SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  31
Télécharger pour lire hors ligne
31
บทที่ 2
ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
ความเสี่ยงภัยเป็นสัจธรรมที่มนุษย์ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในแต่ละวันทุกคนมีโอกาส
จะเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ บางครั้งอาจทาให้ต้องสูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง หรือแม้แต่
ชีวิต ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับความเสี่ยงให้มากที่สุด วิธีการที่ทาได้สะดวกและดีที่สุด ก็คือ
การอยู่ให้ห่างไกลจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนั้น เช่น หลีกเลี่ยงการเป็นมะเร็งปอดก็ไม่สูบบุหรี่หรือ
อยู่ห่างจากผู้สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์งดดื่มของมึนเมาหากต้องขับรถ หรือ
เมาไม่ขับ เป็นต้น โดยปกติแล้วความเสี่ยงภัยไม่อาจคาดการณ์และเตรียมการรับมือได้ล่วงหน้า เช่น
กรณีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเจ็บป่วย การทุพพลภาพอย่างถาวร การใช้เงินจานวนหนึ่งสาหรับ
ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือรถยนต์อันเกิดจากภัยที่ไม่คาดคิด เป็นต้น มีกลุ่มบุคคลได้คิดหาวิธีในการจากัด
หรือควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ โดยไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดารง
ชีวิตประจาวันของบุคคล และให้ธุรกิจบางประเภทสามารถดาเนินต่อไปได้ และเป็นที่มาของการเกิด
ธุรกิจประกันภัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อโอนความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นไปยังบุคคลที่สาม คือ ผู้รับ
ประกันภัย การถ่ายโอนความเสี่ยงภัยเป็นการร่วมมือร่วมใจระหว่างบุคคลที่ตระหนักถึงความเสี่ยงที่
อาจจะเกิดขึ้นกับตน ครอบครัว และทรัพย์สินเป็นอย่างดีจึงได้สละกาลังทรัพย์เข้ากองทุนเพื่อกระจาย
ความเสี่ยง เมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งได้รับความเดือดร้อน หรือความสูญเสียไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ชีวิต
หรือทรัพย์สิน ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ดูแล ชดใช้ค่าสูญเสียที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ
บุคคลเหล่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการลดความสูญเสียซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มคนจานวนหนึ่งในปัจจุบันนี้
ความหมายของความเสี่ยงภัย
มีนักวิชาการให้คาจากัดความของคาว่าความเสี่ยงภัย (Risk) ไว้หลายท่าน ดังนี้
เมธา สุพงษ์ (2554 : 2) ได้ให้ความหมายของความเสี่ยงภัย ไว้ดังนี้ ความเสี่ยงภัย คือ โอกาส
ที่จะเกิดความเสียหายหรือการสูญเสีย (The Chance of Loss) ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหาย
(The Possibility of Loss) ความไม่แน่นอน (The Uncertainty) ความผันแปรของผลลัพธ์ที่แท้จริงจาก
ผลลัพธ์ที่คาดไว้ (The Dispersion of Actual Results from Expected Results) และความน่าจะ
เป็นไปได้ของผลที่ออกมาแตกต่างไปจากสิ่งที่คาดไว้ (The Possibility of any Outcome Deferent
from the one Expected)
32
จิรประภา อัครบวร และ ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช (2552 : 37) ได้ให้ความหมายของความ
เสี่ยงภัยว่า หมายถึง เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต และอาจส่งผลในด้านลบที่ไม่ต้องการ
ดังนั้นการตัดสินใจกระทาการใด โดยไม่มีข้อมูล หรือไม่มีการวางแผนใด จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการ
เสี่ยงในสภาวะของความเสี่ยง
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของความเสี่ยงไว้ว่า หมายถึง โอกาสที่บางสิ่ง
บางอย่างอาจเกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ของสิ่งที่เป็นอันตรายหรือคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจ
หรือแผนการต่าง ๆ ทั้งนี้ความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องมาจากความไม่แน่นอน ผลลัพธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น (ถ้าได้
เกิดขึ้นจริง) ซึ่งในแต่ละหน่วยงานองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนนั้น อาจมีมุมมองในเรื่องความเสี่ยง
ต่างกันหรือตรงข้ามกันได้ เช่น บุคลากรในแผนกรักษาความปลอดภัยอาจมองเรื่องความเสี่ยงเป็นเรื่อง
เลวร้ายที่ต้องได้รับการจัดการโดยด่วน ในขณะที่แผนกการเงินอาจมีมุมมองที่แตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม
บุคลากรในองค์การต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ต้องไม่สร้างความเสียหายเกินกว่าที่องค์การของตนเองจะรับไหว
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหาโอกาสที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่หน่วยงานหรือ
องค์การของตน
ธานี วรภัทร์ (2548 : 22) ได้ให้ความหมายของความเสี่ยงภัย ไว้ว่าหมายถึง โอกาสที่จะ
ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ดีเมื่อเกิดภัยย่อม
ได้รับความเสียหายน้อย หากทรัพย์สินที่มีสภาพเก่า ย่อมได้รับความเสียหายมาก เป็นต้น
Aleka Mandaraka-Sheppard (2007 : 10) ให้ความหมาย ไว้ว่า การจัดการความเสี่ยงภัย
(risk management) หมายถึง การที่เข้าไปใช้ความระมัดระวังป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่าง
เป็นระบบในทุกระดับของธุรกิจ รวมทั้งการจัดการความเสี่ยงภัยในทางการค้าและทางการเงินและการทา
ประกันภัยเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองด้วย
Mark S. Dorfman (2004 : 8) ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการความเสี่ยงภัย ว่าเป็นการจัดการ
และพัฒนาแผนโดยใช้เหตุผลเพื่อจัดการกับความสูญเสียที่อาจเป็นไปได้ และได้อธิบายต่อไปด้วยว่า การ
จัดการความเสี่ยงภัยเป็นกระบวนการในการใช้เหตุผลที่องค์กรทางธุรกิจและบุคคล ต่าง ๆ ใช้ในการ
จัดการความเสี่ยงภัยต่อการสูญเสียของบุคคลเหล่านั้นและเป็นกลยุทธ์ของการวางแผนก่อนที่จะเกิดการ
สูญเสียเพื่อความสามารถในการที่จะจัดการกับสถานการณ์หลังเกิดความสูญเสียขึ้น
George E. Rejda ,Scott E. Harrington and Gregory R. Niehaus (2004 : 11) ได้ระบุไว้
ว่า ความเสี่ยงภัย หมายถึง ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และมีความเกี่ยวข้อง
กับความเสียหาย (Loss)
Emmett J. Vaughan and Therese M. Vaughan (2003 : 23) ได้กล่าวว่า ความเสี่ยงภัย
หมายถึง ความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ที่ออกมาแตกต่างไปจากสิ่งที่คาดหวังไว้
33
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ความเสี่ยงภัย หมายถึง โอกาสที่จะ
ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งระดับของความเสียหายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพของ
ทรัพย์สินหากทรัพย์สินอยู่ในลักษณะที่ดีเมื่อเกิดภัยก็ได้รับความเสียหายน้อย หากเป็นทรัพย์สินเก่า
สภาพไม่ดีก็อาจได้รับความเสียหายมาก หรือสภาพแวดล้อมภายนอกก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความ
เสี่ยงภัย เช่น ความมืด ฝนตกหนัก เป็นต้น
องค์ประกอบของความเสี่ยง
นิยามของคาว่าความเสี่ยงประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบแรก คือ โอกาส
(Opportunity) หรือความเป็นไปได้ (Possibility Likelihood) และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือ ผลกระทบ
(Impact) ดังแสดงในภาพที่ 2.1 (Ayyub, 2003)
ภาพที่ 2.1 องค์ประกอบของความเสี่ยง
ที่มา : จิรประภา อัครบวร และภูมิพร ธรรมสถิตเดช, 2552.
จากภาพสามารถอธิบายเป็นตัวอย่างได้ เช่น การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ ตามกฎหมาย
อนุญาตให้ผู้ขับขี่รถยนต์รักษาระดับของการขับขี่รถยนต์อยู่ที่ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งผู้ขับขี่มีโอกาสในการประสบอุบัติเหตุ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น อาจเกิดความเสียหายหรือความ
สูญเสียเพียงเล็กน้อย เปรียบเทียบกับกรณีที่ผู้ขับขี่เพิ่มระดับความเร็วเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุย่อมมีมากขึ้น รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นถึงขั้นสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
ดังนั้นผู้รับประกันภัยในปัจจุบันจึงไม่คุ้มครองผู้เอาประกันที่นารถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ในการแข่งขัน
การรับประกันภัยประเภทต่าง ๆ จึงได้มีการนาองค์ประกอบข้างต้นมาประกอบการคานวณอัตราเบี้ย
ประกันร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของการประกันอัคคีภัย หากอาคารหรือที่พักอาศัยดังกล่าวอยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่แออัดหรือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ได้แก่ อยู่บริเวณแหล่งชุมชนแออัด หรือสลัม
ย่อมต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ หรืออาคารที่พักซึ่งสร้างจากวัสดุที่สามารถเป็น
เชื้อเพลิงได้ดีหรือตั้งอยู่ใกล้แหล่งที่มีโอกาสเกิดการปะทุจากเชื้อเพลิง ค่าเบี้ยประกันก็จะมีอัตราสูงกว่าปกติ
โอกาส
(Probability)
ความเสี่ยง
(Risk)
ผลกระทบ
(Impact)
34
และเมื่อผู้เอาประกันภัยกลุ่มนี้ เอาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัย จะส่งผลให้บุคคลกลุ่มนี้ต้องชาระเบี้ย
ประกันภัยสูงกว่าบุคคลทั่วไป
เมื่อนาความเสี่ยงมาอยู่ภายใต้บริบทของการบริหาร กิจกรรมหลักในการบริหารความเสี่ยง
จาเป็นต้องประกอบไปด้วย (Blanchard, 2004 : 47)
1. การประเมินระดับความเสี่ยง (Risk Assessment)
2. การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของความเสี่ยง (Risk Analysis)
3. การรองรับและควบคุมความเสี่ยง (Risk Abatement) สามารถอธิบายได้ดังภาพ
ภาพที่ 2.2 องค์ประกอบและกิจกรรมหลักในการบริหารความเสี่ยง
ที่มา : ก้องกิติ พูสวัสดิ์ และพรเทพ อนุสสรนิติสาร (มปท).
การประเมิน
ความเสี่ยง
(Risk Assessment)
การรองรับความเสี่ยง
(Risk Abatement)
การวิเคราะห์
ความเสี่ยง
(Risk Analysis)
คานิยาม
ความเสี่ยง : โอกาส
และผลกระทบ
(Probability and
Impact)
ระดับ
ความเสี่ยง
(Risk
Level)
สาเหตุ
-ปัจจัยที่ควบคุมได้
-ปัจจัยที่ควบคุม
ไม่ได้
การควบคุม
ความเสี่ยง
(Risk Control)
แผนสารอง
(Emergency
Plan)
รายงาน
ความเสี่ยง
(Risk Report)
การทบทวน
ความเสี่ยง
(Risk Review)
ความถี่ในการ
ทบทวน
(Review
Frequency)
35
จากนิยามความเสี่ยง และองค์ประกอบความเสี่ยงทาให้พบว่าความสาคัญของการบริหารความ
เสี่ยงเป็นสิ่งที่จาเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถเตรียมการป้องกัน และควบคุม หรือใช้ความเสี่ยงให้
เป็นประโยชน์ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสีย หรือผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของเรา
ภัย และสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย (Peril and Hazard)
สาหรับด้านการจัดการความเสี่ยงมีคาศัพท์สองคาที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง นั่นคือ คาว่า
ภัย (Peril) และคาว่าอันตราย (Hazard) เนื่องจากการจัดการความเสี่ยงภัยต้องมีการประเมินระดับของ
ความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของสองคานี้
1. ภัย (Peril)
ภัย หมายถึง สาเหตุอันก่อให้เกิดความสูญเสีย ตัวอย่างเช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้อาคาร
พาณิชย์ ภัยก็จะหมายถึง ไฟ หรือกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากผู้ขับขี่มีอาการมึนเมาขณะขับรถ
ภัยก็จะหมายถึง ความประมาท หรือการขาดสติของผู้ขับขี่รถยนต์ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่เป็นภัย
พื้นฐาน ได้แก่ ไฟ ฟ้าผ่า ลม พายุ แผ่นดินไหว รวมถึงความประมาท เลินเล่อของบุคคล เป็นต้น ส่วน
ธานี วรภัทร์ (2548) ได้ให้ความหมายว่า ภัย หมายถึง สิ่งที่ทาให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย
อนามัย ทรัพย์สิน เช่น อัคคีภัย อุบัติภัย เป็นต้น ภัยเหล่านี้อาจเกิดจาก
1.1 ธรรมชาติ (Natural Perils) เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่าง
แน่นอน เช่น น้าท่วม ไฟไหม้ป่า พายุ เป็นต้น
1.2 มนุษย์สร้างขึ้น (Human Perils) เมื่อมนุษย์มาอาศัยอยู่ร่วมกันพฤติกรรมในการ
ดารงชีวิตเพื่อความอยู่รอดและความสะดวกสบายก็อาจก่อให้เกิดภัยขึ้นได้ หรืออาจเกิดจากการโจรกรรม
ความประมาทในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น
1.3 ภัยจากเศรษฐกิจ (Economic Perils) เป็นภาวะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เงินเฟ้อ เงินฝืด
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านรสนิยมของผู้บริโภค ภาวะความผันผวนของราคาสินค้า ความ
เจริญก้าวหน้าทางด้านการผลิต และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
สามารถอธิบายได้ดังรูปภาพที่ 2.3
36
ภาพที่ 2.3 ประเภทของภัย
ที่มา : ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 9.
2. สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย (Hazard)
สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย คือ สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดช่องทางซึ่งนาไปสู่ความสูญเสีย
สามารถจาแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สภาวะทางด้านกายภาพ สภาวะทางด้านศีลธรรม และสภาวะ
ทางด้านกฎหมาย
2.1 สภาวะทางด้านกายภาพ (Physical Hazard) เป็นสภาวะทางกายภาพซึ่งก่อให้เกิด
โอกาสที่จะนาไปสู่ความสูญเสีย เช่น บ้านเรือนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแออัดเป็นอันตรายทางกายภาพที่เพิ่ม
โอกาสของการเกิดอัคคีภัย หรือฝนตกถนนลื่นเป็นอันตรายทางกายภาพที่เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทาง
รถยนต์บนท้องถนน เป็นต้น
2.2 สภาวะทางด้านศีลธรรม (Moral Hazard) เป็นสภาวะที่ส่งผลต่อจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิด
โอกาสอันจะนาไปสู่ความสูญเสีย เช่น การลักขโมยของลูกจ้างเป็นอันตรายทางศีลธรรมที่เพิ่มโอกาสให้
นายจ้างเกิดความสูญเสียด้านการเงิน หรือจานวนเงินเบี้ยประกันที่ตัวแทนประกันภัยต้องรับผิดชอบเก็บ
รักษาจานวนมาก ถือเป็นสภาวะส่งเสริมโอกาสอันจะนาไปสู่การกระทาผิดทางศีลธรรม เช่น การยักยอก
อันจะนามาซึ่งความเสียหายต่อบริษัทประกันภัย และความน่าเชื่อถือของตัวแทนประกัน เป็นต้น
2.3 สภาวะทางด้านกฎหมาย (Legal Hazard) เป็นสภาวะและเงื่อนไขข้อบังคับทาง
กฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสอันจะนาไปสู่ความสูญเสีย อันตรายทางกฎหมายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ
กฎหมายที่กาหนดความรับผิดต่อบุคคลหรือนิติบุคคล เช่น ความรับผิดต่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่
ประกอบกิจการอันก่อให้เกิดมลพิษทาลายสิ่งแวดล้อม ความรับผิดต่อผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจาก
สินค้าที่ผลิตออกจาหน่าย เป็นต้น
ภัยจากเศรษฐกิจ
ภัย
(Perils)
ภัยที่มีสาเหตุมา
จากธรรมชาติ
ภัยที่มีสาเหตุมา
จากมนุษย์สร้างขึ้น
37
ภาพที่ 2.4 ประเภทของสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย
ที่มา : ปรับปรุงจาก ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 10.
ประเภทของความเสี่ยงภัย
ความเสี่ยงสามารถจาแนกได้หลายประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงที่แท้จริงและความเสี่ยงแบบเก็ง
กาไร (Pure and Speculative Risk) ความเสี่ยงของส่วนรวมและความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Fundamental
and Particular Risk) ความเสี่ยงที่ผันแปรและความเสี่ยงคงที่ (Dynamic and Static Risk) ความเสี่ยง
ที่สามารถประกันได้และความเสี่ยงที่ไม่สามารถประกันได้ (Insurable and Non-Insurable Risk)
ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้
1. ความเสี่ยงแท้จริงและความเสี่ยงแบบเก็งกาไร (Pure and Speculative Risk)
ความเสี่ยงแท้จริง (Pure Risk) และความเสี่ยงแบบเก็งกาไร (Speculative Risk)
สามารถอธิบายได้ ดังนี้
1.1 ความเสี่ยงแท้จริง (Pure Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดแก่บุคคลผู้เข้าไป
เกี่ยวข้องด้วย เป็นความเสี่ยงที่อาจส่งเสริมให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ได้ และไม่มีโอกาสที่จะก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินเลย เช่น ผู้ขับรถยนต์ย่อมต้องเผชิญกับความเสี่ยง
ในการประสบอุบัติเหตุจากการขับรถ ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
ร่างกาย หรือชีวิต แต่ถ้าไม่มีอุบัติเหตุใด ๆ เกิดขึ้นเลย สถานะทางทรัพย์สินหรือการเงินของเจ้าของรถ
ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันเจ้าของรถยนต์ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินหรือการเงิน
สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย
