SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  76
Télécharger pour lire hors ligne
สำ � นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย
(สกว.) เป็นหน่วยงานหนึงในเครือข่ายองค์กร
่
บริหารการวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ซึ่งมีหน้าที่
ในการบริหารจัดการทุนวิจัยด้านการบริหาร
จัดการการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความสำ�คัญ
ของการพัฒนางานวิจัยเพื่อให้สามารถขั บ
เคลื่อนนโยบายในการพัฒนาการท่องเที่ยว
ของประเทศในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การรองรับ
การรวมกลุ่ ม ประชาคมอาเซี ย น การเสริ ม
สร้างศักยภาพของชุมชน การค้นหา/พัฒนา
ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เป็นต้น
และไกลไปกว่านั้น สกว. ได้มองเห็นถึงความ
จำ�เป็นในการนำ�ข้อค้นพบ/ผลจากการวิจัย
ไปเชื่อมต่อกับภาคนโยบาย พร้อม ๆ ไปกับ
การใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ในขณะนี้มี
ชุดโครงการวิจัยหลายชุดที่ได้ดำ�เนินการไป
แล้ว และบางชุดมีผลการศึกษา/ข้อค้นพบที่
ค่อนข้างสมบูรณ์ หรือสามารถนำ�เสนอต่อ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้ โดย
ใน TAT Tourism Journal ฉบับไตรมาส
4/2013 จะหยิบยกผลงานวิจัยที่มีความ
โดดเด่น ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยใน
การท่องเทียวของชาวต่างชาติตามมาตรฐาน
่
สากล ดังนี้

1

	
องค์กร Make Road Safe ได้ศึกษาการ
	
เสี ย ชี วิ ต ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วอเมริ กั น ใน
	
ต่างประเทศจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่า
การเสียชีวิตดังกล่าวในประเทศไทยมากเป็นอันดับสอง
จึงมีความจำ�เป็นอย่างมากที่จะต้องเพิ่มมาตรฐานความ
ปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาว
ต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2

	
ขอบเขตการวิจัยครอบคลุมเรื่อง (1) การ
	
พัฒนาแผนทีทระบุจดอันตรายเพือการท่อง
่ ี่ ุ
่
	
เที่ ย วทางถนนที่ ป ลอดภั ย (2) การยก
ระดับความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตาม
มาตรฐานสากลด้วยการศึกษาด้านพฤติกรรมและความ
พึงพอใจ (3) การศึกษาระบบที่เอื้อต่อความปลอดภัยเพื่อ
การท่องเที่ยวทางถนนอย่างยั่งยืน และ (4) การศึกษาเพื่อ
ยกระดับคุณภาพการช่วยเหลือและดูแลรักษานักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติหลังประสบอุบัติเหตุ

3

	
ผลผลิตของการวิจัยได้จัดทำ�แผนที่ความ
	
เสี่ยงทางถนนของประเทศ ซึ่งสามารถ
	
บ่งบอกจุดเสี่ยงและจัดลำ�ดับความเสี่ยง
ในแต่ละจุดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว มีความสำ�คัญอย่างมาก
ในการกำ�หนดแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่
นักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้
ยากคือ ปัจจัยในด้านของตัวนักท่องเที่ยวเอง ไม่ว่าจะ
เป็นการเตรียมความพร้อม/ศึกษาข้อมูลก่อนการท่องเทียว
่
และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวซึ่งอาจถูกกำ�หนดโดย
มาตรฐานการเคารพกฎหมายในประเทศของนักท่องเทียว
่

4

	
ปัญหาที่ค้นพบจากการวิจัย พบว่า ยังมี
	
ปัญหาอยู่ในหลาย ๆ ด้าน โดย (1) ด้าน
	
การขนส่ง พบว่า ผู้ให้บริการด้านการ
ขนส่งขาดทักษะทางภาษาที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยว
ต่างชาติ ยานพาหนะยังไม่เพียงพอ ปัญหาความชำ�รุด
ทรุดโทรมของถนนหนทาง ฯลฯ (2) ด้านการจัดการ พบ
ว่า ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุของนัก
ท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ดีพอ มีอุปสรรคด้านการสื่อสาร
ของบุคลากรในการเยียวยารักษานักท่องเทียว ขาดแคลน
่
บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาล
นักท่องเที่ยว (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า นักท่อง
เที่ยวไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจกฎหมายและระเบียบที่
เกียวข้อง ทำ�ให้ไม่ทราบสิทธิและหน้าทีของตนในเรืองการ
่
่
่
ฟ้องร้องและการเอาประกันภัย นอกจากนี้ กระบวนการ
ทางกฎหมายหลังจากเกิดอุบัติเหตุยังมีความล่าช้าและไม่
ต่อเนื่อง
บริหารงานวิจัยโดย
สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

74 | Tourism Journal
เจ้าของ 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

คณะที่ปรึกษา 

สุรพล เศวตเศรนี	
สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์	
จุฑาพร เริงรณอาษา	
	
ธวัชชัย อรัญญิก   	
พงศธร เกษสำ�ลี	
	
วิไลวรรณ ทวิชศรี        	
อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์     	
สมรัก  คำ�พุทธ  	
ศุกรีย์ สิทธิวนิช   	
มานิตย์ บุญฉิม   	
 

ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ที่ปรึกษาระดับ 10
รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา
ตะวันออกกลาง และอเมริกา
รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ
รองผู้ว่าการด้านตลาดอาเซียน
เอเชียใต้และแปซิฟิกใต้
รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว
รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน
รองผู้ว่าการด้านบริหาร
รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด
ผู้อำ�นวยการฝ่ายวางแผน

บรรณาธิการ

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล	
 

ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด

อ้อยทิพย์ นิธิยานันท์	
กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ	
รุ่ง กาญจนวิโรจน์          	
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์     	
พรหมเมธ นาถมทอง	
โศรยา หอมชื่น             	
ณัฎฐิรา อำ�พลพรรณ       	
สุจิตรา แย้มงามเหลือ     	

ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ
ผู้อำ�นวยการ ททท.สำ�นักงานลอสแอนเจลิส
ผู้อำ�นวยการกองกลยุทธ์การตลาด
ผู้อำ�นวยการกองสารสนเทศการตลาด
ผู้อำ�นวยการกองส่งเสริมบริการท่องเที่ยว
หัวหน้างานวิชาการ
พนักงานวางแผน
พนักงานบันทึกข้อมูล

กองบรรณาธิการ

Tourism Journal
Content
สารบัญ

4-11
12-15
16-27
28-33

34-41

| Tourism Situation

•	สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดต่างประเทศที่เดินทางเข้าไทย
ในช่วงครึ่งปีแรก และคาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยว
ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556

•	มวยไทย Keep Fighting	

| Talk from the Cover

| Tourism Poll

•	สรุปผลการสำ�รวจโพล เรือง “ทำ�อย่างไร? กับคลืนยักษ์นกท่องเทียวจีน รัสเซีย”
่
่
ั
่

| Tourism Seminar

•	ทิศทางการดำ�เนินงานด้านการตลาดการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2557
•	แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
	 และความงาม (Spa and Wellness)
•	การท่องเที่ยวคือมีม (Meme)

| Tourism Trend
	 เวลาที่ผมออกเดินทางท่องเที่ยว นอกจากการช
ื่นชมโลกกว้างที่น่าตื่นตาตื่นใจ ผมยังชอบสังเกตผู
รอบข้ า งว่ า มี ป ฏิ ก ริ ย าอย่ า งไรต่ อ กั น ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้
้ค
น ออกเดิ น ทาง สมมุ ติ ว่ า เดิ น ทางด้ ว ยเครื่ อ งบิ น จะได้ น
เ ห็ น
ตัวอย่างชัด วินาทีที่พนักงานบริการประกาศให้ขึ้นเครื
่องได้ พวกเราค่อย ๆ เดินตามกันไป เรียงแถวผ่านงวงช้
เข้าไปจนถึงประตูทางเข้าเครื่อง เมื่อคนข้างหน้าหยิบ
าง
หนังสือพิมพ์ คนที่เดินตามหลังมาก็จะหยิบหนังสือ
พิมพ์บ้าง
	 เมื่อได้ที่นั่งเรียบร้อย ถ้าได้นั่งอยู่ในชั้นประหยั
ดที่มีผู้โดยสารแออัด นั่งใกล้ชิดกันมาก ๆ ถ้าคนข้
าง ๆ เริ
หยิบนิตยสารของสายการบินขึ้นมาอ่าน อีกสักอึด
ใจต่อมา ผมก็นึกอยากจะหยิบนิตยสารขึ้นมาอ่านเหมื ่ม
อนเขา
บ้าง เมื่อเครื่องบินเทคออฟลอยละล่องอยู่บนท้องฟ้
า คนข้าง ๆ เริ่มเปิดจอทีวีส่วนตัวของเขาเพื่อดูหนั
ง ผมก็
นึกอยากจะเปิดดูตามเขา
	 ผมคิดว่า การท่องเที่ยวนั้นแท้จริงแล้วก็คือการเลี
ยนแบบเพื่อเรียนรู้โลก  

42-47
48-51
52-59
60-71
•	เมื่อนํ้ามันรั่ว

เรื่อง วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ

| Low Carbon Tourism
| Pop Culture Tourism

•	10 ปี องค์บาก เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

| Tourism @ AEC

• รูปแบบการดำ�เนินงานการตลาดการท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ
ในภูมิภาคอาเซียน

| Tourism Research

• ท่องเที่ยวแบบหรูหรา : กรณีการท่องเที่ยวโดยเรือยอช์ต
Luxury Tourism: Case of Yacht Tourism

Tourism Journal 4/2013
จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset)
และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต
ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ
คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้าอนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2 | Tourism Journal

จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2     
โทรสาร : 0 2253 7468

Tourism Authority of Thailand
1600 New Phetchaburi Road,
Makkasan, Ratchathewi,
Bangkok 10400, Thailand
tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2
fax: +66 2253 7468
email: etatjournal@tat.or.th
website: etatjournal.com
ebook: www.issuu.com/etatjournal
www.ebooks.in.th/etatjournal
twitter: @etatjournal
บทบรรณาธิการ

นักท่องเที่ยวจีน 8 เดือน 3.2 ล้าน
        ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีหน่วยงานต่าง ๆ เชิญผู้เขียนไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว นาน ๆ จะมีคน
เชิญ เลยคิดเยอะ เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าจะมีอะไรไปพูด ไปแลกเปลี่ยน ก่อนอื่นก็ดูจากหัวข้อที่ระบุไว้ว่าจะ
บรรยายได้หรือไม่ มีเวลาเตรียมข้อมูลหรือไม่ การรับบรรยายในแต่ละครัง จำ�เป็นต้องหาข้อมูลประกอบ และ
้
ทีส�คัญคือ ต้องเป็นเรืองทีเ่ รารับผิดชอบ ดังนัน หัวข้อทีรบบรรยายจึงป้วนเปียนแถว ๆ สถานการณ์ทองเทียว
่ำ
่
้
่ั
้
่ ่
แนวโน้มการท่องเที่ยว พฤติกรรมนักท่องเที่ยว บางครั้งก็จะมีมาแปลก ๆ แหวกแนว เช่น หัวข้อที่มาล่าสุด
คือ She-conomy อันนี้ยังงง ๆ ว่า จะประมาณไหน ประมาณ Lady Journey หรือ Woman Traveler อันนี้
ต้องเคลียร์กับหน่วยงานที่ติดต่อมาว่า ฉันมาแนวเควียร์ (Queer) เห็นทีจะไม่สามารถบรรยายอะไรให้เป็นชิ้น
เป็นอันได้ หรืออาจจะทำ�ให้การสัมมนานั้นบิดเบี้ยว ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และไม่ตอบตัวชี้วัด
การเตรียมข้อมูลเพื่อบรรยายทุกครั้ง เป็นช่วงที่จะพบเจออะไรที่ตื่นเต้น เร้าใจ บางครั้งเป็นข้อมูลที่เรา
รู้อยู่แล้วแต่ต้องการ Update บางครั้งก็เป็นเรื่องใหม่ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน แหล่งข้อมูลที่ค้นคว้าก็หลากหลาย
ข้อมูลส่วนหนึ่งก็มาจากงานวิจัยที่ ททท. ทำ� บางทีก็มาจากการนั่งอ่านฟรีก็อปปีตามร้านกาแฟ ข้อมูลเหล่านี้
จะถูกจัดระบบ เรียงลำ�ดับ และนำ�เสนอ โดยพยายามบริหารความคาดหวังของผู้ฟังให้มากที่สุด
ความตื่นเต้นล่าสุดที่ตาม Update ตัวเลขนักท่องเที่ยว คือ ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2556 มี
นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไทย 3.2 ล้านคน คาดว่าปีนี้ จะมีคนจีนมาเที่ยวไทย 4 ล้านคน ตัวเลข
นี้ ทำ�ให้เราตื่นเต้นจริง ๆ ยิ่งถ้าเราดูตัวเลขของตลาดหลักอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย ก็พบว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยว
มาเลเซียมีเพียง 1.8 ล้านคนเท่านั้น
	 ทีนี้ เราลองมาค่อย ๆ ดูข้อมูลใด ๆ อันที่จะเกี่ยวข้องกับการเติบโตของนักท่องเที่ยวจีน มีสิ่งน่าสนใจ ดังนี้
	 •	 ททท. มีสำ�นักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในจีน 5 แห่ง คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง เฉิงตู และกำ�ลัง
จะเปิดแห่งใหม่ล่าสุด คือ กวางโจว
	 •	 ภาพยนตร์จนเรือง Lost in Thailand เป็นภาพยนตร์ที่ได้รบความนิยมและทำ�รายได้สงสุด ภาพยนตร์
ี ่
ั
ู
เรื่องนี้ ใช้สถานที่ถ่ายทำ�ในประเทศไทย และมีอิทธิพลทำ�ให้คนจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยจำ�นวนมาก
	 •	 ข้อมูลจากงานวิจัยของ ททท. พบว่า กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจีน (ที่ท่องเที่ยวในเมืองไทยแล้ว) ชื่น
ชอบและพลาดไม่ได้ คือ การดูโชว์ ส่วนคนจีนที่ยังไม่เคยมาท่องเที่ยวในเมืองไทยเมื่อพูดถึงเมืองไทย ก็จะ
นึกถึง Lady Boy
	 •	 ผลกระทบจากการเพิมขึนของนักท่องเทียวจีนทีมาท่องเทียวในเมืองไทย คือ การก่อความรำ�คาญให้
่ ้
่
่
่
คนรอบข้าง สร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ การไม่เคารพกฎระเบียบ ในขณะเดียวกัน ก็ทำ�ให้ธุรกิจท่องเที่ยว
ได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้น
	 คลืนยักษ์นกท่องเทียวจากจีน เป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึนในหลายเมืองท่องเทียวทัวโลก ปัญหาทีเ่ กิดจาก
่
ั
่
้
่ ่
นักท่องเทียวจีนจะคล้าย ๆ กับทีเ่ กิดในไทย กลยุทธ์ในการบริหารจัดการและการรับมือกับมวลนักท่องเทียวจีน
่
่
เป็นเรืองน่าสนใจและน่าศึกษาติดตามอย่างยิง อันนีผเู้ ขียนก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องถึงกับตังเป็นโจทย์วจยหรือไม่ แต่
่
่
้
้
ิั
ลองมานั่งนึก ๆ ดู ก็จำ�ได้แม่นว่า สมัยที่ทำ�งาน ททท. ช่วงแรก ๆ ตอนสังกัดอยู่ที่กองวางแผนโครงการ ก็ได้มี
งานวิจยเกียวกับเรือง การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ดานการท่องเทียวในพืนทีทองเทียวหลักต่าง ๆ
ั ่
่
้
่
้ ่่ ่
รวมทั้งการศึกษาเพื่อควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยว สมัยนั้น จะเน้นไปในมิติเรื่องสิ่งแวดล้อม และระบบ
นิเวศเป็นหลัก ซึ่งมาในยุคสมัยนี้ เราอาจจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นมากขึ้น การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ “ยิ่ง
ปิด ก็จะยิ่งเปิด” หรือ “ยิ่งน้อย ก็จะยิ่งมาก” อาจจะต้องถูกนำ�มาใช้ปฏิบัติอย่างจริงจัง มากกว่าการใช้เป็น
วาทกรรมที่ไม่ว่าใครจะพูดก็จะดูสวยและหล่อเท่านั้น

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล

Tourism Journal | 3
To u r i s m S i t u a t i o n

สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดต่างประเทศ

ที่เดินทางเข้าไทยในช่วงครึ่งปีแรก
และคาดการณ์ ส ถานการณ์ ท่ อ งเที่ ย ว
ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556
เรื่อง งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ททท.

