SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  76
Télécharger pour lire hors ligne
เจ้าของ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คณะที่ปรึกษา
ธวัชชัย อรัญญิก	
จุฑาพร เริงรณอาษา	
	
	
สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์	
วิไลวรรณ ทวิชศรี	
อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์	
พงศธร เกษสำ�ลี	
ศุกรีย์ สิทธิวนิช	
สมรัก คำ�พุทธ	
มานิตย์ บุญฉิม	

ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา
ตะวันออกกลางและอเมริกา
รักษาการรองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ
ที่ปรึกษาระดับ 10
รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว
รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน
รองผู้ว่าการด้านตลาดอาเซียน เอเชียใต้และแปซิฟิกใต้
รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด
รองผู้ว่าการด้านบริหาร
ผู้อำ�นวยการฝ่ายวางแผน

บรรณาธิการ
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล	

ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด

กองบรรณาธิการ
อ้อยทิพย์ นิธิยานันท์	
วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์	
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์	
จรัญ ชื่นในธรรม	
บุษกร พรหมมาโนช	
โศรยา หอมชื่น	
ณัฏฐิรา อำ�พลพรรณ	
สุจิตรา แย้มงามเหลือ	

ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ
ผู้อำ�นวยการกองติดตามและประเมินผล
ผู้อำ�นวยการกลุ่มสารสนเทศการตลาด
ผู้อำ�นวยการกลุ่มฐานข้อมูลการตลาด
ผู้อำ�นวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว
หัวหน้างานวิชาการ
พนักงานวางแผน
พนักงานบันทึกข้อมูล
Co nt e n t

6-15

| Tourism Situation

16-19

| Tourism Research

		

•	สถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
มกราคม - กันยายน 2556

		

•	สรุปสาระสำ�คัญผลการสำ�รวจความคิดเห็นของประชาชน
ที่มีต่อการท่องเที่ยวไทย

25-30

		

| Tourism Trend

•	WTM Global Trends Report
•	Hostel Part 2 วิพากษ์วัฒนธรรมแบ็คแพ็คเกอร์

31-40
41-48
		

| Tourism Seminar

		

| Tourism Talk

•	World Travel & Tourism Council
The Asia Summit : Staying Ahead of Tomorrow

•	คุยเรื่องเมืองเชียงใหม่

		
20-24

| From the Cover

•	มรดกโลก-มรดกใคร? สุโขทัย
กับการเปลี่ยนกระบวนวิธีคิดด้านท่องเที่ยววัฒนธรรม

49-55
56-61
62-73

		

| Low Carbon Tourism

		

| Pop Culture Tourism

		
		

| Tourism @ AEC

•	เที่ยวตลาดเห็บ

•	SOFT CONTENT บ้านไว้ก่อน น้องสอนไว้

• เตรียมพร้อมท่องเทียวไทย ก้าวไกลสู่ AEC
่
• กรณีปราสาทพระวิหาร : คิดบวก ไม่คดลบ และไม่รบ
ิ

Tourism Journal 1/2014
จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset)
และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต
ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ
คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้าอนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2
โทรสาร : 0 2253 7468

Tourism Authority of Thailand
1600 New Phetchaburi Road,
Makkasan, Ratchathewi,
Bangkok 10400, Thailand
tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2
fax: +66 2253 7468
email: etatjournal@tat.or.th
website: etatjournal.com
ebook: www.issuu.com/etatjournal
www.ebooks.in.th/etatjournal
twitter: @etatjournal
บทบรรณาธิการ

บทความในจุลสารวิชาการการท่องเที่ยวฉบับนี้ค่อนข้างหลากหลาย ตามวิถีการท่องเที่ยวที่มี
หลายองค์ประกอบ เฉกเช่นเดียวกับศาสตร์ทางการท่องเที่ยวที่หล่อหลอมศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้
ด้ ว ยกั น ไม่ ว่ า จะเป็ น การตลาด การบิ น การจั ด การอย่ า งยั่ ง ยื น มานุ ษ ยวิ ท ยา จิ ต วิ ท ยา
การท่องเที่ยวจึงได้ยืมศัพท์เทคนิคของศาสตร์อื่นๆ มาใช้ เช่น PANKs, Happiness Index, Low
Carbon, Pop Culture, Soft Content
ว่ากันไปแล้ว ในปัจจุบันประเทศไทยมีการวิจัยด้านการท่องเที่ยวอยู่พอสมควร แต่ยังหาคนไปใช้
ไม่ค่อยได้มากนัก อาจเป็นเพราะว่านักทฤษฎีพูดคุยกับนักปฏิบัติน้อยไปหรือเปล่า องค์การ
การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้จัดเวทีให้คน 2 กลุ่มนี้ได้มาพบปะกันในเวที TedQual Network
สำ�หรับในประเทศไทย ใครล่ะจะเป็นผู้ริเริ่ม
การเมืองไทยยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองว่าจะมีผลมากน้อยเพียงไรกับการท่องเที่ยว ได้แต่
หวังว่าในปีใหม่นี้ บ้านเมืองคงไม่มีความขัดแย้ง เพราะการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่อ่อนไหว
กับข่าวเชิงลบมากที่สุด
สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ดร. วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์
กองบรรณาธิการ
To u r i s m Si t u at i o n

สถานการณ์การท่องเที่ยว

ตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มกราคม-กันยายน ปี 2556
เรื่อง : งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ททท.

ภาพรวม
	 สถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 มีทิศทางที่สดใส
ทังจำ�นวนนักท่องเทียวและรายได้เติบโตร้อยละ 23 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีจ�นวนนักท่องเทียวประมาณ 19.67 ล้านคน
้
่
ำ
่
สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวประมาณ 853,122 ล้านบาท (ทั้งนี้ สถิติเดือนกันยายนยังคงเป็นตัวเลขประมาณการ
จากกรมการท่องเที่ยว)
	 ตลาดที่เป็นแรงผลักสำ�คัญที่ทำ�ให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตแบบ
ก้าวกระโดด ยังคงเป็นตลาดจีนและรัสเซีย ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่
ที่ เ ติ บ โตก้ า วกระโดดต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ป ลายปี ที่ ผ่ า นมา โดยในช่ ว ง
9 เดือนแรกตลาดจีนเติบโตร้อยละ 93 สูงที่สุด ส่วนหนึ่งเกิดจาก
การหัน มาจองทัวร์เข้าไทยเป็นจำ�นวนมากก่อนที่ราคาทัวร์จะปรับตัว
สู ง ขึ้ น ในเดื อ นตุ ล าคมเป็ น ต้ นไป อั น เป็ น ผลจากกฎหมายท่ อ งเที่ ย ว
ฉบับใหม่ของจีน ส่วนตลาดรัสเซีย เติบโตร้อยละ 37 นอกจากนั้น
ตลาดอาเซี ย นยั ง เป็ น กลุ่ ม ตลาดศั ก ยภาพอี ก กลุ่ ม หนึ่ ง ที่ จ ะต้ อ ง
จับตามองในด้านการเติบโต โดยเฉพาะตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว
เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมีขนาดตลาดมากกว่า 500,000 คนขึ้นไป
และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ตั้งแต่ระดับร้อยละ 14-40 โดยเฉพาะ
ตลาดมาเลเซีย ซึ่งมีฐานตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ
แต่ยังสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 20 ส่วนตลาดอินโดนีเซีย เติบโตถึง
ร้อยละ 40 นับเป็นตลาดขนาดกลางที่มีแนวโน้มสดใส ซึ่งเกิดจาก
แนวทางการทำ � ตลาดของ ททท. ที่ ต้ อ งการดึ ง ดู ด ตลาดอาเซี ย น
ให้เดินทางภายในภูมิภาคกันเองให้มากขึ้น ส่วนตลาดยุโรป แม้จะประสบ

6 | Tourism Journal

ปัญหาภาวะเศรษฐกิจในหลายประเทศ แต่ ในภาพรวมนักท่องเที่ยว
มาไทยก็ยังสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 13 ซึ่งเกิดจากนโยบายของ
ททท. ที่มุ่งเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพมากขึ้น และส่วนหนึ่งนักท่องเที่ยว
ได้หลีกเลียงการเดินทางไปตะวันออกกลาง ซึงกำ�ลังมีปญหาความขัดแย้ง
่
่
ั
ในหลายประเทศ
	 ส�ำหรับสถานการณ์ท่องเที่ยวภาพรวมในไตรมาสสุดท้ายคาดว่า
จ�ำนวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วและรายได้ จ ะยั ง คงเติ บ โตต่ อ เนื่ อ ง เพราะ
ประเทศไทยยังคงมีปัจจัยแข็งแกร่งจากภาพลักษณ์ด้านความคุ้มค่าเงิน
ในภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน และยังคงมีการเพิ่มเที่ยวบินจากตลาด
หลั ก ต่ า งๆ มาไทยอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แม้ ว ่ า จะมี ป ั จ จั ย ลบจากกฎหมาย
ท่องเที่ยวฉบับใหม่ของจีนที่ออกมาดูแลทัวร์คุณภาพ และการชะลอตัว
ของตลาดสหรัฐอเมริกาจากปัญหาการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดาน
หนี้ ส าธารณะของสหรั ฐ ฯ ซึ่ ง จะท�ำให้ ทั้ ง สองตลาดหลั ก ดั ง กล่ า ว
ชะลอการเติบโตลงไปในระยะสั้นๆ ทั้งนี้ คาดว่าตลอดทั้งปี 2556
ประเทศไทยจะได้รับนักท่องเที่ยวเกินเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ โดยมี
แนวโน้มว่าจะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 หรือมีจ�ำนวน
นักท่องเทียว 26.26 ล้านคน สร้างรายได้ 1.18 ล้านล้านบาท หรือเพิมขึน
่
่ ้
ร้อยละ 20
Tou r i s m Si t u at i o n

ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
	

สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออก ช่วง 9 เดือนแรก ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับค่อนข้างสูง โดยมีนักท่องเที่ยว
รายสั ญ ชาติ เ ดิ น ทางเข้าไทย เพิ่มขึ้นร้อ ยละ 35 หรือ มีจ�ำนวนประมาณ 12.08 ล้านคน โดยในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่ มขึ้ น ประมาณ
ร้อยละ 36 เนื่องจากกระแสการเดินทางอย่างคึกคักในช่วงปิดภาคเรียนของนักท่องเที่ยวจากจีนและญี่ปุ่น รวมทั้งการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในช่วง
เทศกาลฮารีรายอและเทศกาลเข้าพรรษาของนักท่องเที่ยวจากอาเซียน

ตลาดภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ : ใน 9 เดือน
ิ

แรกของปี 2556 ตลาดภูมิภาคนี้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 51 หรือมีนักท่องเที่ยว 6.74 ล้านคน ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุด
เมื่อเปรียบเทียบกับทุกภูมิภาค การเติบโตของนักท่องเที่ยวจีนมีผลอย่าง
มากต่อการดึงให้อัตราการเติบโตของภูมิภาคนี้สูงก้าวกระโดด ในขณะที่
ตลาดฮ่องกงและญี่ปุ่นมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน รวมทั้งตลาดไต้หวัน มีการ
เติบโตต่อเนืองมาตังแต่ตนปี ส่วนตลาดเกาหลีขยายตัวเพิมขึนในระดับปาน
่
้ ้
่ ้
กลาง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตลาดจีน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 93 หรือมีนักท่อง

เที่ยวจ�ำนวน 3.74 ล้านคนใน 9 เดือนแรกของปี โดยไตรมาสที่ 3 มีอัตรา
การเติบโตร้อยละ 83 ผลจากการประกาศใช้กฎหมายท่องเทียวจีนฉบับใหม่
่
ทีจะเริมในเดือนตุลาคม ท�ำให้นกท่องเทียวจีนจ�ำนวนมากรีบซือทัวร์มาไทย
่ ่
ั
่
้
ก่อนที่ราคาทัวร์จะปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเดิน ทางในช่วง
ปิดภาคเรียน ซึ่งนิยมเดินทางกันเป็นครอบครัว โดยมีการเปิดเที่ยวบิน
เพิ่มจ�ำนวนมากในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อรองรับการเดินทาง
ที่เพิ่มขึ้น อาทิ China Southern Airlines เปิดเส้นทาง หวู่ฮั่น-กรุงเทพฯ
14 เที่ยว/สัปดาห์ และเส้นทาง ฉางซา-กรุงเทพฯ, Hainan Airlines
เปิดเส้นทาง ปักกิ่ง-กรุงเทพฯ 4 เที่ยว/สัปดาห์, Shenzhen Airlines
เปิดเส้นทาง เสินเจิน-กรุงเทพฯ 14 เทียว/สัปดาห์ นอกจากนี้ ความขัดแย้ง
่ ้
่
ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นยังคงมีผลกระทบต่อการเดิน ทางเข้าไปท่องเที่ยว
ในญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวจีน โดยใน 8 เดือนแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวจีน
เดินทางเข้าญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 26 ลดลงในทุกๆ เดือน และเลือกเปลี่ยน
เส้นทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน

ตลาดเกาหลีใต้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ใน 9 เดือนแรกของ

ปี 2556 โดยมีปัจจัยเสริมจากการเพิ่มเที่ยวบินของสายการบิน Korean
Air เพิ่มเที่ยวบิน โซล-เชียงใหม่ จาก 4 เที่ยว เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์
ในเดือนกรกฎาคม และ Asiana Airlines เพิ่มเที่ยวบิน โซล-กรุงเทพฯ
จาก 7 เที่ยว เป็น 14 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม

ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในช่วง 9 เดือนแรก โดยได้

ปัจจัยบวกจากการปิดภาคเรียนช่วงฤดูร้อนในช่วงไตรมาสที่ 3 นอกจากนี้
นับตั้งแต่ต้นปี นักท่องเที่ยวบางส่วนหลีกเลี่ยงการเดินทางไปจีนและ
เกาหลี เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนทางทะเลและข่าวสงครามเกาหลี
ประกอบกับค่าเงินเยนทียงคงอ่อนค่า เมือเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ส่งผลให้
่ั
่
นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเลือกเดินทางไปประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่สูงแทน

ตลาดฮ่องกงและไต้หวัน มีสถานะดีมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยใน

9 เดือนแรกของปี ตลาดฮ่องกงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 โดยได้รับ
ปัจจัยเสริมส่วนหนึ่งจากการที่สายการบิน City Airways เปิดบินเส้นทาง
ฮ่องกง-กรุงเทพฯ จ�ำนวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มเดือนกรกฎาคม ส�ำหรับ
ตลาดไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 32 โดยได้รบแรงเสริมจากการเปิดเส้นทางบิน
ั
ของสายการบิน TransAsia Airways เส้นทาง ไทเป-เชียงใหม่ จ�ำนวน
2 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มเดือนกรกฎาคม เป็นการสยายปีกการบินเพิ่ม
หลังจากที่ได้เปิดเที่ยวบิน ไทเป-กรุงเทพฯ ไปแล้วในช่วงมีนาคมที่ผ่านมา

Tourism Journal | 7
To u r i s m Si t u at i o n

อาเซี ย น : 9 เดือนแรกของปี นักท่องเที่ยว

รายสัญชาติ จากภูมิภาคอาเซียนเดินทางเข้าไทย ขยายตัวดี
ร้อยละ 19 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555
	 โดยในไตรมาสที่ 3 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 27
ตลาดหลัก เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ล้วนขยายตัวเพิ่มขึ้น
ด้วยดี ในขณะที่ตลาดรอง เช่น พม่า และอินโดนีเซีย มีอัตรา
การเติบโตที่ค่อนข้างสูง ดังมีรายละเอียด ดังนี้

