศ. 2475” ซึ่งอาจารย์ปรีดีเป็นผู้ร่าง มาตรา 1. บัญญัติว่า “อำานาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของ ราษฎรทั้งหลาย ” ซึ่งแสดงว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเพราะระบอบประชาธิปไตยก็คือระบอบที่อำานาจ สูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร (ต่อมาอำานาจสูงสุดของประเทศใช้เป็นศัพท์ว่าอำานาจอธิปไตยและราษฎร ใช้ว่าปวงชน) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ต่อมาได้ตั้งคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งมีอาจารย์ปรีดีเป็นกรรมการคนสำาคัญที่สุดในคณะกรรมการชุดนั้น รัฐธรรมนูญ ถาวรดังกล่าวประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นคือ ยกเลิกระบอบ ประชาธิปไตย โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ว่า “อำานาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม” จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกบัญญัติให้อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวสยาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่สองบัญญัติ ให้อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวสยาม รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับนี้ร่างโดยคนเดียวกันคืออาจารย์ ปรีดี แต่มีหลักสาระตรงกันข้าม คืออำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนนั้นเป็นระบอบประชาธิปไตย(โดยหลัก การ) แต่อำานาจอธิปไตยมาจากปวงชนนั้น หมายความว่าอำานาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชน แต่ เป็นการบิดเบือนและหลอกลวงประชาชนโดยใช้ถ้อยคำาใกล้เคียงกันให้เข้าใจผิด และนำาไปสู่ข้อยุติว่าการ เลือกตั้งคือระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งแบบชั่วช้าสามานย์สักเพียงใดก็ตาม ก็ถือว่าเป็น ระบอบประชาธิปไตย อย่างการเลือกตั้งที่ผ่านมาหยกๆ ซึ่งก็รู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองว่าเลือกตั้งกันอย่างไร ก็ ยังอุตส่าห์บอกกันว่าการปกครองของเราเป็นระบอบประชาธิปไตย เวลานี้ ถ้าถามนักการเมืองและนักวิชาการว่า การปกครองของประเทศไทยเป็นระบอบอะไร เขาจะ ตอบว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย และถามต่อไปว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเพราะอะไร เขาจะตอบว่าเพราะ อำานาจอธิปไตยมาจากปวงชน ถามอีกว่าอำานาจอธิปไตยมาจากปวงชนหมายความว่าอะไร เขาจะตอบว่า ส.ส.ซึ่งทำาหน้าที่นิติบัญญัติและควบคุมการบริหารนั้น เลือกตั้งมาจากประชาชน นี่คือการบิดเบือนและหลอกลวงประชาชนในความหมายของระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ที่สุด และแก้ยากที่สุด เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะการเปลี่ยนแปลงอำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นอำานาจ
  • 4. อธิปไตยมาจากปวงชน ซึ่งอาจารย์ปรีดีเป็นผู้เปลี่ยนแปลงหรือมีส่วนสำาคัญในการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง จึงเห็นได้ว่า การที่อาจารย์ปรีดีแปลคำา Revolution ว่าเปลี่ยนแปลงการปกครองที่กษัตริย์อยู่เหนือ กฎหมายเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายนั้น กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วอาจารย์ปรีดีไม่ได้คิดที่จะ เปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการรูปหนึ่งเป็น ระบอบเผด็จการอีกรูปหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงเป็นดังที่รัชกาลที่7 ทรงบันทึก ไว้ว่า “ผลร้ายของการปกครองแบบ Absolute Monarchy มิได้เสื่อมคลาย แต่เปลี่ยนตัวเปลี่ยนคณะกัน เท่านั้น” (จากพระราชบันทึกของร.7 เสนอต่อรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475) อีกประการหนึ่ง นโยบายของคณะราษฎรที่เรียกว่าหลัก 6 ประการนั้น ขาดหลักสำาคัญที่สุดของ ระบอบประชาธิปไตยไป ขอให้ดูหลัก 6 ประการของคณะราษฎรดังนี้ “1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทาง เศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง 2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3. จะต้องบำารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ ราษฎรทุกๆคนทำา จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 4. จะต้องให้ราษฎรได้สิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่) 5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพมีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าว ข้างต้น 6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร หลักสำาคัญที่สุดอันเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย คือหลักอธิปไตยของปวงชน หลักเอกราช นั้นเป็นหลักสำาคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตยในประเทศเมืองขึ้น การที่ประเทศเมืองขึ้นจะเป็นประเทศ ประชาธิปไตยได้นั้น ต้องมีเอกราชของประชาชาติเสียก่อน แล้วจึงจะมีอธิปไตยของประชาชนได้ ถ้าไม่มี