(Hazard)
สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัยด้านกายภาพ
(Physical Hazard)
สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัยด้านศีลธรรม
(Moral Hazard)
สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัยด้านกฎหมาย
(Legal Hazard)
38
1.2 ความเสี่ยงที่เกิดจากการเก็งกาไร (Speculative Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่อาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านทรัพย์สินหรือการเงิน หรืออาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่
เกี่ยวข้องด้วย เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะได้ผลกาไรถ้าราคาขายสูงกว่าราคา
ที่ซื้อมา หรือผู้ลงทุนอาจขาดทุนเนื่องจากราคาที่ขายต่ากว่าราคาที่ซื้อมา
2. ความเสี่ยงของส่วนรวมและความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Fundamental and Particular Risk)
ความเสี่ยงของส่วนรวม (Fundamental Risk) และความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Particular Risk)
สามารถอธิบายได้ ดังนี้
2.1 ความเสี่ยงของส่วนรวม (Fundamental Risk) หมายถึง ความเสี่ยงทั่วไปที่เกิดขึ้น
โดยไม่เฉพาะเจาะจงไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นความเสี่ยงขั้นพื้นฐานที่บุคคลทุกคนมีสิทธิ
จะได้รับความเสียหายนั้น อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความเสี่ยงกลุ่ม ความเสี่ยงประเภทนี้มีสาเหตุมาจาก
ผลของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลง
ทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อการว่างงาน สินค้ามีราคาแพงขึ้น หรืออัตราการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อการ
ดาเนินงานของธุรกิจบางประเภท เป็นต้น
2.2 ความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Particular Risk) หมายถึง ความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อ
บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือเฉพาะตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น กลุ่มบุคคลหรือสังคมทั้งระบบไม่ได้รับ
ผลกระทบด้วย เช่น ความเสียหายที่เกิดจากเพลิงไหม้ การระเบิดของก๊าซหุงต้ม การได้รับบาดเจ็บจาก
การปฏิบัติงาน เป็นต้น
3. ความเสี่ยงที่ผันแปรและความเสี่ยงคงที่ (Dynamic and Static Risk)
ความเสี่ยงที่ผันแปร (Dynamic Risk) และความเสี่ยงคงที่ (Static Risk) สามารถอธิบาย
ได้ ดังนี้
3.1 ความเสี่ยงที่ผันแปร (Dynamic Risk) หมายถึง สภาวะของความเสี่ยงที่ผันแปรไปตาม
ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันมีผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง และสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น
3.1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด ระดับรายได้ของ
ประชากร ปัญหาการว่างงาน การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ปัจจัยเหล่านี้ประชาชนโดยรวม
ต่างได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
39
3.1.2 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจานวนประชากร
สุขภาพ ค่านิยมของประชาชน การลดลงของรายได้อันส่งผลต่อยอดจาหน่ายสินค้าบางประเภท รวมถึง
การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและอาชญากรรม
3.1.3 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ได้แก่ ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลและ
ผู้นาทางการเมือง หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลกระทบในภาพรวมระดับประเทศ
3.1.4 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น การเปลี่ยนแปลงจากการใช้แรงคนมาเป็น
เครื่องจักร ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที ได้แก่ ลดอัตราการจ้างแรงงาน ได้ผลผลิตจานวนมากขึ้น สินค้า
มีมาตรฐาน และต้นทุนการผลิตลดลง เป็นต้น
3.2 ความเสี่ยงคงที่ (Static Risk) หมายถึง สภาวะของความเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ
ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กล่าวคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบ
หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด อาจกล่าวได้ว่าไม่ว่าเวลาหรือสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ก็ตาม จะไม่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงลักษณะนี้เลย เช่น นายพร มีบ้านอยู่ริมแม่น้าจึงสร้างบ้านเป็น
บ้านแพลอยน้าเมื่อถึงฤดูน้าหลาก น้าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน แต่ไม่อาจส่งผลกระทบต่อบ้านของ
นายพร เป็นต้น
4. ความเสี่ยงที่สามารถเอาประกันได้และความเสี่ยงที่ไม่สามารถเอาประกันได้ (Insurable
and Non-Insurable Risk)
ความเสี่ยงที่สามารถเอาประกันได้ (Insurable Risk) และความเสี่ยงที่ไม่สามารถเอา
ประกันได้ (Non-Insurable Risk) สามารถอธิบายได้ ดังนี้
4.1 ความเสี่ยงที่สามารถเอาประกันได้ (Insurable Risk) หมายถึง ความเสี่ยงของธุรกิจหรือ
บุคคลที่สามารถนาไปประกันภัยได้ หรือเป็นภัยที่ธุรกิจจะรับประกันได้ เช่น ในทางประกันภัย ความเสี่ยง
ที่จะสามารถนาไปประกันภัยได้ต้องเป็นความเสี่ยงแท้ (Pure Risk) ซึ่งสามารถคาดคะเนได้ และเป็น
ความเสี่ยงเฉพาะบุคคลเท่านั้น
ความเสี่ยงแท้ (Pure Risk) ที่สามารถนาไปประกันภัยได้ ประกอบด้วย
4.1.1 ความเสี่ยงเกี่ยวกับทรัพย์สิน (Property Risk) ความเสี่ยงจากภัยก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของบุคคลหรือธุรกิจ ซึ่งอาจนาความเสียหายมาสู่ทรัพย์สิน เช่น ไฟไหม้
น้าท่วม เป็นต้น
4.1.2 ความเสี่ยงเกี่ยวกับบุคคล (Personal Risk) เป็นความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่ชีวิต และรายได้ของบุคคลอันมีสาเหตุจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การทุพพลภาพ
การชราภาพ การเจ็บป่วย การว่างงาน เป็นต้น
40
4.1.3 ความเสี่ยงในความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นตามกฎหมาย (Legal Liability Risk)
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากความประมาท เลินเล่อ หรือเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุอันนามาซึ่งความเสียหาย
ต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ตามกฎหมายที่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้อง
รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โดยความผิดดังกล่าวอาจเกิดจาก การใช้ยานพาหนะ การเป็นเจ้าของอาคาร
การจ้างทางาน การเป็นเจ้าของสินค้า การปฏิบัติงานผิดพลาดของผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ
4.2 ความเสี่ยงที่ไม่สามารถทาประกันได้ (Non-Insurable Risk) หมายถึง ความเสี่ยง
ที่ต้องหลีกเลี่ยง หรือการจากัดความเสี่ยงให้น้อยลง แต่ไม่สามารถถ่ายโอนความเสี่ยงทั้งหมดไปให้กับ
ผู้รับประกันภัยได้ เช่น
4.2.1 ความเสี่ยงทางด้านการตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจ
หรือบุคคล ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือรายได้ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า
ไม่ว่าจะเป็นไปตามฤดูกาลหรือสภาพเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของผู้บริโภค
4.2.2 ความเสี่ยงจากสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง (Political Risk) เป็น
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้าย การปฏิวัติรัฐประหาร เป็นต้น
4.2.3 ความเสี่ยงด้านการผลิต (Production Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และก่อให้เกิด
ความเสียหายทางด้านการเงินจากกระบวนการผลิต อันเกิดจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ การหยุดชะงัก
ของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต หรือการนัดหยุดงานของพนักงาน เป็นต้น
4.2.4 ความเสี่ยงต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศ
เช่น กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจในด้านอัตราแลกเปลี่ยน การกาหนดโควตาและอัตรา
ภาษีนาเข้า กฎ ระเบียบทางการค้า เป็นต้น
การจาแนกประเภทของความเสี่ยงภัยสามารถสรุปได้ดังภาพที่ 2.5
ความเสี่ยงภัย
(Risk)
ความเสี่ยงภัยที่
สามารถเอาประกัน
ได้/ไม่สามารถเอา
ประกันได้
ความเสี่ยงภัย
ผันแปร/คงที่
ความเสี่ยงภัย
ส่วนรวม/เฉพาะ
บุคคล
ความเสี่ยงภัย
แท้จริง/เก็งกาไร
41
ภาพที่ 2.5 ประเภทของความเสี่ยงภัย
ที่มา : ปรับปรุงจากฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 12.
ความสูญเสียอันเกิดจากความเสี่ยง
ความสูญเสีย (Loss) หมายถึง ผลของภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากการเสี่ยงภัยที่แท้จริง หรือ
การเสี่ยงภัยจากการเก็งกาไร ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่มนุษย์ไม่ว่าจะต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
ตัวอย่างเช่น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ได้แก่ การสูญเสียชีวิต
และทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการถูกโจรกรรมหรืออัคคีภัย ความสูญเสียทรัพย์สิน รายได้ หรือความสูญเสีย
ทางด้านการเงินซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาล ซึ่งเกิดจากการประสบอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ
หรือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี และความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นอันเนื่องมาจากการ
เรียกร้องความรับผิดชอบทางกฎหมายและความสูญเสียทางด้านการเงินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายที่มิได้
คาดหวัง (ธานี วรภัทร์, 2553 : 23)
42
การสูญเสียที่สาคัญและมักพบเป็นประจาเมื่อประสบภัยอันตรายนอกเหนือการคาดหมาย
ได้แก่ การสูญเสียเวลา การสูญเสียทรัพย์สิน การสูญเสียรายได้ และการสูญเสียอวัยวะสาคัญซึ่งใช้ในการ
ประกอบอาชีพ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ความสูญเสียทาง
เศรษฐกิจหรือการเงินมีสาเหตุจากปัจจัยต่อไปนี้
1. การสูญเสียชีวิตหรือรายได้ของบุคคลซึ่งเกิดจาก
1.1 การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
1.2 การทุพพลภาพ
1.3 การชราภาพ
1.4 การว่างงาน
2. การสูญเสียทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียโดยตรงหรือเป็นผลต่อเนื่องซึ่งเกิดจาก
2.1 ไฟไหม้
2.2 การถูกโจรกรรม
2.3 การระเบิด
2.4 อุบัติเหตุ
2.5 การหยุดดาเนินงานของธุรกิจ
2.6 การนัดหยุดงานของคนงาน
3. การสูญเสียทางการเงินสืบเนื่องมาจากความรับผิดต่อบุคคลอื่นตามกฎหมาย ซึ่งมีสาเหตุ
จากการกระทาของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือธุรกิจ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ความเสียหาย
ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จาก
3.1 การใช้ยานพาหนะ
3.2 การจาหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
3.3 การกระทาที่ผิดพลาดของผู้ประกอบวิชาชีพ
3.4 การได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานของคนงาน
ฐิติวดี ชัยวัฒน์ (2556) ได้กล่าวว่า เมื่อมีความเสี่ยงภัยเกิดขึ้นย่อมมีความเป็นไปได้ที่ความ
เสี่ยงนั้นจะส่งผลให้เกิดความเสียหายตามมา เช่น การเสียเวลา การเสียโอกาส การสูญเสียความทรงจา
ความเสียหายเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประสบภัย และความเสียหายดังกล่าวไม่สามารถทาประกันภัย
ได้ (Uninsurable Loss) แต่มีความเสียหายบางประเภทที่สามารถทาประกันภัยได้ (Insurable Loss)
เช่น ความเสียหายอันเนื่องมาจากการเสียชีวิต ความเสียหายอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บ ความเสียหาย
อันเนื่องมาจากสินค้าที่ส่งมาทางทะเลได้รับความเสียหาย เป็นต้น นอกจากนั้น การประเมินมูลค่าความ
43
เสียหายยังต้องพิจารณาความเสียหายทั้งสองรูปแบบ คือ ความเสียหายทางตรง (Direct Loss) และ
ความเสียหายทางอ้อม (Indirect Loss) มูลค่าความเสียหายทางตรง คือ ปริมาณความเสียหายที่เกิด
ขึ้นกับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายโดยตรง
ตัวอย่าง ไฟไหม้อาคารซึ่งมีมูลค่าความเสียหายจานวนหนึ่ง แต่ภายนอกอาคารที่ถูกไฟไหม้
นับเป็นความเสียหายทางตรงแล้วยังมีความเสียหายอื่นตามมา (Consequential Loss) อีกด้วย เช่น
พนักงานได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาตัว มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของพนักงาน ซึ่งเป็น
มูลค่าความเสียหายทางอ้อม ในทางปฏิบัติมูลค่าความเสียหายทางอ้อมนี้จะต้องนามาพิจารณาคานวณ
รวมกับมูลค่าความเสียหายทางตรงด้วย จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว มูลค่าความเสียหายรวมจะเท่ากับ
มูลค่าความเสียหายของอาคารบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจาก
เหตุไฟไหม้ดังกล่าว
วิธีการจัดการความเสี่ยง (Methods of Risk Management)
สาหรับวิธีการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ได้รับผลกระทบจากภัยอันตรายที่บุคคลหรือธุรกิจไม่ได้
คาดคิดมาก่อน และเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด สามารถแบ่งได้เป็น 4 วิธีการ ดังต่อไปนี้
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance)
เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการจัดการความเสี่ยง กล่าวคือ บุคคลหรือธุรกิจเลือกที่จะไม่รับ
ความเสี่ยงไว้เลย ทั้งนี้การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์
ที่จะได้รับแล้วพบว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย หรือทรัพย์สินที่ต้องสูญเสียไป จึงหลีกเลี่ยง
ที่จะเผชิญกับความเสี่ยงนั้นโดยสิ้นเชิง
2. การควบคุมความเสี่ยง (Risk Control)
โดยปกติเมื่อบุคคลหรือธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มักใช้วิธีการ
ควบคุมความเสี่ยง หรือควบคุมความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นหากเกิดภัยอันตราย วิธีการควบคุมความเสี่ยง
มี 2 วิธี ดังนี้
2.1 การป้องกันการเกิดความสูญเสีย เป็นวิธีพยายามลดความถี่ของการเกิดความสูญเสีย
เช่น การหามาตรการหรือวิธีการ ในการป้องกันไม่ให้ความสูญเสียเกิดขึ้น เช่น การติดตั้งเครื่องตัดระบบ
ไฟฟ้าในตัวอาคารเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย การติดสัญญาณกันขโมยในรถยนต์
เพื่อป้องกันการโจรกรรม เป็นต้น
44
2.2 การควบคุมขนาดของความสูญเสีย เป็นวิธีการพยายามลดระดับความรุนแรงของ
ความสูญเสีย เช่น การดีดบ้านให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายของตัวบ้านจากอุทกภัย การติดตั้งเครื่อง
ฉีดน้า เพื่อควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจากัดเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคาร เป็นต้น
3. การรับความเสี่ยงไว้เอง (Risk Retention)
เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงประเภทหนึ่ง ซึ่งบุคคลหรือธุรกิจต้องอาศัยการคาดการณ์
ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภัยขึ้นและพยายามจากัดความเสี่ยงนั้นไม่ให้เกิดขึ้นหรือหากเกิดขึ้นแล้ว
ต้องได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงนั้นน้อยที่สุด เนื่องจากหากเกิดภัยขึ้นบุคคลหรือธุรกิจนั้นจะต้อง
รับผิดชอบทรัพย์สิน ร่างกาย หรือชีวิตที่ได้รับความเสียหาย หรือความสูญเสียจากภัยที่เกิดขึ้นนั้นเอง
4. การถ่ายโอนความเสี่ยง (Risk Transference)
ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่สามารถรับไว้เองได้ ควรได้รับการถ่ายโอนให้ผู้อื่น
ซึ่งหมายถึง ผู้รับประกันภัย อย่างไรก็ตามผู้รับประกันภัยไม่ได้รับโอนความเสี่ยงภัยทุกประเภท
ความเสี่ยงภัยที่แท้จริงเท่านั้นที่สามารถจะถ่ายโอนไปให้บริษัทประกันภัยได้ นอกจากนี้บริษัทประกันภัย
สามารถปฏิเสธการถ่ายโอนความเสี่ยงนั้น หากพบว่าบุคคลหรือทรัพย์สินนั้นจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
สูงเกินกว่าความเสี่ยงโดยเฉลี่ยมากเกินไป
นอกจากนี้ Scott E. Harrington และ Gregory R. Niehaus (2003 : 9–12) ยังได้เสนอ
วิธีการจัดการความเสี่ยงภัยที่สาคัญไว้ดังนี้
1. การควบคุมการสูญเสีย (Loss Control หรือRisk Control) เป็นการลดค่าใช้จ่ายและความ
สูญเสียที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วยวิธีการลดจานวนความถี่ของการเกิดความสูญเสียและความรุนแรงของ
ความสูญเสียที่เกิดขึ้น การดาเนินการในส่วนนี้หากเป็นการกระทาก่อนที่จะเกิดความสูญเสียจะนิยม
เรียกว่า การป้องกันการสูญเสีย หรือ การป้องกันการเกิดวินาศภัย (Property Prevention) ซึ่งอาจใช้
วิธีการในการลดระดับของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงภัย (Reducing The Level of Risky Activity)
และความระมัดระวัง (Increasing Precautions) เพื่อมิให้เกิดความสูญเสียขึ้น โดยอาจใช้วิธีการ
หลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (Risk Avoidance) ในการจากัดระดับของกิจกรรมที่มีความเสี่ยงภัยให้หมดไป
