SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  26
Télécharger pour lire hors ligne
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร
ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
แบบฝึกหัดทบทวน
พระปริยัติธรรม แผนกธรรม
นักธรรมชั้นตรี
วิชา
ธรรม
๑
แบบฝึกหัด วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี
ส่วนธรรมวิภาค
สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรมตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์
ทุกะ หมวด ๒
๑. คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ? ธรรมข้อนี้ มีอุปการะมาก เพราะอะไร ?
๒. ธรรมคุ้มครองโลก มีอะไรบ้าง ? ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้อย่างไร ?
๓. หิริ กับโอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร ?
๔. บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงาม เพราะปฏิบัติธรรมอะไร ? ธรรมนั้น ทำให้งามได้อย่างไร ?
๕. จะเรียกบุคคลเช่นไรว่า เป็นหนี้ท่านผู้อื่นอยู่ ?
๖. ผู้ได้ชื่อว่า กตัญญูกตเวทีบุคคล เพราะปฏิบัติตนอย่างไร ?
๗. บุพพการี และกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? จัดไว้เป็นคู่อย่างไรบ้าง ?
๘. พระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ในฐานะบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ?
ติกะ หมวด ๓
๙. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือใคร ? รวมเรียกว่าอะไร ? ที่ได้ชื่อเช่นนั้น เพราะอะไร ?
๑๐. ในรตนะ ๓ แต่ละประการ มีคุณอย่างไร ?
๑๑. พระบรมศาสดา ทรงสั่งสอนประชุมชนด้วยอาการอย่างไร ประชุมชนเป็นอันมากจึงได้นับถือ ?
๑๒. โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ข้อไหนเป็นข้อห้าม ? ข้อไหนเป็นคำแนะนำ ?
๑๓. ทุจริต คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? คนที่รับปากแล้วไม่ทำตามนั้น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ?
๑๔. สุจริต คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? คนประพฤติชอบเช่นไร จึงชื่อว่า สุจริต ?
๑๕. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๑๖. เมื่อโทสะเกิดขึ้นแล้ว มีผลอย่างไร ? คนเราจะประพฤติดี หรือชั่ว มีมูลเหตุมาจากอะไร ?
๑๗. สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๑๘. จงอธิบายคำต่อไปนี้
ก. ปัพพัชชา ข. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ค. อินทรียสังวร ง. สามัญญลักษณะ
๑๙. ไตรลักษณ์ คืออะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ?
๒
จตุกกะ หมวด ๔
๒๐. ผู้ที่ต้องการเป็นผู้เจริญ ต้องประพฤติอย่างไร ? ข้อว่า การคบสัตบุรุษ คือทำอย่างไร ?
๒๑. ในวุฑฒิ ๔ เป็นเหตุผล เนื่องกันอย่างไร ? จงอธิบาย ?
๒๒. ปุพเพกตปุญญตา หมายความว่าอย่างไร ?
๒๓. อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ คืออะไรบ้าง ? ข้อไหนสำคัญที่สุด ?
๒๔. อะไร เรียกว่า ปธาน ? มีอะไรบ้าง ? คนเสพยาเสพติด เพียรพยายามจะเลิกให้ได้ ชื่อว่าตั้งอยู่ใน
ปธานข้อใด ?
๒๕. ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ เรียกว่าอะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ?
๒๖. ผู้ทำงานไม่สำเร็จบรรลุตามที่มุ่งหมาย เพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ?
๒๗. ปัจจัยปัจจเวกขณะ หมายเอาอย่างไร ?
๒๘. ธาตุกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? กำหนดพิจารณาอย่างไร จึงเรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ?
๒๙. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ? ข้อไหนสำคัญที่สุด ? เพราะเหตุใด ?
๓๐. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ? คำว่าทุกข์ ได้แก่
อะไร ? มีสาเหตุมาจากอะไร ?
ปัญจกะ หมวด ๕
๓๑. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? เหราะเหตุไร จึงเป็นกรรมที่เป็นบาปหนัก
ที่สุด ?
๓๒. คำว่า อภิณหปัจจเวกขณะ มีอธิบายว่าอย่างไร ?
๓๓. ธรรมเครื่องทำความกล้าหาญ ๕ อย่าง เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๓๔. อานิสงส์ของการฟังธรรมมีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ?
๓๕. นิวรณธรรม คืออะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? จงจัดนิวรณธรรมทั้งหมดลงในอกุศลมูลมาดู ?
๓๖. นิวรณธรรม หมายถึงอะไร ? ความดีในความหมายของนิวรณ์ หมายเอาความดีอย่างไร ? อุทธัจจกุก
กุจจะ จัดเข้าในขันธ์ไหนในขันธ์ ๕ เพราะเหตุใด ?
๓๗. ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ? จงจัดขันธ์ ๕ ลงในนามรูปมาดู ?
ฉักกะ หมวด ๖
๓๘. คารวะ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? การคารวะในบิดามารดาครูอาจารย์ จัดเข้าในอย่างไหน เพราะอะไร ?
๓๙. หลักธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ชื่อว่าอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ? ข้อไหนสำคัญที่สุด
เพราะเหตุใด ?
๔๐. อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
๔๑. อายตนะ ๑๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? ในอายตนะ ๑๒ นั้น อย่างไหนเป็นรูป อย่างไหนเป็นนาม ?
๓
๔๒. อะไรเรียกว่า สัมผัส ?
สัตตกะ หมวด ๗
๔๓. อปริหานิยธรรม คืออะไร ? มีกี่ข้อ ? จงยอกมาให้ดูสัก ๔ ข้อ ?
๔๔. ทรัพย์ประเภทไหนเรียกว่า อริยทรัพย์ ? อริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเหตุไร ?
๔๕. สัปปุริสธรรม คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? มัตตัญญุตา มีอธิบายว่าอย่างไร ?
๔๖. พาหุสัจจะ ในอริยทรัพย์ มีอธิบายว่าอย่างไร ?
อัฏฐกะ หมวด ๘
๔๗. โลกธรรม ๘ ได้แก่อะไรบ้าง ? ท่านสอนให้ปฏิบัติต่อโลกธรรมอย่างไร ?
๔๘. จงสงเคราะห์มรรค ๘ ลงในไตรสิกขามาดู ?
๔๙. คำว่า สัมมาวาจา คือการเจรจาอย่างไร ?
๕๐. คำว่า สัมมาสังกัปปะ คือดำริอย่างไร ?
๕๑. คำว่าเพียรชอบ ในมรรค ๘ หมายเอาความเพียรเช่นไร ?
นวกะ หมวด ๙
๕๒. มละ แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ?
๕๓. มลข้อที่ ๑ และ ๙ คืออะไร ? แก้ด้วยธรรมอะไร ?
ทสกะ หมวด ๑๐
๕๔. หลักธรรมต่อไปนี้ แปลว่าอะไร ? เป็นชื่อของธรรมอะไร ?
ก. สีลมัย ข. สีลกถา
๕๕. อนุสสติ ๑๐ ว่าโดยชื่อ มีอะไรบ้าง ?
๕๖. ประชุมอย่างไรไม่ควร จงตอบให้มีหลักประกอบด้วย ?
๔
แบบฝึกหัด วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี
ส่วนคิหิปฏิบัติ
สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรมตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์
จตุกกะ หมวด ๔
๑. กรรมกิเลส คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กรรมตรงข้ามกับกรรมกิเลส ได้แก่อะไรบ้าง ?
๒. เหตุให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๓. สัมปรายิกัตถประโยชน์ หมายถึงอะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๔. สมบัติ ยศ อายุยืน สวรรค์ ท่านว่าเป็นผลที่ได้สมประสงค์ได้ยาก บุคคลพึงบำเพ็ญธรรมอะไร จึงจะสม
ประสงค์ ?
๕. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือใครบ้าง ?
๖. บุคคลผู้สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นไว้ได้ เพราะตั้งอยู่ในธรรมอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๗. มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข พระพุทธศาสนาแสดงความสุขของผู้ครองเรือนไว้อย่างไร ?
๘. ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นาน เพราะอะไรบ้าง ?
๙. ธรรมของฆราวาสผู้ครองเรือน เรียกว่าอะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ?
ปัญจกะ หมวด ๕
๑๐. จะใช้จ่ายอย่างไร จึงชื่อว่าใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ?
๑๑. อุบาสกอุบาสิกา ควรงดเว้นการค้าขายที่ไม่ชอบธรรมอะไรบ้าง ? การค้าขายยาเสพติด น้ำขาว
เบ็ดตกปลา ลูกเสือดาว มีดสปาร์ตาร์ จัดเข้าในข้อไหน ?
๑๒. สมบัติและวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา มีอะไรบ้าง ?
๑๓. การถือมงคลตื่นข่าว คือการถือเช่นไร ? พระพุทธศาสนาสอนให้ถืออย่างนั้นหรือไม่ อย่างไร ?
๑๔. คำต่อไปนี้ มีความหมายอย่างไร
ก. อติถิพลี ข. ปุพพเปตพลี
๕
ฉักกะ หมวด ๖
๑๕. อยากทราบว่า ในทิศเบื้องขวา คือใคร ? เพราะเหตุไร จึงได้ชื่อเช่นนั้น ?
๑๖. ท่านทั้งหลายจะปฏิบัติบำรุงผู้เป็นทิศเบื้องขวา อย่างไรบ้าง ?
๑๗. บิดามารดา อยู่ในทิศใด ? ท่านกำหนดหน้าที่ของบิดามารดา และกุลบุตรไว้อย่างไร ?
๑๘. สมณพราหมณ์ เมื่อได้รับการบำรุงแล้ว ย่อมอนุเคราะห์ตอบอย่างไร ?
๑๙. อบายมุข คืออะไร ? ดื่มน้ำเมามีโทษ อย่างไร ?
๒๐. นาย ก เป็นผู้ฉลาดในการเล่นพนันฟุตบอล เขาหวังให้นาย ข ผู้เป็นเพื่อน มีเงินทองไว้ก่อสร้างตัว
จึงชักชวนนาย ข ให้เล่นด้วย นาย ก จัดเข้าในประเภทมิตรแนะประโยชน์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ?
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ผู้ออก/พิมพ์/ทาน แบบฝึกหัด
วิชา
พุทธประวัติ
๕
๕
แบบฝึกหัด วิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม อ่านปัญหาให้เข้าใจ แล้วตอบคำถามให้ได้ใจความสมบูรณ์
บทนำ
๑. พุทธประวัติ คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรที่ต้องเรียนรู้ ?
๒. การเรียนรู้พุทธประวัติได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
ชมพูทวีป
๓. ประชาชนในชมพูทวีป มีกี่จำพวก ? อะไรบ้าง ? เจ้าชายสิทธัตถะ อุบัติขึ้นในวรรณะใด ? ชนชาติใด ?
๔. ชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่อะไรบ้าง ?
๕. ประชาชนในชมพูทวีป แบ่งออกเป็นกี่วรรณะ ? อะไรบ้าง ? มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
๖. ในครั้งพุทธกาล ชาวชมพูทวีป นับถือศาสนาอะไร ? ชนเหล่านั้น มีความคิดเห็น เรื่องความเกิด และ
ความตาย โดยสรุปอย่างไร ?
ศากยวงศ์ และบุคคลในพุทธกาล
๗. ศากยวงศ์ สืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาติเหล่านั้น มาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร ?
๘. พระพุทธบิดา และพระพุทธมารดา ทรงมีพระนามว่าอะไร ? ทรงปกครองแคว้นอะไร ? เมือหลวงชื่อ
อะไร ? เหตุใดจึงชื่อเช่นนั้น ?
๙. พระนาม - นาม ต่อไปนี้ เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไรบ้าง ?
๑) พระเจ้าสีหหนุ
๒) พระนางมหาปชาบดีโคตรมี
๓) พระนันทะ
๔) พระรูปนันทา
๕) อสิตดาบส
๖) ยโสธรา
๗) อานนท์
๘) นายฉันนะ