	

ภาพรวม

• สถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ที่เดินทางเข้าประเทศไทย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 (มกราคม-มิถุนายน)
มีทิศทางสดใสต่อเนื่อง โดยมีจำ�นวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น

หรือมีอัตราการเติบโตก้าวกระโดดถึงร้อยละ 23
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวประมาณ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เช่นเดียวกัน (ข้อมูลรายได้เบื้องต้นจากกรมการท่องเที่ยว ณ เดือนกรกฎาคม)  
	
• ภูมิภาคที่มีการขยายตัวสูงสุด ได้แก่ ตลาดเอเชียตะวันออก รวมเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
และอาเซียน ขยายตัวร้อยละ 36 โดยได้รับแรงเสริม จากเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และกระแสความนิยมในการเดินทาง
มาประเทศไทยยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระแสการเดินทางตามรอยภาพยนตร์
Lost in Thailand จากตลาดจีน รองลงมาคือ ตลาดภูมิภาคยุโรป ขยายตัวร้อยละ 11
จากแรงขับเคลื่อนของตลาดรัสเซียและยุโรปตะวันออก แม้ว่าประเทศในยุโรปใต้จะมีปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกตํ่า  
และในประเทศแถบยุโรปกลางเกิดปัญหานํ้าท่วมในช่วงเดือนมิถุนายน แต่ก็มิได้ส่งผลกระทบต่อการเดินทางเข้าไทยใน
ภาพรวมแต่อย่างใด สำ�หรับตลาดภูมิภาคอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 8 จากปัจจัยบวกด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค
อเมริกาเหนือและละตินอเมริกาที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้น กอปรกับ ททท. ได้เน้นการเจาะตลาดใหม่
ในพื้นที่ละตินอเมริกามากขึ้น และตลาดเอเชียใต้เติบโตร้อยละ 6 จากกระแสการเติบโต
ของทุกตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอินเดียที่เติบโตต่อเนื่อง
4 | Tourism Journal
To u r i s m S i t u a t i o n

เอเชียตะวันออก
เฉียงเหนือ

อาเซียน

ยุโรป

ร้อยละ 18

ร้อยละ 11

อเมริกา

โอเชียเนีย

แอฟริกา	

ร้อยละ 8

ร้อยละ 2

ร้อยละ 4

ร้อยละ 56

เอเชียใต้
ร้อยละ 6

ตะวันออกกลาง
ร้อยละ 3

สำ�หรับตลาดที่มีปัญหา เป็นตลาดขนาดเล็ก ได้แก่ ตลาดภูมิภาค
ตะวันออกกลาง ลดลงร้อยละ 3 เป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในภูมิภาค โดย
เฉพาะในอียิปต์ และการหัน เหไปเที่ยวยุโรปมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินยูโรที่ตํ่าลงเป็น แรงจูงใจที่สำ�คัญ ส่วนภูมิภาค
โอเชียเนียและแอฟริกา ปรับตัวลงร้อยละ 2 และร้อยละ 4 ตามลำ�ดับ เนื่องจาก
	

•	

ในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้นัก
ท่องเที่ยวออสเตรเลียบางส่วนเลือกเดินทางไปสหรัฐฯ มากขึ้น นับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา เช่นเดียวกับแอฟริกาที่หันไป
เดินทางระยะใกล้มากขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ดี จากการประชุม Focus Group กับผู้ประกอบ
การหลักของไทย เชื่อว่า การชะลอตัวของตลาดออสเตรเลียเป็นเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ววัน
	 •	 ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2556 จะมีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 24.15 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และสร้างรายได้จาก
ตลาดต่างประเทศ จำ�นวน 1.11 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ซึ่งคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีจะได้จำ�นวนนักท่องเที่ยวและรายได้
เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

Tourism Journal | 5
To u r i s m S i t u a t i o n

สถานการณ์ท่องเที่ยวรายภูมิภาคใน
ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556
	
ภูมิภาคเอเชีย
		ยตะวันออก • กลุ่มตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ :
เอเชี
		
มี อั ต ราการเติ บ โตมากที่ สุ ด ที่ ร้ อ ยละ
เฉียงเหนือ
		
56 หรือมีนกท่องเทียว 4.27 ล้านคน ซึงสูง
ั
่
่

		
ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกภูมิภาค โดย
		
ตลาดจีน ครองอันดับหนึงของนักท่องเทียว
่
่
ร้อยละ 56
		
ที่มาไทยทั้งหมด มีการเติบโตแบบก้าว
กระโดดถึงร้อยละ 102 ในช่วง 6 เดือนแรก หรือมีนักท่องเที่ยวจีน
ถึง 2.33 ล้านคน อันเป็นผลจากกระแสความนิยมในการเดินทาง
ตามรอยภาพยนตร์ Lost in Thailand ที่เป็นอิทธิพลร้อนแรงต่อ
เนื่องมาจากปีที่แล้ว รวมทั้ง การเปิดเที่ยวบินใหม่ อู่ฮั่น-กรุงเทพฯ
จำ�นวน 14 เที่ยว/สัปดาห์ ของสายการบิน China Eastern Airlines
ในเดือนมิถุนายน และความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นทำ �ให้เกิด
การหันเหการเดินทางมาไทย เช่นเดียวกับตลาดอื่น ๆ เช่น เกาหลี

6 | Tourism Journal

ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ล้วนมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน โดยเฉพาะ ตลาด
ไต้หวัน ฟื้นตัวและขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนร้อยละ 39 โดยได้
ปัจจัยบวกจากบรรยากาศความขัดแย้งกันเองจากข้อพิพาทระหว่าง
ไต้หวันและฟิลิปปินส์ และการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินเข้าไทย ส่วน
ฮ่องกงปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 29 ด้วยแรงส่งจากปัจจัยบวกหลักจาก
การเพิ่มขึ้นของเที่ยวบิน เช่น Hong Kong Airlines เพิ่มเที่ยวบิน
ฮ่องกง-กรุงเทพฯ จาก 28 เทียว เป็น 35 เทียว/สัปดาห์ และ ฮ่องกง่
่
ภูเก็ต จาก 7 เที่ยว เป็น 14 เที่ยว/สัปดาห์ และ Dragon Air เพิ่ม
เที่ยวบิน ฮ่องกง-เชียงใหม่อีก 1 เที่ยว เป็น 6 เที่ยว/สัปดาห์ ในขณะ
ที่ญี่ปุ่นหันมาเดินทางสู่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีค่า
ใช้จ่ายไม่สูงแทน จากการที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงมากกว่าร้อยละ 20
เมื่อเทียบกับเงินสกุลต่าง ๆ และเกิดความขัดแย้งกับจีนและเกาหลี
โดยเดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19
To u r i s m S i t u a t i o n

อาเซี
		 ยน
นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอาเซียนขยายตัว
		
ร้อยละ 18 โดยตลาดหลัก เช่น สิงคโปร์และ
		
มาเลเซีย มีการเติบโตที่ดีในอัตราร้อยละ 10
ร้อยละ
		 18
และ 21 ทั้งนี้ ตลาดมาเลเซียสามารถฟื้น
ตัวจากการระเบิดที่หาดใหญ่ซึ่งตรงกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่ผ่าน
มา และเดินทางเข้ามาร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ที่ในปีนี้ตรงกับวัน
หยุดสุดสัปดาห์มากขึ้น ส่วนตลาดขนาดกลาง เช่น อินโดนีเซีย มี
อัตราการเติบโตช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44 โดยเฉพาะใน
ไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีการเดิน ทางเข้ามาในช่วงสงกรานต์เป็น
จำ�นวนมาก รวมทั้งมีการนำ�ภาพยนตร์ไทย (พี่มากพระโขนง) ไป
ฉายที่อินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม ซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้าง
มาก และมีส่วนส่งเสริมให้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น สำ�หรับตลาด
เวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในครึ่งปีแรก ทั้งนี้ นักท่องเที่ยว
เวี ย ดนามมี แ นวโน้ ม ท่ อ งเที่ ย วต่ า งประเทศมากขึ้ น โดยเฉพาะ
เดินทางมายังประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งมีราคาไม่ต่าง
กันมากเมือเทียบกับการท่องเทียวในประเทศ อีกทังในเดือนมิถนายน
่
่
้
ุ
สายการบิน Vietjet Airlines ได้เปิดเส้นทางใหม่ ฮานอย-กรุงเทพฯ
7 เที่ยว/สัปดาห์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระแสความต้องการในการเดิน
ทางมายังประเทศไทยของชาวเวียดนามที่มีมากขึ้น

Tourism Journal | 7
To u r i s m S i t u a t i o n

ภูมิภ
		 าคยุโรป ในช่วงครึ่งปีแรกยังคงมีทิศทางที่สดใส โดย
		
ขยายตัวร้อยละ 11 ตลาดรัสเซีย มีการเติบโต
		
สู ง สุ ดในภู มิ ภาคที่ ร้ อ ยละ 34 รองลงมา
ร้อ
		ยละ 11
คือ ตลาดยุโรปตะวันออก และ CIS เติบโตร้อย
ละ 26 เนื่องจากประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมและมี
ความคุ้มค่าเงิน ประกอบกับปัจจัยบวกทางด้านเศรษฐกิจ และตลาด
เหล่านี้มิได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าแต่อย่าง
ใด ส่วนตลาดเยอรมนี ยังคงเติบโตดีร้อยละ 11 แม้จะมีความกังวล
ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและประสบปัญหานําท่วมในช่วงเดือน
้
มิถุนายน แต่มิได้ส่งผลต่อการท่องเที่ยวแต่อย่างใด เนื่องจากนักท่อง
เที่ยวยังมีความต้องการเดินทางท่องเที่ยวค่อนข้างสูง แต่มีการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทางแทน กล่าวคือ ใช้เวลาท่องเที่ยวสั้น
ลงและระมัดระวังการใช้จายมากขึน ตลาดทีตองเฝ้าระวังอย่างใกล้ชด
่
้
่้
ิ
เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวติดลบ ได้แก่ กลุ่มประเทศสแกน-

8 | Tourism Journal

ดิเนเวีย สเปน และอิตาลี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
การดำ�เนินมาตรการรัดเข็มขัดอย่างเข้มงวด สถานการณ์ค่าเงินบาท
แข็งค่า และมาตรการปรับขึ้น APD ทำ�ให้การเดินทางมาประเทศไทย
ซึ่งเป็นตลาดระยะไกลมีต้น ทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดสเปนและ
อิตาลี ยังคงต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอยต่อไปในปีนี้ รวมถึง
ประชาชนมีการชุมนุมประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลเป็น
ระยะ ๆ ทำ�ให้ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวลดลง
หรือเลือกเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สำ�หรับ
ตลาดเดนมาร์ก ลดลงร้อยละ 4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสายการบิน SAS
Scandinavian Airlines งดบินเส้นทางโคเปนเฮเกน-กรุงเทพฯ ตาม
ตารางการบินฤดูร้อน (มีนาคม-ตุลาคม) และนักท่องเที่ยวบางส่วน
เลือกเดินทางไปท่องเที่ยวแถบเมดิเตอร์เรเนียนและแคริบเบียนแทน
เนื่องจากสภาพอากาศอบอุ่นขึ้น
To u r i s m S i t u a t i o n

ภูมิภาค
อเมริ
		 กา

ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของภูมิภาค
		
ขยายตัวร้อยละ 8 โดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจาก
		
สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัว
ร้อยละ 8
		
ดีขนตังแต่ชวงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่วนตลาด
ึ้ ้ ่
อาร์เจนตินาและบราซิล มีการขยายตัวดีที่ร้อยละ 15 และ 19 ตาม
ลำ�ดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการทำ�ตลาดเชิงรุกบุกตลาดใหม่ของ
ททท. ในช่วงปีที่ผ่านมา

ภูมิภาค
เอเชี
		 ยใต้

ตลาดอินเดีย ขยายตัวร้อยละ 6 เป็นการขยาย
		
ตัวต่อเนื่องในระดับปานกลาง แม้ว่าจะมี
		
การเปิดเส้นทางใหม่เข้าไทยถึง 3 เส้นทาง
ร้อยละ 6
		
(ไทยสไมล์ : อาห์เมดาบัด-กรุงเทพฯ, นิวเดลีภูเก็ต, มุมไบ-ภูเก็ต) ในเดือน เมษายน ที่ผ่านมา แต่การเติบโตของ
ตลาดนี้อาจจะไม่เติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้
รับผลกระทบหลังจากที่กระทรวงการต่างประเทศของไทย ประกาศ
เพิมเงินการันตีส�หรับนักท่องเทียวชาวอินเดียทียนขอ Visa พร้อมกับ
่
ำ
่
่ ื่
ต้องมีใบยืนยันการจองที่พัก หรือใบรับรองจากบริษัทนำ�เที่ยว (การ
ออกมาตรการดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลอินเดียประกาศ
ใช้มาตรการเดียวกันกับคนไทยที่ยื่นขอตรวจลงตราเข้าอินเดีย) ซึ่ง
มาตรการดังกล่าวมีผลต่อการตัดสินใจเดิน ทางของนักท่องเที่ยว
เนืองจากมีกระบวนการทียงยากและซับซ้อนมากขึน ประกอบกับการ
่
่ ุ่
้
ชะลอตัวของเศรษฐกิจอินเดียตังแต่ตนปีทผานมา ส่งผลให้เงินรูปออน
้ ้ ี่ ่
ี่
ค่าลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดศรีลังกา ปากีสถาน และบังคลาเทศ
ยังคงเติบโตค่อนข้างดีที่ร้อยละ 6-9