อย่างสมบูรณ์ด้วยการลดระดับของกิจกรรมที่มีความเสี่ยงภัยให้ลดลงจนถึงระดับศูนย์ กล่าวคือ ไม่ทา
กิจกรรมนั้นเลยก็ได้
2. การบริหารเงินเพื่อใช้เมื่อเกิดความสูญเสีย (Loss Financing หรือRisk Financing) เป็นวิธีการ
ที่ใช้เพื่อให้ได้เงินทุนมาจ่ายหรือหักลบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งมี 4 วิธี และมักจะใช้ร่วมกัน ได้แก่
45
2.1 การเก็บความเสี่ยงภัยไว้เอง (Retention) โดยการใช้จ่ายกรณีเกิดความสูญเสียขึ้นเต็ม
จานวนโดยเงินของบุคคลผู้นั้นเองหรือจากเงินกู้ยืมจากแหล่งอื่นมาใช้จ่ายเมื่อเกิดความสูญเสียขึ้น กรณีที่
มีการจัดทาแผนดาเนินการไว้อย่างเป็นทางการ การจัดหาเงินทุนมาใช้จ่ายเมื่อเกิดความสูญเสียของธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นระดับกลางหรือใหญ่อาจเรียกได้ว่าเป็นการประกันตัวเอง (Self-Insurance)
2.2 การทาประกันภัย (Insurance) เป็นการตกลงทาสัญญาร่วมกันระหว่างผู้เอา
ประกันภัยกับผู้รับประกันภัยโดยที่อีกฝ่ายตกลงจะจ่ายเงินจานวนหนึ่งตามกาหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
กับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดภัยขึ้นจะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหากเกิด
ความสูญเสียขึ้น
2.3 การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัยจากความผันแปรที่ไม่แน่นอน (Hedging)
ซึ่งอาจเกิดจากการผันผวนของค่าเงิน อัตราแลกเปลี่ยน หรือการที่สินค้าขึ้นราคา เช่น อาจทาสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้า (Forward Contract) เพื่อให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้ในราคาที่คงที่ไม่มีการเพิ่มราคาขาย
ในระหว่างระยะเวลาที่กาหนดไว้ในสัญญา
2.4 การโอนความเสี่ยงภัยตามสัญญาตามอื่น (Other Contractual Risk Transfer) ซึ่ง
ไม่ใช่สัญญาประกันภัยหรือการทาประกันภัย แต่เป็นการโอนความเสี่ยงภัยไปยังบุคคลอื่นที่เป็นคู่สัญญา
โดยการกาหนดไว้ในสัญญา เช่น การกาหนดให้มีข้อสัญญาเพื่อป้องกันตนเองในสัญญา ที่เกี่ยวข้องหรือ
เพื่อให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแทน
3. การลดความเสี่ยงภัยภายในองค์การ (Internal risk reduction) อาจทาได้ 2 รูปแบบ
ดังนี้
3.1 การเปลี่ยนแปลงให้เกิดความหลากหลาย (Diversification) เช่น การเก็บสินค้าคงคลัง
ไว้ในที่เดียวกันเมื่อเกิดภัยขึ้นความเสียหายขึ้นย่อมได้รับผลกระทบจากความเสียหายหรือความสูญเสีย
มากกว่าการแยกเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้าหลายแห่ง
3.2 การลงทุนในข้อมูล (Investment In Information) เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่ง
ข้อมูลที่จาเป็นสาหรับประกอบการตัดสินใจในการทาธุรกิจหรือการดาเนินชีวิตของบุคคลเพื่อช่วยในการ
ประเมินหรือคาดการณ์ความเสี่ยงภัยได้อย่างแม่นยาขึ้น
วิธีการสาคัญในการจัดการความเสี่ยงภัย
การควบคุมการสูญเสีย การจัดหาเงินเพื่อความสูญเสีย การลดความเสี่ยงภัย
ภายในองค์การ
ลดระดับของกิจกรรมที่
มีความเสี่ยง
การเก็บความเสี่ยงภัยและ
ประกันภัยตัวเอง
การเปลี่ยนแปลงให้
เกิดความหลากหลาย
46
ภาพที่ 2.6 วิธีการจัดการความเสี่ยงภัย
ที่มา : ประมวล จันทร์ชีวะ, 2551.
จากความหมายและวิธีการของการจัดการความเสี่ยงภัย (Risk Management) ดังกล่าวข้างต้น
การป้องกันการเกิดวินาศภัย (Property Prevention) และการประกันภัย (Insurance) จึงเป็นส่วนหนึ่ง
ของกระบวนการจัดการความเสี่ยงภัยโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
จากภัย (Peril) หรืออุบัติเหตุ (Accident) อันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ถึงแม้ว่าสัญญาประกันภัยเป็น
สัญญาเพื่อการชดใช้ (Contract of Indemnity) ซึ่งสามารถช่วยเยียวยาและบรรเทาความเสียหายให้แก่
ผู้เอาประกันภัย แต่มีข้อที่พึงระลึกว่าการชดใช้ (Indemnity) เป็นเพียงพื้นฐานของสัญญาประกันภัย และ
อาจไม่ใช่การชดใช้ที่สมบูรณ์ เนื่องจากบางกรณีผู้รับประกันภัยมีสิทธิในการปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนหรือการชดใช้ให้ไม่เต็มมูลค่าของความเสียหาย ที่เกิดขึ้น เช่นในกรณีดังต่อไปนี้
1. กรณีกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแบบระบุภัย (Named Perils) เป็นกรมธรรม์ที่
ให้ความคุ้มครอง วัตถุที่เอาประกันภัยเฉพาะจากภัยที่ได้ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย หากภัยที่ก่อให้
เกิดความเสียหายไม่ใช่ภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยไม่สามารถให้ความ
คุ้มครองได้
2. สาเหตุของความเสียหายหรือภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นสาเหตุหรือเป็นภัยที่กรมธรรม์
ประกันภัยกาหนดเป็นข้อยกเว้นความคุ้มครอง
47
3. กรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยกาหนดคารับรองเอาไว้ (Warranty) ได้แก่ การรับรองว่าสินค้า
สามารถบรรทุกได้กี่ชั้น เพราะถ้าเกินกว่านี้อาจทาให้สินค้าเกิดชารุด เสียหายได้ ซึ่งหากผู้เอาประกันภัย
ทาผิดคารับรองกรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4. กรมธรรม์ประกันภัยได้กาหนดความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดเอง
(Deductible) เช่น ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ภายในวงเงินไม่เกิน
300,000 บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ในทางประกันภัยถือว่าความเสียหายส่วนแรกเป็นส่วนได้เสียของ
ผู้เอาประกันภัยเอง เพราะกรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ชดใช้ให้สาหรับความเสียหาย ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้อง
ชาระค่าดาเนินการให้แก่ผู้รับประกันภัยตามที่ตกลงไว้ในสัญญา
5. มีการทาประกันภัยไว้ต่ากว่ามูลค่า (Insurance Under Value) ทาให้ผู้เอาประกันภัยต้อง
ร่วมเฉลี่ยความเสียหายกับผู้รับประกันภัยด้วยและจะได้รับการชดใช้ไม่เต็มจานวนตามความเสียหายที่
เกิดขึ้น ดังนั้น การมีมาตรการป้องกันที่ดีและมีประสิทธิภาพสามารถลดความถี่ในการเกิดความสูญเสีย
หรือสามารถลดความรุนแรงของความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ โดยจะช่วยลดความสูญเสียของผู้ประกอบการ
ในอุตสาหกรรมขนส่งก่อนที่จะต้องอาศัยการเยียวยาจากการประกันภัยซึ่งยังอาจมีความเสี่ยงภัยจากการ
ที่ทาประกันภัยไว้ไม่เหมาะสมกับความเสี่ยงภัยหรือทาประกันภัยไว้ในจานวนเงินเอาประกันภัยที่ไม่เพียงพอ
กับความสูญเสีย
การป้องกันการเกิดวินาศภัย (Property Prevention) เป็นมาตรการหนึ่งของการควบคุมความ
เสี่ยงภัย (Risk Control) หรือการควบคุมการสูญเสีย (Loss Control) ที่สามารถนามาใช้ในการจัดการ
ความเสี่ยงภัย เพื่อป้องกันมิให้เกิดวินาศภัยขึ้น อันเป็นขั้นตอนสาคัญก่อนที่จะเกิดภัยและต้องอาศัยการ
เยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากสัญญาประกันภัย การป้องกันวินาศภัยในมุมมองของการ
ประกันภัยเป็นมาตรการที่กระทาโดยผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นการดาเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง
การให้คาแนะนา การให้ข้อมูลข่าวสารหรือแม้กระทั่งการกาหนดไว้เป็นเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยเพื่อ
ป้องกันการเกิดภัย การป้องกันการเกิดวินาศภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือ
ความสูญเสียขึ้น โดยพยายามลดโอกาส ความน่าจะเป็นหรือจานวนครั้งที่อาจเกิดความเสียหาย หรือ
ความสูญเสียให้น้อยลงก่อนที่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง ตัวอย่างมาตรการป้องกันการเกิดวินาศภัย ได้แก่
การป้องกันอัคคีภัยหรือการระเบิดจากเชื้อเพลิง ทาได้โดยการติดป้ายรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณพื้นที่
เสี่ยงภัย ปิดป้ายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือบริเวณสถานีบริการน้ามัน หรือการหมั่นตรวจตราบารุงรักษา
เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งจะนาไปสู่การเกิดอัคคีภัย
การป้องกันวินาศภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ สามารถทาได้โดยการใช้มาตรการตรวจสภาพรถยนต์ให้อยู่
48
ในสภาพปลอดภัยพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น การนารถยนต์เข้าตรวจเช็คตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ใน
คู่มือรถยนต์ การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
ขั้นตอนการจัดการความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยงมีขั้นตอนการดาเนินการดังต่อไปนี้
1. การระบุความเสี่ยง
เป็นขั้นตอนสาคัญขั้นตอนหนึ่ง หากการระบุความเสี่ยงไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด
ถี่ถ้วนแล้ว ความเสี่ยงซึ่งไม่ปรากฎในขั้นตอนนี้จะกลายเป็นความเสี่ยงที่เหลืออยู่โดยไม่ได้รับการวิเคราะห์
วางแผนบริหารจัดการ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อาจนามาซึ่งความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต
ความสูญเสียบางประเภทสามารถหาข้อมูลความถี่และความรุนแรงได้จากแหล่งข้อมูลภายใน เช่น สถิติ
การเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน แต่บางกรณีข้อมูลความเสี่ยงจากแหล่งภายนอกก็ถือเป็นข้อมูลที่ควรให้
ความสาคัญในการจัดเก็บและวิเคราะห์ได้ เช่น ข้อมูลความสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้ (จารุพร ไวยนันท์, 2552)
1.1 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน (Property Losses) ความเสียหายที่อาจเกิดแก่ทรัพย์สิน
ของบุคคลหรือธุรกิจ ได้แก่ ความเสียหายต่อเงินสด หลักทรัพย์ ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง อาคาร สานักงาน
เครื่องมือ เครื่องจักร เรือ รถยนต์ หรือพาหนะประเภทอื่น ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ได้แก่
การเกิดอัคคีภัย การถูกโจรกรรม อุบัติเหตุ ความไม่ซื่อสัตย์ของพนักงาน การล้มละลายของลูกหนี้
การระเบิด ฯลฯ ความเสียหายดังกล่าว นอกจากจะมีผลโดยตรงที่ทาให้ทรัพย์สินเสียหายแล้วอาจมี
ผลเสียหายต่อเนื่องต่อรายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจอีก เช่น การที่เกิดไฟไหม้เครื่องจักรซึ่งนอกจาก
เครื่องจักรจะเสียหายแล้ว โรงงานยังต้องหยุดการดาเนินงานเพื่อทาการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลง
เครื่องจักรดังกล่าวด้วย
1.2 ความเสียหายต่อตัวบุคคล (Personal Losses) ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและส่งผล
กระทบต่อบุคคลหรือธุรกิจอันเนื่องจากการเสียชีวิต หรือกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย
การเกิดอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติงานของพนักงาน หรือเจ้าของกิจการ ซึ่งนอกจากความเสียหายที่
เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานภายในองค์การแล้ว ยังมีโอกาสก่อให้เกิดการว่างงานด้วย
1.3 ความเสียหายโดยความรับผิดตามกฎหมาย (Liability Losses) เป็นความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นเมื่อธุรกิจหรือบุคคลนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของผู้อื่น เช่น
49
ความรับผิดต่อลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน (Working Condition)
ซึ่งกฎหมายได้ระบุให้เป็นความรับผิดของนายจ้าง เป็นต้น
ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของบุคคลความเสียหาย
ต่อยานพาหนะที่ทาการขนส่ง ในขณะที่ทาการขนส่งอาจเกิดอุบัติเหตุ การโจรกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิด
ความเสียหายต่อวัตถุดิบ สินค้า หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโรงงาน หรือคลังสินค้า เช่น การเกิด
อุทกภัย อัคคีภัย ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิตสินค้า เป็นต้น
ความเสียหายต่อเนื่อง เป็นความเสียหายอันเกิดจากภัยลักษณะหนึ่งและส่งผลกระทบต่อ
ทรัพย์สินของบุคคลหรือธุรกิจ ส่งผลกระทบให้ธุรกิจต้องหยุดการดาเนินงานชั่วคราวอันเนื่องมาจากความ
เสียหายโดยตรง เช่น เมื่อเกิดอุทกภัย ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อตัวอาคาร เครื่องจักร และสินค้า
โดยตรงแล้ว ธุรกิจจาเป็นต้องหยุดดาเนินการเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิรูปหรือซ่อมแซมอาคารและ
เครื่องจักรเพื่อใช้งานใหม่ เป็นต้น
ความรับผิดตามกฎหมาย เป็นการระบุความรับผิดชอบของบุคคลหรือธุรกิจ กรณีละเมิด
หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของพนักงาน ธุรกิจอาจต้องรับผิดชอบต่อพนักงาน
ในกรณีที่พนักงานได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานให้กับธุรกิจ หรือรับผิดชอบในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับ
ความเสียหายจากสินค้าที่ธุรกิจผลิตออกจาหน่าย หรือแสดงความรับผิดชอบในกรณีที่ชาวบ้าน หรือ
ชุมชนแวดล้อมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทาของธุรกิจ เช่น การนาของเสียที่ส่งผล
กระทบต่อสภาพแวดล้อมไปทิ้งในแหล่งน้า หรือบริเวณแหล่งชุมชน เป็นต้น
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวบุคคล การเสียชีวิตหรือการเป็นผู้ไร้ความสามารถของ
บุคคลที่มีความสาคัญต่อธุรกิจประเภทนั้น ๆ หากธุรกิจสูญเสียบุคคลคนใดคนหนึ่งอาจส่งผลให้ธุรกิจ
ได้รับความเสียหาย
2. การประเมินความเสี่ยง
วิธีการประเมินความเสี่ยงสามารถทาได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยง 2 ประการ
ได้แก่ โอกาส และผลกระทบ
2.1 โอกาส (Probability) คือ จานวนครั้งของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยพิจารณาได้จาก
ความถี่ของการเกิดภัยอันนามาซึ่งความสูญเสีย เป็นมาตรวัดจานวนครั้งที่จะเกิดความสูญเสียสาหรับ
ความเสี่ยงแต่ละประเภท อาจจาแนกเป็นระดับต่า ปานกลาง สูง หรือร้อยละของโอกาสที่อาจเกิดขึ้นได้
2.2 ผลกระทบ (Impact) หรือความรุนแรงที่เกิดจากภัย หากความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้น
ความเสียหายมีความรุนแรงในระดับใด น้อย ปานกลาง หรือเสียหายมาก การประเมินความรุนแรงของ
ความสูญเสียเป็นการคาดการณ์มูลค่าของความสูญเสียเมื่อเกิดภัยขึ้น การที่จะระบุว่าความสูญเสียมี
50
ความรุนแรงมากหรือน้อยต้องอาศัยปัจจัยการพิจารณาหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ขนาดของความเสียหาย
มูลค่าของความเสียหาย เป็นต้น
การประมาณความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นธุรกิจต้องจัดระดับความเสี่ยงว่ากาลังเผชิญอยู่กับ
ความเสี่ยงในระดับใด เช่น มีความเสี่ยงระดับน้อย ปานกลาง มาก หรืออาจเป็นความเสี่ยงในระดับ
รุนแรง หรือวิกฤต การจัดระดับความเสี่ยงจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงสามารถเลือกใช้
วิธีการบริหารความเสี่ยงว่าจะใช้รูปแบบใดจึงจะเหมาะสม
3. การจัดการความเสี่ยง
ผลจากการระบุความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงทาให้ทราบถึงความสาคัญที่ไม่เท่ากัน
ของความเสี่ยงในแต่ละเรื่องที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อระบุความถี่และความรุนแรงของความเสี่ยงแล้ว
จะสามารถจัดลาดับของความเสี่ยงที่ควรได้รับการจัดการก่อนหลังตามความเหมาะสม
การเลือกจัดการความเสี่ยงสามารถทาได้หลายวิธี ดังนี้
3.1 การหลีกเลี่ยง (Avoidance) เป็นการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการไม่
เผชิญหน้ากับภัยหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น คือ การที่ธุรกิจหรือบุคคลได้ตัดสินใจ ไม่กระทากิจกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายที่มีผลต่อทรัพย์สินหรือชีวิตของตนเอง เช่น
กรณีธุรกิจบางประเภทเมื่อคาดการณ์ว่ามีโอกาสเกิดหนี้สูญในการจาหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ธุรกิจ
สามารถหลีกเลี่ยงการไม่จาหน่ายสินค้าเงินเชื่อให้แก่ลูกค้า หรือการตัดสินใจกระทาการบางเรื่องซึ่งอาจ
ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งยอมสูญเสียเงินลงทุน
จานวนหนึ่งเพื่อการบาบัดของเสียอันเกิดจากสารเคมีซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและ
ชุมชนใกล้เคียง เป็นต้น
3.2 การป้องกันหรือการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (Loss Prevention) คือ การที่บุคคล
และธุรกิจได้พยายามใช้มาตรการในการลดหรือขจัดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเอง การป้องกัน
สามารถกระทาได้หลายวิธี เช่น
3.2.1 การป้องกันการเกิดอัคคีภัย บุคคลหรือธุรกิจสามารถดาเนินการได้หลายวิธี เช่น
การใช้วัสดุทนไฟในการก่อสร้าง เช่น วัสดุที่ทาด้วยอิฐ ปูน ซึ่งโอกาสที่จะเกิดเพลิงไหม้มีน้อยกว่า
อาคารที่ทาด้วยไม้ หรือการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติทุกชั้นของอาคาร หรือมีการซ้อมรับมือกับ
อัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นในองค์การ
3.2.2 การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ขับขี่ยานพาหนะควรปฏิบัติตามกฎ
จราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต และ
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง

Contenu connexe

Tendances

วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์นันทนา วงศ์สมิตกุล
 
มลพิษทางดิน
มลพิษทางดินมลพิษทางดิน
มลพิษทางดินNittaya Jandang
 
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์พัน พัน
 
คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5T'Rak Daip
 
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสปายด์ 'ดื้อ
 
การบริหารลูกเสือ
การบริหารลูกเสือการบริหารลูกเสือ
การบริหารลูกเสือEnglish for Thai students
 
ใบพืชNet
ใบพืชNetใบพืชNet
ใบพืชNetAnana Anana
 
ประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทยประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทยHansa Srikrachang
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แผนที่ดาว
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   3 เรื่อง แผนที่ดาวแผนการจัดการเรียนรู้ที่   3 เรื่อง แผนที่ดาว
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แผนที่ดาวKook Su-Ja
 
แบบทดสอบสุขศึกษา
แบบทดสอบสุขศึกษาแบบทดสอบสุขศึกษา
แบบทดสอบสุขศึกษาJaruwan Boonchareon
 
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3sompriaw aums
 
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนkrupornpana55
 
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)Kobwit Piriyawat
 
การถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียม
การถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียมการถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียม
การถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียมsailom
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2Yottapum
 
ฝนกรด
ฝนกรดฝนกรด
ฝนกรดdnavaroj
 

Tendances (20)

การกำหนดคำสำคัญของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ : Keyword for digital document
การกำหนดคำสำคัญของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ : Keyword for digital document การกำหนดคำสำคัญของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ : Keyword for digital document
การกำหนดคำสำคัญของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ : Keyword for digital document
 