เอกราชของประชาชาติก็ไม่ต้องพูดถึงอธิปไตยของประชาชน แต่ประเทศที่มีเอกราชของประชาชาติแล้ว อาจไม่มีอธิปไตยของประชาชนก็ได้ เพราะอธิปไตยไปตกอยู่ในกำามือของชนส่วนน้อย จะเห็นได้ว่าประเทศ ที่เป็นเอกราชไม่จำาเป็นต้องเป็นประเทศประชาธิปไตยเสมอไป ประเทศเอกราชที่เป็นประเทศเผด็จการก็มี อยู่มากอย่างเยอรมันสมัยฮิตเลอร์มีเอกราชของประชาชาติอย่างสมบูรณ์ แต่อธิปไตยของประชาชนไม่มี เลย ฉะนั้น การเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้นมีเอกราชอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีอธิปไตยของ ประชาชนด้วย ประเทศไทยในสมัยที่อาจารย์ปรีดีเป็นผู้นำาการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎรนั้น ขาดทั้ง เอกราชของประชาชาติและอธิปไตยของประชาชน แต่ 2 อย่างนี้ขาดมากน้อยกว่ากัน คือขาดอธิปไตย ของประชาชนมากกว่าขาดเอกราชของประชาชาติ เพราะถึงแม้จะยังขาดเอกราชขอประชาชาติอยู่บ้างแต่ ประเทศไทยก็เป็นที่ยอมรับแก่คนไทยและแก่ชาวโลก ว่าเป็นประเทศเอกราชประเทศหนึ่งในทวีปอาเซีย ซึ่งกล่าวกันว่า ในตะวันออกไกลมีประเทศเอกราชเพียง 2 ประเทศ คือไทยและญี่ปุ่น ข้อเท็จจริงประการ หนึ่งก็คือในขณะนั้นประเทศไทยเป็นสมาชิกของสมาคมโลกคือสันนิบาตชาติ ซึ่งเอกราชเท่านั้นที่จะเป็น สมาชิกได้ และความหมายของเอกราชนั้นย่อมหมายถึงเอกราชทางการเมือง ไม่หมายถึงปัญหา เศรษฐกิจ ตามสภาพความเป็นจริงของประเทศไทยในสมัยนั้นก็เช่นเดียวกันกับสมัยนี้ คือขาดอธิปไตยขอ ประชาชนมากกว่าขาดเอกราชของประชาชาติ สมัยนั้นประเทศไทยเป็นเอกราชที่ไม่สมบูรณ์ แต่เป็น เผด็จการที่สมบูรณ์ คือเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งแม้ว่าจะมีเสรีภาพของบุคคลพอสมควรแต่ อธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยโดยสิ้นเชิง ปัญหาเอกราชของประชาชาติจึขึ้นต่อปัญหาอธิปไตยของ ประชาชน จะต้องแก้ปัญหาอธิปไตยขอปวงชนให้ตกไปก่อน จึงจะแก้ปัญหาเอกราชของประชาติให้ตกไป
  • 5. ได้ ปัญหาเอกราชก็จะแก้ตกไปโดยง่าย แต่ถ้าเอาปัญหาประชาธิปไตยไปขึ้นต่อปัญหาเอกราช จะแก้ ปัญหาไม่ตก หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งกำาหนดโดยอาจารย์ปรีดีเป็นสำาคัญ ยกเอาหลักเอกราชเป็น หลักที่หนึ่งแต่ไม่มีหลักประชาธิปไตยหรือหลักอธิปไตยของปวงชนปรากฏอยู่เลย ซึ่งที่ถูกแล้วหลักที่หนึ่ง ควรจะเป็นหลักประชาธิปไตยหรือหลักอธิปไตยของปวงชนปรากฎอยู่เลยซึ่งที่ถูกแล้วหลักที่หนึ่งควรจะเป็น หลักประชาธิปไตยหรือหลักอธิปไตยเป็นของปวงชนนี่ก็เป็นหลักฐานอีกข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า Revolution หรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากกษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายเป็นกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายของ อาจารย์ปรีดีนั้น หาได้มีความมุ่งหมายเพื่อจะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยเปลี่ยนระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ หากเพียงแต่เปลี่ยนแปลงระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบเผด็จการอีกรูปหนึ่งเท่านั้นเอง นี่ผมพูดถึงนโยบายปฏิวัติประชาธิปไตยของอาจารย์ปรีดี ในแง่ของหัวใจของระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งนักรัฐศาสตร์ย่อมรู้กันดีว่าหลักการปกครองที่สำาคัญของระบอบประชาธิปไตยในลัทธิ ประชาธิปไตยสากลนิยมนั้น ประกอบด้วย 1) อธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People หรือ Popular Sovereignty) 2) เสรีภาพ (Freedom) 3) เสมอภาค (Equality) 4) หลักนิติธรรม (Rule of Law) 5)รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง (Elected Government) ในบรรดาหลักเหล่านี้ หัวใจคืออธิปไตยของปวงชน จะต้องมีอธิปไตยของปวงชนจึงจะเป็นระบอบ ประชาธิปไตย ถ้าปราศจากอธิปไตยของปวงชนแล้ว ถึงจะมีหลักอื่นๆครบถ้วนก็ไม่ใช่ระบอบ ประชาธิปไตย แต่เนื่องจากอาจารย์ปรีดี นำาคณะราษฎรและประชาชนทั่วไปให้เข้าใจผิดเสียว่า ระบอบ ประชาธิปไตยคืออำานาจอธิปไตยมาจากปวงชนอันหมายถึงการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นหลักการ ปกครองที่ไม่ใช่หัวใจของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ยังเป็นหลักข้อท้ายๆ ซึ่งในบางกรณีอาจมีและใน บางกรณีอาจไม่มีอีกด้วย เช่นในระยะเริ่มแรกของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน นั้นถ้าเลือกตั้งทันทีก็จะยุ่งกันใหญ่ ต้องรอไปอีกปีกว่าจึงจะเลือกตั้งได้ และการเลือกตั้งก็เป็นหลักการ ปกครองของทุกระบอบ หาใช่เป็นหลักการปกครองแต่เฉพาะของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นไม่ ใน ระบอบเผด็จการก็มีการเลือกตั้ง ในระบอบคอมมิวนิสต์ก็มีการเลือกตั้งหากแต่เนื้อหาของการเลือกตั้งแตก ต่างไปจากการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น เช่นการเลือกตั้งครั้งที่แล้วมีเนื้อหาแตกต่างจาก การเลือกตั้งเมื่อพ.