Tourism Journal | 9
To u r i s m S i t u a t i o n

ภูมิภาค
โอเชี
		 ยเนีย

ตลาดภูมภาคนีมทศทางทีสดใสในช่วงไตรมาส
ิ ้ีิ
่
		
แรก แต่กระแสการเดินทางมาไทยเริ่มแผ่ว
		
ลงตั้งแต่เมษายนเป็นต้น มา จากปัญหาที่
ร้อยละ 2
		
นักท่องเที่ยวออสเตรเลียซึ่งเป็นตลาดหลัก
เริมหันเหการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาประเทศยอดนิยมในอันดับต้น ๆ
่
แทน เนื่อ งจากค่ า เงิ น ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์
ออสเตรเลียเป็นแรงจูงใจที่สำ�คัญ จึงทำ�ให้ในช่วงครึ่งปีแรกตลาด
ออสเตรเลียปรับตัวลดลงเกือบร้อยละ 6 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการ
โรงแรมของไทยเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ตลาดนี้ไม่น่าเป็นห่วงนัก และ
คาดว่าจะกลับมาเติบโตได้ในไตรมาสถัดไป

10 | Tourism Journal

ภูมิภาค
แอฟริ
		 กา	

ตลาดภู มิ ภ าคนี้ มี ทิ ศ ทางสดใสในไตรมาส
		
แรก โดยได้รับแรงเสริมจากการเติบโตที่ดี
		
ของตลาดแอฟริ ก าใต้ ซึ่ ง เป็ น ตลาดหลั ก
ร้อยละ 4
		
อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่ 2 ตลาดแอฟริกาใต้
ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้น มา ซึ่งเกิดจาก
เศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ชะลอตัวในไตรมาสแรก จากการที่ผลผลิต
ภาคอุตสาหกรรมหดตัว และในช่วงเวลาเดียวกันเงินบาทมีการแข็งค่า
ขึ้น ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกตลาดแอฟริกาใต้ ลดลง ร้อยละ 2 และ
เมื่อประกอบกับตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 6 จึงฉุด
ให้ภาพรวมของภูมิภาคนี้ชะลอตัวลงไปถึงร้อยละ 4
To u r i s m S i t u a t i o n
่
คาดการณ์ ส ถานการณ์ ท่ อ งเที่ ย วในช่ ว ง เอเชีย		 -	China Airlines	เปิดเทียวบินเช่าเหมาลำ� เส้นทาง ไทเป				 ภูเก็ต 5 เที่ยวบินช่วงวันที่ 1-17 กรกฎาคม 2556
ครึ่งปีหลังของปี 2556
			 -	Eva Airs เปิด Extra Flight เส้นทาง ไทเป-กรุงเทพฯ 24

	 คาดว่า การเดินทางท่องเทียวของนักท่องเทียวตลาดต่างประเทศ
่
่
ในภาพรวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้
	 •	ประเทศไทยยังเป็นแหล่งท่องเทียวทียงคงมีความคุมค่าเงินสูง
่ ่ั
้
เมือเทียบกับแหล่งท่องเทียวอืน ๆ โดยเฉพาะในภาวะทีเ่ ศรษฐกิจยังไม่
่
่ ่
แน่นอน
	 •	การรุกทำ�ตลาดในพื้นที่ใหม่ ๆ ของ ททท. ที่มีศักยภาพ อาทิ
ยุโรปตะวันออก คาซัคสถาน ยูเครน ตุรกี และละตินอเมริกา
	 •	สายการบินในเอเชียและยุโรปมีการเปิดเส้นทางบินใหม่ ๆ มา
ไทยเพิมเติม เพือสนองตอบความต้องการของตลาดทีเ่ พิมขึนต่อเนือง
่
่
่ ้
่
เช่น

				 เที่ยวบิน ช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2556
			 -	AAA Asia Atlantic Airlines เปิดเส้นทาง โอซากา				 กรุงเทพฯ และ โตเกียว-กรุงเทพฯ 7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่ม
				 วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
			 -	Cebu Pacific เปิดเส้นทาง มะนิลา-ภูเก็ต 3 เที่ยว/
				 สัปดาห์ เริ่มวันที่ 16 สิงหาคม 2556
			 -	การบินไทย เปิดเส้นทาง มัลดีฟส์-กรุงเทพฯ เริ่มช่วง
				 เดือนตุลาคม 2556
			 -	ไทยแอร์เอเชีย เปิดเส้นทาง เนปิดอว์-กรุงเทพฯ 2 เทียว/
่
				 สัปดาห์ เริ่มช่วงเดือนตุลาคม 2556
			 - นกแอร์ เปิดเส้นทาง ย่างกุ้ง-แม่สอด 7 เที่ยว/สัปดาห์
				 เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2556
ยุโรป		 -	การบินไทย มีแผนจะเปิดเส้นทาง มอสโก-ภูเก็ต 3 เทียว/
่
				 สัปดาห์ เริ่มช่วงเดือนกรกฎาคม 2556
			 - การบินไทย เพิ่มเที่ยวบินเส้นทาง มิลาน-กรุงเทพฯ 4
				 เทียว/สัปดาห์ (จากเดิม 3 เทียว) เส้นทาง โรม-กรุงเทพฯ
่
่
				 5 เที่ยว/สัปดาห์ (จากเดิม 4 เที่ยว) เริ่มตั้งแต่วันที่ 16
				 มิถุนายน 2556
			 - การบินไทย เพิมเทียวบินเส้นทาง โคเปนเฮเกน-กรุงเทพฯ
่ ่
				 9 เที่ยว/สัปดาห์ (จากเดิม 7 เที่ยว/สัปดาห์) เริ่มช่วงวัน
				 ที่ 5 กรกฎาคม-วันที่ 18 สิงหาคม 2556
			 -	บริษั ท Tui Thomson จะเปิดบินเส้นทาง ลอนดอน
				 แกดวิ ก -กรุ ง เทพฯ 1 เที่ ย ว/สั ป ดาห์ เริ่ ม วั น ที่ 14
				 พฤศจิกายน 2556
	 •	โอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากความขัดแย้ง
ระหว่างประเทศในเอเชียทีเ่ กิดขึน เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองของ
้
จีน-ญีปน, ญีปน-เกาหลี, เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้, ฟิลปปินส์-ไต้หวัน
่ ุ่ ่ ุ่
ิ
ฯลฯ อาจทำ�ให้นักท่องเที่ยวจากประเทศเหล่านี้หันไปเลือกท่องเที่ยว
ในประเทศอืนแทน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึงเป็นช่วง
่
่
ปิดเทอม อาจทำ�ให้การเดินทางท่องเที่ยวของประเทศไทยคึกคักขึ้น

Tourism Journal | 11
Tourism Poll

เรียบเรียง กองวิจัยการตลาด ททท.

12 | Tourism Journal
Tourism Poll

	 	
	 การท่องเทียวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จดทำ� “โครงการสำ�รวจความคิดเห็นของประชาชน
่
ั
	 	
ที่มีต่อการท่องเที่ยวไทย” หรือที่เรียกว่า “TAT Tourism Poll” ซึ่งโครงการนี้ได้ดำ�เนินการ
	 	
เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว โดยกิจกรรมนี้ ททท. จัดทำ�ขึ้นเพื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ในกระแส
	 	
ความสนใจของประชาชน และเป็ น ประโยชน์ ต่ อ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในอุ ต สาหกรรม
	 	
การท่องเที่ยว
	 จากสถานการณ์การขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นมากของนักท่องเที่ยวจากตลาดจีนและรัสเซีย ซึ่งในมุมหนึ่งมองว่าเป็นตลาด
ที่มีการเติบโตดี แต่ขณะเดียวกัน อีกมุมก็มองว่าการเติบโตของตลาดทั้งสองก่อให้เกิดผลกระทบตามมาด้วยเช่นกัน ในการ
สำ�รวจโพลครั้งนี้ ททท. จึงมุ่งประเด็นไปที่ ผลกระทบการขยายตัวของนักท่องเที่ยวตลาดจีน รัสเซีย และการรับมือกับคลื่น
ยักษ์นักท่องเที่ยวทั้งสองตลาด โดยสำ�รวจข้อมูลจำ�นวน 2,163 ตัวอย่าง จากกลุ่มผู้ประกอบการ 1,068 ตัวอย่าง และ
ประชาชน 1,095 ตัวอย่าง ในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย 7 พื้นที่ (กรุงเทพฯ พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา
เกาะสมุย) ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน ถึง 8 กรกฎาคม 2556

Tourism Journal | 13
Tourism Poll

สรุปสาระสำ�คัญจากการสำ�รวจ

	 •	จากสถานการณ์ตลาดนักท่องเทียว ในช่วงปี 2550- 2555 พบ
่
ว่าตลาดรัสเซีย และจีน มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งด้านจำ�นวน
และรายได้ แต่การเติบโตของทั้งสองตลาดเป็นไปแบบไม่มีคุณภาพ
โดยการเติบโตของรายได้จากตลาดจีนและรัสเซีย พึ่งพาการเติบโต
ของจำ�นวนนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อทริปไม่ค่อยมี
การเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร
	 •	เมือสอบถามความคิดเห็นเกียวกับการเพิมขึนของนักท่องเทียว
่
่
่ ้
่
จีน ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนในท้องถิ่น มีความเห็นตรงกันว่า
การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวจีน ก่อความรำ�คาญกับคนรอบข้าง
เนื่องจากไม่มีมารยาทและส่งเสียงดัง (ผลักผู้อื่น สูบบุหรี่) และสร้าง
ความสกปรกให้กบพืนทีที่ไปใช้บริการเนืองจากไม่รกษาความสะอาด
ั ้ ่
่
ั
(ถ่มนํ้าลาย ทิ้งขยะ ไม่กดชักโครก)
	 แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ประกอบการ มีความคิดเห็นในเชิง
บวกว่า การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน ก่อให้เกิดการสร้างรายได้
รวมของธุรกิจเพิ่มขึ้น และมีรายรับอย่างสมํ่าเสมอเนื่องจากชาวจีน
เดินทางมาเที่ยวทั้งปี แต่พบว่ามีกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่
ได้รับผลกระทบจากการสร้างปัญหาของนักท่องเที่ยวชาวจีน ได้แก่
สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส
	 •	สำ�หรับปัญหาที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ จากการเพิ่ม
ขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวจีน คือ
	 -	ปัญหาเสียงดังจากการพูดคุย/ตะโกน โวยวาย (ร้อยละ 26.3)
	 -	ปัญหาจำ�นวนนักท่องเที่ยวจากชาติอื่นลดลง (ร้อยละ 23.4)
	 -	ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จากการไม่รักษาความ
		 สะอาด (ร้อยละ 21.9)
	 -	ปัญหาการสื่อสารกันไม่เข้าใจ (ร้อยละ 15.0)
	 •	สำ�หรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว
รั ส เซี ย ประชาชนในท้ อ งถิ่ น และผู้ ป ระกอบการ มี ค วามเห็ น
สอดคล้ อ งกั น ว่ า การเพิ่ ม ขึ้ น ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวรั ส เซี ย ส่ ง ผล
กระทบในเรื่ อ งการสร้ า งความวุ่ น วายให้ กั บ พื้ น ที่ ที่ ไ ปใช้ บ ริ ก าร

14 | Tourism Journal

เนื่องจากไม่เคารพกฎ/กติกาต่าง ๆ (เสียงดัง ทะเลาะวิวาท)
	 แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวรัสเซีย สร้างรายได้รวมให้
ธุรกิจเพิมขึน แต่อย่างไรก็ตามยังมีเสียงสะท้อนถึงผลกระทบด้านอืน ๆ
่ ้
่
ตามมาด้วย เช่น
	 -	ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแต่ง
ตัวโป๊ของนักท่องเที่ยวหญิง
	 -	เกิดมาเฟียชาวรัสเซียและการสร้างเขตอิทธิพลเพื่อหาผล
ประโยชน์
	 -	ก่อให้เกิดการลักลอบ/แฝงตัวมาค้าประเวณีของนักท่องเทียว
่
หญิงชาวรัสเซีย
	 •	กลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่ ได้รับผลกระทบจากการ
สร้างปัญหาของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย คือ สหราชอาณาจักร
เยอรมนี สวีเดน
	 •	ปัญหาทีผประกอบการได้รบ จากการเพิมขึนของนักท่องเทียว
่ ู้
ั
่ ้
่
ชาวรัสเซีย คือ
	 -	ปัญหาการแฝงตัวเข้ามาทำ�ธุรกิจผิดกฎหมายในประเทศไทย
(ร้อยละ 14.6)
	 -	ปัญหาไม่เคารพ และไม่ปฏิบัติตามกฎของสถานที่ที่ ไปใช้
บริการ (ร้อยละ 10.4) ปัญหาการใช้กำ�ลังก่อเหตุทะเลาะวิวาท
(ร้อยละ 10.4)
	 -	ปัญหาการสื่อสารกันไม่เข้าใจ (ร้อยละ 9.2)
Tourism Poll

	 •	 แนวทางการดำ�เนินงานเพื่อรับมือตลาดจีน รัสเซีย โดยเน้น
ความร่วมมือจากทุกหน่วยงานดำ�เนินมาตรการ ดังนี้
	 1.	การควบคุมดูแลการเข้า-ออกของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้า
มาประเทศไทย
	 2.	การตรวจสอบและดูแลการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
อย่างเข้มงวด
	 3.	การประชาสัมพันธ์ให้นกท่องเทียวต่างชาติได้ทราบถึงค่านิยม
ั
่
และวัฒนธรรมไทย เพือจะได้เรียนรูและปฏิบตตาม ก่อนการเดินทาง
่
้
ัิ
เข้ามาประเทศไทย
	 4.	การจัดทำ�ป้ายหรือสัญลักษณ์ เพื่อแจ้งเตือนสิ่งที่ควรรู้ให้
นักท่องเที่ยวเข้าใจ
	 5.	การส่งเสริมให้คนไทยเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านภาษา
ต่างประเทศ

	 •	 แนวทางการดำ�เนินงานของ ททท.
	 1.	ปรั บ โครงสร้ า งตลาด มุ่ ง เน้ น ส่ ง เสริ ม ตลาดระดั บ บน
อย่างจริงจัง
	 2.	สร้างสมดุลทั้งฤดูกาลและพื้น ที่ รวมทั้งโครงสร้างตลาด
	 3.	ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยจัดทำ�แผ่นพับ Do and Don’t
และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวในเว็บไซต์

Tourism Journal | 15
To u r i s m S e m i n a r

เรื่อง กองกลยุทธ์การตลาด ททท.