๙) วิศวามิตร
๖
๖
๑๐) อาฬารดาบส
๑๑) อุทกดาบส
๑๒) กาฬุทายี
๑๓) พระนางมายา
๑๔) โกณฑัญญะ
๑๕) พระเจ้าสุทโธทนะ
๑๐. อสิตดาบส ได้ทำนายเจ้าชายสิทธัตถะว่าอย่างไร ?
เหตุการณ์ในระหว่างพระชนม์ก่อนออกผนวช
๑๑. เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในช่วงต่าง ๆ ต่อไปนี้ มีอะไรบ้าง ?
๑) ๓ วัน ๒) ๕ วัน ๓) ๗ วัน ๔) ๗ ปี
๕) ๑๖ ปี ๖) ๒๙ ปี ๗) ๓๕ ปี ๘) ๘๐ ปี
๑๒. พระมหาบุรุษ ประสูติที่ไหน ? เมื่อไร ? เหตุใดจึงประสูติที่นั่น ?
๑๓. ในวันเสด็จทำพิธีแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะได้บังคมเจ้าชายสิทธัตถะผู้ประทับนั่งใต้ต้นหว้า
เพราะเหตุไร ?
เสด็จออกผนวช
๑๔. การที่พระราชบิดาและพระญาติวงศ์ คิดผูกพันเจ้าชายสิทธัตถะไว้ให้เพลิดเพลินอยู่ในกามสุข เพราะ
เหตุไร ? และด้วยวิธีใด ?
๑๕. พระมหาบุรุษ เสด็จออกผนวช เพราะทอดพระเนตรเห็นอะไร ? เมื่อเห็นแล้วมีพระดำริเช่นไร ?
๑๖. พระมหาบุรุษ เสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุเท่าไร ? ที่ไหน ?
๑๗. ภายหลังการผนวช พระมหาบุรุษทรงไปศึกษากับใครหรือไม่ ? ได้ผลการศึกษา เป็นเช่นไร ?
บำเพ็ญทุกกรกิริยา
๑๘. ทุกกกิริยา คืออะไร ? พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญที่ไหน ? ใครเป็นพยานในเรื่องนี้ ?
๑๙. พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างไรบ้าง ? นานเท่าไหร่ ?
๒๐. การที่พระมหาบุรุษทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยานั้น เพราะเหตุใด ?
ก่อนตรัสรู้
๒๑. ข้าวมธุปายาส คืออะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย ? มีความสำคัญอย่างไรกับพระมหาบุรุษ ?
๒๒. ในวันตรัสรู้ พระมหาบุรุษทรงอธิษฐานพระหทัยที่ใต้ต้นโพธิอย่างไร ? พระมหาบุรุษทรงชนะมาร
ด้วยบารมีธรรมอะไรบ้าง ?
๒๓. ในราตรีแห่งการตรัสรู้ พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณอะไรบ้างในแต่ละยาม ? และญาณข้อใด ที่ทำให้
พระองค์สำเร็จความเป็นพุทธะ โดยสมบูรณ์ ?
๗
๗
หลังตรัสรู้
๒๔. เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ พระองค์ทรงพิจารณาบุคคลผู้สามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ โดยเปรียบเทียบ
กับบัวกี่เหล่า ? อะไรบ้าง ? และทรงเปรียบเทียบอย่างไร ?
๒๕. ผู้ประกาศตนเป็นอุบาสกด้วยการถึงรัตนะ ๒ เป็นครั้งแรก คือใคร ? ได้พบพระพุทธเจ้าที่ไหน ?
๒๖. พระกระยาหารมื้อแรกของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ คืออะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย ?
๒๗. พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรเป็นเวลากี่ปี จึงได้ตรัสรู้ ? ตรัสรู้ที่ไหน ? เมื่อใด ?
๒๘. พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ เพราะทรงพิจารณาอย่างไร ?
๒๙. เมื่อตรัสรู้แล้ว ในระหว่างทางที่เสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าทรงสนทนากับใคร ?
บุคคลผู้นั้น ได้บรรลุธรรมชั้นใด ?
๓๐. พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ในพรรษาแรกเสด็จประทับที่ไหน ? และทรงบำเพ็ญพุทธกิจอย่างไรบ้างใน
พรรษานั้น ?
ปัญจวัคคีย์
๓๑. ปัญจวัคคีย์ คือใคร ? พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ก่อนเพราะเหตุไร ?
๓๒. หลังตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงประสงค์จะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ? สมประสงค์หรือไม่ ? เพราะ
เหตุไร ?
๓๓. พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเมื่อไร ? ใจความแห่งปฐมเทศนานั้นว่าด้วยเรื่องอะไร ? ปัญจ
วัคคีย์ ได้ฟังแล้วเกิดผลเช่นไร ?
๓๔. ใครเป็นผู้ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” เป็นคนแรก ? เห็นว่าอย่างไร ?
๓๕. ธรรมจักษุ คืออะไร ? ปัญจวัคคีย์นั้น ได้ธรรมจักษุ เพราะฟังธรรมอะไร ? ท่านเหล่านั้น บรรลุ
อรหันตผลเพราะฟังธรรมอะไร ?
๓๖. “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” เป็นคำพูดของใคร ? เหตุใดจึงพูดเช่นนั้น ? ความวุ่นวายขัดข้อง
นั้น สงบได้อย่างไร ?
๓๗. “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง” เป็นวาจาของใคร กล่าวกะใคร ?
๓๘. อนุปุพพีกถา ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงครั้งแรกแก่ใคร ?
ชฎิล ๓ พี่น้อง
๓๙. ชฏิล ๓ พี่น้อง มีใครบ้าง ? แต่ละคนมีบริวารเท่าใด ?
๔๐. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่ใคร ? ที่ไหน ? มีใจความสำคัญว่าอย่างไร ?
โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
๔๑. เพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าทรงเลือกแคว้นมคธเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก ?
๔๒. พระราชาของแคว้นไหน ที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นองค์แรก ? มีพระนามว่าอะไร ?
๔๓. ความปรารถนาว่า “ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์” เป็นความปรารถนาของใคร ?
ความปรารถนานั้น สำเร็จบริบูรณ์เมื่อไร ? ที่ไหน ?
๘
๘
๔๔. พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงราชคฤห์ครั้งแรกภายหลังการตรัสรู้ ทรงประทับที่ใด ? ทรงรับถวายพระอาราม
แห่งแรกชื่อว่าอะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย ?
พระอัครสาวก
๔๕. พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เดิมชื่อว่าอะไร ? ได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟังธรรมจากใคร ?
ธรรมนั้นมีใจความว่ากระไร ? ทั้งสองนั้นสำเร็จขั้นใด ?
๔๖. พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ได้ฟังธรรมอะไร จึงสำเร็จอรหันตผล ? เมื่อใด ? เหตุใด จึง
สำเร็จอรหันตผลช้าเร็วไม่เท่ากัน ?
๔๗. พระอัครสาวกได้แก่ใคร ? มีคุณเด่นในด้านใด ? พระธรรมเสนาบดี หมายถึงใคร ? เพราะอะไรจึงได้
ชื่อนั้น ?
จาตุรงคสันนิบาต
๔๘. ในวันจาตุรงคสันนิบาต พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ใคร ? ที่ไหน ? ทรงยกธรรม
ข้อใดขึ้นแสดงเป็นข้อต้น ?
๔๙. จาตุรงคสันนิบาต คืออะไร ? ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
พระธรรมเทศนาและพระสูตร
๕๐. พระสูตรต่อไปนี้ ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงเมื่อไร ? แสดงแก่ใครเป็นครั้งแรก ? ผลเป็นเช่นไร
๑) อนัตตลักขณสูตร
๒) อาทิตตปริยายสูตร
๓) อนุปุพพีกถา
๔) เวทนาปริคคหสูตร
ก่อนปรินิพพาน
๕๑. การปลงอายุสังขารของพระบรมศาสดา ถือโดยใจความว่าอย่างไร ? ทรงกระทำอย่างไร ? ที่ไหน ?
เมื่อไหร่ ?
๕๒. พระบรมศาสดาทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เมืองใด ? ทรงรับภัตตาหารมื้อสุดท้ายจากใคร ? ภัตตาหาร
นั้นชื่ออะไร ? ที่ไหน ?
๕๓. พระบรมศาสดา ตรัสถึงสาเหตุของแผ่นไหวไว้าเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ?
๕๔. เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน มีพระโอวาทเกี่ยวกับศาสดาแทนพระองค์อย่างไร ?
๕๕. พรหมทัณฑ์ คืออะไร ? ต้องปฏิบัติต่อผู้ถูกลงพรหมทัณฑ์อย่างไร ? ใครเป็นคนแรกที่ถูกลงพรหม
ทัณฑ์ ?
๕๖. พระบรมศาสดา ตรัสวิธีปฏิบัติต่อสตรีไว้อย่างไร ? ตรัสกับใคร ?
๕๗. พระปัจฉิมโอวาท มีใจความว่าอย่างไร ? ทรงประทานที่ไหน ?
๕๘. ปัจฉิมสาวก คือใคร ?
๙
๙
๕๙. ถูปารหบุคคล คือบุคคลเช่นไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ?
หลังปรินิพพาน
๖๐. เมื่อวันที่พระบรมศาสดาปรินิพพาน มีพระสาวกผู้ใหญ่อยู่ในที่นั้นกี่รูป ? ใครบ้าง ?
๖๑. สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ชื่อว่าอะไร ? ตั้งอยู่ในเมืองอะไร ? เมื่อไร ? ผู้ที่กล่าวสุนทร
พจน์ระงับมิให้เกิดสงครามแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ คือใคร ?
๖๒. สังเวชนียสถาน คือสถานที่เช่นไร ? มีอะไรบ้าง ?
๖๓. เจดีย์มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? พระพุทธรูป สังเวชนียสถาน ตุมพสถูป และอังคารสถูป เป็นเจดีย์
ประเภทใด ?
๖๔. สถานที่ต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?
๑) ลุมพินีวัน ๒) อิสิปตนมฤคทายวัน
๓) ลัฏฐิวัน ๔) เวฬุวัน
๕) บุพพาราม ๖) เชตวัน
๗) สาลวโนทยาน
***************************
๑๐
๑๐
แบบฝึกหัด วิชา พุทธประวัติ ส่วนศาสนพิธี นักธรรมชั้นตรี
สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม อ่านปัญหาให้เข้าใจ แล้วตอบคำถามให้ได้ใจความสมบูรณ์
๑. ศาสนพิธี คืออะไร ? มีกี่หมวด ? อะไรบ้าง ? ผู้ที่ได้เรียนแล้วได้รับประโยชน์อย่างไร ?
๒. ท่านได้ศึกษาศาสนพิธีแล้ว เข้าใจเรื่องต่อไปนี้อย่างไร ?
๑) บุญพิธี
๒) ทานพิธี
๓) กุศลพิธี
๓. ในพิธีทำบุญต่าง ๆ มีผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติกี่ฝ่าย ? คือใครบ้าง ?
๔. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึงอะไร ?
๕. การแสดงความเคารพในศาสนพิธีมีอะไรบ้าง ? เรียกว่าอะไร ? ในแต่ละอย่างมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
๖. การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึงอย่างไร ?
๗. ในการประเคนของถวายพระ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
๘. การเผดียงสงฆ์ และการอาราธนา หมายถึงอะไร ?
๙. ปาฏิบุคลิกทาน และสังฆทาน เหมือนหรือต่างกัน อย่างไร ?
๑๐. เจริญพระพุทธมนต์ และสวดพระพุทธมนต์ ใช้อย่างไร ? ในงานมงคลเจ้าภาพควรจุดเทียนน้ำมนต์
เมื่อใด ?
๑๑. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่นิยมประกอบการบูชาเป็นพิเศษ ในปีหนึ่ง ๆ มีวันอะไรบ้าง ?
เมื่อไร ? มีความสำคัญอย่างไร ?
๑๒. การเดินเวียนเทียนรอบปูชนียสถาน เดินเวียนขวา หรือซ้าย ? เดินกี่รอบ ? แต่ละรอบพึงปฏิบัติ
เช่นไร ?
๑๓. อุโบสถ และปกติอุโบสถ หมายถึงอะไร ?
๑๔. การกรวดน้ำมีวิธีทำอย่างไร ? คำกรวดน้ำแบบย่อที่สุดว่าอย่างไร ?
๑๕. เพื่อปฏิบัติให้ถูกกับหลักศาสนพิธี เจ้าภาพพึงกรวดน้ำและประนมมือรับพรตอนไหน ?
๑๖. จงเขียนคำอาราธนาต่อไปนี้มาดู
๑) คำอาราธนาศีล ๕
๑๑
๑๑
๒) คำอาราธนาพระปริตร
๓) คำอาราธนาธรรม
๔) คำสมาทานอุโบสถศีล
๕) คำถวายสังฆทานสามัญพร้อมคำแปล
๖) คำถวายสังฆทานอุทิศพร้อมคำแปล
***************************
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ผู้ออก/พิมพ์/ทาน แบบฝึกหัด
วิชา
วินัยบัญญัติ
๑๒
แบบฝึกหัด วิชา วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี
สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรมตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์