คำซ้อน 1
คำซ้อน 1คำซ้อน 1
คำซ้อน 1
 
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระเศรษฐศาสตร์
 
มลพิษทางดิน
มลพิษทางดินมลพิษทางดิน
มลพิษทางดิน
 
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์โครงงานโทษแอลกอฮอล์
โครงงานโทษแอลกอฮอล์
 
คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5คณิตศาสตร์ป.5
คณิตศาสตร์ป.5
 
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
 
การบริหารลูกเสือ
การบริหารลูกเสือการบริหารลูกเสือ
การบริหารลูกเสือ
 
ใบพืชNet
ใบพืชNetใบพืชNet
ใบพืชNet
 
ประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทยประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทย
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แผนที่ดาว
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   3 เรื่อง แผนที่ดาวแผนการจัดการเรียนรู้ที่   3 เรื่อง แผนที่ดาว
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แผนที่ดาว
 
แบบทดสอบสุขศึกษา
แบบทดสอบสุขศึกษาแบบทดสอบสุขศึกษา
แบบทดสอบสุขศึกษา
 
Sample doc
Sample docSample doc
Sample doc
 
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
โครงสร้างหลักสูตร อาเซียนศึกษา ป. 1 3
 
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
 
ของเล่นทำให้เกิดเสียง
ของเล่นทำให้เกิดเสียงของเล่นทำให้เกิดเสียง
ของเล่นทำให้เกิดเสียง
 
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Pisa)
 
การถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียม
การถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียมการถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียม
การถลุงแร่แทนทาลัมไนโอเบียม
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบห่อหุ้มร่ากาย 2
 
ฝนกรด
ฝนกรดฝนกรด
ฝนกรด
 

Plus de Rungnapa Rungnapa

Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดBuilding construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานบทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัยบทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัยRungnapa Rungnapa
 
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น Rungnapa Rungnapa
 
บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2Rungnapa Rungnapa
 
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลบทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีบทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปบทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลRungnapa Rungnapa
 

Plus de Rungnapa Rungnapa (20)

Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคา
 
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดBuilding construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคา
 
Ch10
Ch10Ch10
Ch10
 
Ch9
Ch9Ch9
Ch9
 
Ch8
Ch8Ch8
Ch8
 
Ch7
Ch7Ch7
Ch7
 
Ch5
Ch5Ch5
Ch5
 
Ch6 new
Ch6 newCh6 new
Ch6 new
 
Ch1 3
Ch1 3Ch1 3
Ch1 3
 
Ch1 3
Ch1 3Ch1 3
Ch1 3
 
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานบทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
 
บทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัยบทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัย
 
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
 
บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2
 
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลบทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
 
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีบทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibility
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปบทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
 

บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง

  • 1. 31 บทที่ 2 ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง ความเสี่ยงภัยเป็นสัจธรรมที่มนุษย์ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในแต่ละวันทุกคนมีโอกาส จะเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ บางครั้งอาจทาให้ต้องสูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง หรือแม้แต่ ชีวิต ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับความเสี่ยงให้มากที่สุด วิธีการที่ทาได้สะดวกและดีที่สุด ก็คือ การอยู่ให้ห่างไกลจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนั้น เช่น หลีกเลี่ยงการเป็นมะเร็งปอดก็ไม่สูบบุหรี่หรือ อยู่ห่างจากผู้สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์งดดื่มของมึนเมาหากต้องขับรถ หรือ เมาไม่ขับ เป็นต้น โดยปกติแล้วความเสี่ยงภัยไม่อาจคาดการณ์และเตรียมการรับมือได้ล่วงหน้า เช่น กรณีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเจ็บป่วย การทุพพลภาพอย่างถาวร การใช้เงินจานวนหนึ่งสาหรับ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือรถยนต์อันเกิดจากภัยที่ไม่คาดคิด เป็นต้น มีกลุ่มบุคคลได้คิดหาวิธีในการจากัด หรือควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ โดยไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดารง ชีวิตประจาวันของบุคคล และให้ธุรกิจบางประเภทสามารถดาเนินต่อไปได้ และเป็นที่มาของการเกิด ธุรกิจประกันภัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อโอนความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นไปยังบุคคลที่สาม คือ ผู้รับ ประกันภัย การถ่ายโอนความเสี่ยงภัยเป็นการร่วมมือร่วมใจระหว่างบุคคลที่ตระหนักถึงความเสี่ยงที่ อาจจะเกิดขึ้นกับตน ครอบครัว และทรัพย์สินเป็นอย่างดีจึงได้สละกาลังทรัพย์เข้ากองทุนเพื่อกระจาย ความเสี่ยง เมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งได้รับความเดือดร้อน หรือความสูญเสียไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สิน ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ดูแล ชดใช้ค่าสูญเสียที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ บุคคลเหล่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการลดความสูญเสียซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มคนจานวนหนึ่งในปัจจุบันนี้ ความหมายของความเสี่ยงภัย มีนักวิชาการให้คาจากัดความของคาว่าความเสี่ยงภัย (Risk) ไว้หลายท่าน ดังนี้ เมธา สุพงษ์ (2554 : 2) ได้ให้ความหมายของความเสี่ยงภัย ไว้ดังนี้ ความเสี่ยงภัย คือ โอกาส ที่จะเกิดความเสียหายหรือการสูญเสีย (The Chance of Loss) ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหาย (The Possibility of Loss) ความไม่แน่นอน (The Uncertainty) ความผันแปรของผลลัพธ์ที่แท้จริงจาก ผลลัพธ์ที่คาดไว้ (The Dispersion of Actual Results from Expected Results) และความน่าจะ เป็นไปได้ของผลที่ออกมาแตกต่างไปจากสิ่งที่คาดไว้ (The Possibility of any Outcome Deferent from the one Expected)
  • 2. 32 จิรประภา อัครบวร และ ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช (2552 : 37) ได้ให้ความหมายของความ เสี่ยงภัยว่า หมายถึง เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต และอาจส่งผลในด้านลบที่ไม่ต้องการ ดังนั้นการตัดสินใจกระทาการใด โดยไม่มีข้อมูล หรือไม่มีการวางแผนใด จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการ เสี่ยงในสภาวะของความเสี่ยง ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของความเสี่ยงไว้ว่า หมายถึง โอกาสที่บางสิ่ง บางอย่างอาจเกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ของสิ่งที่เป็นอันตรายหรือคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจ หรือแผนการต่าง ๆ ทั้งนี้ความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องมาจากความไม่แน่นอน ผลลัพธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น (ถ้าได้ เกิดขึ้นจริง) ซึ่งในแต่ละหน่วยงานองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนนั้น อาจมีมุมมองในเรื่องความเสี่ยง ต่างกันหรือตรงข้ามกันได้ เช่น บุคลากรในแผนกรักษาความปลอดภัยอาจมองเรื่องความเสี่ยงเป็นเรื่อง เลวร้ายที่ต้องได้รับการจัดการโดยด่วน ในขณะที่แผนกการเงินอาจมีมุมมองที่แตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม บุคลากรในองค์การต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ต้องไม่สร้างความเสียหายเกินกว่าที่องค์การของตนเองจะรับไหว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหาโอกาสที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่หน่วยงานหรือ องค์การของตน ธานี วรภัทร์ (2548 : 22) ได้ให้ความหมายของความเสี่ยงภัย ไว้ว่าหมายถึง โอกาสที่จะ ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ดีเมื่อเกิดภัยย่อม ได้รับความเสียหายน้อย หากทรัพย์สินที่มีสภาพเก่า ย่อมได้รับความเสียหายมาก เป็นต้น Aleka Mandaraka-Sheppard (2007 : 10) ให้ความหมาย ไว้ว่า การจัดการความเสี่ยงภัย (risk management) หมายถึง การที่เข้าไปใช้ความระมัดระวังป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่าง เป็นระบบในทุกระดับของธุรกิจ รวมทั้งการจัดการความเสี่ยงภัยในทางการค้าและทางการเงินและการทา ประกันภัยเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองด้วย Mark S. Dorfman (2004 : 8) ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการความเสี่ยงภัย ว่าเป็นการจัดการ และพัฒนาแผนโดยใช้เหตุผลเพื่อจัดการกับความสูญเสียที่อาจเป็นไปได้ และได้อธิบายต่อไปด้วยว่า การ จัดการความเสี่ยงภัยเป็นกระบวนการในการใช้เหตุผลที่องค์กรทางธุรกิจและบุคคล ต่าง ๆ ใช้ในการ จัดการความเสี่ยงภัยต่อการสูญเสียของบุคคลเหล่านั้นและเป็นกลยุทธ์ของการวางแผนก่อนที่จะเกิดการ สูญเสียเพื่อความสามารถในการที่จะจัดการกับสถานการณ์หลังเกิดความสูญเสียขึ้น George E. Rejda ,Scott E. Harrington and Gregory R. Niehaus (2004 : 11) ได้ระบุไว้ ว่า ความเสี่ยงภัย หมายถึง ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และมีความเกี่ยวข้อง กับความเสียหาย (Loss) Emmett J. Vaughan and Therese M. Vaughan (2003 : 23) ได้กล่าวว่า ความเสี่ยงภัย หมายถึง ความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ที่ออกมาแตกต่างไปจากสิ่งที่คาดหวังไว้
  • 3. 33 จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ความเสี่ยงภัย หมายถึง โอกาสที่จะ ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งระดับของความเสียหายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพของ ทรัพย์สินหากทรัพย์สินอยู่ในลักษณะที่ดีเมื่อเกิดภัยก็ได้รับความเสียหายน้อย หากเป็นทรัพย์สินเก่า สภาพไม่ดีก็อาจได้รับความเสียหายมาก หรือสภาพแวดล้อมภายนอกก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความ เสี่ยงภัย เช่น ความมืด ฝนตกหนัก เป็นต้น องค์ประกอบของความเสี่ยง นิยามของคาว่าความเสี่ยงประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบแรก คือ โอกาส (Opportunity) หรือความเป็นไปได้ (Possibility Likelihood) และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือ ผลกระทบ (Impact) ดังแสดงในภาพที่ 2.1 (Ayyub, 2003) ภาพที่ 2.1 องค์ประกอบของความเสี่ยง ที่มา : จิรประภา อัครบวร และภูมิพร ธรรมสถิตเดช, 2552. จากภาพสามารถอธิบายเป็นตัวอย่างได้ เช่น การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ ตามกฎหมาย อนุญาตให้ผู้ขับขี่รถยนต์รักษาระดับของการขับขี่รถยนต์อยู่ที่ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งผู้ขับขี่มีโอกาสในการประสบอุบัติเหตุ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น อาจเกิดความเสียหายหรือความ สูญเสียเพียงเล็กน้อย เปรียบเทียบกับกรณีที่ผู้ขับขี่เพิ่มระดับความเร็วเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุย่อมมีมากขึ้น รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นถึงขั้นสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นผู้รับประกันภัยในปัจจุบันจึงไม่คุ้มครองผู้เอาประกันที่นารถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ในการแข่งขัน การรับประกันภัยประเภทต่าง ๆ จึงได้มีการนาองค์ประกอบข้างต้นมาประกอบการคานวณอัตราเบี้ย ประกันร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของการประกันอัคคีภัย หากอาคารหรือที่พักอาศัยดังกล่าวอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่แออัดหรือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ได้แก่ อยู่บริเวณแหล่งชุมชนแออัด หรือสลัม ย่อมต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ หรืออาคารที่พักซึ่งสร้างจากวัสดุที่สามารถเป็น เชื้อเพลิงได้ดีหรือตั้งอยู่ใกล้แหล่งที่มีโอกาสเกิดการปะทุจากเชื้อเพลิง ค่าเบี้ยประกันก็จะมีอัตราสูงกว่าปกติ โอกาส (Probability) ความเสี่ยง (Risk) ผลกระทบ (Impact)
  • 4. 34 และเมื่อผู้เอาประกันภัยกลุ่มนี้ เอาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัย จะส่งผลให้บุคคลกลุ่มนี้ต้องชาระเบี้ย ประกันภัยสูงกว่าบุคคลทั่วไป เมื่อนาความเสี่ยงมาอยู่ภายใต้บริบทของการบริหาร กิจกรรมหลักในการบริหารความเสี่ยง จาเป็นต้องประกอบไปด้วย (Blanchard, 2004 : 47) 1. การประเมินระดับความเสี่ยง (Risk Assessment) 2. การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของความเสี่ยง (Risk Analysis) 3. การรองรับและควบคุมความเสี่ยง (Risk Abatement) สามารถอธิบายได้ดังภาพ ภาพที่ 2.2 องค์ประกอบและกิจกรรมหลักในการบริหารความเสี่ยง ที่มา : ก้องกิติ พูสวัสดิ์ และพรเทพ อนุสสรนิติสาร (มปท). การประเมิน ความเสี่ยง (Risk Assessment) การรองรับความเสี่ยง (Risk Abatement) การวิเคราะห์ ความเสี่ยง (Risk Analysis) คานิยาม ความเสี่ยง : โอกาส และผลกระทบ (Probability and Impact) ระดับ ความเสี่ยง (Risk Level) สาเหตุ -ปัจจัยที่ควบคุมได้ -ปัจจัยที่ควบคุม ไม่ได้ การควบคุม ความเสี่ยง (Risk Control) แผนสารอง (Emergency Plan) รายงาน ความเสี่ยง (Risk Report) การทบทวน ความเสี่ยง (Risk Review) ความถี่ในการ ทบทวน (Review Frequency)
  • 5. 35 จากนิยามความเสี่ยง และองค์ประกอบความเสี่ยงทาให้พบว่าความสาคัญของการบริหารความ เสี่ยงเป็นสิ่งที่จาเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถเตรียมการป้องกัน และควบคุม หรือใช้ความเสี่ยงให้ เป็นประโยชน์ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสีย หรือผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของเรา ภัย และสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย (Peril and Hazard) สาหรับด้านการจัดการความเสี่ยงมีคาศัพท์สองคาที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง นั่นคือ คาว่า ภัย (Peril) และคาว่าอันตราย (Hazard) เนื่องจากการจัดการความเสี่ยงภัยต้องมีการประเมินระดับของ ความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของสองคานี้ 1. ภัย (Peril) ภัย หมายถึง สาเหตุอันก่อให้เกิดความสูญเสีย ตัวอย่างเช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้อาคาร พาณิชย์ ภัยก็จะหมายถึง ไฟ หรือกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากผู้ขับขี่มีอาการมึนเมาขณะขับรถ ภัยก็จะหมายถึง ความประมาท หรือการขาดสติของผู้ขับขี่รถยนต์ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่เป็นภัย พื้นฐาน ได้แก่ ไฟ ฟ้าผ่า ลม พายุ แผ่นดินไหว รวมถึงความประมาท เลินเล่อของบุคคล เป็นต้น ส่วน ธานี วรภัทร์ (2548) ได้ให้ความหมายว่า ภัย หมายถึง สิ่งที่ทาให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน เช่น อัคคีภัย อุบัติภัย เป็นต้น ภัยเหล่านี้อาจเกิดจาก 1.1 ธรรมชาติ (Natural Perils) เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่าง แน่นอน เช่น น้าท่วม ไฟไหม้ป่า พายุ เป็นต้น 1.2 มนุษย์สร้างขึ้น (Human Perils) เมื่อมนุษย์มาอาศัยอยู่ร่วมกันพฤติกรรมในการ ดารงชีวิตเพื่อความอยู่รอดและความสะดวกสบายก็อาจก่อให้เกิดภัยขึ้นได้ หรืออาจเกิดจากการโจรกรรม ความประมาทในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น 1.3 ภัยจากเศรษฐกิจ (Economic Perils) เป็นภาวะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เงินเฟ้อ เงินฝืด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านรสนิยมของผู้บริโภค ภาวะความผันผวนของราคาสินค้า ความ เจริญก้าวหน้าทางด้านการผลิต และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สามารถอธิบายได้ดังรูปภาพที่ 2.3
  • 6. 36 ภาพที่ 2.3 ประเภทของภัย ที่มา : ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 9. 2. สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย (Hazard) สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย คือ สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดช่องทางซึ่งนาไปสู่ความสูญเสีย สามารถจาแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สภาวะทางด้านกายภาพ สภาวะทางด้านศีลธรรม และสภาวะ ทางด้านกฎหมาย 2.1 สภาวะทางด้านกายภาพ (Physical Hazard) เป็นสภาวะทางกายภาพซึ่งก่อให้เกิด โอกาสที่จะนาไปสู่ความสูญเสีย เช่น บ้านเรือนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแออัดเป็นอันตรายทางกายภาพที่เพิ่ม โอกาสของการเกิดอัคคีภัย หรือฝนตกถนนลื่นเป็นอันตรายทางกายภาพที่เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทาง รถยนต์บนท้องถนน เป็นต้น 2.2 สภาวะทางด้านศีลธรรม (Moral Hazard) เป็นสภาวะที่ส่งผลต่อจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิด โอกาสอันจะนาไปสู่ความสูญเสีย เช่น การลักขโมยของลูกจ้างเป็นอันตรายทางศีลธรรมที่เพิ่มโอกาสให้ นายจ้างเกิดความสูญเสียด้านการเงิน หรือจานวนเงินเบี้ยประกันที่ตัวแทนประกันภัยต้องรับผิดชอบเก็บ รักษาจานวนมาก ถือเป็นสภาวะส่งเสริมโอกาสอันจะนาไปสู่การกระทาผิดทางศีลธรรม เช่น การยักยอก อันจะนามาซึ่งความเสียหายต่อบริษัทประกันภัย และความน่าเชื่อถือของตัวแทนประกัน เป็นต้น 2.3 สภาวะทางด้านกฎหมาย (Legal Hazard) เป็นสภาวะและเงื่อนไขข้อบังคับทาง กฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสอันจะนาไปสู่ความสูญเสีย อันตรายทางกฎหมายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่กาหนดความรับผิดต่อบุคคลหรือนิติบุคคล เช่น ความรับผิดต่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่ ประกอบกิจการอันก่อให้เกิดมลพิษทาลายสิ่งแวดล้อม ความรับผิดต่อผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจาก สินค้าที่ผลิตออกจาหน่าย เป็นต้น ภัยจากเศรษฐกิจ ภัย (Perils) ภัยที่มีสาเหตุมา จากธรรมชาติ ภัยที่มีสาเหตุมา จากมนุษย์สร้างขึ้น
  • 7. 37 ภาพที่ 2.4 ประเภทของสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย ที่มา : ปรับปรุงจาก ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 10. ประเภทของความเสี่ยงภัย ความเสี่ยงสามารถจาแนกได้หลายประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงที่แท้จริงและความเสี่ยงแบบเก็ง กาไร (Pure and Speculative Risk) ความเสี่ยงของส่วนรวมและความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Fundamental and Particular Risk) ความเสี่ยงที่ผันแปรและความเสี่ยงคงที่ (Dynamic and Static Risk) ความเสี่ยง ที่สามารถประกันได้และความเสี่ยงที่ไม่สามารถประกันได้ (Insurable and Non-Insurable Risk) ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้ 1. ความเสี่ยงแท้จริงและความเสี่ยงแบบเก็งกาไร (Pure and Speculative Risk) ความเสี่ยงแท้จริง (Pure Risk) และความเสี่ยงแบบเก็งกาไร (Speculative Risk) สามารถอธิบายได้ ดังนี้ 1.1 ความเสี่ยงแท้จริง (Pure Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดแก่บุคคลผู้เข้าไป เกี่ยวข้องด้วย เป็นความเสี่ยงที่อาจส่งเสริมให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ได้ และไม่มีโอกาสที่จะก่อให้เกิด ประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินเลย เช่น ผู้ขับรถยนต์ย่อมต้องเผชิญกับความเสี่ยง ในการประสบอุบัติเหตุจากการขับรถ ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ร่างกาย หรือชีวิต แต่ถ้าไม่มีอุบัติเหตุใด ๆ เกิดขึ้นเลย สถานะทางทรัพย์สินหรือการเงินของเจ้าของรถ ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันเจ้าของรถยนต์ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินหรือการเงิน สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัย (Hazard) สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัยด้านกายภาพ (Physical Hazard) สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัยด้านศีลธรรม (Moral Hazard) สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดภัยด้านกฎหมาย (Legal Hazard)