16 | Tourism Journal
To u r i s m S e m i n a r

	 	
	 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดงานแถลง “ทิศทางการดำ�เนินงานด้าน
	 	
การตลาดการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2557” เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556
	 	
เวลา 17.00 น.  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่
	 	
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานกรรมการการท่องเที่ยว
	 	
แห่ ง ประเทศไทย กรรมการท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ
	 	
ท่องเที่ยว สื่อมวลชน และพนักงาน ททท. ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำ�คัญสรุปได้
	 	
ดังนี้
	 แผนการท่องเที่ยวประจำ�ปีของ ททท. นั้น จัดทำ�ขึ้นอย่างมีกระบวนการ เริ่มจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่ง
ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเอกสารและข้อมูลจากพันธมิตรสาขาต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้องแล้วนำ�มากำ�หนดเป็นทิศทางเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในทิศทางที่จะตอบโจทย์ทั้งในมิติ
ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และนโยบายของรัฐบาล
   การประชุมแผนการท่องเที่ยวในปีนี้ นับเป็นปีที่ 33 แล้ว ตั้งแต่ปีแรก ๆ ที่ก่อตั้งททท. ท่านผู้ว่าการในอดีต คือ ท่านผู้ว่าฯ
เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ได้กำ�หนดภารกิจหลักไว้ว่าเราจะต้อง Put Thailand in World Tourism ให้ได้ ณ วันนี้ สามารถกล่าว
ได้ว่าเราได้บรรลุถึงภารกิจนั้นแล้ว และการท่องเที่ยวไทยเองก็ได้เดินทางมาถึงจุดที่เรียกได้ว่าเติบโตเต็มที่แล้วเช่นกัน ดังนั้น
ภารกิจที่เราจะทำ�จากนี้ จะต้องทำ�ให้การเติบโตของการท่องเที่ยวไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยเราต้องพยายาม Elevate Thailand
Higher on the World Map หรือยกระดับประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพที่มีตำ�แหน่งทางการตลาดในระดับสูงขึ้น  
   หลาย ๆ ปีที่ผ่านมานี้ เรามักต้องทำ�แผนเพื่อฝ่าฟันวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์การเมืองภายในประเทศ
หรือภัยพิบัติต่าง ๆ  แต่ในปีนี้ ความท้าทายที่เราพบ กลับกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในเรื่องของการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวและสถานภาพของตลาดการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป

Tourism Journal | 17
To u r i s m S e m i n a r

ประเด็ น ท้ า ทายต่ า ง ๆ ของอุ ต สาหกรรม
ท่องเที่ยว

	 •	สิ่งแรกที่เราพบอย่างชัดเจน คือ การขยายตัวอย่างก้าว
กระโดดของตลาดใหม่ อาทิ ตลาดจีน อินเดีย และรัสเซีย ทำ�ให้นัก
ท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้นอย่างมิทันได้ตั้งรับ การที่
จะให้การเติบโตของตลาดกลุมนีเ้ ป็นไปอย่างมีคณภาพและยังยืน เป็น
่
ุ
่
ประเด็นท้าทายในอันดับ 1
	 •	การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทีจะทำ�ให้กลุมประเทศ
่
่
ในประชาคมรวมทั้งไทย กลายเป็นตลาดการค้า การลงทุนและการ
ท่องเทียวที่ใหญ่อกแห่งหนึงของโลก ซึงมีแนวทางทีจะพัฒนาไปให้อยู่
่
ี
่
่
่
ในระดับเดียวกับประชาคมยุโรป หรือ EU ซึงในปีทผานมา จะเห็นได้วา
่
ี่ ่
่
หลายประเทศเริ่มแสดงให้เห็นถึงความสนใจในมิติต่าง ๆ ที่จะมุ่งสู่
AEC ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรือญี่ปุ่น การเปิดประเทศเมียนมาร์ก็จะ
เป็นอีกประเด็นหนึง ทีจะเป็นจุดดึงดูดใจนักท่องเทียวจากนอกภูมภาค
่ ่
่
ิ
การปรับบทบาทและทิศทางของไทยให้ได้รับประโยชน์จากการเปิด
AEC ท่ามกลางการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกด้วย
กันเอง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไทยเสีย Market Share ในอนาคต จะเป็น
อีกประเด็นท้าทายที่จะต้องหาแนวทางรับมือ
	 •	สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งสถานะตลาดอิ่มตัว
ของตลาดหลัก นับเป็นประเด็นท้าทายทีอาจจะเรียกได้วาเป็นอุปสรรค
่
่
ที่ต้องก้าวผ่านเช่นกัน เมื่อพิจารณาการเติบโตในปีที่ผ่านมา กลุ่ม
ประเทศที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบค่อนข้างชัดเจน
18 | Tourism Journal

ทำ�ให้การขยายตัวการเดินทางท่องเทียวมาไทยไม่สงนัก อาทิ อังกฤษ
่
ู
สแกนดิเนเวีย เยอรมนี อเมริกา สเปน อิตาลี ออสเตรเลีย และ
อิหร่าน เป็นต้น ส่วนตลาดคนไทย ในระยะสันนี้ ก็อาจจะได้ผลกระทบ
้
เช่นกัน จากการยกเว้นตรวจลงตราเข้าญีปนสำ�หรับคนไทย ซึงอาจจะ
่ ุ่
่
ทำ�ให้คนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นมากขึ้น
	 •	อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านการคมนาคมในช่วงปีทผานมา
ี่ ่
ยังคงเป็นโอกาสทีจะทำ�ให้เกิดการขยายตลาดให้กว้างขึนได้ อาทิ การ
่
้
ขยายเครือข่ายการบินไปยังเมืองรองของสายการบินตะวันออกกลาง
จากเมืองรองในยุโรปมาไทย และการเพิมทีนงโดยสารของ Low Cost
่ ่ ั่
Airline สำ�หรับเส้นทางการบินในระยะสั้นเชื่อมโยงจากญี่ปุ่น จีน
เกาหลี อินเดีย มากรุงเทพฯ ภูเก็ต เป็นต้น หรือแม้แต่นโยบาย
รถคันแรกของคนไทย ก็สงผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเทียว
่
่
เช่นกัน

เป้าหมายและแนวทางการดำ�เนินงาน

		 เมื่อประมวลความท้าทายต่าง ๆ ประกอบกับเป้าหมายการ
ดำ�เนินงานด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลแล้ว จึงได้
กำ�หนดเป้าหมายหลักที่จะต้องไปให้ถึงใน 2 ส่วนควบคู่กันไป คือ
1)	 ต้องบรรลุเป้าหมายนำ�รายได้เข้าประเทศให้ได้ 2 ล้านล้านบาท
ในปี 2558 ซึ่งเป็นภารกิจ 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2556-2558 และ
2)	 ต้องปรับสมดุลในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในทุกมิติ ทั้งด้าน
ตลาด พืนที่ ฤดูกาล คุณค่า และสิงแวดล้อม ทังนีเ้ พือให้อตสาหกรรม
้
่
้ ่ ุ
To u r i s m S e m i n a r
ท่องเที่ยวเติบโตและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างยั่งยืน
	 •	เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น ในปี 2557 นี้ จะได้สานต่อ
แนวคิด “รายได้ก้าวกระโดด ด้วยวิถีไทย” หรือ Higher Revenue
through Thainess ต่อเนื่องจากปี 2556 โดยใช้แนวคิดการทำ�การ
ตลาดแบบ Marketing 3.0 เน้นส่งมอบคุณค่า (Value) หรือ ความ
สุข ในการเดินทางท่องเที่ยวที่เกิดจากการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม
(Co-creation) ซึ่งจะประทับใจลงสู่จิตวิญญาณ จนกระทั่งเกิดการ
แบ่งปันและบอกต่อ (Share) ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้นำ�แนวคิดนี้ไปใช้
แล้ว ได้สร้างความตืนตัวให้กบคูคาในตลาดต่างประเทศอย่างมาก โดย
่
ั ่้
คูคาได้เห็นถึงศักยภาพในการนำ�วิถีไทยมานำ�เสนอเป็นสินค้าทางการ
่้
ท่องเที่ยวใหม่ได้
	 •	วิถีไทยนีเ้ องจะเป็นเอกลักษณ์และจุดเน้นทีท�ให้ไทยแตกต่าง
่ำ
จากประเทศอื่ น ในประชาคมอาเซี ย นและมี ตำ � แหน่ ง ในการยื น ที่
ชัดเจนหลังเปิดประชาคมฯ ซึ่งจะนำ�มาซึ่งการเติบโตและรายได้ของ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะยาว
	 •	นอกจากนี้ การส่งมอบความสุขแทนเรืองของความคุมค่าเงิน
่
้
(Value for Money) นั้น จะช่วยให้ไทยหลุดจากภาพลักษณ์การเป็น
แหล่งท่องเที่ยวราคาถูก และเพิ่มระดับการรับรู้ประเทศไทยในการ
เป็น Quality Destination โดยความสุขที่จะส่งมอบในปีนี้ จะส่งผ่าน
กิจกรรม Thai Experience, Thai Way of Life และ Thai Cultures
ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้มีส่วนร่วมและแบ่งปัน
	 •	สำ�หรับการตังเป้าหมายในมิตเิ ศรษฐกิจนัน ได้ตงเป้าหมายไว้
้
้
ั้
ให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 แบ่งเป็น
	 -	รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 โดย
จะให้ความสำ�คัญกับตลาดเอเชียเป็นหลัก โดยมีการเติบโตของรายได้
ประมาณร้อยละ 14 ในขณะที่ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ
อเมริกา ให้มีการเติบโตร้อยละ 12
	 -	รายได้หมุนเวียนในประเทศจากนักท่องเทียวชาวไทยให้เพิม
่
่
ขึนร้อยละ 9 โดยคาดหวังให้มรายได้หมุนเวียนเพิมขึนมากทีสดในภาค
้
ี
่ ้
ุ่
ใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกและภาคอีสาน ประมาณร้อยละ 10
	 •	ในขณะเดียวกันจะปรับสมดุลเชิงการตลาดจากตลาด Mass
ให้เข้าสูตลาดคุณภาพในทุกตลาดทังใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะ
่
้
กลุมนักท่องเทียวทีมก�ลังซือสูงระดับกลาง-บน และนักท่องเทียวกลุม
่
่ ่ีำ ้
่ ่
เฉพาะ หรือ Niche Market ได้แก่
	 -	กลุ่ม Wedding & Honeymoon ซึ่งสามารถดำ�เนินการเจาะ
ได้ทุกพื้นที่ตลาด และจากการศึกษาพบว่าเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายสูง
ในการมาแต่งงานและฮันนีมูนในประเทศไทย
	 -	กลุ่มที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาล (Medical) จากตลาด
เฉพาะ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจุบันได้รับความสะดวกใน
เรื่องการยกเว้นลงตราเป็นกรณีพิเศษ
	 -	กลุ่ม Golf กลุ่ม Health & Wellness และกลุ่ม Green หรือ
Eco-tourists ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องพัฒนาและส่งเสริม เนื่องจากเป็น
กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาแล้วใช้จ่ายในประเทศมากกว่านัก
ท่องเที่ยวปกติ
	 •	โดยการพัฒนาตลาด Niche Market นี้ ไม่เพียงแต่จะทำ�ใน
เรืองของการส่งเสริมการตลาด แต่จะพัฒนาทังองคาพยพโดยเฉพาะ
่
้

ผู้ประกอบการ ให้มีความเชี่ยวชาญ มีเอกลักษณ์ มีประสิทธิภาพใน
การส่งมอบการบริการ สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้
จริง และให้มีความสามารถสร้างความภักดีของลูกค้าได้ ซึ่งจะทำ�ให้
ผู้ประกอบการสามารถส่งมอบบริการในระดับเดียวกับความต้องการ
ของลูกค้าได้ โดยไม่ต้องนำ�เรื่องราคามาเป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริม
ตลาด รวมทังพัฒนาช่องทางการขายออนไลน์ส�หรับกลุมตลาดเฉพาะ
้
ำ
่
เพิ่มเติม อาทิ กลุ่ม Wedding Honeymoon กลุ่ม High-end และ
กลุ่มสุขภาพ
	 •	ปรับสมดุลในเชิงพืนที่ ลดการกระจุกตัวของการท่องเทียวใน
้
่
เมืองท่องเทียวหลัก โดยส่งเสริมให้เกิด การกระจายการเดินทางไปยัง
่
ภูมิภาค และเชื่อมโยงภายในประเทศในกลุ่ม AEC โดยไทยเป็น Hub
หรือศูนย์กลางการท่องเทียวในกลุมประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในเส้น
่
่
ทางทางบกที่มีความพร้อม เช่น R3A East-West Corridor และเส้น
ทางเชื่อมโยงทางทิศตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น
	 •	ปรับสมดุลในเชิงเวลา หรือฤดูการท่องเที่ยว โดยเฉพาะคน
ไทย ให้มีการกระจายตัวการท่องเที่ยวนอกฤดูมากขึ้น เช่นเดียวกับ
การพยายามส่งเสริมให้เกิดการเดินทางของตลาดต่างประเทศทีมฤดู
่ี
การเดินทางของตลาดที่ตรงกับช่วงนอกฤดูของไทย
	 •	นอกจากนี้ จะมุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะ Green
Tourism เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีภาพลักษณ์ที่ดี และการ
ท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
	 •	ประเด็นสุดท้าย ททท. ได้ให้ความสำ�คัญในเรื่องการพัฒนา
ข้อมูลเป็นอย่างยิง โดยเฉพาะข้อมูลทีจะใช้เป็นฐานในการกำ�หนดและ
่
่
ปรับแนวทางดำ�เนินงานด้านการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และ
สามารถรับมือกับการเปลียนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที โดย ททท.
่
จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligence Center) ที่จะให้บริการ
ฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เป็นศูนย์พยากรณ์ และดำ�เนินการวิจัย
ด้านการท่องเที่ยว

Tourism Journal | 19
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013
TAT TOURISM JOURNAL 4/2013

Contenu connexe

En vedette

TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013Zabitan
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015Zabitan
 
Capitalise on the Social Media Phenomenon
Capitalise on the Social Media PhenomenonCapitalise on the Social Media Phenomenon
Capitalise on the Social Media PhenomenonDigital Visitor
 
Catalogo bermuda well fit
Catalogo bermuda well fitCatalogo bermuda well fit
Catalogo bermuda well fitOrtus Fitness
 
eTwinning w Publicznym Gimnazjum w Zaborze
eTwinning w Publicznym Gimnazjum w ZaborzeeTwinning w Publicznym Gimnazjum w Zaborze
eTwinning w Publicznym Gimnazjum w Zaborzeagatawaltrowska
 
Final editted ppt terminolgy of advertising
Final editted ppt terminolgy  of advertisingFinal editted ppt terminolgy  of advertising
Final editted ppt terminolgy of advertisingIshmeet Oberoi
 
eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554Zabitan
 
munsif proposal (1)
munsif proposal (1)munsif proposal (1)
munsif proposal (1)Ankit Dutt
 
Fiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelitaFiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelitaMarianelaCV
 
Question papers
Question papersQuestion papers
Question papersAnkit Dutt
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014Zabitan
 
สุภาพร ชินโพธิ์คลัง
สุภาพร  ชินโพธิ์คลังสุภาพร  ชินโพธิ์คลัง
สุภาพร ชินโพธิ์คลังsupaporn90
 
Led게시물
Led게시물Led게시물
Led게시물cho1802
 
Material informacyjny telewizja_cyfrowa
Material informacyjny telewizja_cyfrowaMaterial informacyjny telewizja_cyfrowa
Material informacyjny telewizja_cyfrowaagatawaltrowska
 
Antonio e vitoria
Antonio  e vitoriaAntonio  e vitoria
Antonio e vitoriaTDCTeacher
 
Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1Ortus Fitness
 
eTAT journal 3/2555
eTAT journal 3/2555eTAT journal 3/2555
eTAT journal 3/2555Zabitan
 

En vedette (20)

TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015
 
Capitalise on the Social Media Phenomenon
Capitalise on the Social Media PhenomenonCapitalise on the Social Media Phenomenon
Capitalise on the Social Media Phenomenon
 
Catalogo bermuda well fit
Catalogo bermuda well fitCatalogo bermuda well fit
Catalogo bermuda well fit
 
eTwinning w Publicznym Gimnazjum w Zaborze
eTwinning w Publicznym Gimnazjum w ZaborzeeTwinning w Publicznym Gimnazjum w Zaborze
eTwinning w Publicznym Gimnazjum w Zaborze
 
Dish stories
Dish storiesDish stories
Dish stories
 
Final editted ppt terminolgy of advertising
Final editted ppt terminolgy  of advertisingFinal editted ppt terminolgy  of advertising
Final editted ppt terminolgy of advertising
 
eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554eTAT journal 4/2554
eTAT journal 4/2554
 
munsif proposal (1)
munsif proposal (1)munsif proposal (1)
munsif proposal (1)
 
Belleza al limite
Belleza al limiteBelleza al limite
Belleza al limite
 
Fiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelitaFiestas infantiles de nelita
Fiestas infantiles de nelita
 
Question papers
Question papersQuestion papers
Question papers
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
 
สุภาพร ชินโพธิ์คลัง
สุภาพร  ชินโพธิ์คลังสุภาพร  ชินโพธิ์คลัง
สุภาพร ชินโพธิ์คลัง
 
Led게시물
Led게시물Led게시물
Led게시물
 
Ignacy Łukaszewicz
Ignacy ŁukaszewiczIgnacy Łukaszewicz
Ignacy Łukaszewicz
 
Material informacyjny telewizja_cyfrowa
Material informacyjny telewizja_cyfrowaMaterial informacyjny telewizja_cyfrowa
Material informacyjny telewizja_cyfrowa
 
Antonio e vitoria
Antonio  e vitoriaAntonio  e vitoria
Antonio e vitoria
 
Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1Catalogo firenza 2014 1
Catalogo firenza 2014 1
 
eTAT journal 3/2555
eTAT journal 3/2555eTAT journal 3/2555
eTAT journal 3/2555
 

Similaire à TAT TOURISM JOURNAL 4/2013

TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017Zabitan
 
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014Zabitan
 
Nrct northern initiatives
Nrct northern initiativesNrct northern initiatives
Nrct northern initiativesrattapol
 
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคนบทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคนMaykin Likitboonyalit
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานAjBenny Pong
 
eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555Zabitan
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศSaran Yuwanna
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือnattatira
 
Kick off nrct
Kick off nrctKick off nrct
Kick off nrctrattapol
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554Zabitan
 
การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...
การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...
การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...Ramnarong Nilgumheang
 
ท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยัง
ท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยังท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยัง
ท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยังnattatira
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013Zabitan
 

Similaire à TAT TOURISM JOURNAL 4/2013 (20)

TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017
 
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
 
Nrct northern initiatives
Nrct northern initiativesNrct northern initiatives
Nrct northern initiatives
 
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคนบทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 
eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศ
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
ดร.เจษฎา ชาตรี
ดร.เจษฎา  ชาตรีดร.เจษฎา  ชาตรี
ดร.เจษฎา ชาตรี
 
Kick off nrct
Kick off nrctKick off nrct
Kick off nrct
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554
 
การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...
การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...
การรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านมุมมองของนัก...
 
ท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยัง
ท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยังท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยัง
ท่องเที่ยวไทย พร้อมเข้าสู่ AEC หรือยัง
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยว
 
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
 

Plus de Zabitan

โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10Zabitan
 
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]Zabitan
 
TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016Zabitan
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016Zabitan
 
TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015Zabitan
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศZabitan
 
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Zabitan
 
Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979Zabitan
 
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandGunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandZabitan
 
TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015Zabitan
 
TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014Zabitan
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวZabitan
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"Zabitan
 
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014Zabitan
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelZabitan
 
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...Zabitan
 
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...Zabitan
 
Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Zabitan
 
Barcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3A
Barcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3ABarcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3A
Barcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3AZabitan
 
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวZabitan
 

Plus de Zabitan (20)

โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10
 
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
 
TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016
 
TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
 
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
 
Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979Miti 4th no.01 Sep 1979
Miti 4th no.01 Sep 1979
 
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandGunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
 
TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015
 
TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
 
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
 
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
 
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
 
Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013
 
Barcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3A
Barcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3ABarcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3A
Barcelona, Spain 2008: my Euro Trip 3A
 