ศ. 2476 และ 2480 อย่างเปรียบกันไม่ได้ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2476 และ 2480 เป็นการ เลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยจึงไม่มีเรื่องชั่วช้าสามานย์ เช่นระบบหัวคะแนนเอาการเล่นพนันมาหาเสียง ใช้อำานาจ อิทธิพล เงิน ซึ่งผู้ซื้อก็ทุ่มไม่อั้น ผู้ขายก็ไม่ได้ขายเพราะถ้าไม่ขายจะถึงอดตาย แต่ขายด้วย ความสนุก เพราะเห็นว่าพรรคการเมืองและผู้สมัครส.ส.ไม่ได้คิดจะแก้ไขบ้านเมืองอะไร เลือกหรือไม่เลือก พวกเราก็ไส้แห้งเหมือนเดิม สู้ขายคะแนนๆละร้อยสองร้อยไม่ได้ เอาไปกินเหล้าให้ครึกครื้นกันดีกว่า ฯลฯ นี่คือการเลือกตั้งในระบอบเผด็จการ ซึ่งไม่อาจจะหลีกเลี่ยงความชั่วช้าสามานย์เหล่านี้ไปได้ ทั้งนี้แสดงให้ เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงหลักการอธิปไตยเป็นของปวงชนไปเป็นอธิปไตยมาจากปวงชน ก็คือเอาเงื่อนไขที่ ไม่สำาคัญของระบอบประชาธิปไตยคือรัฐบาลจากการเลือกตั้งไปเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยคือ อธิปไตยของปวงชน ซึ่งเมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้วก็คือเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการ นั่นเอง หลักการปกครอง 5 ประการของระบอบประชาธิปไตยที่กล่าวข้างต้นนั้น ถ้าจะย่อลงไปก็ได้เป็น 2 ประการ คืออธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพของบุคคล หมายความว่าถ้าจะพูดง่ายๆ ระบอบ ประชาธิปไตยก็คืออธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพของบุคคล
  • 6. เมื่อได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า อาจารย์ปรีดีได้ทำาลายอธิปไตยของปวงชนอย่างไร ต่อไปนี้จะขอชี้ให้ เห็นในแง่ที่ว่า อาจารย์ปรีดีได้ทำาลายเสรีภาพของบุคคลอย่างไร เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า กฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์เป็นกฎหมายทำาลายเสรีภาพของบุคคลอย่าง ร้ายแรงเพียงใด กฎหมายคอมมิวนิสต์นั้น ไม่ว่าจะเป็นฉบับใดๆ หาใช่กฎหมายป้องกันหรือปราบปราม คอมมิวนิสต์ไม่ แต่เป็นกฎหมายทำาลายเสรีภาพของบุคคล ซึ่งขัดต่อหลักการปกครองอันสำาคัญเป็นอันดับ สอง แต่อาจารย์ปรีดีซึ่งกลับมาเป็นผู้นำาของคณะราษฎรอีกครั้งหนึ่งหลังจากพญามโนฯหมดอำานาจไปแล้ว กลับรักษากฎหมายฉบับนี้ไว้ต่อไปและเมื่อผมเสนอให้ยกเลิกกฎหมายนี้ ทีแรกอาจารย์ปรีดีก็ไม่ยอม สนับสนุน โดยอ้างว่าการกระทำาของผมเป็นลูกไม้ของพรรคประชาธิปัตย์ ผมต้องอาศัยคุณเตียงช่วย ทำาความเข้าใจเสียแทบล้มแทบตาย อาจารย์ปรีดีจึงยอมสนับสนุนให้ยกเลิกซึ่งถ้าอาจารย์ปรีดีรักเสรีภาพ ของบุคคลจริงๆแล้ว ถึงแม้การยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์จะเป็นลูกไม้ของใครก็ตามทีก็จะต้องสนับสนุน เพราะเป็นลูกไม้ที่ดี เป็นลูกไม้ที่ทำาให้ประชาชนมีเสรีภาพมากขึ้น แต่ความจริงการเสนอยกเลิกกฎหมาย คอมมิวนิสต์เป็นการกระทำาของผมเองไม่เกี่ยวกับใครๆทั้งสิ้น อาจารย์ปรีดีก็ยังหาข้ออ้างที่จะไม่สนับสนุนจน ได้ (เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้ใน”ตะวันใหม่”) อีกเรื่องหนึ่งคือร่างกฎหมายแรงงานซึ่งผมร่างมาด้วยมือเองร่วมกับผู้แทน กรรมกรและคุณดุสิต บุญธรรม ส.ส.นครนายกเป็นผู้เสนอเมื่อ พ.ศ. 2490 ภายหลังยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์เพียงเล็กน้อย แต่ ร่างกฎหมายนี้ก็ตกไปในสภาผู้แทนราษฎร เวลานั้นสภาผู้แทนราษฎรเต็มไปด้วยส.ส.ฝ่ายอาจารย์ปรีดี เพราะพรรคฝ่ายค้านมีแต่พรรคประชาธิปัตย์เพียงพรรคเดียว นอกนั้นเป็นฝ่ายอาจารย์ปรีดีทั้งสิ้น เช่นสห ชีพ แนวรัฐธรรมนูญ อิสระเป็นต้น ถ้าอาจารย์ปรีดีสนับสนุนร่างกฎหมายแรงงาน สภาก็จะรับหลักการและ ออกเป็นกฎหมายได้ เช่นเดียวกับร่างกฎหมายคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้น อาจารย์ปรีดี ยังมีแนวโน้มคัดค้านการนัดหยุดงานของกรรมกร มีข้อเท็จจริงให้ เห็นบางเรื่อง เช่นคัดค้านการนัดหยุดงานของกรรมกรรถไฟ โดยอ้างว่ากรรมกรรถไฟเป็นข้าราชการ เป็นต้น ซึ่งผมเองก็ได้เห็นเรื่องนี้มากับตา จึงเห็นได้ว่าอาจารย์ปรีดีไม่แต่เพียงเป็นปฏิปักษ์ต่ออธิปไตยของปวงชน แต่ยังเป็นปฏิปักษ์ต่อ เสรีภาพของบุคคลด้วย ก็คือเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง ข้อควรกล่าวว่าที่จะขาดเสียมิได้อีกประการหนึ่งคือ การยกรัฐธรรมนูญสูงเกินไปและถือเอา รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสร้างระบอบประชาธิปไตย ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 สถาบันสูงสุดของประเทศมีเพียงสามคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพิ่มเป็นสี่คือ ชาติ ศาสนา พระมหา กษัตริย์และรัฐธรรมนูญ เป็นการยกรัฐธรรมนูญให้สูงเท่าชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ตรงกับ ความจริง เพราะรัฐธรรมนูญที่ว่านี้หมายถึงรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเป็นกฎหมายภายหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ หรือจะไม่มีเสียเลยก็ได้ (อย่าง อังกฤษ) และรัฐธรรมนูญของบ้านเรามีคนฉีกทิ้งเสียบ่อยๆ ฉะนั้น รัฐธรรมนูญจึงมีฐานะแตกต่างอย่าง มากมายกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งดำารงอยู่อย่างมั่นคงตลอดไป การยกรัฐธรรมนูญขึ้นสูง เท่าเทียมกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงไม่ถูกต้องเลย และผู้กระทำาเช่นนี้ก็คือคณะราษฎรซึ่งมี อาจารย์ปรีดีเป็นผู้นำา ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ เขียนไว้ในคอลัมน์ ”เทศกาลบ้านเมือง” ในหนังสือพิมพ์ ”สยามรัฐ” ฉบับวันที่ 11 กรกฎาคม 2521 ว่า “คนไทยเราเข้าใจคำาว่ารัฐธรรมนูญผิดหมดเพราะคำาว่า “รัฐธรรมนูญ” นั้น คณะราษฎรท่านนำามาใช้เมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แล้ว คณะราษฎรท่านเชื่อว่า ท่านจะใช้รัฐธรรมนูญสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาได้ ซึ่งความคิดเช่นนี้ก็ได้สร้างความล้มเหลวใน
  • 7. ทางการเมืองตลอดมา อย่างที่เห็นกันแม้จนทุกวันนี้...คนไทยเรา ด้วยการปลูกฝังของคณะราษฎรทำาให้ เชื่อมั่นว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นของคู่กับประชาธิปไตย และเชื่อว่าเราสามารถสร้าง “ประชาธิปไตย” ด้วย การเขียน”รัฐธรรมนูญ” ฉะนั้น เมื่อประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งล้มเหลวในทางการเมือง ตลอดมา อย่างที่เห็นกันแม้จนทุกวันนี้....คนไทยเราด้วยการปลูกฝังของคณะราษฎรทำาให้เชื่อมั่นว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นของคู่กับประชาธิปไตย และเชื่อว่าเราสามารถสร้าง “ประชาธิปไตย” ด้วยการเขียน “รัฐธรรมนูญ “ ฉะนั้น เมื่อประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งล้มเหลว ก็ “ฉีก” รัฐธรรมนูญฉบับนั้น ทิ้งเสียแล้วก็มานั่ง “ร่าง” รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตยกันใหม่ พอร่างเสร็จ พิจารณาเสร็จ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็โล่งอกโล่งใจ นึกว่าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้ว เพราะมี รัฐธรรมนูญ แต่ต่อมาประชาธิปไตยก็ล้มเหลวอีก ก็ต้อง “ฉีก” รัฐธรรมนูญเพื่อ “ร่างรัฐธรรมนูญสร้าง ประชาธิปไตยกันใหม่” ทำาวนเวียนกันอยู่อย่างนี้จนชาวบ้านชาวเมืองเบื่อ “รัฐธรรมนูญ” และ”ประชาธิปไตย” กันหมดแล้ว ผมว่าทั้งคนฉีกและคนร่างรัฐธรรมนูญต่างฝ่ายต่างเข้าใจความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” และ “ประชาธิปไตย” ผิดด้วยกันทั้งคู่....ปัญหามีอยู่ว่าทุกวันนี้เราตัดสินใจกันหรือยังว่าเรา เป็นประชาธิปไตยกันโดยแน่แท้ ถ้าเรามั่นใจในเรื่องนี้แล้ว เราก็ลงมือเป็นประชาธิปไตยกันได้เลย แล้ว เราจะมีรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมาเสียเวลานั่งลับเดือยเพื่อโต้คารมใน สภานิติบัญญัติฯ เรื่องร่างรัฐธรรมนูญกันอีก ” นี่คือข้อเขียนของดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ ทรรศนะเช่นนี้ของดร.เกษมต่อคณะราษฎรในปัญหารัฐธรรมนูญ ถูกต้อง ผมเชื่อว่าถึงแม้ว่าตอน นี้ดร.เกษมจะเป็นใหญ่เป็นโตก็คงยึดถือทรรศนะที่ถูกต้องนี้อยู่ และด้วยเหตุผลนี้กระมัง ดร.เกษมจึง สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนิดๆหน่อยๆของพรรคกิจสังคมเพราะรู้อยู่ว่าถึงแม้จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ เป็นประชาธิปไตยวิเศษวิโสสักเพียงใด แต่ถ้าไม่แก้ระบอบให้เป็นประชาธิปไตย ก็ไร้ประโยชน์ ทรรศนะที่ยกรัฐธรรมนูญขึ้นสูงลิ่วของคณะราษฎรซึ่งนำาโดยอาจารย์ปรีดี ยังครอบงำาวงการ เมืองไทยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่เพียงแต่ความผิดพลาดที่แก้ยากที่สุดเรื่องหนึ่งเท่านั้น หากยังเป็นเครื่องมือ สำาคัญของการแสวงอำานาจของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองอีกด้วย โดยเฉพาะคือกรณี 14 ตุลาคม 2516 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะรุกรานไทย รัฐบาลไทยซึ่งมีจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีและ อาจารย์ปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศนโยบายเป็นกลางไว้ ครั้นเมื่อญี่ปุ่นยกพล เข้าไทย และเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อขอเดินทัพผ่านไทย ระหว่างที่ยังไม่มีการตกลง กันมีการสู้รบกับญี่ปุ่นหลายแห่งในที่สุดคณะรัฐมนตรีลงมติอนุญาตให้ญี่ปุเดินผ่านไทย ซึ่งไม่ผิดนโยบาย เป็นกลางแต่อย่างใด ถึงกระนั้นคนไทยทั่วประเทศก็ไม่พอใจญี่ปุ่น และมีการต่อต้านญี่ปุ่นโดยทั่วไป ต่อมาจอมพลป.พิบูลสงคราม ได้ทำาลายนโยบายเป็นกลางโดยพลการด้วยการเข้าเป็นมิตรร่วม รบร่วมรุกรานกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา อาจารย์ปรีดีในระหว่างดำารงตำาแหน่งผู้ สำาเร็จราชการแทนพระองค์ได้ก่อตั้งขบวนเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ ครั้นเมื่อญี่ปุ่นยอมจำานน อาจารย์ปรีดี ในฐานะผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ได้ออกประกาศสันติภาพมี ความตอนหนึ่งว่า ”โดยที่ประทศไทยได้เคยถือนโยบายอันแน่วแน่ที่จะรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และจะต่อสู้กับการรุกรานของต่างประเทศทุกวิถีทาง ดังปรากฎเห็นได้ชัดจากการที่ได้มีกฎหมายกำาหนด หน้าที่คนไทยในเวลารบ เมื่อพุทธศักราช 2484 อยู่แล้วนั้น ความจำานงอันแน่วแน่ดังกล่าวนี้ได้แสดงให้ เห็นประจักษ์แล้ว ในเมื่อญี่ปุ่นได้ยาตราทัพเข้าในดินแดนประเทศไทยในวันที่8 ธันวาคม 2484 โดยได้มี การต่อสู้การรุกรานทุกแห่ง และทหาร ตำารวจประชาชนพลเมืองได้เสียชีวิตไปในการนี้เป็นอันมาก “เหตุการณ์อันปรากฎเป็นสักขีพยานนี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การประกาศสงครามเมื่อ วันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2485 ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ตลอดทั้งการกระทำาทั้งหลายซึ่ง