กัณฑ์ที่ ๑ อุปสัมปทา
๑. การอุปสมบทมีกี่วิธี ? อะไรบ้าง ? ใครเป็นผู้กระทำ ? การสำเร็จภิกขุภาวะนั้น เราท่านจะทราบได้
อย่างไร ?
๒. การกสงฆ์ คืออะไร ? มีเท่าไร ? จงบอกให้เข้าใจ ?
๓. การบรรพชาอุปสมบทในปัจจุบันใช้วิธีใด ? และกำหนดสงฆ์อย่างต่ำไว้เท่าใด ?
๔. สมบัติ ๔ มีอะไรบ้าง ? วัตถุสมบัติ และปริสสมบัติ คืออะไร? ได้แก่อะไรบ้าง ?
๕. บุคคลเช่นไร เรียกว่า อุปัชฌาย์ ? อัฏฐบริขารได้แก่อะไรบ้าง ? และสิ่งใดในบริขาร ๘ ที่จะขาดไม่ได้ ?
๖. บุพพกิจ คืออะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ?
๗. อะไรเรียกว่า อนุศาสน์ ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? จงยกมาแถลงให้เข้าใจ ?
๘. สิกขา กับสิกขาบท ต่าง หรือเหมือนกันอย่างไร ?
๙. ในพระพุทธศาสนานี้ พระภิกษุ สามเณรต้องศึกษาอะไร ? เมื่อศึกษาแล้ว จะเกิดประโยชน์ อย่างไร ?
๑๐. อนุศาสน์ ท่านว่าต้องรีบสอนพระใหม่ทันทีที่อุปสมบทเสร็จ เพราะเหตุใด ? เมื่อพระภิกษุประพฤติ
ตนล่วงอกรณียกิจทั้ง ๔ ท่านเปรียบไว้อย่างไรบ้าง ?
กัณฑ์ที่ ๒ พระวินัย
๑. ในพระศาสนานี้ พระบรมศาสนา ทรงดำรงอยู่ในฐานะใดบ้าง ? และเพราะเหตุใด พระบรมศาสดาจึง
ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ ?
๒. พระบรมศาสดาทรงดำรงฐานะเป็นสังฆบิดรดูแลภิกษุสงฆ์ พระองค์จึงทรงทำหน้าที่ทางพระวินัย
อย่างไร ?
๓. คำสั่งสอนในพระศาสนานี้ ประกอบด้วย พระธรรม และพระวินัยนั้นทราบแล้ว แต่อยากทราบว่า
พระวินัยคืออะไร ? และมีความสำคัญเช่นไร ?
๔. อะไรเรียกว่า พระวินัย สิกขา สิกขาบท ? อาบัติว่าโดยชื่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๑๓
๕. จงอธิบายคำต่อไปนี้
ก. พุทธบัญญัติ ข. มูลบัญญัติ ค. อนุบัญญัติ
๖. พระวินัยนั้น พระบรมศาสดาทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้าใช่หรือไม่ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงบัญญัติ
พระวินัยอย่างไร ?
๗. อาบัติ แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? อาบัติมีโทษกี่สถาน ? อะไรบ้าง ?
๘. จงอธิบายคำต่อไปนี้
ก. อเตกิจฉา ข. สเตกิจฉา ค. สจิตตกะ ง. อจิตตกะ
๙. อะไรเรียกว่า สมุฏฐาน แห่งอาบัติ ? มีเท่าไร จงบอกมาดู ?
๑๐. อย่างไรเรียกว่าอาบัติเป็นโลกวัชชะ ? อย่างไรเรียกว่าอาบัติเป็นปัณณัตติวัชชะ ? จงยกตัวอย่าง
ประกอบด้วย ?
๑๑. อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ข้อไหนถือว่าเลวที่สุด ?
๑๒. อาการที่ภิกษุต้องอาบัติข้อที่ว่า “ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำ” มีอธิบายไว้อย่างไร ?
๑๓. พระวินัยมีอะไรเป็นอานิสงส์ จงอธิบายมาดู ?
๑๔. ประโยชน์แห่งการบัญญัติพระวินัยมีอะไรบ้าง ?
กัณฑ์ที่ ๓ สิกขาบท
๑. วินัย มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ในแต่ละอย่างนั้น หมายเอาเรื่องใด ?
๒. สิกขาบท คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? และสิกขาบทที่นำมาสวดทุกกึ่งเดือน เรียกว่าอะไร ?
มีเท่าไร ?
๓. การปรับอาบัติมีกี่แบบ ? อะไรบ้าง ?
๔. สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ท่านปรับอาบัติแก่ผู้ละเมิดสิกขาบทนั้นทั้งหมด
หรือไม่ อย่างไร ?
๕. ภิกษุที่ละเมิดข้อที่พระบรมศาสดาทรงห้ามแล้วไม่ต้องอาบัติ มีหรือไม่ ? ถ้าไม่มีก็แล้วไป แต่ถ้ามี ได้แก่
พระภิกษุเช่นไร ?
กัณฑ์ที่ ๔ ปาราชิก
๑. ปาราชิก แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? ข้อยกเว้นร่วมกันของอาบัติทั้งหลายที่พระภิกษุผู้ล่วงแล้วไม่
ต้องอาบัติ มีอะไรบ้าง ?
๒. ภิกษุทำอย่างไร จึงได้รับวินิจฉัยว่า ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุน ?
๓. องค์แห่งการเสพเมถุนมีอะไรบ้าง ? ภิกษุถูกข่มขืน ต้องอาบัติอะไรบ้าง ?
๔. ทรัพย์ที่เป็นเหตุให้ถึงอาบัติปาราชิก กล่าวโดยหลักมีกี่ประเภท ? และมีกำหนดเขตว่าถึงที่สุดอย่างไร ?
๑๔
๕. ทรัพย์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์ เมื่อรวมแล้วมีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? ภิกษุจะต้องอาบัติ เพราะทรัพย์
ของตน มีหรือไม่ จงชี้แจงมา ?
๖. อวหาร คืออะไร ? มีเท่าไร อะไรบ้าง ? คำว่า “ลักสับ” หมายเอาว่าอย่างไร ?
๗. อาการที่ไม่เป็นอทินนาทาน มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? และคำว่า “ไถยจิต” ท่านหมายเอาอาการเช่นไร ?
๘. ในอทินนาทานสิกขาบท ท่านกำหนดราคาทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ?
๙. ภิกษุทำร้ายผู้อื่นถึงตาย เป็นอาบัติปาราชิกก็มี ไม่ถึงปาราชิกก็มี เหตุใดจึงปรับอาบัติไม่เท่ากัน จงชี้แจง
มา ?
๑๐. ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตาย เป็นอาบัติอะไรบ้าง ? ถ้าภิกษุพยายามจะฆ่าตนเอง เป็นอาบัติใดได้บ้าง ?
๑๑. การปลงชีวิตอย่างไร ถึงต้องอาบัติถุลลัจจัย ?
๑๒. ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้องอาบัติอะไร ? คำว่า “อุตตริมนุสสธรรม” หมายเอาธรรมเช่นไร ?
และภิกษุพูดอวดเช่นไร จึงต้องอาบัติ ?
๑๓. ปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท สิกขาบทใดบ้าง เป็นสาณัตติกะ อนาณัตติกะ สจิตตกะ และอจิตตกะ ? และ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
๑๔. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว มีผลอย่างไร ? ภายหลังจะกลับมาอุปสมบทได้อีกหรือไม่ ?
กัณฑ์ที่ ๕ สังฆาทิเสส
๑. สังฆาทิเสส แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? มีกี่สิกขาบท ?
๒. เหตุใด อาบัติสังฆาทิเสส จึงเรียกว่า ครุกาบัติ ทุฏฐุลลาบัติ และวุฏฐานคามินี ?
๓. ที่เรียกว่า “อาบัติชั่วหยาบ” ท่านหมายเอาสิกขาบทใดบ้าง ? เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น ?
๔. ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายอนุปสัมบัน สัตว์เดียรัจฉาน ต้องอาบัติอะไร ?
๕. การพูดเกี้ยว เป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ?
๖. ในคัมภีร์วิภังค์ กำหนดองค์แห่งการชักสื่อไว้เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๗. สามีภรรยาทะเลาะกัน ภรรยากลับไปอยู่บ้านเดิม ภิกษุชักโยงให้ทั้งสองคืนดีกัน ต้องอาบัติอะไร
หรือไม่ ? เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น ?
๘. สังฆาทิเสสสิกขาบทใด ที่ภิกษุต้องเพราะมีราคะ ? และสิกขาบทใดที่ภิกษุต้องเพราะมีโทสะ ?
๙. การปรับอาบัติในสิกขาบทที่ ๕ แห่งสังฆาทิเสส กำหนดองค์แห่งอาบัติไว้อย่างไร ?
๑๐. คำว่า “หญิง” ในสิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕ แห่งสังฆาทิเสส หมายเอาหญิงเช่นไร ?
๑๑. สิกขาบทที่ ๗ แห่งสังฆาทิเสส กำหนดองค์แห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ?
๑๒. อาการโจทก์มีอะไรบ้าง ? เมื่อโจทก์ด้วยอาบัติไม่มีมูลเป็นอาบัติอะไร ? คำว่า “ไม่มีมูล” ในสิกขาบท
ที่ ๘ แห่งสังฆาทิเสส หมายเอาเช่นไร ?
๑๓. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทก์ภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกนั้น คำว่า “เลส” กำหนดด้วยอาการ
เช่นไร ?
๑๕
๑๔. ภิกษุพากเพียรทำลายสงฆ์ให้แตกกัน สงฆ์แตกกันแล้ว ตามความมุ่งหมายอย่างหนึ่ง ไม่แตกกันตาม
ความมุ่งหมายอย่างหนึ่ง เธอต้องอาบัติอะไรบ้าง ? เพราะอะไร ?
๑๕. สิกขาบทที่ ๑๒ แห่งสังฆาทิเสส ทรงบัญญัติไว้เพื่อประสงค์ใด ? คำว่า “สงฆ์สวดกรรม” หมายถึง
อะไร ? เรียกว่าอะไร ? เมื่อสวดแล้วจะต้องอาบัติอะไรบ้าง ?
๑๖. คำว่า “ภิกษุประทุษร้ายตระกูล” หมายเอาการกระทำเช่นไร ?
๑๗. สังฆาทิเสสทั้ง ๑๓ สิกขาบท ที่ชื่อว่า ปฐมาปัตติกา และยาวตติยกะ หมายความว่าอย่างไร ?
๑๘. สังฆาทิเสสข้อไหน ที่ภิกษุล่วงละเมิดแล้ว จัดเป็นคนเลวทรามที่สุด ? เพราะเหตุใด ?
๑๙. จงอธิบายวิธีการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสมาแต่โดยย่อ ?
อนิยต ๒
๒๐. ที่เรียกว่า อนิยต ท่านหมายเอาเช่นไร ? เหตุใดจึงไม่แยกไว้เป็นอาบัติแผนกหนึ่ง ?
๒๑. ในอนิยตทั้ง ๒ สิกขาบท เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
๒๒. ในอนิยตนั้น ท่านปรับอาบัติไว้อย่างไร ? เพราะเหตุใดจึงปรับอาบัติเช่นนั้น ?
๒๓. ที่ลับหู และที่ลับตา ท่านหมายเอาที่เช่นไรบ้าง ?
กัณฑ์ที่ ๖ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรวรรคที่ ๑
๑. คำว่า “นิสสัคคิยปาจิตตีย์” แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้ว ทำเช่นไรจึงจะพ้น ?
๒. อติเรกจีวร ได้แก่อะไร ? ภิกษุเก็บไว้ได้กี่วัน ? ที่ทรงห้ามไม่ให้เก็บอติเรกจีวรด้วยมีพุทธประสงค์
อย่างไร ?
๓. ไตรจีวร คืออะไร ? ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น ต้องอาบัติอะไร ? ในกาลเช่นไร ทรงอนุญาตให้ภิกษุ
อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ ?
๔. ภิกษุได้จีวรใหม่มา เธอต้องปฏิบัติเช่นไร จึงจะชอบด้วยวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต ? ผ้าที่ทรงอนุญาต
ให้นำมาทำจีวรได้มีอะไรบ้าง ?
๕. คนเช่นไร เรียกว่า “ญาติ” ? คนเช่นไร เรียกว่า “ปวารณา” ?
๖. ภิกษุต้องการจีวร จะร้องขอจากศิษย์ของตน หรือขอจากคฤหัสถ์ จะขัดข้องทางพระวินัย หรือไม่ ? จง
ชี้แจง ?
๗. ขอทราบนิสสัคคีย์โดยล่วงเวลาสัก ๓ อย่าง ? และจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้ว ควรสละให้แก่ใคร ? ถ้าจีวร
นั้นสูญหาย พึงปฏิบัติเช่นไร ?
๘. พระบัญญัติที่ให้ประโยชน์พิเศษแก่ภิกษุในจีวรสมัย มีอะไรบ้าง ?
๑๖
โกสิยวรรคที่ ๒
๙. ภิกษุซื้อจีวรใช้สอยเอง ต้องอาบัติหรือไม่ อย่างไร ?
๑๐. สันถัต ได้แก่อะไร ? อย่างไนทรงห้าม ? อย่างไหนทรงอนุญาต ?
๑๑. จตุกกนิสสัคคียปาจิตตีย์ หมายถึงสิกขาบทใด ? วรรคใด ? ความว่าอย่างไร ?
๑๒. แก้วแหวน เงินทอง ของที่เป็นวัตถุอนามาส ทรงอนุญาตให้จับต้องได้ในโอกาสเช่นไรบ้าง ? หรือ
ห้ามเด็ดขาดทีเดียว จงตอบให้มีหลัก ?
๑๓. ภิกษุแลกเปลี่ยนของกับสามเณร ของที่ได้มาเป็นนิสัคคีย์หรือไม่ ? และอาศัยอะไรเป็นหลักจึงตอบ
เช่นนั้น ?
ปัตตวรรคที่ ๓
๑๔. ภิกษุรับประเคนน้ำผึ้งแล้วลืม ปล่อยวางไว้ล่วง ๑๐ วัน เข้าใจว่ายังไม่ล่วง ๗ วัน เธอจะต้องอาบัติ
อะไรหรือไม่ ? เพราะอะไร ?
๑๕. อติเรกบาตร คือบาตรเช่นไร ? ภิกษุจะต้องนิสัคคีย์ด้วยอาการเช่นไร ?
๑๖. สิกขาบทที่ ๑ และ ๒ แห่งปัตตวรรค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร จงอธิบาย ?
๑๗. เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ได้กี่วัน ?
