SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  18
Télécharger pour lire hors ligne
ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
กับวัด
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร
เจ้าอาวาสวัดชลธาราม
ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
โทร. ๐๘ ๓๖๙๗ ๐๖๙๗
ความหมายและความสาคัญ
๑. ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการรองรับข้อมูลการรับบริจาคของสถานศึกษา
และศาสนสถาน อันเป็นการอานวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาค ซึ่งสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหลักฐาน
การบริจาคนั้นมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ และจะช่วยให้ผู้บริจาคได้รับเงินคืนภาษีได้รวดเร็วขึ้น
๒. ศาสนสถาน
ศาสนสถาน หมายถึง สถานที่ตั้งองค์กรทางศาสนา ในที่นี้หมายเอาเพียงศาสนสถานที่เป็น “วัด” ซึ่งหมายถึง สถานที่ทางศาสนา
ประกอบด้วยโบสถ์วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์ หรือนักบวช เป็นต้น โดยได้รับการตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย
และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จาพรรษา พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งยังมีฐานะเป็น
นิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนในกิจการทั่วไป ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับความคุ้มครองจากบรรดาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตลอดถึงกฎหมายทั่วไป
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) นี้ แบ่งออกเป็น ๔ หน่วยงานหลัก ได้แก่
๑. กรมสรรพากร ต้นเรื่อง เจ้าของระบบ
๒. หน่วยงานที่กากับดูแล
๓. หน่วยรับบริจาค
๔. สถาบันการเงิน
๑. กรมสรรพากร
เป็นผู้ออกแบบ ดูแล รักษา พัฒนา และรับข้อมูลในระบบทั้งหมด รวมถึงเป็นผู้ออกเลขประจาตัว จัดทาฐานข้อมูล รับ
ลงทะเบียนเพื่อเปิดการใช้งานของหน่วยรับบริจาค และประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้บริจาค และหน่วยรับบริจาคให้เข้าร่วมในการใช้
ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
๒. หน่วยงานที่กากับดูแล
๒.๑ สานักงานศึกษาธิการจังหวัด มีหน้าที่อานวยความสะดวกแก่สถานศึกษาในการดาเนินการเบื้องต้น
๒.๒ สานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด มีหน้าที่อานวยความสะดวกแก่วัดในการดาเนินการเบื้องต้น (ปัจจุบัน ให้ติดต่อผ่าน
สานักงานสรรพากรในพื้นที่ได้โดยตรง)
๒.๓ สานักงานวัฒนธรรมจังหวัด มีหน้าที่ลงทะเบียนศาสนสถานอื่นที่มิใช่วัด ที่ยังไม่มีเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อ
กรมสรรพากรจะได้ดาเนินการกาหนดเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรให้
๓. หน่วยรับบริจาค
๓.๑ สถานศึกษา
๓.๒ วัด
มีหน้าที่ลงทะเบียนขอรับเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค ลงทะเบียนเพื่อขอใช้ระบบ และบันทึกข้อมูลการรับบริจาคบนระบบบริจาค
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ซึ่งเป็นระบบออนไลน์ บนเวปไซต์ http://edonation.rd.go.th/donate/PageMain.jsp
๔. สถาบันการเงิน
สถาบันการเงินผู้ให้บริการรับชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ส่งข้อมูลที่ผู้บริจาคแจ้งความประสงค์ให้ส่งรายการโอนเงิน
บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินให้แก่กรมสรรพากร (กาลังอยู่ในระหว่างประสานงาน)
ผู้บริจาคกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
ผู้บริจาค ตามที่กรมสรรพากรกาหนด แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. บุคคลธรรมดา หมายถึง ผู้ที่บริจาคเงินให้แก่หน่วยรับบริจาค
๒. นิติบุคคล หมายถึง ผู้ที่บริจาคเงินและทรัพย์สินให้แก่หน่วยรับบริจาค
บุคคลธรรมดา สามารถบริจาคได้เพียงเงินสดเท่านั้น
นิติบุคคล สามารถบริจาคได้ทั้งเงินสด และทรัพย์สิน แต่ต้องประเมินราคาตามราคาตลาด
แผนผังการทางานระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
ประโยชน์ของระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
๑. สาหรับผู้บริจาค ไม่ต้องจัดเก็บหลักฐานการบริจาค เนื่องจากมีข้อมูลปรากฏบนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
- ไม่ถูกเจ้าหน้าที่ขอหลักฐานการบริจาคเพื่อประกอบการพิจารณาคืนเงินภาษี
- ได้รับการพิจารณาคืนเงินภาษีรวดเร็วขึ้น เนื่องจากไม่ต้องรอการตรวจสอบใบอนุโมทนาบัตร
๒. สาหรับหน่วยรับบริจาค
- มีความสะดวก เนื่องจากสามารถเลือกพิมพ์ใบรับเงินการบริจาคออกจากระบบได้ทันที (กรณีผู้บริจาคร้องขอ)
- สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริจาค
- ช่วยให้วัด ซึ่งมีหน้าที่จัดทาบัญชีรายรับ-รายจ่าย ส่งสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการจัดทา
บัญชีมากยิ่งขึ้น
- ลดภาระในการออกใบแทนใบอนุโมทนาบัตรฉบับใหม่ (กรณีฉบับเดิมสูญหาย)
๓. สาหรับกรมสรรพากร
- ลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รูปหน้าระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
การทางานของระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
๑. ตรวจสอบข้อมูลหน่วยรับบริจาค
๒. ขอมีเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค (เลข TIN. ; Tax Identification Number)
๓. ลงทะเบียนในระบบ และนาเอกสารพร้อมใบลงทะเบียนติดต่อสานักงาน
สรรพากรในพื้นที่ รอการอนุมัติจากสานักงานสรรพากรจังหวัด อย่างช้า ๗ วัน (รอ
อีเมล์แจ้งยืนยัน)
๔. ดาเนินการบันทึกข้อมูลในฐานะหน่วยรับบริจาค
๕. สาหรับผู้บริจาค ตรวจสอบข้อมูลการบริจาคของตนผ่านเวปไซต์
๑. ตรวจสอบข้อมูลหน่วยรับบริจาค
สามารถเข้าตรวจสอบ
ข้อมูลเลขประจาตัว ชื่อ
แ ล ะ ที่ อ ยู่ ห น่ ว ย รั บ
บริจาคได้
สามารถตรวจสอบข้อมูลหน่วยรับบริจาคได้ ๒ วิธี
๑. ระบุเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร/เลขประจาตัวประชาชนผู้มีอานาจ ๑๓ หลัก แล้วเลือกตรวจสอบข้อมูล
๒. ระบุชื่อหน่วยรับบริจาคโดยไม่ต้องมีคาว่า “วัด” นาหน้า และเลือกจังหวัดที่ตนสังกัด แล้วเลือกตรวจสอบข้อมูล
๒. ขอมีเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค
(เลข TIN ; Tax Identification Number)
***ให้วัดติดต่อสานักงานสรรพากรในพื้นที่ของตน เพื่อขอมีเลข TIN โดยตรง***
๓. เมื่อวัดมีเลข TIN เรียบร้อยแล้ว ให้ดาเนินการลงทะเบียนในระบบ
ระบุเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค (เลข TIN) แล้วเลือก
ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน
เมื่อระบบตรวจสอบและแสดงข้อมูลของหน่วยรับบริจาคแล้วจะแสดงผลดังรูป
