SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  28
Télécharger pour lire hors ligne
เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
กลุ่มงา
กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาการปลูกพืช
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ 2 ( 2552 )
การพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงเห็ด จากศูนย์ฯ สู่เกษตรกร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัด
เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการศึกษาหารูปแบบการพัฒนาต่างๆ ที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นนํ้า โดยมี
การศึกษาการพัฒนาป่าไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นนํ้าลําธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก ต้นทางเป็นป่าไม้
และปลายทาง เป็นการศึกษาการประมงตามอ่างเก็บนํ้าต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านสหกรณ์ เกษตรกรรม
ปศุสัตว์และโคนม เกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งการตลาด เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาในลักษณะของ
พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่เข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ได้
อย่างแท้จริง
การศึกษาและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงเห็ด เป็นโครงการหนึ่งในการศึกษาและพัฒนาอาชีพ
ด้านเกษตรกรรม ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อช่วยพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น
ทําให้เกษตรกรได้รับอาหารที่มีคุณค่าและได้ใช้เ วลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเกิดรายได้ กิจกรรมแบ่ง
ออกเป็น 3 ส่วน คือ การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ การผลิตหัวเชื้อในเมล็ดธัญพืชและการผลิตก้อนเชื้อ ผลที่ได้
จากการศึกษาวิจัย คือ เทคนิคที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเห็ดหลายชนิด ซึ่งศูนย์ฯได้ขยายผลงาน
เพาะเลี้ยงเห็ดนี้สู่เกษตรกรในลักษณะของการสาธิต ฝึกอบรม และส่งเสริมเผยแพร่ ตลอดจนสนับสนุน
การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรเห็ นคุณค่าและประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเห็ด เพื่อเป็นอาหารและ
รายได้เสริม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จึงได้จัดทําคู่มือนี้เพื่อเผยแพร่
ให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
ผู้อํานวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
สารบัญ
หน้า
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด 1
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก 3
1. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์ (แม่เชื้อ) 4
1.1 การเตรียมอาหารวุ้น (อาหาร PDA) 4
1.2 การ ย้ายเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น 4
2. การผลิตหัวเชื้อ บนเมล็ดธัญพืช (หัวเชื้อหรือเชื้อขยาย) 6
2.1 การเตรียมอาหารข้าวฟ่าง 6
2.2 การย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่าง 7
3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเปิดดอกเห็ด (ก้อนเชื้อเห็ด) 8
3.1 การ เตรียมถุงอาหารเพาะ 8
3.2 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ 10
3.3 การบ่มเส้นใยเห็ด 11
3.4 การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา 12
สรุปผลการศึกษาทดสอบเห็ดชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้เพาะและสูตรอาหารที่เหมาะสม 17
ปัญหาในการเพาะเห็ด ศัตรูเห็ดและการป้องกัน 20
เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่การดําเนินงานของศูนย์ฯ สู่ประชาชน
เจ้าของ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ผู้อํานวยการจัดทํา : นายประดับ กลัดเข็มเพชร
ที่ปรึกษา : นายเฉลิมเกรียติ แสนวิเศษ
: นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์
: นายดนุชา สินธวานนท์
: นายปวัตร์ นวะมะรัตน
: นางฉันทนา สุวรรณธาดา
บรรณาธิการ : นายสุทัด ปินตาเสน
: นางสาวศิริพร หัสสรังสี
กองบรรณาธิการ : นายชัยชาญ สังข์แก้ว
: นางอรทัย ธรรมเสน
: นางสาวศศิธร มหาเสน
: นายณฐนน ฟูแสง
: นางนารี จันทร์เขียว
: นายอดุลย์ มีสุข
: นายนพดล ศรีเรือง
1
คํานํา
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด
เห็ดเป็นเชื้อราขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งในโลกนี้มีเห็ดมากกว่า 350 ชนิด มีเพียง 20 กว่า
ชนิดที่สามารถนํามาเพาะเลี้ยงได้ เห็ดมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเห็ดสดมีโปรตีน 3-5 เปอร์เซ็นต์
เมื่อแห้งมีโปรตีนสูงถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันได้มีการศึกษาทดลองการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ
เห็ดบางชนิดซึ่งมีสายพันธุ์ หลากหลายในประเทศ สามารถนํามาเพาะเลี้ยงได้ ตลอดปี เช่น เห็ด
นางฟ้ า เห็ดนางรม เห็ดเป๋ าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดหอม และเห็ดขอนขา วส่วนเห็ดบางสายพันธุ์ที่นํามา
จากต่างประเทศ แต่สามารถปรับตัวให้เข้ากั บสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดี ก็จะนํามา
เพาะเลี้ยงได้ตลอดปี เช่นกัน เช่น เห็ดนางฟ้ าภูฐาน เป็นต้น นอกจากนี้เห็ดสายพันธุ์ต่างประเทศ
บางชนิด เช่น เห็ดหลินจือ และเห็ดหัวลิง มี สรรพคุณทางด้านโภชนเภสัชภัณฑ์หรือคุณสมบัติทาง
ยา ช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพแข็งแรง และร่างกายสามารถต้านทานโรคบางชนิดได้ดียิ่งขึ้น
กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาการปลูกพืช
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
2
กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาการปลูกพืช ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้ศึกษาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเพาะเห็ด จํานวน 12 ชนิด ได้แก่
ภาพ 1
ภาพ 1.1 เห็ดนางฟ้ า ภาพ 1.2 เห็ดนางรม ภาพ 1.3 เห็ดนางนวล
ภาพ 1.4 เห็ดขอนขาว ภาพ 1.5 เห็ดลมป่ า ภาพ 1.6 เห็ดหูหนู
ภาพ 1.7 เห็ดหอม ภาพ 1.8 เห็ดหลินจือ ภาพ1.9 เห็ดหัวลิง
ภาพ 1.10 เห็ดเป๋ าฮื้อ ภาพ 1.11 เห็ดยานางิ ภาพ 1.12 เห็ดนางรมหลวง
3
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เป็นการเพาะเห็ดที่เลียนแบบธรรมชาติและมีการพัฒนาวิธีการมาใช้
กับเห็ดอีกหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้ า เห็ดนางรม เห็ดเป๋ าฮื้อ เห็ดขอนขาว เห็ดลมป่ า เห็ดหลินจือ เห็ด
หัวลิง เป็นต้น วัสดุหลักที่ใช้ในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ปัจจุบันขี้เลื่อยไม้
ยางพารามีราคาสูงขึ้น และแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหญ่มีอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย
เท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาวัสดุเพาะที่มีศักยภาพในการนํามาทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งใช้เป็น
วัสดุเพาะหลักในปัจจุบัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จึงได้ทดลอง
นําวัสดุในท้องถิ่น ได้แก่ ฟางข้าว หญ้าแฝก ขี้เลื่อยไม้มะม่วง ไม้ฉําฉา ไม้กระถิน ไมยราบยักษ์ ชานอ้อย
เปลือกถั่วเหลือง หรือหญ้าที่ป่ นละเอียด มาใช้เป็นวัสดุในการเพาะ โดยที่ ศูนย์ศึกษา ฯ ได้แบ่งขั้นตอน
การผลิตเห็ดออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ (แม่เชื้อ)
1.1 การเตรียมอาหารวุ้น (อาหาร PDA)
1. 2 การย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น
2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดธัญพืช (หัวเชื้อหรือเชื้อขยาย)
2.1 การเตรียมอาหารข้าวฟ่ าง
2.2 การย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่ าง
3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเปิดดอกเห็ด (ก้อนเชื้อเห็ด)
3.1 การบรรจุถุงอาหารเพาะ
3.2 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ
3.3 การบ่มเส้นใยเห็ด
3.4 การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา
4
ภาพ 2.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เตรียม PDA
1. การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ (แม่เชื้อ)
โดยปกติขั้นตอนในการผลิตเชื้อบริสุทธิ์ ต้องปฏิบัติในห้องที่สะอาดเพื่อป้ องกันการปนเปื้อนจาก
เชื้ออื่น อาหารสําหรับเลี้ยงเชื้อเห็ด คือ อาหาร Potato Dextrose Agar (PDA) มีส่วนประกอบดังนี้
1. มันฝรั่ง 200 กรัม 3. วุ้นผง 20 กรัม
2. นํ้าตาล กลูโคส 20 กรัม 4. นํ้าสะอาด 1 ลิตร
1.1 การเตรียมอาหารวุ้น (PDA) (ภาพ 2)
วิธีการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ทําอาหารวุ้น (ภาพ 2.1) ล้างมันฝรั่งให้สะอาด ปอกเปลือก
แล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ (ภาพ 2.2) นําไปต้มกับนํ้า 1.2 ลิตร โดยใช้ไฟอ่อน ๆ นานประมาณ 15 นาที พอมัน
ฝรั่งสุกนิ่ม (ภาพ 2.3) นํามากรองเอาแต่นํ้า ให้ได้ 1 ลิตร (ภาพ 2.4) จากนั้นนําไปต้มอีกครั้งแล้วใส่วุ้นผง
และนํ้าตาลกลูโคสลงไป(ภาพ 2.5) ให้วุ้นละลายเมื่อได้ที่แล้วนําไปเทใส่ขวดแบนหรือหลอดแก้ว(ภาพ 2.6)
ถ้าใช้หลอดแก้วให้บรรจุวุ้นให้มีความสูงประมาณ 1 นิ้ว จากก้นหลอด ถ้าใช้ขวดแบนให้ บรรจุอาหารวุ้น
สูงประมาณ 2-3 เซนติเมตรจากก้นขวด ปิดหลอดแก้วหรือขวดด้วยจุกสําลี แล้วปิดทับด้วยกระดาษ
นําไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันโดยใช้ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที (ภาพ 2.7)
จากนั้นนําขวดหรือหลอดแก้วที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ววางเอียงประมาณ 15 องศา เพื่อ เพิ่มพื้นที่ผิวหน้าวุ้น
สําหรับเลี้ยงเชื้อต่อไป (ภาพ 2.8)
ภาพ 2 ขั้นตอนการเตรียมอาหารวุ้น (PDA)
ภาพ 2.2 หั่นมันฝรั่งเป็นชิ้นบาง ๆ ภาพ 2.3 ต้มมันฝรั่งโดยใช้ไฟอ่อน
ภาพ 2.4 กรองเอาแต่นํ้าให้ได้ 1 ลิตร ภาพ 2.5 นําไปต้ม เติมวุ้นและกลูโคส ภาพ 2.6 บรรจุอาหารวุ้นลงขวด
ภาพ 2.7 นึ่งขวดบรรจุอาหารวุ้นที่ความดัน
15 ปอนด์/ตารางนิ้ว 30 นาที
ภาพ 2.8 นํามาเอียงเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว
5
3. ตู้เขี่ยเชื้อ
1.2 การย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น (ภาพ 3)
วิธีการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์การย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ด (ภาพ 3.1) ได้แก่ ดอกเห็ด อาหารวุ้น เข็มเขี่ย
ตะเกียงแอลกอฮอล์ ตู้เขี่ยเชื้อ คัดเลือกดอกเห็ดที่สมบูรณ์ มีลักษณะที่ต้องการ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
ไม่มีโรคหรือแมลงเข้าทําลาย (ภาพ 3.2) นํามาฉีกดอกตามยาว โดยทําภายในตู้ปลอดเชื้อ (ภาพ 3.3) ใช้
เข็มเขี่ยเชื้อ เขี่ยเนื้อเยื่อด้านในของดอกเห็ด (ภาพ 3.4) วางลงบนอาหารวุ้น (PDA) ที่เตรียมไว้ (ภาพ 3.5)
หลังจากเขี่ยเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงอาหารวุ้นแล้ว บ่มไว้ในห้องที่สะอาด ประมาณ 10-15 วัน เส้นใยของเชื้อ
เห็ดจะเจริญเติบโตจนเต็มผิวอาหารวุ้น (ภาพ 3.6) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดและสิ่งแวดล้อม ในระยะ
นี้ต้องตรวจดูการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดเพื่อคัดเลือกเชื้อเห็ดที่สมบูรณ์ เชื้อเห็ดที่ดี เส้นใย จะต้องเจริญ
แผ่รัศมีเป็นวงกลมไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยุบหรือเว้าแหว่ง หรือมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์อื่น ๆ เจริญ
เต็มผิวอาหารวุ้นอย่างสมํ่าเสมอ เชื้อเห็ดที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ สามารถใช้เป็นแม่พันธุ์ต่อไปได้
ภาพ 3 ขั้นตอนการย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น
ภาพ 3.2 ลักษณะดอกเห็ดที่คัดเลือก
2. อุปกรณ์
ภาพ 3.4 เขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด ภาพ 3.5 วางบนอาหารวุ้น ภาพ 3.6 เส้นใยเจริญเต็ม (แม่เชื้อ)
ภาพ 3.1 วัสดุอุปกรณ์ในการเขี่ยเนื้อเยื่อดอกเห็ด ภาพ 3.3 ปฏิบัติงานในตู้ปลอดเชื้อ
6
2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดธัญพืช (หัวเชื้อหรือเชื้อขยาย)
การผลิตหัวเชื้อในเมล็ดธัญพืช ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมอาหารสําหรับเลี้ยงเส้นใยเห็ด เพื่อเพิ่ม
ปริมาณเส้นใยก่อนถ่ายหัวเชื้อลงถุงอาหารเพาะ เมล็ดธัญพืชที่นิยมใช้เพื่อ การผลิตหัวเชื้อ คือ เมล็ดข้าว
ฟ่ าง เพราะหาง่ายและราคาถูก อาจใช้เมล็ดข้าวเปลือกแทนได้ วิธีการเตรียมเพื่อขยายเส้นใยมีดังนี้
2.1 วิธีการเตรียมอาหารข้าวฟ่ าง (ภาพ 4)
2.1.1 นําเมล็ดข้าวฟ่ างแช่นํ้า คัดเอาสิ่งเจือปนออกแล้วแช่นํ้าทิ้งไว้ 1 คืน(ภาพ 4.1)
2.1.2 ต้มเมล็ดข้าวฟ่ างให้สุกเพียงภายนอก ภายในเมล็ดข้าวฟ่ างเป็นสีขาว(ภาพ 4.2)
2.1.3 ผึ่งเมล็ดข้าวฟ่ างที่นึ่งแล้ว เพื่อลดความชื้น (ภาพ 4.3)
2.1.4 บรรจุเมล็ดข้าวฟ่ างลงในขวดแบนประมาณครึ่งขวด หรือ 2 ใน 3 ส่วนปิดจุกด้วย
สําลี หุ้มด้วยกระดาษทับอีกทีหนึ่ง (ภาพ 4.4)
2.1. 5 นําขวดเมล็ดข้าวฟ่ างไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันโดยใช้ความดันที่15
ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที(ภาพ 4.5)
2.1.6 เมื่อขวดอาหารข้าวฟ่ างเย็นตัวลง เขย่าขวดให้ความชื้นของเมล็ดในขวดกระจาย
ทั่วถึง เพื่อช่วยให้เส้นใยเห็ดเดินเร็วขึ้น(ภาพ 4.6)
ภาพ 4 วิธีการเตรียมอาหารข้าวฟ่ าง
ภาพ 4.1 แช่เมล็ดข้าวฟ่ างไว้ 1 คืน ภาพ 4.2 ต้มเมล็ดข้าวฟ่ างให้สุกพอปริ ภาพ 4.3 ผึ่งเมล็ดข้าวฟ่ างลดความชื้น
ภาพ 4.4 กรอกเมล็ดข้าวฟ่ าง
ใส่ขวดแบน 2 ใน 3 ขวด
ภาพ 4.5 นํามานึ่งที่ความดัน 15
ปอนด์/ตารางนิ้วนาน 30 นาที
ภาพ 4.6 ขวดที่นึ่งแล้วรอให้เย็น
เพื่อเขี่ยเชื้อ
7
2.2 การย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่ าง (ภาพ 5)
วิธีการทําขั้นตอนนี้ เริ่มจากเลือกขวดแม่เชื้อเห็ดที่เส้นใยเจริญเต็มผิวหน้าวุ้นใหม่ ๆ