  • 8. เป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้นเป็นการกระทำาอันผิดจากเจตจำานงของประชาชนชาวไทยและฝ่าฝืนขืน ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประชาชนชาวไทยทั้งภายในและภายนอก ประเทศซึ่งอยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือสนับสนุนสหประชาชาติผู้รักที่จะให้มีสันติภาพในโลกนี้ ได้กระทำาการ ทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือสหประชาชาติดังที่ประชาชาติส่วนมากย่อมทราบอยู่แล้ว ทั้งนี้เป็นการแสดง เจตจำานง ของประชาชนอยู่แล้วไทยอีกครั้งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยต่อการประกาศสงครามและการกระทำาอันเป็น ปฏิปักษ์ต่อสหประชาชาติดังกล่าวมาแล้ว “ บัดนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ยอมปฏิบัติตามคำาประกาศของสหรัฐอเมริกา บริเตนใหญ่ จีน และสหภาพ โซเวียต ซึ่งได้กระทำา ณ นครปอตสดัมแล้ว สันติภาพจึงกลับคืนมาประเทศไทย อันเป็นความประสงค์ของ ประชาชนชาวไทย “ผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาธิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอประกาศโดยเปิดเผย แทนประชาชนชาวไทยว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะไม่ผูกพัน ประชาชนชาวไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับสหประชาชาติประเทศไทยได้ตัดสินใจที่จะกลับคืนมาซึ่งสัมพันธไมตรี อันดีอันเคยมีมากับสหประชาชาติเมื่อก่อนวันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2484 และพร้อมที่จะร่วมมือเต็มที่ ทุกทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้....” ภายหลังประกาศสันติภาพ มีการสวนสนามของขบวนเสรีไทยที่ถนนราชดำาเนินผ่านอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย อาจารย์ปรีดีเป็นประธาน ท่านได้กล่าวคำาปราศรัยตอนหนึ่งว่า “ ผู้ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าครั้งนี้ถือว่าทำาหน้าที่เป็นผู้รับใช้ชาติ มิได้ถือว่าเป็นผู้กู้ชาติ การกู้ชาติ เป็นการกระทำาของคนไทยทั้งปวงซึ่งแม้ผู้ไม่ได้ร่วมองค์การนี้โดยตรง ก็ยังมีอีกประมาณ 17 ล้านคน ที่ได้ กระทำาโดยอิสระของคน ในการต่อต้านด้วยวิถีทางที่เขาเหล่านั้นสามารถทำาได้ หรือเอากำาลังใจช่วยขับไล่ ให้ญี่ปุ่นพ้นไปจากประเทศไทยโดยเร็วก็มีหรือแม้แต่คนไทยที่นั่งอยู่โดยไม่ได้ทำาการขัดขวางผู้ต่อต้าน ญี่ปุ่นหรือผู้รับใช้ชาติ ซึ่งเท่ากับเปิดโอกาสให้ผู้รับใช้ชาติทำางานได้สะดวกฯลฯ เป็นต้น คนไทยทั้งปวง เหล่านี้ ทุกๆคนร่วมกันทำาการกู้ชาติของตนด้วยทั้งสิ้น...” การตั้งขบวนเสรีไทย การร่วมมือกับสหประชาชาติ การประกาศสันติภาพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขให้ ประเทศไทยไม่ต้องเป็นประเทศแพ้สงคราม ตลอดจนคำาปราศรัยอย่างถูกต้องว่าการกู้ชาติเป็นเรื่องของคน ไทยทั้ง 17 ล้านคนนั้น จะต้องเป็นความดีความชอบอันยิ่งใหญ่ของอาจารย์ปรีดี ถ้าหากการกระทำาเหล่า นั้นไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงการขึ้นต่อญี่ปุ่นไปเป็นการหวังพึ่งหรือขึ้นต่อหรือรับใช้อเมริกา ถ้าอาจารย์ปรีดีนำาขบวนขับไล่ญี่ปุ่นสำาเร็จ ทำาให้ประเทศไทยเป็นอิสระอย่างแท้จริงและสถาปนา ระบอบประชาธิปไตยขึ้นแทนระบอบเผด็จการ ท่านจะเป็นรัฐบุรุษของประเทศไทย ข้อเท็จจริงที่ผมจะเล่าต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่า ความคิดของอาจารย์ปรีดีนั้น หวังพึ่งอเมริกาหลัง สงคราม เท่าๆกับจอมพลป.หวังพึ่งญี่ปุ่นในระหว่างสงคราม เนื่องจากผมรู้ชัดว่าจอมพลป.ซึ่งพ้นคดีอาชญากรสงครามแล้ว เตรียมการจะทำารัฐประหารโดย ตนเองไม่ออกหน้า แต่อาศัยคนอื่นที่คิดทำาอยู่แล้วเหมือนกัน เช่น พล.ท.ผินชุณหะวัณ พ.อ.เผ่า ศรียา นนท์ ที่จริงถ้าว่ากันในทางส่วนตัวแล้ว จอมพลป.ทำารัฐประหารผมไม่เดือดร้อนอะไร กลับจะดีเสียอีก เพราะเป็นพรรคพวกเก่ากับ จอมพลป. แต่ผมไม่อยากให้เกิดรับประหาร อยากให้ดำาเนินการตามวิถีทาง รัฐสภากันไปอย่างนั้นผมจึงไปหาอาจารย์ปรีดีที่ทำาเนียบท่าช้าง ซึ่งผมไม่เคยไปเลย เพียงแต่พบท่านใน สภาตามปกติเท่านั้น ที่ผมไปหาท่านที่ทำาเนียบท่าช้างก็เพื่อเรียนว่าจะเกิดรัฐประหาร ขอให้ป้องกันเสีย และผมเห็นว่าจะป้องกันได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องไปทำาอะไรให้ใครเดือดร้อนด้วย อาจารย์ปรีดีบอกผมว่าคุณ ประเสริฐวิตกไปเปล่าๆ จอมพลป.ไม่มีทางทำารัฐประหาร ผมไปหาคุณเตียง เขาก็นอนหัวเราะ ผมไปหา อาจารย์ปรีดีอีก 3-4 ครั้งจนท่านชักจะโกรธผม เพราะผมไปเตือนซำ้าซากในที่สุดท่านก็พูดกับผมว่าถ้าจอม