จากนั้นให้หน่วยรับบริจาคตรวจสอบรายการ และแก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลของตน
ให้ถูกต้อง ได้แก่
๑. ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail ของหน่วยรับบริจาค
๒. ระบุช่องทางการบริจาค
๓. ตรวจสอบเลขประจาตัวประชาชนของผู้มีอานาจ คานาหน้าชื่อ ชื่อ –
ชื่อสกุล ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันตรงกับสมณศักดิ์ที่ได้รับ
๔. กาหนดรหัสผ่าน และยืนยันรหัสผ่านของตน จานวน ๘ อักษรเท่านั้น
ขาด/เกินมิได้
เมื่อเรียบร้อยแล้ว เลือก “ลงทะเบียน”
เมื่อวัดลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบจะขึ้นหน้าจอแสดงใบลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์
ดังรูป ให้เจ้าอาวาสตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง และลงนามในช่องว่าง พร้อมเตรียมเอกสาร
ประกอบ ได้แก่
๑. ใบลงทะเบียนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (สั่งปริ้นท์ได้โดยตรงจากระบบ)
๒. สาเนาหนังสือสาคัญการจัดตั้งหน่วยรับบริจาค ได้แก่ หนังสือประกาศตั้งวัด
หรือหนังสือรับรองสภาพวัดจากสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
๓. สาเนาตราตั้งเจ้าอาวาส
๔. สาเนาบัตรประจาตัวประชาชน หรือสาเนาหนังสือสุทธิของเจ้าอาวาส
กรณีที่เจ้าอาวาสมิได้มาด้วยตนเอง ให้ทาหนังสือมอบอานาจแนบด้วย
เมื่อเตรียมเอกสารข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นเอกสารทั้งหมดที่สานักงานสรรพากร
ในพื้นที่ หรือสานักงานสรรพากรจังหวัด
เมื่อดาเนินการทั้งหมดแล้ว รอ ๗ วันทาการ กรมสรรพากรจะดาเนินการอนุมัติและ
แจ้งผลกลับให้ทราบทาง E-mail ของวัดที่แจ้งไว้ในระบบ
การบันทึกข้อมูลของหน่วยรับบริจาค
การบันทึกข้อมูลนั้น ให้วัดเข้าหน้าเวปไซต์ของระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) แล้วเลือกหัวข้อ “สาหรับ
หน่วยรับบริจาค” แล้วเลือกหัวข้อ “เข้าสู่ระบบ”
- ใส่รหัสผู้ใช้ คือ เลข TIN ของหน่วยรับบริจาค
- ส่วนรหัสผ่าน ระบุรหัสที่วัดกาหนดไว้ในส่วนของ
การลงทะเบียน
เมื่อเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว หน้าจอจะแสดงผลมาเป็นหน้า
เวปไซต์ สาหรับการบันทึกข้อมูล ดังรูป
ข้อมูลที่หน่วยรับบริจาคต้องบันทึกลงในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
(e-Donation)
๑. กรณีผู้บริจาคเป็นบุคคลธรรมดา วัดบันทึกได้เฉพาะเงินสดเท่านั้น
๒. กรณีผู้บริจาคเป็นนิติบุคคล วัดบันทึกได้ทั้งเงินสด และทรัพย์สิน แต่ทรัพย์สินนั้นต้องประเมินราคาตามราคาตลาด
วัดที่เป็นหน่วยรับบริจาค จะต้องบันทึกข้อมูล ดังนี้
๑. เลขประจาตัว ๑๓ หลักของผู้บริจาค (ระบบจะค้นหาและแสดงให้โดยอัตโนมัติ)
๒. ชื่อ – ชื่อสกุล / ชื่อนิติบุคคล (แสดงผลอัตโนมัติ และวัดต้องตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง)
๓. วัน เดือน ปี ที่บริจาค โดยระบบกาหนดเงื่อนไขให้สามารถบันทึกวันรับบริจาค ได้ภายในเดือนปัจจุบันตามปีปฏิทิน และต้อง
ไม่เกินวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป
๔. ระบุจานวนเงิน (บันทึกได้ทั้งกรณีบุคคลธรรมดาและกรณีนิติบุคคล)
๕. ระบุรายการทรัพย์สิน และมูลค่าทรัพย์สิน ในกรณีเป็นนิติบุคคล
การใช้งานอย่างละเอียด
แต่ละวัดสามารถ download ได้จากหน้าเวปไซต์ ของระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
(e-Donation)