๑๘. เวลาใด เรียกว่า จีวรกาล ?
๑๙. ภิกษุจำพรรษาหลัง จะได้รับอานิสงส์พรรษา และรับกฐินได้หรือไม่ เพราะอะไร ?
๒๐. อะไรเรียกว่า ลาภที่ภิกษุน้อมมาไม่ได้ ? อย่างไหนมีโทษอะไรบ้าง ?
๒๑. ภิกษุรู้อยู่ว่าน้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อตน เพื่อบุคคล เพื่อสงฆ์อื่น ต้องอาบัติอะไร ?
กัณฑ์ที่ ๗ ปาจิตตีย์
มุสาวาทวรรคที่ ๑
๑. ปาจิตตีย์ แปลว่าอะไร ? มีกี่วรรค ? มีกี่สิกขาบท ?
๒. ภิกษุพูดมุสา จะเป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ?
๓. ปฏิสสวทุกกฎ หมายเอาอาการเช่นไร ? ปรากฏในสิกขาบทใด ?
๔. ท่านปรับโทษภิกษุผู้พูดมุสาเป็นปาจิตตีย์ ก็เพื่อป้องกันมิให้พูดเหลวไหล ถ้าภิกษุพูดจริงทุกเรื่องก็เป็น
อันพ้นอาบัติเพราะเรื่องพูด ท่านเห็นจริงตามนี้หรือไม่ ? ถ้าเห็นแย้ง จงอธิบายมา ?
๕. คำว่า “โอมสวาท” หมายถึงอะไร ? เรื่องสำหรับด่า เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๖. อาบัติปาจิตตีย์ใดบ้าง ที่ภิกษุประพฤติแล้ว ทำให้เป็นคนเลว แสดงความดุร้าย ทำให้เสียหาย และเป็น
ความซุกซน จงยกตัวอย่างมาพอเข้าใจ ?
๑๗
๗. ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ถ้าว่าพร้อมกันต้องปาจิตตีย์ เป็นอจิตตกะ หรือสจิตตกะ ? แม้ถ้าไม่ได้
ตั้งใจจะอาบัติหรือไม่ ? สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติเพื่ออะไร ? และเมื่อมีเหตุให้ภิกษุต้องแสดงธรรมแก่หญิง
ท่านจะแสดงเช่นไรจึงจะไม่อาบัติ
๘. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุปสัมบัน ต้องอาบัติอะไร จงชี้แจง ?
๙. ปฐพี มีกี่อย่าง? อะไรบ้าง ? ภิกษุขุดต้องอาบัติอย่างไร ? เป็นโลกวัชชะ หรือปัณณัตติวัชชะ ?
ภูตคามวรรคที่ ๒
๑๐. ภูตคาม หมายเอาพืชเช่นไร ? พีชคาม หมายถึงอะไร ?
๑๑. ภิกษุ เห็นว่า อาบัติที่เกิดจากการพูดมีมาก จึงนิ่งเสีย เช่นนี้ยังมีทางจะต้องอาบัติอีกหรือไม่ ? ถ้าไม่มี
ก็แล้วไป แต่ถ้ามี จงชี้แจงมา ?
๑๒. ในสิกขาบทมีบทลงโทษต่อภิกษุผู้ติเตียนสงฆ์ผู้ได้รับสมมติต่อหน้าอุปสัมบัน และอนุปสัมบัน และ
ไม่ได้รับสมมติ แต่ทำการโดยผู้เดียว อย่างไรบ้าง ?
๑๓. ภิกษุเอาเตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ และที่นอน ไปตั้งวางทิ้งไว้กลางแจ้ง หรือในกุฎีสงฆ์ แล้วทิ้งไปไม่
กลับมาใยดีอีก จนของเสียหาย ภิกษุที่กระทำเช่นนี้จะอาบัติอะไร จงอธิบาย ? ภิกษุนั้นจะต้องทำเช่นไรจึง
จะพ้นอาบัติ ?
๑๔. ภิกษุต้องการแย่งกุฎีสงฆ์ของภิกษุอื่น จึงเอาของเพื่อนภิกษุผู้ทะเลาะไปโยนทิ้งนอกกุฎี เขาต้อง
อาบัติปาจิตตีย์หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? การขับไล่กรณีใดไม่อาบัติ ?
๑๕. ภิกษุขาดสติไม่ทันดูว่า น้ำมีตัวสัตว์เอาไปรดดิน ภิกษุนี้ จะอาบัติอะไร หรือไม่ เพราะอะไร ?
โอวาทวรรคที่ ๓
๑๖. ภิกษุกลุ่มหนึ่งได้รับสมมติแล้ว ได้เข้าไปสอนภิกษุณีถึงในที่อยู่ จะอาบัติหรือไม่ ? ภิกษุ ก อิจฉา
ภิกษุ ข ติเตียนว่า สอนภิกษุณี เพราะเห็นแก่ลาภ อาบัติหรือไม่ ? อย่างไร
๑๗. ภิกษุชวนภิกษุณีเดินทางด้วยกัน สิ้นระยะทางบ้านหนึ่ง แล้วไปร่วมนั่งเรือล่องไปอีกที่หนึ่ง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาบัติปาจิตตีย์กี่ตัว ? และจะไม่อาบัติในกรณีใด ?
๑๘. ในสิกขาบทที่ภิกษุรู้แล้วฉันอาหารที่ภิกษุณีแนะให้เขาถวาย ถ้าโยมเขาจัดไว้เองก่อนฉัน ฉันเข้าไป
จะต้องอาบัติหรือไม่ อย่างไร ?
โภชนวรรคที่ ๔
๑๙. โภชนะ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? โภชนะเช่นไร เรียกว่า ปรัมปรโภชนะ ? โภชนะเช่นไร เรียกว่า คณะ
โภชนะ ?
๒๐. โภชนะอย่างไร ได้ชื่อว่า โภชนะอันประณีต ? ภิกษุฉันปรัมปรโภชนะ ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ อย่างไร
จงอธิบายให้มีหลัก ?
๑๘
๒๑. เวลาวิกาล หมายเอาเวลาใด ? ถ้าภิกษุสงสัยในเวลาไม่แน่ใจ แล้วยังฉันอาหารในเวลาวิกาลพอดี
อาบัติหรือไม่ เพราะอะไร ?
๒๒. ภิกษุ ขอโภชนะต่อคฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติอย่างไร จึงไม่อาบัติ และเป็นสจิตตกะ ?
๒๓. วิธีประเคนที่ถูกต้องนั้น ต้องประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง ?
อเจลกวรรคที่ ๕
๒๔. ปริพาชก ปริพาชิกา หมายเอาบุคคลเช่นไร ? ภิกษุ ให้ของเคี้ยว ของกินแก่บุคคลเหล่านั้น อย่างไร
เป็นอาบัติ อย่างไรไม่เป็นอาบัติ ?
๒๕. ภิกษุ ก ชวนภิกษุ ข ไปบิณฑบาตแล้วไล่ภิกษุ ข กลับมา ต้องอาบัติหรือไม่ จงชี้แจงมา ?
๒๖. ภิกษุนั่งในห้องกับหญิงไม่มีชายอยู่เป็นเพื่อน เป็นอาบัติอะไร ? ถ้ามีหญิงหลายคนอยู่ด้วย จะคุ้ม
โทษได้หรือไม่ ? และถ้ามีภิกษุ ๒ รูปด้วยกัน ชื่อว่ามีชายอยู่เป็นเพื่อน ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ?
๒๗. ในสิกขาบทของปาจิตตีย์ กล่าวถึงการที่ภิกษุจะรับปัจจัยของบุคคลผู้ปวารณาไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
? ปัจจัยนั้นคืออะไร ?
๒๘. ถ้ามีเหตุจำเป็นพิเศษ เช่นเจ็บไข้อยู่ในกองทัพอยู่เกินกว่า ๓ วัน ต้องอาบัติหรือไม่ ? และเหตุจำเป็น
มีอะไรบ้าง ? เมื่ออยู่ในกองทัพต้องระงับเรื่องอะไรบ้าง จึงจะไม่อาบัติ ?
๒๙. ภิกษุเดินบิณฑบาต ผ่านหน้าสนามฝึกทหาร เหลียวดูเขาฝึกทหาร จะอาบัติหรือไม่ เพราะเหตุใด ?
สุราปานวรรคที่ ๖
๓๐. สุราและเมรัย ต่างกันอย่างไร ? สิกขาบทข้อที่ห้ามดื่มน้ำเมานี้ เป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะ ?
และยกเว้นในกรณีใดบ้าง ? และถ้าภิกษุสูบฝิ่น กัญชา ยาบ้า จะต้องอาบัติอะไร ? เป็นโลกวัชชะ
หรือปัณณัตติวัชชะ จนถึงที่สุดอย่างไร ?
๓๑. ภิกษุต้องอาบัติเพราะความซุกซน มีอย่างไรบ้าง ?
๓๒. ภิกษุว่ายน้ำเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทราบแล้วไม่ถาม แต่อยากทราบว่า ลักษณะอย่างไรที่เป็น
การเล่นน้ำแล้วต้องอาบัติ ?
๓๓. ความไม่เอื้อเฟื้อในพระวินัยมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๓๔. พินทุกัปปะ คืออะไร ? จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า อย่างไหนควรพินทุ อย่างไหนไม่ควรพินทุ
เพราะอะไร ?
๓๕. ภิกษุซ่อนบริขารของภิกษุและสามเณร จะต้องอาบัติอะไร ? ถ้ามีเจตนาจะเก็บไว้ให้จะเป็นอาบัติ
อะไร ?
สัปปานวรรคที่ ๗
๓๖. ภิกษุเห็นว่ามดเป็นสัตว์เล็ก เลยบี้ตาย เช่นนี้เธอจะอาบัติหรือไม่ อย่างไร ?
๓๗. อธิกรณ์ที่ชำระแล้ว อธิกรณ์ใดที่รื้อฟื้นแล้วอาบัติ และอันใดไม่อาบัติ ?
๑๙
๓๘. ภิกษุรูปหนึ่ง ชวนหญิงและพ่อค้าหนีภาษี เดินทางด้วยกันสิ้นระยะทางบ้านหนึ่ง ภิกษุรูปนี้จะอาบัติ
อะไร ? กี่ตัว ? เพราะอะไร ? สิกขาบทที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นสจิตตกะ หรืออจิตตกะ ?
สหธรมมิกวรรคที่ ๘
๓๙. อาการเช่นไร คือ การก่นสิกขาบท ? และต้องอาบัติใด ?
๔๐. ภิกษุ ก ท่องนวโกวาทอยู่ ภิกษุ ข เข้าไปพูดว่า คุณจะท่องไปทำไม ออกพรรษาก็สึก ไม่ได้ใช้ ภิกษุ
ก เห็นด้วยเลยเลิกท่องนวโกวาท ท่าน จะวินิจฉัยอาบัติโทษภิกษุ ก และภิกษุ ข อย่างไร ?
๔๑. อย่างไร เรียกว่า “อาบัติไม่มีมูล” ? โจทก์อาบัติไม่มีมูล ต้องอาบัติอะไรบ้าง ?
๔๒. การจะจับภิกษุประพฤติชั่ว โดยการแอบฟัง จะได้หรือไม่ ? มีข้อกำหนดใดเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร ?
รตนวรรคที่ ๙
๔๓. ภิกษุเห็นของตกอยู่นอกวัด เก็บได้หรือไม่ ? ถ้าตกในวัดจะต้องเก็บไหม ? ท่านวางอาบัติไว้อย่างไร
ใน ๒ กรณีนี้
๔๔. ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล โดยไม่บอกลาภิกษุอื่นในวัด ต้องอาบัติอะไร หรือไม่ ? มีข้อยกเว้นหรือไม่
อย่างไร ? บทบัญญัตินี้เป็นไปตามสิกขาบทใด ?
๔๕. มีทายกถวายเตียงนอนแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่มีเท้าสูงเกินกำหนด ภิกษุนั้นได้นำไปใช้ เช่นนี้ ควรปรับ
อาบัติอย่างไร ?
๔๖. ที่เรียกว่า อาบัติตามสิกขาบทว่า เฉทนกปาจิตตีย์ และเภทนกปาจิตตีย์ นั้น หมายความว่าอย่างไร ?
กัณฑ์ที่ ๘ ปาฏิเทสนียะ
ปาฏิเทสนียะ ๔
๑. ปาฏิเทสนียะ แปลว่าอะไร ? ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันจากมือนางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ด้วยมือตนเอง
ควรปรับอาบัติอย่างไร ?
๒. สิกขาบทอะไร ทำรูปเดียวพ้นอาบัติทั้งหมู่ ?
๓. คำว่า “สกุลเสขะ” หมายเอาสกุลเช่นไร ?
๔. ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเปลี่ยว ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวของฉันที่ทายกแจ้งให้ทราบก่อนด้วยมือตนมา
บริโภค จะอาบัติหรือไม่ อย่างไร ? และคำว่า “เสนาสนะป่าเป็นที่เปลี่ยว” กล่าวถึงในสิกขาบทอะไรบ้าง ?
หมายเอาที่เช่นไร ?
เสขิยวัตร ๗๕
๕. อะไรเรียกว่า เสขิยวัตร ? มีกี่สิกขาบท ? มีความสำคัญอย่างไร ?
๒๐
๖. เสขิยวัตรแบ่งออกเป็นกี่หมวด ? อะไรบ้าง ? เสขิยวัตร จัดเข้าในพระวินัยประเภทใด ? ภิกษุผู้ละเมิด
ต้องอาบัติอะไร ?
๗. นุ่งห่มอย่างไร เรียกว่าเรียบร้อย ? ถ้าภิกษุนุ่งห่มไปม่เรียบร้อย จะต้องอาบัติอย่างไร ?
๘. ในเสขิยวัตร ทรงสอนให้ภิกษุสำรวมตาไว้อย่างไร ?
๙. ภิกษุจ้องดูบาตรของตนขณะบิณฑบาต ต้องอาบัติอะไร ? ถ้าจ้องดูบาตรผู้อื่นเล่า ต้องอาบัติอะไร จง
ตอบให้มีหลัก ?
๑๐. ในเสขิยวัตร ทรงสอนการรับบิณฑบาตที่น่าศรัทธาเลื่อมใสไว้อย่างไร ?
๑๑. ข้อว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ มีอธิบายว่าอย่างไร ?
๑๒. จงยกตัวอย่างวัตรหรือมารยาทว่าด้วยการขบฉันอันเหมาะแก่ความเป็นสมณะ มา ๕ ประการ ?
๑๓. ภิกษุโดยสารรถไปกับคฤหัสถ์ จะแสดงธรรมกับผู้ที่มาด้วยนั้น ได้หรือไม่ อย่างไร ?
๑๔. ตามพระวินัย ภิกษุถืออิริยาบถไหน เป็นอิริยาบถเคารพ จงตอบโดยอ้างหลักที่มาด้วย ?
๑๕. หมวดปกิณณะในเสขิยวัตร มีกี่ข้อ ? มีประโยชน์อย่างไร ?
๑๖. ในเสขิยวัตร ทรงสอนให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมไว้อย่างไร ?
กัณฑ์ที่ ๙ อธิกรณสมถะ
๑. อธิกรณ์ คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
๒. ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น เรียกว่าอะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๓. พระบรมศาสดา ทรงจัดกิจการของหมู่อธิกรณ์ไว้หมวดหนึ่ง ด้วยมีวัตถุประสงค์อย่างไร ?
๔. การอุปสมบท จัดเป็นอธิกรณ์หรือไม่ ? อย่างไร ? และจะพึงระงับด้วยสมถะอะไร ?
๕. ภิกษุเถียงกันด้วยเรื่องการแก้ปัญหาการเมือง เป็นอธิกรณ์หรือไม่ เพราะอะไร ?
๖. ภิกษุกระทำคืนอาบัติที่ต้องแล้ว โดยสมควรแก่ธรรม จัดเป็นการระงับอธิกรณ์อะไร ? ด้วยสมถะข้อ
ไหน ?
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร
ผู้ออก/พิมพ์/ทานแบบฝึกหัด