ตลาดหลัก สิงคโปร์และมาเลเซีย มีการเติบโตที่ดีในอัตราร้อยละ 14

ตลาดขนาดเล็ก เช่น ฟิลปปินส์ ใน 9 เดือนแรกของปี ขยายตัวเพิมขึน
ิ
่ ้
ร้อยละ 11 ส่วนไตรมาสที่ 3 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21
โดยได้รับปัจจัยเสริมจากสายการบิน Cebu Pacific เปิดเส้นทางบิน
มะนิลา-ภูเก็ต จ�ำนวน 3 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนสิงหาคม

ตลาดอินโดจีน ตลาดพม่า มีแนวโน้มทีดี โดยเพิมขึนร้อยละ 38 ในช่วง
่
่ ้
9 เดือนแรก โดยการเปิดประเทศมากขึ้น ท�ำให้มีการลงทุนจากต่างชาติ
ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศดีขน ชนชันกลางมากขึน และมีความต้องการ
ึ้
้
้
ท่องเที่ยวต่างประเทศ กอปรกับในเดือนกันยายน สายการบิน Bangkok
Airways เปิดเที่ยวบิน มัณฑะเลย์-กรุงเทพฯ 4 เที่ยว/สัปดาห์ และ
เนปิดอว์-กรุงเทพฯ 3 เทียว/สัปดาห์ รวมทังสายการบินนกแอร์ เปิดเทียวบิน
่
้
่
มะละแหม่ง-แม่สอด 7 เที่ยว/สัปดาห์ ส�ำหรับตลาดกัมพูชาและลาว
ในช่วง 9 เดือนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เท่ากัน ส่วนเวียดนาม เติบโต
ร้อยละ 25 ส่วนหนึ่งเกิดจากการข้ามมาเที่ยวซื้อของห้างสรรพสินค้า
ที่เปิดใหม่ในฝั่งไทยในจังหวัดนครราชสีมา

และ 20 ตามล�ำดับ ในช่วง 9 เดือน โดยในปีนตลาดมาเลเซียมีวนหยุดเทศกาล
ี้
ั
ฮารีรายอ รวม 4 วัน จึงสามารถออกเดินทางท่องเทียวต่างประเทศในระยะ
่
ใกล้ได้ อีกทังสายการบินแอร์เอเชีย เพิมเทียวบิน กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ
้
่ ่
จาก 64 เป็น 70 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงวันที่ 2-18 สิงหาคม และ
สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เพิ่มเที่ยวบิน กัวลาลัมเปอร์-ภูเก็ต จาก
19 เที่ยว เป็น 26 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม ส่วนตลาดสิงคโปร์
มีปจจัยเสริมจากสายการบิน Jetstar Asia เพิมเทียวบิน สิงคโปร์-กรุงเทพฯ
ั
่ ่
จาก 25 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 33 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม
	 สถานการณ์การท่องเที่ยวของภูมิภาคยุโรปในช่วง 9 เดือนแรก
2556 ยังคงมีทิศทางทีสดใส จากสถิตินกท่องเทียวรายสัญชาติทเี่ ดินทาง
่
ั
่
ตลาดขนาดกลาง เช่น อินโดนีเซีย มีแนวโน้มทีดมาก ใน 9 เดือนแรก เข้าประเทศไทย มีจ�ำนวนประมาณ 4.42 ล้านคน หรือมีอัตราการเติบโต
่ี
ของปี ตลาดอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และในไตรมาสที่ 3 ก็เติบโต ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แทบทุกตลาดล้วนมีการขยายตัวที่ดี
ในระดับเดียวกัน อันเป็นผลมาจากการเดินทางเข้ามาในช่วงฮารีรายอ โดยนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเยอรมนี มีการเติบโต
และปัจจัยสนับสนุนจาก สายการบิน Garuda Airlines เปิดเที่ยวบิน แบบก้าวกระโดด ร้อยละ 37 ร้อยละ 24 และร้อยละ 11 ตามล�ำดับ
จาการ์ตา-ภูเก็ต จ�ำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนสิงหาคม และ ยกเว้นตลาดฟินแลนด์ เดนมาร์ก และสวีเดน ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 8
การบินไทย เพิมเทียวบิน จาการ์ตา-กรุงเทพฯ จาก 7 เทียว เป็น 14 เทียว/ ร้อยละ 1 และ 0.57 ตามล�ำดับ
่ ่
่
่
สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม

ภูมิภาคยุโรป

8 | Tourism Journal
Tou r i s m Si t u at i o n
ปัจจัยสนับสนุนต่อการขยายตัว มีดังนี้
	 ประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งท่องเทียวยอดนิยมและมีความคุมค่าเงิน
่
้

สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
	 ปัจจัยบวกทางด้านเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ อาทิ ตลาดรัสเซีย
ยุโรปตะวันออก/CIS ยังคงมีทศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจทีดี และเป็น
ิ
่
แรงขับเคลื่อนส�ำคัญของภูมิภาค
	 ส�ำหรับตลาดสหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส หรือแม้แต่
ประเทศในกลุมยุโรปใต้ อิตาลี และสเปน ยังคงเผชิญกับการแก้ไขปัญหา
่
หนี้สาธารณะ ภาคการผลิตชะลอตัว และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง
แต่การเดินทางเข้าไทยของตลาดเหล่านียงมีการเติบโตได้ โดยเฉพาะอิตาลี
้ั
ซึงมีปญหาทางเศรษฐกิจเรือรังมานาน ก็ยงคงสามารถรักษาฐานตลาดเดิม
่ ั
้
ั
ไว้ได้ แม้จะไม่สามารถปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้มากนักก็ตาม
	 สภาพอากาศในช่ ว งฤดู ร ้ อ นปี นี้ ข องทางฝั ่ ง ยุ โ รปค่ อ นข้ า งดี
(กรกฎาคม-กันยายน) ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวยุโรปออกเดินทาง
ท่องเที่ยวกันคึกคัก อาทิ ตลาดสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะเดนมาร์ก และ
นอร์เวย์ ประเทศในแถบยุโรปใต้ สเปน ตุรกี และเมดิเตอร์เรเนียน มีแนวโน้ม
เดินทางท่องเทียวทังภายในภูมภาคและนอกภูมภาค โดยเฉพาะแหล่งเทียว
่ ้
ิ
ิ
่
ทางทะเลในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส�ำหรับประเทศไทยในช่วงฤดูฝน
(เดือนกรกฎาคม-กันยายน) การท่องเทียวกับบริษัทน�ำเทียวได้รบความนิยม
่
่ ั
เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่นิยมในฤดูหนาวที่จะมาถึงนี้ด้วย โดยเส้นทาง
ยอดนิยมในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ ประเทศไทย, เส้นทางอิสราเอลและ
จอร์แดน, เส้นทางอินเดียและเนปาล, คิวบาและแอฟริกาใต้
	 การได้ประโยชน์จากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายใน
ประเทศอียิปต์ทวีความรุนแรงและยังไม่มีทีท่าจะยุติ ท�ำให้นักท่องเที่ยว
ชาวยุโรปหันเหการเดินทางไปท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นแทน โดยเฉพาะ
ในแถบเอเชี ย ตะวั น ออกเฉีย งใต้และประเทศไทย ทั้ง นี้มีรายงานว่า
บริษัทน�ำเที่ยว อาทิ Thomas Cook, TUI Thomson, TUI Nordic ในพื้นที่
ตลาดรัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี โปรตุเกส และกลุ่มสแกนดิเนเวีย
ได้ระงับการขายแพ็คเกจท่องเที่ยวไปอียิปต์และขายเส้น ทางอื่นแทน
เริมตังแต่กลางเดือนกรกฎาคมไปจนกว่าสถานการณ์จะคลีคลาย ส่วนการ
่ ้
่
ล่องเรือส�ำราญ (Cruise) บริษั ทน�ำเที่ยวแนะน�ำให้ยกเลิกการเดินทาง
จนถึงช่วงกลางเดือนกันยายน
	 การขยายตั ว ของอุ ต สาหกรรมการบิ น และการเปิ ด เที่ ย วบิ น
ใหม่ในช่วงตารางบินฤดูร้อน (มิถุนายน-ตุลาคม) อาทิ ตลาดนอร์เวย์
สายการบิน Norwegian Air เปิดเที่ยวบินใหม่ เส้นทางออสโล-กรุงเทพฯ
และเส้นทางสตอกโฮล์ม-กรุงเทพฯ จ�ำนวน 3 เทียว/สัปดาห์ในตลาดสวีเดน
่
ทังนีมรายงานว่าจ�ำนวนผูโดยสารของสายการบินดังกล่าวในเดือนมิถนายน
้ ้ี
้
ุ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากปีที่ผ่านมา และมีการเพิ่มจ�ำนวนที่นั่งในตลาด
สแกนดิเนเวียด้วย ส�ำหรับตลาดอิตาลี มีการเพิ่มเที่ยวบิน เส้นทางมิลานกรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยว เป็น 4 เที่ยว/สัปดาห์ เส้นทางโรม-กรุงเทพฯ
จากเดิม 4 เที่ยว เพิ่มเป็น 5 เที่ยว/สัปดาห์ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน

ที่ผ่านมา

ภูมิภาคอเมริกา

จากสถิตนกท่องเทียวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ
ิั
่
9 เดือนแรก ภูมิภาคนี้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 นับเป็นการขยายตัว
ทีคอนข้างดี โดยเฉพาะตลาดหลัก สหรัฐอเมริกาเพิมขึนร้อยละ 8 แคนาดา
่่
่ ้
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และยังคงได้แรงเสริมที่แข็งแกร่งจากตลาดเกิดใหม่ใน
ละตินอเมริกา คือ บราซิล เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 และอาร์เจนตินา เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18 ด้วยปัจจัยสนับสนุนการขยายตัว ดังนี้
	 ปัจจัยบวกทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในแถบอเมริกาเหนือและ
ละตินอเมริกา โดยเฉพาะแคนาดา บราซิล และอาร์เจนตินา ที่มีอัตรา
การเติบโตทีดี เอือให้มอตราการเดินทางท่องเทียวออกนอกประเทศ ขณะที่
่ ้ ีั
่
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านความขัดแย้ง
ทางการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาหนี้สาธารณะ แต่สถานการณ์
ท่องเที่ยวมาไทยก็ยังคงเติบโตได้ค่อนข้างดี เนื่องจากกลุ่มตลาดมาไทย
ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตลาดระดับบน จึงไม่อ่อนไหวต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ
อีกทั้งยังมีเงินออมเพียงพอที่จะเดินทางท่องเที่ยวระยะไกล
	
เหตุการณ์นองเลือดในประเทศอียิปต์ และความขัดแย้งทางการ
เมืองระหว่างสหรัฐฯ และซีเรีย ท�ำให้ทางการสหรัฐฯ ออกประกาศเตือน
พลเมืองให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าประเทศอียิปต์และพื้นที่เสี่ยงภัย
	

ภูมิภาคเอเชียใต้

จากสถิตนกท่องเทียวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ
ิั
่
ในช่วง 9 เดือนแรก มีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวเอเชียใต้มาไทยประมาณ
1 ล้านกว่าคน ขยายตัวร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้เติบโตในระดับปานกลาง
เป็นผลมาจากตลาดหลักของภูมิภาค คือ ตลาดอินเดีย ประสบปัญหา
	

Tourism Journal | 9
To u r i s m Si t u at i o n
เศรษฐกิจซบเซามาตั้งแต่ปี 2555 และมีการเพิ่มมาตรการการขอวีซ่า
เข้าไทย ส่งผลให้นกท่องเทียวบางส่วนชะลอการเดินทางลง แต่สถานการณ์
ั
่
การท่องเทียวตลาดเล็กๆ ในภูมภาคยังคงขยายตัวได้คอนข้างดี โดยเฉพาะ
่
ิ
่
บังกลาเทศ เติบโตสูงถึงร้อยละ 12 โดยมีรายละเอียดรายตลาด ดังนี้
	 ตลาดหลักของภูมิภาคนี้ คือ อินเดีย สถานการณ์ท่องเที่ยวในช่วง
9 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 5 ถึงแม้เศรษฐกิจอินเดียจะยังไม่ฟื้นตัวดี
เท่าที่ควร แต่นักท่องเที่ยวอินเดียยังคงต้องการเดินทางท่องเที่ยว โดยมี
ข้อมูลอ้างอิงจาก Associated Chamber of Commerce and Industry
of India ว่าในช่วงที่ค่าเงินรูปียังคงอ่อนค่า ชาวอินเดียยังมีความต้องการ
เดินทางท่องเทียว แต่ปรับเปลียนพฤติกรรมจากเดิม โดยเลือกพักโรงแรม
่
่
ในราคาถูกลง ระยะเวลาพ�ำนักสั้นลง และความถี่ ในการเดินทางลดลง
โดยยังคงมีความต้องการไปเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยเฉพาะ
ในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึงรวมถึงประเทศไทย ซึงมีขอได้เปรียบ
ิ
่
่ ้
ในแง่ความคุ้มค่าเงิน
	 ส�ำหรับตลาดเล็กๆ ในภูมิภาค ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน และ
ศรีลังกา ในช่วง 9 เดือน ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ร้อยละ 7
และร้อยละ 4 ตามล�ำดับ เนื่องจากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง
ในแต่ละประเทศเริ่มคลี่คลายในไตรมาสที่ 3 จึงเป็นปัจจัยให้การเดินทาง
ในฤดูกาลท่องเที่ยวภาคฤดูร้อนในปีนี้ปรับตัวดีขึ้น

ภูมิภาคตะวันออกกลาง
และแอฟริกา

สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วง 9 เดือน
แรก นักท่องเที่ยวรายสัญชาติปรับตัวลดลงร้อยละ 2 แม้ว่าตลาดหลัก
ทุกตลาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ตลาดรายย่อย เช่น อิหร่าน และตลาดอื่นๆ
ซึงมีสดส่วนค่อนข้างสูง มีอตราการเติบโตลดลง จึงฉุดให้ภาพรวมของภูมภาค
่ ั
ั
ิ
ิ ่ ้
นีลดลงไปเล็กน้อย ตลาดหลักทีเ่ ติบโตสูงมาก คือ อียปต์ เพิมขึนร้อยละ 31
้
และซาอุดอาระเบีย เพิมขึนร้อยละ 26 ส่วนภูมภาคแอฟริกาเติบโตร้อยละ 2
ี
่ ้
ิ
โดยเป็นการเติบโตของตลาดขนาดเล็กอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในขณะที่
ตลาดแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นตลาดหลักของภูมิภาคนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 1
ทั้งนี้มีรายละเอียดในแต่ละตลาด ดังนี้
	 ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในภูมภาคตะวันออกกลางและ
ิ
แอฟริกา ไม่วาจะเป็นเหตุการณ์นองเลือดในอียปต์ ปัญหาความขัดแย้งของ
่
ิ
อิสราเอลและปาเลสไตน์ ปัญหาทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯ และซีเรีย
ส่งผลให้จ�ำนวนนักท่องเทียวในช่วง 9 เดือนแรกของภูมภาคตะวันออกกลาง
่
ิ
ค่อนข้างมีความผันผวน
	 นักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลาง มีแนวโน้มหันเหไปท่องเที่ยวยุโรป
มากขึน ด้วยปัจจัยด้านค่าเงินยูโรอ่อนค่าเป็นแรงจูงใจส�ำคัญ โดยแหล่งท่อง้
เทียวทียงคงได้รบความนิยม ได้แก่ เยอรมนี ฝรังเศส และสหราชอาณาจักร
่ ่ั
ั
่
	 การชะลอตั ว ของจ�ำนวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วจากกลุ ่ ม ประเทศ Gulf
Cooperation Council (GCC) โดยเฉพาะตลาดหลัก สหรัฐอาหรับ
เอมิ เ รตส์ เนื่ อ งจากช่ ว งเทศกาลถื อ ศี ล อด (Ramadan) ในปี นี้
จากสถิตินักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ในช่วง (เริ่ ม ตั้ ง แต่ วั น ที่ 9 กรกฎาคม-สิ ง หาคม) เลื่ อ นมาทั บ กั บ ช่ ว งฤดู
9 เดือนแรก ตลาดภูมิภาคนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 3 โดยมีรายละเอียด ท่องเที่ยวช่วงฤดูร้อน และมีผลให้ช่วงวันหยุดก่อนเดือนรอมฎอน ในปีนี้
รายตลาด ดังนี้
มีระยะเวลาสั้นลง ทั้งนี้ การเดินทางท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วง
กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา เนื่องจากมีช่วงวันหยุดยาวเพื่อเฉลิมฉลอง
ตลาดออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 4 โดยใน เทศกาลฮารีรายอ โดยในเดือนกันยายนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9
ไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 2 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
ออสเตรเลีย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย มีแนวโน้มแข็งค่ากว่า ตลาดอียิปต์ แม้จะเกิดสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองภายใน
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ท�ำให้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งหันเหเดินทางท่องเที่ยว ประเทศ แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย
ไปอเมริกา ซึงเป็นแหล่งท่องเทียวในฝันของนักท่องเทียวออสเตรเลียแทน แต่อย่างใด จากการรายงานของส�ำนักงาน ททท. ในพืนที่ พบว่า สายการบิน
่
่
่
้
ประกอบกับในช่วงเดียวกันนั้นประเทศไทยประสบปัญหาการแข็งของค่า Etihad และบริษัทน�ำเที่ยวในพื้นที่ที่เจาะกลุ่มระดับบน อาทิ Corporate/
เงินบาทตั้งแต่ช่วงต้นปี และแข็งค่าหนักสุดช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งส่งผลให้ Incentive รวมทังกลุม Medical ยังคงได้รบกลุมตลาดดังกล่าวเป็นลูกค้า
้ ่
ั ่
นักท่องเที่ยวบางส่วนชะลอการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ตั้งแต่ หลักในช่วงนี้ โดยมีการเดินทางออกอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีจ�ำนวนไม่มาก
เดือนเมษายนเป็นต้นมา แม้ในบางเดือนตลาดจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ก็ตาม ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 นักท่องเที่ยวอียิปต์เดินทางเข้าไทย มีการ
แต่ก็ไม่สามารถดึงภาพรวมในช่วง 9 เดือนให้เพิ่มสูงขึ้นได้
ขยายตัวร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
	