(ภาพ 5.1) นําไปย้ายเชื้อภายในตู้ปลอดเชื้อ (ภาพ 5.2) โดยใช้เข็มเขี่ยเชื้อลนไฟให้ร้อนจนแดงจัด รอให้
เข็มเขี่ยเย็นลง ตัดอาหารวุ้นขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร ให้ มีเส้นใยเห็ดติดมาด้วย (ภาพ 5.3)
วางลงบนเมล็ดข้าวฟ่ างบริเวณตรงกลางขวด (ภาพ 5.4) จากนั้นเส้นใยเห็ดจะเจริญ แผ่รัศมีเป็นวงกลม
(ภาพ 5.5) เส้นใยเห็ดใช้เวลาประมาณ 10-20 วันจึงเจริญเต็มอาหารข้าวฟ่ าง (ภาพ 5.6)
ภาพ 5 วิธีการย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่ าง
ภาพ 5.1 แม่เชื้อเห็ด ภาพ 5.2 ตู้เขี่ยเชื้อ
ภาพ 5.4 วางชิ้นวุ้นบนอาหารข้าวฟ่ าง ภาพ 5.5 การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด
ภาพ 5.3 ตัดแม่เชื้อ
ภาพ 5.6 เส้นใยเจริญเต็มขวดหัวเชื้อ
8
3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเปิดดอกเห็ด (ก้อนเชื้อเห็ด)
3.1 การเตรียมถุงอาหารเพาะ
วัสดุอุปกรณ์
- วัสดุเพาะได้แก่ ฟางข้าว ชานอ้อย เปลือกถั่วต่าง ๆ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ไม้ฉําฉา
ไม้มะม่วง ไม้กระถิน ไม้เบญจพรรณ ไมยราบยักษ์ เป็นต้น
- หัวเชื้อที่เจริญบนเมล็ดธัญพืช (ข้าวฟ่ าง)
- ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6½ นิ้ว x 12½ นิ้ว หรือ 7 x 13 นิ้ว
- คอขวดพลาสติก หรือไม้ไผ่รวก ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้ว
- สําลีหยาบ ยางรัด กระดาษ ฝาจุก
- แอลกอฮอล์สําหรับฆ่าเชื้อ และแอลกอฮอล์สําหรับจุดไฟ
- ถังนึ่งไม่อัดความดัน (หม้อนึ่งลูกทุ่ง)
- โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใย
- โรงเรือนสําหรับเปิดดอกเห็ด
สูตรถุงอาหารเพาะ
สูตร 1 ฟางข้าวแห้งสับเป็นท่อนยาว 4-6 นิ้ว 100 กิโลกรัม
ยูเรีย 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ปุ๋ ยดับเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 2 กิโลกรัม
รําละเอียด 5 กิโลกรัม
สูตรนี้ใช้ได้ดีกับ เห็ดนางฟ้ า นางรม และเห็ดเป๋ าฮื้อ เป็นสูตรดัดแปลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็น
สูตรทดแทนการใช้ขี้เลื่อย วิธีการเตรียม คือ แช่ฟางให้อิ่มนํ้า หมักกับยูเรียตั้งเป็นแท่งโดยใช้แบบพิมพ์
ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และสูงครึ่งเมตร เช่น เดียวกับการตั้งกองปุ๋ ยหมัก หลังจากนั้นเอาแบบ
พิมพ์ออก คลุมกองฟางด้วยพลาสติก หมักทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นกลับกองฟางหมัก พร้อมกับใส่ปูนขาว
ลงไปหมักต่ออีก 3-4 วัน แล้วกลับกองฟางอีกครั้ง ครั้งนี้ใส่ปุ๋ ยสูตร 0-46-0 ลงไปด้วย หมักต่ออีก 3-4 วัน
กลับกองฟางหมักอีกครั้ง จากนั้นนําไปบรรจุลงถุงได้เลย หรือใช้อาหารเสริมรําละเอียด 5% ผสมด้วยก็ได้
9
สูตร 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
รําละเอียด 5 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
นํ้าปรับความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์
สูตร 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
รําละเอียด 8 กิโลกรัม
นํ้าตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
แป้ งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
นํ้าปรับความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์
วิธีการเตรียมถุงอาหารเพาะ (ภาพ 6)
เตรียมส่วนผสมแต่ละอย่างตามสูตรที่ต้องการ (ภาพ 6.1)นําส่วนผสมทุกอย่างมาผสมคลุกเคล้าให้
เข้ากัน(ภาพ 6.2)เติมนํ้าลงไปให้มีความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์ตรวจสอบได้ง่าย ๆ ด้วยการกําส่วนผสมไว้
ในอุ้งมือแล้วบีบให้แน่น เมื่อคลายมือออกแล้ว หากส่วนผสมยังคงจับเป็นก้อนและไม่มีนํ้าซึมออกมาทาง
ง่ามนิ้วมือเป็นอันว่าใช้ได้ นําส่วนผสมไปบรรจุถุง พลาสติกที่ทนร้อน ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้ว หนา 0.8-
1.10 ม.ม. ประมาณ 800-1,000 กรัม (ภาพ 6.3) อัดให้แน่นพอสมควร จากนั้นใส่คอขวดแล้วปิดปากขวด
ด้วยฝาจุกประหยัดสําลี นําไปนึ่งฆ่าเชื้อ ด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง โดยการนําไปจัดเรียงเป็นชั้นๆ ลงในถัง 200
ลิตร (ภาพ 6.4) ใส่ นํ้าให้สูงจากก้นถังประมาณ 6-8 นิ้ว วางตะแกรงลงให้อยู่เหนือระดับนํ้าเล็กน้อย จัด
วางก้อน เชื้อเรียงกันอย่าให้แน่น ถังหนึ่งจะบรรจุก้อนเชื้อได้ประมาณ 70-80 ถุง ปิดฝาถังและรัดเข็มขัด
อีกชั้นหนึ่ง (ภาพ 6.5) จากนั้นต้มนํ้าจนเดือด สังเกตจากรูที่เจาะไว้ที่ฝา เมื่อไอนํ้า เดือดพุ่งตรงให้เริ่มจับ
เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอนํ้าให้พุ่งออกมาอย่างสมํ่าเสมอ หลังจากนั้น จึงดับไฟ เปิดถัง
นึ่ง แล้วทิ้งก้อนเชื้อไว้ให้เย็น (ภาพ 6.6)
10
ภาพ 6 การเตรียมถุงอาหารเพาะ
3.2 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ
วิธีการ การถ่ายหัวเชื้อควรทําในห้องที่สะอาด ลมไม่ โกรก นําอุปกรณ์ต่างๆ และก้อน
เชื้อเข้าไปในห้องเขี่ยเชื้อ เขย่าหัวเชื้อหรือใช้เข็มเขี่ยที่ลนไฟฆ่าเชื้อแล้วเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่ างให้กระจาย เช็ด
ปากขวดหัวเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70% เปิดจุกสําลีที่ปากขวดพร้อมทั้งลนปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์
แล้วเทหัวเชื้อลงในถุงอาหารเพาะประมาณ 15-20 เมล็ดต่อถุง อย่างรวดเร็ว ปิดจุกสําลีที่ปากถุงเพื่อ
ป้ องกันไม่ให้ปนเปื้อนเชื้ออื่นๆ แล้วเขย่าถุงก้อนเชื้อเบาๆ ให้เมล็ดข้าวฟ่ างกระจายออกเต็มหน้าก้อนเชื้อ
ต่อเชื้อถุงอื่นต่อไปจนหมด แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางรัด แล้วนําก้อนเชื้อเข้าห้องบ่มเชื้อ
ต่อไป หัวเชื้อ 1 ขวด สามารถหยอดได้ประมาณ 40-50 ถุง
ภาพ 7 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ
ภาพ 7.1 หัวเชื้อเห็ด ภาพ 7.2 ถ่ายหัวเชื้อลงในถุง
อาหารเพาะ 15 - 20 เมล็ด/ถุง
ภาพ 7.3 ปิดปากถุงด้วยกระดาษ
1. ส่วนผสม ภาพ 6.2 ใส่ส่วนผสมตามสูตร ภาพ 6.3 บรรจุถุงอาหารเพาะ
ถุงละ 800-1,000 กรัม
ภาพ 6.5 ปิดฝาถังและรัดเข็มขัด ภาพ 6.6 ทิ้งถุงอาหารเพาะไว้
ให้เย็น
ภาพ 6.1 เตรียมส่วนผสม
ภาพ 6.4 จัดเรียงถุงอาหารเพาะ
เป็นชั้นๆ
11
3.3 การบ่มเส้นใยเห็ด
โรงเ รือนที่ใช้สําหรับบ่มก้อนเชื้อเห็ดนั้น ควรเป็นโรงเรือนที่สะอาด ถ่ายเทอากาศได้
สะดวก อุณหภูมิค่อนข้างสมํ่าเสมอ ควรเป็นห้องที่ค่อนข้างมืดหรือมีแสงสว่างน้อย ทําเป็น ชั้นวางก้อน
เชื้อประมาณ 4-6 ชั้น หรือเป็นชั้นรูปตัว A (ภาพ 8) โรงเรือนบ่มเชื้อ ควรมีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศา
เซลเซียส จากนั้นเชื้อเห็ดจะเริ่มเจริญเป็นเส้นใยสีขาว จากส่วนบนของคอขวดพลาสติกลงมา เชื้อเห็ดจะ
เจริญเต็มก้อนเชื้อในเวลาประมาณ 30-45 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดและ สภาพแวดล้อมในช่วงของการ
เจริญของเส้นใย รวมถึงขนาดของก้อนเชื้อด้วย
ระยะเวลาในการบ่มเส้นใยของก้อนเชื้อเห็ด
เห็ดนางฟ้ า นางรม ภูฐาน นางรมฮังการี ใช้เวลาบ่มเส้นใย 1 - 1.5 เดือน
เห็ดหูหนู , เป๋ าฮื้อ ใช้เวลาบ่มเส้นใย 1.5 – 2 เดือน
เห็ดขอนขาว ใช้เวลาบ่มเส้นใย 28 - 30 วัน
เห็ดลมป่ า ใช้เวลาบ่มเส้นใย 4 - 5 เดือน
เห็ดหอม ใช้เวลาบ่มเส้นใย 4 - 5 เดือน
เห็ดหลินจือและหัวลิง ใช้เวลาบ่มเส้นใย 1.5 - 2 เดือน
หมายเหตุ ระยะเวลาการบ่มเส้นใยของก้อนเชื้อเห็ดขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
เช่น อุณหภูมิ ความชื้น วัสดุเพาะ อาหารเสริม และแสงสว่าง
ภาพ 8 การบ่มเส้นใยเห็ดลักษณะแบบชั้น รูปตัว A
12
3.4 การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา
โรงเรือนสําหรับเปิดดอก ควรสร้างจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นเพื่อเป็นการประหยัด
ต้นทุน วัสดุสําหรับมุงหลังคาและฝาผนัง ควรใช้หญ้าคาหรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถทดแทนได้ เช่น
พลาสติก หรือตาข่ายสีดํา
ภายในโรงเรือนต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี เข้าไปภายในโรงเรือนจะต้องหายใจสะดวก
แสงและอุณหภูมิ ควรพอเหมาะสําหรับเห็ดแต่ละชนิด (ตาราง 1)
วิธีการเปิดดอกเห็ดขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เช่น เห็ดนางฟ้ า เห็ดนางรม เห็ดเป๋ าฮื้อ และ
เห็ดนางนวล การเปิดดอกทําได้โดยดึงจุกที่อุดปากหรือปิดถุงออก นําถุงก้อนเชื้อไปเรียงซ้อนกันไว้บนชั้น
รูปตัวเอ (ภาพ 9) รดนํ้าให้ความชื้นภายในโรงเรือน เช้า กลางวัน และเย็น แต่ระวังอย่าให้นํ้าเข้าถุงก้อน
เชื้อ เพราะจะทําให้ก้อนเชื้อเน่าและเสียหายเร็ว โดยรักษาความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 70-90 เปอร์เซ็นต์
หลังจากเปิดถุงได้ 7-14 วัน จะปรากฏดอกเห็ดขนาดเล็กออกมาจากปากถุง
การเก็บเกี่ยวดอกเห็ด เมื่อดอกเห็ดมีอายุปานกลางไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป (ภาพ 10)
ใช้มือจับดอกเห็ดแล้วดึงเบาๆ โยกไปทางซ้ายและขวา ดอกเห็ดจะหลุดออกมา การเก็บผลผลิตควรเก็บไป
เรื่อยๆ จนกว่าก้อนเชื้อจะหมดอายุ ประมาณ 3-4 เดือน
ภาพ 9 ลักษณะการจัดวางก้อนเชื้อในโรงเรือนเปิดดอกบนชั้นรูปตัวเอ
ภาพ 10 ลักษณะดอกเห็ดที่มีอายุเหมาะสําหรับเก็บเกี่ยว
เห็ดนางฟ้ า
เห็ดนางรม
เห็ดนางนวล
เห็ดเป๋ าฮื้อ
13
วิธีการเปิดดอกเห็ดหูหนู (ภาพ 11) ให้ดึงจุกสําลีและถอดคอขวดออก และพับปากถุง
เป็นจุก ใช้เชือกมัด จากนั้น ใช้มีดคมกรีดข้าง ๆ ถุง เป็นแนวเฉียง 4 แถว (ภาพ 11.1) เสร็จแล้วนําถุงก้อน
เชื้อไปแขวนในโรงเรือนเปิดดอก (ภาพ 11.2) รดนํ้าพื้นโรงเรือนเพื่อรักษาความชื้นสัมพัทธ์ ภายใน
โรงเรือน 80-90 เปอร์เซ็นต์ จากนั้น 10-15 วัน จะพบว่าเกิดดอกเห็ดขนาดเล็กขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยว
ได้หลังจากนั้นอีก 5-10 วัน
ภาพ 11 วิธีการเปิดดอกเห็ดหูหนู
สําหรับการเปิดดอกเห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่ า (ภาพ 12) หลังจากที่บ่มเส้นใยเต็มแล้ว
คัดเอาก้อนเชื้อเห็ดที่แข็งแรงนําไปวางบนแผงวางก้อนเชื้อแบบตัวเอ (ภาพ 12.1) จากนั้น จึงดึงกระดาษ
สําลี แล้วค่อย ๆ ถอดคอขวดพลาสติกออก ดึงปา กถุงเล็กน้อยเพื่อให้ได้เริ่มสัมผัสอากาศประมาณ 3-5 วัน
หรือดูว่าหน้าก้อนเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลดําหรือเริ่มเกิดตุ่มดอก(ภาพ 12.2 และ 12.3) จากนั้นให้ใช้มีดกรีด
ถุงพลาสติกออกโดยกรีดเลยไหล่ถุงประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วรดนํ้าให้ความชื้นวัน ละ 3-4 ครั้ง ขึ้นอยู่
กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติของแต่ละวัน ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิ ที่เหมาะสม
ในช่วงเปิดดอกอยู่ที่ 33-40 องศาเซลเซียส
ภาพ 12 วิธีการเปิดดอกเห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่ า
ภาพ 11.1 กรีดข้างถุงเห็ดหูหนูเพื่อให้เกิดดอก
ภาพ 12.1 การเปิดหน้าก้อนเห็ดขอนขาว
ภาพ 12.2 ลักษณะโรงเรือนเปิดดอกเห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่ า
ภาพ 11.2 ลักษณะการแขวนก้อนเชื้อเห็ดหูหนูในโรงเรือน
ภาพ 12.2 หน้าก้อนเห็ดลมป่ าเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลดํา
14
การเปิดดอกเห็ดหอม หลังจากการบ่มเส้นใยเห็ดหอม ในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิประมาณ 24-25
องศาเซลเซียส สมํ่าเสมอ อากาศถ่ายเทได้ดี จนเส้นใยรวมตัวกัน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3.5-4 เดือน การเปิด
ดอกทําได้หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่นิยมคือ
หลังจากการบ่มเส้นใยเห็ดครบ 4 เดือนแล้ว ให้ถอดคอขวดพลาสติกออก แล้วพับปากถุงทําเป็น
ปากฉลาม ทิ้งไว้ 15 วัน แล้วสังเกตหน้าก้อนเห็ด ถ้าเริ่มเป็นสีนํ้าตาลให้กรีดรอบปากถุง (ภาพ 13.1)
รักษาความชื้น ภายในโรงเรือนประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดอกเห็ดเจริญเริ่มเห็ นหมวกเห็ด รักษา
ความชื้นสัมพันธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิที่แปรปรวน ระหว่างให้ผลผลิตจะ
ช่วยกระตุ้นการเกิดดอกเห็ด แต่ไม่ควรให้มีช่วงอุณหภูมิสูงเกินกว่า 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน
ติดต่อกัน หลังจากเก็บดอกเห็ดในแต่ละรุ่น ก้อนเชื้อเห็ดจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน เมื่อต้องการ
กระตุ้นให้เกิดดอกอีกก็รดนํ้าให้ความชื้น ที่ก้อนเชื้อ จนหน้าก้อนนิ่ม จากนั้นก็กระตุ้นด้วยวิธีการตบหน้า
ก้อนเห็ด ประมาณ 3-5 วัน เห็ดก็จะเริ่มออกดอก รักษาอุณหภูมิความชื้นสัมพันธ์ภายในโรงเรือนให้
เหมาะสม การเก็บดอกเห็ดหอมควรเก็บดอกที่ยังตูม (ภาพ 13.2 และ 13.3) เยื่อข้างในยังไม่ขาดจากกัน
เก็บผลผลิตไปเรื่อย ๆ จนกว่าก้อนเชื้อจะยุบตัวลง
ภาพ 13 วิธีการเปิดดอกเห็ดหอม
ภาพ 13.3 ลักษณะดอกเห็ดหอม
ที่พร้อมเก็บเกี่ยว
ภาพ 13.2 ลักษณะการออกดอก
เห็ดหอม
ภาพ 13.1 กรีดรอบปากถุงเมื่อหน้า
ก้อนเห็ดหอมเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล
15
ตาราง 1 อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญระยะเส้นใยและระยะเปิดดอก
ของเห็ดชนิดต่าง ๆ
ชื่อเห็ด
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) ระยะที่เจริญเป็นดอกเห็ด
ระยะเส้นใย ระยะดอก ความชื้นสัมพัทธ์ (%) แสง
เห็ดนางรม 24 – 32 20 – 28 70 – 90 เล็กน้อย
เห็ดนางฟ้า 22 – 25 15 – 25 70 – 90 เล็กน้อย
เห็ดภูฐาน 24 – 28 25 –32 70 – 90 เล็กน้อย
เห็ดเป๋ าฮื้อ 24 – 28 28 – 32 70 – 90 เล็กน้อย
เห็ดหูหนู
25 – 32 25 – 35 70 – 90 เล็กน้อย
เห็ดขอนขาว 28 – 32 28 – 35 70 – 90 ปานกลาง
เห็ดลมป่า 28 – 32 33 – 36 60 - 90 เล็กน้อย
เห็ดหอม 24 – 25 10 – 28 60 – 90 เล็กน้อย
เห็ดหลินจือ 28 – 32 26 – 28 85- 90 เล็กน้อย
เห็ดหัวลิง 21 – 25 15 - 22 60 – 70 เล็กน้อย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ด
1. อุณหภูมิ ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย คือ 25-30 องศาเซลเซียส
2. ความชื้น ในถุงอาหารเพาะควรจะมีความชื้นที่เหมาะสมคือประมาณ 55-60 เปอร์เซ็นต์ ส่วน
ในช่วงเปิดดอกนั้นควรมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 70- 90เปอร์เซ็นต์