Contenu connexe

Similaire à แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563

แนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคมแนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคมJinwara Sriwichai
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคมyyyim
 
วิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษาวิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษาChariyakornkul
 
Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52wimvipa39
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษาlinnoi
 
วิชาสังคม
วิชาสังคมวิชาสังคม
วิชาสังคมsupamatinthong
 

Similaire à แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563 (20)

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
 
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdfประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
 
แนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคมแนวข้อสอบ Onet สังคม
แนวข้อสอบ Onet สังคม
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ส 43101 ม.6
ส 43101 ม.6ส 43101 ม.6
ส 43101 ม.6
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
1
11
1
 
วิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษาวิชา สังคมศึกษา
วิชา สังคมศึกษา
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52Onet สังคมปี 52
Onet สังคมปี 52
 
3
33
3
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
วิชาสังคม
วิชาสังคมวิชาสังคม
วิชาสังคม
 
1
11
1
 

Plus de Theeraphisith Candasaro

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่Theeraphisith Candasaro
 
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทคู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทTheeraphisith Candasaro
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐Theeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATETheeraphisith Candasaro
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อTheeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์Theeraphisith Candasaro
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคTheeraphisith Candasaro
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย Theeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์Theeraphisith Candasaro
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติTheeraphisith Candasaro
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ Theeraphisith Candasaro
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีTheeraphisith Candasaro
 

Plus de Theeraphisith Candasaro (20)

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
 
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทคู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
 
e-Donatin
e-Donatine-Donatin
e-Donatin
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
 
คำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศลคำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศล
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
 
Put the right man on the right job
Put the right man on the right jobPut the right man on the right job
Put the right man on the right job
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
 

แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563

  • 2.
  • 4. ๑ แบบฝึกหัด วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ส่วนธรรมวิภาค สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรมตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์ ทุกะ หมวด ๒ ๑. คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ? ธรรมข้อนี้ มีอุปการะมาก เพราะอะไร ? ๒. ธรรมคุ้มครองโลก มีอะไรบ้าง ? ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้อย่างไร ? ๓. หิริ กับโอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร ? ๔. บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงาม เพราะปฏิบัติธรรมอะไร ? ธรรมนั้น ทำให้งามได้อย่างไร ? ๕. จะเรียกบุคคลเช่นไรว่า เป็นหนี้ท่านผู้อื่นอยู่ ? ๖. ผู้ได้ชื่อว่า กตัญญูกตเวทีบุคคล เพราะปฏิบัติตนอย่างไร ? ๗. บุพพการี และกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? จัดไว้เป็นคู่อย่างไรบ้าง ? ๘. พระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ในฐานะบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ? ติกะ หมวด ๓ ๙. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือใคร ? รวมเรียกว่าอะไร ? ที่ได้ชื่อเช่นนั้น เพราะอะไร ? ๑๐. ในรตนะ ๓ แต่ละประการ มีคุณอย่างไร ? ๑๑. พระบรมศาสดา ทรงสั่งสอนประชุมชนด้วยอาการอย่างไร ประชุมชนเป็นอันมากจึงได้นับถือ ? ๑๒. โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ข้อไหนเป็นข้อห้าม ? ข้อไหนเป็นคำแนะนำ ? ๑๓. ทุจริต คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? คนที่รับปากแล้วไม่ทำตามนั้น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? ๑๔. สุจริต คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? คนประพฤติชอบเช่นไร จึงชื่อว่า สุจริต ? ๑๕. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? ๑๖. เมื่อโทสะเกิดขึ้นแล้ว มีผลอย่างไร ? คนเราจะประพฤติดี หรือชั่ว มีมูลเหตุมาจากอะไร ? ๑๗. สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ๑๘. จงอธิบายคำต่อไปนี้ ก. ปัพพัชชา ข. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ค. อินทรียสังวร ง. สามัญญลักษณะ ๑๙. ไตรลักษณ์ คืออะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ?
  • 5. ๒ จตุกกะ หมวด ๔ ๒๐. ผู้ที่ต้องการเป็นผู้เจริญ ต้องประพฤติอย่างไร ? ข้อว่า การคบสัตบุรุษ คือทำอย่างไร ? ๒๑. ในวุฑฒิ ๔ เป็นเหตุผล เนื่องกันอย่างไร ? จงอธิบาย ? ๒๒. ปุพเพกตปุญญตา หมายความว่าอย่างไร ? ๒๓. อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ คืออะไรบ้าง ? ข้อไหนสำคัญที่สุด ? ๒๔. อะไร เรียกว่า ปธาน ? มีอะไรบ้าง ? คนเสพยาเสพติด เพียรพยายามจะเลิกให้ได้ ชื่อว่าตั้งอยู่ใน ปธานข้อใด ? ๒๕. ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ เรียกว่าอะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? ๒๖. ผู้ทำงานไม่สำเร็จบรรลุตามที่มุ่งหมาย เพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ? ๒๗. ปัจจัยปัจจเวกขณะ หมายเอาอย่างไร ? ๒๘. ธาตุกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? กำหนดพิจารณาอย่างไร จึงเรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ? ๒๙. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ? ข้อไหนสำคัญที่สุด ? เพราะเหตุใด ? ๓๐. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ? คำว่าทุกข์ ได้แก่ อะไร ? มีสาเหตุมาจากอะไร ? ปัญจกะ หมวด ๕ ๓๑. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? เหราะเหตุไร จึงเป็นกรรมที่เป็นบาปหนัก ที่สุด ? ๓๒. คำว่า อภิณหปัจจเวกขณะ มีอธิบายว่าอย่างไร ? ๓๓. ธรรมเครื่องทำความกล้าหาญ ๕ อย่าง เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? ๓๔. อานิสงส์ของการฟังธรรมมีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? ๓๕. นิวรณธรรม คืออะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? จงจัดนิวรณธรรมทั้งหมดลงในอกุศลมูลมาดู ? ๓๖. นิวรณธรรม หมายถึงอะไร ? ความดีในความหมายของนิวรณ์ หมายเอาความดีอย่างไร ? อุทธัจจกุก กุจจะ จัดเข้าในขันธ์ไหนในขันธ์ ๕ เพราะเหตุใด ? ๓๗. ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ? จงจัดขันธ์ ๕ ลงในนามรูปมาดู ? ฉักกะ หมวด ๖ ๓๘. คารวะ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? การคารวะในบิดามารดาครูอาจารย์ จัดเข้าในอย่างไหน เพราะอะไร ? ๓๙. หลักธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ชื่อว่าอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ? ข้อไหนสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด ? ๔๐. อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ? ๔๑. อายตนะ ๑๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? ในอายตนะ ๑๒ นั้น อย่างไหนเป็นรูป อย่างไหนเป็นนาม ?
  • 6. ๓ ๔๒. อะไรเรียกว่า สัมผัส ? สัตตกะ หมวด ๗ ๔๓. อปริหานิยธรรม คืออะไร ? มีกี่ข้อ ? จงยอกมาให้ดูสัก ๔ ข้อ ? ๔๔. ทรัพย์ประเภทไหนเรียกว่า อริยทรัพย์ ? อริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเหตุไร ? ๔๕. สัปปุริสธรรม คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? มัตตัญญุตา มีอธิบายว่าอย่างไร ? ๔๖. พาหุสัจจะ ในอริยทรัพย์ มีอธิบายว่าอย่างไร ? อัฏฐกะ หมวด ๘ ๔๗. โลกธรรม ๘ ได้แก่อะไรบ้าง ? ท่านสอนให้ปฏิบัติต่อโลกธรรมอย่างไร ? ๔๘. จงสงเคราะห์มรรค ๘ ลงในไตรสิกขามาดู ? ๔๙. คำว่า สัมมาวาจา คือการเจรจาอย่างไร ? ๕๐. คำว่า สัมมาสังกัปปะ คือดำริอย่างไร ? ๕๑. คำว่าเพียรชอบ ในมรรค ๘ หมายเอาความเพียรเช่นไร ? นวกะ หมวด ๙ ๕๒. มละ แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? ๕๓. มลข้อที่ ๑ และ ๙ คืออะไร ? แก้ด้วยธรรมอะไร ? ทสกะ หมวด ๑๐ ๕๔. หลักธรรมต่อไปนี้ แปลว่าอะไร ? เป็นชื่อของธรรมอะไร ? ก. สีลมัย ข. สีลกถา ๕๕. อนุสสติ ๑๐ ว่าโดยชื่อ มีอะไรบ้าง ? ๕๖. ประชุมอย่างไรไม่ควร จงตอบให้มีหลักประกอบด้วย ?
  • 7. ๔ แบบฝึกหัด วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี ส่วนคิหิปฏิบัติ สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรมตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์ จตุกกะ หมวด ๔ ๑. กรรมกิเลส คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กรรมตรงข้ามกับกรรมกิเลส ได้แก่อะไรบ้าง ? ๒. เหตุให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ๓. สัมปรายิกัตถประโยชน์ หมายถึงอะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ๔. สมบัติ ยศ อายุยืน สวรรค์ ท่านว่าเป็นผลที่ได้สมประสงค์ได้ยาก บุคคลพึงบำเพ็ญธรรมอะไร จึงจะสม ประสงค์ ? ๕. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือใครบ้าง ? ๖. บุคคลผู้สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นไว้ได้ เพราะตั้งอยู่ในธรรมอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ๗. มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข พระพุทธศาสนาแสดงความสุขของผู้ครองเรือนไว้อย่างไร ? ๘. ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นาน เพราะอะไรบ้าง ? ๙. ธรรมของฆราวาสผู้ครองเรือน เรียกว่าอะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? ปัญจกะ หมวด ๕ ๑๐. จะใช้จ่ายอย่างไร จึงชื่อว่าใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ? ๑๑. อุบาสกอุบาสิกา ควรงดเว้นการค้าขายที่ไม่ชอบธรรมอะไรบ้าง ? การค้าขายยาเสพติด น้ำขาว เบ็ดตกปลา ลูกเสือดาว มีดสปาร์ตาร์ จัดเข้าในข้อไหน ? ๑๒. สมบัติและวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา มีอะไรบ้าง ? ๑๓. การถือมงคลตื่นข่าว คือการถือเช่นไร ? พระพุทธศาสนาสอนให้ถืออย่างนั้นหรือไม่ อย่างไร ? ๑๔. คำต่อไปนี้ มีความหมายอย่างไร ก. อติถิพลี ข. ปุพพเปตพลี
  • 8. ๕ ฉักกะ หมวด ๖ ๑๕. อยากทราบว่า ในทิศเบื้องขวา คือใคร ? เพราะเหตุไร จึงได้ชื่อเช่นนั้น ? ๑๖. ท่านทั้งหลายจะปฏิบัติบำรุงผู้เป็นทิศเบื้องขวา อย่างไรบ้าง ? ๑๗. บิดามารดา อยู่ในทิศใด ? ท่านกำหนดหน้าที่ของบิดามารดา และกุลบุตรไว้อย่างไร ? ๑๘. สมณพราหมณ์ เมื่อได้รับการบำรุงแล้ว ย่อมอนุเคราะห์ตอบอย่างไร ? ๑๙. อบายมุข คืออะไร ? ดื่มน้ำเมามีโทษ อย่างไร ? ๒๐. นาย ก เป็นผู้ฉลาดในการเล่นพนันฟุตบอล เขาหวังให้นาย ข ผู้เป็นเพื่อน มีเงินทองไว้ก่อสร้างตัว จึงชักชวนนาย ข ให้เล่นด้วย นาย ก จัดเข้าในประเภทมิตรแนะประโยชน์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ? พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ผู้ออก/พิมพ์/ทาน แบบฝึกหัด
  • 10. ๕ ๕ แบบฝึกหัด วิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม อ่านปัญหาให้เข้าใจ แล้วตอบคำถามให้ได้ใจความสมบูรณ์ บทนำ ๑. พุทธประวัติ คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรที่ต้องเรียนรู้ ? ๒. การเรียนรู้พุทธประวัติได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ? ชมพูทวีป ๓. ประชาชนในชมพูทวีป มีกี่จำพวก ? อะไรบ้าง ? เจ้าชายสิทธัตถะ อุบัติขึ้นในวรรณะใด ? ชนชาติใด ? ๔. ชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่อะไรบ้าง ? ๕. ประชาชนในชมพูทวีป แบ่งออกเป็นกี่วรรณะ ? อะไรบ้าง ? มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ? ๖. ในครั้งพุทธกาล ชาวชมพูทวีป นับถือศาสนาอะไร ? ชนเหล่านั้น มีความคิดเห็น เรื่องความเกิด และ ความตาย โดยสรุปอย่างไร ? ศากยวงศ์ และบุคคลในพุทธกาล ๗. ศากยวงศ์ สืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาติเหล่านั้น มาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร ? ๘. พระพุทธบิดา และพระพุทธมารดา ทรงมีพระนามว่าอะไร ? ทรงปกครองแคว้นอะไร ? เมือหลวงชื่อ อะไร ? เหตุใดจึงชื่อเช่นนั้น ? ๙. พระนาม - นาม ต่อไปนี้ เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไรบ้าง ? ๑) พระเจ้าสีหหนุ ๒) พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ๓) พระนันทะ ๔) พระรูปนันทา ๕) อสิตดาบส ๖) ยโสธรา ๗) อานนท์ ๘) นายฉันนะ ๙) วิศวามิตร
  • 11. ๖ ๖ ๑๐) อาฬารดาบส ๑๑) อุทกดาบส ๑๒) กาฬุทายี ๑๓) พระนางมายา ๑๔) โกณฑัญญะ ๑๕) พระเจ้าสุทโธทนะ ๑๐. อสิตดาบส ได้ทำนายเจ้าชายสิทธัตถะว่าอย่างไร ? เหตุการณ์ในระหว่างพระชนม์ก่อนออกผนวช ๑๑. เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในช่วงต่าง ๆ ต่อไปนี้ มีอะไรบ้าง ? ๑) ๓ วัน ๒) ๕ วัน ๓) ๗ วัน ๔) ๗ ปี ๕) ๑๖ ปี ๖) ๒๙ ปี ๗) ๓๕ ปี ๘) ๘๐ ปี ๑๒. พระมหาบุรุษ ประสูติที่ไหน ? เมื่อไร ? เหตุใดจึงประสูติที่นั่น ? ๑๓. ในวันเสด็จทำพิธีแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะได้บังคมเจ้าชายสิทธัตถะผู้ประทับนั่งใต้ต้นหว้า เพราะเหตุไร ? เสด็จออกผนวช ๑๔. การที่พระราชบิดาและพระญาติวงศ์ คิดผูกพันเจ้าชายสิทธัตถะไว้ให้เพลิดเพลินอยู่ในกามสุข เพราะ เหตุไร ? และด้วยวิธีใด ? ๑๕. พระมหาบุรุษ เสด็จออกผนวช เพราะทอดพระเนตรเห็นอะไร ? เมื่อเห็นแล้วมีพระดำริเช่นไร ? ๑๖. พระมหาบุรุษ เสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุเท่าไร ? ที่ไหน ? ๑๗. ภายหลังการผนวช พระมหาบุรุษทรงไปศึกษากับใครหรือไม่ ? ได้ผลการศึกษา เป็นเช่นไร ? บำเพ็ญทุกกรกิริยา ๑๘. ทุกกกิริยา คืออะไร ? พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญที่ไหน ? ใครเป็นพยานในเรื่องนี้ ? ๑๙. พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างไรบ้าง ? นานเท่าไหร่ ? ๒๐. การที่พระมหาบุรุษทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยานั้น เพราะเหตุใด ? ก่อนตรัสรู้ ๒๑. ข้าวมธุปายาส คืออะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย ? มีความสำคัญอย่างไรกับพระมหาบุรุษ ? ๒๒. ในวันตรัสรู้ พระมหาบุรุษทรงอธิษฐานพระหทัยที่ใต้ต้นโพธิอย่างไร ? พระมหาบุรุษทรงชนะมาร ด้วยบารมีธรรมอะไรบ้าง ? ๒๓. ในราตรีแห่งการตรัสรู้ พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณอะไรบ้างในแต่ละยาม ? และญาณข้อใด ที่ทำให้ พระองค์สำเร็จความเป็นพุทธะ โดยสมบูรณ์ ?
  • 12. ๗ ๗ หลังตรัสรู้ ๒๔. เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ พระองค์ทรงพิจารณาบุคคลผู้สามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ โดยเปรียบเทียบ กับบัวกี่เหล่า ? อะไรบ้าง ? และทรงเปรียบเทียบอย่างไร ? ๒๕. ผู้ประกาศตนเป็นอุบาสกด้วยการถึงรัตนะ ๒ เป็นครั้งแรก คือใคร ? ได้พบพระพุทธเจ้าที่ไหน ? ๒๖. พระกระยาหารมื้อแรกของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ คืออะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย ? ๒๗. พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรเป็นเวลากี่ปี จึงได้ตรัสรู้ ? ตรัสรู้ที่ไหน ? เมื่อใด ? ๒๘. พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ เพราะทรงพิจารณาอย่างไร ? ๒๙. เมื่อตรัสรู้แล้ว ในระหว่างทางที่เสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าทรงสนทนากับใคร ? บุคคลผู้นั้น ได้บรรลุธรรมชั้นใด ? ๓๐. พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ในพรรษาแรกเสด็จประทับที่ไหน ? และทรงบำเพ็ญพุทธกิจอย่างไรบ้างใน พรรษานั้น ? ปัญจวัคคีย์ ๓๑. ปัญจวัคคีย์ คือใคร ? พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ก่อนเพราะเหตุไร ? ๓๒. หลังตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงประสงค์จะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ? สมประสงค์หรือไม่ ? เพราะ เหตุไร ? ๓๓. พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเมื่อไร ? ใจความแห่งปฐมเทศนานั้นว่าด้วยเรื่องอะไร ? ปัญจ วัคคีย์ ได้ฟังแล้วเกิดผลเช่นไร ? ๓๔. ใครเป็นผู้ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” เป็นคนแรก ? เห็นว่าอย่างไร ? ๓๕. ธรรมจักษุ คืออะไร ? ปัญจวัคคีย์นั้น ได้ธรรมจักษุ เพราะฟังธรรมอะไร ? ท่านเหล่านั้น บรรลุ อรหันตผลเพราะฟังธรรมอะไร ? ๓๖. “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” เป็นคำพูดของใคร ? เหตุใดจึงพูดเช่นนั้น ? ความวุ่นวายขัดข้อง นั้น สงบได้อย่างไร ? ๓๗. “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง” เป็นวาจาของใคร กล่าวกะใคร ? ๓๘. อนุปุพพีกถา ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงครั้งแรกแก่ใคร ? ชฎิล ๓ พี่น้อง ๓๙. ชฏิล ๓ พี่น้อง มีใครบ้าง ? แต่ละคนมีบริวารเท่าใด ? ๔๐. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่ใคร ? ที่ไหน ? มีใจความสำคัญว่าอย่างไร ? โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ๔๑. เพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าทรงเลือกแคว้นมคธเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก ? ๔๒. พระราชาของแคว้นไหน ที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นองค์แรก ? มีพระนามว่าอะไร ? ๔๓. ความปรารถนาว่า “ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์” เป็นความปรารถนาของใคร ? ความปรารถนานั้น สำเร็จบริบูรณ์เมื่อไร ? ที่ไหน ?