ภูมิภาคโอเชียเนีย

ตลาดนิวซีแลนด์ สถานการณ์การท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ เนื่องจาก ตลาดอิหร่าน ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาการคว�่ำบาตรของ

ตลาดไม่ได้รบผลกระทบมากนักจากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทของไทย สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดแอฟริกาใต้ ปรับตัวลดลง เนื่องจาก
ั
โดยในช่วง 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 2
ยังคงมีสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและปัญหาการ
ก่อความไม่สงบของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงและกลุ่มโจรสลัดภายในภูมิภาค
ท�ำให้บรรยากาศในการเดินทางท่องเที่ยวไม่คึกคักเท่าที่ควร

10 | Tourism Journal
Tou r i s m Si t u at i o n

ตลาดเอเชียตะวันออก : คาดว่าทุกตลาดจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง ตลาดยุโรป : คาดว่าการเดินทางท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปจะคึกคัก

ในไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากยังมีปัจจัยเสริมด้านเที่ยวบิน ที่ปรับตัว
เพิมขึน ยกเว้นตลาดจีนทีอาจจะชะลอตัวลดลง ร้อยละ 30-50 จากปัญหา
่ ้
่
การออกกฎหมายท่องเที่ยวฉบับใหม่ของจีน
	 ผลกระทบจากการออกกฎหมายท่องเที่ยวฉบับใหม่ของจีน ที่มีผล
บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไปนั้น คาดว่าส่งผลท�ำให้
จ�ำนวนนักท่องเทียวจีนในไตรมาสที่ 4 ชะลอตัวลง จากราคาทัวร์ทปรับตัว
่
ี่
สูงขึ้น ส่งผลให้ยอดจองทัวร์ลดลง โดยเฉพาะในช่วงวันชาติของจีน
(Golden Week 1-7 ตุลาคม 2556) ลดลงประมาณร้อยละ 30-50 และ
ส่งผลกระทบถึงยอดจองทัวร์ของเดือนตุลาคมลดลงประมาณร้อยละ
50-70 รวมทั้งสายการบินต่างๆ ที่มีเส้นทางมายังประเทศไทยมียอดจอง
ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ลดลงประมาณร้อยละ 40-50 อย่างไรก็ตาม
คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบในไตรมาสที่ 4 นี้เท่านั้น
	 ผลกระทบเรื่องความขัดแย้งดินแดนหมู่เกาะของจีนกับญี่ปุ่น แม้จะ
ไม่รุนแรงเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่คาดว่าจะยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง
ในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะ ตลาดญี่ปุ่น ซึ่งมีการส�ำรวจจาก JATA
ว่าชาวญี่ปุ่นจะยังคงไม่เลือกเดินทางไปจีนในปีนี้
	 การออกมาตรการผ่อนปรนเรืองการเข้า-ออกประเทศพม่า และการ
่
เปิดด่านการค้าแห่งใหม่ (ด่านทิก) ตังแต่เดือนสิงหาคม และการเปิดสะพาน
ิ ้
มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ปลายปี 2556 คาดว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยว
ในอินโดจีนให้สะดวกมากขึ้น
	 ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจนกลับมาเป็นปกติ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยว
เดินทางมาท่องเทียวประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัญหา
่
เพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลต่อค่าเงินบาทในอนาคต รวมทั้งอาจจะ
ส่งผลต่อเศรษฐกิจของญีปนและจีน ซึงเป็นเจ้าหนี้ใหญ่ของประเทศสหรัฐฯ
่ ุ่
่
	 จับตามองการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ในเดือนธันวาคม 2556
ซึ่งพม่าเป็นเจ้าภาพ อาจมีผลในการดึงสัดส่วนนักท่องเที่ยวในภูมิภาค
อาเซียนที่เดินทางเข้าพม่า
	 ยังต้องคอยติดตามปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อตลาดมาเลเซีย

มากขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัว ดังนี้
	
แนวโน้มการท่องเที่ยวของตลาดยุโรปปีนี้ค่อนข้างสดใสเมื่อเทียบ
กับปีทผานมา เนืองจากนักท่องเทียวต้องการหนีหนาวมาเทียวไทยเร็วเป็น
ี่ ่
่
่
่
ประวัติการณ์ โดยได้ทยอยจองโรงแรมที่พักบริเวณหัวหิน ชะอ�ำ ล่วงหน้า
ตังแต่เดือนกันยายน (มากกว่า 40% ของห้องพักทังหมด) และจะเริมเข้าพัก
้
้
่
ตังแต่เดือนตุลาคม 2556 - กุมภาพันธ์ 2557 จากปกติจะเริมจองช่วงกลาง
้
่
เดือนตุลาคม ส่วนหนึงเป็นผลมาจากเงินบาทอ่อนค่าเมือเทียบกับยูโร และ
่
่
เหรียญสหรัฐฯ และนักท่องเที่ยวสแกนฯ เปลี่ยนเส้นทางมาพักในแหล่ง
ท่องเที่ยวรอง อาทิ หัวหินและชะอ�ำ เนื่องจากที่พักในเมืองท่องเที่ยวหลัก
เช่น ภูเก็ตและพัทยา มีนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซียจองเกือบเต็ม โดยมี
การคาดการณ์วาทังปีจะมีอตราเข้าพักเฉลียร้อยละ 65 สูงกว่าปีทผ่านมา
่ ้
ั
่
ี่
ที่มีอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 50-55 (ที่มา : สมาคมโรงแรมไทย)
	 มีสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจของยุโรปก�ำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดย
ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับ 96.9
(ณ เดือนกันยายน) จากระดับ 95.3 (ณ เดือนสิงหาคม) ภายหลังทีรฐบาล
่ั
ประเทศในยุโรปเริ่มผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดและขึ้นภาษี ส่งผลให้
เศรษฐกิจ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรอาจมีการขยายตัวร้อยละ 1 ในปีหน้า
ซึ่งยังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
	 ปัจจัยหนุนด้านการด�ำเนินงานทางการตลาดของ ททท. ในการมุงเจาะ
่
ตลาดใหม่ในพื้นที่รองมากขึ้น เช่น จัด Road Show เมืองมิวนิกและ
ชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี ไอร์แลนด์ ฯลฯ ซึงคาดว่าจะช่วยขยายตลาด
่
นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่และมีศักยภาพมากขึ้น

Tourism Journal | 11
T o u r i s m Si t u at i o n

ตลาดภูมิภาคอเมริกา

	 ปลายเดือนกันยายน ประเทศไทยได้รับรางวัล ‘The Best Golf
Destination’ จาก Safari India National Tourism Awards 2013 และ
: คาดว่าในภาพรวมของภูมิภาคจะมีการเติบโตปานกลาง
รางวัล ’Best Wedding Destination’ จาก Hospitality India Awards
โดยได้รับแรงผลักจากแนวโน้มที่ดีของตลาดละตินอเมริกา
2013 ซึ่งน่าจะเป็นตัวชี้วัดถึงความส�ำเร็จที่ประเทศไทยสามารถดึงดูด
นักท่องเทียวได้มากขึน โดยเฉพาะนักท่องเทียวกลุมฮันนีมน/แต่งงาน และ
่
้
่ ่
ู
	 โดยในส่วนของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลัก มีทิศทางตลาด
ที่ไม่ค่อยแจ่มใสนักในช่วงไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงทางด้าน กลุ่มกอล์ฟ ซึ่งน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องต่อไป
วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทียงคงเปราะบางจากสถานการณ์การปิดหน่วยงาน
่ั
ภาครัฐของสหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 1-16 เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ตลาดโอเชียเนีย
่ ่
ผลกระทบจากการจ้างงานในส่วนราชการ และในส่วนของภาคการ 	 สถานการณ์ทองเทียวตลาดโอเชียเนียในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2556
ท่องเทียวภายในประเทศสหรัฐฯ ซึงต้องใช้ระยะเวลาในการฟืนตัว จึงอาจ คาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจาก
่
่
้
ส่งผลกระทบท�ำให้ตลาดสหรัฐฯ ชะลอตัวลงไปเล็กน้อย ทั้งนี้ จากข้อมูล 	 ความมีศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งเอื้อต่อการใช้จ่าย
การจองบัตรโดยสารเครื่องบินของ ForwardKeys ซึ่งรวบรวมฐานข้อมูล ในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ อาจจะยังส่งผลให้นักท่องเที่ยว
จากบริษัทรายใหญ่ เช่น Abacus, Amadeus ฯลฯ พบว่า แนวโน้มการจอง ออสเตรเลียยังคงเลือกเดินทางไปสหรัฐอเมริกา
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายจากสหรัฐฯ มาไทย อาจปรับตัวลดลงร้อยละ 3 	 การเปิดเส้น ทางบินใหม่ของ สายการบิน Jetstar ในเส้น ทาง
นอกจากนี้ส�ำหรับผลกระทบระยะยาว คาดว่าจากการพิจารณาผ่านร่าง เมลเบิร์น-ภูเก็ต 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2556
กฎหมายขยายเพดานหนี้ต่อไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2557 อาจส่งผล อาจช่วยชะลอให้ตลาดไม่ปรับตัวลดลงไปมากนัก
ต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชน และอาจมีการปรับลดการ 	 การส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องของ ททท. โดยล่าสุดในเดือน
ใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวลงเพื่อออมเงินมากขึ้น ซึ่งยังคงต้องเฝ้าติดตาม สิงหาคม 2556 ได้จัดงาน Thailand Medical & Wellness Tourism Trade
and Media FAM Trip 2013 โดยมีเอเย่นต์ทองเทียวเพือสุขภาพ 40 บริษัท
่ ่ ่
สถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
จาก 10 ประเทศมาร่วมงาน รวมทั้งจากออสเตรเลีย ซึ่งจากการจัดงาน
ตลาดเอเชียใต้ : คาดว่าน่าจะมีการขยายตัวเพิมขึนในระดับปานกลาง ในครั้งนี้คาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพได้มากขึ้น
่ ้
จากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ดังนี้
	 เทศกาลดิวาลี (เทศกาลปีใหม่ของชาวอินเดีย) ในเดือนตุลาคม ซึงจะมี ตลาดตะวันออกกลางและแอฟริกา
่
่
วันหยุดยาวและชาวอินเดียนิยมออกเดินทางท่องเทียว และจากการรายงาน 	 ตลาดตะวันออกกลาง : คาดว่าจะเติบโตได้เมือเทียบกับช่วงเดียวกัน
่
ของ ททท. ส�ำนักงานมุมไบ ณ เดือนตุลาคม 2556 รายงานว่าสายการบิน ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสิ้นสุดช่วงเทศกาลถือศีลอดและนักท่องเที่ยว
หลายสายของอินเดียปรับราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินเส้น ทางใน เริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวแล้ว และสายการบิน Emirates จะเพิ่มเที่ยวบิน
ประเทศ โดยเพิ่มสูงขึ้นราวร้อยละ 30-37 จึงคาดว่านักท่องเที่ยวส่วนหนึ่ง เส้นทางดูไบ-กรุงเทพฯ จากเดิม 35 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 42 เที่ยว/สัปดาห์
นอกจากนี้การเปิดตลาดใหม่ของ ททท. ในช่วงต้นปี 2556 โดยเข้าไปท�ำ
น่าจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ
	 ผลกระทบจากเศรษฐกิจของอินเดียทียงไม่ฟนตัว ค่าเงินรูปยงผันผวน Road Show ในคูเวตและกาตาร์ อาจมีส่วนในการส่งเสริมตลาดกลุ่มใหม่
่ ั ้ื
ีั
จึงคาดว่านักท่องเที่ยวจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้ ซึ่งสอดคล้อง ให้เพิ่มขึ้นได้
่
กับผลส�ำรวจในเดือนกันยายนของเว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดัง www.yatra. 	 ส�ำหรับตลาดแอฟริกาใต้ : อาจจะปรับตัวลดลง เนืองจากสายการบิน
com ผ่านทางออนไลน์ โดยร้อยละ 63 ของผู้ตอบแบบสอบถามยังคง ไทย จะปรับลดความถี่เที่ยวบินในช่วงตารางบินฤดูหนาว เส้นทางโจฮันยืนยันการเดินทางตามแผนเดิม จุดหมายปลายทางอันดับต้น คือ เอเชีย เนสเบิร์ก-กรุงเทพฯ จาก 4 เที่ยวเหลือ 3 เที่ยว/สัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วง
ตะวันออกเฉียงใต้ ตามด้วยยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นผลบวก Low Season และนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มนิยมเดินทางระยะใกล้ (Short
Haul) หรือท่องเที่ยวภายในภูมิภาคมากขึ้น
ต่อประเทศไทย ขณะที่ร้อยละ 37 จะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ

12 | Tourism Journal
Tou r i s m Si t u at i o n

มวลข่าวใดๆ ในปี 2556 ที่ต้องจดจำ�
เรื่อง : ยุวดี นิรัตน์ตระกูล
	

1. เมื่อทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2556 ตลอดทั้งปี

	

3. มวลข่าวใดๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2556 และน่าจะเชื่อมโยงสู่เรื่อง

มีหลายเหตุการณ์ที่น่าสนใจทั้งที่เป็นเหตุการณ์ภายนอกประเทศ และ ของการท่องเที่ยวได้ พอจะประมวลเบื้องต้นได้ ดังนี้
เหตุการณ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นเรื่องดีและเรื่องร้าย (ต่ออุตสาหกรรม
ท่องเทียวไทยในภาพรวม) การบันทึกเหตุการณ์ตาง ๆ ไว้ ท�ำให้เราไม่หลงลืม เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และมวลมิตร
่
่
และใช้ ป ระโยชน์ จ ากการบั น ทึ ก นั้ น เพื่ อ ทบทวนการท�ำงานที่ ผ ่ า นมา
	