  • 8. 38 1.2 ความเสี่ยงที่เกิดจากการเก็งกาไร (Speculative Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่อาจ ก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านทรัพย์สินหรือการเงิน หรืออาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่ เกี่ยวข้องด้วย เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะได้ผลกาไรถ้าราคาขายสูงกว่าราคา ที่ซื้อมา หรือผู้ลงทุนอาจขาดทุนเนื่องจากราคาที่ขายต่ากว่าราคาที่ซื้อมา 2. ความเสี่ยงของส่วนรวมและความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Fundamental and Particular Risk) ความเสี่ยงของส่วนรวม (Fundamental Risk) และความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Particular Risk) สามารถอธิบายได้ ดังนี้ 2.1 ความเสี่ยงของส่วนรวม (Fundamental Risk) หมายถึง ความเสี่ยงทั่วไปที่เกิดขึ้น โดยไม่เฉพาะเจาะจงไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นความเสี่ยงขั้นพื้นฐานที่บุคคลทุกคนมีสิทธิ จะได้รับความเสียหายนั้น อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความเสี่ยงกลุ่ม ความเสี่ยงประเภทนี้มีสาเหตุมาจาก ผลของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อการว่างงาน สินค้ามีราคาแพงขึ้น หรืออัตราการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อการ ดาเนินงานของธุรกิจบางประเภท เป็นต้น 2.2 ความเสี่ยงเฉพาะบุคคล (Particular Risk) หมายถึง ความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อ บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือเฉพาะตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น กลุ่มบุคคลหรือสังคมทั้งระบบไม่ได้รับ ผลกระทบด้วย เช่น ความเสียหายที่เกิดจากเพลิงไหม้ การระเบิดของก๊าซหุงต้ม การได้รับบาดเจ็บจาก การปฏิบัติงาน เป็นต้น 3. ความเสี่ยงที่ผันแปรและความเสี่ยงคงที่ (Dynamic and Static Risk) ความเสี่ยงที่ผันแปร (Dynamic Risk) และความเสี่ยงคงที่ (Static Risk) สามารถอธิบาย ได้ ดังนี้ 3.1 ความเสี่ยงที่ผันแปร (Dynamic Risk) หมายถึง สภาวะของความเสี่ยงที่ผันแปรไปตาม ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันมีผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น 3.1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด ระดับรายได้ของ ประชากร ปัญหาการว่างงาน การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ปัจจัยเหล่านี้ประชาชนโดยรวม ต่างได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
  • 9. 39 3.1.2 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจานวนประชากร สุขภาพ ค่านิยมของประชาชน การลดลงของรายได้อันส่งผลต่อยอดจาหน่ายสินค้าบางประเภท รวมถึง การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและอาชญากรรม 3.1.3 การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ได้แก่ ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลและ ผู้นาทางการเมือง หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลกระทบในภาพรวมระดับประเทศ 3.1.4 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เช่น การเปลี่ยนแปลงจากการใช้แรงคนมาเป็น เครื่องจักร ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที ได้แก่ ลดอัตราการจ้างแรงงาน ได้ผลผลิตจานวนมากขึ้น สินค้า มีมาตรฐาน และต้นทุนการผลิตลดลง เป็นต้น 3.2 ความเสี่ยงคงที่ (Static Risk) หมายถึง สภาวะของความเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กล่าวคือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด อาจกล่าวได้ว่าไม่ว่าเวลาหรือสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็ตาม จะไม่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงลักษณะนี้เลย เช่น นายพร มีบ้านอยู่ริมแม่น้าจึงสร้างบ้านเป็น บ้านแพลอยน้าเมื่อถึงฤดูน้าหลาก น้าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน แต่ไม่อาจส่งผลกระทบต่อบ้านของ นายพร เป็นต้น 4. ความเสี่ยงที่สามารถเอาประกันได้และความเสี่ยงที่ไม่สามารถเอาประกันได้ (Insurable and Non-Insurable Risk) ความเสี่ยงที่สามารถเอาประกันได้ (Insurable Risk) และความเสี่ยงที่ไม่สามารถเอา ประกันได้ (Non-Insurable Risk) สามารถอธิบายได้ ดังนี้ 4.1 ความเสี่ยงที่สามารถเอาประกันได้ (Insurable Risk) หมายถึง ความเสี่ยงของธุรกิจหรือ บุคคลที่สามารถนาไปประกันภัยได้ หรือเป็นภัยที่ธุรกิจจะรับประกันได้ เช่น ในทางประกันภัย ความเสี่ยง ที่จะสามารถนาไปประกันภัยได้ต้องเป็นความเสี่ยงแท้ (Pure Risk) ซึ่งสามารถคาดคะเนได้ และเป็น ความเสี่ยงเฉพาะบุคคลเท่านั้น ความเสี่ยงแท้ (Pure Risk) ที่สามารถนาไปประกันภัยได้ ประกอบด้วย 4.1.1 ความเสี่ยงเกี่ยวกับทรัพย์สิน (Property Risk) ความเสี่ยงจากภัยก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของบุคคลหรือธุรกิจ ซึ่งอาจนาความเสียหายมาสู่ทรัพย์สิน เช่น ไฟไหม้ น้าท่วม เป็นต้น 4.1.2 ความเสี่ยงเกี่ยวกับบุคคล (Personal Risk) เป็นความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ชีวิต และรายได้ของบุคคลอันมีสาเหตุจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การทุพพลภาพ การชราภาพ การเจ็บป่วย การว่างงาน เป็นต้น
  • 10. 40 4.1.3 ความเสี่ยงในความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นตามกฎหมาย (Legal Liability Risk) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากความประมาท เลินเล่อ หรือเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุอันนามาซึ่งความเสียหาย ต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ตามกฎหมายที่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โดยความผิดดังกล่าวอาจเกิดจาก การใช้ยานพาหนะ การเป็นเจ้าของอาคาร การจ้างทางาน การเป็นเจ้าของสินค้า การปฏิบัติงานผิดพลาดของผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ 4.2 ความเสี่ยงที่ไม่สามารถทาประกันได้ (Non-Insurable Risk) หมายถึง ความเสี่ยง ที่ต้องหลีกเลี่ยง หรือการจากัดความเสี่ยงให้น้อยลง แต่ไม่สามารถถ่ายโอนความเสี่ยงทั้งหมดไปให้กับ ผู้รับประกันภัยได้ เช่น 4.2.1 ความเสี่ยงทางด้านการตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจ หรือบุคคล ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือรายได้ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็นไปตามฤดูกาลหรือสภาพเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของผู้บริโภค 4.2.2 ความเสี่ยงจากสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง (Political Risk) เป็น ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้าย การปฏิวัติรัฐประหาร เป็นต้น 4.2.3 ความเสี่ยงด้านการผลิต (Production Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และก่อให้เกิด ความเสียหายทางด้านการเงินจากกระบวนการผลิต อันเกิดจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ การหยุดชะงัก ของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต หรือการนัดหยุดงานของพนักงาน เป็นต้น 4.2.4 ความเสี่ยงต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศ เช่น กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจในด้านอัตราแลกเปลี่ยน การกาหนดโควตาและอัตรา ภาษีนาเข้า กฎ ระเบียบทางการค้า เป็นต้น การจาแนกประเภทของความเสี่ยงภัยสามารถสรุปได้ดังภาพที่ 2.5 ความเสี่ยงภัย (Risk) ความเสี่ยงภัยที่ สามารถเอาประกัน ได้/ไม่สามารถเอา ประกันได้ ความเสี่ยงภัย ผันแปร/คงที่ ความเสี่ยงภัย ส่วนรวม/เฉพาะ บุคคล ความเสี่ยงภัย แท้จริง/เก็งกาไร
  • 11. 41 ภาพที่ 2.5 ประเภทของความเสี่ยงภัย ที่มา : ปรับปรุงจากฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 12. ความสูญเสียอันเกิดจากความเสี่ยง ความสูญเสีย (Loss) หมายถึง ผลของภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากการเสี่ยงภัยที่แท้จริง หรือ การเสี่ยงภัยจากการเก็งกาไร ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่มนุษย์ไม่ว่าจะต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ตัวอย่างเช่น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ได้แก่ การสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการถูกโจรกรรมหรืออัคคีภัย ความสูญเสียทรัพย์สิน รายได้ หรือความสูญเสีย ทางด้านการเงินซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาล ซึ่งเกิดจากการประสบอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ หรือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี และความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นอันเนื่องมาจากการ เรียกร้องความรับผิดชอบทางกฎหมายและความสูญเสียทางด้านการเงินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายที่มิได้ คาดหวัง (ธานี วรภัทร์, 2553 : 23)
  • 12. 42 การสูญเสียที่สาคัญและมักพบเป็นประจาเมื่อประสบภัยอันตรายนอกเหนือการคาดหมาย ได้แก่ การสูญเสียเวลา การสูญเสียทรัพย์สิน การสูญเสียรายได้ และการสูญเสียอวัยวะสาคัญซึ่งใช้ในการ ประกอบอาชีพ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ความสูญเสียทาง เศรษฐกิจหรือการเงินมีสาเหตุจากปัจจัยต่อไปนี้ 1. การสูญเสียชีวิตหรือรายได้ของบุคคลซึ่งเกิดจาก 1.1 การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 1.2 การทุพพลภาพ 1.3 การชราภาพ 1.4 การว่างงาน 2. การสูญเสียทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียโดยตรงหรือเป็นผลต่อเนื่องซึ่งเกิดจาก 2.1 ไฟไหม้ 2.2 การถูกโจรกรรม 2.3 การระเบิด 2.4 อุบัติเหตุ 2.5 การหยุดดาเนินงานของธุรกิจ 2.6 การนัดหยุดงานของคนงาน 3. การสูญเสียทางการเงินสืบเนื่องมาจากความรับผิดต่อบุคคลอื่นตามกฎหมาย ซึ่งมีสาเหตุ จากการกระทาของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือธุรกิจ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ความเสียหาย ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จาก 3.1 การใช้ยานพาหนะ 3.2 การจาหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 3.3 การกระทาที่ผิดพลาดของผู้ประกอบวิชาชีพ 3.4 การได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานของคนงาน ฐิติวดี ชัยวัฒน์ (2556) ได้กล่าวว่า เมื่อมีความเสี่ยงภัยเกิดขึ้นย่อมมีความเป็นไปได้ที่ความ เสี่ยงนั้นจะส่งผลให้เกิดความเสียหายตามมา เช่น การเสียเวลา การเสียโอกาส การสูญเสียความทรงจา ความเสียหายเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประสบภัย และความเสียหายดังกล่าวไม่สามารถทาประกันภัย ได้ (Uninsurable Loss) แต่มีความเสียหายบางประเภทที่สามารถทาประกันภัยได้ (Insurable Loss) เช่น ความเสียหายอันเนื่องมาจากการเสียชีวิต ความเสียหายอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บ ความเสียหาย อันเนื่องมาจากสินค้าที่ส่งมาทางทะเลได้รับความเสียหาย เป็นต้น นอกจากนั้น การประเมินมูลค่าความ
  • 13. 43 เสียหายยังต้องพิจารณาความเสียหายทั้งสองรูปแบบ คือ ความเสียหายทางตรง (Direct Loss) และ ความเสียหายทางอ้อม (Indirect Loss) มูลค่าความเสียหายทางตรง คือ ปริมาณความเสียหายที่เกิด ขึ้นกับทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายโดยตรง ตัวอย่าง ไฟไหม้อาคารซึ่งมีมูลค่าความเสียหายจานวนหนึ่ง แต่ภายนอกอาคารที่ถูกไฟไหม้ นับเป็นความเสียหายทางตรงแล้วยังมีความเสียหายอื่นตามมา (Consequential Loss) อีกด้วย เช่น พนักงานได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาตัว มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของพนักงาน ซึ่งเป็น มูลค่าความเสียหายทางอ้อม ในทางปฏิบัติมูลค่าความเสียหายทางอ้อมนี้จะต้องนามาพิจารณาคานวณ รวมกับมูลค่าความเสียหายทางตรงด้วย จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว มูลค่าความเสียหายรวมจะเท่ากับ มูลค่าความเสียหายของอาคารบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจาก เหตุไฟไหม้ดังกล่าว วิธีการจัดการความเสี่ยง (Methods of Risk Management) สาหรับวิธีการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ได้รับผลกระทบจากภัยอันตรายที่บุคคลหรือธุรกิจไม่ได้ คาดคิดมาก่อน และเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด สามารถแบ่งได้เป็น 4 วิธีการ ดังต่อไปนี้ 1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการจัดการความเสี่ยง กล่าวคือ บุคคลหรือธุรกิจเลือกที่จะไม่รับ ความเสี่ยงไว้เลย ทั้งนี้การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ ที่จะได้รับแล้วพบว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย หรือทรัพย์สินที่ต้องสูญเสียไป จึงหลีกเลี่ยง ที่จะเผชิญกับความเสี่ยงนั้นโดยสิ้นเชิง 2. การควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) โดยปกติเมื่อบุคคลหรือธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มักใช้วิธีการ ควบคุมความเสี่ยง หรือควบคุมความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นหากเกิดภัยอันตราย วิธีการควบคุมความเสี่ยง มี 2 วิธี ดังนี้ 2.1 การป้องกันการเกิดความสูญเสีย เป็นวิธีพยายามลดความถี่ของการเกิดความสูญเสีย เช่น การหามาตรการหรือวิธีการ ในการป้องกันไม่ให้ความสูญเสียเกิดขึ้น เช่น การติดตั้งเครื่องตัดระบบ ไฟฟ้าในตัวอาคารเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย การติดสัญญาณกันขโมยในรถยนต์ เพื่อป้องกันการโจรกรรม เป็นต้น
  • 14. 44 2.2 การควบคุมขนาดของความสูญเสีย เป็นวิธีการพยายามลดระดับความรุนแรงของ ความสูญเสีย เช่น การดีดบ้านให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายของตัวบ้านจากอุทกภัย การติดตั้งเครื่อง ฉีดน้า เพื่อควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจากัดเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคาร เป็นต้น 3. การรับความเสี่ยงไว้เอง (Risk Retention) เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงประเภทหนึ่ง ซึ่งบุคคลหรือธุรกิจต้องอาศัยการคาดการณ์ ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภัยขึ้นและพยายามจากัดความเสี่ยงนั้นไม่ให้เกิดขึ้นหรือหากเกิดขึ้นแล้ว ต้องได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงนั้นน้อยที่สุด เนื่องจากหากเกิดภัยขึ้นบุคคลหรือธุรกิจนั้นจะต้อง รับผิดชอบทรัพย์สิน ร่างกาย หรือชีวิตที่ได้รับความเสียหาย หรือความสูญเสียจากภัยที่เกิดขึ้นนั้นเอง 4. การถ่ายโอนความเสี่ยง (Risk Transference) ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่สามารถรับไว้เองได้ ควรได้รับการถ่ายโอนให้ผู้อื่น ซึ่งหมายถึง ผู้รับประกันภัย อย่างไรก็ตามผู้รับประกันภัยไม่ได้รับโอนความเสี่ยงภัยทุกประเภท ความเสี่ยงภัยที่แท้จริงเท่านั้นที่สามารถจะถ่ายโอนไปให้บริษัทประกันภัยได้ นอกจากนี้บริษัทประกันภัย สามารถปฏิเสธการถ่ายโอนความเสี่ยงนั้น หากพบว่าบุคคลหรือทรัพย์สินนั้นจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง สูงเกินกว่าความเสี่ยงโดยเฉลี่ยมากเกินไป นอกจากนี้ Scott E. Harrington และ Gregory R. Niehaus (2003 : 9–12) ยังได้เสนอ วิธีการจัดการความเสี่ยงภัยที่สาคัญไว้ดังนี้ 1. การควบคุมการสูญเสีย (Loss Control หรือRisk Control) เป็นการลดค่าใช้จ่ายและความ สูญเสียที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วยวิธีการลดจานวนความถี่ของการเกิดความสูญเสียและความรุนแรงของ ความสูญเสียที่เกิดขึ้น การดาเนินการในส่วนนี้หากเป็นการกระทาก่อนที่จะเกิดความสูญเสียจะนิยม เรียกว่า การป้องกันการสูญเสีย หรือ การป้องกันการเกิดวินาศภัย (Property Prevention) ซึ่งอาจใช้ วิธีการในการลดระดับของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงภัย (Reducing The Level of Risky Activity) และความระมัดระวัง (Increasing Precautions) เพื่อมิให้เกิดความสูญเสียขึ้น โดยอาจใช้วิธีการ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (Risk Avoidance) ในการจากัดระดับของกิจกรรมที่มีความเสี่ยงภัยให้หมดไป อย่างสมบูรณ์ด้วยการลดระดับของกิจกรรมที่มีความเสี่ยงภัยให้ลดลงจนถึงระดับศูนย์ กล่าวคือ ไม่ทา กิจกรรมนั้นเลยก็ได้ 2. การบริหารเงินเพื่อใช้เมื่อเกิดความสูญเสีย (Loss Financing หรือRisk Financing) เป็นวิธีการ ที่ใช้เพื่อให้ได้เงินทุนมาจ่ายหรือหักลบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งมี 4 วิธี และมักจะใช้ร่วมกัน ได้แก่