  • 13. ๘ ๘ ๔๔. พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงราชคฤห์ครั้งแรกภายหลังการตรัสรู้ ทรงประทับที่ใด ? ทรงรับถวายพระอาราม แห่งแรกชื่อว่าอะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย ? พระอัครสาวก ๔๕. พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เดิมชื่อว่าอะไร ? ได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟังธรรมจากใคร ? ธรรมนั้นมีใจความว่ากระไร ? ทั้งสองนั้นสำเร็จขั้นใด ? ๔๖. พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ได้ฟังธรรมอะไร จึงสำเร็จอรหันตผล ? เมื่อใด ? เหตุใด จึง สำเร็จอรหันตผลช้าเร็วไม่เท่ากัน ? ๔๗. พระอัครสาวกได้แก่ใคร ? มีคุณเด่นในด้านใด ? พระธรรมเสนาบดี หมายถึงใคร ? เพราะอะไรจึงได้ ชื่อนั้น ? จาตุรงคสันนิบาต ๔๘. ในวันจาตุรงคสันนิบาต พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ใคร ? ที่ไหน ? ทรงยกธรรม ข้อใดขึ้นแสดงเป็นข้อต้น ? ๔๙. จาตุรงคสันนิบาต คืออะไร ? ประกอบด้วยอะไรบ้าง ? พระธรรมเทศนาและพระสูตร ๕๐. พระสูตรต่อไปนี้ ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงเมื่อไร ? แสดงแก่ใครเป็นครั้งแรก ? ผลเป็นเช่นไร ๑) อนัตตลักขณสูตร ๒) อาทิตตปริยายสูตร ๓) อนุปุพพีกถา ๔) เวทนาปริคคหสูตร ก่อนปรินิพพาน ๕๑. การปลงอายุสังขารของพระบรมศาสดา ถือโดยใจความว่าอย่างไร ? ทรงกระทำอย่างไร ? ที่ไหน ? เมื่อไหร่ ? ๕๒. พระบรมศาสดาทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เมืองใด ? ทรงรับภัตตาหารมื้อสุดท้ายจากใคร ? ภัตตาหาร นั้นชื่ออะไร ? ที่ไหน ? ๕๓. พระบรมศาสดา ตรัสถึงสาเหตุของแผ่นไหวไว้าเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? ๕๔. เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน มีพระโอวาทเกี่ยวกับศาสดาแทนพระองค์อย่างไร ? ๕๕. พรหมทัณฑ์ คืออะไร ? ต้องปฏิบัติต่อผู้ถูกลงพรหมทัณฑ์อย่างไร ? ใครเป็นคนแรกที่ถูกลงพรหม ทัณฑ์ ? ๕๖. พระบรมศาสดา ตรัสวิธีปฏิบัติต่อสตรีไว้อย่างไร ? ตรัสกับใคร ? ๕๗. พระปัจฉิมโอวาท มีใจความว่าอย่างไร ? ทรงประทานที่ไหน ? ๕๘. ปัจฉิมสาวก คือใคร ?
  • 14. ๙ ๙ ๕๙. ถูปารหบุคคล คือบุคคลเช่นไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? หลังปรินิพพาน ๖๐. เมื่อวันที่พระบรมศาสดาปรินิพพาน มีพระสาวกผู้ใหญ่อยู่ในที่นั้นกี่รูป ? ใครบ้าง ? ๖๑. สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ชื่อว่าอะไร ? ตั้งอยู่ในเมืองอะไร ? เมื่อไร ? ผู้ที่กล่าวสุนทร พจน์ระงับมิให้เกิดสงครามแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ คือใคร ? ๖๒. สังเวชนียสถาน คือสถานที่เช่นไร ? มีอะไรบ้าง ? ๖๓. เจดีย์มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? พระพุทธรูป สังเวชนียสถาน ตุมพสถูป และอังคารสถูป เป็นเจดีย์ ประเภทใด ? ๖๔. สถานที่ต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ? ๑) ลุมพินีวัน ๒) อิสิปตนมฤคทายวัน ๓) ลัฏฐิวัน ๔) เวฬุวัน ๕) บุพพาราม ๖) เชตวัน ๗) สาลวโนทยาน ***************************
  • 15. ๑๐ ๑๐ แบบฝึกหัด วิชา พุทธประวัติ ส่วนศาสนพิธี นักธรรมชั้นตรี สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม อ่านปัญหาให้เข้าใจ แล้วตอบคำถามให้ได้ใจความสมบูรณ์ ๑. ศาสนพิธี คืออะไร ? มีกี่หมวด ? อะไรบ้าง ? ผู้ที่ได้เรียนแล้วได้รับประโยชน์อย่างไร ? ๒. ท่านได้ศึกษาศาสนพิธีแล้ว เข้าใจเรื่องต่อไปนี้อย่างไร ? ๑) บุญพิธี ๒) ทานพิธี ๓) กุศลพิธี ๓. ในพิธีทำบุญต่าง ๆ มีผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติกี่ฝ่าย ? คือใครบ้าง ? ๔. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึงอะไร ? ๕. การแสดงความเคารพในศาสนพิธีมีอะไรบ้าง ? เรียกว่าอะไร ? ในแต่ละอย่างมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ? ๖. การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึงอย่างไร ? ๗. ในการประเคนของถวายพระ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ? ๘. การเผดียงสงฆ์ และการอาราธนา หมายถึงอะไร ? ๙. ปาฏิบุคลิกทาน และสังฆทาน เหมือนหรือต่างกัน อย่างไร ? ๑๐. เจริญพระพุทธมนต์ และสวดพระพุทธมนต์ ใช้อย่างไร ? ในงานมงคลเจ้าภาพควรจุดเทียนน้ำมนต์ เมื่อใด ? ๑๑. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่นิยมประกอบการบูชาเป็นพิเศษ ในปีหนึ่ง ๆ มีวันอะไรบ้าง ? เมื่อไร ? มีความสำคัญอย่างไร ? ๑๒. การเดินเวียนเทียนรอบปูชนียสถาน เดินเวียนขวา หรือซ้าย ? เดินกี่รอบ ? แต่ละรอบพึงปฏิบัติ เช่นไร ? ๑๓. อุโบสถ และปกติอุโบสถ หมายถึงอะไร ? ๑๔. การกรวดน้ำมีวิธีทำอย่างไร ? คำกรวดน้ำแบบย่อที่สุดว่าอย่างไร ? ๑๕. เพื่อปฏิบัติให้ถูกกับหลักศาสนพิธี เจ้าภาพพึงกรวดน้ำและประนมมือรับพรตอนไหน ? ๑๖. จงเขียนคำอาราธนาต่อไปนี้มาดู ๑) คำอาราธนาศีล ๕
  • 16. ๑๑ ๑๑ ๒) คำอาราธนาพระปริตร ๓) คำอาราธนาธรรม ๔) คำสมาทานอุโบสถศีล ๕) คำถวายสังฆทานสามัญพร้อมคำแปล ๖) คำถวายสังฆทานอุทิศพร้อมคำแปล *************************** พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ผู้ออก/พิมพ์/ทาน แบบฝึกหัด
  • 18. ๑๒ แบบฝึกหัด วิชา วินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี คำสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรมตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์ กัณฑ์ที่ ๑ อุปสัมปทา ๑. การอุปสมบทมีกี่วิธี ? อะไรบ้าง ? ใครเป็นผู้กระทำ ? การสำเร็จภิกขุภาวะนั้น เราท่านจะทราบได้ อย่างไร ? ๒. การกสงฆ์ คืออะไร ? มีเท่าไร ? จงบอกให้เข้าใจ ? ๓. การบรรพชาอุปสมบทในปัจจุบันใช้วิธีใด ? และกำหนดสงฆ์อย่างต่ำไว้เท่าใด ? ๔. สมบัติ ๔ มีอะไรบ้าง ? วัตถุสมบัติ และปริสสมบัติ คืออะไร? ได้แก่อะไรบ้าง ? ๕. บุคคลเช่นไร เรียกว่า อุปัชฌาย์ ? อัฏฐบริขารได้แก่อะไรบ้าง ? และสิ่งใดในบริขาร ๘ ที่จะขาดไม่ได้ ? ๖. บุพพกิจ คืออะไร ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? ๗. อะไรเรียกว่า อนุศาสน์ ? มีเท่าไหร่ ? อะไรบ้าง ? จงยกมาแถลงให้เข้าใจ ? ๘. สิกขา กับสิกขาบท ต่าง หรือเหมือนกันอย่างไร ? ๙. ในพระพุทธศาสนานี้ พระภิกษุ สามเณรต้องศึกษาอะไร ? เมื่อศึกษาแล้ว จะเกิดประโยชน์ อย่างไร ? ๑๐. อนุศาสน์ ท่านว่าต้องรีบสอนพระใหม่ทันทีที่อุปสมบทเสร็จ เพราะเหตุใด ? เมื่อพระภิกษุประพฤติ ตนล่วงอกรณียกิจทั้ง ๔ ท่านเปรียบไว้อย่างไรบ้าง ? กัณฑ์ที่ ๒ พระวินัย ๑. ในพระศาสนานี้ พระบรมศาสนา ทรงดำรงอยู่ในฐานะใดบ้าง ? และเพราะเหตุใด พระบรมศาสดาจึง ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ ? ๒. พระบรมศาสดาทรงดำรงฐานะเป็นสังฆบิดรดูแลภิกษุสงฆ์ พระองค์จึงทรงทำหน้าที่ทางพระวินัย อย่างไร ? ๓. คำสั่งสอนในพระศาสนานี้ ประกอบด้วย พระธรรม และพระวินัยนั้นทราบแล้ว แต่อยากทราบว่า พระวินัยคืออะไร ? และมีความสำคัญเช่นไร ? ๔. อะไรเรียกว่า พระวินัย สิกขา สิกขาบท ? อาบัติว่าโดยชื่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
  • 19. ๑๓ ๕. จงอธิบายคำต่อไปนี้ ก. พุทธบัญญัติ ข. มูลบัญญัติ ค. อนุบัญญัติ ๖. พระวินัยนั้น พระบรมศาสดาทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้าใช่หรือไม่ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงบัญญัติ พระวินัยอย่างไร ? ๗. อาบัติ แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? อาบัติมีโทษกี่สถาน ? อะไรบ้าง ? ๘. จงอธิบายคำต่อไปนี้ ก. อเตกิจฉา ข. สเตกิจฉา ค. สจิตตกะ ง. อจิตตกะ ๙. อะไรเรียกว่า สมุฏฐาน แห่งอาบัติ ? มีเท่าไร จงบอกมาดู ? ๑๐. อย่างไรเรียกว่าอาบัติเป็นโลกวัชชะ ? อย่างไรเรียกว่าอาบัติเป็นปัณณัตติวัชชะ ? จงยกตัวอย่าง ประกอบด้วย ? ๑๑. อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ข้อไหนถือว่าเลวที่สุด ? ๑๒. อาการที่ภิกษุต้องอาบัติข้อที่ว่า “ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำ” มีอธิบายไว้อย่างไร ? ๑๓. พระวินัยมีอะไรเป็นอานิสงส์ จงอธิบายมาดู ? ๑๔. ประโยชน์แห่งการบัญญัติพระวินัยมีอะไรบ้าง ? กัณฑ์ที่ ๓ สิกขาบท ๑. วินัย มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ในแต่ละอย่างนั้น หมายเอาเรื่องใด ? ๒. สิกขาบท คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? และสิกขาบทที่นำมาสวดทุกกึ่งเดือน เรียกว่าอะไร ? มีเท่าไร ? ๓. การปรับอาบัติมีกี่แบบ ? อะไรบ้าง ? ๔. สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ท่านปรับอาบัติแก่ผู้ละเมิดสิกขาบทนั้นทั้งหมด หรือไม่ อย่างไร ? ๕. ภิกษุที่ละเมิดข้อที่พระบรมศาสดาทรงห้ามแล้วไม่ต้องอาบัติ มีหรือไม่ ? ถ้าไม่มีก็แล้วไป แต่ถ้ามี ได้แก่ พระภิกษุเช่นไร ? กัณฑ์ที่ ๔ ปาราชิก ๑. ปาราชิก แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? ข้อยกเว้นร่วมกันของอาบัติทั้งหลายที่พระภิกษุผู้ล่วงแล้วไม่ ต้องอาบัติ มีอะไรบ้าง ? ๒. ภิกษุทำอย่างไร จึงได้รับวินิจฉัยว่า ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุน ? ๓. องค์แห่งการเสพเมถุนมีอะไรบ้าง ? ภิกษุถูกข่มขืน ต้องอาบัติอะไรบ้าง ? ๔. ทรัพย์ที่เป็นเหตุให้ถึงอาบัติปาราชิก กล่าวโดยหลักมีกี่ประเภท ? และมีกำหนดเขตว่าถึงที่สุดอย่างไร ?
  • 20. ๑๔ ๕. ทรัพย์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์ เมื่อรวมแล้วมีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? ภิกษุจะต้องอาบัติ เพราะทรัพย์ ของตน มีหรือไม่ จงชี้แจงมา ? ๖. อวหาร คืออะไร ? มีเท่าไร อะไรบ้าง ? คำว่า “ลักสับ” หมายเอาว่าอย่างไร ? ๗. อาการที่ไม่เป็นอทินนาทาน มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? และคำว่า “ไถยจิต” ท่านหมายเอาอาการเช่นไร ? ๘. ในอทินนาทานสิกขาบท ท่านกำหนดราคาทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ? ๙. ภิกษุทำร้ายผู้อื่นถึงตาย เป็นอาบัติปาราชิกก็มี ไม่ถึงปาราชิกก็มี เหตุใดจึงปรับอาบัติไม่เท่ากัน จงชี้แจง มา ? ๑๐. ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตาย เป็นอาบัติอะไรบ้าง ? ถ้าภิกษุพยายามจะฆ่าตนเอง เป็นอาบัติใดได้บ้าง ? ๑๑. การปลงชีวิตอย่างไร ถึงต้องอาบัติถุลลัจจัย ? ๑๒. ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้องอาบัติอะไร ? คำว่า “อุตตริมนุสสธรรม” หมายเอาธรรมเช่นไร ? และภิกษุพูดอวดเช่นไร จึงต้องอาบัติ ? ๑๓. ปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท สิกขาบทใดบ้าง เป็นสาณัตติกะ อนาณัตติกะ สจิตตกะ และอจิตตกะ ? และ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ๑๔. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว มีผลอย่างไร ? ภายหลังจะกลับมาอุปสมบทได้อีกหรือไม่ ? กัณฑ์ที่ ๕ สังฆาทิเสส ๑. สังฆาทิเสส แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? มีกี่สิกขาบท ? ๒. เหตุใด อาบัติสังฆาทิเสส จึงเรียกว่า ครุกาบัติ ทุฏฐุลลาบัติ และวุฏฐานคามินี ? ๓. ที่เรียกว่า “อาบัติชั่วหยาบ” ท่านหมายเอาสิกขาบทใดบ้าง ? เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น ? ๔. ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายอนุปสัมบัน สัตว์เดียรัจฉาน ต้องอาบัติอะไร ? ๕. การพูดเกี้ยว เป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ? ๖. ในคัมภีร์วิภังค์ กำหนดองค์แห่งการชักสื่อไว้เท่าไร ? อะไรบ้าง ? ๗. สามีภรรยาทะเลาะกัน ภรรยากลับไปอยู่บ้านเดิม ภิกษุชักโยงให้ทั้งสองคืนดีกัน ต้องอาบัติอะไร หรือไม่ ? เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น ? ๘. สังฆาทิเสสสิกขาบทใด ที่ภิกษุต้องเพราะมีราคะ ? และสิกขาบทใดที่ภิกษุต้องเพราะมีโทสะ ? ๙. การปรับอาบัติในสิกขาบทที่ ๕ แห่งสังฆาทิเสส กำหนดองค์แห่งอาบัติไว้อย่างไร ? ๑๐. คำว่า “หญิง” ในสิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕ แห่งสังฆาทิเสส หมายเอาหญิงเช่นไร ? ๑๑. สิกขาบทที่ ๗ แห่งสังฆาทิเสส กำหนดองค์แห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ? ๑๒. อาการโจทก์มีอะไรบ้าง ? เมื่อโจทก์ด้วยอาบัติไม่มีมูลเป็นอาบัติอะไร ? คำว่า “ไม่มีมูล” ในสิกขาบท ที่ ๘ แห่งสังฆาทิเสส หมายเอาเช่นไร ? ๑๓. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทก์ภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกนั้น คำว่า “เลส” กำหนดด้วยอาการ เช่นไร ?