2. ในปี 2555 eTAT Journal ไตรมาส 1/2013 มีบทความทีเ่ กียวกับ
่
เหตุการณ์ส�ำคัญในปี 2555 ซึ่งหลายเหตุการณ์ยังไม่จบ ต้องติดตามต่อ
เนื่อง ถ้าลองย้อนกลับไปดูจะพบว่า มีเรื่องให้ฉุกคิดมากมาย อาทิ

เชียงใหม่มหานคร

เริ่มจุดประเด็นในปี 2555 ตอนนี้ คืบหน้าไปถึงไหน และโมเดลการ
บริหารจัดการเชียงใหม่มหานครนั้น จะเป็นยาหม้อใหญ่รักษาได้ทุกโรค
หรือไม่ กรณีการเติบโตของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางท่องเที่ยว
ในจังหวัดเชียงใหม่จากผลของภาพยนตร์ Lost in Thailand ส่งผลต่อสภาพ
การท่องเที่ยวของเมืองอย่างไร และทิศทางของเชียงใหม่จะไปทางไหน
	

ปฏิบัติการรายได้ท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท

ปี 2555 มีการตั้งเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวของรัฐบาล
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้บรรลุเป้า 2 ล้านล้านบาท ในปี 2558 ในช่วงเวลา
ผ่านไปเพียงแค่ 3 ไตรมาสของปี 2555 เป้าหมายเริมขยับเป็น 2.2 ล้านล้าน 	 ต้นปี 2556 เกาหลีเหนือออกแถลงการณ์เรื่อง ‘การเข้าสู่ภาวะ
่
บาท อันเนื่องมาจากบรรยากาศการท่องเที่ยวไทยที่เติบโตอย่างน่าพอใจ สงคราม’ กับเกาหลี ใต้ พร้อมขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์หากถูกยั่วยุ การ
ออกแถลงการณ์ของเกาหลีเหนือครังนี้ ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัว
้
และหวาดหวันต่อความปลอดภัยในชีวต ล�ำพังคูขดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือ
่
ิ
่ั
กับเกาหลีใต้นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่เรื่องราวของคู่นี้ ขยายไปถึงชาติ
พันธมิตรอย่างสหรัฐอเมริกา จึงท�ำให้โลกต่างเฝ้าสังเกตสถานการณ์
	 ผลจากแถลงการณ์ดังกล่าวท�ำให้เกิดการยกเลิกทัวร์ไทยที่จะไป
ท่องเทียวเกาหลีใต้ และหากตรวจสอบสถานการณ์ทองเทียวของเกาหลีใต้
่
่ ่
ช่วงนัน ก็กระทบต่อบรรยากาศท่องเทียวอย่างหลีกเลียงไม่ได้ และมีความ
้
่
่
เป็นไปได้ที่จะลุกลามเป็นปัญหาในระดับภูมิภาค
	 ช่วงกลางปีถึงปลายปี 2556 ผู้น�ำเกาหลีเหนือประกาศลงโทษ
ประหารชีวตชาวเกาหลีเหนือ 80 คนโทษฐานแอบดูละคร และประหารชีวต
ิ
ิ
อดีตแฟนเก่า ด้วยข้อหาถ่ายภาพโป๊ และทีเ่ ป็นข่าวมากทีสดคือ กลางเดือน
ุ่
ธันวาคม 2556 ผูน�ำเกาหลีเหนือประกาศประหารชีวต ลุงเขย ทีมต�ำแหน่งสูง
้
ิ
่ี
ในรัฐบาล ด้วยข้อหาที่พยายามล้มล้างระบอบการปกครอง
	 การปกครองโดยผู ้ น�ำเกาหลี เ หนื อ ก่ อให้ เ กิ ด การเฝ้ า ติ ด ตาม
สถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจากการประเมินในมิติการเมืองระหว่าง
ประเทศแล้ว น่าจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก
	

Tourism Journal | 13
T o u r i s m Si t u at i o n

การไหลบ่าของมวลนักท่องเที่ยวจีน

ปรากฏการณ์ของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่ออกเดิน ทางท่องเที่ยวทั่วโลก นอกจากจะสร้างความตื่นเต้นให้กับ
ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางแล้ว ยังได้สร้างความตระหนกตกใจ
ในพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีนที่ปฏิบัติตัวระหว่างการท่องเที่ยวด้วย
	 จากการรวบรวมข้อมูลเกียวกับการต�ำหนิพฤติกรรมนักท่องเทียวจีน
่
่
ที่กระท�ำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว จะพบพฤติกรรมที่สร้างปัญหา
ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสลักชื่อลงในประติมากรรมโบราณในวิหาร
แห่งหนึ่งที่อียิปต์ การขโมยเสื้อชูชีพในเครื่องบิน การส่งเสียงดัง เอะอะ
ไม่เกรงใจผู้อื่น
่
ั
	 จากพฤติกรรมนักท่องเทียวจีนดังกล่าว ท�ำให้รฐบาลจีนออกกฎระเบียบ
เกียวกับการปฏิบตตวเมืออยูตางแดน เพือมุงแก้ไขภาพลักษณ์ดานลบของ
่
ัิั ่ ่่
่ ่
้
นักท่องเที่ยวจีน รัฐบาลจีนจัดท�ำคู่มือปฏิบัติตนเยี่ยงอารยะ เผยแพร่ให้
ชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศได้ศึกษา	
	 ส�ำหรับประเทศไทยนั้น ในปี 2555 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน
มาท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงถึง 2.7 ล้านคน มากเป็นอันดับ 1 และใน
ปี 2556 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
ประมาณ 4 ล้านคน ในประเด็นเรื่องผลกระทบของจ�ำนวนนักท่องเที่ยว
จีนนั้น ททท. ได้จัดท�ำโพลส�ำรวจความคิดเห็นและน�ำเสนอผลโพลใน
eTAT Journal ในไตรมาส 4/2556 แล้ว ตามอ่านย้อนหลังได้

มวลรถยนต์ จากนโยบายรถคันแรก

	

มวลน�้ำมันรั่วที่ระยอง

	 นโยบายรถคั น แรกเป็ น นโยบายของรั ฐ บาลยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร
หลั ก การเบื้ อ งต้ น คื อ สามารถลดหย่ อ นภาษี ไ ด้ สู ง สุ ด ไม่ เ กิ น
100,000 บาท รถยนต์ที่จะซื้อ ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 ซีซี
และราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท เปลี่ยนมือและโอนไม่ได้ ภายใน 5 ปี
นโยบายนี้ ตั้งเป้าว่าจะมีคนซื้อรถไม่ต�่ำกว่า 500,000 คัน
	 นโยบายรถคันแรกเริ่มส่งผลจริงจังในปี 2556 จากการส�ำรวจ
ความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อการเดิน ทางท่องเที่ยว พบว่า การมี
รถคันแรกสอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทย คือ การ
ขับรถเทียว (Self Drive) ซึงน่าจะส่งผลให้ความถี่ในการเดินทางท่องเทียว
่
่
่
ของคนไทยเพิ่มขึ้น

ระบบรางทั้งประเทศ
กับมวลเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท

การลงทุนในระบบราง หรือ รถไฟรางคู่ เป็นโครงการของกระทรวง
คมนาคม ถือเป็นการลงทุนในลักษณะเมกะโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยระบุว่า โครงการรถไฟรางคู่ จะก่อให้เกิด
การพัฒนาศักยภาพด้านการค้าและการลงทุนและคุณภาพของประชาชน
ของประเทศให้ดีขึ้น 	
	 โครงการรถไฟรางคู่ จะท�ำให้เกิดการเชือมโยงโครงข่ายการเดินทาง
่
ท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จาก
การประมวลข้อมูลของประเทศเพื่อนบ้านพบว่า หลายประเทศได้มีการ
ด�ำเนินการแล้ว
	

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 มวลน�้ำมันกว่า 50,000 ลิตร รั่วไหลจาก
ท่อน�้ำมันดิบกลางทะเล ลงสู่ทะเลที่จังหวัดระยอง กระแสน�้ำพัดพาคราบ
น�ำมันกระจายไปทัว และน�ำมันจ�ำนวนมากลอยไปติดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด
้
่
้
จากหาดทรายที่เคยขาวสวยงาม กลายเป็นหาดสีด�ำจากคราบน�้ำมัน 	
	 จากปัญหาดังกล่าว ท�ำให้หลายหน่วยงานร่วมกันแก้ปญหาและฟืนฟู
ั
้
สภาพชายหาด รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ หลังจาก
เหตุการณ์ผ่านไปประมาณ 2 เดือน บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคัล จ�ำกัด
(มหาชน ) หรือ ปตท. ได้น�ำเสนอภาพยนตร์โฆษณาชุด เราไปเที่ยวเสม็ด
กันเถอะ หรือ Better Samed เนื้อหาที่น�ำเสนอ คือ เกาะเสม็ดกลับมา
สวยเหมือนเดิม อาหารทะเลกินได้ เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทาง
มาท่องเที่ยวได้
	 กรณีมวลน�้ำมันรั่วในประเทศต่างๆ ได้มีการน�ำเสนอบทความเรื่อง
‘เมื่อน�้ำมันรั่ว’ เขียนโดย โตมร ศุขปรีชา ตามอ่านย้อนหลังได้ใน eTAT
Journal ไตรมาส 4/2556
	

14 | Tourism Journal
Tou r i s m Si t u at i o n

การเมืองไทย ขออภัยในความไม่สะดวก
กับ มวลมหาประชาชน

	 ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เกิดความกังวลระดับ 3 ริกเตอร์
กับ การรณรงค์ทางการเมืองภายใต้การชูธงเรื่อง ‘แช่แข็งประเทศไทย’
โดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ประธานองค์การพิทกษ์สยาม
ั
(อพส.) จากพจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย ให้ความหมายค�ำว่า
‘แช่แข็งประเทศไทย’ คือ ‘การงดเว้นกระบวนการทางการเมืองทั้งหลาย
ที่ด�ำเนินการโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แล้ว
แต่งตั้งคณะบุคคลขึ้น ท�ำหน้าที่แทนเป็นระยะเวลา 5 ปี อันจะส่งผล
ให้ ป ระเทศไทยได้ พั ก ฟื ้ น จากความขั ด แย้ ง และมี เ สถี ย รภาพก่ อ นจะ
เดินหน้าต่อไป’ กระแสหยุดประเทศ แช่แข็ง 5 ปี เพื่อลูกหลานไทย
ก�ำหนดนัดหมายรวมมวลชน 1 ล้านคน ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555
เพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยในการชุมนุมทางการเมือง
ครั้งดังกล่าว เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่จบภายในวันเดียว
	 การรณรงค์ทางการเมือง เรื่องแช่แข็งประเทศไทยในช่วงปลายปี
2555 ไม่ส่งผลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศไทยมากนัก
เนื่องจากเป็นการชุมนุมที่ไม่ยืดเยื้อและไม่มีการบาดเจ็บล้มตาย หรือการ
ปะทะกัน 	

	 ส�ำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 เกิดปัญหาการเมือง
ในประเทศที่คล้ายกับการแช่แข็งประเทศไทยเมื่อปี 2555 แต่ในปี 2556
องค์กรน�ำ คือคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
ให้ เ ป็ น ประชาธิ ป ไตยที่ ส มบู ร ณ์ อั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ เ ป็ น ประมุ ข
(กปปส.) โดยมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนน�ำหลัก กิจกรรมทางการ
เมืองทีเ่ คลือนไหว คือ การเรียกร้องให้ประชาชนทีเ่ ห็นด้วยกับแนวคิดของ
่
กปปส. ออกมารวมตัวกันให้ได้ 1 ล้านคน ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556
	 การรวมตั ว ของมวลมหาประชาชนที่ ก รุ ง เทพมหานครครั้ ง นี้
มี จ�ำนวนผู ้ เ ข้ า ร่ ว มมากที่ สุ ด เท่ า ที่ มี ก ารเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งใน
ประเทศไทย และเหตุการณ์ชมนุมทางการเมืองครังนี้ ส่งผลต่อบรรยากาศ
ุ
้
การท่ อ งเที่ ย วโดยเฉพาะในพื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร มี ก ารแจ้ ง เตื อ น
ชาวต่างชาติที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่กรุงเทพมหานคร ก่อให้เกิดการ
ยกเลิกการจอง และผลกระทบทางการเมืองคาดว่าจะเห็นชัดในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2557
	
4. ในปี 2557 ททท. ตั้งเป้าหมายให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทาง
ท่องเที่ยวในไทย 28 ล้านคน และให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศ 136.8
ล้านคน/ครั้ง และตั้งเป้าว่า การท่องเที่ยวจะก่อให้เกิดรายได้ 2 ล้านล้าน
บาท กลยุทธ์การตลาดส�ำหรับปี 2557 คือ การสานต่อแนวคิด ‘รายได้
ก้าวกระโดดด้วยวิถีไทย’ หรือ ‘Higher Revenue Through Thainess’
ต่อเนื่องจากปี 2556 โดยใช้แนวทางการตลาดแบบ Marketing 3.0
เน้นส่งมอบคุณค่า (Value) หรือความสุขในการเดินทางท่องเทียวทีเ่ กิดจาก
่
การเรียนรู้และการมีส่วนร่วม (Co-creation) ซึ่งจะสร้างความประทับใจ
จนกระทั่งเกิดการแบ่งปันและบอกต่อ (Share)
	 การผลักดันให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น ต้องร่วมมือร่วมใจ
ประสานการท�ำงาน ก�ำหนดทิศทางการเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่าง
มืออาชีพ มีวิสัยทัศน์ ใช้อดีตเป็น บทเรียนเพื่อขับเคลื่อนการท�ำงาน
ในอนาคต

Tourism Journal | 15
Touri s m Re s e ar ch

	 ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำ� ‘โครงการสำ�รวจความ
คิดเห็นของประชาชนทีมตอการท่องเทียวไทย’ หรือทีเ่ รียกว่า ‘TAT Tourism Poll’ ซึงเป็น
่ี่
่
่
โครงการต่อเนืองเข้าสูปที่ 3 โดยมีวตถุประสงค์ เพือรับทราบความคิดเห็นของประชาชน
่
่ี
ั
่
ที่มีต่อประเด็นที่กำ�ลังอยู่ในความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
และกระแสนิยมต่างๆ อันจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลที่ ได้รับ
สามารถนำ�มาประมวลกับสถานการณ์ด้านอื่น รวมถึงนำ�ไปปรับใช้กับการดำ�เนินการ
ด้านการตลาดของ ททท. ในอนาคต
	 กลุมเป้าหมาย : ทำ�การสำ�รวจข้อมูลจำ�นวน 2,000 ตัวอย่าง แบ่งเป็นผูประกอบการ
่
้
600 ตัวอย่าง และประชาชน 1,400 ตัวอย่าง ในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย
6 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ สงขลา กาญจนบุรี และนครราชสีมา
	 ช่วงเวลาการสำ�รวจ : สำ�รวจระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน ถึง 28 พฤศจิกายน 2556

16 | Tourism Journal
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014

Contenu connexe

En vedette

TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013Zabitan
 
Serie Nerea by Ortus Fitness
Serie Nerea by Ortus FitnessSerie Nerea by Ortus Fitness
Serie Nerea by Ortus FitnessOrtus Fitness
 
Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891
Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891
Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891Flavia Marinelli
 
DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...
DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...
DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...Badita Florin
 
Ana gerin fabiana raquel
Ana gerin fabiana raquelAna gerin fabiana raquel
Ana gerin fabiana raquelTDCTeacher
 
Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.
Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.
Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.Milena Garcia
 
2 indentifying skills
2 indentifying skills2 indentifying skills
2 indentifying skillsrobinettepa
 
Fiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelitaFiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelitaMarianelaCV
 
eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554Zabitan
 
NATS + Docker meetup talk Oct - 2016
NATS + Docker meetup talk Oct - 2016NATS + Docker meetup talk Oct - 2016
NATS + Docker meetup talk Oct - 2016wallyqs
 
Cheran Presentation
Cheran PresentationCheran Presentation
Cheran PresentationAnkit Dutt
 
Ex hair catalogue1
Ex hair catalogue1Ex hair catalogue1
Ex hair catalogue1fynng
 
ANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUA
ANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUAANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUA
ANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUAMilena Garcia
 
Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1Ortus Fitness
 

En vedette (16)

TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
 
Serie Nerea by Ortus Fitness
Serie Nerea by Ortus FitnessSerie Nerea by Ortus Fitness
Serie Nerea by Ortus Fitness
 
KSS GREENS
KSS GREENSKSS GREENS
KSS GREENS
 
Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891
Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891
Devopsconf2015 sebamontini-151117150231-lva1-app6891
 
DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...
DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...
DECIZIA Nr.23 din 20 ianuarie 2016 referitoare la excepția de neconstituționa...
 