3. อากาศ ภายในโรงเรือนควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี กรณีที่โรงเรือนเปิดดอกมีการระบายถ่ายเท
อากาศไม่ดี จะมีปัญหา เห็ดขาดออกซิเจน ทําให้เส้นใยเห็ดไม่สามารถสร้างตุ่มดอกได้ สภาพ
ดอกเห็ดจะผิดปกติ และผลผลิตตํ่า
4. แสงสว่าง แม้ว่าเส้นใยเห็ดจะไม่ต้องการแสงในช่วงการบ่มเส้นใย แต่ช่วงเปิดดอกเห็ดต้องการ
แสงในระดับหนึ่งที่พอเหมาะ จึงจะมีพัฒนาการของดอกเห็ดที่สมบูรณ์
5. สารอาหาร ควรให้มีสารอาหารพอเพียงตามที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการ
6. ความเป็นกรดเป็นด่าง การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดควรอยู่ในสภาพอาหารที่เป็นกรด จนถึง
ระดับกลาง คือมีค่า pH ประมาณ 5.5 – 7
16
จากขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลิตเห็ดแต่ละชนิด เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า ทุกขั้นตอนมี
ความสําคัญเหมือนกันหมด แต่หัวใจหลักในการเพาะเห็ด คือ ความสะอาด ซึ่งต้องเน้นเป็นพิเศษ เพราะ
ถ้าเกิดปัญหา โรคและแมลงที่รุนแรงแล้วไม่สามารถที่จะเยียวยาได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ
การป้ องกัน ซึ่งสามารถนําไปปฏิบัติได้ คือ
1. การดูแลเกี่ยวกับการสุขาภิบาล ภายในฟาร์มให้ดีที่สุด คือ ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติต้อง
คํานึงถึงเรื่องความสะอาด “เป็นหัวใจสําคัญ”
2. การพักโรงเรือน และทําความสะอาดหลังจากเก็บผลผลิตเห็ดหมดแต่ละรุ่น หรือตาม
ระยะเวลาที่เหมาะสม
3. เพาะเห็ดหลายชนิดสลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคแมลง
4. การดูแลเอาใจใส่ เห็ดทุกระยะอย่างละเอียดและสมํ่าเสมอ ต้องเป็นคนช่างสังเกต และหมั่น
แสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อมาประยุกต์ใช้ในฟาร์ม จะช่วยให้การผลิตเห็ดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
17
การศึกษาทดสอบ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้ศึกษาสูตรอาหารและวัสดุ
เพาะที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดชนิดต่าง ในสภาพแวดล้อมของศูนย์ฯ จากการทดสอบพบว่าเมื่อปรับ
ส่วนผสมบางส่วนสามารถทําให้เห็ดหลายชนิดมีผลผลิตค่อนข้างดี ดังนี้
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
รําละเอียด 8 กิโลกรัม
นํ้าตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
แป้ งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
นํ้าปรับความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์
หมายเหตุ การเพาะเห็ดหอม เพิ่ม แคลเซี่ยม 1 กิโลกรัม
ยิปซั่ม 1 กิโลกรัม
สูตรนี้เมื่อใช้ทดสอบกับ เห็ดหูหนู เห็ดกระด้าง เห็ดขอนขาว เห็ดหอ และเห็ดเป๋ าฮื้อ ขนาด
บรรจุถุงละ 800 กรัม ได้ผลดังตาราง 2
ตาราง 2 ระยะเวลาการเจริญทางเส้นใย ระยะเวลาการให้ผลผลิต และผลผลิตของเห็ดหูหนู เห็ดกระด้าง
เห็ดขอนขาว เห็ดหอม และเห็ดเป๋ าฮื้อ เมื่อเพาะโดยใช้อาหารสูตรปรับปรุง
ชนิดเห็ด
ระยะเวลาการเจริญทางเส้นใย
(วัน)
ระยะเวลาการให้ผลผลิต
(วัน)
ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/ถุง)
เห็ดหูหนู 85 59 380
เห็ดกระด้าง 98 59 120
เห็ดขอนขาว 53 108 110
เห็ดหอม 174 172 120
เห็ดเป๋ าฮื้อ 46 124 200
18
นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริยังได้ศึกษาการใช้ การ
ใช้ขี้เลื่อยไม้ฉําฉาร่วมกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราในการเพาะเห็ดหอมเพื่อลดต้นทุนในการผลิต โดยการ
เปรียบเทียบอัตราส่วนของขี้เลื่อยไม้ฉําฉาต่อขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ใช้เป็นวัสดุเพาะในระดับต่างๆ กัน ดังนี้
1. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 100 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 0 %
2. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 75 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 25 %
3. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 50 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 50 %
4. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 25 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 %
5. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 0 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 %
นําวัสดุเพาะในแต่ละอัตราส่วนมาผสมกับรําละเอียด : แป้ งข้าวเหนียว : ปลายข้าว : นํ้าตาล
ทรายแดง : ดีเกลือ : ยิปซั่ม : ปูนขาว : แคลเซียม ในอัตราส่วน 5 : 1 : 2 : 2 : 0.2 : 1 : 1: 1 คลุกเคล้า
ส่วนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้นํ้าปรับความชื้นที่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ บรรจุใส่ถุงๆ ละ 800 กรัม พบว่า
การผสมขี้เลื่อยไม้ฉําฉาในวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อยไม้ยางพารา ให้ผลผลิตที่ดีทุกอัตราส่วน ดังแสดงใน
ตาราง 4
ตาราง 4 ระยะเวลาการเจริญทางเส้นใย ระยะเวลาการให้ผลผลิต และผลผลิตของ เห็ดหอม เมื่อเพาะโดย
ใช้วัสดุเพาะที่เป็นส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้ฉําฉา/ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ในระดับต่างๆ
อัตราส่วนขี้เลื่อยไม้ฉําฉา/
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา
ระยะเวลาการเจริญ
ทางเส้นใย (วัน)
ระยะเวลาการให้ผล
ผลิต (วัน)
ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/ถุง)
100/0 61 70 120
75/25 61 70 110
50/50 61 70 110
25/75 61 70 100
0/100 66 70 80
การเผยแพร่ผลงาน
เนื่องจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีกิจกรรมต่างๆ
หลากหลาย อีกทั้งยังมีการศึกษาทดสอบเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมมาพัฒนาให้เหมาะกับพื้นที่ ดังนั้น จึง
มีผู้เข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาดูงานกิจกรรมภายในศูนย์ฯ ตลอดทั้งปี ผู้เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมของศูนย์ มีทั้ง
บุคคลสําคัญจากในและต่างประเทศ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆทั้งภาครัฐ
และเอกชน รวมทั้งผู้ที่สนใจทั่วไป นอกจากเข้าเยี่ยมชมแล้ว ยังสามารถขอเข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพ
การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ซึ่งดําเนินการตั้งแต่ปี 2546-2551 ดังแสดงในตาราง5
19
ตาราง 5 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ
บุคคลเป้ าหมาย
2546 2547 2548 2549 2550 2551 รวม
รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน
พื้นที่ปกติ 6 120 2 40 3 60 2 40 2 40 2 20 17 320
พื้นที่ยุทธศาสตร์ 1 22 0 0 5 100 9 205 6 137 8 190 29 657
ผู้สนใจทั่วไป 13 203 12 253 15 409 15 321 20 381 16 288 91 2,055
รวม 20 345 14 293 23 569 23 566 28 558 26 498 137 3,032
20
ปัญหาในการเพาะเห็ด
ในการเพาะเห็ดอาจมีปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน ดังแสดงในตาราง 6
ตาราง 6 ปัญหาในการผลิตเห็ด สาเหตุ และแนวทางแก้ไข
ขั้นตอนการผลิต ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข
การผลิตก้อนเชื้อ ปุ๋ ยหมักยังมีกลิ่นเหม็น
เปรี้ยว
การกลับกองปุ๋ ยหมักไม่
ทั่ว ไม่สมํ่าเสมอ
การกลับกองปุ๋ ยหมักไม่
ทั่ว ไม่สมํ่าเสมอ
ปุ๋ ยเละหรือชื้นมาก
เกินไป
เกลี่ยผึ่งให้ความชื้น
ระเหยออกไปบ้าง และ
เพิ่มยิปซั่มเข้าไปผสม
ให้ทั่ว เพื่อป้องกันการ
อัดแน่นของปุ๋ ยและทํา
การหมักต่อไปจนปุ๋ ย
หมักมีกลิ่นหอม
เชื้อเห็ดไม่เจริญเข้าไป
ในวัสดุเพาะ
เชื้อเห็ดตายหรือเสีย ไม่ถ่ายเชื้อในช่วงที่ก้อน
เห็ดยังร้อน และเลือก
เชื้อที่มีสภาพดีเขี่ยเชื้อขณะที่ก้อนวัสดุ
เพาะยังร้อนระอุอยู่
ก้อนวัสดุมีก๊าซพิษ เช่น
แอมโมเนีย หลงเหลือ
อยู่
พักก้อนให้ก๊าซพิษ
ระเหยออก
อุณหภูมิในห้องบ่มเชื้อ
สูงหรือตํ่า เกินกว่าที่
เส้นใยจะเจริญเติบโต
ได้
ปรับสภาพอุณหภูมิใน
ห้องให้เหมาะกับการ
เจริญของเส้นใย
เชื้อเห็ดเจริญไม่ถึงก้น
ถุงแล้วหยุดการ
เจริญเติบโต
ก้อนเชื้อเปียกมาก
เกินไป
ไม่ควรผสมก้อนเชื้อให้
เปียกมากเกินไป
ก้อนเชื้อค่อนข้างเปียก
และมีเชื้อแบคทีเรีย
เนื่องจากการนึ่งไม่ได้ที่
เชื้อเห็ดเดินผิดปกติมาก
ควรนึ่งฆ่าเชื้อให้ได้ครบ
ตามกําหนดเวลา และ
ความร้อนที่เหมาะสม
21
ขั้นตอนการผลิต ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข
ภายในก้อนเชื้อมีก๊าซ
พิษอยู่
ทิ้งช่วงให้ก๊าซพิษระเหย
ออกไป
ในกรณีที่ใช้ขี้เลื่อยไม้
เบญจพรรณ อาหารไม่
สมบูรณ์หรืออยู่ในรูปที่
เห็ดเอาไปใช้ได้ลําบาก
เพิ่มสารอาหารที่เห็ด
ต้องการให้เหมาะสม
ความร้อนภายในโรง
บ่มสูงมากเกินไป
ปรับสภาพอุณหภูมิให้
เหมาะสม
การเปิดดอกเห็ด ดอกเห็ดออกช้า หรือ
ออกน้อย ผลผลิตตํ่า
ใช้เชื้อเห็ดที่อ่อนไม่
แข็งแรง
เลือกเชื้อเห็ดจากผู้ผลิต
ที่เชื่อถือได้
มีอาหารเห็ดไม่เพียงพอ เพิ่มอาหารให้เพียงพอ
กับชนิดของเห็ด
นํ้าที่ใช้อาจจะมีธาตุ
บางอย่างสูงเกินไป
จนกระทั่งเป็นอันตราย
ต่อเห็ด
เลือกใช้นํ้าจากแหล่งนํ้า
สะอาด
ดอกเห็ดมีก้านยาว
หมวกดอกเห็ด สีซีด
โรงเรือนเปิดดอกมีการ
สะสมก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์
มากเกินไป เมื่อเข้าไป
ปฏิบัติการจะรู้สึกอบ
อ้าวหายใจอึดอัด
ทําการแก้ไขเกี่ยวกับ
การระบายอากาศ โดย
ให้มีอากาศถ่ายเทได้
สะดวกเมื่อเข้าไปใน
โรงเรือนจะรู้สึกหายใจ
ปลอดโปร่ง
ดอกเห็ดรุ่นหลังดอก
แห้งเหี่ยวตาย
เกิดจากการรักษาระดับ
ความชื้นไม่ดีพอ
ผิวหน้าของก้อนเชื้อเห็ด
แห้ง
ให้ความชื้นในโรงเรือน
ให้เหมาะสมตามที่เห็ด
ต้องการ
อากาศหนาวเย็นและ
ความชื้นตํ่าทําให้เห็ด
ชะงักการเจริญเติบโต
และแห้งตายในที่สุด
พยายามควบคุม
อุณหภูมิและความชื้น
ภายในโรงเรือนให้
เหมาะสมกับชนิดของ
เห็ด
22
ขั้นตอนการผลิต ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข
ให้ผลผลิตตํ่าทั้ง ๆ ที่
ก้อนเชื้อยังแข็งแน่นอยู่
เนื่องจากเชื้อเห็ดอ่อน
มาก เชื้อเห็ดส่วนใหญ่
จะเป็นหมัน จึงไม่
สามารถจะให้ผลผลิต
สูงได้ หรือใช้สายพันธุ์
ไม่เหมาะสมกับวัสดุ
เพาะและฤดูกาล
เลือกเชื้อเห็ดจากผู้ผลิต
ที่เชื่อถือได้
ก้อนเชื้อหมดอายุเร็ว
และ ผลผลิตตํ่า
วัสดุเพาะถูกหมักนาน
เกินไปก่อนที่จะนําเอา
มาใช้เพาะเห็ด
ไม่ควรใช้วัสดุที่เพาะที่
หมักไว้นานเกินไปมา
ทําก้อนเชื้อ
ใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน
เกินไป เช่น ขี้เลื่อยไม้งิ้ว
ก้อนเชื้อจะเน่าเสียเร็ว
ควรเลือกใช้ไม้ที่
เหมาะสม
มีการสะสมเชื้อโรค
ภายในโรงเรือน ทําให้
เกิดการเน่าเนื่องจากเชื้อ
จุลินทรีย์สะสมอยู่ใน
โรงเรือนเข้าทําลายก้อน
เชื้อให้เน่าเร็ว
ควรพักโรงเรือน
ประมาณ 1-1.5 เดือน
ก่อนนําก้อนเชื้อเห็ดรุ่น
ใหม่เข้าโรงเรือน และ
ฉีดพ่นสารเคมีเพื่อทํา
การฆ่าเชื้อโรคหรือ
แมลงที่สะสมใน
โรงเรือนก่อนย้ายก้อน
เชื้อเข้าโรงเรือน หรือใช้
สารเคมีในช่วงเดินเส้น
ใยเท่านั้น
23
ศัตรูเห็ดและการป้ องกันกําจัด
ในฟาร์มเห็ดที่เพาะเห็ดปริมาณมากหรือเพาะมานาน และไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ทํามีการ
สะสมของโรคและแมลง จึงมักจะพบการเข้ารบกวนของศัตรูเห็ดต่างๆ ดังนี้
1. เชื้อรา ได้แก่
- ราเขียว พบได้ในถุงก้อนเชื้อที่กําลังเจริญของเห็ดทุกชนิด ลักษณะเป็นกลุ่มเชื้อราสีเขียวชัดเจน
ระบาดหนักในระยะที่มีอากาศร้อนจัด
- ราสีส้ม พบได้ในระยะเป็นเส้นใย โดยเฉพาะเมื่อใช้อาหารเสริมประเภทข้าวโพดป่นหรือซัง
ข้าวโพด
การป้ องกันกําจัด
หากพบว่ามีก้อนเห็ดที่ปนเปื้อนเชื้อราให้คัดแยกออกมาจากโรงเรือน และนําไปทิ้งให้
ห่างจากโรงเรือนอย่างน้อย 100 เมตร หรือนําไปเผาทําลายทิ้ง หรืออาจใช้สารเคมีในการป้องกัน
กําจัดเชื้อราได้แก่ เบนโนมิล ( benomyl) คาร์เบนดาซิม ( carbendazim) โพรคลอราซ ( prochloraz)
อัตรา 20 ซีซี/นํ้า 20 ลิตร ทั้งนี้ให้งดใช้ในระยะออกดอก
2. ไร
ไรมีหลายชนิดโดยตัวของไรเองสามารถทําลายเส้นใยเห็ด หรือทําให้ดอกเห็ดมีรูปร่างที่ผิดปกติไป
อีกทั้งอาจจะเป็นตัวนําเชื้อราเข้าไปในถุงก้อนเชื้อ พบได้ทั่วไปในถุงเห็ดและดอกเห็ดในระยะเปิดดอก
การป้องกันกําจัดไร ใช้สารเคมี ไดคาร์โซล 25 WP หรือ อมิทราซ 20 EC อัตรา 20-30 ซีซี (2-3 ช้อนแกง)
ต่อนํ้า 20 ลิตร หรืออะบาเม็คติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8%EC) อัตรา 20 ซีซี/นํ้า 20 ลิตร หรือไพริดาเบน (แซน
ไมท์20%WP) อัตรา 15 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่นในโรงเรือนหรือ การใช้สารฟอสฟีน 1 เม็ด (3 กรัม) ต่อ
การรมพื้นที่ 0.5 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ให้ใช้สารเคมีในระยะเดินเส้นใย หรือระยะพักโรงเรือนเท่านั้น
3. หนู
นับเป็นตัวทําลายถุงเห็ดมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากจะกัดถุงก้อนเชื้อเพื่อเอาเมล็ด
ข้าวฟ่างเป็นอาหารแล้ว ยังกัดถุงเห็ดเพื่อสร้างรัง และเอาจุกสําลีไปทําที่นอน หนูชอบทําลายเห็ดเป๋ าฮื้อ
มากที่สุด ควรป้องกันกําจัดโดยใช้วิธีกล หรือการใช้กับดักในการยับยั้งการทําลายของหนู
4. แบคทีเรีย และ อื่น ๆ
แบคทีเรียที่เจริญเติบโตในถุงก้อนเชื้อ มีผลทําให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้เพียง
เล็กน้อย แล้วหยุดชะงักไปเฉย ๆ ดอกเห็ดที่เน่าเป็นแหล่งขยายเชื้อได้เป็นอย่างดีการป้องกันกําจัด
แบคทีเรีย ทําได้โดยฉีดพ่นคลอรีน คลอร็อกซ์ หรือไฮเตอร์ อัตรา 20 ซีซี (2-3 ช้อนแกง)/นํ้า 20 ลิตร
24
5. แมลง
แมลงที่ทําลายดอกเห็ดและก้อนเชื้อเห็ดมีหลายชนิดด้วยกัน ที่พบเห็นได้บ่อย คือ
= แมลงวัน ตัวหนอนจะกัดกินเส้นใยเห็ด และเจาะที่โคนดอกเห็ดทําให้เห็ดแคระแกรน
และเน่าตายไป
= แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอน
แล้วแพร่พันธุ์ ควรนําก้อนเชื้อเห็ดออกจากโรงเรือนเพาะเห็ดทันที
การป้ องกันกําจัด ใช้คาร์บาริล (เซฟวิน 85 WP) หรือไดอาซินอน (บาซูดริน 40 WP) อัตรา 40-
60 กรัม (4-6 ช้อนแกง) /นํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดและในโรงเรือนในช่วงการเดินเส้นใย และงดเว้น
การใช้ในช่วงเปิดดอก