  • 9. พลป.ทำารัฐประหารท่านจะถอนประกาศสันติภาพ แล้วอเมริกันก็จะมาเล่นงานจอมพลป.เอง ผมจึงเรียนท่าน ว่า เดี๋ยวนี้อเมริกันเอากับจอมพลป.แล้ว และไม่เอากับท่านแล้วครับเท่านั้นเอง อาจารย์ปรีดีก็แสดงความ โกรธต่อผมอย่างชัดเจน ผมจึงลากลับ และเดินทางไปสุราษฎร์ นอนรอรัฐประหารอยู่ที่บ้าน พอรุ่งเช้าเห็น นายอำาเภอเดินมาแต่ไกลจะไปจังหวัด ผมด็รู้ทันทีว่าได้เรื่องแล้ว เพราะนายอำาเภอไม่เคยไปจังหวัด แต่เช้า พอนายอำาเภอเดินมาถึงก็บอกกับผมว่า เมื่อคืนยึดอำานาจแล้วครับ เคราะห์ดีที่อาจารย์ปรีดี เผ่นลงเรือจ้างหลังทำาเนียบทัน เรื่องนี้ผมเอาไปวิจารณ์ท่านต่อหน้า คณะของท่านเมื่อพบกันที่ปักกิ่ง ซึ่งท่านถือว่าความพ่ายแพ้ที่ผ่านมาเกิดจากความผิดพลาดของคนอื่นทั้ง นั้น ท่านนั่งตำาหนิพรรคพวกทุกคนอยู่ตลอดเวลา ผมจึงเรียนขึ้นว่าท่านคนเดียวเป็นคนผิด คนอื่นไม่ผิด เพราะท่านนำาเขาผิดและคนอื่นเขาทำาตามท่าน ท่านเป็นผู้รับผิดชบ เพราะฉะนั้นอย่าตำาหนิใครเลย นอกจากตำาหนิตัวท่านเอง ท่านโกรธผมไปพักใหญ่ แต่ต่อมาก็ชวนผมไปกินข้าวและเรื่องนี้เองที่คุณสังข์ ถามผมอย่างที่เล่าไว้ในตอนต้นและเรื่องนี้ผมเขียนไว้ใน”ตะวันใหม่”แล้ว ประเด็นสำาคัญของข้อเท็จจริงที่เล่ามานี้อยู่ที่ว่าอาจารย์ปรีดีเมื่อตั้งขบวนเสรีไทยขับไล่ญี่ปุ่นออกไปแล้ว ไม่ เป็นอิสระแก่ตนเองแต่กลับไปหวังพึ่งอเมริกา ผมเองได้พบเสรีไทยชั้นใหญ่ๆ หลายคน ล้วนแล้วแต่เชียร์อเมริกาก็จะมา เล่นงานจอมพลป.เองก็เห็นได้ชัดทันทีว่า อาจารย์ปรีดีหวังพึ่งอเมริกาสุดตัวเสียแล้ว แต่จอมพลป.พึ่งอเมริกาเก่งกว่า จึงทำารัฐประหารโค่นอาจารย์ปรีดีได้ง่ายดาย แล้วก็พึ่งอเมริกาเต็มเหยียดตลอดมาจนเกือบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเลย อย่างที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่า การที่นโยบายต่างประเทศของไทยหลังสงครามเสียหายไปอย่างมากสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ต้นตอก็อยู่ที่การหวังพึ่งอเมริกาจนเกินขอบเขตของอาจารย์ปรีดีตั้งแต่สมัยทำาเสรีไทยนั่นเอง จอมพลป.และคนอื่นๆ เป็นแต่เพียงผู้สืบทอดการหวังพึ่งอเมริกาของอาจารย์ปรีดีเท่านั้นเอง ผมคิดว่า ถ้าอาจารย์ปรีดีหวังพึ่งตนเองไม่หวังพึ่งอเมริกา จอมพลป.คงจะทำารัฐประหารต่อท่านไม่สำาเร็จ ส่วนนโยบายภายในประเทศหลังสงคราม อาจารย์ปรีดีก็คงรักษาระบอบเผด็จการไว้ตามเดิม จะเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2489 ซึ่งท่านร่างเองก็คงบัญญัติไว้ว่า “อำานาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวไทย” ตัดเสรีภาพทางการเมืองอย่าง รุนแรงโดยกำาหนดให้มีพรรคการเมืองภายใต้กฎหมายพรรคการเมืองและไม่อนุญาตให้ตั้งสหภาพแรงงาน นอกจาก การไม่สนับสนุนให้มีกฎหมายแรงงานดังกล่าวมาแล้ว สำาหรับทัศนคติต่อพรรคคอมมิวนิสต์นั้น อาจารย์ปรีดีถือว่าตนเองเป็นผู้รู้ลัทธิมาร์กซ์ลัทธิเลนิน แต่ตาม ความเห็นของผม ท่านรู้ไม่ถึงแก่นแท้ แต่ท่านไม่ปฏิเสธการติดต่อกับพรรคคอมมิวนิสต์ พคท.พยายามทำาแนวร่วมกับ ท่านหลายครั้งแต่ไม่เคยสำาเร็จ ครั้งหลังสุดพคท.ตั้งแนวร่วมรักชาติ มีพ.ท.พโยม จุลานนท์เป็นผู้แทนในต่างประเทศ มีหน้าที่สำาคัญในการทำาแนวร่วมกับอาจารย์ปรีดี แต่เขาเล่ากันว่า พ.ท.พโยมกลับเป็นต้นเหตุให้การทำาแนวร่วมกับ อาจารย์ปรีดีพัง อาจารย์ปรีดีนั้น เพียงแต่เป็นแนวร่วมกับพคท.ก็ยังไม่ได้ แต่ก็ยังมีคนพูดไปได้ว่าอาจารย์ปรีดีเป็น คอมมิวนิสต์ ส่วนความสัมพันธ์กับประเทศสังคมนิยมนั้น อาจารย์ปรีดีทำาได้เหนือกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ คือเป็นผู้ เปิดความสัมพันธ์การทูตกับสหภาพโซเวียตและกำาลังเตรียมจะเปิดความสัมพันธ์การทูตกับจีนคอมมิวนิสตืเมื่อพรรค คอมมิวนิสต์ชนะในแผ่นดินใหญ่เมื่อพ.ศ. 2492 แต่อาจารย์ปรีดีถูกโค่นเสียก่อน ความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนจึง เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อม.ร.ว.คึกฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ผมเข้าใจว่าการที่อาจารย์ปรีดีไปลี้ภัยในประเทศจีนก็เพื่อหลบคดีลอบปลงพระชนม์และจิตใจของอาจารย์ ปรีดีคงชอบเสรีนิยมมากกว่าสังคมนิยม เมื่อหมดอายุความล้วจึงย้ายจากจีนไปอยู่ฝรั่งเศส และที่ท่านไม่กลับเมืองนั้น ผมคิดว่าท่านอาจจะกลัวมากไปหน่อย ผมเคยบอกกับคนใกล้ชิดของอาจารย์ปรีดีว่า กลับมาเมืองไทยดีกว่า จะได้หมด ปัญหาที่สงสัยกันไปต่างๆนานา คนใกล้ชิดบอกว่าท่านกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย ผมบอกว่าเมื่อหนุ่มไม่กลัว กล้าล้มระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งน่ากลัวที่สุด แก่แล้วทำาไมจึงกลัว ตอนหนุ่มต่างหากน่ากลัว เพราะจะยังอยู่อีกนานแก่แล้ว อยู่อีกไม่กี่ปีจะกลัวไปทำาไม และที่จริงก็ไม่เห็นจะมีอะไรขอให้ดูจอมพลถนอมจอมพลประภาสถูกหาว่าเป็นถึงทรราชก็ มาอยู่บ้านสบายดีผมเคยฝากคนใกล้ชิดไปเรียนอาจารย์ปรีดีว่า กลับมาเมืองไทยเสียดีกว่า เหล่านี้ คือปัญหาการเมืองในด้านนโยบายอย่างย่อๆของอาจารย์ปรีดีตามที่ผมเคยเห็นมา