Ana gerin fabiana raquel
Ana gerin fabiana raquelAna gerin fabiana raquel
Ana gerin fabiana raquel
 
Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.
Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.
Mapa conceptual sobre Gerencia de Proyectos y Ciclo de vida de un proyecto.
 
2 indentifying skills
2 indentifying skills2 indentifying skills
2 indentifying skills
 
Fiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelitaFiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelita
 
Ortus Fitness
Ortus FitnessOrtus Fitness
Ortus Fitness
 
eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554
 
NATS + Docker meetup talk Oct - 2016
NATS + Docker meetup talk Oct - 2016NATS + Docker meetup talk Oct - 2016
NATS + Docker meetup talk Oct - 2016
 
Cheran Presentation
Cheran PresentationCheran Presentation
Cheran Presentation
 
Ex hair catalogue1
Ex hair catalogue1Ex hair catalogue1
Ex hair catalogue1
 
ANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUA
ANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUAANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUA
ANÁLISIS DEL ENTORNO EXTERNO E INTERNO DE LA INSTITUCIÓN EDUCATIVA DEL DAGUA
 
Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1
 

Plus de Zabitan

โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10Zabitan
 
TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017Zabitan
 
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]Zabitan
 
TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016Zabitan
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016Zabitan
 
TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015Zabitan
 
TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015Zabitan
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศZabitan
 
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Zabitan
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015Zabitan
 
Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979Zabitan
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014Zabitan
 
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014Zabitan
 
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandGunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandZabitan
 
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014Zabitan
 
TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015Zabitan
 
TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014Zabitan
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวZabitan
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"Zabitan
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelZabitan
 

Plus de Zabitan (20)

โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10
 
TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017
 
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
 
TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016
 
TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015
 
TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
 
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015
 
Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
 
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
 
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandGunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
 