Contenu connexe

Tendances

ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1คุณครูพี่อั๋น
 
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่Wijitta DevilTeacher
 
ชีวิตและครอบครัว
ชีวิตและครอบครัวชีวิตและครอบครัว
ชีวิตและครอบครัวพัน พัน
 
01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอม01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอมkruannchem
 
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดโครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดพัน พัน
 
ยาและสารเสพติดให้โทษ
ยาและสารเสพติดให้โทษยาและสารเสพติดให้โทษ
ยาและสารเสพติดให้โทษพัน พัน
 
ปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อมปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อมพัน พัน
 
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานWareerut Hunter
 
ชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
ชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
ชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนพิทักษ์ ทวี
 
โครงงานวิทยาศาสตร
โครงงานวิทยาศาสตร โครงงานวิทยาศาสตร
โครงงานวิทยาศาสตร Patcharida Nun'wchph
 
04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอก
04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอก04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอก
04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอกkruannchem
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...Sircom Smarnbua
 
การแก้อสมการ
การแก้อสมการการแก้อสมการ
การแก้อสมการAon Narinchoti
 
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10Chok Ke
 
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์PinNii Natthaya
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551ดอกหญ้า ธรรมดา
 

Tendances (20)

ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 2 ชุดที่ 1
 
คำนำ2527895555
คำนำ2527895555คำนำ2527895555
คำนำ2527895555
 
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
 
ชีวิตและครอบครัว
ชีวิตและครอบครัวชีวิตและครอบครัว
ชีวิตและครอบครัว
 
01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอม01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอม
 
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดโครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
 
ยาและสารเสพติดให้โทษ
ยาและสารเสพติดให้โทษยาและสารเสพติดให้โทษ
ยาและสารเสพติดให้โทษ
 
ปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อมปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อม
 
Lesson3 plantgrowth2
Lesson3 plantgrowth2Lesson3 plantgrowth2
Lesson3 plantgrowth2
 
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
 
ชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
ชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
ชุดที่ 4 การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
โครงงานวิทยาศาสตร
โครงงานวิทยาศาสตร โครงงานวิทยาศาสตร
โครงงานวิทยาศาสตร
 
ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์
 
04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอก
04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอก04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอก
04 แบบจำลองอะตอมของโบร์และกลุ่มหมอก
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
 
การแก้อสมการ
การแก้อสมการการแก้อสมการ
การแก้อสมการ
 
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
 
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
 

En vedette

รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้ารายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้าchunkidtid
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09sornblog2u
 
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01sornblog2u
 
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์sornblog2u
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงsornblog2u
 
กระบี่กระจายหอม
กระบี่กระจายหอมกระบี่กระจายหอม
กระบี่กระจายหอมsornblog2u
 
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9banlangkhao
 
ธวัชล้ำฟ้า
ธวัชล้ำฟ้าธวัชล้ำฟ้า
ธวัชล้ำฟ้าsornblog2u
 
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007Thidarat Termphon
 
4.การเตรียมข้าวฟ่าง
4.การเตรียมข้าวฟ่าง4.การเตรียมข้าวฟ่าง
4.การเตรียมข้าวฟ่างsombat nirund
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04sornblog2u
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05sornblog2u
 
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07sornblog2u
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01sornblog2u
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1Nuttayaporn2138
 
ผู้ยิ่งใหญ่
ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ยิ่งใหญ่
ผู้ยิ่งใหญ่sornblog2u
 
จอมจักรวาล 01
จอมจักรวาล 01จอมจักรวาล 01
จอมจักรวาล 01sornblog2u
 
มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2Ake Ekkarart
 
การเพาะเห็ดภายในบ้าน
การเพาะเห็ดภายในบ้านการเพาะเห็ดภายในบ้าน
การเพาะเห็ดภายในบ้านgamsh_
 

En vedette (20)

รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้ารายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
รายงานเรื่องเห็ดนางฟ้า
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 09
 
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 01
 
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
กระบี่กระจายหอม
กระบี่กระจายหอมกระบี่กระจายหอม
กระบี่กระจายหอม
 
โครงงาน54เห็ด
โครงงาน54เห็ดโครงงาน54เห็ด
โครงงาน54เห็ด
 
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
 
ธวัชล้ำฟ้า
ธวัชล้ำฟ้าธวัชล้ำฟ้า
ธวัชล้ำฟ้า
 
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
 
4.การเตรียมข้าวฟ่าง
4.การเตรียมข้าวฟ่าง4.การเตรียมข้าวฟ่าง
4.การเตรียมข้าวฟ่าง
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 04
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 05
 
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07
รหัสลับหลังคาโลก เล่ม 07
 
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01
อาร์ทิมิส ฟาวล์ 01
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
 
ผู้ยิ่งใหญ่
ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ยิ่งใหญ่
ผู้ยิ่งใหญ่
 