  • 21. ๑๕ ๑๔. ภิกษุพากเพียรทำลายสงฆ์ให้แตกกัน สงฆ์แตกกันแล้ว ตามความมุ่งหมายอย่างหนึ่ง ไม่แตกกันตาม ความมุ่งหมายอย่างหนึ่ง เธอต้องอาบัติอะไรบ้าง ? เพราะอะไร ? ๑๕. สิกขาบทที่ ๑๒ แห่งสังฆาทิเสส ทรงบัญญัติไว้เพื่อประสงค์ใด ? คำว่า “สงฆ์สวดกรรม” หมายถึง อะไร ? เรียกว่าอะไร ? เมื่อสวดแล้วจะต้องอาบัติอะไรบ้าง ? ๑๖. คำว่า “ภิกษุประทุษร้ายตระกูล” หมายเอาการกระทำเช่นไร ? ๑๗. สังฆาทิเสสทั้ง ๑๓ สิกขาบท ที่ชื่อว่า ปฐมาปัตติกา และยาวตติยกะ หมายความว่าอย่างไร ? ๑๘. สังฆาทิเสสข้อไหน ที่ภิกษุล่วงละเมิดแล้ว จัดเป็นคนเลวทรามที่สุด ? เพราะเหตุใด ? ๑๙. จงอธิบายวิธีการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสมาแต่โดยย่อ ? อนิยต ๒ ๒๐. ที่เรียกว่า อนิยต ท่านหมายเอาเช่นไร ? เหตุใดจึงไม่แยกไว้เป็นอาบัติแผนกหนึ่ง ? ๒๑. ในอนิยตทั้ง ๒ สิกขาบท เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? ๒๒. ในอนิยตนั้น ท่านปรับอาบัติไว้อย่างไร ? เพราะเหตุใดจึงปรับอาบัติเช่นนั้น ? ๒๓. ที่ลับหู และที่ลับตา ท่านหมายเอาที่เช่นไรบ้าง ? กัณฑ์ที่ ๖ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ ๑. คำว่า “นิสสัคคิยปาจิตตีย์” แปลว่าอะไร ? หมายถึงอะไร ? ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้ว ทำเช่นไรจึงจะพ้น ? ๒. อติเรกจีวร ได้แก่อะไร ? ภิกษุเก็บไว้ได้กี่วัน ? ที่ทรงห้ามไม่ให้เก็บอติเรกจีวรด้วยมีพุทธประสงค์ อย่างไร ? ๓. ไตรจีวร คืออะไร ? ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น ต้องอาบัติอะไร ? ในกาลเช่นไร ทรงอนุญาตให้ภิกษุ อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ ? ๔. ภิกษุได้จีวรใหม่มา เธอต้องปฏิบัติเช่นไร จึงจะชอบด้วยวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต ? ผ้าที่ทรงอนุญาต ให้นำมาทำจีวรได้มีอะไรบ้าง ? ๕. คนเช่นไร เรียกว่า “ญาติ” ? คนเช่นไร เรียกว่า “ปวารณา” ? ๖. ภิกษุต้องการจีวร จะร้องขอจากศิษย์ของตน หรือขอจากคฤหัสถ์ จะขัดข้องทางพระวินัย หรือไม่ ? จง ชี้แจง ? ๗. ขอทราบนิสสัคคีย์โดยล่วงเวลาสัก ๓ อย่าง ? และจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้ว ควรสละให้แก่ใคร ? ถ้าจีวร นั้นสูญหาย พึงปฏิบัติเช่นไร ? ๘. พระบัญญัติที่ให้ประโยชน์พิเศษแก่ภิกษุในจีวรสมัย มีอะไรบ้าง ?
  • 22. ๑๖ โกสิยวรรคที่ ๒ ๙. ภิกษุซื้อจีวรใช้สอยเอง ต้องอาบัติหรือไม่ อย่างไร ? ๑๐. สันถัต ได้แก่อะไร ? อย่างไนทรงห้าม ? อย่างไหนทรงอนุญาต ? ๑๑. จตุกกนิสสัคคียปาจิตตีย์ หมายถึงสิกขาบทใด ? วรรคใด ? ความว่าอย่างไร ? ๑๒. แก้วแหวน เงินทอง ของที่เป็นวัตถุอนามาส ทรงอนุญาตให้จับต้องได้ในโอกาสเช่นไรบ้าง ? หรือ ห้ามเด็ดขาดทีเดียว จงตอบให้มีหลัก ? ๑๓. ภิกษุแลกเปลี่ยนของกับสามเณร ของที่ได้มาเป็นนิสัคคีย์หรือไม่ ? และอาศัยอะไรเป็นหลักจึงตอบ เช่นนั้น ? ปัตตวรรคที่ ๓ ๑๔. ภิกษุรับประเคนน้ำผึ้งแล้วลืม ปล่อยวางไว้ล่วง ๑๐ วัน เข้าใจว่ายังไม่ล่วง ๗ วัน เธอจะต้องอาบัติ อะไรหรือไม่ ? เพราะอะไร ? ๑๕. อติเรกบาตร คือบาตรเช่นไร ? ภิกษุจะต้องนิสัคคีย์ด้วยอาการเช่นไร ? ๑๖. สิกขาบทที่ ๑ และ ๒ แห่งปัตตวรรค เหมือนหรือต่างกันอย่างไร จงอธิบาย ? ๑๗. เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ได้กี่วัน ? ๑๘. เวลาใด เรียกว่า จีวรกาล ? ๑๙. ภิกษุจำพรรษาหลัง จะได้รับอานิสงส์พรรษา และรับกฐินได้หรือไม่ เพราะอะไร ? ๒๐. อะไรเรียกว่า ลาภที่ภิกษุน้อมมาไม่ได้ ? อย่างไหนมีโทษอะไรบ้าง ? ๒๑. ภิกษุรู้อยู่ว่าน้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อตน เพื่อบุคคล เพื่อสงฆ์อื่น ต้องอาบัติอะไร ? กัณฑ์ที่ ๗ ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ ๑. ปาจิตตีย์ แปลว่าอะไร ? มีกี่วรรค ? มีกี่สิกขาบท ? ๒. ภิกษุพูดมุสา จะเป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ? ๓. ปฏิสสวทุกกฎ หมายเอาอาการเช่นไร ? ปรากฏในสิกขาบทใด ? ๔. ท่านปรับโทษภิกษุผู้พูดมุสาเป็นปาจิตตีย์ ก็เพื่อป้องกันมิให้พูดเหลวไหล ถ้าภิกษุพูดจริงทุกเรื่องก็เป็น อันพ้นอาบัติเพราะเรื่องพูด ท่านเห็นจริงตามนี้หรือไม่ ? ถ้าเห็นแย้ง จงอธิบายมา ? ๕. คำว่า “โอมสวาท” หมายถึงอะไร ? เรื่องสำหรับด่า เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? ๖. อาบัติปาจิตตีย์ใดบ้าง ที่ภิกษุประพฤติแล้ว ทำให้เป็นคนเลว แสดงความดุร้าย ทำให้เสียหาย และเป็น ความซุกซน จงยกตัวอย่างมาพอเข้าใจ ?
  • 23. ๑๗ ๗. ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ถ้าว่าพร้อมกันต้องปาจิตตีย์ เป็นอจิตตกะ หรือสจิตตกะ ? แม้ถ้าไม่ได้ ตั้งใจจะอาบัติหรือไม่ ? สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติเพื่ออะไร ? และเมื่อมีเหตุให้ภิกษุต้องแสดงธรรมแก่หญิง ท่านจะแสดงเช่นไรจึงจะไม่อาบัติ ๘. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุปสัมบัน ต้องอาบัติอะไร จงชี้แจง ? ๙. ปฐพี มีกี่อย่าง? อะไรบ้าง ? ภิกษุขุดต้องอาบัติอย่างไร ? เป็นโลกวัชชะ หรือปัณณัตติวัชชะ ? ภูตคามวรรคที่ ๒ ๑๐. ภูตคาม หมายเอาพืชเช่นไร ? พีชคาม หมายถึงอะไร ? ๑๑. ภิกษุ เห็นว่า อาบัติที่เกิดจากการพูดมีมาก จึงนิ่งเสีย เช่นนี้ยังมีทางจะต้องอาบัติอีกหรือไม่ ? ถ้าไม่มี ก็แล้วไป แต่ถ้ามี จงชี้แจงมา ? ๑๒. ในสิกขาบทมีบทลงโทษต่อภิกษุผู้ติเตียนสงฆ์ผู้ได้รับสมมติต่อหน้าอุปสัมบัน และอนุปสัมบัน และ ไม่ได้รับสมมติ แต่ทำการโดยผู้เดียว อย่างไรบ้าง ? ๑๓. ภิกษุเอาเตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ และที่นอน ไปตั้งวางทิ้งไว้กลางแจ้ง หรือในกุฎีสงฆ์ แล้วทิ้งไปไม่ กลับมาใยดีอีก จนของเสียหาย ภิกษุที่กระทำเช่นนี้จะอาบัติอะไร จงอธิบาย ? ภิกษุนั้นจะต้องทำเช่นไรจึง จะพ้นอาบัติ ? ๑๔. ภิกษุต้องการแย่งกุฎีสงฆ์ของภิกษุอื่น จึงเอาของเพื่อนภิกษุผู้ทะเลาะไปโยนทิ้งนอกกุฎี เขาต้อง อาบัติปาจิตตีย์หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? การขับไล่กรณีใดไม่อาบัติ ? ๑๕. ภิกษุขาดสติไม่ทันดูว่า น้ำมีตัวสัตว์เอาไปรดดิน ภิกษุนี้ จะอาบัติอะไร หรือไม่ เพราะอะไร ? โอวาทวรรคที่ ๓ ๑๖. ภิกษุกลุ่มหนึ่งได้รับสมมติแล้ว ได้เข้าไปสอนภิกษุณีถึงในที่อยู่ จะอาบัติหรือไม่ ? ภิกษุ ก อิจฉา ภิกษุ ข ติเตียนว่า สอนภิกษุณี เพราะเห็นแก่ลาภ อาบัติหรือไม่ ? อย่างไร ๑๗. ภิกษุชวนภิกษุณีเดินทางด้วยกัน สิ้นระยะทางบ้านหนึ่ง แล้วไปร่วมนั่งเรือล่องไปอีกที่หนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาบัติปาจิตตีย์กี่ตัว ? และจะไม่อาบัติในกรณีใด ? ๑๘. ในสิกขาบทที่ภิกษุรู้แล้วฉันอาหารที่ภิกษุณีแนะให้เขาถวาย ถ้าโยมเขาจัดไว้เองก่อนฉัน ฉันเข้าไป จะต้องอาบัติหรือไม่ อย่างไร ? โภชนวรรคที่ ๔ ๑๙. โภชนะ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? โภชนะเช่นไร เรียกว่า ปรัมปรโภชนะ ? โภชนะเช่นไร เรียกว่า คณะ โภชนะ ? ๒๐. โภชนะอย่างไร ได้ชื่อว่า โภชนะอันประณีต ? ภิกษุฉันปรัมปรโภชนะ ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายให้มีหลัก ?
  • 24. ๑๘ ๒๑. เวลาวิกาล หมายเอาเวลาใด ? ถ้าภิกษุสงสัยในเวลาไม่แน่ใจ แล้วยังฉันอาหารในเวลาวิกาลพอดี อาบัติหรือไม่ เพราะอะไร ? ๒๒. ภิกษุ ขอโภชนะต่อคฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติอย่างไร จึงไม่อาบัติ และเป็นสจิตตกะ ? ๒๓. วิธีประเคนที่ถูกต้องนั้น ต้องประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง ? อเจลกวรรคที่ ๕ ๒๔. ปริพาชก ปริพาชิกา หมายเอาบุคคลเช่นไร ? ภิกษุ ให้ของเคี้ยว ของกินแก่บุคคลเหล่านั้น อย่างไร เป็นอาบัติ อย่างไรไม่เป็นอาบัติ ? ๒๕. ภิกษุ ก ชวนภิกษุ ข ไปบิณฑบาตแล้วไล่ภิกษุ ข กลับมา ต้องอาบัติหรือไม่ จงชี้แจงมา ? ๒๖. ภิกษุนั่งในห้องกับหญิงไม่มีชายอยู่เป็นเพื่อน เป็นอาบัติอะไร ? ถ้ามีหญิงหลายคนอยู่ด้วย จะคุ้ม โทษได้หรือไม่ ? และถ้ามีภิกษุ ๒ รูปด้วยกัน ชื่อว่ามีชายอยู่เป็นเพื่อน ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ? ๒๗. ในสิกขาบทของปาจิตตีย์ กล่าวถึงการที่ภิกษุจะรับปัจจัยของบุคคลผู้ปวารณาไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย ? ปัจจัยนั้นคืออะไร ? ๒๘. ถ้ามีเหตุจำเป็นพิเศษ เช่นเจ็บไข้อยู่ในกองทัพอยู่เกินกว่า ๓ วัน ต้องอาบัติหรือไม่ ? และเหตุจำเป็น มีอะไรบ้าง ? เมื่ออยู่ในกองทัพต้องระงับเรื่องอะไรบ้าง จึงจะไม่อาบัติ ? ๒๙. ภิกษุเดินบิณฑบาต ผ่านหน้าสนามฝึกทหาร เหลียวดูเขาฝึกทหาร จะอาบัติหรือไม่ เพราะเหตุใด ? สุราปานวรรคที่ ๖ ๓๐. สุราและเมรัย ต่างกันอย่างไร ? สิกขาบทข้อที่ห้ามดื่มน้ำเมานี้ เป็นสจิตตกะหรืออจิตตกะ ? และยกเว้นในกรณีใดบ้าง ? และถ้าภิกษุสูบฝิ่น กัญชา ยาบ้า จะต้องอาบัติอะไร ? เป็นโลกวัชชะ หรือปัณณัตติวัชชะ จนถึงที่สุดอย่างไร ? ๓๑. ภิกษุต้องอาบัติเพราะความซุกซน มีอย่างไรบ้าง ? ๓๒. ภิกษุว่ายน้ำเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทราบแล้วไม่ถาม แต่อยากทราบว่า ลักษณะอย่างไรที่เป็น การเล่นน้ำแล้วต้องอาบัติ ? ๓๓. ความไม่เอื้อเฟื้อในพระวินัยมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ๓๔. พินทุกัปปะ คืออะไร ? จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า อย่างไหนควรพินทุ อย่างไหนไม่ควรพินทุ เพราะอะไร ? ๓๕. ภิกษุซ่อนบริขารของภิกษุและสามเณร จะต้องอาบัติอะไร ? ถ้ามีเจตนาจะเก็บไว้ให้จะเป็นอาบัติ อะไร ? สัปปานวรรคที่ ๗ ๓๖. ภิกษุเห็นว่ามดเป็นสัตว์เล็ก เลยบี้ตาย เช่นนี้เธอจะอาบัติหรือไม่ อย่างไร ? ๓๗. อธิกรณ์ที่ชำระแล้ว อธิกรณ์ใดที่รื้อฟื้นแล้วอาบัติ และอันใดไม่อาบัติ ?
  • 25. ๑๙ ๓๘. ภิกษุรูปหนึ่ง ชวนหญิงและพ่อค้าหนีภาษี เดินทางด้วยกันสิ้นระยะทางบ้านหนึ่ง ภิกษุรูปนี้จะอาบัติ อะไร ? กี่ตัว ? เพราะอะไร ? สิกขาบทที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นสจิตตกะ หรืออจิตตกะ ? สหธรมมิกวรรคที่ ๘ ๓๙. อาการเช่นไร คือ การก่นสิกขาบท ? และต้องอาบัติใด ? ๔๐. ภิกษุ ก ท่องนวโกวาทอยู่ ภิกษุ ข เข้าไปพูดว่า คุณจะท่องไปทำไม ออกพรรษาก็สึก ไม่ได้ใช้ ภิกษุ ก เห็นด้วยเลยเลิกท่องนวโกวาท ท่าน จะวินิจฉัยอาบัติโทษภิกษุ ก และภิกษุ ข อย่างไร ? ๔๑. อย่างไร เรียกว่า “อาบัติไม่มีมูล” ? โจทก์อาบัติไม่มีมูล ต้องอาบัติอะไรบ้าง ? ๔๒. การจะจับภิกษุประพฤติชั่ว โดยการแอบฟัง จะได้หรือไม่ ? มีข้อกำหนดใดเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร ? รตนวรรคที่ ๙ ๔๓. ภิกษุเห็นของตกอยู่นอกวัด เก็บได้หรือไม่ ? ถ้าตกในวัดจะต้องเก็บไหม ? ท่านวางอาบัติไว้อย่างไร ใน ๒ กรณีนี้ ๔๔. ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล โดยไม่บอกลาภิกษุอื่นในวัด ต้องอาบัติอะไร หรือไม่ ? มีข้อยกเว้นหรือไม่ อย่างไร ? บทบัญญัตินี้เป็นไปตามสิกขาบทใด ? ๔๕. มีทายกถวายเตียงนอนแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่มีเท้าสูงเกินกำหนด ภิกษุนั้นได้นำไปใช้ เช่นนี้ ควรปรับ อาบัติอย่างไร ? ๔๖. ที่เรียกว่า อาบัติตามสิกขาบทว่า เฉทนกปาจิตตีย์ และเภทนกปาจิตตีย์ นั้น หมายความว่าอย่างไร ? กัณฑ์ที่ ๘ ปาฏิเทสนียะ ปาฏิเทสนียะ ๔ ๑. ปาฏิเทสนียะ แปลว่าอะไร ? ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันจากมือนางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ด้วยมือตนเอง ควรปรับอาบัติอย่างไร ? ๒. สิกขาบทอะไร ทำรูปเดียวพ้นอาบัติทั้งหมู่ ? ๓. คำว่า “สกุลเสขะ” หมายเอาสกุลเช่นไร ? ๔. ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเปลี่ยว ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวของฉันที่ทายกแจ้งให้ทราบก่อนด้วยมือตนมา บริโภค จะอาบัติหรือไม่ อย่างไร ? และคำว่า “เสนาสนะป่าเป็นที่เปลี่ยว” กล่าวถึงในสิกขาบทอะไรบ้าง ? หมายเอาที่เช่นไร ? เสขิยวัตร ๗๕ ๕. อะไรเรียกว่า เสขิยวัตร ? มีกี่สิกขาบท ? มีความสำคัญอย่างไร ?
  • 26. ๒๐ ๖. เสขิยวัตรแบ่งออกเป็นกี่หมวด ? อะไรบ้าง ? เสขิยวัตร จัดเข้าในพระวินัยประเภทใด ? ภิกษุผู้ละเมิด ต้องอาบัติอะไร ? ๗. นุ่งห่มอย่างไร เรียกว่าเรียบร้อย ? ถ้าภิกษุนุ่งห่มไปม่เรียบร้อย จะต้องอาบัติอย่างไร ? ๘. ในเสขิยวัตร ทรงสอนให้ภิกษุสำรวมตาไว้อย่างไร ? ๙. ภิกษุจ้องดูบาตรของตนขณะบิณฑบาต ต้องอาบัติอะไร ? ถ้าจ้องดูบาตรผู้อื่นเล่า ต้องอาบัติอะไร จง ตอบให้มีหลัก ? ๑๐. ในเสขิยวัตร ทรงสอนการรับบิณฑบาตที่น่าศรัทธาเลื่อมใสไว้อย่างไร ? ๑๑. ข้อว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ มีอธิบายว่าอย่างไร ? ๑๒. จงยกตัวอย่างวัตรหรือมารยาทว่าด้วยการขบฉันอันเหมาะแก่ความเป็นสมณะ มา ๕ ประการ ? ๑๓. ภิกษุโดยสารรถไปกับคฤหัสถ์ จะแสดงธรรมกับผู้ที่มาด้วยนั้น ได้หรือไม่ อย่างไร ? ๑๔. ตามพระวินัย ภิกษุถืออิริยาบถไหน เป็นอิริยาบถเคารพ จงตอบโดยอ้างหลักที่มาด้วย ? ๑๕. หมวดปกิณณะในเสขิยวัตร มีกี่ข้อ ? มีประโยชน์อย่างไร ? ๑๖. ในเสขิยวัตร ทรงสอนให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมไว้อย่างไร ? กัณฑ์ที่ ๙ อธิกรณสมถะ ๑. อธิกรณ์ คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? ๒. ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น เรียกว่าอะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? ๓. พระบรมศาสดา ทรงจัดกิจการของหมู่อธิกรณ์ไว้หมวดหนึ่ง ด้วยมีวัตถุประสงค์อย่างไร ? ๔. การอุปสมบท จัดเป็นอธิกรณ์หรือไม่ ? อย่างไร ? และจะพึงระงับด้วยสมถะอะไร ? ๕. ภิกษุเถียงกันด้วยเรื่องการแก้ปัญหาการเมือง เป็นอธิกรณ์หรือไม่ เพราะอะไร ? ๖. ภิกษุกระทำคืนอาบัติที่ต้องแล้ว โดยสมควรแก่ธรรม จัดเป็นการระงับอธิกรณ์อะไร ? ด้วยสมถะข้อ ไหน ? พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ผู้ออก/พิมพ์/ทานแบบฝึกหัด