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
 
TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015
 
TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
 

TAT Tourism Journal 1/2014

  • 1.
  • 2.
  • 3. เจ้าของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คณะที่ปรึกษา ธวัชชัย อรัญญิก จุฑาพร เริงรณอาษา สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ วิไลวรรณ ทวิชศรี อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์ พงศธร เกษสำ�ลี ศุกรีย์ สิทธิวนิช สมรัก คำ�พุทธ มานิตย์ บุญฉิม ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลางและอเมริกา รักษาการรองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ที่ปรึกษาระดับ 10 รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน รองผู้ว่าการด้านตลาดอาเซียน เอเชียใต้และแปซิฟิกใต้ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด รองผู้ว่าการด้านบริหาร ผู้อำ�นวยการฝ่ายวางแผน บรรณาธิการ ยุวดี นิรัตน์ตระกูล ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด กองบรรณาธิการ อ้อยทิพย์ นิธิยานันท์ วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์ ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ จรัญ ชื่นในธรรม บุษกร พรหมมาโนช โศรยา หอมชื่น ณัฏฐิรา อำ�พลพรรณ สุจิตรา แย้มงามเหลือ ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ผู้อำ�นวยการกองติดตามและประเมินผล ผู้อำ�นวยการกลุ่มสารสนเทศการตลาด ผู้อำ�นวยการกลุ่มฐานข้อมูลการตลาด ผู้อำ�นวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว หัวหน้างานวิชาการ พนักงานวางแผน พนักงานบันทึกข้อมูล
  • 4. Co nt e n t 6-15 | Tourism Situation 16-19 | Tourism Research • สถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ มกราคม - กันยายน 2556 • สรุปสาระสำ�คัญผลการสำ�รวจความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อการท่องเที่ยวไทย 25-30 | Tourism Trend • WTM Global Trends Report • Hostel Part 2 วิพากษ์วัฒนธรรมแบ็คแพ็คเกอร์ 31-40 41-48 | Tourism Seminar | Tourism Talk • World Travel & Tourism Council The Asia Summit : Staying Ahead of Tomorrow • คุยเรื่องเมืองเชียงใหม่ 20-24 | From the Cover • มรดกโลก-มรดกใคร? สุโขทัย กับการเปลี่ยนกระบวนวิธีคิดด้านท่องเที่ยววัฒนธรรม 49-55 56-61 62-73 | Low Carbon Tourism | Pop Culture Tourism | Tourism @ AEC • เที่ยวตลาดเห็บ • SOFT CONTENT บ้านไว้ก่อน น้องสอนไว้ • เตรียมพร้อมท่องเทียวไทย ก้าวไกลสู่ AEC ่ • กรณีปราสาทพระวิหาร : คิดบวก ไม่คดลบ และไม่รบ ิ Tourism Journal 1/2014 จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset) และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้าอนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2 โทรสาร : 0 2253 7468 Tourism Authority of Thailand 1600 New Phetchaburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2 fax: +66 2253 7468 email: etatjournal@tat.or.th website: etatjournal.com ebook: www.issuu.com/etatjournal www.ebooks.in.th/etatjournal twitter: @etatjournal
  • 5. บทบรรณาธิการ บทความในจุลสารวิชาการการท่องเที่ยวฉบับนี้ค่อนข้างหลากหลาย ตามวิถีการท่องเที่ยวที่มี หลายองค์ประกอบ เฉกเช่นเดียวกับศาสตร์ทางการท่องเที่ยวที่หล่อหลอมศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ ด้ ว ยกั น ไม่ ว่ า จะเป็ น การตลาด การบิ น การจั ด การอย่ า งยั่ ง ยื น มานุ ษ ยวิ ท ยา จิ ต วิ ท ยา การท่องเที่ยวจึงได้ยืมศัพท์เทคนิคของศาสตร์อื่นๆ มาใช้ เช่น PANKs, Happiness Index, Low Carbon, Pop Culture, Soft Content ว่ากันไปแล้ว ในปัจจุบันประเทศไทยมีการวิจัยด้านการท่องเที่ยวอยู่พอสมควร แต่ยังหาคนไปใช้ ไม่ค่อยได้มากนัก อาจเป็นเพราะว่านักทฤษฎีพูดคุยกับนักปฏิบัติน้อยไปหรือเปล่า องค์การ การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้จัดเวทีให้คน 2 กลุ่มนี้ได้มาพบปะกันในเวที TedQual Network สำ�หรับในประเทศไทย ใครล่ะจะเป็นผู้ริเริ่ม การเมืองไทยยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองว่าจะมีผลมากน้อยเพียงไรกับการท่องเที่ยว ได้แต่ หวังว่าในปีใหม่นี้ บ้านเมืองคงไม่มีความขัดแย้ง เพราะการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่อ่อนไหว กับข่าวเชิงลบมากที่สุด สวัสดีปีใหม่ค่ะ ดร. วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์ กองบรรณาธิการ
  • 6. To u r i s m Si t u at i o n สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มกราคม-กันยายน ปี 2556 เรื่อง : งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ททท. ภาพรวม สถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 มีทิศทางที่สดใส ทังจำ�นวนนักท่องเทียวและรายได้เติบโตร้อยละ 23 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีจ�นวนนักท่องเทียวประมาณ 19.67 ล้านคน ้ ่ ำ ่ สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวประมาณ 853,122 ล้านบาท (ทั้งนี้ สถิติเดือนกันยายนยังคงเป็นตัวเลขประมาณการ จากกรมการท่องเที่ยว) ตลาดที่เป็นแรงผลักสำ�คัญที่ทำ�ให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตแบบ ก้าวกระโดด ยังคงเป็นตลาดจีนและรัสเซีย ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่ เ ติ บ โตก้ า วกระโดดต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ป ลายปี ที่ ผ่ า นมา โดยในช่ ว ง 9 เดือนแรกตลาดจีนเติบโตร้อยละ 93 สูงที่สุด ส่วนหนึ่งเกิดจาก การหัน มาจองทัวร์เข้าไทยเป็นจำ�นวนมากก่อนที่ราคาทัวร์จะปรับตัว สู ง ขึ้ น ในเดื อ นตุ ล าคมเป็ น ต้ นไป อั น เป็ น ผลจากกฎหมายท่ อ งเที่ ย ว ฉบับใหม่ของจีน ส่วนตลาดรัสเซีย เติบโตร้อยละ 37 นอกจากนั้น ตลาดอาเซี ย นยั ง เป็ น กลุ่ ม ตลาดศั ก ยภาพอี ก กลุ่ ม หนึ่ ง ที่ จ ะต้ อ ง จับตามองในด้านการเติบโต โดยเฉพาะตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมีขนาดตลาดมากกว่า 500,000 คนขึ้นไป และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ตั้งแต่ระดับร้อยละ 14-40 โดยเฉพาะ ตลาดมาเลเซีย ซึ่งมีฐานตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ แต่ยังสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 20 ส่วนตลาดอินโดนีเซีย เติบโตถึง ร้อยละ 40 นับเป็นตลาดขนาดกลางที่มีแนวโน้มสดใส ซึ่งเกิดจาก แนวทางการทำ � ตลาดของ ททท. ที่ ต้ อ งการดึ ง ดู ด ตลาดอาเซี ย น ให้เดินทางภายในภูมิภาคกันเองให้มากขึ้น ส่วนตลาดยุโรป แม้จะประสบ 6 | Tourism Journal ปัญหาภาวะเศรษฐกิจในหลายประเทศ แต่ ในภาพรวมนักท่องเที่ยว มาไทยก็ยังสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 13 ซึ่งเกิดจากนโยบายของ ททท. ที่มุ่งเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพมากขึ้น และส่วนหนึ่งนักท่องเที่ยว ได้หลีกเลียงการเดินทางไปตะวันออกกลาง ซึงกำ�ลังมีปญหาความขัดแย้ง ่ ่ ั ในหลายประเทศ ส�ำหรับสถานการณ์ท่องเที่ยวภาพรวมในไตรมาสสุดท้ายคาดว่า จ�ำนวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วและรายได้ จ ะยั ง คงเติ บ โตต่ อ เนื่ อ ง เพราะ ประเทศไทยยังคงมีปัจจัยแข็งแกร่งจากภาพลักษณ์ด้านความคุ้มค่าเงิน ในภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน และยังคงมีการเพิ่มเที่ยวบินจากตลาด หลั ก ต่ า งๆ มาไทยอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แม้ ว ่ า จะมี ป ั จ จั ย ลบจากกฎหมาย ท่องเที่ยวฉบับใหม่ของจีนที่ออกมาดูแลทัวร์คุณภาพ และการชะลอตัว ของตลาดสหรัฐอเมริกาจากปัญหาการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดาน หนี้ ส าธารณะของสหรั ฐ ฯ ซึ่ ง จะท�ำให้ ทั้ ง สองตลาดหลั ก ดั ง กล่ า ว ชะลอการเติบโตลงไปในระยะสั้นๆ ทั้งนี้ คาดว่าตลอดทั้งปี 2556 ประเทศไทยจะได้รับนักท่องเที่ยวเกินเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ โดยมี แนวโน้มว่าจะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 หรือมีจ�ำนวน นักท่องเทียว 26.26 ล้านคน สร้างรายได้ 1.18 ล้านล้านบาท หรือเพิมขึน ่ ่ ้ ร้อยละ 20
  • 7. Tou r i s m Si t u at i o n ภูมิภาคเอเชียตะวันออก สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออก ช่วง 9 เดือนแรก ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับค่อนข้างสูง โดยมีนักท่องเที่ยว รายสั ญ ชาติ เ ดิ น ทางเข้าไทย เพิ่มขึ้นร้อ ยละ 35 หรือ มีจ�ำนวนประมาณ 12.08 ล้านคน โดยในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่ มขึ้ น ประมาณ ร้อยละ 36 เนื่องจากกระแสการเดินทางอย่างคึกคักในช่วงปิดภาคเรียนของนักท่องเที่ยวจากจีนและญี่ปุ่น รวมทั้งการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในช่วง เทศกาลฮารีรายอและเทศกาลเข้าพรรษาของนักท่องเที่ยวจากอาเซียน ตลาดภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ : ใน 9 เดือน ิ แรกของปี 2556 ตลาดภูมิภาคนี้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 51 หรือมีนักท่องเที่ยว 6.74 ล้านคน ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับทุกภูมิภาค การเติบโตของนักท่องเที่ยวจีนมีผลอย่าง มากต่อการดึงให้อัตราการเติบโตของภูมิภาคนี้สูงก้าวกระโดด ในขณะที่ ตลาดฮ่องกงและญี่ปุ่นมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน รวมทั้งตลาดไต้หวัน มีการ เติบโตต่อเนืองมาตังแต่ตนปี ส่วนตลาดเกาหลีขยายตัวเพิมขึนในระดับปาน ่ ้ ้ ่ ้ กลาง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตลาดจีน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 93 หรือมีนักท่อง เที่ยวจ�ำนวน 3.74 ล้านคนใน 9 เดือนแรกของปี โดยไตรมาสที่ 3 มีอัตรา การเติบโตร้อยละ 83 ผลจากการประกาศใช้กฎหมายท่องเทียวจีนฉบับใหม่ ่ ทีจะเริมในเดือนตุลาคม ท�ำให้นกท่องเทียวจีนจ�ำนวนมากรีบซือทัวร์มาไทย ่ ่ ั ่ ้ ก่อนที่ราคาทัวร์จะปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเดิน ทางในช่วง ปิดภาคเรียน ซึ่งนิยมเดินทางกันเป็นครอบครัว โดยมีการเปิดเที่ยวบิน เพิ่มจ�ำนวนมากในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อรองรับการเดินทาง ที่เพิ่มขึ้น อาทิ China Southern Airlines เปิดเส้นทาง หวู่ฮั่น-กรุงเทพฯ 14 เที่ยว/สัปดาห์ และเส้นทาง ฉางซา-กรุงเทพฯ, Hainan Airlines เปิดเส้นทาง ปักกิ่ง-กรุงเทพฯ 4 เที่ยว/สัปดาห์, Shenzhen Airlines เปิดเส้นทาง เสินเจิน-กรุงเทพฯ 14 เทียว/สัปดาห์ นอกจากนี้ ความขัดแย้ง ่ ้ ่ ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นยังคงมีผลกระทบต่อการเดิน ทางเข้าไปท่องเที่ยว ในญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวจีน โดยใน 8 เดือนแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวจีน เดินทางเข้าญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 26 ลดลงในทุกๆ เดือน และเลือกเปลี่ยน เส้นทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน ตลาดเกาหลีใต้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ใน 9 เดือนแรกของ ปี 2556 โดยมีปัจจัยเสริมจากการเพิ่มเที่ยวบินของสายการบิน Korean Air เพิ่มเที่ยวบิน โซล-เชียงใหม่ จาก 4 เที่ยว เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม และ Asiana Airlines เพิ่มเที่ยวบิน โซล-กรุงเทพฯ จาก 7 เที่ยว เป็น 14 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในช่วง 9 เดือนแรก โดยได้ ปัจจัยบวกจากการปิดภาคเรียนช่วงฤดูร้อนในช่วงไตรมาสที่ 3 นอกจากนี้ นับตั้งแต่ต้นปี นักท่องเที่ยวบางส่วนหลีกเลี่ยงการเดินทางไปจีนและ เกาหลี เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนทางทะเลและข่าวสงครามเกาหลี ประกอบกับค่าเงินเยนทียงคงอ่อนค่า เมือเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ส่งผลให้ ่ั ่ นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเลือกเดินทางไปประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่สูงแทน ตลาดฮ่องกงและไต้หวัน มีสถานะดีมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยใน 9 เดือนแรกของปี ตลาดฮ่องกงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 โดยได้รับ ปัจจัยเสริมส่วนหนึ่งจากการที่สายการบิน City Airways เปิดบินเส้นทาง ฮ่องกง-กรุงเทพฯ จ�ำนวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มเดือนกรกฎาคม ส�ำหรับ ตลาดไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 32 โดยได้รบแรงเสริมจากการเปิดเส้นทางบิน ั ของสายการบิน TransAsia Airways เส้นทาง ไทเป-เชียงใหม่ จ�ำนวน 2 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มเดือนกรกฎาคม เป็นการสยายปีกการบินเพิ่ม หลังจากที่ได้เปิดเที่ยวบิน ไทเป-กรุงเทพฯ ไปแล้วในช่วงมีนาคมที่ผ่านมา Tourism Journal | 7
  • 8. To u r i s m Si t u at i o n อาเซี ย น : 9 เดือนแรกของปี นักท่องเที่ยว รายสัญชาติ จากภูมิภาคอาเซียนเดินทางเข้าไทย ขยายตัวดี ร้อยละ 19 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยในไตรมาสที่ 3 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ตลาดหลัก เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ล้วนขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้วยดี ในขณะที่ตลาดรอง เช่น พม่า และอินโดนีเซีย มีอัตรา การเติบโตที่ค่อนข้างสูง ดังมีรายละเอียด ดังนี้ ตลาดหลัก สิงคโปร์และมาเลเซีย มีการเติบโตที่ดีในอัตราร้อยละ 14 ตลาดขนาดเล็ก เช่น ฟิลปปินส์ ใน 9 เดือนแรกของปี ขยายตัวเพิมขึน ิ ่ ้ ร้อยละ 11 ส่วนไตรมาสที่ 3 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21 โดยได้รับปัจจัยเสริมจากสายการบิน Cebu Pacific เปิดเส้นทางบิน มะนิลา-ภูเก็ต จ�ำนวน 3 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนสิงหาคม ตลาดอินโดจีน ตลาดพม่า มีแนวโน้มทีดี โดยเพิมขึนร้อยละ 38 ในช่วง ่ ่ ้ 9 เดือนแรก โดยการเปิดประเทศมากขึ้น ท�ำให้มีการลงทุนจากต่างชาติ ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศดีขน ชนชันกลางมากขึน และมีความต้องการ ึ้ ้ ้ ท่องเที่ยวต่างประเทศ กอปรกับในเดือนกันยายน สายการบิน Bangkok Airways เปิดเที่ยวบิน มัณฑะเลย์-กรุงเทพฯ 4 เที่ยว/สัปดาห์ และ เนปิดอว์-กรุงเทพฯ 3 เทียว/สัปดาห์ รวมทังสายการบินนกแอร์ เปิดเทียวบิน ่ ้ ่ มะละแหม่ง-แม่สอด 7 เที่ยว/สัปดาห์ ส�ำหรับตลาดกัมพูชาและลาว ในช่วง 9 เดือนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เท่ากัน ส่วนเวียดนาม เติบโต ร้อยละ 25 ส่วนหนึ่งเกิดจากการข้ามมาเที่ยวซื้อของห้างสรรพสินค้า ที่เปิดใหม่ในฝั่งไทยในจังหวัดนครราชสีมา และ 20 ตามล�ำดับ ในช่วง 9 เดือน โดยในปีนตลาดมาเลเซียมีวนหยุดเทศกาล ี้ ั ฮารีรายอ รวม 4 วัน จึงสามารถออกเดินทางท่องเทียวต่างประเทศในระยะ ่ ใกล้ได้ อีกทังสายการบินแอร์เอเชีย เพิมเทียวบิน กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ ้ ่ ่ จาก 64 เป็น 70 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงวันที่ 2-18 สิงหาคม และ สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เพิ่มเที่ยวบิน กัวลาลัมเปอร์-ภูเก็ต จาก 19 เที่ยว เป็น 26 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม ส่วนตลาดสิงคโปร์ มีปจจัยเสริมจากสายการบิน Jetstar Asia เพิมเทียวบิน สิงคโปร์-กรุงเทพฯ ั ่ ่ จาก 25 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 33 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม สถานการณ์การท่องเที่ยวของภูมิภาคยุโรปในช่วง 9 เดือนแรก 2556 ยังคงมีทิศทางทีสดใส จากสถิตินกท่องเทียวรายสัญชาติทเี่ ดินทาง ่ ั ่ ตลาดขนาดกลาง เช่น อินโดนีเซีย มีแนวโน้มทีดมาก ใน 9 เดือนแรก เข้าประเทศไทย มีจ�ำนวนประมาณ 4.42 ล้านคน หรือมีอัตราการเติบโต ่ี ของปี ตลาดอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และในไตรมาสที่ 3 ก็เติบโต ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แทบทุกตลาดล้วนมีการขยายตัวที่ดี ในระดับเดียวกัน อันเป็นผลมาจากการเดินทางเข้ามาในช่วงฮารีรายอ โดยนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเยอรมนี มีการเติบโต และปัจจัยสนับสนุนจาก สายการบิน Garuda Airlines เปิดเที่ยวบิน แบบก้าวกระโดด ร้อยละ 37 ร้อยละ 24 และร้อยละ 11 ตามล�ำดับ จาการ์ตา-ภูเก็ต จ�ำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนสิงหาคม และ ยกเว้นตลาดฟินแลนด์ เดนมาร์ก และสวีเดน ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 8 การบินไทย เพิมเทียวบิน จาการ์ตา-กรุงเทพฯ จาก 7 เทียว เป็น 14 เทียว/ ร้อยละ 1 และ 0.57 ตามล�ำดับ ่ ่ ่ ่ สัปดาห์ ในเดือนกรกฎาคม ภูมิภาคยุโรป 8 | Tourism Journal