จอมจักรวาล 01
จอมจักรวาล 01จอมจักรวาล 01
จอมจักรวาล 01
 
มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2
 
การเพาะเห็ดภายในบ้าน
การเพาะเห็ดภายในบ้านการเพาะเห็ดภายในบ้าน
การเพาะเห็ดภายในบ้าน
 

Similaire à เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด

การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตKan Pan
 
khuankalong wittayakom
khuankalong wittayakomkhuankalong wittayakom
khuankalong wittayakomwimon1960
 
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืชหน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืชHataitip Suwanachote
 
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเจื๋อง เมืองลื้อ
 
การขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืชการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืชHataitip Suwanachote
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชdnavaroj
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 SlidejanjaoKanjanjao
 
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืชหน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืชvarut
 
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอนSircom Smarnbua
 
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียงCourse syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียงกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
หน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร
หน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรหน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร
หน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรvarut
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยWasan Yodsanit
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งWichai Likitponrak
 
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5Nattayaporn Dokbua
 
โครงงานโรคพืช
โครงงานโรคพืชโครงงานโรคพืช
โครงงานโรคพืชWeeraphon Parawach
 
โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7Ploy Benjawan
 
งานมอบหมายนักเรียน
งานมอบหมายนักเรียนงานมอบหมายนักเรียน
งานมอบหมายนักเรียนkasetpcc
 

Similaire à เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด (20)

โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำโครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
 
การเพาะเห็ดขอนขาว
การเพาะเห็ดขอนขาวการเพาะเห็ดขอนขาว
การเพาะเห็ดขอนขาว
 
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
 
khuankalong wittayakom
khuankalong wittayakomkhuankalong wittayakom
khuankalong wittayakom
 
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืชหน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
 
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
การขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืชการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืช
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao
 
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืชหน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่3การขยายพันธุ์พืช
 
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
 
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียงCourse syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
 
หน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร
หน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตรหน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร
หน่วยที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเกษตร
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
 
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
 
โครงงานโรคพืช
โครงงานโรคพืชโครงงานโรคพืช
โครงงานโรคพืช
 
โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7
 
งานมอบหมายนักเรียน
งานมอบหมายนักเรียนงานมอบหมายนักเรียน
งานมอบหมายนักเรียน
 
Biocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytimeBiocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytime
 

Plus de sornblog2u

สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)
สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)
สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)sornblog2u
 
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groupssornblog2u
 
5. Wing Energy
5. Wing Energy5. Wing Energy
5. Wing Energysornblog2u
 
4. Passive Cooling
4. Passive Cooling4. Passive Cooling
4. Passive Coolingsornblog2u
 
3. Charcoal : Small Scale Production and Use
3. Charcoal : Small Scale Production and Use3. Charcoal : Small Scale Production and Use
3. Charcoal : Small Scale Production and Usesornblog2u
 
2. Heat and Electricity from Solar Energy
2. Heat and Electricity from Solar Energy2. Heat and Electricity from Solar Energy
2. Heat and Electricity from Solar Energysornblog2u
 
1. Gas Producer Engine System from Biomass
1. Gas Producer Engine System from Biomass1. Gas Producer Engine System from Biomass
1. Gas Producer Engine System from Biomasssornblog2u
 
6. Biogas : Design and Construction Small Digester
6. Biogas : Design and Construction Small Digester6. Biogas : Design and Construction Small Digester
6. Biogas : Design and Construction Small Digestersornblog2u
 
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)sornblog2u
 
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นsornblog2u
 
The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)
The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)
The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)sornblog2u
 
หลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
หลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชหลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
หลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชsornblog2u
 
คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)
คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)
คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)sornblog2u
 
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2sornblog2u
 
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1sornblog2u
 
Money101 giftversion
Money101 giftversionMoney101 giftversion
Money101 giftversionsornblog2u
 
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11sornblog2u
 
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10sornblog2u
 
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8sornblog2u
 

Plus de sornblog2u (20)

สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)
สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)
สามก๊ก ฉบับ การเมือง(ฉบับตัดตอน)
 
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
 
5. Wing Energy
5. Wing Energy5. Wing Energy
5. Wing Energy
 
4. Passive Cooling
4. Passive Cooling4. Passive Cooling
4. Passive Cooling
 
3. Charcoal : Small Scale Production and Use
3. Charcoal : Small Scale Production and Use3. Charcoal : Small Scale Production and Use
3. Charcoal : Small Scale Production and Use
 
2. Heat and Electricity from Solar Energy
2. Heat and Electricity from Solar Energy2. Heat and Electricity from Solar Energy
2. Heat and Electricity from Solar Energy
 
1. Gas Producer Engine System from Biomass
1. Gas Producer Engine System from Biomass1. Gas Producer Engine System from Biomass
1. Gas Producer Engine System from Biomass
 
6. Biogas : Design and Construction Small Digester
6. Biogas : Design and Construction Small Digester6. Biogas : Design and Construction Small Digester
6. Biogas : Design and Construction Small Digester
 
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
 
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
 
The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)
The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)
The coming collapse of thailand (สู่จุดจบ)
 
หลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
หลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชหลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
หลักการและวิธีการใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
 
คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)
คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)
คู่มือพึ่งตนเอง (Self-Sufficient Book)
 
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน2
 
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1
คู่มือการสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตอน1
 
Money101 giftversion
Money101 giftversionMoney101 giftversion
Money101 giftversion
 
New species
New speciesNew species
New species
 
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม11
 
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม10
 
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8
มังกรหยกภาค2 อินทรีจ้าวยุทธจักร เล่ม8
 

เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด

  • 2. การพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงเห็ด จากศูนย์ฯ สู่เกษตรกร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการศึกษาหารูปแบบการพัฒนาต่างๆ ที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นนํ้า โดยมี การศึกษาการพัฒนาป่าไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นนํ้าลําธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก ต้นทางเป็นป่าไม้ และปลายทาง เป็นการศึกษาการประมงตามอ่างเก็บนํ้าต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านสหกรณ์ เกษตรกรรม ปศุสัตว์และโคนม เกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งการตลาด เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาในลักษณะของ พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่เข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ได้ อย่างแท้จริง การศึกษาและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงเห็ด เป็นโครงการหนึ่งในการศึกษาและพัฒนาอาชีพ ด้านเกษตรกรรม ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อช่วยพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น ทําให้เกษตรกรได้รับอาหารที่มีคุณค่าและได้ใช้เ วลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเกิดรายได้ กิจกรรมแบ่ง ออกเป็น 3 ส่วน คือ การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ การผลิตหัวเชื้อในเมล็ดธัญพืชและการผลิตก้อนเชื้อ ผลที่ได้ จากการศึกษาวิจัย คือ เทคนิคที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเห็ดหลายชนิด ซึ่งศูนย์ฯได้ขยายผลงาน เพาะเลี้ยงเห็ดนี้สู่เกษตรกรในลักษณะของการสาธิต ฝึกอบรม และส่งเสริมเผยแพร่ ตลอดจนสนับสนุน การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรเห็ นคุณค่าและประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเห็ด เพื่อเป็นอาหารและ รายได้เสริม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จึงได้จัดทําคู่มือนี้เพื่อเผยแพร่ ให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ผู้อํานวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
  • 3. สารบัญ หน้า เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด 1 การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก 3 1. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์ (แม่เชื้อ) 4 1.1 การเตรียมอาหารวุ้น (อาหาร PDA) 4 1.2 การ ย้ายเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น 4 2. การผลิตหัวเชื้อ บนเมล็ดธัญพืช (หัวเชื้อหรือเชื้อขยาย) 6 2.1 การเตรียมอาหารข้าวฟ่าง 6 2.2 การย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่าง 7 3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเปิดดอกเห็ด (ก้อนเชื้อเห็ด) 8 3.1 การ เตรียมถุงอาหารเพาะ 8 3.2 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ 10 3.3 การบ่มเส้นใยเห็ด 11 3.4 การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา 12 สรุปผลการศึกษาทดสอบเห็ดชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้เพาะและสูตรอาหารที่เหมาะสม 17 ปัญหาในการเพาะเห็ด ศัตรูเห็ดและการป้องกัน 20
  • 4. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่การดําเนินงานของศูนย์ฯ สู่ประชาชน เจ้าของ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ผู้อํานวยการจัดทํา : นายประดับ กลัดเข็มเพชร ที่ปรึกษา : นายเฉลิมเกรียติ แสนวิเศษ : นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ : นายดนุชา สินธวานนท์ : นายปวัตร์ นวะมะรัตน : นางฉันทนา สุวรรณธาดา บรรณาธิการ : นายสุทัด ปินตาเสน : นางสาวศิริพร หัสสรังสี กองบรรณาธิการ : นายชัยชาญ สังข์แก้ว : นางอรทัย ธรรมเสน : นางสาวศศิธร มหาเสน : นายณฐนน ฟูแสง : นางนารี จันทร์เขียว : นายอดุลย์ มีสุข : นายนพดล ศรีเรือง
  • 5. 1 คํานํา เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด เห็ดเป็นเชื้อราขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งในโลกนี้มีเห็ดมากกว่า 350 ชนิด มีเพียง 20 กว่า ชนิดที่สามารถนํามาเพาะเลี้ยงได้ เห็ดมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเห็ดสดมีโปรตีน 3-5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อแห้งมีโปรตีนสูงถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันได้มีการศึกษาทดลองการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ เห็ดบางชนิดซึ่งมีสายพันธุ์ หลากหลายในประเทศ สามารถนํามาเพาะเลี้ยงได้ ตลอดปี เช่น เห็ด นางฟ้ า เห็ดนางรม เห็ดเป๋ าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดหอม และเห็ดขอนขา วส่วนเห็ดบางสายพันธุ์ที่นํามา จากต่างประเทศ แต่สามารถปรับตัวให้เข้ากั บสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดี ก็จะนํามา เพาะเลี้ยงได้ตลอดปี เช่นกัน เช่น เห็ดนางฟ้ าภูฐาน เป็นต้น นอกจากนี้เห็ดสายพันธุ์ต่างประเทศ บางชนิด เช่น เห็ดหลินจือ และเห็ดหัวลิง มี สรรพคุณทางด้านโภชนเภสัชภัณฑ์หรือคุณสมบัติทาง ยา ช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพแข็งแรง และร่างกายสามารถต้านทานโรคบางชนิดได้ดียิ่งขึ้น กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาการปลูกพืช ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
  • 6. 2 กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาการปลูกพืช ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้ศึกษาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเพาะเห็ด จํานวน 12 ชนิด ได้แก่ ภาพ 1 ภาพ 1.1 เห็ดนางฟ้ า ภาพ 1.2 เห็ดนางรม ภาพ 1.3 เห็ดนางนวล ภาพ 1.4 เห็ดขอนขาว ภาพ 1.5 เห็ดลมป่ า ภาพ 1.6 เห็ดหูหนู ภาพ 1.7 เห็ดหอม ภาพ 1.8 เห็ดหลินจือ ภาพ1.9 เห็ดหัวลิง ภาพ 1.10 เห็ดเป๋ าฮื้อ ภาพ 1.11 เห็ดยานางิ ภาพ 1.12 เห็ดนางรมหลวง
  • 7. 3 การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เป็นการเพาะเห็ดที่เลียนแบบธรรมชาติและมีการพัฒนาวิธีการมาใช้ กับเห็ดอีกหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้ า เห็ดนางรม เห็ดเป๋ าฮื้อ เห็ดขอนขาว เห็ดลมป่ า เห็ดหลินจือ เห็ด หัวลิง เป็นต้น วัสดุหลักที่ใช้ในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ปัจจุบันขี้เลื่อยไม้ ยางพารามีราคาสูงขึ้น และแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหญ่มีอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย เท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาวัสดุเพาะที่มีศักยภาพในการนํามาทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งใช้เป็น วัสดุเพาะหลักในปัจจุบัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จึงได้ทดลอง นําวัสดุในท้องถิ่น ได้แก่ ฟางข้าว หญ้าแฝก ขี้เลื่อยไม้มะม่วง ไม้ฉําฉา ไม้กระถิน ไมยราบยักษ์ ชานอ้อย เปลือกถั่วเหลือง หรือหญ้าที่ป่ นละเอียด มาใช้เป็นวัสดุในการเพาะ โดยที่ ศูนย์ศึกษา ฯ ได้แบ่งขั้นตอน การผลิตเห็ดออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ (แม่เชื้อ) 1.1 การเตรียมอาหารวุ้น (อาหาร PDA) 1. 2 การย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น 2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดธัญพืช (หัวเชื้อหรือเชื้อขยาย) 2.1 การเตรียมอาหารข้าวฟ่ าง 2.2 การย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่ าง 3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเปิดดอกเห็ด (ก้อนเชื้อเห็ด) 3.1 การบรรจุถุงอาหารเพาะ 3.2 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ 3.3 การบ่มเส้นใยเห็ด 3.4 การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา
  • 8. 4 ภาพ 2.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เตรียม PDA 1. การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ (แม่เชื้อ) โดยปกติขั้นตอนในการผลิตเชื้อบริสุทธิ์ ต้องปฏิบัติในห้องที่สะอาดเพื่อป้ องกันการปนเปื้อนจาก เชื้ออื่น อาหารสําหรับเลี้ยงเชื้อเห็ด คือ อาหาร Potato Dextrose Agar (PDA) มีส่วนประกอบดังนี้ 1. มันฝรั่ง 200 กรัม 3. วุ้นผง 20 กรัม 2. นํ้าตาล กลูโคส 20 กรัม 4. นํ้าสะอาด 1 ลิตร 1.1 การเตรียมอาหารวุ้น (PDA) (ภาพ 2) วิธีการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ทําอาหารวุ้น (ภาพ 2.1) ล้างมันฝรั่งให้สะอาด ปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ (ภาพ 2.2) นําไปต้มกับนํ้า 1.2 ลิตร โดยใช้ไฟอ่อน ๆ นานประมาณ 15 นาที พอมัน ฝรั่งสุกนิ่ม (ภาพ 2.3) นํามากรองเอาแต่นํ้า ให้ได้ 1 ลิตร (ภาพ 2.4) จากนั้นนําไปต้มอีกครั้งแล้วใส่วุ้นผง และนํ้าตาลกลูโคสลงไป(ภาพ 2.5) ให้วุ้นละลายเมื่อได้ที่แล้วนําไปเทใส่ขวดแบนหรือหลอดแก้ว(ภาพ 2.6) ถ้าใช้หลอดแก้วให้บรรจุวุ้นให้มีความสูงประมาณ 1 นิ้ว จากก้นหลอด ถ้าใช้ขวดแบนให้ บรรจุอาหารวุ้น สูงประมาณ 2-3 เซนติเมตรจากก้นขวด ปิดหลอดแก้วหรือขวดด้วยจุกสําลี แล้วปิดทับด้วยกระดาษ นําไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันโดยใช้ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที (ภาพ 2.7) จากนั้นนําขวดหรือหลอดแก้วที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ววางเอียงประมาณ 15 องศา เพื่อ เพิ่มพื้นที่ผิวหน้าวุ้น สําหรับเลี้ยงเชื้อต่อไป (ภาพ 2.8) ภาพ 2 ขั้นตอนการเตรียมอาหารวุ้น (PDA) ภาพ 2.2 หั่นมันฝรั่งเป็นชิ้นบาง ๆ ภาพ 2.3 ต้มมันฝรั่งโดยใช้ไฟอ่อน ภาพ 2.4 กรองเอาแต่นํ้าให้ได้ 1 ลิตร ภาพ 2.5 นําไปต้ม เติมวุ้นและกลูโคส ภาพ 2.6 บรรจุอาหารวุ้นลงขวด ภาพ 2.7 นึ่งขวดบรรจุอาหารวุ้นที่ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว 30 นาที ภาพ 2.8 นํามาเอียงเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว
  • 9. 5 3. ตู้เขี่ยเชื้อ 1.2 การย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น (ภาพ 3) วิธีการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์การย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ด (ภาพ 3.1) ได้แก่ ดอกเห็ด อาหารวุ้น เข็มเขี่ย ตะเกียงแอลกอฮอล์ ตู้เขี่ยเชื้อ คัดเลือกดอกเห็ดที่สมบูรณ์ มีลักษณะที่ต้องการ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ไม่มีโรคหรือแมลงเข้าทําลาย (ภาพ 3.2) นํามาฉีกดอกตามยาว โดยทําภายในตู้ปลอดเชื้อ (ภาพ 3.3) ใช้ เข็มเขี่ยเชื้อ เขี่ยเนื้อเยื่อด้านในของดอกเห็ด (ภาพ 3.4) วางลงบนอาหารวุ้น (PDA) ที่เตรียมไว้ (ภาพ 3.5) หลังจากเขี่ยเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงอาหารวุ้นแล้ว บ่มไว้ในห้องที่สะอาด ประมาณ 10-15 วัน เส้นใยของเชื้อ เห็ดจะเจริญเติบโตจนเต็มผิวอาหารวุ้น (ภาพ 3.6) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดและสิ่งแวดล้อม ในระยะ นี้ต้องตรวจดูการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดเพื่อคัดเลือกเชื้อเห็ดที่สมบูรณ์ เชื้อเห็ดที่ดี เส้นใย จะต้องเจริญ แผ่รัศมีเป็นวงกลมไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยุบหรือเว้าแหว่ง หรือมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์อื่น ๆ เจริญ เต็มผิวอาหารวุ้นอย่างสมํ่าเสมอ เชื้อเห็ดที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ สามารถใช้เป็นแม่พันธุ์ต่อไปได้ ภาพ 3 ขั้นตอนการย้ายเนื้อเยื่อดอกเห็ดลงบนอาหารวุ้น ภาพ 3.2 ลักษณะดอกเห็ดที่คัดเลือก 2. อุปกรณ์ ภาพ 3.4 เขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด ภาพ 3.5 วางบนอาหารวุ้น ภาพ 3.6 เส้นใยเจริญเต็ม (แม่เชื้อ) ภาพ 3.1 วัสดุอุปกรณ์ในการเขี่ยเนื้อเยื่อดอกเห็ด ภาพ 3.3 ปฏิบัติงานในตู้ปลอดเชื้อ
  • 10. 6 2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดธัญพืช (หัวเชื้อหรือเชื้อขยาย) การผลิตหัวเชื้อในเมล็ดธัญพืช ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมอาหารสําหรับเลี้ยงเส้นใยเห็ด เพื่อเพิ่ม ปริมาณเส้นใยก่อนถ่ายหัวเชื้อลงถุงอาหารเพาะ เมล็ดธัญพืชที่นิยมใช้เพื่อ การผลิตหัวเชื้อ คือ เมล็ดข้าว ฟ่ าง เพราะหาง่ายและราคาถูก อาจใช้เมล็ดข้าวเปลือกแทนได้ วิธีการเตรียมเพื่อขยายเส้นใยมีดังนี้ 2.1 วิธีการเตรียมอาหารข้าวฟ่ าง (ภาพ 4) 2.1.1 นําเมล็ดข้าวฟ่ างแช่นํ้า คัดเอาสิ่งเจือปนออกแล้วแช่นํ้าทิ้งไว้ 1 คืน(ภาพ 4.1) 2.1.2 ต้มเมล็ดข้าวฟ่ างให้สุกเพียงภายนอก ภายในเมล็ดข้าวฟ่ างเป็นสีขาว(ภาพ 4.2) 2.1.3 ผึ่งเมล็ดข้าวฟ่ างที่นึ่งแล้ว เพื่อลดความชื้น (ภาพ 4.3) 2.1.4 บรรจุเมล็ดข้าวฟ่ างลงในขวดแบนประมาณครึ่งขวด หรือ 2 ใน 3 ส่วนปิดจุกด้วย สําลี หุ้มด้วยกระดาษทับอีกทีหนึ่ง (ภาพ 4.4) 2.1. 5 นําขวดเมล็ดข้าวฟ่ างไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันโดยใช้ความดันที่15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที(ภาพ 4.5) 2.1.6 เมื่อขวดอาหารข้าวฟ่ างเย็นตัวลง เขย่าขวดให้ความชื้นของเมล็ดในขวดกระจาย ทั่วถึง เพื่อช่วยให้เส้นใยเห็ดเดินเร็วขึ้น(ภาพ 4.6) ภาพ 4 วิธีการเตรียมอาหารข้าวฟ่ าง ภาพ 4.1 แช่เมล็ดข้าวฟ่ างไว้ 1 คืน ภาพ 4.2 ต้มเมล็ดข้าวฟ่ างให้สุกพอปริ ภาพ 4.3 ผึ่งเมล็ดข้าวฟ่ างลดความชื้น ภาพ 4.4 กรอกเมล็ดข้าวฟ่ าง ใส่ขวดแบน 2 ใน 3 ขวด ภาพ 4.5 นํามานึ่งที่ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้วนาน 30 นาที ภาพ 4.6 ขวดที่นึ่งแล้วรอให้เย็น เพื่อเขี่ยเชื้อ