Contenu connexe

Plus de Theeraphisith Candasaro

คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อTheeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์Theeraphisith Candasaro
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคTheeraphisith Candasaro
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย Theeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์Theeraphisith Candasaro
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติTheeraphisith Candasaro
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ Theeraphisith Candasaro
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีTheeraphisith Candasaro
 
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารรายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารTheeraphisith Candasaro
 
ระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนก
ระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนกระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนก
ระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนกTheeraphisith Candasaro
 
แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษา
แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษาแบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษา
แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษาTheeraphisith Candasaro
 
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบ
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบ
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบTheeraphisith Candasaro
 
บันทึกการให้คำปรึกษา
บันทึกการให้คำปรึกษาบันทึกการให้คำปรึกษา
บันทึกการให้คำปรึกษาTheeraphisith Candasaro
 

Plus de Theeraphisith Candasaro (20)

คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
 
คำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศลคำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศล
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
 
Put the right man on the right job
Put the right man on the right jobPut the right man on the right job
Put the right man on the right job
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
 
สารัตถะ ชีวิต
สารัตถะ ชีวิตสารัตถะ ชีวิต
สารัตถะ ชีวิต
 
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารรายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
 
ระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนก
ระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนกระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนก
ระบบบริหาร ศูนย์พระมหาชนก
 
ประเมินแผน
ประเมินแผนประเมินแผน
ประเมินแผน
 
แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษา
แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษาแบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษา
แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านการศึกษา
 
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบ
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบ
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้รายคาบ
 
บันทึกการให้คำปรึกษา
บันทึกการให้คำปรึกษาบันทึกการให้คำปรึกษา
บันทึกการให้คำปรึกษา
 