  • 9. Tou r i s m Si t u at i o n ปัจจัยสนับสนุนต่อการขยายตัว มีดังนี้ ประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งท่องเทียวยอดนิยมและมีความคุมค่าเงิน ่ ้ สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ปัจจัยบวกทางด้านเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ อาทิ ตลาดรัสเซีย ยุโรปตะวันออก/CIS ยังคงมีทศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจทีดี และเป็น ิ ่ แรงขับเคลื่อนส�ำคัญของภูมิภาค ส�ำหรับตลาดสหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส หรือแม้แต่ ประเทศในกลุมยุโรปใต้ อิตาลี และสเปน ยังคงเผชิญกับการแก้ไขปัญหา ่ หนี้สาธารณะ ภาคการผลิตชะลอตัว และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง แต่การเดินทางเข้าไทยของตลาดเหล่านียงมีการเติบโตได้ โดยเฉพาะอิตาลี ้ั ซึงมีปญหาทางเศรษฐกิจเรือรังมานาน ก็ยงคงสามารถรักษาฐานตลาดเดิม ่ ั ้ ั ไว้ได้ แม้จะไม่สามารถปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้มากนักก็ตาม สภาพอากาศในช่ ว งฤดู ร ้ อ นปี นี้ ข องทางฝั ่ ง ยุ โ รปค่ อ นข้ า งดี (กรกฎาคม-กันยายน) ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวยุโรปออกเดินทาง ท่องเที่ยวกันคึกคัก อาทิ ตลาดสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะเดนมาร์ก และ นอร์เวย์ ประเทศในแถบยุโรปใต้ สเปน ตุรกี และเมดิเตอร์เรเนียน มีแนวโน้ม เดินทางท่องเทียวทังภายในภูมภาคและนอกภูมภาค โดยเฉพาะแหล่งเทียว ่ ้ ิ ิ ่ ทางทะเลในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส�ำหรับประเทศไทยในช่วงฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม-กันยายน) การท่องเทียวกับบริษัทน�ำเทียวได้รบความนิยม ่ ่ ั เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่นิยมในฤดูหนาวที่จะมาถึงนี้ด้วย โดยเส้นทาง ยอดนิยมในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ ประเทศไทย, เส้นทางอิสราเอลและ จอร์แดน, เส้นทางอินเดียและเนปาล, คิวบาและแอฟริกาใต้ การได้ประโยชน์จากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายใน ประเทศอียิปต์ทวีความรุนแรงและยังไม่มีทีท่าจะยุติ ท�ำให้นักท่องเที่ยว ชาวยุโรปหันเหการเดินทางไปท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นแทน โดยเฉพาะ ในแถบเอเชี ย ตะวั น ออกเฉีย งใต้และประเทศไทย ทั้ง นี้มีรายงานว่า บริษัทน�ำเที่ยว อาทิ Thomas Cook, TUI Thomson, TUI Nordic ในพื้นที่ ตลาดรัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี โปรตุเกส และกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้ระงับการขายแพ็คเกจท่องเที่ยวไปอียิปต์และขายเส้น ทางอื่นแทน เริมตังแต่กลางเดือนกรกฎาคมไปจนกว่าสถานการณ์จะคลีคลาย ส่วนการ ่ ้ ่ ล่องเรือส�ำราญ (Cruise) บริษั ทน�ำเที่ยวแนะน�ำให้ยกเลิกการเดินทาง จนถึงช่วงกลางเดือนกันยายน การขยายตั ว ของอุ ต สาหกรรมการบิ น และการเปิ ด เที่ ย วบิ น ใหม่ในช่วงตารางบินฤดูร้อน (มิถุนายน-ตุลาคม) อาทิ ตลาดนอร์เวย์ สายการบิน Norwegian Air เปิดเที่ยวบินใหม่ เส้นทางออสโล-กรุงเทพฯ และเส้นทางสตอกโฮล์ม-กรุงเทพฯ จ�ำนวน 3 เทียว/สัปดาห์ในตลาดสวีเดน ่ ทังนีมรายงานว่าจ�ำนวนผูโดยสารของสายการบินดังกล่าวในเดือนมิถนายน ้ ้ี ้ ุ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากปีที่ผ่านมา และมีการเพิ่มจ�ำนวนที่นั่งในตลาด สแกนดิเนเวียด้วย ส�ำหรับตลาดอิตาลี มีการเพิ่มเที่ยวบิน เส้นทางมิลานกรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยว เป็น 4 เที่ยว/สัปดาห์ เส้นทางโรม-กรุงเทพฯ จากเดิม 4 เที่ยว เพิ่มเป็น 5 เที่ยว/สัปดาห์ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ภูมิภาคอเมริกา จากสถิตนกท่องเทียวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ิั ่ 9 เดือนแรก ภูมิภาคนี้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 นับเป็นการขยายตัว ทีคอนข้างดี โดยเฉพาะตลาดหลัก สหรัฐอเมริกาเพิมขึนร้อยละ 8 แคนาดา ่่ ่ ้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และยังคงได้แรงเสริมที่แข็งแกร่งจากตลาดเกิดใหม่ใน ละตินอเมริกา คือ บราซิล เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 และอาร์เจนตินา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18 ด้วยปัจจัยสนับสนุนการขยายตัว ดังนี้ ปัจจัยบวกทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในแถบอเมริกาเหนือและ ละตินอเมริกา โดยเฉพาะแคนาดา บราซิล และอาร์เจนตินา ที่มีอัตรา การเติบโตทีดี เอือให้มอตราการเดินทางท่องเทียวออกนอกประเทศ ขณะที่ ่ ้ ีั ่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านความขัดแย้ง ทางการเมืองระหว่างประเทศ และปัญหาหนี้สาธารณะ แต่สถานการณ์ ท่องเที่ยวมาไทยก็ยังคงเติบโตได้ค่อนข้างดี เนื่องจากกลุ่มตลาดมาไทย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตลาดระดับบน จึงไม่อ่อนไหวต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังมีเงินออมเพียงพอที่จะเดินทางท่องเที่ยวระยะไกล เหตุการณ์นองเลือดในประเทศอียิปต์ และความขัดแย้งทางการ เมืองระหว่างสหรัฐฯ และซีเรีย ท�ำให้ทางการสหรัฐฯ ออกประกาศเตือน พลเมืองให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าประเทศอียิปต์และพื้นที่เสี่ยงภัย ภูมิภาคเอเชียใต้ จากสถิตนกท่องเทียวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ิั ่ ในช่วง 9 เดือนแรก มีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวเอเชียใต้มาไทยประมาณ 1 ล้านกว่าคน ขยายตัวร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้เติบโตในระดับปานกลาง เป็นผลมาจากตลาดหลักของภูมิภาค คือ ตลาดอินเดีย ประสบปัญหา Tourism Journal | 9
  • 10. To u r i s m Si t u at i o n เศรษฐกิจซบเซามาตั้งแต่ปี 2555 และมีการเพิ่มมาตรการการขอวีซ่า เข้าไทย ส่งผลให้นกท่องเทียวบางส่วนชะลอการเดินทางลง แต่สถานการณ์ ั ่ การท่องเทียวตลาดเล็กๆ ในภูมภาคยังคงขยายตัวได้คอนข้างดี โดยเฉพาะ ่ ิ ่ บังกลาเทศ เติบโตสูงถึงร้อยละ 12 โดยมีรายละเอียดรายตลาด ดังนี้ ตลาดหลักของภูมิภาคนี้ คือ อินเดีย สถานการณ์ท่องเที่ยวในช่วง 9 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 5 ถึงแม้เศรษฐกิจอินเดียจะยังไม่ฟื้นตัวดี เท่าที่ควร แต่นักท่องเที่ยวอินเดียยังคงต้องการเดินทางท่องเที่ยว โดยมี ข้อมูลอ้างอิงจาก Associated Chamber of Commerce and Industry of India ว่าในช่วงที่ค่าเงินรูปียังคงอ่อนค่า ชาวอินเดียยังมีความต้องการ เดินทางท่องเทียว แต่ปรับเปลียนพฤติกรรมจากเดิม โดยเลือกพักโรงแรม ่ ่ ในราคาถูกลง ระยะเวลาพ�ำนักสั้นลง และความถี่ ในการเดินทางลดลง โดยยังคงมีความต้องการไปเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยเฉพาะ ในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึงรวมถึงประเทศไทย ซึงมีขอได้เปรียบ ิ ่ ่ ้ ในแง่ความคุ้มค่าเงิน ส�ำหรับตลาดเล็กๆ ในภูมิภาค ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน และ ศรีลังกา ในช่วง 9 เดือน ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ร้อยละ 7 และร้อยละ 4 ตามล�ำดับ เนื่องจากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง ในแต่ละประเทศเริ่มคลี่คลายในไตรมาสที่ 3 จึงเป็นปัจจัยให้การเดินทาง ในฤดูกาลท่องเที่ยวภาคฤดูร้อนในปีนี้ปรับตัวดีขึ้น ภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟริกา สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วง 9 เดือน แรก นักท่องเที่ยวรายสัญชาติปรับตัวลดลงร้อยละ 2 แม้ว่าตลาดหลัก ทุกตลาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ตลาดรายย่อย เช่น อิหร่าน และตลาดอื่นๆ ซึงมีสดส่วนค่อนข้างสูง มีอตราการเติบโตลดลง จึงฉุดให้ภาพรวมของภูมภาค ่ ั ั ิ ิ ่ ้ นีลดลงไปเล็กน้อย ตลาดหลักทีเ่ ติบโตสูงมาก คือ อียปต์ เพิมขึนร้อยละ 31 ้ และซาอุดอาระเบีย เพิมขึนร้อยละ 26 ส่วนภูมภาคแอฟริกาเติบโตร้อยละ 2 ี ่ ้ ิ โดยเป็นการเติบโตของตลาดขนาดเล็กอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในขณะที่ ตลาดแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นตลาดหลักของภูมิภาคนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 1 ทั้งนี้มีรายละเอียดในแต่ละตลาด ดังนี้ ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในภูมภาคตะวันออกกลางและ ิ แอฟริกา ไม่วาจะเป็นเหตุการณ์นองเลือดในอียปต์ ปัญหาความขัดแย้งของ ่ ิ อิสราเอลและปาเลสไตน์ ปัญหาทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯ และซีเรีย ส่งผลให้จ�ำนวนนักท่องเทียวในช่วง 9 เดือนแรกของภูมภาคตะวันออกกลาง ่ ิ ค่อนข้างมีความผันผวน นักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลาง มีแนวโน้มหันเหไปท่องเที่ยวยุโรป มากขึน ด้วยปัจจัยด้านค่าเงินยูโรอ่อนค่าเป็นแรงจูงใจส�ำคัญ โดยแหล่งท่อง้ เทียวทียงคงได้รบความนิยม ได้แก่ เยอรมนี ฝรังเศส และสหราชอาณาจักร ่ ่ั ั ่ การชะลอตั ว ของจ�ำนวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วจากกลุ ่ ม ประเทศ Gulf Cooperation Council (GCC) โดยเฉพาะตลาดหลัก สหรัฐอาหรับ เอมิ เ รตส์ เนื่ อ งจากช่ ว งเทศกาลถื อ ศี ล อด (Ramadan) ในปี นี้ จากสถิตินักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ในช่วง (เริ่ ม ตั้ ง แต่ วั น ที่ 9 กรกฎาคม-สิ ง หาคม) เลื่ อ นมาทั บ กั บ ช่ ว งฤดู 9 เดือนแรก ตลาดภูมิภาคนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 3 โดยมีรายละเอียด ท่องเที่ยวช่วงฤดูร้อน และมีผลให้ช่วงวันหยุดก่อนเดือนรอมฎอน ในปีนี้ รายตลาด ดังนี้ มีระยะเวลาสั้นลง ทั้งนี้ การเดินทางท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วง กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา เนื่องจากมีช่วงวันหยุดยาวเพื่อเฉลิมฉลอง ตลาดออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดหลัก ปรับตัวลดลงร้อยละ 4 โดยใน เทศกาลฮารีรายอ โดยในเดือนกันยายนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 2 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ออสเตรเลีย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย มีแนวโน้มแข็งค่ากว่า ตลาดอียิปต์ แม้จะเกิดสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองภายใน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ท�ำให้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งหันเหเดินทางท่องเที่ยว ประเทศ แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย ไปอเมริกา ซึงเป็นแหล่งท่องเทียวในฝันของนักท่องเทียวออสเตรเลียแทน แต่อย่างใด จากการรายงานของส�ำนักงาน ททท. ในพืนที่ พบว่า สายการบิน ่ ่ ่ ้ ประกอบกับในช่วงเดียวกันนั้นประเทศไทยประสบปัญหาการแข็งของค่า Etihad และบริษัทน�ำเที่ยวในพื้นที่ที่เจาะกลุ่มระดับบน อาทิ Corporate/ เงินบาทตั้งแต่ช่วงต้นปี และแข็งค่าหนักสุดช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งส่งผลให้ Incentive รวมทังกลุม Medical ยังคงได้รบกลุมตลาดดังกล่าวเป็นลูกค้า ้ ่ ั ่ นักท่องเที่ยวบางส่วนชะลอการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ตั้งแต่ หลักในช่วงนี้ โดยมีการเดินทางออกอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีจ�ำนวนไม่มาก เดือนเมษายนเป็นต้นมา แม้ในบางเดือนตลาดจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ก็ตาม ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 นักท่องเที่ยวอียิปต์เดินทางเข้าไทย มีการ แต่ก็ไม่สามารถดึงภาพรวมในช่วง 9 เดือนให้เพิ่มสูงขึ้นได้ ขยายตัวร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ภูมิภาคโอเชียเนีย ตลาดนิวซีแลนด์ สถานการณ์การท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ เนื่องจาก ตลาดอิหร่าน ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาการคว�่ำบาตรของ ตลาดไม่ได้รบผลกระทบมากนักจากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทของไทย สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดแอฟริกาใต้ ปรับตัวลดลง เนื่องจาก ั โดยในช่วง 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 2 ยังคงมีสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและปัญหาการ ก่อความไม่สงบของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงและกลุ่มโจรสลัดภายในภูมิภาค ท�ำให้บรรยากาศในการเดินทางท่องเที่ยวไม่คึกคักเท่าที่ควร 10 | Tourism Journal
  • 11. Tou r i s m Si t u at i o n ตลาดเอเชียตะวันออก : คาดว่าทุกตลาดจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง ตลาดยุโรป : คาดว่าการเดินทางท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปจะคึกคัก ในไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากยังมีปัจจัยเสริมด้านเที่ยวบิน ที่ปรับตัว เพิมขึน ยกเว้นตลาดจีนทีอาจจะชะลอตัวลดลง ร้อยละ 30-50 จากปัญหา ่ ้ ่ การออกกฎหมายท่องเที่ยวฉบับใหม่ของจีน ผลกระทบจากการออกกฎหมายท่องเที่ยวฉบับใหม่ของจีน ที่มีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไปนั้น คาดว่าส่งผลท�ำให้ จ�ำนวนนักท่องเทียวจีนในไตรมาสที่ 4 ชะลอตัวลง จากราคาทัวร์ทปรับตัว ่ ี่ สูงขึ้น ส่งผลให้ยอดจองทัวร์ลดลง โดยเฉพาะในช่วงวันชาติของจีน (Golden Week 1-7 ตุลาคม 2556) ลดลงประมาณร้อยละ 30-50 และ ส่งผลกระทบถึงยอดจองทัวร์ของเดือนตุลาคมลดลงประมาณร้อยละ 50-70 รวมทั้งสายการบินต่างๆ ที่มีเส้นทางมายังประเทศไทยมียอดจอง ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ลดลงประมาณร้อยละ 40-50 อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบในไตรมาสที่ 4 นี้เท่านั้น ผลกระทบเรื่องความขัดแย้งดินแดนหมู่เกาะของจีนกับญี่ปุ่น แม้จะ ไม่รุนแรงเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่คาดว่าจะยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง ในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะ ตลาดญี่ปุ่น ซึ่งมีการส�ำรวจจาก JATA ว่าชาวญี่ปุ่นจะยังคงไม่เลือกเดินทางไปจีนในปีนี้ การออกมาตรการผ่อนปรนเรืองการเข้า-ออกประเทศพม่า และการ ่ เปิดด่านการค้าแห่งใหม่ (ด่านทิก) ตังแต่เดือนสิงหาคม และการเปิดสะพาน ิ ้ มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ปลายปี 2556 คาดว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยว ในอินโดจีนให้สะดวกมากขึ้น ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจนกลับมาเป็นปกติ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยว เดินทางมาท่องเทียวประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามองปัญหา ่ เพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลต่อค่าเงินบาทในอนาคต รวมทั้งอาจจะ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของญีปนและจีน ซึงเป็นเจ้าหนี้ใหญ่ของประเทศสหรัฐฯ ่ ุ่ ่ จับตามองการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ในเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งพม่าเป็นเจ้าภาพ อาจมีผลในการดึงสัดส่วนนักท่องเที่ยวในภูมิภาค อาเซียนที่เดินทางเข้าพม่า ยังต้องคอยติดตามปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อตลาดมาเลเซีย มากขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัว ดังนี้ แนวโน้มการท่องเที่ยวของตลาดยุโรปปีนี้ค่อนข้างสดใสเมื่อเทียบ กับปีทผานมา เนืองจากนักท่องเทียวต้องการหนีหนาวมาเทียวไทยเร็วเป็น ี่ ่ ่ ่ ่ ประวัติการณ์ โดยได้ทยอยจองโรงแรมที่พักบริเวณหัวหิน ชะอ�ำ ล่วงหน้า ตังแต่เดือนกันยายน (มากกว่า 40% ของห้องพักทังหมด) และจะเริมเข้าพัก ้ ้ ่ ตังแต่เดือนตุลาคม 2556 - กุมภาพันธ์ 2557 จากปกติจะเริมจองช่วงกลาง ้ ่ เดือนตุลาคม ส่วนหนึงเป็นผลมาจากเงินบาทอ่อนค่าเมือเทียบกับยูโร และ ่ ่ เหรียญสหรัฐฯ และนักท่องเที่ยวสแกนฯ เปลี่ยนเส้นทางมาพักในแหล่ง ท่องเที่ยวรอง อาทิ หัวหินและชะอ�ำ เนื่องจากที่พักในเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น ภูเก็ตและพัทยา มีนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซียจองเกือบเต็ม โดยมี การคาดการณ์วาทังปีจะมีอตราเข้าพักเฉลียร้อยละ 65 สูงกว่าปีทผ่านมา ่ ้ ั ่ ี่ ที่มีอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 50-55 (ที่มา : สมาคมโรงแรมไทย) มีสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจของยุโรปก�ำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดย ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับ 96.9 (ณ เดือนกันยายน) จากระดับ 95.3 (ณ เดือนสิงหาคม) ภายหลังทีรฐบาล ่ั ประเทศในยุโรปเริ่มผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดและขึ้นภาษี ส่งผลให้ เศรษฐกิจ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรอาจมีการขยายตัวร้อยละ 1 ในปีหน้า ซึ่งยังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ปัจจัยหนุนด้านการด�ำเนินงานทางการตลาดของ ททท. ในการมุงเจาะ ่ ตลาดใหม่ในพื้นที่รองมากขึ้น เช่น จัด Road Show เมืองมิวนิกและ ชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี ไอร์แลนด์ ฯลฯ ซึงคาดว่าจะช่วยขยายตลาด ่ นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่และมีศักยภาพมากขึ้น Tourism Journal | 11