  • 10. ทีนี้จะขอกล่าวถึงด้านวิธีการของท่าน วิธีการของอาจารย์ปรีดีคือวิธีรัฐประหาร จะเห็นได้จากคำาอธิบาย ของอาจารย์ปรีดี เกี่ยวกับวิธีการปฏิวัติประชาธิปไตย ในเอกสารเรื่อง “บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร และระบบประชาธิปไตย” ว่า “ โดยคำานึงถึงสภาพของสยามที่ถูกแวดล้อมโดยอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งชาติทั้ง สองนี้มีข้อตกลงกันถือเอาสยามเป็นประเทศกันชน แต่เขาอาจพร้อมกันยกกำาลังทหารเข้ามายึดครอง แล้วแบ่งดินแดนสยามไปเป็นเมืองขึ้นหรืออยู่ใต้อำานาจอิทธิพลของประเทศทั้งสอง ดังนั้นเราจึงเห็นว่า วิธีการเปลี่ยนการปกครองดังกล่าวจะต้องกระทำาโดยวิธี Coup d’etat ซึ่งเราเรียกกันด้วยคำาไทยธรรม ดาว่าการยึดอำานาจโดยฉับพลัน เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีผู้ใดตั้งศัพท์ไทยว่า “รัฐประหาร” เพื่อ ถ่ายทอดศัพท์ฝรั่งเศสดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการแทรกแซงของมหาอำานาจเพราะเมื่อคณะ ราษฎรได้อำานาจโดยฉับพลันแล้ว มหาอำานาจก็จะต้องเผชิญต่อสถานการณ์ที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Fait accompli คือพฤติการณ์ที่สำาเร็จรูปแล้ว” รัฐประหาร หมายถึงการเปลี่ยนรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยวิธีผิดกฎหมาย รัฐประหารไม่ หมายความถึงการเปลี่ยนรัฐหรือเปลี่ยนระบอบการปกครอง ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้วจะนำาเอารัฐประหารมาใช้ในการ เปลี่ยนรัฐหรือเปลี่ยนระบอบการปกครองมิได้ หากจะมีได้ก็ในกรณีพิเศษโดยแท้เท่านั้น แต่อาจารย์ปรีดีกำาหนดให้ใช้วิธีการรัฐประหารในการปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งใช้ไม่ได้สำาหรับ ประเทศไทย และนี่คือเหตุสำาคัญประการหนึ่งของความล้มเหลวของการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎร ซึ่งนำา โดยอาจารย์ปรีดี พวกเราเกลียดกลัวรัฐประหารกันมาก และเมืองไทยมีรัฐประหารมากครั้งจนผมเองก็จำาไม่ได้ แต่พวกเรา มักจะโยนเรื่องรัฐประหารไปให้ทหาร ที่จริง ต้นคิดรัฐประหารของไทยเป็นพลเรือน ไม่ใช่ทหาร ทหาร เพียงแต่เอาอย่างพลเรือนเท่านั้นเอง และพลเรือนผู้ต้นคิดรัฐประหารให้พวกเราเกลียดกลัวกันหนัก หนา ก็คืออาจารย์ปรีดีนั่นเอง อาจารย์ปรีดีคิดอะไรและทำาอะไรไว้ ผู้คนมักจะเอาอย่างและแก้ยาก ดังเรื่องราวในด้านนโยบายที่ผมเล่ามาในด้านวิธีการก็เช่นเดียวกัน ความคิดรัฐประหารและการทำา รัฐประหารของอาจารย์ปรีดี ผู้คนก็เอาอย่างและแก้ยากเช่นเดียวกัน แม้จนถึงวันนี้ผู้คนก็ยังไม่นอนใจ ว่าจะเกิดรัฐประหารหรือไม่ ทั้งๆที่ต้นคิดรัฐประหารถึงอสัญกรรมไปแล้ว ฉะนั้น ความคิดรัฐประหารและการทำารัฐประหารจึงเป็นความผิดพลาดร้ายแรงของอาจารย์ปรีดีในด้านวิธี การ ไม่น้อยกว่าในด้านนโยบาย เมื่อได้กล่าวถึงนโยบายและวิธีการในการปฏิวัติของคณะราษฎร ซึ่งนำาโดยอาจารย์ปรีดีแล้ว เนื่องจากใน ระยะเดียวกัน มีนโยบายและวิธีการปฏิวัติประชาธิปไตยของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งควรเอานำามาเปรียบเทียบเพื่อประกอบการ พิจารณา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ทรงรับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ ได้ทรงพระราชดำาริที่จะทำาการ ปฏิวัติประชาธิปไตยมาโดยตลอด และเมื่อเสด็จประพาสสหรัฐฯ ได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในสหรัฐฯว่า เมื่อเสด็จนิวัตพระนครแล้วจะทรง “ ทำาการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นหลัง จากเสด็จนิวัติพระนคร จึงทรงมีพระบรมราชโองการดำารัสสั่งให้กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดี กระทรวงการต่างประเทศ ทรงจัดการร่างรัฐธรรมนูญ กรมหมื่นเทววงศ์ทรงมอบให้นายเรมอนด์ บี สตี เวน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศกับพระยาศรีสาร วาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ บุคคลทั้งสองเห็นว่ายังไม่ ควรให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อตั้งสภาผู้แทนราษฎรในทันที แต่ควรดำาเนินการเป็นขั้นๆ โดยขยายการ ใช้กฎหมายเทศบาล (เวลานั้นเรียกว่าสุขาภิบาล) ออกไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรชำานาญในการ เลือกตั้งตามหลักของระบบรัฐสภา ในขณะเดียวกันก็ให้จัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้น โดยใช้ สภาองคมนตรีเป็นแกนของสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว เพราะว่าสภาองคมนตรีซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 40 คนนั้น เป็นผู้แทนของปัญญาชนในประเทศไทยอยู่แล้ว ถ้าใช้สภาองคมนตรีเป็นแกนและขยาย สมาชิกภาพให้กว้างออกไป โดยประกอบด้วยผู้แทนของสาขากิจการและสาขาอาชีพต่างๆ สภา องคมนตรีจะกลายเป็นสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวได้ และดำาเนินการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเอารัฐสภาซึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกจากการเลือกตั้งเข้าแทนที่สภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว พร้อมทั้งโอนอำานาจอธิปไตย