  • 15. 45 2.1 การเก็บความเสี่ยงภัยไว้เอง (Retention) โดยการใช้จ่ายกรณีเกิดความสูญเสียขึ้นเต็ม จานวนโดยเงินของบุคคลผู้นั้นเองหรือจากเงินกู้ยืมจากแหล่งอื่นมาใช้จ่ายเมื่อเกิดความสูญเสียขึ้น กรณีที่ มีการจัดทาแผนดาเนินการไว้อย่างเป็นทางการ การจัดหาเงินทุนมาใช้จ่ายเมื่อเกิดความสูญเสียของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระดับกลางหรือใหญ่อาจเรียกได้ว่าเป็นการประกันตัวเอง (Self-Insurance) 2.2 การทาประกันภัย (Insurance) เป็นการตกลงทาสัญญาร่วมกันระหว่างผู้เอา ประกันภัยกับผู้รับประกันภัยโดยที่อีกฝ่ายตกลงจะจ่ายเงินจานวนหนึ่งตามกาหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ กับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดภัยขึ้นจะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหากเกิด ความสูญเสียขึ้น 2.3 การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัยจากความผันแปรที่ไม่แน่นอน (Hedging) ซึ่งอาจเกิดจากการผันผวนของค่าเงิน อัตราแลกเปลี่ยน หรือการที่สินค้าขึ้นราคา เช่น อาจทาสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า (Forward Contract) เพื่อให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้ในราคาที่คงที่ไม่มีการเพิ่มราคาขาย ในระหว่างระยะเวลาที่กาหนดไว้ในสัญญา 2.4 การโอนความเสี่ยงภัยตามสัญญาตามอื่น (Other Contractual Risk Transfer) ซึ่ง ไม่ใช่สัญญาประกันภัยหรือการทาประกันภัย แต่เป็นการโอนความเสี่ยงภัยไปยังบุคคลอื่นที่เป็นคู่สัญญา โดยการกาหนดไว้ในสัญญา เช่น การกาหนดให้มีข้อสัญญาเพื่อป้องกันตนเองในสัญญา ที่เกี่ยวข้องหรือ เพื่อให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแทน 3. การลดความเสี่ยงภัยภายในองค์การ (Internal risk reduction) อาจทาได้ 2 รูปแบบ ดังนี้ 3.1 การเปลี่ยนแปลงให้เกิดความหลากหลาย (Diversification) เช่น การเก็บสินค้าคงคลัง ไว้ในที่เดียวกันเมื่อเกิดภัยขึ้นความเสียหายขึ้นย่อมได้รับผลกระทบจากความเสียหายหรือความสูญเสีย มากกว่าการแยกเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้าหลายแห่ง 3.2 การลงทุนในข้อมูล (Investment In Information) เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลที่จาเป็นสาหรับประกอบการตัดสินใจในการทาธุรกิจหรือการดาเนินชีวิตของบุคคลเพื่อช่วยในการ ประเมินหรือคาดการณ์ความเสี่ยงภัยได้อย่างแม่นยาขึ้น วิธีการสาคัญในการจัดการความเสี่ยงภัย การควบคุมการสูญเสีย การจัดหาเงินเพื่อความสูญเสีย การลดความเสี่ยงภัย ภายในองค์การ ลดระดับของกิจกรรมที่ มีความเสี่ยง การเก็บความเสี่ยงภัยและ ประกันภัยตัวเอง การเปลี่ยนแปลงให้ เกิดความหลากหลาย
  • 16. 46 ภาพที่ 2.6 วิธีการจัดการความเสี่ยงภัย ที่มา : ประมวล จันทร์ชีวะ, 2551. จากความหมายและวิธีการของการจัดการความเสี่ยงภัย (Risk Management) ดังกล่าวข้างต้น การป้องกันการเกิดวินาศภัย (Property Prevention) และการประกันภัย (Insurance) จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการจัดการความเสี่ยงภัยโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น จากภัย (Peril) หรืออุบัติเหตุ (Accident) อันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ถึงแม้ว่าสัญญาประกันภัยเป็น สัญญาเพื่อการชดใช้ (Contract of Indemnity) ซึ่งสามารถช่วยเยียวยาและบรรเทาความเสียหายให้แก่ ผู้เอาประกันภัย แต่มีข้อที่พึงระลึกว่าการชดใช้ (Indemnity) เป็นเพียงพื้นฐานของสัญญาประกันภัย และ อาจไม่ใช่การชดใช้ที่สมบูรณ์ เนื่องจากบางกรณีผู้รับประกันภัยมีสิทธิในการปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนหรือการชดใช้ให้ไม่เต็มมูลค่าของความเสียหาย ที่เกิดขึ้น เช่นในกรณีดังต่อไปนี้ 1. กรณีกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแบบระบุภัย (Named Perils) เป็นกรมธรรม์ที่ ให้ความคุ้มครอง วัตถุที่เอาประกันภัยเฉพาะจากภัยที่ได้ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย หากภัยที่ก่อให้ เกิดความเสียหายไม่ใช่ภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยไม่สามารถให้ความ คุ้มครองได้ 2. สาเหตุของความเสียหายหรือภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นสาเหตุหรือเป็นภัยที่กรมธรรม์ ประกันภัยกาหนดเป็นข้อยกเว้นความคุ้มครอง
  • 17. 47 3. กรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยกาหนดคารับรองเอาไว้ (Warranty) ได้แก่ การรับรองว่าสินค้า สามารถบรรทุกได้กี่ชั้น เพราะถ้าเกินกว่านี้อาจทาให้สินค้าเกิดชารุด เสียหายได้ ซึ่งหากผู้เอาประกันภัย ทาผิดคารับรองกรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ให้ความคุ้มครอง 4. กรมธรรม์ประกันภัยได้กาหนดความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดเอง (Deductible) เช่น ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ภายในวงเงินไม่เกิน 300,000 บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ในทางประกันภัยถือว่าความเสียหายส่วนแรกเป็นส่วนได้เสียของ ผู้เอาประกันภัยเอง เพราะกรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ชดใช้ให้สาหรับความเสียหาย ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้อง ชาระค่าดาเนินการให้แก่ผู้รับประกันภัยตามที่ตกลงไว้ในสัญญา 5. มีการทาประกันภัยไว้ต่ากว่ามูลค่า (Insurance Under Value) ทาให้ผู้เอาประกันภัยต้อง ร่วมเฉลี่ยความเสียหายกับผู้รับประกันภัยด้วยและจะได้รับการชดใช้ไม่เต็มจานวนตามความเสียหายที่ เกิดขึ้น ดังนั้น การมีมาตรการป้องกันที่ดีและมีประสิทธิภาพสามารถลดความถี่ในการเกิดความสูญเสีย หรือสามารถลดความรุนแรงของความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ โดยจะช่วยลดความสูญเสียของผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมขนส่งก่อนที่จะต้องอาศัยการเยียวยาจากการประกันภัยซึ่งยังอาจมีความเสี่ยงภัยจากการ ที่ทาประกันภัยไว้ไม่เหมาะสมกับความเสี่ยงภัยหรือทาประกันภัยไว้ในจานวนเงินเอาประกันภัยที่ไม่เพียงพอ กับความสูญเสีย การป้องกันการเกิดวินาศภัย (Property Prevention) เป็นมาตรการหนึ่งของการควบคุมความ เสี่ยงภัย (Risk Control) หรือการควบคุมการสูญเสีย (Loss Control) ที่สามารถนามาใช้ในการจัดการ ความเสี่ยงภัย เพื่อป้องกันมิให้เกิดวินาศภัยขึ้น อันเป็นขั้นตอนสาคัญก่อนที่จะเกิดภัยและต้องอาศัยการ เยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากสัญญาประกันภัย การป้องกันวินาศภัยในมุมมองของการ ประกันภัยเป็นมาตรการที่กระทาโดยผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นการดาเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง การให้คาแนะนา การให้ข้อมูลข่าวสารหรือแม้กระทั่งการกาหนดไว้เป็นเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยเพื่อ ป้องกันการเกิดภัย การป้องกันการเกิดวินาศภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหรือ ความสูญเสียขึ้น โดยพยายามลดโอกาส ความน่าจะเป็นหรือจานวนครั้งที่อาจเกิดความเสียหาย หรือ ความสูญเสียให้น้อยลงก่อนที่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง ตัวอย่างมาตรการป้องกันการเกิดวินาศภัย ได้แก่ การป้องกันอัคคีภัยหรือการระเบิดจากเชื้อเพลิง ทาได้โดยการติดป้ายรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณพื้นที่ เสี่ยงภัย ปิดป้ายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือบริเวณสถานีบริการน้ามัน หรือการหมั่นตรวจตราบารุงรักษา เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งจะนาไปสู่การเกิดอัคคีภัย การป้องกันวินาศภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ สามารถทาได้โดยการใช้มาตรการตรวจสภาพรถยนต์ให้อยู่
  • 18. 48 ในสภาพปลอดภัยพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น การนารถยนต์เข้าตรวจเช็คตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ใน คู่มือรถยนต์ การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ขั้นตอนการจัดการความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงมีขั้นตอนการดาเนินการดังต่อไปนี้ 1. การระบุความเสี่ยง เป็นขั้นตอนสาคัญขั้นตอนหนึ่ง หากการระบุความเสี่ยงไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนแล้ว ความเสี่ยงซึ่งไม่ปรากฎในขั้นตอนนี้จะกลายเป็นความเสี่ยงที่เหลืออยู่โดยไม่ได้รับการวิเคราะห์ วางแผนบริหารจัดการ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อาจนามาซึ่งความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต ความสูญเสียบางประเภทสามารถหาข้อมูลความถี่และความรุนแรงได้จากแหล่งข้อมูลภายใน เช่น สถิติ การเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน แต่บางกรณีข้อมูลความเสี่ยงจากแหล่งภายนอกก็ถือเป็นข้อมูลที่ควรให้ ความสาคัญในการจัดเก็บและวิเคราะห์ได้ เช่น ข้อมูลความสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้ (จารุพร ไวยนันท์, 2552) 1.1 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน (Property Losses) ความเสียหายที่อาจเกิดแก่ทรัพย์สิน ของบุคคลหรือธุรกิจ ได้แก่ ความเสียหายต่อเงินสด หลักทรัพย์ ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง อาคาร สานักงาน เครื่องมือ เครื่องจักร เรือ รถยนต์ หรือพาหนะประเภทอื่น ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ได้แก่ การเกิดอัคคีภัย การถูกโจรกรรม อุบัติเหตุ ความไม่ซื่อสัตย์ของพนักงาน การล้มละลายของลูกหนี้ การระเบิด ฯลฯ ความเสียหายดังกล่าว นอกจากจะมีผลโดยตรงที่ทาให้ทรัพย์สินเสียหายแล้วอาจมี ผลเสียหายต่อเนื่องต่อรายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจอีก เช่น การที่เกิดไฟไหม้เครื่องจักรซึ่งนอกจาก เครื่องจักรจะเสียหายแล้ว โรงงานยังต้องหยุดการดาเนินงานเพื่อทาการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรดังกล่าวด้วย 1.2 ความเสียหายต่อตัวบุคคล (Personal Losses) ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและส่งผล กระทบต่อบุคคลหรือธุรกิจอันเนื่องจากการเสียชีวิต หรือกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย การเกิดอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติงานของพนักงาน หรือเจ้าของกิจการ ซึ่งนอกจากความเสียหายที่ เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานภายในองค์การแล้ว ยังมีโอกาสก่อให้เกิดการว่างงานด้วย 1.3 ความเสียหายโดยความรับผิดตามกฎหมาย (Liability Losses) เป็นความเสียหาย ที่เกิดขึ้นเมื่อธุรกิจหรือบุคคลนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของผู้อื่น เช่น
  • 19. 49 ความรับผิดต่อลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน (Working Condition) ซึ่งกฎหมายได้ระบุให้เป็นความรับผิดของนายจ้าง เป็นต้น ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของบุคคลความเสียหาย ต่อยานพาหนะที่ทาการขนส่ง ในขณะที่ทาการขนส่งอาจเกิดอุบัติเหตุ การโจรกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิด ความเสียหายต่อวัตถุดิบ สินค้า หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโรงงาน หรือคลังสินค้า เช่น การเกิด อุทกภัย อัคคีภัย ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิตสินค้า เป็นต้น ความเสียหายต่อเนื่อง เป็นความเสียหายอันเกิดจากภัยลักษณะหนึ่งและส่งผลกระทบต่อ ทรัพย์สินของบุคคลหรือธุรกิจ ส่งผลกระทบให้ธุรกิจต้องหยุดการดาเนินงานชั่วคราวอันเนื่องมาจากความ เสียหายโดยตรง เช่น เมื่อเกิดอุทกภัย ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อตัวอาคาร เครื่องจักร และสินค้า โดยตรงแล้ว ธุรกิจจาเป็นต้องหยุดดาเนินการเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิรูปหรือซ่อมแซมอาคารและ เครื่องจักรเพื่อใช้งานใหม่ เป็นต้น ความรับผิดตามกฎหมาย เป็นการระบุความรับผิดชอบของบุคคลหรือธุรกิจ กรณีละเมิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของพนักงาน ธุรกิจอาจต้องรับผิดชอบต่อพนักงาน ในกรณีที่พนักงานได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานให้กับธุรกิจ หรือรับผิดชอบในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับ ความเสียหายจากสินค้าที่ธุรกิจผลิตออกจาหน่าย หรือแสดงความรับผิดชอบในกรณีที่ชาวบ้าน หรือ ชุมชนแวดล้อมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทาของธุรกิจ เช่น การนาของเสียที่ส่งผล กระทบต่อสภาพแวดล้อมไปทิ้งในแหล่งน้า หรือบริเวณแหล่งชุมชน เป็นต้น ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวบุคคล การเสียชีวิตหรือการเป็นผู้ไร้ความสามารถของ บุคคลที่มีความสาคัญต่อธุรกิจประเภทนั้น ๆ หากธุรกิจสูญเสียบุคคลคนใดคนหนึ่งอาจส่งผลให้ธุรกิจ ได้รับความเสียหาย 2. การประเมินความเสี่ยง วิธีการประเมินความเสี่ยงสามารถทาได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยง 2 ประการ ได้แก่ โอกาส และผลกระทบ 2.1 โอกาส (Probability) คือ จานวนครั้งของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยพิจารณาได้จาก ความถี่ของการเกิดภัยอันนามาซึ่งความสูญเสีย เป็นมาตรวัดจานวนครั้งที่จะเกิดความสูญเสียสาหรับ ความเสี่ยงแต่ละประเภท อาจจาแนกเป็นระดับต่า ปานกลาง สูง หรือร้อยละของโอกาสที่อาจเกิดขึ้นได้ 2.2 ผลกระทบ (Impact) หรือความรุนแรงที่เกิดจากภัย หากความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้น ความเสียหายมีความรุนแรงในระดับใด น้อย ปานกลาง หรือเสียหายมาก การประเมินความรุนแรงของ ความสูญเสียเป็นการคาดการณ์มูลค่าของความสูญเสียเมื่อเกิดภัยขึ้น การที่จะระบุว่าความสูญเสียมี
  • 20. 50 ความรุนแรงมากหรือน้อยต้องอาศัยปัจจัยการพิจารณาหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ขนาดของความเสียหาย มูลค่าของความเสียหาย เป็นต้น การประมาณความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นธุรกิจต้องจัดระดับความเสี่ยงว่ากาลังเผชิญอยู่กับ ความเสี่ยงในระดับใด เช่น มีความเสี่ยงระดับน้อย ปานกลาง มาก หรืออาจเป็นความเสี่ยงในระดับ รุนแรง หรือวิกฤต การจัดระดับความเสี่ยงจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงสามารถเลือกใช้ วิธีการบริหารความเสี่ยงว่าจะใช้รูปแบบใดจึงจะเหมาะสม 3. การจัดการความเสี่ยง ผลจากการระบุความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงทาให้ทราบถึงความสาคัญที่ไม่เท่ากัน ของความเสี่ยงในแต่ละเรื่องที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อระบุความถี่และความรุนแรงของความเสี่ยงแล้ว จะสามารถจัดลาดับของความเสี่ยงที่ควรได้รับการจัดการก่อนหลังตามความเหมาะสม การเลือกจัดการความเสี่ยงสามารถทาได้หลายวิธี ดังนี้ 3.1 การหลีกเลี่ยง (Avoidance) เป็นการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการไม่ เผชิญหน้ากับภัยหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น คือ การที่ธุรกิจหรือบุคคลได้ตัดสินใจ ไม่กระทากิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายที่มีผลต่อทรัพย์สินหรือชีวิตของตนเอง เช่น กรณีธุรกิจบางประเภทเมื่อคาดการณ์ว่ามีโอกาสเกิดหนี้สูญในการจาหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ธุรกิจ สามารถหลีกเลี่ยงการไม่จาหน่ายสินค้าเงินเชื่อให้แก่ลูกค้า หรือการตัดสินใจกระทาการบางเรื่องซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งยอมสูญเสียเงินลงทุน จานวนหนึ่งเพื่อการบาบัดของเสียอันเกิดจากสารเคมีซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและ ชุมชนใกล้เคียง เป็นต้น 3.2 การป้องกันหรือการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (Loss Prevention) คือ การที่บุคคล และธุรกิจได้พยายามใช้มาตรการในการลดหรือขจัดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเอง การป้องกัน สามารถกระทาได้หลายวิธี เช่น 3.2.1 การป้องกันการเกิดอัคคีภัย บุคคลหรือธุรกิจสามารถดาเนินการได้หลายวิธี เช่น การใช้วัสดุทนไฟในการก่อสร้าง เช่น วัสดุที่ทาด้วยอิฐ ปูน ซึ่งโอกาสที่จะเกิดเพลิงไหม้มีน้อยกว่า อาคารที่ทาด้วยไม้ หรือการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติทุกชั้นของอาคาร หรือมีการซ้อมรับมือกับ อัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นในองค์การ 3.2.2 การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ขับขี่ยานพาหนะควรปฏิบัติตามกฎ จราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต และ