e-Donatin

  • 2. ความหมายและความสาคัญ ๑. ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการรองรับข้อมูลการรับบริจาคของสถานศึกษา และศาสนสถาน อันเป็นการอานวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาค ซึ่งสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหลักฐาน การบริจาคนั้นมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ และจะช่วยให้ผู้บริจาคได้รับเงินคืนภาษีได้รวดเร็วขึ้น ๒. ศาสนสถาน ศาสนสถาน หมายถึง สถานที่ตั้งองค์กรทางศาสนา ในที่นี้หมายเอาเพียงศาสนสถานที่เป็น “วัด” ซึ่งหมายถึง สถานที่ทางศาสนา ประกอบด้วยโบสถ์วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์ หรือนักบวช เป็นต้น โดยได้รับการตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จาพรรษา พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งยังมีฐานะเป็น นิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนในกิจการทั่วไป ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับความคุ้มครองจากบรรดาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดถึงกฎหมายทั่วไป
  • 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) นี้ แบ่งออกเป็น ๔ หน่วยงานหลัก ได้แก่ ๑. กรมสรรพากร ต้นเรื่อง เจ้าของระบบ ๒. หน่วยงานที่กากับดูแล ๓. หน่วยรับบริจาค ๔. สถาบันการเงิน ๑. กรมสรรพากร เป็นผู้ออกแบบ ดูแล รักษา พัฒนา และรับข้อมูลในระบบทั้งหมด รวมถึงเป็นผู้ออกเลขประจาตัว จัดทาฐานข้อมูล รับ ลงทะเบียนเพื่อเปิดการใช้งานของหน่วยรับบริจาค และประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้บริจาค และหน่วยรับบริจาคให้เข้าร่วมในการใช้ ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ๒. หน่วยงานที่กากับดูแล ๒.๑ สานักงานศึกษาธิการจังหวัด มีหน้าที่อานวยความสะดวกแก่สถานศึกษาในการดาเนินการเบื้องต้น ๒.๒ สานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด มีหน้าที่อานวยความสะดวกแก่วัดในการดาเนินการเบื้องต้น (ปัจจุบัน ให้ติดต่อผ่าน สานักงานสรรพากรในพื้นที่ได้โดยตรง) ๒.๓ สานักงานวัฒนธรรมจังหวัด มีหน้าที่ลงทะเบียนศาสนสถานอื่นที่มิใช่วัด ที่ยังไม่มีเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อ กรมสรรพากรจะได้ดาเนินการกาหนดเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรให้
  • 4. ๓. หน่วยรับบริจาค ๓.๑ สถานศึกษา ๓.๒ วัด มีหน้าที่ลงทะเบียนขอรับเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค ลงทะเบียนเพื่อขอใช้ระบบ และบันทึกข้อมูลการรับบริจาคบนระบบบริจาค อิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ซึ่งเป็นระบบออนไลน์ บนเวปไซต์ http://edonation.rd.go.th/donate/PageMain.jsp ๔. สถาบันการเงิน สถาบันการเงินผู้ให้บริการรับชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ส่งข้อมูลที่ผู้บริจาคแจ้งความประสงค์ให้ส่งรายการโอนเงิน บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินให้แก่กรมสรรพากร (กาลังอยู่ในระหว่างประสานงาน) ผู้บริจาคกับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ผู้บริจาค ตามที่กรมสรรพากรกาหนด แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ๑. บุคคลธรรมดา หมายถึง ผู้ที่บริจาคเงินให้แก่หน่วยรับบริจาค ๒. นิติบุคคล หมายถึง ผู้ที่บริจาคเงินและทรัพย์สินให้แก่หน่วยรับบริจาค บุคคลธรรมดา สามารถบริจาคได้เพียงเงินสดเท่านั้น นิติบุคคล สามารถบริจาคได้ทั้งเงินสด และทรัพย์สิน แต่ต้องประเมินราคาตามราคาตลาด
  • 6. ประโยชน์ของระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ๑. สาหรับผู้บริจาค ไม่ต้องจัดเก็บหลักฐานการบริจาค เนื่องจากมีข้อมูลปรากฏบนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์แล้ว - ไม่ถูกเจ้าหน้าที่ขอหลักฐานการบริจาคเพื่อประกอบการพิจารณาคืนเงินภาษี - ได้รับการพิจารณาคืนเงินภาษีรวดเร็วขึ้น เนื่องจากไม่ต้องรอการตรวจสอบใบอนุโมทนาบัตร ๒. สาหรับหน่วยรับบริจาค - มีความสะดวก เนื่องจากสามารถเลือกพิมพ์ใบรับเงินการบริจาคออกจากระบบได้ทันที (กรณีผู้บริจาคร้องขอ) - สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริจาค - ช่วยให้วัด ซึ่งมีหน้าที่จัดทาบัญชีรายรับ-รายจ่าย ส่งสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการจัดทา บัญชีมากยิ่งขึ้น - ลดภาระในการออกใบแทนใบอนุโมทนาบัตรฉบับใหม่ (กรณีฉบับเดิมสูญหาย) ๓. สาหรับกรมสรรพากร - ลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • 8. การทางานของระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ๑. ตรวจสอบข้อมูลหน่วยรับบริจาค ๒. ขอมีเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค (เลข TIN. ; Tax Identification Number) ๓. ลงทะเบียนในระบบ และนาเอกสารพร้อมใบลงทะเบียนติดต่อสานักงาน สรรพากรในพื้นที่ รอการอนุมัติจากสานักงานสรรพากรจังหวัด อย่างช้า ๗ วัน (รอ อีเมล์แจ้งยืนยัน) ๔. ดาเนินการบันทึกข้อมูลในฐานะหน่วยรับบริจาค ๕. สาหรับผู้บริจาค ตรวจสอบข้อมูลการบริจาคของตนผ่านเวปไซต์