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
 

TAT TOURISM JOURNAL 4/2013

  • 1.
  • 2. สำ � นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย (สกว.) เป็นหน่วยงานหนึงในเครือข่ายองค์กร ่ บริหารการวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ซึ่งมีหน้าที่ ในการบริหารจัดการทุนวิจัยด้านการบริหาร จัดการการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความสำ�คัญ ของการพัฒนางานวิจัยเพื่อให้สามารถขั บ เคลื่อนนโยบายในการพัฒนาการท่องเที่ยว ของประเทศในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การรองรับ การรวมกลุ่ ม ประชาคมอาเซี ย น การเสริ ม สร้างศักยภาพของชุมชน การค้นหา/พัฒนา ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เป็นต้น และไกลไปกว่านั้น สกว. ได้มองเห็นถึงความ จำ�เป็นในการนำ�ข้อค้นพบ/ผลจากการวิจัย ไปเชื่อมต่อกับภาคนโยบาย พร้อม ๆ ไปกับ การใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ในขณะนี้มี ชุดโครงการวิจัยหลายชุดที่ได้ดำ�เนินการไป แล้ว และบางชุดมีผลการศึกษา/ข้อค้นพบที่ ค่อนข้างสมบูรณ์ หรือสามารถนำ�เสนอต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้ โดย ใน TAT Tourism Journal ฉบับไตรมาส 4/2013 จะหยิบยกผลงานวิจัยที่มีความ โดดเด่น ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยใน การท่องเทียวของชาวต่างชาติตามมาตรฐาน ่ สากล ดังนี้ 1 องค์กร Make Road Safe ได้ศึกษาการ เสี ย ชี วิ ต ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วอเมริ กั น ใน ต่างประเทศจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่า การเสียชีวิตดังกล่าวในประเทศไทยมากเป็นอันดับสอง จึงมีความจำ�เป็นอย่างมากที่จะต้องเพิ่มมาตรฐานความ ปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาว ต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2 ขอบเขตการวิจัยครอบคลุมเรื่อง (1) การ พัฒนาแผนทีทระบุจดอันตรายเพือการท่อง ่ ี่ ุ ่ เที่ ย วทางถนนที่ ป ลอดภั ย (2) การยก ระดับความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตาม มาตรฐานสากลด้วยการศึกษาด้านพฤติกรรมและความ พึงพอใจ (3) การศึกษาระบบที่เอื้อต่อความปลอดภัยเพื่อ การท่องเที่ยวทางถนนอย่างยั่งยืน และ (4) การศึกษาเพื่อ ยกระดับคุณภาพการช่วยเหลือและดูแลรักษานักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติหลังประสบอุบัติเหตุ 3 ผลผลิตของการวิจัยได้จัดทำ�แผนที่ความ เสี่ยงทางถนนของประเทศ ซึ่งสามารถ บ่งบอกจุดเสี่ยงและจัดลำ�ดับความเสี่ยง ในแต่ละจุดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว มีความสำ�คัญอย่างมาก ในการกำ�หนดแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ นักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ ยากคือ ปัจจัยในด้านของตัวนักท่องเที่ยวเอง ไม่ว่าจะ เป็นการเตรียมความพร้อม/ศึกษาข้อมูลก่อนการท่องเทียว ่ และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวซึ่งอาจถูกกำ�หนดโดย มาตรฐานการเคารพกฎหมายในประเทศของนักท่องเทียว ่ 4 ปัญหาที่ค้นพบจากการวิจัย พบว่า ยังมี ปัญหาอยู่ในหลาย ๆ ด้าน โดย (1) ด้าน การขนส่ง พบว่า ผู้ให้บริการด้านการ ขนส่งขาดทักษะทางภาษาที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยว ต่างชาติ ยานพาหนะยังไม่เพียงพอ ปัญหาความชำ�รุด ทรุดโทรมของถนนหนทาง ฯลฯ (2) ด้านการจัดการ พบ ว่า ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุของนัก ท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ดีพอ มีอุปสรรคด้านการสื่อสาร ของบุคลากรในการเยียวยารักษานักท่องเทียว ขาดแคลน ่ บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาล นักท่องเที่ยว (3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า นักท่อง เที่ยวไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจกฎหมายและระเบียบที่ เกียวข้อง ทำ�ให้ไม่ทราบสิทธิและหน้าทีของตนในเรืองการ ่ ่ ่ ฟ้องร้องและการเอาประกันภัย นอกจากนี้ กระบวนการ ทางกฎหมายหลังจากเกิดอุบัติเหตุยังมีความล่าช้าและไม่ ต่อเนื่อง บริหารงานวิจัยโดย สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 74 | Tourism Journal
  • 3. เจ้าของ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คณะที่ปรึกษา  สุรพล เศวตเศรนี สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ จุฑาพร เริงรณอาษา ธวัชชัย อรัญญิก    พงศธร เกษสำ�ลี วิไลวรรณ ทวิชศรี         อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์      สมรัก  คำ�พุทธ   ศุกรีย์ สิทธิวนิช    มานิตย์ บุญฉิม      ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาระดับ 10 รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ รองผู้ว่าการด้านตลาดอาเซียน เอเชียใต้และแปซิฟิกใต้ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน รองผู้ว่าการด้านบริหาร รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ผู้อำ�นวยการฝ่ายวางแผน บรรณาธิการ ยุวดี นิรัตน์ตระกูล   ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด อ้อยทิพย์ นิธิยานันท์ กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ รุ่ง กาญจนวิโรจน์           ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์      พรหมเมธ นาถมทอง โศรยา หอมชื่น              ณัฎฐิรา อำ�พลพรรณ        สุจิตรา แย้มงามเหลือ      ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ผู้อำ�นวยการ ททท.สำ�นักงานลอสแอนเจลิส ผู้อำ�นวยการกองกลยุทธ์การตลาด ผู้อำ�นวยการกองสารสนเทศการตลาด ผู้อำ�นวยการกองส่งเสริมบริการท่องเที่ยว หัวหน้างานวิชาการ พนักงานวางแผน พนักงานบันทึกข้อมูล กองบรรณาธิการ Tourism Journal
  • 4. Content สารบัญ 4-11 12-15 16-27 28-33 34-41 | Tourism Situation • สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดต่างประเทศที่เดินทางเข้าไทย ในช่วงครึ่งปีแรก และคาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 • มวยไทย Keep Fighting | Talk from the Cover | Tourism Poll • สรุปผลการสำ�รวจโพล เรือง “ทำ�อย่างไร? กับคลืนยักษ์นกท่องเทียวจีน รัสเซีย” ่ ่ ั ่ | Tourism Seminar • ทิศทางการดำ�เนินงานด้านการตลาดการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2557 • แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และความงาม (Spa and Wellness) • การท่องเที่ยวคือมีม (Meme) | Tourism Trend เวลาที่ผมออกเดินทางท่องเที่ยว นอกจากการช ื่นชมโลกกว้างที่น่าตื่นตาตื่นใจ ผมยังชอบสังเกตผู รอบข้ า งว่ า มี ป ฏิ ก ริ ย าอย่ า งไรต่ อ กั น ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ ้ค น ออกเดิ น ทาง สมมุ ติ ว่ า เดิ น ทางด้ ว ยเครื่ อ งบิ น จะได้ น เ ห็ น ตัวอย่างชัด วินาทีที่พนักงานบริการประกาศให้ขึ้นเครื ่องได้ พวกเราค่อย ๆ เดินตามกันไป เรียงแถวผ่านงวงช้ เข้าไปจนถึงประตูทางเข้าเครื่อง เมื่อคนข้างหน้าหยิบ าง หนังสือพิมพ์ คนที่เดินตามหลังมาก็จะหยิบหนังสือ พิมพ์บ้าง เมื่อได้ที่นั่งเรียบร้อย ถ้าได้นั่งอยู่ในชั้นประหยั ดที่มีผู้โดยสารแออัด นั่งใกล้ชิดกันมาก ๆ ถ้าคนข้ าง ๆ เริ หยิบนิตยสารของสายการบินขึ้นมาอ่าน อีกสักอึด ใจต่อมา ผมก็นึกอยากจะหยิบนิตยสารขึ้นมาอ่านเหมื ่ม อนเขา บ้าง เมื่อเครื่องบินเทคออฟลอยละล่องอยู่บนท้องฟ้ า คนข้าง ๆ เริ่มเปิดจอทีวีส่วนตัวของเขาเพื่อดูหนั ง ผมก็ นึกอยากจะเปิดดูตามเขา ผมคิดว่า การท่องเที่ยวนั้นแท้จริงแล้วก็คือการเลี ยนแบบเพื่อเรียนรู้โลก 42-47 48-51 52-59 60-71 • เมื่อนํ้ามันรั่ว เรื่อง วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ | Low Carbon Tourism | Pop Culture Tourism • 10 ปี องค์บาก เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง | Tourism @ AEC • รูปแบบการดำ�เนินงานการตลาดการท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน | Tourism Research • ท่องเที่ยวแบบหรูหรา : กรณีการท่องเที่ยวโดยเรือยอช์ต Luxury Tourism: Case of Yacht Tourism Tourism Journal 4/2013 จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset) และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้าอนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย 2 | Tourism Journal จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2 โทรสาร : 0 2253 7468 Tourism Authority of Thailand 1600 New Phetchaburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2 fax: +66 2253 7468 email: etatjournal@tat.or.th website: etatjournal.com ebook: www.issuu.com/etatjournal www.ebooks.in.th/etatjournal twitter: @etatjournal
  • 5. บทบรรณาธิการ นักท่องเที่ยวจีน 8 เดือน 3.2 ล้าน         ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีหน่วยงานต่าง ๆ เชิญผู้เขียนไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว นาน ๆ จะมีคน เชิญ เลยคิดเยอะ เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าจะมีอะไรไปพูด ไปแลกเปลี่ยน ก่อนอื่นก็ดูจากหัวข้อที่ระบุไว้ว่าจะ บรรยายได้หรือไม่ มีเวลาเตรียมข้อมูลหรือไม่ การรับบรรยายในแต่ละครัง จำ�เป็นต้องหาข้อมูลประกอบ และ ้ ทีส�คัญคือ ต้องเป็นเรืองทีเ่ รารับผิดชอบ ดังนัน หัวข้อทีรบบรรยายจึงป้วนเปียนแถว ๆ สถานการณ์ทองเทียว ่ำ ่ ้ ่ั ้ ่ ่ แนวโน้มการท่องเที่ยว พฤติกรรมนักท่องเที่ยว บางครั้งก็จะมีมาแปลก ๆ แหวกแนว เช่น หัวข้อที่มาล่าสุด คือ She-conomy อันนี้ยังงง ๆ ว่า จะประมาณไหน ประมาณ Lady Journey หรือ Woman Traveler อันนี้ ต้องเคลียร์กับหน่วยงานที่ติดต่อมาว่า ฉันมาแนวเควียร์ (Queer) เห็นทีจะไม่สามารถบรรยายอะไรให้เป็นชิ้น เป็นอันได้ หรืออาจจะทำ�ให้การสัมมนานั้นบิดเบี้ยว ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และไม่ตอบตัวชี้วัด การเตรียมข้อมูลเพื่อบรรยายทุกครั้ง เป็นช่วงที่จะพบเจออะไรที่ตื่นเต้น เร้าใจ บางครั้งเป็นข้อมูลที่เรา รู้อยู่แล้วแต่ต้องการ Update บางครั้งก็เป็นเรื่องใหม่ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน แหล่งข้อมูลที่ค้นคว้าก็หลากหลาย ข้อมูลส่วนหนึ่งก็มาจากงานวิจัยที่ ททท. ทำ� บางทีก็มาจากการนั่งอ่านฟรีก็อปปีตามร้านกาแฟ ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกจัดระบบ เรียงลำ�ดับ และนำ�เสนอ โดยพยายามบริหารความคาดหวังของผู้ฟังให้มากที่สุด ความตื่นเต้นล่าสุดที่ตาม Update ตัวเลขนักท่องเที่ยว คือ ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2556 มี นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไทย 3.2 ล้านคน คาดว่าปีนี้ จะมีคนจีนมาเที่ยวไทย 4 ล้านคน ตัวเลข นี้ ทำ�ให้เราตื่นเต้นจริง ๆ ยิ่งถ้าเราดูตัวเลขของตลาดหลักอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย ก็พบว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยว มาเลเซียมีเพียง 1.8 ล้านคนเท่านั้น ทีนี้ เราลองมาค่อย ๆ ดูข้อมูลใด ๆ อันที่จะเกี่ยวข้องกับการเติบโตของนักท่องเที่ยวจีน มีสิ่งน่าสนใจ ดังนี้ • ททท. มีสำ�นักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในจีน 5 แห่ง คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง เฉิงตู และกำ�ลัง จะเปิดแห่งใหม่ล่าสุด คือ กวางโจว • ภาพยนตร์จนเรือง Lost in Thailand เป็นภาพยนตร์ที่ได้รบความนิยมและทำ�รายได้สงสุด ภาพยนตร์ ี ่ ั ู เรื่องนี้ ใช้สถานที่ถ่ายทำ�ในประเทศไทย และมีอิทธิพลทำ�ให้คนจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยจำ�นวนมาก • ข้อมูลจากงานวิจัยของ ททท. พบว่า กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจีน (ที่ท่องเที่ยวในเมืองไทยแล้ว) ชื่น ชอบและพลาดไม่ได้ คือ การดูโชว์ ส่วนคนจีนที่ยังไม่เคยมาท่องเที่ยวในเมืองไทยเมื่อพูดถึงเมืองไทย ก็จะ นึกถึง Lady Boy • ผลกระทบจากการเพิมขึนของนักท่องเทียวจีนทีมาท่องเทียวในเมืองไทย คือ การก่อความรำ�คาญให้ ่ ้ ่ ่ ่ คนรอบข้าง สร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ การไม่เคารพกฎระเบียบ ในขณะเดียวกัน ก็ทำ�ให้ธุรกิจท่องเที่ยว ได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้น คลืนยักษ์นกท่องเทียวจากจีน เป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึนในหลายเมืองท่องเทียวทัวโลก ปัญหาทีเ่ กิดจาก ่ ั ่ ้ ่ ่ นักท่องเทียวจีนจะคล้าย ๆ กับทีเ่ กิดในไทย กลยุทธ์ในการบริหารจัดการและการรับมือกับมวลนักท่องเทียวจีน ่ ่ เป็นเรืองน่าสนใจและน่าศึกษาติดตามอย่างยิง อันนีผเู้ ขียนก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องถึงกับตังเป็นโจทย์วจยหรือไม่ แต่ ่ ่ ้ ้ ิั ลองมานั่งนึก ๆ ดู ก็จำ�ได้แม่นว่า สมัยที่ทำ�งาน ททท. ช่วงแรก ๆ ตอนสังกัดอยู่ที่กองวางแผนโครงการ ก็ได้มี งานวิจยเกียวกับเรือง การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ดานการท่องเทียวในพืนทีทองเทียวหลักต่าง ๆ ั ่ ่ ้ ่ ้ ่่ ่ รวมทั้งการศึกษาเพื่อควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยว สมัยนั้น จะเน้นไปในมิติเรื่องสิ่งแวดล้อม และระบบ นิเวศเป็นหลัก ซึ่งมาในยุคสมัยนี้ เราอาจจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นมากขึ้น การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ “ยิ่ง ปิด ก็จะยิ่งเปิด” หรือ “ยิ่งน้อย ก็จะยิ่งมาก” อาจจะต้องถูกนำ�มาใช้ปฏิบัติอย่างจริงจัง มากกว่าการใช้เป็น วาทกรรมที่ไม่ว่าใครจะพูดก็จะดูสวยและหล่อเท่านั้น ยุวดี นิรัตน์ตระกูล Tourism Journal | 3
  • 6. To u r i s m S i t u a t i o n สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดต่างประเทศ ที่เดินทางเข้าไทยในช่วงครึ่งปีแรก และคาดการณ์ ส ถานการณ์ ท่ อ งเที่ ย ว ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 เรื่อง งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ททท. ภาพรวม • สถานการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้าประเทศไทย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 (มกราคม-มิถุนายน) มีทิศทางสดใสต่อเนื่อง โดยมีจำ�นวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น หรือมีอัตราการเติบโตก้าวกระโดดถึงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวประมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เช่นเดียวกัน (ข้อมูลรายได้เบื้องต้นจากกรมการท่องเที่ยว ณ เดือนกรกฎาคม) • ภูมิภาคที่มีการขยายตัวสูงสุด ได้แก่ ตลาดเอเชียตะวันออก รวมเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และอาเซียน ขยายตัวร้อยละ 36 โดยได้รับแรงเสริม จากเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และกระแสความนิยมในการเดินทาง มาประเทศไทยยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระแสการเดินทางตามรอยภาพยนตร์ Lost in Thailand จากตลาดจีน รองลงมาคือ ตลาดภูมิภาคยุโรป ขยายตัวร้อยละ 11 จากแรงขับเคลื่อนของตลาดรัสเซียและยุโรปตะวันออก แม้ว่าประเทศในยุโรปใต้จะมีปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกตํ่า และในประเทศแถบยุโรปกลางเกิดปัญหานํ้าท่วมในช่วงเดือนมิถุนายน แต่ก็มิได้ส่งผลกระทบต่อการเดินทางเข้าไทยใน ภาพรวมแต่อย่างใด สำ�หรับตลาดภูมิภาคอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 8 จากปัจจัยบวกด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค อเมริกาเหนือและละตินอเมริกาที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้น กอปรกับ ททท. ได้เน้นการเจาะตลาดใหม่ ในพื้นที่ละตินอเมริกามากขึ้น และตลาดเอเชียใต้เติบโตร้อยละ 6 จากกระแสการเติบโต ของทุกตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอินเดียที่เติบโตต่อเนื่อง 4 | Tourism Journal