  • 12. T o u r i s m Si t u at i o n ตลาดภูมิภาคอเมริกา ปลายเดือนกันยายน ประเทศไทยได้รับรางวัล ‘The Best Golf Destination’ จาก Safari India National Tourism Awards 2013 และ : คาดว่าในภาพรวมของภูมิภาคจะมีการเติบโตปานกลาง รางวัล ’Best Wedding Destination’ จาก Hospitality India Awards โดยได้รับแรงผลักจากแนวโน้มที่ดีของตลาดละตินอเมริกา 2013 ซึ่งน่าจะเป็นตัวชี้วัดถึงความส�ำเร็จที่ประเทศไทยสามารถดึงดูด นักท่องเทียวได้มากขึน โดยเฉพาะนักท่องเทียวกลุมฮันนีมน/แต่งงาน และ ่ ้ ่ ่ ู โดยในส่วนของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลัก มีทิศทางตลาด ที่ไม่ค่อยแจ่มใสนักในช่วงไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงทางด้าน กลุ่มกอล์ฟ ซึ่งน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องต่อไป วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทียงคงเปราะบางจากสถานการณ์การปิดหน่วยงาน ่ั ภาครัฐของสหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 1-16 เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ตลาดโอเชียเนีย ่ ่ ผลกระทบจากการจ้างงานในส่วนราชการ และในส่วนของภาคการ สถานการณ์ทองเทียวตลาดโอเชียเนียในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2556 ท่องเทียวภายในประเทศสหรัฐฯ ซึงต้องใช้ระยะเวลาในการฟืนตัว จึงอาจ คาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจาก ่ ่ ้ ส่งผลกระทบท�ำให้ตลาดสหรัฐฯ ชะลอตัวลงไปเล็กน้อย ทั้งนี้ จากข้อมูล ความมีศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งเอื้อต่อการใช้จ่าย การจองบัตรโดยสารเครื่องบินของ ForwardKeys ซึ่งรวบรวมฐานข้อมูล ในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ อาจจะยังส่งผลให้นักท่องเที่ยว จากบริษัทรายใหญ่ เช่น Abacus, Amadeus ฯลฯ พบว่า แนวโน้มการจอง ออสเตรเลียยังคงเลือกเดินทางไปสหรัฐอเมริกา ในช่วงไตรมาสสุดท้ายจากสหรัฐฯ มาไทย อาจปรับตัวลดลงร้อยละ 3 การเปิดเส้น ทางบินใหม่ของ สายการบิน Jetstar ในเส้น ทาง นอกจากนี้ส�ำหรับผลกระทบระยะยาว คาดว่าจากการพิจารณาผ่านร่าง เมลเบิร์น-ภูเก็ต 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2556 กฎหมายขยายเพดานหนี้ต่อไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2557 อาจส่งผล อาจช่วยชะลอให้ตลาดไม่ปรับตัวลดลงไปมากนัก ต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชน และอาจมีการปรับลดการ การส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องของ ททท. โดยล่าสุดในเดือน ใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวลงเพื่อออมเงินมากขึ้น ซึ่งยังคงต้องเฝ้าติดตาม สิงหาคม 2556 ได้จัดงาน Thailand Medical & Wellness Tourism Trade and Media FAM Trip 2013 โดยมีเอเย่นต์ทองเทียวเพือสุขภาพ 40 บริษัท ่ ่ ่ สถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด จาก 10 ประเทศมาร่วมงาน รวมทั้งจากออสเตรเลีย ซึ่งจากการจัดงาน ตลาดเอเชียใต้ : คาดว่าน่าจะมีการขยายตัวเพิมขึนในระดับปานกลาง ในครั้งนี้คาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพได้มากขึ้น ่ ้ จากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ดังนี้ เทศกาลดิวาลี (เทศกาลปีใหม่ของชาวอินเดีย) ในเดือนตุลาคม ซึงจะมี ตลาดตะวันออกกลางและแอฟริกา ่ ่ วันหยุดยาวและชาวอินเดียนิยมออกเดินทางท่องเทียว และจากการรายงาน ตลาดตะวันออกกลาง : คาดว่าจะเติบโตได้เมือเทียบกับช่วงเดียวกัน ่ ของ ททท. ส�ำนักงานมุมไบ ณ เดือนตุลาคม 2556 รายงานว่าสายการบิน ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสิ้นสุดช่วงเทศกาลถือศีลอดและนักท่องเที่ยว หลายสายของอินเดียปรับราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินเส้น ทางใน เริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวแล้ว และสายการบิน Emirates จะเพิ่มเที่ยวบิน ประเทศ โดยเพิ่มสูงขึ้นราวร้อยละ 30-37 จึงคาดว่านักท่องเที่ยวส่วนหนึ่ง เส้นทางดูไบ-กรุงเทพฯ จากเดิม 35 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 42 เที่ยว/สัปดาห์ นอกจากนี้การเปิดตลาดใหม่ของ ททท. ในช่วงต้นปี 2556 โดยเข้าไปท�ำ น่าจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ผลกระทบจากเศรษฐกิจของอินเดียทียงไม่ฟนตัว ค่าเงินรูปยงผันผวน Road Show ในคูเวตและกาตาร์ อาจมีส่วนในการส่งเสริมตลาดกลุ่มใหม่ ่ ั ้ื ีั จึงคาดว่านักท่องเที่ยวจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้ ซึ่งสอดคล้อง ให้เพิ่มขึ้นได้ ่ กับผลส�ำรวจในเดือนกันยายนของเว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดัง www.yatra. ส�ำหรับตลาดแอฟริกาใต้ : อาจจะปรับตัวลดลง เนืองจากสายการบิน com ผ่านทางออนไลน์ โดยร้อยละ 63 ของผู้ตอบแบบสอบถามยังคง ไทย จะปรับลดความถี่เที่ยวบินในช่วงตารางบินฤดูหนาว เส้นทางโจฮันยืนยันการเดินทางตามแผนเดิม จุดหมายปลายทางอันดับต้น คือ เอเชีย เนสเบิร์ก-กรุงเทพฯ จาก 4 เที่ยวเหลือ 3 เที่ยว/สัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วง ตะวันออกเฉียงใต้ ตามด้วยยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นผลบวก Low Season และนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มนิยมเดินทางระยะใกล้ (Short Haul) หรือท่องเที่ยวภายในภูมิภาคมากขึ้น ต่อประเทศไทย ขณะที่ร้อยละ 37 จะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ 12 | Tourism Journal
  • 13. Tou r i s m Si t u at i o n มวลข่าวใดๆ ในปี 2556 ที่ต้องจดจำ� เรื่อง : ยุวดี นิรัตน์ตระกูล 1. เมื่อทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2556 ตลอดทั้งปี 3. มวลข่าวใดๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2556 และน่าจะเชื่อมโยงสู่เรื่อง มีหลายเหตุการณ์ที่น่าสนใจทั้งที่เป็นเหตุการณ์ภายนอกประเทศ และ ของการท่องเที่ยวได้ พอจะประมวลเบื้องต้นได้ ดังนี้ เหตุการณ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นเรื่องดีและเรื่องร้าย (ต่ออุตสาหกรรม ท่องเทียวไทยในภาพรวม) การบันทึกเหตุการณ์ตาง ๆ ไว้ ท�ำให้เราไม่หลงลืม เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และมวลมิตร ่ ่ และใช้ ป ระโยชน์ จ ากการบั น ทึ ก นั้ น เพื่ อ ทบทวนการท�ำงานที่ ผ ่ า นมา 2. ในปี 2555 eTAT Journal ไตรมาส 1/2013 มีบทความทีเ่ กียวกับ ่ เหตุการณ์ส�ำคัญในปี 2555 ซึ่งหลายเหตุการณ์ยังไม่จบ ต้องติดตามต่อ เนื่อง ถ้าลองย้อนกลับไปดูจะพบว่า มีเรื่องให้ฉุกคิดมากมาย อาทิ เชียงใหม่มหานคร เริ่มจุดประเด็นในปี 2555 ตอนนี้ คืบหน้าไปถึงไหน และโมเดลการ บริหารจัดการเชียงใหม่มหานครนั้น จะเป็นยาหม้อใหญ่รักษาได้ทุกโรค หรือไม่ กรณีการเติบโตของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่จากผลของภาพยนตร์ Lost in Thailand ส่งผลต่อสภาพ การท่องเที่ยวของเมืองอย่างไร และทิศทางของเชียงใหม่จะไปทางไหน ปฏิบัติการรายได้ท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ปี 2555 มีการตั้งเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้บรรลุเป้า 2 ล้านล้านบาท ในปี 2558 ในช่วงเวลา ผ่านไปเพียงแค่ 3 ไตรมาสของปี 2555 เป้าหมายเริมขยับเป็น 2.2 ล้านล้าน ต้นปี 2556 เกาหลีเหนือออกแถลงการณ์เรื่อง ‘การเข้าสู่ภาวะ ่ บาท อันเนื่องมาจากบรรยากาศการท่องเที่ยวไทยที่เติบโตอย่างน่าพอใจ สงคราม’ กับเกาหลี ใต้ พร้อมขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์หากถูกยั่วยุ การ ออกแถลงการณ์ของเกาหลีเหนือครังนี้ ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัว ้ และหวาดหวันต่อความปลอดภัยในชีวต ล�ำพังคูขดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือ ่ ิ ่ั กับเกาหลีใต้นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่เรื่องราวของคู่นี้ ขยายไปถึงชาติ พันธมิตรอย่างสหรัฐอเมริกา จึงท�ำให้โลกต่างเฝ้าสังเกตสถานการณ์ ผลจากแถลงการณ์ดังกล่าวท�ำให้เกิดการยกเลิกทัวร์ไทยที่จะไป ท่องเทียวเกาหลีใต้ และหากตรวจสอบสถานการณ์ทองเทียวของเกาหลีใต้ ่ ่ ่ ช่วงนัน ก็กระทบต่อบรรยากาศท่องเทียวอย่างหลีกเลียงไม่ได้ และมีความ ้ ่ ่ เป็นไปได้ที่จะลุกลามเป็นปัญหาในระดับภูมิภาค ช่วงกลางปีถึงปลายปี 2556 ผู้น�ำเกาหลีเหนือประกาศลงโทษ ประหารชีวตชาวเกาหลีเหนือ 80 คนโทษฐานแอบดูละคร และประหารชีวต ิ ิ อดีตแฟนเก่า ด้วยข้อหาถ่ายภาพโป๊ และทีเ่ ป็นข่าวมากทีสดคือ กลางเดือน ุ่ ธันวาคม 2556 ผูน�ำเกาหลีเหนือประกาศประหารชีวต ลุงเขย ทีมต�ำแหน่งสูง ้ ิ ่ี ในรัฐบาล ด้วยข้อหาที่พยายามล้มล้างระบอบการปกครอง การปกครองโดยผู ้ น�ำเกาหลี เ หนื อ ก่ อให้ เ กิ ด การเฝ้ า ติ ด ตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจากการประเมินในมิติการเมืองระหว่าง ประเทศแล้ว น่าจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก Tourism Journal | 13
  • 14. T o u r i s m Si t u at i o n การไหลบ่าของมวลนักท่องเที่ยวจีน ปรากฏการณ์ของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ออกเดิน ทางท่องเที่ยวทั่วโลก นอกจากจะสร้างความตื่นเต้นให้กับ ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางแล้ว ยังได้สร้างความตระหนกตกใจ ในพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีนที่ปฏิบัติตัวระหว่างการท่องเที่ยวด้วย จากการรวบรวมข้อมูลเกียวกับการต�ำหนิพฤติกรรมนักท่องเทียวจีน ่ ่ ที่กระท�ำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว จะพบพฤติกรรมที่สร้างปัญหา ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสลักชื่อลงในประติมากรรมโบราณในวิหาร แห่งหนึ่งที่อียิปต์ การขโมยเสื้อชูชีพในเครื่องบิน การส่งเสียงดัง เอะอะ ไม่เกรงใจผู้อื่น ่ ั จากพฤติกรรมนักท่องเทียวจีนดังกล่าว ท�ำให้รฐบาลจีนออกกฎระเบียบ เกียวกับการปฏิบตตวเมืออยูตางแดน เพือมุงแก้ไขภาพลักษณ์ดานลบของ ่ ัิั ่ ่่ ่ ่ ้ นักท่องเที่ยวจีน รัฐบาลจีนจัดท�ำคู่มือปฏิบัติตนเยี่ยงอารยะ เผยแพร่ให้ ชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศได้ศึกษา ส�ำหรับประเทศไทยนั้น ในปี 2555 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน มาท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงถึง 2.7 ล้านคน มากเป็นอันดับ 1 และใน ปี 2556 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ประมาณ 4 ล้านคน ในประเด็นเรื่องผลกระทบของจ�ำนวนนักท่องเที่ยว จีนนั้น ททท. ได้จัดท�ำโพลส�ำรวจความคิดเห็นและน�ำเสนอผลโพลใน eTAT Journal ในไตรมาส 4/2556 แล้ว ตามอ่านย้อนหลังได้ มวลรถยนต์ จากนโยบายรถคันแรก มวลน�้ำมันรั่วที่ระยอง นโยบายรถคั น แรกเป็ น นโยบายของรั ฐ บาลยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร หลั ก การเบื้ อ งต้ น คื อ สามารถลดหย่ อ นภาษี ไ ด้ สู ง สุ ด ไม่ เ กิ น 100,000 บาท รถยนต์ที่จะซื้อ ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 ซีซี และราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท เปลี่ยนมือและโอนไม่ได้ ภายใน 5 ปี นโยบายนี้ ตั้งเป้าว่าจะมีคนซื้อรถไม่ต�่ำกว่า 500,000 คัน นโยบายรถคันแรกเริ่มส่งผลจริงจังในปี 2556 จากการส�ำรวจ ความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อการเดิน ทางท่องเที่ยว พบว่า การมี รถคันแรกสอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทย คือ การ ขับรถเทียว (Self Drive) ซึงน่าจะส่งผลให้ความถี่ในการเดินทางท่องเทียว ่ ่ ่ ของคนไทยเพิ่มขึ้น ระบบรางทั้งประเทศ กับมวลเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท การลงทุนในระบบราง หรือ รถไฟรางคู่ เป็นโครงการของกระทรวง คมนาคม ถือเป็นการลงทุนในลักษณะเมกะโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยระบุว่า โครงการรถไฟรางคู่ จะก่อให้เกิด การพัฒนาศักยภาพด้านการค้าและการลงทุนและคุณภาพของประชาชน ของประเทศให้ดีขึ้น โครงการรถไฟรางคู่ จะท�ำให้เกิดการเชือมโยงโครงข่ายการเดินทาง ่ ท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จาก การประมวลข้อมูลของประเทศเพื่อนบ้านพบว่า หลายประเทศได้มีการ ด�ำเนินการแล้ว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 มวลน�้ำมันกว่า 50,000 ลิตร รั่วไหลจาก ท่อน�้ำมันดิบกลางทะเล ลงสู่ทะเลที่จังหวัดระยอง กระแสน�้ำพัดพาคราบ น�ำมันกระจายไปทัว และน�ำมันจ�ำนวนมากลอยไปติดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ้ ่ ้ จากหาดทรายที่เคยขาวสวยงาม กลายเป็นหาดสีด�ำจากคราบน�้ำมัน จากปัญหาดังกล่าว ท�ำให้หลายหน่วยงานร่วมกันแก้ปญหาและฟืนฟู ั ้ สภาพชายหาด รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ หลังจาก เหตุการณ์ผ่านไปประมาณ 2 เดือน บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคัล จ�ำกัด (มหาชน ) หรือ ปตท. ได้น�ำเสนอภาพยนตร์โฆษณาชุด เราไปเที่ยวเสม็ด กันเถอะ หรือ Better Samed เนื้อหาที่น�ำเสนอ คือ เกาะเสม็ดกลับมา สวยเหมือนเดิม อาหารทะเลกินได้ เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทาง มาท่องเที่ยวได้ กรณีมวลน�้ำมันรั่วในประเทศต่างๆ ได้มีการน�ำเสนอบทความเรื่อง ‘เมื่อน�้ำมันรั่ว’ เขียนโดย โตมร ศุขปรีชา ตามอ่านย้อนหลังได้ใน eTAT Journal ไตรมาส 4/2556 14 | Tourism Journal
  • 15. Tou r i s m Si t u at i o n การเมืองไทย ขออภัยในความไม่สะดวก กับ มวลมหาประชาชน ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เกิดความกังวลระดับ 3 ริกเตอร์ กับ การรณรงค์ทางการเมืองภายใต้การชูธงเรื่อง ‘แช่แข็งประเทศไทย’ โดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ประธานองค์การพิทกษ์สยาม ั (อพส.) จากพจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย ให้ความหมายค�ำว่า ‘แช่แข็งประเทศไทย’ คือ ‘การงดเว้นกระบวนการทางการเมืองทั้งหลาย ที่ด�ำเนินการโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แล้ว แต่งตั้งคณะบุคคลขึ้น ท�ำหน้าที่แทนเป็นระยะเวลา 5 ปี อันจะส่งผล ให้ ป ระเทศไทยได้ พั ก ฟื ้ น จากความขั ด แย้ ง และมี เ สถี ย รภาพก่ อ นจะ เดินหน้าต่อไป’ กระแสหยุดประเทศ แช่แข็ง 5 ปี เพื่อลูกหลานไทย ก�ำหนดนัดหมายรวมมวลชน 1 ล้านคน ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 เพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยในการชุมนุมทางการเมือง ครั้งดังกล่าว เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่จบภายในวันเดียว การรณรงค์ทางการเมือง เรื่องแช่แข็งประเทศไทยในช่วงปลายปี 2555 ไม่ส่งผลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศไทยมากนัก เนื่องจากเป็นการชุมนุมที่ไม่ยืดเยื้อและไม่มีการบาดเจ็บล้มตาย หรือการ ปะทะกัน ส�ำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 เกิดปัญหาการเมือง ในประเทศที่คล้ายกับการแช่แข็งประเทศไทยเมื่อปี 2555 แต่ในปี 2556 องค์กรน�ำ คือคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้ เ ป็ น ประชาธิ ป ไตยที่ ส มบู ร ณ์ อั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ เ ป็ น ประมุ ข (กปปส.) โดยมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนน�ำหลัก กิจกรรมทางการ เมืองทีเ่ คลือนไหว คือ การเรียกร้องให้ประชาชนทีเ่ ห็นด้วยกับแนวคิดของ ่ กปปส. ออกมารวมตัวกันให้ได้ 1 ล้านคน ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 การรวมตั ว ของมวลมหาประชาชนที่ ก รุ ง เทพมหานครครั้ ง นี้ มี จ�ำนวนผู ้ เ ข้ า ร่ ว มมากที่ สุ ด เท่ า ที่ มี ก ารเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งใน ประเทศไทย และเหตุการณ์ชมนุมทางการเมืองครังนี้ ส่งผลต่อบรรยากาศ ุ ้ การท่ อ งเที่ ย วโดยเฉพาะในพื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร มี ก ารแจ้ ง เตื อ น ชาวต่างชาติที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่กรุงเทพมหานคร ก่อให้เกิดการ ยกเลิกการจอง และผลกระทบทางการเมืองคาดว่าจะเห็นชัดในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2557 4. ในปี 2557 ททท. ตั้งเป้าหมายให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทาง ท่องเที่ยวในไทย 28 ล้านคน และให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศ 136.8 ล้านคน/ครั้ง และตั้งเป้าว่า การท่องเที่ยวจะก่อให้เกิดรายได้ 2 ล้านล้าน บาท กลยุทธ์การตลาดส�ำหรับปี 2557 คือ การสานต่อแนวคิด ‘รายได้ ก้าวกระโดดด้วยวิถีไทย’ หรือ ‘Higher Revenue Through Thainess’ ต่อเนื่องจากปี 2556 โดยใช้แนวทางการตลาดแบบ Marketing 3.0 เน้นส่งมอบคุณค่า (Value) หรือความสุขในการเดินทางท่องเทียวทีเ่ กิดจาก ่ การเรียนรู้และการมีส่วนร่วม (Co-creation) ซึ่งจะสร้างความประทับใจ จนกระทั่งเกิดการแบ่งปันและบอกต่อ (Share) การผลักดันให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น ต้องร่วมมือร่วมใจ ประสานการท�ำงาน ก�ำหนดทิศทางการเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่าง มืออาชีพ มีวิสัยทัศน์ ใช้อดีตเป็น บทเรียนเพื่อขับเคลื่อนการท�ำงาน ในอนาคต Tourism Journal | 15
  • 16. Touri s m Re s e ar ch ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำ� ‘โครงการสำ�รวจความ คิดเห็นของประชาชนทีมตอการท่องเทียวไทย’ หรือทีเ่ รียกว่า ‘TAT Tourism Poll’ ซึงเป็น ่ี่ ่ ่ โครงการต่อเนืองเข้าสูปที่ 3 โดยมีวตถุประสงค์ เพือรับทราบความคิดเห็นของประชาชน ่ ่ี ั ่ ที่มีต่อประเด็นที่กำ�ลังอยู่ในความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกระแสนิยมต่างๆ อันจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลที่ ได้รับ สามารถนำ�มาประมวลกับสถานการณ์ด้านอื่น รวมถึงนำ�ไปปรับใช้กับการดำ�เนินการ ด้านการตลาดของ ททท. ในอนาคต กลุมเป้าหมาย : ทำ�การสำ�รวจข้อมูลจำ�นวน 2,000 ตัวอย่าง แบ่งเป็นผูประกอบการ ่ ้ 600 ตัวอย่าง และประชาชน 1,400 ตัวอย่าง ในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย 6 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ สงขลา กาญจนบุรี และนครราชสีมา ช่วงเวลาการสำ�รวจ : สำ�รวจระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน ถึง 28 พฤศจิกายน 2556 16 | Tourism Journal