  • 11. 7 2.2 การย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่ าง (ภาพ 5) วิธีการทําขั้นตอนนี้ เริ่มจากเลือกขวดแม่เชื้อเห็ดที่เส้นใยเจริญเต็มผิวหน้าวุ้นใหม่ ๆ (ภาพ 5.1) นําไปย้ายเชื้อภายในตู้ปลอดเชื้อ (ภาพ 5.2) โดยใช้เข็มเขี่ยเชื้อลนไฟให้ร้อนจนแดงจัด รอให้ เข็มเขี่ยเย็นลง ตัดอาหารวุ้นขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร ให้ มีเส้นใยเห็ดติดมาด้วย (ภาพ 5.3) วางลงบนเมล็ดข้าวฟ่ างบริเวณตรงกลางขวด (ภาพ 5.4) จากนั้นเส้นใยเห็ดจะเจริญ แผ่รัศมีเป็นวงกลม (ภาพ 5.5) เส้นใยเห็ดใช้เวลาประมาณ 10-20 วันจึงเจริญเต็มอาหารข้าวฟ่ าง (ภาพ 5.6) ภาพ 5 วิธีการย้ายแม่เชื้อลงบนอาหารข้าวฟ่ าง ภาพ 5.1 แม่เชื้อเห็ด ภาพ 5.2 ตู้เขี่ยเชื้อ ภาพ 5.4 วางชิ้นวุ้นบนอาหารข้าวฟ่ าง ภาพ 5.5 การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด ภาพ 5.3 ตัดแม่เชื้อ ภาพ 5.6 เส้นใยเจริญเต็มขวดหัวเชื้อ
  • 12. 8 3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเปิดดอกเห็ด (ก้อนเชื้อเห็ด) 3.1 การเตรียมถุงอาหารเพาะ วัสดุอุปกรณ์ - วัสดุเพาะได้แก่ ฟางข้าว ชานอ้อย เปลือกถั่วต่าง ๆ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ไม้ฉําฉา ไม้มะม่วง ไม้กระถิน ไม้เบญจพรรณ ไมยราบยักษ์ เป็นต้น - หัวเชื้อที่เจริญบนเมล็ดธัญพืช (ข้าวฟ่ าง) - ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6½ นิ้ว x 12½ นิ้ว หรือ 7 x 13 นิ้ว - คอขวดพลาสติก หรือไม้ไผ่รวก ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้ว - สําลีหยาบ ยางรัด กระดาษ ฝาจุก - แอลกอฮอล์สําหรับฆ่าเชื้อ และแอลกอฮอล์สําหรับจุดไฟ - ถังนึ่งไม่อัดความดัน (หม้อนึ่งลูกทุ่ง) - โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใย - โรงเรือนสําหรับเปิดดอกเห็ด สูตรถุงอาหารเพาะ สูตร 1 ฟางข้าวแห้งสับเป็นท่อนยาว 4-6 นิ้ว 100 กิโลกรัม ยูเรีย 1 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ปุ๋ ยดับเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 2 กิโลกรัม รําละเอียด 5 กิโลกรัม สูตรนี้ใช้ได้ดีกับ เห็ดนางฟ้ า นางรม และเห็ดเป๋ าฮื้อ เป็นสูตรดัดแปลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็น สูตรทดแทนการใช้ขี้เลื่อย วิธีการเตรียม คือ แช่ฟางให้อิ่มนํ้า หมักกับยูเรียตั้งเป็นแท่งโดยใช้แบบพิมพ์ ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และสูงครึ่งเมตร เช่น เดียวกับการตั้งกองปุ๋ ยหมัก หลังจากนั้นเอาแบบ พิมพ์ออก คลุมกองฟางด้วยพลาสติก หมักทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นกลับกองฟางหมัก พร้อมกับใส่ปูนขาว ลงไปหมักต่ออีก 3-4 วัน แล้วกลับกองฟางอีกครั้ง ครั้งนี้ใส่ปุ๋ ยสูตร 0-46-0 ลงไปด้วย หมักต่ออีก 3-4 วัน กลับกองฟางหมักอีกครั้ง จากนั้นนําไปบรรจุลงถุงได้เลย หรือใช้อาหารเสริมรําละเอียด 5% ผสมด้วยก็ได้
  • 13. 9 สูตร 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รําละเอียด 5 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม นํ้าปรับความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์ สูตร 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รําละเอียด 8 กิโลกรัม นํ้าตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม แป้ งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม นํ้าปรับความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์ วิธีการเตรียมถุงอาหารเพาะ (ภาพ 6) เตรียมส่วนผสมแต่ละอย่างตามสูตรที่ต้องการ (ภาพ 6.1)นําส่วนผสมทุกอย่างมาผสมคลุกเคล้าให้ เข้ากัน(ภาพ 6.2)เติมนํ้าลงไปให้มีความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์ตรวจสอบได้ง่าย ๆ ด้วยการกําส่วนผสมไว้ ในอุ้งมือแล้วบีบให้แน่น เมื่อคลายมือออกแล้ว หากส่วนผสมยังคงจับเป็นก้อนและไม่มีนํ้าซึมออกมาทาง ง่ามนิ้วมือเป็นอันว่าใช้ได้ นําส่วนผสมไปบรรจุถุง พลาสติกที่ทนร้อน ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้ว หนา 0.8- 1.10 ม.ม. ประมาณ 800-1,000 กรัม (ภาพ 6.3) อัดให้แน่นพอสมควร จากนั้นใส่คอขวดแล้วปิดปากขวด ด้วยฝาจุกประหยัดสําลี นําไปนึ่งฆ่าเชื้อ ด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง โดยการนําไปจัดเรียงเป็นชั้นๆ ลงในถัง 200 ลิตร (ภาพ 6.4) ใส่ นํ้าให้สูงจากก้นถังประมาณ 6-8 นิ้ว วางตะแกรงลงให้อยู่เหนือระดับนํ้าเล็กน้อย จัด วางก้อน เชื้อเรียงกันอย่าให้แน่น ถังหนึ่งจะบรรจุก้อนเชื้อได้ประมาณ 70-80 ถุง ปิดฝาถังและรัดเข็มขัด อีกชั้นหนึ่ง (ภาพ 6.5) จากนั้นต้มนํ้าจนเดือด สังเกตจากรูที่เจาะไว้ที่ฝา เมื่อไอนํ้า เดือดพุ่งตรงให้เริ่มจับ เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอนํ้าให้พุ่งออกมาอย่างสมํ่าเสมอ หลังจากนั้น จึงดับไฟ เปิดถัง นึ่ง แล้วทิ้งก้อนเชื้อไว้ให้เย็น (ภาพ 6.6)
  • 14. 10 ภาพ 6 การเตรียมถุงอาหารเพาะ 3.2 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ วิธีการ การถ่ายหัวเชื้อควรทําในห้องที่สะอาด ลมไม่ โกรก นําอุปกรณ์ต่างๆ และก้อน เชื้อเข้าไปในห้องเขี่ยเชื้อ เขย่าหัวเชื้อหรือใช้เข็มเขี่ยที่ลนไฟฆ่าเชื้อแล้วเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่ างให้กระจาย เช็ด ปากขวดหัวเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70% เปิดจุกสําลีที่ปากขวดพร้อมทั้งลนปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์ แล้วเทหัวเชื้อลงในถุงอาหารเพาะประมาณ 15-20 เมล็ดต่อถุง อย่างรวดเร็ว ปิดจุกสําลีที่ปากถุงเพื่อ ป้ องกันไม่ให้ปนเปื้อนเชื้ออื่นๆ แล้วเขย่าถุงก้อนเชื้อเบาๆ ให้เมล็ดข้าวฟ่ างกระจายออกเต็มหน้าก้อนเชื้อ ต่อเชื้อถุงอื่นต่อไปจนหมด แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางรัด แล้วนําก้อนเชื้อเข้าห้องบ่มเชื้อ ต่อไป หัวเชื้อ 1 ขวด สามารถหยอดได้ประมาณ 40-50 ถุง ภาพ 7 การถ่ายหัวเชื้อลงบนถุงอาหารเพาะ ภาพ 7.1 หัวเชื้อเห็ด ภาพ 7.2 ถ่ายหัวเชื้อลงในถุง อาหารเพาะ 15 - 20 เมล็ด/ถุง ภาพ 7.3 ปิดปากถุงด้วยกระดาษ 1. ส่วนผสม ภาพ 6.2 ใส่ส่วนผสมตามสูตร ภาพ 6.3 บรรจุถุงอาหารเพาะ ถุงละ 800-1,000 กรัม ภาพ 6.5 ปิดฝาถังและรัดเข็มขัด ภาพ 6.6 ทิ้งถุงอาหารเพาะไว้ ให้เย็น ภาพ 6.1 เตรียมส่วนผสม ภาพ 6.4 จัดเรียงถุงอาหารเพาะ เป็นชั้นๆ
  • 15. 11 3.3 การบ่มเส้นใยเห็ด โรงเ รือนที่ใช้สําหรับบ่มก้อนเชื้อเห็ดนั้น ควรเป็นโรงเรือนที่สะอาด ถ่ายเทอากาศได้ สะดวก อุณหภูมิค่อนข้างสมํ่าเสมอ ควรเป็นห้องที่ค่อนข้างมืดหรือมีแสงสว่างน้อย ทําเป็น ชั้นวางก้อน เชื้อประมาณ 4-6 ชั้น หรือเป็นชั้นรูปตัว A (ภาพ 8) โรงเรือนบ่มเชื้อ ควรมีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศา เซลเซียส จากนั้นเชื้อเห็ดจะเริ่มเจริญเป็นเส้นใยสีขาว จากส่วนบนของคอขวดพลาสติกลงมา เชื้อเห็ดจะ เจริญเต็มก้อนเชื้อในเวลาประมาณ 30-45 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดและ สภาพแวดล้อมในช่วงของการ เจริญของเส้นใย รวมถึงขนาดของก้อนเชื้อด้วย ระยะเวลาในการบ่มเส้นใยของก้อนเชื้อเห็ด เห็ดนางฟ้ า นางรม ภูฐาน นางรมฮังการี ใช้เวลาบ่มเส้นใย 1 - 1.5 เดือน เห็ดหูหนู , เป๋ าฮื้อ ใช้เวลาบ่มเส้นใย 1.5 – 2 เดือน เห็ดขอนขาว ใช้เวลาบ่มเส้นใย 28 - 30 วัน เห็ดลมป่ า ใช้เวลาบ่มเส้นใย 4 - 5 เดือน เห็ดหอม ใช้เวลาบ่มเส้นใย 4 - 5 เดือน เห็ดหลินจือและหัวลิง ใช้เวลาบ่มเส้นใย 1.5 - 2 เดือน หมายเหตุ ระยะเวลาการบ่มเส้นใยของก้อนเชื้อเห็ดขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น วัสดุเพาะ อาหารเสริม และแสงสว่าง ภาพ 8 การบ่มเส้นใยเห็ดลักษณะแบบชั้น รูปตัว A
  • 16. 12 3.4 การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา โรงเรือนสําหรับเปิดดอก ควรสร้างจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นเพื่อเป็นการประหยัด ต้นทุน วัสดุสําหรับมุงหลังคาและฝาผนัง ควรใช้หญ้าคาหรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถทดแทนได้ เช่น พลาสติก หรือตาข่ายสีดํา ภายในโรงเรือนต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี เข้าไปภายในโรงเรือนจะต้องหายใจสะดวก แสงและอุณหภูมิ ควรพอเหมาะสําหรับเห็ดแต่ละชนิด (ตาราง 1) วิธีการเปิดดอกเห็ดขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เช่น เห็ดนางฟ้ า เห็ดนางรม เห็ดเป๋ าฮื้อ และ เห็ดนางนวล การเปิดดอกทําได้โดยดึงจุกที่อุดปากหรือปิดถุงออก นําถุงก้อนเชื้อไปเรียงซ้อนกันไว้บนชั้น รูปตัวเอ (ภาพ 9) รดนํ้าให้ความชื้นภายในโรงเรือน เช้า กลางวัน และเย็น แต่ระวังอย่าให้นํ้าเข้าถุงก้อน เชื้อ เพราะจะทําให้ก้อนเชื้อเน่าและเสียหายเร็ว โดยรักษาความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 70-90 เปอร์เซ็นต์ หลังจากเปิดถุงได้ 7-14 วัน จะปรากฏดอกเห็ดขนาดเล็กออกมาจากปากถุง การเก็บเกี่ยวดอกเห็ด เมื่อดอกเห็ดมีอายุปานกลางไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป (ภาพ 10) ใช้มือจับดอกเห็ดแล้วดึงเบาๆ โยกไปทางซ้ายและขวา ดอกเห็ดจะหลุดออกมา การเก็บผลผลิตควรเก็บไป เรื่อยๆ จนกว่าก้อนเชื้อจะหมดอายุ ประมาณ 3-4 เดือน ภาพ 9 ลักษณะการจัดวางก้อนเชื้อในโรงเรือนเปิดดอกบนชั้นรูปตัวเอ ภาพ 10 ลักษณะดอกเห็ดที่มีอายุเหมาะสําหรับเก็บเกี่ยว เห็ดนางฟ้ า เห็ดนางรม เห็ดนางนวล เห็ดเป๋ าฮื้อ
  • 17. 13 วิธีการเปิดดอกเห็ดหูหนู (ภาพ 11) ให้ดึงจุกสําลีและถอดคอขวดออก และพับปากถุง เป็นจุก ใช้เชือกมัด จากนั้น ใช้มีดคมกรีดข้าง ๆ ถุง เป็นแนวเฉียง 4 แถว (ภาพ 11.1) เสร็จแล้วนําถุงก้อน เชื้อไปแขวนในโรงเรือนเปิดดอก (ภาพ 11.2) รดนํ้าพื้นโรงเรือนเพื่อรักษาความชื้นสัมพัทธ์ ภายใน โรงเรือน 80-90 เปอร์เซ็นต์ จากนั้น 10-15 วัน จะพบว่าเกิดดอกเห็ดขนาดเล็กขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยว ได้หลังจากนั้นอีก 5-10 วัน ภาพ 11 วิธีการเปิดดอกเห็ดหูหนู สําหรับการเปิดดอกเห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่ า (ภาพ 12) หลังจากที่บ่มเส้นใยเต็มแล้ว คัดเอาก้อนเชื้อเห็ดที่แข็งแรงนําไปวางบนแผงวางก้อนเชื้อแบบตัวเอ (ภาพ 12.1) จากนั้น จึงดึงกระดาษ สําลี แล้วค่อย ๆ ถอดคอขวดพลาสติกออก ดึงปา กถุงเล็กน้อยเพื่อให้ได้เริ่มสัมผัสอากาศประมาณ 3-5 วัน หรือดูว่าหน้าก้อนเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลดําหรือเริ่มเกิดตุ่มดอก(ภาพ 12.2 และ 12.3) จากนั้นให้ใช้มีดกรีด ถุงพลาสติกออกโดยกรีดเลยไหล่ถุงประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วรดนํ้าให้ความชื้นวัน ละ 3-4 ครั้ง ขึ้นอยู่ กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติของแต่ละวัน ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิ ที่เหมาะสม ในช่วงเปิดดอกอยู่ที่ 33-40 องศาเซลเซียส ภาพ 12 วิธีการเปิดดอกเห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่ า ภาพ 11.1 กรีดข้างถุงเห็ดหูหนูเพื่อให้เกิดดอก ภาพ 12.1 การเปิดหน้าก้อนเห็ดขอนขาว ภาพ 12.2 ลักษณะโรงเรือนเปิดดอกเห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่ า ภาพ 11.2 ลักษณะการแขวนก้อนเชื้อเห็ดหูหนูในโรงเรือน ภาพ 12.2 หน้าก้อนเห็ดลมป่ าเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลดํา
  • 18. 14 การเปิดดอกเห็ดหอม หลังจากการบ่มเส้นใยเห็ดหอม ในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิประมาณ 24-25 องศาเซลเซียส สมํ่าเสมอ อากาศถ่ายเทได้ดี จนเส้นใยรวมตัวกัน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3.5-4 เดือน การเปิด ดอกทําได้หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่นิยมคือ หลังจากการบ่มเส้นใยเห็ดครบ 4 เดือนแล้ว ให้ถอดคอขวดพลาสติกออก แล้วพับปากถุงทําเป็น ปากฉลาม ทิ้งไว้ 15 วัน แล้วสังเกตหน้าก้อนเห็ด ถ้าเริ่มเป็นสีนํ้าตาลให้กรีดรอบปากถุง (ภาพ 13.1) รักษาความชื้น ภายในโรงเรือนประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดอกเห็ดเจริญเริ่มเห็ นหมวกเห็ด รักษา ความชื้นสัมพันธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิที่แปรปรวน ระหว่างให้ผลผลิตจะ ช่วยกระตุ้นการเกิดดอกเห็ด แต่ไม่ควรให้มีช่วงอุณหภูมิสูงเกินกว่า 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ติดต่อกัน หลังจากเก็บดอกเห็ดในแต่ละรุ่น ก้อนเชื้อเห็ดจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน เมื่อต้องการ กระตุ้นให้เกิดดอกอีกก็รดนํ้าให้ความชื้น ที่ก้อนเชื้อ จนหน้าก้อนนิ่ม จากนั้นก็กระตุ้นด้วยวิธีการตบหน้า ก้อนเห็ด ประมาณ 3-5 วัน เห็ดก็จะเริ่มออกดอก รักษาอุณหภูมิความชื้นสัมพันธ์ภายในโรงเรือนให้ เหมาะสม การเก็บดอกเห็ดหอมควรเก็บดอกที่ยังตูม (ภาพ 13.2 และ 13.3) เยื่อข้างในยังไม่ขาดจากกัน เก็บผลผลิตไปเรื่อย ๆ จนกว่าก้อนเชื้อจะยุบตัวลง ภาพ 13 วิธีการเปิดดอกเห็ดหอม ภาพ 13.3 ลักษณะดอกเห็ดหอม ที่พร้อมเก็บเกี่ยว ภาพ 13.2 ลักษณะการออกดอก เห็ดหอม ภาพ 13.1 กรีดรอบปากถุงเมื่อหน้า ก้อนเห็ดหอมเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล
  • 19. 15 ตาราง 1 อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญระยะเส้นใยและระยะเปิดดอก ของเห็ดชนิดต่าง ๆ ชื่อเห็ด อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) ระยะที่เจริญเป็นดอกเห็ด ระยะเส้นใย ระยะดอก ความชื้นสัมพัทธ์ (%) แสง เห็ดนางรม 24 – 32 20 – 28 70 – 90 เล็กน้อย เห็ดนางฟ้า 22 – 25 15 – 25 70 – 90 เล็กน้อย เห็ดภูฐาน 24 – 28 25 –32 70 – 90 เล็กน้อย เห็ดเป๋ าฮื้อ 24 – 28 28 – 32 70 – 90 เล็กน้อย เห็ดหูหนู 25 – 32 25 – 35 70 – 90 เล็กน้อย เห็ดขอนขาว 28 – 32 28 – 35 70 – 90 ปานกลาง เห็ดลมป่า 28 – 32 33 – 36 60 - 90 เล็กน้อย เห็ดหอม 24 – 25 10 – 28 60 – 90 เล็กน้อย เห็ดหลินจือ 28 – 32 26 – 28 85- 90 เล็กน้อย เห็ดหัวลิง 21 – 25 15 - 22 60 – 70 เล็กน้อย ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ด 1. อุณหภูมิ ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย คือ 25-30 องศาเซลเซียส 2. ความชื้น ในถุงอาหารเพาะควรจะมีความชื้นที่เหมาะสมคือประมาณ 55-60 เปอร์เซ็นต์ ส่วน ในช่วงเปิดดอกนั้นควรมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 70- 90เปอร์เซ็นต์ 3. อากาศ ภายในโรงเรือนควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี กรณีที่โรงเรือนเปิดดอกมีการระบายถ่ายเท อากาศไม่ดี จะมีปัญหา เห็ดขาดออกซิเจน ทําให้เส้นใยเห็ดไม่สามารถสร้างตุ่มดอกได้ สภาพ ดอกเห็ดจะผิดปกติ และผลผลิตตํ่า 4. แสงสว่าง แม้ว่าเส้นใยเห็ดจะไม่ต้องการแสงในช่วงการบ่มเส้นใย แต่ช่วงเปิดดอกเห็ดต้องการ แสงในระดับหนึ่งที่พอเหมาะ จึงจะมีพัฒนาการของดอกเห็ดที่สมบูรณ์ 5. สารอาหาร ควรให้มีสารอาหารพอเพียงตามที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการ 6. ความเป็นกรดเป็นด่าง การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดควรอยู่ในสภาพอาหารที่เป็นกรด จนถึง ระดับกลาง คือมีค่า pH ประมาณ 5.5 – 7