  • 7. To u r i s m S i t u a t i o n เอเชียตะวันออก เฉียงเหนือ อาเซียน ยุโรป ร้อยละ 18 ร้อยละ 11 อเมริกา โอเชียเนีย แอฟริกา ร้อยละ 8 ร้อยละ 2 ร้อยละ 4 ร้อยละ 56 เอเชียใต้ ร้อยละ 6 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 3 สำ�หรับตลาดที่มีปัญหา เป็นตลาดขนาดเล็ก ได้แก่ ตลาดภูมิภาค ตะวันออกกลาง ลดลงร้อยละ 3 เป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในภูมิภาค โดย เฉพาะในอียิปต์ และการหัน เหไปเที่ยวยุโรปมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินยูโรที่ตํ่าลงเป็น แรงจูงใจที่สำ�คัญ ส่วนภูมิภาค โอเชียเนียและแอฟริกา ปรับตัวลงร้อยละ 2 และร้อยละ 4 ตามลำ�ดับ เนื่องจาก • ในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้นัก ท่องเที่ยวออสเตรเลียบางส่วนเลือกเดินทางไปสหรัฐฯ มากขึ้น นับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา เช่นเดียวกับแอฟริกาที่หันไป เดินทางระยะใกล้มากขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ดี จากการประชุม Focus Group กับผู้ประกอบ การหลักของไทย เชื่อว่า การชะลอตัวของตลาดออสเตรเลียเป็นเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ววัน • ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2556 จะมีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 24.15 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และสร้างรายได้จาก ตลาดต่างประเทศ จำ�นวน 1.11 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ซึ่งคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีจะได้จำ�นวนนักท่องเที่ยวและรายได้ เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ Tourism Journal | 5
  • 8. To u r i s m S i t u a t i o n สถานการณ์ท่องเที่ยวรายภูมิภาคใน ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 ภูมิภาคเอเชีย ยตะวันออก • กลุ่มตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ : เอเชี มี อั ต ราการเติ บ โตมากที่ สุ ด ที่ ร้ อ ยละ เฉียงเหนือ 56 หรือมีนกท่องเทียว 4.27 ล้านคน ซึงสูง ั ่ ่ ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกภูมิภาค โดย ตลาดจีน ครองอันดับหนึงของนักท่องเทียว ่ ่ ร้อยละ 56 ที่มาไทยทั้งหมด มีการเติบโตแบบก้าว กระโดดถึงร้อยละ 102 ในช่วง 6 เดือนแรก หรือมีนักท่องเที่ยวจีน ถึง 2.33 ล้านคน อันเป็นผลจากกระแสความนิยมในการเดินทาง ตามรอยภาพยนตร์ Lost in Thailand ที่เป็นอิทธิพลร้อนแรงต่อ เนื่องมาจากปีที่แล้ว รวมทั้ง การเปิดเที่ยวบินใหม่ อู่ฮั่น-กรุงเทพฯ จำ�นวน 14 เที่ยว/สัปดาห์ ของสายการบิน China Eastern Airlines ในเดือนมิถุนายน และความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นทำ �ให้เกิด การหันเหการเดินทางมาไทย เช่นเดียวกับตลาดอื่น ๆ เช่น เกาหลี 6 | Tourism Journal ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ล้วนมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน โดยเฉพาะ ตลาด ไต้หวัน ฟื้นตัวและขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนร้อยละ 39 โดยได้ ปัจจัยบวกจากบรรยากาศความขัดแย้งกันเองจากข้อพิพาทระหว่าง ไต้หวันและฟิลิปปินส์ และการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินเข้าไทย ส่วน ฮ่องกงปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 29 ด้วยแรงส่งจากปัจจัยบวกหลักจาก การเพิ่มขึ้นของเที่ยวบิน เช่น Hong Kong Airlines เพิ่มเที่ยวบิน ฮ่องกง-กรุงเทพฯ จาก 28 เทียว เป็น 35 เทียว/สัปดาห์ และ ฮ่องกง่ ่ ภูเก็ต จาก 7 เที่ยว เป็น 14 เที่ยว/สัปดาห์ และ Dragon Air เพิ่ม เที่ยวบิน ฮ่องกง-เชียงใหม่อีก 1 เที่ยว เป็น 6 เที่ยว/สัปดาห์ ในขณะ ที่ญี่ปุ่นหันมาเดินทางสู่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีค่า ใช้จ่ายไม่สูงแทน จากการที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงมากกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเงินสกุลต่าง ๆ และเกิดความขัดแย้งกับจีนและเกาหลี โดยเดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19
  • 9. To u r i s m S i t u a t i o n อาเซี ยน นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอาเซียนขยายตัว ร้อยละ 18 โดยตลาดหลัก เช่น สิงคโปร์และ มาเลเซีย มีการเติบโตที่ดีในอัตราร้อยละ 10 ร้อยละ 18 และ 21 ทั้งนี้ ตลาดมาเลเซียสามารถฟื้น ตัวจากการระเบิดที่หาดใหญ่ซึ่งตรงกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่ผ่าน มา และเดินทางเข้ามาร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ที่ในปีนี้ตรงกับวัน หยุดสุดสัปดาห์มากขึ้น ส่วนตลาดขนาดกลาง เช่น อินโดนีเซีย มี อัตราการเติบโตช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44 โดยเฉพาะใน ไตรมาสที่ 2 เนื่องจากมีการเดิน ทางเข้ามาในช่วงสงกรานต์เป็น จำ�นวนมาก รวมทั้งมีการนำ�ภาพยนตร์ไทย (พี่มากพระโขนง) ไป ฉายที่อินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม ซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้าง มาก และมีส่วนส่งเสริมให้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น สำ�หรับตลาด เวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในครึ่งปีแรก ทั้งนี้ นักท่องเที่ยว เวี ย ดนามมี แ นวโน้ ม ท่ อ งเที่ ย วต่ า งประเทศมากขึ้ น โดยเฉพาะ เดินทางมายังประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งมีราคาไม่ต่าง กันมากเมือเทียบกับการท่องเทียวในประเทศ อีกทังในเดือนมิถนายน ่ ่ ้ ุ สายการบิน Vietjet Airlines ได้เปิดเส้นทางใหม่ ฮานอย-กรุงเทพฯ 7 เที่ยว/สัปดาห์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระแสความต้องการในการเดิน ทางมายังประเทศไทยของชาวเวียดนามที่มีมากขึ้น Tourism Journal | 7
  • 10. To u r i s m S i t u a t i o n ภูมิภ าคยุโรป ในช่วงครึ่งปีแรกยังคงมีทิศทางที่สดใส โดย ขยายตัวร้อยละ 11 ตลาดรัสเซีย มีการเติบโต สู ง สุ ดในภู มิ ภาคที่ ร้ อ ยละ 34 รองลงมา ร้อ ยละ 11 คือ ตลาดยุโรปตะวันออก และ CIS เติบโตร้อย ละ 26 เนื่องจากประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมและมี ความคุ้มค่าเงิน ประกอบกับปัจจัยบวกทางด้านเศรษฐกิจ และตลาด เหล่านี้มิได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าแต่อย่าง ใด ส่วนตลาดเยอรมนี ยังคงเติบโตดีร้อยละ 11 แม้จะมีความกังวล ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและประสบปัญหานําท่วมในช่วงเดือน ้ มิถุนายน แต่มิได้ส่งผลต่อการท่องเที่ยวแต่อย่างใด เนื่องจากนักท่อง เที่ยวยังมีความต้องการเดินทางท่องเที่ยวค่อนข้างสูง แต่มีการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทางแทน กล่าวคือ ใช้เวลาท่องเที่ยวสั้น ลงและระมัดระวังการใช้จายมากขึน ตลาดทีตองเฝ้าระวังอย่างใกล้ชด ่ ้ ่้ ิ เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวติดลบ ได้แก่ กลุ่มประเทศสแกน- 8 | Tourism Journal ดิเนเวีย สเปน และอิตาลี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การดำ�เนินมาตรการรัดเข็มขัดอย่างเข้มงวด สถานการณ์ค่าเงินบาท แข็งค่า และมาตรการปรับขึ้น APD ทำ�ให้การเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดระยะไกลมีต้น ทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดสเปนและ อิตาลี ยังคงต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอยต่อไปในปีนี้ รวมถึง ประชาชนมีการชุมนุมประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลเป็น ระยะ ๆ ทำ�ให้ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวลดลง หรือเลือกเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สำ�หรับ ตลาดเดนมาร์ก ลดลงร้อยละ 4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสายการบิน SAS Scandinavian Airlines งดบินเส้นทางโคเปนเฮเกน-กรุงเทพฯ ตาม ตารางการบินฤดูร้อน (มีนาคม-ตุลาคม) และนักท่องเที่ยวบางส่วน เลือกเดินทางไปท่องเที่ยวแถบเมดิเตอร์เรเนียนและแคริบเบียนแทน เนื่องจากสภาพอากาศอบอุ่นขึ้น
  • 11. To u r i s m S i t u a t i o n ภูมิภาค อเมริ กา ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของภูมิภาค ขยายตัวร้อยละ 8 โดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจาก สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัว ร้อยละ 8 ดีขนตังแต่ชวงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่วนตลาด ึ้ ้ ่ อาร์เจนตินาและบราซิล มีการขยายตัวดีที่ร้อยละ 15 และ 19 ตาม ลำ�ดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการทำ�ตลาดเชิงรุกบุกตลาดใหม่ของ ททท. ในช่วงปีที่ผ่านมา ภูมิภาค เอเชี ยใต้ ตลาดอินเดีย ขยายตัวร้อยละ 6 เป็นการขยาย ตัวต่อเนื่องในระดับปานกลาง แม้ว่าจะมี การเปิดเส้นทางใหม่เข้าไทยถึง 3 เส้นทาง ร้อยละ 6 (ไทยสไมล์ : อาห์เมดาบัด-กรุงเทพฯ, นิวเดลีภูเก็ต, มุมไบ-ภูเก็ต) ในเดือน เมษายน ที่ผ่านมา แต่การเติบโตของ ตลาดนี้อาจจะไม่เติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้ รับผลกระทบหลังจากที่กระทรวงการต่างประเทศของไทย ประกาศ เพิมเงินการันตีส�หรับนักท่องเทียวชาวอินเดียทียนขอ Visa พร้อมกับ ่ ำ ่ ่ ื่ ต้องมีใบยืนยันการจองที่พัก หรือใบรับรองจากบริษัทนำ�เที่ยว (การ ออกมาตรการดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลอินเดียประกาศ ใช้มาตรการเดียวกันกับคนไทยที่ยื่นขอตรวจลงตราเข้าอินเดีย) ซึ่ง มาตรการดังกล่าวมีผลต่อการตัดสินใจเดิน ทางของนักท่องเที่ยว เนืองจากมีกระบวนการทียงยากและซับซ้อนมากขึน ประกอบกับการ ่ ่ ุ่ ้ ชะลอตัวของเศรษฐกิจอินเดียตังแต่ตนปีทผานมา ส่งผลให้เงินรูปออน ้ ้ ี่ ่ ี่ ค่าลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดศรีลังกา ปากีสถาน และบังคลาเทศ ยังคงเติบโตค่อนข้างดีที่ร้อยละ 6-9 Tourism Journal | 9
  • 12. To u r i s m S i t u a t i o n ภูมิภาค โอเชี ยเนีย ตลาดภูมภาคนีมทศทางทีสดใสในช่วงไตรมาส ิ ้ีิ ่ แรก แต่กระแสการเดินทางมาไทยเริ่มแผ่ว ลงตั้งแต่เมษายนเป็นต้น มา จากปัญหาที่ ร้อยละ 2 นักท่องเที่ยวออสเตรเลียซึ่งเป็นตลาดหลัก เริมหันเหการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาประเทศยอดนิยมในอันดับต้น ๆ ่ แทน เนื่อ งจากค่ า เงิ น ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์ ออสเตรเลียเป็นแรงจูงใจที่สำ�คัญ จึงทำ�ให้ในช่วงครึ่งปีแรกตลาด ออสเตรเลียปรับตัวลดลงเกือบร้อยละ 6 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการ โรงแรมของไทยเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ตลาดนี้ไม่น่าเป็นห่วงนัก และ คาดว่าจะกลับมาเติบโตได้ในไตรมาสถัดไป 10 | Tourism Journal ภูมิภาค แอฟริ กา ตลาดภู มิ ภ าคนี้ มี ทิ ศ ทางสดใสในไตรมาส แรก โดยได้รับแรงเสริมจากการเติบโตที่ดี ของตลาดแอฟริ ก าใต้ ซึ่ ง เป็ น ตลาดหลั ก ร้อยละ 4 อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่ 2 ตลาดแอฟริกาใต้ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้น มา ซึ่งเกิดจาก เศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ชะลอตัวในไตรมาสแรก จากการที่ผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมหดตัว และในช่วงเวลาเดียวกันเงินบาทมีการแข็งค่า ขึ้น ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกตลาดแอฟริกาใต้ ลดลง ร้อยละ 2 และ เมื่อประกอบกับตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 6 จึงฉุด ให้ภาพรวมของภูมิภาคนี้ชะลอตัวลงไปถึงร้อยละ 4
  • 13. To u r i s m S i t u a t i o n ่ คาดการณ์ ส ถานการณ์ ท่ อ งเที่ ย วในช่ ว ง เอเชีย - China Airlines เปิดเทียวบินเช่าเหมาลำ� เส้นทาง ไทเป ภูเก็ต 5 เที่ยวบินช่วงวันที่ 1-17 กรกฎาคม 2556 ครึ่งปีหลังของปี 2556 - Eva Airs เปิด Extra Flight เส้นทาง ไทเป-กรุงเทพฯ 24 คาดว่า การเดินทางท่องเทียวของนักท่องเทียวตลาดต่างประเทศ ่ ่ ในภาพรวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้ • ประเทศไทยยังเป็นแหล่งท่องเทียวทียงคงมีความคุมค่าเงินสูง ่ ่ั ้ เมือเทียบกับแหล่งท่องเทียวอืน ๆ โดยเฉพาะในภาวะทีเ่ ศรษฐกิจยังไม่ ่ ่ ่ แน่นอน • การรุกทำ�ตลาดในพื้นที่ใหม่ ๆ ของ ททท. ที่มีศักยภาพ อาทิ ยุโรปตะวันออก คาซัคสถาน ยูเครน ตุรกี และละตินอเมริกา • สายการบินในเอเชียและยุโรปมีการเปิดเส้นทางบินใหม่ ๆ มา ไทยเพิมเติม เพือสนองตอบความต้องการของตลาดทีเ่ พิมขึนต่อเนือง ่ ่ ่ ้ ่ เช่น เที่ยวบิน ช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2556 - AAA Asia Atlantic Airlines เปิดเส้นทาง โอซากา กรุงเทพฯ และ โตเกียว-กรุงเทพฯ 7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่ม วันที่ 17 กรกฎาคม 2556 - Cebu Pacific เปิดเส้นทาง มะนิลา-ภูเก็ต 3 เที่ยว/ สัปดาห์ เริ่มวันที่ 16 สิงหาคม 2556 - การบินไทย เปิดเส้นทาง มัลดีฟส์-กรุงเทพฯ เริ่มช่วง เดือนตุลาคม 2556 - ไทยแอร์เอเชีย เปิดเส้นทาง เนปิดอว์-กรุงเทพฯ 2 เทียว/ ่ สัปดาห์ เริ่มช่วงเดือนตุลาคม 2556 - นกแอร์ เปิดเส้นทาง ย่างกุ้ง-แม่สอด 7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ยุโรป - การบินไทย มีแผนจะเปิดเส้นทาง มอสโก-ภูเก็ต 3 เทียว/ ่ สัปดาห์ เริ่มช่วงเดือนกรกฎาคม 2556 - การบินไทย เพิ่มเที่ยวบินเส้นทาง มิลาน-กรุงเทพฯ 4 เทียว/สัปดาห์ (จากเดิม 3 เทียว) เส้นทาง โรม-กรุงเทพฯ ่ ่ 5 เที่ยว/สัปดาห์ (จากเดิม 4 เที่ยว) เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2556 - การบินไทย เพิมเทียวบินเส้นทาง โคเปนเฮเกน-กรุงเทพฯ ่ ่ 9 เที่ยว/สัปดาห์ (จากเดิม 7 เที่ยว/สัปดาห์) เริ่มช่วงวัน ที่ 5 กรกฎาคม-วันที่ 18 สิงหาคม 2556 - บริษั ท Tui Thomson จะเปิดบินเส้นทาง ลอนดอน แกดวิ ก -กรุ ง เทพฯ 1 เที่ ย ว/สั ป ดาห์ เริ่ ม วั น ที่ 14 พฤศจิกายน 2556 • โอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากความขัดแย้ง ระหว่างประเทศในเอเชียทีเ่ กิดขึน เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองของ ้ จีน-ญีปน, ญีปน-เกาหลี, เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้, ฟิลปปินส์-ไต้หวัน ่ ุ่ ่ ุ่ ิ ฯลฯ อาจทำ�ให้นักท่องเที่ยวจากประเทศเหล่านี้หันไปเลือกท่องเที่ยว ในประเทศอืนแทน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึงเป็นช่วง ่ ่ ปิดเทอม อาจทำ�ให้การเดินทางท่องเที่ยวของประเทศไทยคึกคักขึ้น Tourism Journal | 11
  • 15. Tourism Poll การท่องเทียวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จดทำ� “โครงการสำ�รวจความคิดเห็นของประชาชน ่ ั ที่มีต่อการท่องเที่ยวไทย” หรือที่เรียกว่า “TAT Tourism Poll” ซึ่งโครงการนี้ได้ดำ�เนินการ เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว โดยกิจกรรมนี้ ททท. จัดทำ�ขึ้นเพื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ในกระแส ความสนใจของประชาชน และเป็ น ประโยชน์ ต่ อ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในอุ ต สาหกรรม การท่องเที่ยว จากสถานการณ์การขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นมากของนักท่องเที่ยวจากตลาดจีนและรัสเซีย ซึ่งในมุมหนึ่งมองว่าเป็นตลาด ที่มีการเติบโตดี แต่ขณะเดียวกัน อีกมุมก็มองว่าการเติบโตของตลาดทั้งสองก่อให้เกิดผลกระทบตามมาด้วยเช่นกัน ในการ สำ�รวจโพลครั้งนี้ ททท. จึงมุ่งประเด็นไปที่ ผลกระทบการขยายตัวของนักท่องเที่ยวตลาดจีน รัสเซีย และการรับมือกับคลื่น ยักษ์นักท่องเที่ยวทั้งสองตลาด โดยสำ�รวจข้อมูลจำ�นวน 2,163 ตัวอย่าง จากกลุ่มผู้ประกอบการ 1,068 ตัวอย่าง และ ประชาชน 1,095 ตัวอย่าง ในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย 7 พื้นที่ (กรุงเทพฯ พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา เกาะสมุย) ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน ถึง 8 กรกฎาคม 2556 Tourism Journal | 13