  • 9.
  • 11. สามารถตรวจสอบข้อมูลหน่วยรับบริจาคได้ ๒ วิธี ๑. ระบุเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร/เลขประจาตัวประชาชนผู้มีอานาจ ๑๓ หลัก แล้วเลือกตรวจสอบข้อมูล ๒. ระบุชื่อหน่วยรับบริจาคโดยไม่ต้องมีคาว่า “วัด” นาหน้า และเลือกจังหวัดที่ตนสังกัด แล้วเลือกตรวจสอบข้อมูล
  • 12. ๒. ขอมีเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค (เลข TIN ; Tax Identification Number) ***ให้วัดติดต่อสานักงานสรรพากรในพื้นที่ของตน เพื่อขอมีเลข TIN โดยตรง*** ๓. เมื่อวัดมีเลข TIN เรียบร้อยแล้ว ให้ดาเนินการลงทะเบียนในระบบ
  • 13. ระบุเลขประจาตัวหน่วยรับบริจาค (เลข TIN) แล้วเลือก ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน เมื่อระบบตรวจสอบและแสดงข้อมูลของหน่วยรับบริจาคแล้วจะแสดงผลดังรูป จากนั้นให้หน่วยรับบริจาคตรวจสอบรายการ และแก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลของตน ให้ถูกต้อง ได้แก่ ๑. ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail ของหน่วยรับบริจาค ๒. ระบุช่องทางการบริจาค ๓. ตรวจสอบเลขประจาตัวประชาชนของผู้มีอานาจ คานาหน้าชื่อ ชื่อ – ชื่อสกุล ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันตรงกับสมณศักดิ์ที่ได้รับ ๔. กาหนดรหัสผ่าน และยืนยันรหัสผ่านของตน จานวน ๘ อักษรเท่านั้น ขาด/เกินมิได้ เมื่อเรียบร้อยแล้ว เลือก “ลงทะเบียน”
  • 14. เมื่อวัดลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบจะขึ้นหน้าจอแสดงใบลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ดังรูป ให้เจ้าอาวาสตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง และลงนามในช่องว่าง พร้อมเตรียมเอกสาร ประกอบ ได้แก่ ๑. ใบลงทะเบียนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (สั่งปริ้นท์ได้โดยตรงจากระบบ) ๒. สาเนาหนังสือสาคัญการจัดตั้งหน่วยรับบริจาค ได้แก่ หนังสือประกาศตั้งวัด หรือหนังสือรับรองสภาพวัดจากสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ๓. สาเนาตราตั้งเจ้าอาวาส ๔. สาเนาบัตรประจาตัวประชาชน หรือสาเนาหนังสือสุทธิของเจ้าอาวาส กรณีที่เจ้าอาวาสมิได้มาด้วยตนเอง ให้ทาหนังสือมอบอานาจแนบด้วย เมื่อเตรียมเอกสารข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นเอกสารทั้งหมดที่สานักงานสรรพากร ในพื้นที่ หรือสานักงานสรรพากรจังหวัด เมื่อดาเนินการทั้งหมดแล้ว รอ ๗ วันทาการ กรมสรรพากรจะดาเนินการอนุมัติและ แจ้งผลกลับให้ทราบทาง E-mail ของวัดที่แจ้งไว้ในระบบ
  • 16. - ใส่รหัสผู้ใช้ คือ เลข TIN ของหน่วยรับบริจาค - ส่วนรหัสผ่าน ระบุรหัสที่วัดกาหนดไว้ในส่วนของ การลงทะเบียน เมื่อเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว หน้าจอจะแสดงผลมาเป็นหน้า เวปไซต์ สาหรับการบันทึกข้อมูล ดังรูป
  • 17. ข้อมูลที่หน่วยรับบริจาคต้องบันทึกลงในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ๑. กรณีผู้บริจาคเป็นบุคคลธรรมดา วัดบันทึกได้เฉพาะเงินสดเท่านั้น ๒. กรณีผู้บริจาคเป็นนิติบุคคล วัดบันทึกได้ทั้งเงินสด และทรัพย์สิน แต่ทรัพย์สินนั้นต้องประเมินราคาตามราคาตลาด วัดที่เป็นหน่วยรับบริจาค จะต้องบันทึกข้อมูล ดังนี้ ๑. เลขประจาตัว ๑๓ หลักของผู้บริจาค (ระบบจะค้นหาและแสดงให้โดยอัตโนมัติ) ๒. ชื่อ – ชื่อสกุล / ชื่อนิติบุคคล (แสดงผลอัตโนมัติ และวัดต้องตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง) ๓. วัน เดือน ปี ที่บริจาค โดยระบบกาหนดเงื่อนไขให้สามารถบันทึกวันรับบริจาค ได้ภายในเดือนปัจจุบันตามปีปฏิทิน และต้อง ไม่เกินวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป ๔. ระบุจานวนเงิน (บันทึกได้ทั้งกรณีบุคคลธรรมดาและกรณีนิติบุคคล) ๕. ระบุรายการทรัพย์สิน และมูลค่าทรัพย์สิน ในกรณีเป็นนิติบุคคล