  • 20. 16 จากขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลิตเห็ดแต่ละชนิด เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า ทุกขั้นตอนมี ความสําคัญเหมือนกันหมด แต่หัวใจหลักในการเพาะเห็ด คือ ความสะอาด ซึ่งต้องเน้นเป็นพิเศษ เพราะ ถ้าเกิดปัญหา โรคและแมลงที่รุนแรงแล้วไม่สามารถที่จะเยียวยาได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การป้ องกัน ซึ่งสามารถนําไปปฏิบัติได้ คือ 1. การดูแลเกี่ยวกับการสุขาภิบาล ภายในฟาร์มให้ดีที่สุด คือ ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติต้อง คํานึงถึงเรื่องความสะอาด “เป็นหัวใจสําคัญ” 2. การพักโรงเรือน และทําความสะอาดหลังจากเก็บผลผลิตเห็ดหมดแต่ละรุ่น หรือตาม ระยะเวลาที่เหมาะสม 3. เพาะเห็ดหลายชนิดสลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคแมลง 4. การดูแลเอาใจใส่ เห็ดทุกระยะอย่างละเอียดและสมํ่าเสมอ ต้องเป็นคนช่างสังเกต และหมั่น แสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อมาประยุกต์ใช้ในฟาร์ม จะช่วยให้การผลิตเห็ดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 21. 17 การศึกษาทดสอบ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้ศึกษาสูตรอาหารและวัสดุ เพาะที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดชนิดต่าง ในสภาพแวดล้อมของศูนย์ฯ จากการทดสอบพบว่าเมื่อปรับ ส่วนผสมบางส่วนสามารถทําให้เห็ดหลายชนิดมีผลผลิตค่อนข้างดี ดังนี้ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รําละเอียด 8 กิโลกรัม นํ้าตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม แป้ งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม นํ้าปรับความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์ หมายเหตุ การเพาะเห็ดหอม เพิ่ม แคลเซี่ยม 1 กิโลกรัม ยิปซั่ม 1 กิโลกรัม สูตรนี้เมื่อใช้ทดสอบกับ เห็ดหูหนู เห็ดกระด้าง เห็ดขอนขาว เห็ดหอ และเห็ดเป๋ าฮื้อ ขนาด บรรจุถุงละ 800 กรัม ได้ผลดังตาราง 2 ตาราง 2 ระยะเวลาการเจริญทางเส้นใย ระยะเวลาการให้ผลผลิต และผลผลิตของเห็ดหูหนู เห็ดกระด้าง เห็ดขอนขาว เห็ดหอม และเห็ดเป๋ าฮื้อ เมื่อเพาะโดยใช้อาหารสูตรปรับปรุง ชนิดเห็ด ระยะเวลาการเจริญทางเส้นใย (วัน) ระยะเวลาการให้ผลผลิต (วัน) ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/ถุง) เห็ดหูหนู 85 59 380 เห็ดกระด้าง 98 59 120 เห็ดขอนขาว 53 108 110 เห็ดหอม 174 172 120 เห็ดเป๋ าฮื้อ 46 124 200
  • 22. 18 นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริยังได้ศึกษาการใช้ การ ใช้ขี้เลื่อยไม้ฉําฉาร่วมกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราในการเพาะเห็ดหอมเพื่อลดต้นทุนในการผลิต โดยการ เปรียบเทียบอัตราส่วนของขี้เลื่อยไม้ฉําฉาต่อขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ใช้เป็นวัสดุเพาะในระดับต่างๆ กัน ดังนี้ 1. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 100 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 0 % 2. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 75 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 25 % 3. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 50 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 50 % 4. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 25 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 % 5. ขี้เลื่อยไม้ฉําฉา 0 % ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 % นําวัสดุเพาะในแต่ละอัตราส่วนมาผสมกับรําละเอียด : แป้ งข้าวเหนียว : ปลายข้าว : นํ้าตาล ทรายแดง : ดีเกลือ : ยิปซั่ม : ปูนขาว : แคลเซียม ในอัตราส่วน 5 : 1 : 2 : 2 : 0.2 : 1 : 1: 1 คลุกเคล้า ส่วนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้นํ้าปรับความชื้นที่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ บรรจุใส่ถุงๆ ละ 800 กรัม พบว่า การผสมขี้เลื่อยไม้ฉําฉาในวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อยไม้ยางพารา ให้ผลผลิตที่ดีทุกอัตราส่วน ดังแสดงใน ตาราง 4 ตาราง 4 ระยะเวลาการเจริญทางเส้นใย ระยะเวลาการให้ผลผลิต และผลผลิตของ เห็ดหอม เมื่อเพาะโดย ใช้วัสดุเพาะที่เป็นส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้ฉําฉา/ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ในระดับต่างๆ อัตราส่วนขี้เลื่อยไม้ฉําฉา/ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ระยะเวลาการเจริญ ทางเส้นใย (วัน) ระยะเวลาการให้ผล ผลิต (วัน) ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/ถุง) 100/0 61 70 120 75/25 61 70 110 50/50 61 70 110 25/75 61 70 100 0/100 66 70 80 การเผยแพร่ผลงาน เนื่องจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย อีกทั้งยังมีการศึกษาทดสอบเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมมาพัฒนาให้เหมาะกับพื้นที่ ดังนั้น จึง มีผู้เข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาดูงานกิจกรรมภายในศูนย์ฯ ตลอดทั้งปี ผู้เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมของศูนย์ มีทั้ง บุคคลสําคัญจากในและต่างประเทศ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งผู้ที่สนใจทั่วไป นอกจากเข้าเยี่ยมชมแล้ว ยังสามารถขอเข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพ การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ซึ่งดําเนินการตั้งแต่ปี 2546-2551 ดังแสดงในตาราง5
  • 23. 19 ตาราง 5 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ บุคคลเป้ าหมาย 2546 2547 2548 2549 2550 2551 รวม รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน รุ่น คน พื้นที่ปกติ 6 120 2 40 3 60 2 40 2 40 2 20 17 320 พื้นที่ยุทธศาสตร์ 1 22 0 0 5 100 9 205 6 137 8 190 29 657 ผู้สนใจทั่วไป 13 203 12 253 15 409 15 321 20 381 16 288 91 2,055 รวม 20 345 14 293 23 569 23 566 28 558 26 498 137 3,032
  • 24. 20 ปัญหาในการเพาะเห็ด ในการเพาะเห็ดอาจมีปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน ดังแสดงในตาราง 6 ตาราง 6 ปัญหาในการผลิตเห็ด สาเหตุ และแนวทางแก้ไข ขั้นตอนการผลิต ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข การผลิตก้อนเชื้อ ปุ๋ ยหมักยังมีกลิ่นเหม็น เปรี้ยว การกลับกองปุ๋ ยหมักไม่ ทั่ว ไม่สมํ่าเสมอ การกลับกองปุ๋ ยหมักไม่ ทั่ว ไม่สมํ่าเสมอ ปุ๋ ยเละหรือชื้นมาก เกินไป เกลี่ยผึ่งให้ความชื้น ระเหยออกไปบ้าง และ เพิ่มยิปซั่มเข้าไปผสม ให้ทั่ว เพื่อป้องกันการ อัดแน่นของปุ๋ ยและทํา การหมักต่อไปจนปุ๋ ย หมักมีกลิ่นหอม เชื้อเห็ดไม่เจริญเข้าไป ในวัสดุเพาะ เชื้อเห็ดตายหรือเสีย ไม่ถ่ายเชื้อในช่วงที่ก้อน เห็ดยังร้อน และเลือก เชื้อที่มีสภาพดีเขี่ยเชื้อขณะที่ก้อนวัสดุ เพาะยังร้อนระอุอยู่ ก้อนวัสดุมีก๊าซพิษ เช่น แอมโมเนีย หลงเหลือ อยู่ พักก้อนให้ก๊าซพิษ ระเหยออก อุณหภูมิในห้องบ่มเชื้อ สูงหรือตํ่า เกินกว่าที่ เส้นใยจะเจริญเติบโต ได้ ปรับสภาพอุณหภูมิใน ห้องให้เหมาะกับการ เจริญของเส้นใย เชื้อเห็ดเจริญไม่ถึงก้น ถุงแล้วหยุดการ เจริญเติบโต ก้อนเชื้อเปียกมาก เกินไป ไม่ควรผสมก้อนเชื้อให้ เปียกมากเกินไป ก้อนเชื้อค่อนข้างเปียก และมีเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากการนึ่งไม่ได้ที่ เชื้อเห็ดเดินผิดปกติมาก ควรนึ่งฆ่าเชื้อให้ได้ครบ ตามกําหนดเวลา และ ความร้อนที่เหมาะสม
  • 25. 21 ขั้นตอนการผลิต ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข ภายในก้อนเชื้อมีก๊าซ พิษอยู่ ทิ้งช่วงให้ก๊าซพิษระเหย ออกไป ในกรณีที่ใช้ขี้เลื่อยไม้ เบญจพรรณ อาหารไม่ สมบูรณ์หรืออยู่ในรูปที่ เห็ดเอาไปใช้ได้ลําบาก เพิ่มสารอาหารที่เห็ด ต้องการให้เหมาะสม ความร้อนภายในโรง บ่มสูงมากเกินไป ปรับสภาพอุณหภูมิให้ เหมาะสม การเปิดดอกเห็ด ดอกเห็ดออกช้า หรือ ออกน้อย ผลผลิตตํ่า ใช้เชื้อเห็ดที่อ่อนไม่ แข็งแรง เลือกเชื้อเห็ดจากผู้ผลิต ที่เชื่อถือได้ มีอาหารเห็ดไม่เพียงพอ เพิ่มอาหารให้เพียงพอ กับชนิดของเห็ด นํ้าที่ใช้อาจจะมีธาตุ บางอย่างสูงเกินไป จนกระทั่งเป็นอันตราย ต่อเห็ด เลือกใช้นํ้าจากแหล่งนํ้า สะอาด ดอกเห็ดมีก้านยาว หมวกดอกเห็ด สีซีด โรงเรือนเปิดดอกมีการ สะสมก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ มากเกินไป เมื่อเข้าไป ปฏิบัติการจะรู้สึกอบ อ้าวหายใจอึดอัด ทําการแก้ไขเกี่ยวกับ การระบายอากาศ โดย ให้มีอากาศถ่ายเทได้ สะดวกเมื่อเข้าไปใน โรงเรือนจะรู้สึกหายใจ ปลอดโปร่ง ดอกเห็ดรุ่นหลังดอก แห้งเหี่ยวตาย เกิดจากการรักษาระดับ ความชื้นไม่ดีพอ ผิวหน้าของก้อนเชื้อเห็ด แห้ง ให้ความชื้นในโรงเรือน ให้เหมาะสมตามที่เห็ด ต้องการ อากาศหนาวเย็นและ ความชื้นตํ่าทําให้เห็ด ชะงักการเจริญเติบโต และแห้งตายในที่สุด พยายามควบคุม อุณหภูมิและความชื้น ภายในโรงเรือนให้ เหมาะสมกับชนิดของ เห็ด
  • 26. 22 ขั้นตอนการผลิต ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข ให้ผลผลิตตํ่าทั้ง ๆ ที่ ก้อนเชื้อยังแข็งแน่นอยู่ เนื่องจากเชื้อเห็ดอ่อน มาก เชื้อเห็ดส่วนใหญ่ จะเป็นหมัน จึงไม่ สามารถจะให้ผลผลิต สูงได้ หรือใช้สายพันธุ์ ไม่เหมาะสมกับวัสดุ เพาะและฤดูกาล เลือกเชื้อเห็ดจากผู้ผลิต ที่เชื่อถือได้ ก้อนเชื้อหมดอายุเร็ว และ ผลผลิตตํ่า วัสดุเพาะถูกหมักนาน เกินไปก่อนที่จะนําเอา มาใช้เพาะเห็ด ไม่ควรใช้วัสดุที่เพาะที่ หมักไว้นานเกินไปมา ทําก้อนเชื้อ ใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เกินไป เช่น ขี้เลื่อยไม้งิ้ว ก้อนเชื้อจะเน่าเสียเร็ว ควรเลือกใช้ไม้ที่ เหมาะสม มีการสะสมเชื้อโรค ภายในโรงเรือน ทําให้ เกิดการเน่าเนื่องจากเชื้อ จุลินทรีย์สะสมอยู่ใน โรงเรือนเข้าทําลายก้อน เชื้อให้เน่าเร็ว ควรพักโรงเรือน ประมาณ 1-1.5 เดือน ก่อนนําก้อนเชื้อเห็ดรุ่น ใหม่เข้าโรงเรือน และ ฉีดพ่นสารเคมีเพื่อทํา การฆ่าเชื้อโรคหรือ แมลงที่สะสมใน โรงเรือนก่อนย้ายก้อน เชื้อเข้าโรงเรือน หรือใช้ สารเคมีในช่วงเดินเส้น ใยเท่านั้น
  • 27. 23 ศัตรูเห็ดและการป้ องกันกําจัด ในฟาร์มเห็ดที่เพาะเห็ดปริมาณมากหรือเพาะมานาน และไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ทํามีการ สะสมของโรคและแมลง จึงมักจะพบการเข้ารบกวนของศัตรูเห็ดต่างๆ ดังนี้ 1. เชื้อรา ได้แก่ - ราเขียว พบได้ในถุงก้อนเชื้อที่กําลังเจริญของเห็ดทุกชนิด ลักษณะเป็นกลุ่มเชื้อราสีเขียวชัดเจน ระบาดหนักในระยะที่มีอากาศร้อนจัด - ราสีส้ม พบได้ในระยะเป็นเส้นใย โดยเฉพาะเมื่อใช้อาหารเสริมประเภทข้าวโพดป่นหรือซัง ข้าวโพด การป้ องกันกําจัด หากพบว่ามีก้อนเห็ดที่ปนเปื้อนเชื้อราให้คัดแยกออกมาจากโรงเรือน และนําไปทิ้งให้ ห่างจากโรงเรือนอย่างน้อย 100 เมตร หรือนําไปเผาทําลายทิ้ง หรืออาจใช้สารเคมีในการป้องกัน กําจัดเชื้อราได้แก่ เบนโนมิล ( benomyl) คาร์เบนดาซิม ( carbendazim) โพรคลอราซ ( prochloraz) อัตรา 20 ซีซี/นํ้า 20 ลิตร ทั้งนี้ให้งดใช้ในระยะออกดอก 2. ไร ไรมีหลายชนิดโดยตัวของไรเองสามารถทําลายเส้นใยเห็ด หรือทําให้ดอกเห็ดมีรูปร่างที่ผิดปกติไป อีกทั้งอาจจะเป็นตัวนําเชื้อราเข้าไปในถุงก้อนเชื้อ พบได้ทั่วไปในถุงเห็ดและดอกเห็ดในระยะเปิดดอก การป้องกันกําจัดไร ใช้สารเคมี ไดคาร์โซล 25 WP หรือ อมิทราซ 20 EC อัตรา 20-30 ซีซี (2-3 ช้อนแกง) ต่อนํ้า 20 ลิตร หรืออะบาเม็คติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8%EC) อัตรา 20 ซีซี/นํ้า 20 ลิตร หรือไพริดาเบน (แซน ไมท์20%WP) อัตรา 15 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่นในโรงเรือนหรือ การใช้สารฟอสฟีน 1 เม็ด (3 กรัม) ต่อ การรมพื้นที่ 0.5 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ให้ใช้สารเคมีในระยะเดินเส้นใย หรือระยะพักโรงเรือนเท่านั้น 3. หนู นับเป็นตัวทําลายถุงเห็ดมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากจะกัดถุงก้อนเชื้อเพื่อเอาเมล็ด ข้าวฟ่างเป็นอาหารแล้ว ยังกัดถุงเห็ดเพื่อสร้างรัง และเอาจุกสําลีไปทําที่นอน หนูชอบทําลายเห็ดเป๋ าฮื้อ มากที่สุด ควรป้องกันกําจัดโดยใช้วิธีกล หรือการใช้กับดักในการยับยั้งการทําลายของหนู 4. แบคทีเรีย และ อื่น ๆ แบคทีเรียที่เจริญเติบโตในถุงก้อนเชื้อ มีผลทําให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้เพียง เล็กน้อย แล้วหยุดชะงักไปเฉย ๆ ดอกเห็ดที่เน่าเป็นแหล่งขยายเชื้อได้เป็นอย่างดีการป้องกันกําจัด แบคทีเรีย ทําได้โดยฉีดพ่นคลอรีน คลอร็อกซ์ หรือไฮเตอร์ อัตรา 20 ซีซี (2-3 ช้อนแกง)/นํ้า 20 ลิตร
  • 28. 24 5. แมลง แมลงที่ทําลายดอกเห็ดและก้อนเชื้อเห็ดมีหลายชนิดด้วยกัน ที่พบเห็นได้บ่อย คือ = แมลงวัน ตัวหนอนจะกัดกินเส้นใยเห็ด และเจาะที่โคนดอกเห็ดทําให้เห็ดแคระแกรน และเน่าตายไป = แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมาก แมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอน แล้วแพร่พันธุ์ ควรนําก้อนเชื้อเห็ดออกจากโรงเรือนเพาะเห็ดทันที การป้ องกันกําจัด ใช้คาร์บาริล (เซฟวิน 85 WP) หรือไดอาซินอน (บาซูดริน 40 WP) อัตรา 40- 60 กรัม (4-6 ช้อนแกง) /นํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดและในโรงเรือนในช่วงการเดินเส้นใย และงดเว้น การใช้ในช่วงเปิดดอก