  • 16. Tourism Poll สรุปสาระสำ�คัญจากการสำ�รวจ • จากสถานการณ์ตลาดนักท่องเทียว ในช่วงปี 2550- 2555 พบ ่ ว่าตลาดรัสเซีย และจีน มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งด้านจำ�นวน และรายได้ แต่การเติบโตของทั้งสองตลาดเป็นไปแบบไม่มีคุณภาพ โดยการเติบโตของรายได้จากตลาดจีนและรัสเซีย พึ่งพาการเติบโต ของจำ�นวนนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อทริปไม่ค่อยมี การเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร • เมือสอบถามความคิดเห็นเกียวกับการเพิมขึนของนักท่องเทียว ่ ่ ่ ้ ่ จีน ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนในท้องถิ่น มีความเห็นตรงกันว่า การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวจีน ก่อความรำ�คาญกับคนรอบข้าง เนื่องจากไม่มีมารยาทและส่งเสียงดัง (ผลักผู้อื่น สูบบุหรี่) และสร้าง ความสกปรกให้กบพืนทีที่ไปใช้บริการเนืองจากไม่รกษาความสะอาด ั ้ ่ ่ ั (ถ่มนํ้าลาย ทิ้งขยะ ไม่กดชักโครก) แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ประกอบการ มีความคิดเห็นในเชิง บวกว่า การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ รวมของธุรกิจเพิ่มขึ้น และมีรายรับอย่างสมํ่าเสมอเนื่องจากชาวจีน เดินทางมาเที่ยวทั้งปี แต่พบว่ามีกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่ ได้รับผลกระทบจากการสร้างปัญหาของนักท่องเที่ยวชาวจีน ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส • สำ�หรับปัญหาที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ จากการเพิ่ม ขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวจีน คือ - ปัญหาเสียงดังจากการพูดคุย/ตะโกน โวยวาย (ร้อยละ 26.3) - ปัญหาจำ�นวนนักท่องเที่ยวจากชาติอื่นลดลง (ร้อยละ 23.4) - ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จากการไม่รักษาความ สะอาด (ร้อยละ 21.9) - ปัญหาการสื่อสารกันไม่เข้าใจ (ร้อยละ 15.0) • สำ�หรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว รั ส เซี ย ประชาชนในท้ อ งถิ่ น และผู้ ป ระกอบการ มี ค วามเห็ น สอดคล้ อ งกั น ว่ า การเพิ่ ม ขึ้ น ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวรั ส เซี ย ส่ ง ผล กระทบในเรื่ อ งการสร้ า งความวุ่ น วายให้ กั บ พื้ น ที่ ที่ ไ ปใช้ บ ริ ก าร 14 | Tourism Journal เนื่องจากไม่เคารพกฎ/กติกาต่าง ๆ (เสียงดัง ทะเลาะวิวาท) แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวรัสเซีย สร้างรายได้รวมให้ ธุรกิจเพิมขึน แต่อย่างไรก็ตามยังมีเสียงสะท้อนถึงผลกระทบด้านอืน ๆ ่ ้ ่ ตามมาด้วย เช่น - ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแต่ง ตัวโป๊ของนักท่องเที่ยวหญิง - เกิดมาเฟียชาวรัสเซียและการสร้างเขตอิทธิพลเพื่อหาผล ประโยชน์ - ก่อให้เกิดการลักลอบ/แฝงตัวมาค้าประเวณีของนักท่องเทียว ่ หญิงชาวรัสเซีย • กลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่ ได้รับผลกระทบจากการ สร้างปัญหาของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย คือ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สวีเดน • ปัญหาทีผประกอบการได้รบ จากการเพิมขึนของนักท่องเทียว ่ ู้ ั ่ ้ ่ ชาวรัสเซีย คือ - ปัญหาการแฝงตัวเข้ามาทำ�ธุรกิจผิดกฎหมายในประเทศไทย (ร้อยละ 14.6) - ปัญหาไม่เคารพ และไม่ปฏิบัติตามกฎของสถานที่ที่ ไปใช้ บริการ (ร้อยละ 10.4) ปัญหาการใช้กำ�ลังก่อเหตุทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 10.4) - ปัญหาการสื่อสารกันไม่เข้าใจ (ร้อยละ 9.2)
  • 17. Tourism Poll • แนวทางการดำ�เนินงานเพื่อรับมือตลาดจีน รัสเซีย โดยเน้น ความร่วมมือจากทุกหน่วยงานดำ�เนินมาตรการ ดังนี้ 1. การควบคุมดูแลการเข้า-ออกของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้า มาประเทศไทย 2. การตรวจสอบและดูแลการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ อย่างเข้มงวด 3. การประชาสัมพันธ์ให้นกท่องเทียวต่างชาติได้ทราบถึงค่านิยม ั ่ และวัฒนธรรมไทย เพือจะได้เรียนรูและปฏิบตตาม ก่อนการเดินทาง ่ ้ ัิ เข้ามาประเทศไทย 4. การจัดทำ�ป้ายหรือสัญลักษณ์ เพื่อแจ้งเตือนสิ่งที่ควรรู้ให้ นักท่องเที่ยวเข้าใจ 5. การส่งเสริมให้คนไทยเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านภาษา ต่างประเทศ • แนวทางการดำ�เนินงานของ ททท. 1. ปรั บ โครงสร้ า งตลาด มุ่ ง เน้ น ส่ ง เสริ ม ตลาดระดั บ บน อย่างจริงจัง 2. สร้างสมดุลทั้งฤดูกาลและพื้น ที่ รวมทั้งโครงสร้างตลาด 3. ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยจัดทำ�แผ่นพับ Do and Don’t และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวในเว็บไซต์ Tourism Journal | 15
  • 18. To u r i s m S e m i n a r เรื่อง กองกลยุทธ์การตลาด ททท. 16 | Tourism Journal
  • 19. To u r i s m S e m i n a r การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดงานแถลง “ทิศทางการดำ�เนินงานด้าน การตลาดการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2557” เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 17.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานกรรมการการท่องเที่ยว แห่ ง ประเทศไทย กรรมการท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ท่องเที่ยว สื่อมวลชน และพนักงาน ททท. ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำ�คัญสรุปได้ ดังนี้ แผนการท่องเที่ยวประจำ�ปีของ ททท. นั้น จัดทำ�ขึ้นอย่างมีกระบวนการ เริ่มจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่ง ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเอกสารและข้อมูลจากพันธมิตรสาขาต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้องแล้วนำ�มากำ�หนดเป็นทิศทางเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในทิศทางที่จะตอบโจทย์ทั้งในมิติ ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล การประชุมแผนการท่องเที่ยวในปีนี้ นับเป็นปีที่ 33 แล้ว ตั้งแต่ปีแรก ๆ ที่ก่อตั้งททท. ท่านผู้ว่าการในอดีต คือ ท่านผู้ว่าฯ เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ได้กำ�หนดภารกิจหลักไว้ว่าเราจะต้อง Put Thailand in World Tourism ให้ได้ ณ วันนี้ สามารถกล่าว ได้ว่าเราได้บรรลุถึงภารกิจนั้นแล้ว และการท่องเที่ยวไทยเองก็ได้เดินทางมาถึงจุดที่เรียกได้ว่าเติบโตเต็มที่แล้วเช่นกัน ดังนั้น ภารกิจที่เราจะทำ�จากนี้ จะต้องทำ�ให้การเติบโตของการท่องเที่ยวไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยเราต้องพยายาม Elevate Thailand Higher on the World Map หรือยกระดับประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพที่มีตำ�แหน่งทางการตลาดในระดับสูงขึ้น หลาย ๆ ปีที่ผ่านมานี้ เรามักต้องทำ�แผนเพื่อฝ่าฟันวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์การเมืองภายในประเทศ หรือภัยพิบัติต่าง ๆ แต่ในปีนี้ ความท้าทายที่เราพบ กลับกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในเรื่องของการพัฒนาการ ท่องเที่ยวและสถานภาพของตลาดการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป Tourism Journal | 17
  • 20. To u r i s m S e m i n a r ประเด็ น ท้ า ทายต่ า ง ๆ ของอุ ต สาหกรรม ท่องเที่ยว • สิ่งแรกที่เราพบอย่างชัดเจน คือ การขยายตัวอย่างก้าว กระโดดของตลาดใหม่ อาทิ ตลาดจีน อินเดีย และรัสเซีย ทำ�ให้นัก ท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้นอย่างมิทันได้ตั้งรับ การที่ จะให้การเติบโตของตลาดกลุมนีเ้ ป็นไปอย่างมีคณภาพและยังยืน เป็น ่ ุ ่ ประเด็นท้าทายในอันดับ 1 • การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทีจะทำ�ให้กลุมประเทศ ่ ่ ในประชาคมรวมทั้งไทย กลายเป็นตลาดการค้า การลงทุนและการ ท่องเทียวที่ใหญ่อกแห่งหนึงของโลก ซึงมีแนวทางทีจะพัฒนาไปให้อยู่ ่ ี ่ ่ ่ ในระดับเดียวกับประชาคมยุโรป หรือ EU ซึงในปีทผานมา จะเห็นได้วา ่ ี่ ่ ่ หลายประเทศเริ่มแสดงให้เห็นถึงความสนใจในมิติต่าง ๆ ที่จะมุ่งสู่ AEC ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรือญี่ปุ่น การเปิดประเทศเมียนมาร์ก็จะ เป็นอีกประเด็นหนึง ทีจะเป็นจุดดึงดูดใจนักท่องเทียวจากนอกภูมภาค ่ ่ ่ ิ การปรับบทบาทและทิศทางของไทยให้ได้รับประโยชน์จากการเปิด AEC ท่ามกลางการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกด้วย กันเอง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไทยเสีย Market Share ในอนาคต จะเป็น อีกประเด็นท้าทายที่จะต้องหาแนวทางรับมือ • สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งสถานะตลาดอิ่มตัว ของตลาดหลัก นับเป็นประเด็นท้าทายทีอาจจะเรียกได้วาเป็นอุปสรรค ่ ่ ที่ต้องก้าวผ่านเช่นกัน เมื่อพิจารณาการเติบโตในปีที่ผ่านมา กลุ่ม ประเทศที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบค่อนข้างชัดเจน 18 | Tourism Journal ทำ�ให้การขยายตัวการเดินทางท่องเทียวมาไทยไม่สงนัก อาทิ อังกฤษ ่ ู สแกนดิเนเวีย เยอรมนี อเมริกา สเปน อิตาลี ออสเตรเลีย และ อิหร่าน เป็นต้น ส่วนตลาดคนไทย ในระยะสันนี้ ก็อาจจะได้ผลกระทบ ้ เช่นกัน จากการยกเว้นตรวจลงตราเข้าญีปนสำ�หรับคนไทย ซึงอาจจะ ่ ุ่ ่ ทำ�ให้คนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นมากขึ้น • อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านการคมนาคมในช่วงปีทผานมา ี่ ่ ยังคงเป็นโอกาสทีจะทำ�ให้เกิดการขยายตลาดให้กว้างขึนได้ อาทิ การ ่ ้ ขยายเครือข่ายการบินไปยังเมืองรองของสายการบินตะวันออกกลาง จากเมืองรองในยุโรปมาไทย และการเพิมทีนงโดยสารของ Low Cost ่ ่ ั่ Airline สำ�หรับเส้นทางการบินในระยะสั้นเชื่อมโยงจากญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย มากรุงเทพฯ ภูเก็ต เป็นต้น หรือแม้แต่นโยบาย รถคันแรกของคนไทย ก็สงผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเทียว ่ ่ เช่นกัน เป้าหมายและแนวทางการดำ�เนินงาน เมื่อประมวลความท้าทายต่าง ๆ ประกอบกับเป้าหมายการ ดำ�เนินงานด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลแล้ว จึงได้ กำ�หนดเป้าหมายหลักที่จะต้องไปให้ถึงใน 2 ส่วนควบคู่กันไป คือ 1) ต้องบรรลุเป้าหมายนำ�รายได้เข้าประเทศให้ได้ 2 ล้านล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งเป็นภารกิจ 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2556-2558 และ 2) ต้องปรับสมดุลในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในทุกมิติ ทั้งด้าน ตลาด พืนที่ ฤดูกาล คุณค่า และสิงแวดล้อม ทังนีเ้ พือให้อตสาหกรรม ้ ่ ้ ่ ุ
  • 21. To u r i s m S e m i n a r ท่องเที่ยวเติบโตและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างยั่งยืน • เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น ในปี 2557 นี้ จะได้สานต่อ แนวคิด “รายได้ก้าวกระโดด ด้วยวิถีไทย” หรือ Higher Revenue through Thainess ต่อเนื่องจากปี 2556 โดยใช้แนวคิดการทำ�การ ตลาดแบบ Marketing 3.0 เน้นส่งมอบคุณค่า (Value) หรือ ความ สุข ในการเดินทางท่องเที่ยวที่เกิดจากการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม (Co-creation) ซึ่งจะประทับใจลงสู่จิตวิญญาณ จนกระทั่งเกิดการ แบ่งปันและบอกต่อ (Share) ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้นำ�แนวคิดนี้ไปใช้ แล้ว ได้สร้างความตืนตัวให้กบคูคาในตลาดต่างประเทศอย่างมาก โดย ่ ั ่้ คูคาได้เห็นถึงศักยภาพในการนำ�วิถีไทยมานำ�เสนอเป็นสินค้าทางการ ่้ ท่องเที่ยวใหม่ได้ • วิถีไทยนีเ้ องจะเป็นเอกลักษณ์และจุดเน้นทีท�ให้ไทยแตกต่าง ่ำ จากประเทศอื่ น ในประชาคมอาเซี ย นและมี ตำ � แหน่ ง ในการยื น ที่ ชัดเจนหลังเปิดประชาคมฯ ซึ่งจะนำ�มาซึ่งการเติบโตและรายได้ของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะยาว • นอกจากนี้ การส่งมอบความสุขแทนเรืองของความคุมค่าเงิน ่ ้ (Value for Money) นั้น จะช่วยให้ไทยหลุดจากภาพลักษณ์การเป็น แหล่งท่องเที่ยวราคาถูก และเพิ่มระดับการรับรู้ประเทศไทยในการ เป็น Quality Destination โดยความสุขที่จะส่งมอบในปีนี้ จะส่งผ่าน กิจกรรม Thai Experience, Thai Way of Life และ Thai Cultures ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้มีส่วนร่วมและแบ่งปัน • สำ�หรับการตังเป้าหมายในมิตเิ ศรษฐกิจนัน ได้ตงเป้าหมายไว้ ้ ้ ั้ ให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 แบ่งเป็น - รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 โดย จะให้ความสำ�คัญกับตลาดเอเชียเป็นหลัก โดยมีการเติบโตของรายได้ ประมาณร้อยละ 14 ในขณะที่ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ อเมริกา ให้มีการเติบโตร้อยละ 12 - รายได้หมุนเวียนในประเทศจากนักท่องเทียวชาวไทยให้เพิม ่ ่ ขึนร้อยละ 9 โดยคาดหวังให้มรายได้หมุนเวียนเพิมขึนมากทีสดในภาค ้ ี ่ ้ ุ่ ใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกและภาคอีสาน ประมาณร้อยละ 10 • ในขณะเดียวกันจะปรับสมดุลเชิงการตลาดจากตลาด Mass ให้เข้าสูตลาดคุณภาพในทุกตลาดทังใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะ ่ ้ กลุมนักท่องเทียวทีมก�ลังซือสูงระดับกลาง-บน และนักท่องเทียวกลุม ่ ่ ่ีำ ้ ่ ่ เฉพาะ หรือ Niche Market ได้แก่ - กลุ่ม Wedding & Honeymoon ซึ่งสามารถดำ�เนินการเจาะ ได้ทุกพื้นที่ตลาด และจากการศึกษาพบว่าเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายสูง ในการมาแต่งงานและฮันนีมูนในประเทศไทย - กลุ่มที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาล (Medical) จากตลาด เฉพาะ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจุบันได้รับความสะดวกใน เรื่องการยกเว้นลงตราเป็นกรณีพิเศษ - กลุ่ม Golf กลุ่ม Health & Wellness และกลุ่ม Green หรือ Eco-tourists ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องพัฒนาและส่งเสริม เนื่องจากเป็น กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาแล้วใช้จ่ายในประเทศมากกว่านัก ท่องเที่ยวปกติ • โดยการพัฒนาตลาด Niche Market นี้ ไม่เพียงแต่จะทำ�ใน เรืองของการส่งเสริมการตลาด แต่จะพัฒนาทังองคาพยพโดยเฉพาะ ่ ้ ผู้ประกอบการ ให้มีความเชี่ยวชาญ มีเอกลักษณ์ มีประสิทธิภาพใน การส่งมอบการบริการ สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้ จริง และให้มีความสามารถสร้างความภักดีของลูกค้าได้ ซึ่งจะทำ�ให้ ผู้ประกอบการสามารถส่งมอบบริการในระดับเดียวกับความต้องการ ของลูกค้าได้ โดยไม่ต้องนำ�เรื่องราคามาเป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริม ตลาด รวมทังพัฒนาช่องทางการขายออนไลน์ส�หรับกลุมตลาดเฉพาะ ้ ำ ่ เพิ่มเติม อาทิ กลุ่ม Wedding Honeymoon กลุ่ม High-end และ กลุ่มสุขภาพ • ปรับสมดุลในเชิงพืนที่ ลดการกระจุกตัวของการท่องเทียวใน ้ ่ เมืองท่องเทียวหลัก โดยส่งเสริมให้เกิด การกระจายการเดินทางไปยัง ่ ภูมิภาค และเชื่อมโยงภายในประเทศในกลุ่ม AEC โดยไทยเป็น Hub หรือศูนย์กลางการท่องเทียวในกลุมประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในเส้น ่ ่ ทางทางบกที่มีความพร้อม เช่น R3A East-West Corridor และเส้น ทางเชื่อมโยงทางทิศตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น • ปรับสมดุลในเชิงเวลา หรือฤดูการท่องเที่ยว โดยเฉพาะคน ไทย ให้มีการกระจายตัวการท่องเที่ยวนอกฤดูมากขึ้น เช่นเดียวกับ การพยายามส่งเสริมให้เกิดการเดินทางของตลาดต่างประเทศทีมฤดู ่ี การเดินทางของตลาดที่ตรงกับช่วงนอกฤดูของไทย • นอกจากนี้ จะมุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะ Green Tourism เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีภาพลักษณ์ที่ดี และการ ท่องเที่ยวที่ยั่งยืน • ประเด็นสุดท้าย ททท. ได้ให้ความสำ�คัญในเรื่องการพัฒนา ข้อมูลเป็นอย่างยิง โดยเฉพาะข้อมูลทีจะใช้เป็นฐานในการกำ�หนดและ ่ ่ ปรับแนวทางดำ�เนินงานด้านการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และ สามารถรับมือกับการเปลียนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที โดย ททท. ่ จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligence Center) ที่จะให้บริการ ฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เป็นศูนย์พยากรณ์ และดำ�เนินการวิจัย ด้านการท่องเที่ยว Tourism Journal | 19