  • 11. ซึ่งเป็นของพระมหากษัตริย์ไปให้แก่รัฐสภา รัชกาลที่ ๗ ทรงเห็นชอบกับนโยบายนี้ และทรงกำาหนด ให้เปิดรัฐสภาในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันจักรีครบรอบ ๑๕๐ ปี ” แต่นโยบายนี้ถูกคัดค้านจากวงการที่มีอิทธิพลสูง รัชกาลที่ ๗ จึงทรงเลื่อนวันพระราชทาน รัฐธรรมนูญออกไป เพื่อศึกษาเรื่องนี้ให้ดี ยิ่งขึ้น แต่ขณะที่เสด็จประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน คณะราษฎรก็ทำารัฐประหารปฏิวัติเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ สำาหรับวิธีการนั้น รัชกาลที่ ๗ ไม่ทรงมีพระราชดำาริที่จะใช้วิธีการรัฐประหาร แต่จะทรงดำาเนินการด้วย อำานาจสมบูรณาญาสิทธิ์ที่ทรงมีอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า ในระยะแรก คณะราษฎรกับรัชกาลที่ ๗ มีความเห็นตรงกัน คือสถาปนาอำานาจอธิปไตยของ ปวงชน ทางด้านคณะราษฎรแม้ว่าจะไม่สู้ชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะในนโยบายเพียงแต่กำาหนดว่า “การเปลี่ยนแปลง การปกครองของกษัตริย์เหนือกฎหมายเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย” ก็ตาม แต่ใน รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนว่า “ อำานาจสูงสุดนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ซึ่งรัชกาลที่ ๗ ไม่ได้ทรงขัดแย้ง ในข้อนนี้ แต่ทรงยืนยันตลอดมาว่า “ ข้าพเจ้าได้พูดไว้นานแล้วว่า ข้าพเจ้าจะยอมสละอำานาจของข้าพเจ้า ให้แก่ราษฎรทั้งปวง...” และว่า “ โดยเหตุนี้ เมื่อคณะผู้ก่อการฯ ร้องขอให้ข้าพเจ้าเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าจึงรับรองได้ทันที โดยไม่มีเหตุข้องใจอย่างใดเลย ” (จากพระราชบันทึก) ต่อมา เกิดความขัดแย้งในปัญหาการเมืองระหว่างร.๗ กับคณะราษฎรมากมายหลายเรื่อง แต่มูลเหตุมา จากเรื่องเดียวคือคณะราษฎรยกเลิกเรื่องหลักสาระสำาคัญของระบอบประชาธิปไตยเสีย โดยเปลี่ยนหลัก “อำานาจ อธิปไตยเป็นของปวงชน” ซึ่งก็คือเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการนั่นเอง และโดยเหตุนี้ ร.๗ จึง ทรงประโยคต่อไปในพระราชบันทึกว่า “ แต่ไม่สมัครที่จะสละอำานาจให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะใด คณะหนึ่ง เว้นแต่จะรู้ว่า เป็นความประสงค์ของประชาชนอันแท้จริงเช่นนั้น ” การที่คณะราษฎร ภายใต้การนำาของอาจารย์ปรีดี เริ่มเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการ ตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ นั้น ไม่ “ เป็นความประสงค์ของประชาชนอัน แท้จริงเช่นนั้น ” เพราะประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตย ต้องการอำานาจอธิปไตยของปวงชน ฉะนั้น เมื่อนำาเอานโยบายและวิธีการปฏิวัติประชาธิปไตยของร.๗ กับของคณะราษฎรภายใต้การนำาของ อาจารย์ปรีดีมาเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า นโยบายและวิธีการของร.๗ ถูกต้องกว่า ถ้า ร.๗ ทรงทำาการปฏิวัติ ประชาธิปไตยเอง ตามนโยบายและวิธีการดังกล่าว โดยคณะราษฎรไม่ชิงทำาเสียก่อนการปฏิวัติประชาธิปไตยใน ประเทศไทยก็คงจะสำาเร็จไปนานแล้ว ผมขอกล่าวถึงด้านการเมืองของอาจารย์ปรีดี เพียงย่อๆเท่านี้ ด้านเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจของอาจารย์ปรีดีก็คือ “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ซึ่งอาจารย์ ปรีดีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และขณะเตรียมเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร พระยามโนฯนายกรัฐมนตรีก็ปิดสภา เสียก่อน มีผู้เข้าใจว่า “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ของอาจารย์ปรีดีนั้น เป็นแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ จึง เข้าใจว่าอาจารย์ปรีดีเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติคนแรก ความจริง “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” หรือ “สมุดปกเหลือง” ของอาจารย์ปรีดีนั้นเป็นนโยบาย (Policy) ไม่ใช่แผน อาจารย์ปรีดีเพียงแต่เสนอ นโยบายเศรษฐกิจ ยังไม่ได้เสนอแผนเศรษฐกิจ อาจารย์ปรีดีจะเสนอแผนเศรษฐกิจ ยังไม่ได้เสนอแผน เศรษฐกิจ อาจารย์ปรีดีจะเสนอแผนเศรษฐกิจเมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับนโยบายเศรษฐกิจแล้ว แต่นโยบาย เศรษฐกิจไม่ได้เข้าสภา อาจารย์ปรีดีจึงไม่ได้เสนอแผนเศรษฐกิจเลย ฉะนั้นการที่มีผู้เข้าใจว่าอาจารย์ปรีดี เป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจคนแรก จึงไม่ตรงกับความจริง ผู้เสนอแผนเศรษฐกิจคนแรกคือ จอมพลสฤษฎิ์ ธนะ รัชต์ ความจริงคือ ในระยะแรกของการปฏิวัติประชาธิปไตย 2475 นั้น มีนโยบายเศรษฐกิจอยู่สอง นโยบาย คือนโยบายของฝ่ายสมเด็จพระปกเกล้า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของพระยามโนฯและนโยบาย