SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  58
Télécharger pour lire hors ligne
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
ความเบื้องต้นที่สำคัญ
เกี่ยวกับพระกรรมวาจาจารย์
ความหมาย
คำว่า “กรรมวาจาจารย์” ประกอบด้วยคำว่า “กรรมวาจา” + “อาจารย์” มีอธิบายไว้ ดังนี้
๑. คำว่า “กรรมวาจา” สามารถแยกศัพท์เป็น “กรรม” + “วาจา” ได้แก่
๑) “กรรม” บาลีภาษาเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) ส่วนภาษาสันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ก ควบ
ร กลืนเสียง ระ ลงคอ) แต่ภาษาไทยเขียนเป็น “กรรม”
“กมฺม” มีรากศัพท์จาก กรฺ ธาตุ ในการกระทำ ลง รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ รฺ ที่
ต้นปัจจัย สำเร็จรูปเป็น “กมฺม” (กรฺ > ก + รมฺม > มฺม : ก + มฺม = กมฺม)
“กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า
“กรรม”
๒) “วาจา” มีรากศัพท์จาก วจฺ ธาตุ ใรการพูด ลง ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ทีฆะ อะ ที่ต้นธาตุ เป็น วาจ
ตามสูตร “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” (วจฺ > วาจ) ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตฺถีลิงค์ สำเร็จรูปเป็น
“วาจา” (วจฺ + ณ = วจณ > วจ > วาจ + อา = วาจา) แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขาพูด” หมายถึง คำพูด
การกล่าว, การพูด, วาจา (word, saying, speech)
เพราะฉะนั้น เมื่อรวมคำว่า “กมฺม” และ “วาจา” เข้าเป็นคำว่า “กมฺมวาจา” มีคำแปลว่า “คำพูดใน
กิจของสงฆ์”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กมฺมวาจา” ว่า the text or word of an official Act
(ข้อความหรือคำพูดในกรรมวาจา)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า –
“กรรมวาจา : (คำนาม) คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (ส. กรฺม + วาจา = คำ; ป.
กมฺม + วาจา)”
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) แปล
“กรรมวาจา” เป็นอังกฤษดังนี้
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
Kammavācā: the formal words of an act; text of a formal act, i.e. a motion
(ญัตติ) together with one or three proclamations (อนุสาวนา) that may follow.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์)
ขยายความไว้ว่า –
“กรรมวาจา : คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, คำสวดประกาศในการทำสังฆกรรม,
คำประกาศในการดำเนินการประชุม แยกเป็น ญัตติ และอนุสาวนา”
๒. คำว่า “อาจารย์” ในบาลีภาษาเป็น “อาจริย” (อา-จะ-ริ-ยะ) และเมื่อแปลทับศัพท์เป็นรูปตามภาษา
สันสกฤตเป็น “อาจารย์” (a teacher) มีรากศัพท์มาจาก :-
(๑) อา (อุปสรรค แปลว่า ทั่วไป, ยิ่ง) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง อิย ปัจจัย
: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประพฤติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่
ศิษย์”
(๒) อา (จากศัพท์ “อาทิ” แปลว่า เบื้องต้น) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในการศึกษา ลง อิย ปัจจัย
: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังศิษย์ให้ศึกษามาแต่ต้น”
(๓) อา (จากศัพท์ “อาทร” แปลว่า เอื้อเฟื้อ, เอาใจใส่) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ) ลง อิย
ปัจจัย
: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือ
ปรนนิบัติด้วยความเอาใจใส่”
(๔) อา (แข็งแรง, จริงจัง, ยิ่งใหญ่) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง อิย ปัจจัย
: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่
ศิษย์อย่างดียิ่ง”
(๕) อา (แทนศัพท์ “อภิมุขํ” แปลว่า ข้างหน้า, ตรงหน้า) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง
อิย ปัจจัย
: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติทำไว้
ข้างหน้า” (คือศิษย์พึงดำเนินตาม)
(๖) อา (แทนศัพท์ “อาปาณโกฏิกํ” แปลว่า ตลอดชีวิต) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง
อิย ปัจจัย
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๓
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือพึง
ปรนนิบัติตลอดชีวิต”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า –
“อาจารย์ : (คำนาม) ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง
ความยกย่องว่า มีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง (ส.; ป. อาจริย)”
ดังนั้น คำว่า “กมฺมวาจา” และ “อาจริย” เมื่อนำมาสมาสกันจึงเป็น คำว่า “กมฺมวาจาจริย” หรือ
“กรรมวาจาจารย์”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า –
“กรรมวาจาจารย์ : (คำนาม) อาจารย์ผู้ให้สำเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด (ส. กรฺมวาจา + อา
จารฺย ว่า อาจารย์)”
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์)
บอกไว้ว่า
“กรรมวาจาจารย์ : พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาประกาศในท่ามกลางสงฆ์ใน
การอุปสมบท”
ขยายความ : ในการทำสังฆกรรมที่ต้องประกาศให้สงฆ์ทราบหรือต้องขอมติจากสงฆ์ เช่น การมอบผ้า
กฐิน และการอุปสมบท เป็นต้น ตามหลักพระวินัยจะต้องสวด “กรรมวาจา” คือ คำประกาศท่ามกลางที่
ประชุมสงฆ์
ภิกษุผู้ทำหน้าที่สวด “กรรมวาจา” นั้น มีคำเรียกชื่อว่า “กรรมวาจาจารย์” ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่า
“คู่สวด”
การที่เรียกว่า “คู่สวด” จะต้องมี ๒ รูป แต่ความจริงแล้ว “กรรมวาจาจารย์” แม้มีรูปเดียวก็ใช้ได้
แต่ที่นิยมให้มี ๒ รูปนั้น มีสันนิษฐานว่า ประสงค์จะให้อีกรูปหนึ่งทำหน้าที่สวดเทียบทานเพื่อให้การสวด
กรรมวาจาปราศจากข้อบกพร่องตามหลักพระธรรมวินัย
ภิกษุอีกรูปหนึ่งที่ทำหน้าที่สวดเทียบทานนี้ มีคำเรียกต่างออกไปว่า “อนุสาวนาจารย์” ซึ่งทั้งคำว่า
“กรรมวาจาจารย์” และ “อนุสาวนาจารย์” รวมเรียกว่า “คู่สวด”
ส่วนคำว่า “อุปัชฌาย์อาจารย์” ที่นิยมพูดนั้น ตามคติของโบราณาจารย์ คำว่า “อาจารย์” ท่าน
หมายถึง “กรรมวาจาจารย์” และ “อนุสาวนาจารย์” ทั้ง ๒ คำนี้ ท่านนับถือ “อุปัชฌาย์อาจารย์” เสมอ
ด้วยบิดามารดา โดยเหตุผลว่า เป็นผู้ทำกิจทำหน้าที่ตามพระวินัยให้เกิดเพศสงฆ์ขึ้นในพระพุทธศาสนา
คนในสมัยโบราณท่านจึงเคารพพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของตนอย่างยิ่ง
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๔
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
หน้าที่ของพระกรรมวาจาจารย์
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้
ความหมายของกรรมวาจาจารย์ (กำ-มะ-วา-จา-จาน) ไว้ว่า “อาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา คือ ภิกษุผู้ทำหน้าที่
สวดประกาศในท่ามกลางสงฆ์เวลาทำพิธีอุปสมบท เพื่อให้สงฆ์ทั้งนั้นทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวของ
อุปสัมปทาเปกข์ หรือผู้ขอบวช และถามมติของสงฆ์ว่า จะยอมรับผู้ขอบวชให้เป็นภิกษุหรือไม่ เรียกกันว่า
พระกรรมวาจาจารย์”
พระกรรมวาจาจารย์ย่อมมาคู่กับพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งทำหน้าที่บอกอนุศาสน์หรือคำสอน
เกี่ยวกับระเบียบวินัยเบื้องต้นแก่ผู้บวชที่เป็นภิกษุใหม่ ในปัจจุบัน ทั้งสองรูปทำหน้าที่เหมือนกัน คือ สวด
ประกาศ
ฉะนั้น จึงรวมเรียกว่า "คู่สวด" หรือ "พระคู่สวด" ส่วนหน้าที่บอกอนุศาสน์ ปัจจุบันท่าน
กำหนดให้เป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ หรือพระอุปัชฌาย์จะมอบหมายแก่พระกรรมวาจาจารย์รูปใด
รูปหนึ่งก็กระทำได้
คุณสมบัติของพระกรรมวาจาจารย์
พระภิกษุผู้จะเป็นกรรมวาจาจารย์ และอนุสาวนาจารย์ ต้องประกอบด้วยสมบัติ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีสติ ฯ
๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ สัมมาทิฏฐิ พหูสูต เคยได้ยินได้ฟังมากมีปัญญา ฯ
๓. รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำปาติโมกข์ได้แม่นยำ ฯ ทั้งมีพรรษาได้ ๕
หรือยิ่งกว่า องค์เหล่านี้บกพร่องบางอย่างได้ แต่ที่ขาดไม่ได้ คือ การกำหนดพรรษา ฯ
ตามมติของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง กำหนด
ว่า พระภิกษุผู้จะเป็นพระกรรมวาจาจารย์นั้น สมควรมีพรรษาพ้น ๑๐ ตั้งอยู่ในชั้นเถรภูมิ อันมีภูมิรู้และ
ภูมิธรรมที่ดี มีความเข้าใจในการคณะสงฆ์ และมีวุฒิภาวะเพียงพอในการอบรมสั่งสอนพระนวกะได้
นอกจากนี้ ยังต้องมีคุณสมบัติโดยอนุโลมตามข้อ ๘ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ.
๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
ในปัจจุบัน การแต่งตั้งพระกรรมวาจาจารย์ นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว ยังกำหนดเอาพระภิกษุ
ผู้มีตำแหน่งทางการปกครองระดับวัด ที่มิได้เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นพื้นอีกด้วย
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๕
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
ความรู้พระกรรมวาจาจารย์
สิ่งที่พระกรรมวาจาจารย์ จำเป็นต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งต้องสามารถนำมาปฏิบัติ
ได้อย่างชำนาญ และถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดการวิบัติ โดยเฉพาะอย่างวิธีการสวดกรรมวาจาด้วยภาษามคธ
อันเป็นไปตามหลักบาลีไวยากรณ์ ซึ่งนับเป็นคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของพระกรรมวาจาจารย์ด้วย
ความรู้ที่พระกรรมวาจาจารย์ต้องมีนั้น ให้อนุโลมตามข้อ ๔ แห่งระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนด
วิธีปฏิบัติในหน้าที่พระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งงดเสียแต่หน้าที่พระอุปัชฌาย์เท่านั้น ได้แก่
๑. หน้าที่เจ้านาค เช่น การขานนาค
๒. หน้าที่พระกรรมวาจาจารย์ เช่น สวดญัตติ อนุสาวนา ได้คล่องแคล่วเป็นอักขรสมบัติ
๓. การบอกอนุศาสน์
๔. สมบัติ คือ วัตถุ สีมา ปริส กรรมวาจา และวิบัติซึ่งตรงกันข้าม
๕. อัฏฐบริขารที่สำคัญขาดไม่ได้
๖. การนับอายุอุปสัมปทาเปกข์ และการตั้งนามฉายา
๗. การสวดนาคเดี่ยวหรือหลายนาค ต้องสมมติให้สวด เพื่อรู้จักเปลี่ยนวิภัตติ และการันต์
เฉพาะที่ใช้ในกรรมวาจา
๘. การนับเวลาสำเร็จญัตติจตุตถกรรม เป็นต้น
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๖
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
ส่วนที่ ๑
ความรู้พระกรรมวาจาจารย์ภาคปฏิบัติ
พระภิกษุผู้จะเป็นพระกรรมวาจาจารย์นั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติหน้าที่
อุปสัมปทาเปกข์ (หน้าที่เจ้านาค) หน้าที่กรรมวาจาจารย์ (หน้าที่คู่สวด) รวมถึงการบอกอนุศาสน์ เป็นต้น
ได้โดยเรียบร้อยด้วยดีทุกหน้าที่ ดังต่อไปนี้
การปฏิบัติหน้าที่อุปสัมปทาเปกข์
คำขอบรรพชาแบบเดิม
อุปสัมปทาเปกข์พึงยืนประณมมือ กล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง
สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ //
อุกาสะ การุญญัง กัตวา / ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต //
อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าแล้วกล่าวคำขอบรรพชาต่อไปว่า
อะหัง ภันเต / ปัพพัชชัง ยาจามิ //
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต / ปัพพัชชัง ยาจามิ //
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต / ปัพพัชชัง ยาจามิ //
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / อิมัง กาสาวัง คะเหตวา /
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / อิมัง กาสาวัง คะเหตวา /
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / อิมัง กาสาวัง คะเหตวา /
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
อุปสัมปทาเปกข์ พึงน้อมผ้าไตรจีวรถวายแด่พระอุปัชฌายะ แล้วกล่าวต่อไปว่า
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๗
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / เอตัง กาสาวัง ทัตวา /
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / เอตัง กาสาวัง ทัตวา /
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / เอตัง กาสาวัง ทัตวา /
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
เมื่ออุปสัมปทาเปกข์เปล่งวาจาขอบรรพชาจบแล้ว พึงถอดเสื้อของตนออก สอดแขนขวาเข้าใน
อังสะที่พระอุปัชฌายะสวมให้ แล้วจึงนั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌายะจะกล่าว
สอนเรื่องการบรรพชาอุปสมบทต่อไป
คำขอไตรสรณคมน์และศีลแบบเดิม
อุปสัมปทาเปกข์พึงยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง
สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ //
อุกาสะ การุญญัง กัตวา / ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะ เม ภันเต //
อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าประณมมือกล่าวคำขอไตรสรณคมน์และศีลต่อไปว่า
อะหัง ภันเต / สะระณะสีลัง ยาจามิ //
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต / สะระณะสีลัง ยาจามิ //
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต / สะระณะสีลัง ยาจามิ //
การปฏิบัติหน้าที่พระกรรมวาจาจารย์
การให้ไตรสรณคมน์และศีลแบบเดิม
พระอาจารย์พึงลุกขึ้นนั่งคุกเข่ากราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วไปนั่ง ณ อาสนะที่จัดไว้เป็นเอกเทศ
จากหมู่สงฆ์ เมื่ออุปสัมปทาเปกข์เข้าไปหาพระอาจารย์ถวายเครื่องสักการะ และกราบเบญจางคประดิษฐ์
๓ ครั้ง และยืนประณมมือกล่าวคำแสดงความเคารพและคำอ้อนวอนขอโอกาสแล้ว นั่งคุกเข่ากล่าวคำขอ
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๘
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
ไตรสรณคมน์และศีลจบแล้ว พระอาจารย์พึงกล่าวคำนมัสการพระรัตนตรัย ให้อุปสัมปทาเปกข์กล่าวตาม
ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ //
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ //
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ //ฯ
พระอาจารย์กล่าวสั่งให้กล่าวตามว่า “ยะมะหัง วะทามิ, ตัง วะเทหิ (หลายคนว่า วะเทถะ)” //
อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” //
พระอาจารย์ กล่าวให้ไตรสรณคมน์ อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวตามไปเป็นตอน ๆ ดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ //
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ //
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ //
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ //
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ //
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ //
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ //
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ //
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ //
พระอาจารย์กล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง” //
อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” //
เมื่ออุปสัมปทาเปกข์ได้รับไตรสรณคมน์เสร็จแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นสามเณรแล้ว ต่อไปสามเณรพึงรับ
สิกขาบท ๑๐ ต่อไป โดยว่าตามทีละบท ดังนี้
๑. พระอาจารย์กล่าวนำว่า ปาณาติปาตา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม ปาณาติปาตา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๒. พระอาจารย์กล่าวนำว่า อะทินนาทานา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม อะทินนาทานา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๙
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๓. พระอาจารย์กล่าวนำว่า อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๔. พระอาจารย์กล่าวนำว่า มุสาวาทา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม มุสาวาทา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๕. พระอาจารย์กล่าวนำว่า สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๖. พระอาจารย์กล่าวนำว่า วิกาละโภชะนา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม วิกาละโภชะนา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๗. พระอาจารย์กล่าวนำว่า นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๘. พระอาจารย์กล่าวนำว่า มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา
เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา
เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๐
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
๙. พระอาจารย์กล่าวนำว่า อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
๑๐. พระอาจารย์กล่าวนำว่า ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
พระอาจารย์กล่าวนำว่า อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ //
สามเณรพึงกล่าวคำสรุปศีล ๓ จบ ดังนี้
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ //
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ //
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ //
แล้วจึงกราบพระอาจารย์ ๑ ครั้ง จากนั้นยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้
วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา
อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ //
แล้วนั่งคุกเข่ากราบอีก ๓ ครั้ง
ต่อมา สามเณรพึงรับถวายบาตร และกรวยแก้วเครื่องสักการะ สามเณรพึงอุ้มบาตรและกรวยแก้ว
เครื่องสักการะ ประนมมือ เดินเข่าเข้าไปในสังฆสันนิบาต แล้วถวายกรวยแก้วสักการะ และบาตรแด่
พระอุปัชฌายะ จากนั้นพึงกราบพระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง และพึงเปล่าวาจาขอนิสัยต่อไป ว่าดังนี้
คำขอนิสัยแบบเดิม
อุปสัมปทาเปกข์พึงยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง
สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ //
อุกาสะ การุญญัง กัตวา // นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต //
อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าแล้วกล่าวคำขอนิสัยต่อไปว่า
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๑
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
อะหัง ภันเต / นิสสะยัง ยาจามิ //
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต / นิสสะยัง ยาจามิ //
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต / นิสสะยัง ยาจามิ //
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ //
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ //
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ //
การให้นิสัย
เมื่ออุปสัมปทาเปกข์กล่าวคำขอนิสัยและคำขอให้เป็นพระอุปัชฌายะจบแล้ว พระอุปัชฌายะจัก
กล่าวตอบรับการให้นิสัย และการรับเป็นพระอุปัชฌายะ โดยสามเณรพึงกล่าวตอบ ดังนี้
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า : ปะฏิรูปัง // (สมควร)
อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับว่า : อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ // (ขอรับ กระผม)
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า : โอปายิกัง // (ชอบด้วยอุบาย)
อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับว่า : สัมปะฏิจฉามิ // (ขอรับ)
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า : ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ (หลายคนว่า สัมปาเทถะ) //
(เธอจงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อม ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด)
อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับว่า : สัมปะฏิจฉามิ // (ขอรับ)
เมื่อกล่าวรับจบแล้ว อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวคำรับเป็นภาระธุระของกันและกันสืบต่อไปว่า
อัชชะตัคเคทานิ เถโร / มัยหัง ภาโร / อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร //
อัชชะตัคเคทานิ เถโร / มัยหัง ภาโร / อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร //
อัชชะตัคเคทานิ เถโร / มัยหัง ภาโร / อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร //
แล้วจึงกราบ ๑ ครั้ง จากนั้นยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้
วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา
อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ //
แล้วนั่งคุกเข่ากราบอีก ๓ ครั้ง
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๒
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
การบอกบาตรและจีวร (หน้าที่พระอุปัชฌาย์ที่พระกรรมวาจาจารย์ควรรู้)
ต่อแต่นั้น พระอุปัชฌายะจักคล้องสายโยงบาตรให้อุปสัมปทาเปกข์ จากนั้นจึงกล่าวให้โอวาทเรื่อง
การถือนิสัย และบอกบาตรและจีวร อุปสัมปทาเปกข์พึงรับคำตามนี้ว่า
“ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ // อุปัชฌัง คาหาเปตฺวา / ปัตตะจีวะรัง อาจิกขิตัพพันติ //
หิทัง อุปะสัมปะทายะ ปุริมะกิจจัง ภะคะวะตา วุตตัง // ตันทานิ มะยา เต อุปัชฌาเยนะ สะตา ตะทา
จิกขะเนนะ อะนุกาตัพพัง โหติ // ตันเต สักกัจจัง โสตัพพัง //”
อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” //
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยันเต ปัตโต” //
อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” //
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยัง สังฆาฏิ” //
อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” //
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยัง อุตตะราสังโค” //
อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” //
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยัง อันตะระวาสะโก” //
อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” //
เมื่ออุปสัมปทาเปกข์รับคำพระอุปัชฌายะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จักสั่งให้อุปสัมปทาเปกข์ไปยืนที่ที่จัด
ไว้ให้นอกสังฆสันนิบาตว่า “คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ” โดยห้ามมิให้เหยียบ หรือยืนอยู่บน
อาสนะผ้าขาวที่ปูไว้ แล้วหันหน้าหาพระประธานประนมมือรอพระกรรมวาจาจารย์มาสอนซ้อมถาม
อันตรายิกธรรม
การสวดกรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์
พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ พึงนั่งคุกเข่าผินหน้าไปทางพระประธาน กราบ
พระรัตนตรัย ๓ ครั้ง แล้วตั้งนะโม ๕ ชั้น ดังนี้
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๓
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
(๑) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ//
(๒) ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ//
(๓) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต//
(๔) อะระหะโต สัมมา//
(๕) สัมพุทธัสสะ//
เมื่อตั้ง นะโม ๕ ชั้นจบแล้ว กราบพระรัตนตรัย ๑ ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบผินหน้าเข้าหากันตามเดิม
ประณมมือสวดกรรมวาจาสมมติตน เพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ ดังนี้
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ แบบเดี่ยว
(พระอุปัชฌาย์ ฉายาว่า “ติสสะทัตโต” อุปสัมปทาเปกข์ ฉายาว่า “อุตตะโร”)
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข //
ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง / อุตตะรัง / อะนุสาเสยยัง //
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ แบบคู่
(พระอุปัชฌาย์ ฉายาว่า “ติสสะทัตโต” อุปสัมปทาเปกข์ ฉายาว่า “อุตตะโร” และ “อุตตะโม”)
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ
อุปะสัมปะทาเปกขา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง/ อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ /
อะนุสาเสยยัง //
ต่อแต่นั้น พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์พึงลุกออกจากที่ประชุมสงฆ์ไปยืน ณ
อาสนะที่ปูลาดไว้ พึงสวดสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ ดังนี้
คำสอนซ้อมอันตรายิกธรรม
สุณะสิ๊ / อุตตะระ / อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล // ยัง ชาตัง / ตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉันเต //
สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง // อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง // มา โข วิตถาสิ // มา โข มังกุ อะโหสิ //
เอวันตัง ปุจฉิสสันติ // สันติ๊ / เต เอวะรูปา / อาพาธา //
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๔
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
พระอาจารย์ถามว่า อุปสัมปทาเปกข์ตอบ
กุฏฐัง นัตถิ ภันเต //
คัณโฑ นัตถิ ภันเต //
กิลาโส นัตถิ ภันเต //
โสโส นัตถิ ภันเต //
อะปะมาโร นัตถิ ภันเต //
มะนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต //
ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต //
ภุชิสโสสิ๊ อามะ ภันเต //
อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต //
นะสิ๊ ราชะภะโฏ อามะ ภันเต //
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต //
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต //
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต //
กินนาโมสิ อะหัง ภันเต / อุตตะโร นามะ //
โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต / อายัสมา
ติสสะทัตโต นามะ //
ครั้นแล้ว พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์พึงกลับเข้าไป ณ ที่ประชุมสงฆ์ นั่งคุกเข่า
กราบพระรัตนตรัย ๑ ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบประณมมือสวดกรรมวาจาเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่สงฆ์
ดังนี้
กรรมวาจาเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่สงฆ์ แบบเดี่ยว
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข //
อะนุสิฏโฐ โส มะยา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อุตตะโร / อาคัจเฉยยะ //
พระกรรมวาจาจารย์พึงกวักมือกล่าวเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้ามาว่า “อาคัจฉาหิ”
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๕
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
กรรมวาจาเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่สงฆ์ แบบคู่
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ
อุปะสัมปะทาเปกขา // อะนุสิฏฐา เต มะยา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อุตตะโร จะ /
อุตตะโม จะ / อาคัจเฉยยุง //
พระกรรมวาจาจารย์พึงกวักมือกล่าวเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้ามาว่า “อาคัจฉะถะ”
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอบถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเปกข์ แบบเดี่ยว
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข //
ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง / อุตตะรัง / อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยัง //
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอบถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเปกข์ แบบคู่
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต
ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง / อุตตะรัญจะ /
อุตตะมัญจะ / อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยัง //
จากนั้น พระกรรมวาจาจารย์ กลับยังอาสนะแล้ว พระกรรมวาจาจารย์ กราบ ๑ ครั้ง และสวด
กรรมวาจาเรียกให้อุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่แล้ว เมื่ออุปสัมปทาเปกข์เดินเข้ามาเพียงขอบเขตแห่งสังฆ
สันนิบาต พึงหยุด นั่งคุกเข่าลงเพียงปลายแดนสังฆสันนิบาต จากนั้นจึงเปล่งวาจาขออุปสมบท ดังต่อไปนี้
คำขออุปสมบท แบบเดี่ยว
สังฆัมภันเต / อุปะสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง
อุปาทายะ //
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง
อุปาทายะ //
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๖
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
คำขออุปสมบท แบบคู่
สังฆัมภันเต / อุปะสัมปะทัง ยาจามะ // อุลลุมปะตุ โน ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามะ // อุลลุมปะตุ โน ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง
อุปาทายะ //
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามะ // อุลลุมปะตุ โน ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง
อุปาทายะ //
คำสวดถามอันตรายิกธรรม
พระกรรมวาจาจารย์ พึงสวดถามอันตรายิกธรรมกับอุปสัมปทาเปกข์ทีละคน ดังต่อไปนี้
สุณะสิ๊ / อุตตะโร / อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล // ยัง ชาตัง / ตัง ปุจฉามิ // สันตัง อัตถีติ
วัตตัพพัง // อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง // สันติ๊ / เต เอวะรูปา อาพาธา //
พระอาจารย์ถามว่า อุปสัมปทาเปกข์ตอบ
กุฏฐัง นัตถิ ภันเต //
คัณโฑ นัตถิ ภันเต //
กิลาโส นัตถิ ภันเต //
โสโส นัตถิ ภันเต //
อะปะมาโร นัตถิ ภันเต //
มะนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต //
ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต //
ภุชิสโสสิ๊ อามะ ภันเต //
อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต //
นะสิ๊ ราชะภะโฏ อามะ ภันเต //
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต //
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต //
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต //
กินนาโมสิ อะหัง ภันเต / อุตตะโร นามะ //
โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต / อายัสมา
ติสสะทัตโต นามะ //
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๗
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
ญัตติจตุตถกรรมวาจาอุปสมบท แบบเดี่ยว
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข //
ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง
ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // สังโฆ /
อุตตะรัง อุปะสัมปาเทยยะ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // เอสา ญัตติ //
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข //
ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง
ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัง อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา
ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา
ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ //
ทุติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต
ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ
ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ //
สังโฆ / อุตตะรัง อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต
ขะมะติ // อุตตะรัสสะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ //
ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ //
ตะติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต
ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ
ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ //
สังโฆ / อุตตะรัง อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต
ขะมะติ // อุตตะรัสสะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ //
ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ //
อุปะสัมปันโน สังเฆนะ / อุตตะโร / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ขะมะติ /
สังฆัสสะ // ตัสมา ตุณหี // เอวะเมตัง ธาระยามิ //
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๘
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
ญัตติจตุตถกรรมวาจาอุปสมบท แบบคู่
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต
ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณะมิเมสัง
ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ
อุปัชฌาเยนะ // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ /
อุปะสัมปาเทยยะ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // เอสา ญัตติ //
สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต
ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณะมิเมสัง
ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโร จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ
อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ
อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ จะ / อุตตะมัสสะ จะ / อุปะสัมปะทา /
อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ //
ทุติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ
อุตตะโม / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ //
ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโร จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา
ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา
ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ จะ / อุตตะมัสสะ จะ /
อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ //
โส ภาเสยยะ //
ตะติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ
อุตตะโม / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ //
ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโร จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา
ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา
ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ จะ / อุตตะมัสสะ จะ /
อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ //
โส ภาเสยยะ //
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๙
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
อุปะสัมปันนา สังเฆนะ / อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ
อุปัชฌาเยนะ // ขะมะติ / สังฆัสสะ // ตัสมา ตุณหี // เอวะเมตัง ธาระยามิ //
การลงเวลาสำเร็จความเป็นภิกษุภาวะ
เมื่อพระกรรมวาจาจารย์สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาถึงคำว่า “โส ภาเสยยะ” ครั้งที่ ๓ แล้ว
พระอุปัชฌายะพึงลงเวลาที่อุปสัมปทาเปกข์สำเร็จเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนาสมบูรณ์แล้ว
การบอกอนุศาสน์
เมื่อพระกรรมวาจาจารย์ สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาถึงคำว่า “เอวะเมตัง ธาระยามิ” แล้ว เป็นอัน
จบญัตติจตุตถกรรมวาจาในการทำอุปสมบทกรรมแล้ว พระภิกษุใหม่นั้น พึงนำบาตรออกจากตัววางไว้ข้าง
ซ้ายมือ นั่งพับเพียบประณมมือ ตั้งใจคอยรับฟังการบอกอนุศาสน์ ซึ่งพระอุปัชฌายะจะบอกเอง หรือจะ
มอบให้พระกรรมวาจาจารย์ หรือพระอนุสาวนาจารย์บอกแทน ตามความเหมาะสมต่อไป
ก่อนแต่จะบอกอนุศาสน์เป็นภาษาบาลีนั้น พระอุปัชฌายะ หรือพระกรรมวาจาจารย์ หรือพระอนุ
สาวนาจารย์ ผู้ได้รับการมอบหมายให้บอกอนุศาสน์แทน พึงกล่าวสรูปสอนโดยย่อดังนี้
“สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่า เมื่อเสร็จกิจอุปสมบทแล้ว ให้บอกอนุศาสน์สอน
นวกภิกษุ อนุศาสน์มี ๘ ประการ แบ่งเป็นนิสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ เครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกว่า
นิสัยฯ ก็แล นิสัย ๔ นั้น คือ เที่ยวบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนไม้ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
รวม ๔ นี้ เป็นเครื่องอาศัย ของบรรพชิตฯ สิ่งที่บรรพชิตทำไม่ได้ เรียกว่า อกรณียกิจ ฯ ก็แล อกรณียกิจ
๔ นั้น คือ เสพเมถุน ลักทรัพย์ ฆ่าสัตว์ อวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน รวม ๔ นี้ บรรพชิตทำไม่ได้ ต่อไปนี้
จักสอน ด้วยภาษาพระบาลี ซึ่งมีความสังเขปดังอธิบายมาแล้วนั้นฯ
คำบอกอนุศาสน์แบบเดิม
ตาวะเทวะ ฉายา เมตัพพา // อุตุปปะมาณัง อาจิกขิตัพพัง // ทิวะสะภาโค อาจิกขิตัพโพ // สังคีติ
อาจิกขิตัพพา // จัตตาโร นิสสะยา อาจิกขิตัพพา // จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตัพพานีติ //
หิทัง อุปะสัมปะทายะ ปัจฉิมะกิจจัง ภะคะวะตา วุตตัง // ตันทานิ มะยา เต อุปัชฌาเยนะ สะตา (ถ้า
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๐
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
บอกแทนพระอุปัชฌายะว่า อุปัชฌาเยนะ อาณัตเตนะ สะตา) ตะทาจิกขะเนนะ อะนุกาตัพพัง
โหติ // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) สักกัจจัง โสตัพพัง //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๑) ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะซีวัง
อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลากะภัตตัง ปักขิกัง
อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๒) ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห
กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๓) รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห
กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๔) ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห
กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๕) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุนโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ / อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ //
โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ
ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธเนนะ ชีวิตุง // เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง
ปะฏิเสวิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง
อะกะระณียัง//
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๑
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๖) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง / อันตะมะโส ติณะสะลากัง
อุปาทายะ // โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง
อาทิยะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต
อะภัพโพ หะริตัตตายะ // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง
เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว)
ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๗) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ / อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง
อุปาทายะ // โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ / อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง
อุปาทายะ // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา ทวิธา ภินนา
อัปปะฏิสันธิกา โหติ // เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา / อัสสะมะโณ
โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต”
(๘) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ / อันตะมะโส สุญญาคาเร
อะภิระมามีติ // โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ / ฌานัง วา
วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา มัคคัง วา ผะลัง วา // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย //
เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ
อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติ
โย ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียันติ //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบ
พระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๒
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
คำบอกอนุศาสน์แบบใหม่
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา อุปะสัมปาเทตวา จัตตาโร นิสสะเย จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ
อาจิกขิตุง //
(๑) ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะซีวัง
อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลากะภัตตัง ปักขิกัง
อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง //
(๒) ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห
กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง //
(๓) รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห
กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา //
(๔) ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห
กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง //
(๕) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุนโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ / อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ //
โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ
ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธเนนะ ชีวิตุง // เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง
ปะฏิเสวิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง
อะกะระณียัง//
(๖) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง / อันตะมะโส ติณะสะลากัง
อุปาทายะ // โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง
อาทิยะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต
อะภัพโพ หะริตัตตายะ // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง
เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว)
ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๓
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
(๗) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ / อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง
อุปาทายะ // โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ / อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง
อุปาทายะ // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา ทวิธา ภินนา
อัปปะฏิสันธิกา โหติ // เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา / อัสสะมะโณ
โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง //
(๘) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ / อันตะมะโส สุญญาคาเร
อะภิระมามีติ // โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ / ฌานัง วา
วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา มัคคัง วา ผะลัง วา // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย //
เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ
อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติ
โย ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียันติ //
อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา
สัมมาสัมพุทเธนะ // สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา //
ยาวะเทวะ ตัสสะ มะทะนิมมะทะนัสสะ ปิปาสะวินะยัสสะ อาละยะสะมุคฆาตัสสะ
วัฏฏูปัจเฉทัสสะ // ตัณหักขะยัสสะ วิราคัสสะ นิโรธัสสะ นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ //
ตัตถะ สีละปะริภาวิโต สะมาธิ มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส // สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา
มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา // ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ //
เสยยะถีทัง / กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา //
ตัสมาติหะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต ธัมมะวินะเย /
สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิจิตตะสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา /
ตัตถะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตัพพัง //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบ
พระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๔
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
การบอกอนุศาสน์แบบย่อ
ในกรณีมีความรีบด่วน เพื่อย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น นิยมบอกอนุศาสน์แบบย่อ โดยไม่ต้องบอก
อานิสงส์แห่งความปฏิบัติตามไตรสิกขา บอกเพียงข้อปฏิบัติเท่านั้น โดยบอกอนุศาสน์ตั้งแต่ต้นมา
ตามลำดับแล้วบอกย่อเฉพาะข้อความตอนท้าย ดังนี้
คำบอกอนุศาสน์แบบย่อเฉพาะข้อความตอนท้าย
อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา
สัมมาสัมพุทเธนะ // สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา //
ตัสมาติหะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต ธัมมะวินะเย /
สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิจิตตะสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา /
ตัตถะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตัพพัง //
พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบ
พระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๕
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม
ส่วนที่ ๒
ความรู้เพิ่มเติมสำหรับพระกรรมวาจาจารย์
การตั้งนามฉายา
=======================
ฉายาของอุปสัมปทาเปกข์นั้น เป็นนามที่ต้องยกขึ้นสู่กรรมวาจา พระอุปัชฌายะต้องตั้งให้ และ
ต้องตั้งให้ถูกต้องตามหลักบาลีไวยากรณ์และความนิยมในปัจจุบัน การตั้งฉายานั้น มี ๒ แบบ คือ
๑. ตั้งตามวันเกิด
๒. ตั้งตามชื่อหรือนามสกุล
แบบที่ ๑ เอาวันเกิดของอุปสัมปทาเปกข์เป็นนิมิต โดยเอานามบริวาร ยึดตำราทักษาเป็นหลัก
ในตำราดังกล่าวกำหนดนามไว้ ๘ คือ บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาฬกัณณี
โดยมีอักษร ๘ หมู่เป็นหลักดังนี้
วิธีนับ เกิดวันใด ให้นับหนึ่งลงในอักษรหมู่สำหรับวันนั้น ๆ แล้วนับเวียนขวาว่า บริวาร อายุ
เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาฬกัณณี ตัวอย่าง นายธวัช เกิดวันอังคาร บริวารอยู่ที่อักษร
หมู่ที่ ๓ ถ้าตั้งฉายาขึ้นต้นด้วย จ ฉ ช ฌ ญ เช่น จนฺทรํสี หรือ ชุติปญฺโญ เป็นนามบริวาร
ขึ้นต้นด้วย ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เช่น ฐานงฺกโร เป็นนามอายุ ขึ้นต้นด้วย ต ถ ท ธ น เช่น ตาณงฺกโร
เป็นนามเดช ขึ้นต้นด้วย ป ผ พ ภ ม เช่น ปญฺญาธโร เป็นนามศรี ถ้าขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท

Contenu connexe

Tendances

โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกAnchalee BuddhaBucha
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้Kiat Chaloemkiat
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาPadvee Academy
 
บทที่ 4 กิริยาศัพท์
บทที่ 4  กิริยาศัพท์บทที่ 4  กิริยาศัพท์
บทที่ 4 กิริยาศัพท์Gawewat Dechaapinun
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานAnchalee BuddhaBucha
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์Anchalee BuddhaBucha
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาmagicgirl123
 
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาศศิพร แซ่เฮ้ง
 
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์Patchara Kornvanich
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาพัน พัน
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Padvee Academy
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์Gawewat Dechaapinun
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)niralai
 
มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์Krawchai Santadwattana
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔Padvee Academy
 

Tendances (20)

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นเอก  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdfประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นเอก  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
บทที่ 4 กิริยาศัพท์
บทที่ 4  กิริยาศัพท์บทที่ 4  กิริยาศัพท์
บทที่ 4 กิริยาศัพท์
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
เป้าหมายของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
 
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
บทสวดแปล+ทิพย์มนต์
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นเอก (ปี 2549 - 2564).pdf
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
 
มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 

Similaire à คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท

แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานแนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ Thanit Lawyer
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ Anan Pakhing
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยKittitus Sa-admoang
 
ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อนประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อนพัน พัน
 
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์Wataustin Austin
 
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์Tongsamut vorasan
 
บาลี 11 80
บาลี 11 80บาลี 11 80
บาลี 11 80Rose Banioki
 
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+21 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2Tongsamut vorasan
 
บาลี 13 80
บาลี 13 80บาลี 13 80
บาลี 13 80Rose Banioki
 
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+21 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2Wataustin Austin
 
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕Tongsamut vorasan
 
พวย
พวยพวย
พวยjirayud
 

Similaire à คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท (20)

แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานแนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
 
ฉันทลักษณะ
ฉันทลักษณะฉันทลักษณะ
ฉันทลักษณะ
 
Chitrapathachan
ChitrapathachanChitrapathachan
Chitrapathachan
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ
 
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๑
 
Manawakachan
ManawakachanManawakachan
Manawakachan
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อนประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อน
 
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
 
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
 
บาลี 11 80
บาลี 11 80บาลี 11 80
บาลี 11 80
 
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+21 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
 
บาลี 13 80
บาลี 13 80บาลี 13 80
บาลี 13 80
 
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+21 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
 
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
 
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
 
วิชา ฉันทลักษณ์
วิชา ฉันทลักษณ์วิชา ฉันทลักษณ์
วิชา ฉันทลักษณ์
 
พวย
พวยพวย
พวย
 
คำสมาส
คำสมาสคำสมาส
คำสมาส
 

Plus de Theeraphisith Candasaro

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่Theeraphisith Candasaro
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐Theeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATETheeraphisith Candasaro
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อTheeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์Theeraphisith Candasaro
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคTheeraphisith Candasaro
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย Theeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์Theeraphisith Candasaro
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติTheeraphisith Candasaro
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ Theeraphisith Candasaro
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีTheeraphisith Candasaro
 

Plus de Theeraphisith Candasaro (20)

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
 
e-Donatin
e-Donatine-Donatin
e-Donatin
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
 
คำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศลคำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศล
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
 
Put the right man on the right job
Put the right man on the right jobPut the right man on the right job
Put the right man on the right job
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
 

คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท

  • 1. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ความเบื้องต้นที่สำคัญ เกี่ยวกับพระกรรมวาจาจารย์ ความหมาย คำว่า “กรรมวาจาจารย์” ประกอบด้วยคำว่า “กรรมวาจา” + “อาจารย์” มีอธิบายไว้ ดังนี้ ๑. คำว่า “กรรมวาจา” สามารถแยกศัพท์เป็น “กรรม” + “วาจา” ได้แก่ ๑) “กรรม” บาลีภาษาเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) ส่วนภาษาสันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ก ควบ ร กลืนเสียง ระ ลงคอ) แต่ภาษาไทยเขียนเป็น “กรรม” “กมฺม” มีรากศัพท์จาก กรฺ ธาตุ ในการกระทำ ลง รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ รฺ ที่ ต้นปัจจัย สำเร็จรูปเป็น “กมฺม” (กรฺ > ก + รมฺม > มฺม : ก + มฺม = กมฺม) “กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม” ๒) “วาจา” มีรากศัพท์จาก วจฺ ธาตุ ใรการพูด ลง ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ทีฆะ อะ ที่ต้นธาตุ เป็น วาจ ตามสูตร “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” (วจฺ > วาจ) ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตฺถีลิงค์ สำเร็จรูปเป็น “วาจา” (วจฺ + ณ = วจณ > วจ > วาจ + อา = วาจา) แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขาพูด” หมายถึง คำพูด การกล่าว, การพูด, วาจา (word, saying, speech) เพราะฉะนั้น เมื่อรวมคำว่า “กมฺม” และ “วาจา” เข้าเป็นคำว่า “กมฺมวาจา” มีคำแปลว่า “คำพูดใน กิจของสงฆ์” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กมฺมวาจา” ว่า the text or word of an official Act (ข้อความหรือคำพูดในกรรมวาจา) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า – “กรรมวาจา : (คำนาม) คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (ส. กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา)” พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) แปล “กรรมวาจา” เป็นอังกฤษดังนี้
  • 2. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม Kammavācā: the formal words of an act; text of a formal act, i.e. a motion (ญัตติ) together with one or three proclamations (อนุสาวนา) that may follow. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) ขยายความไว้ว่า – “กรรมวาจา : คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, คำสวดประกาศในการทำสังฆกรรม, คำประกาศในการดำเนินการประชุม แยกเป็น ญัตติ และอนุสาวนา” ๒. คำว่า “อาจารย์” ในบาลีภาษาเป็น “อาจริย” (อา-จะ-ริ-ยะ) และเมื่อแปลทับศัพท์เป็นรูปตามภาษา สันสกฤตเป็น “อาจารย์” (a teacher) มีรากศัพท์มาจาก :- (๑) อา (อุปสรรค แปลว่า ทั่วไป, ยิ่ง) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง อิย ปัจจัย : อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประพฤติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่ ศิษย์” (๒) อา (จากศัพท์ “อาทิ” แปลว่า เบื้องต้น) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในการศึกษา ลง อิย ปัจจัย : อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังศิษย์ให้ศึกษามาแต่ต้น” (๓) อา (จากศัพท์ “อาทร” แปลว่า เอื้อเฟื้อ, เอาใจใส่) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ) ลง อิย ปัจจัย : อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือ ปรนนิบัติด้วยความเอาใจใส่” (๔) อา (แข็งแรง, จริงจัง, ยิ่งใหญ่) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง อิย ปัจจัย : อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ ศิษย์อย่างดียิ่ง” (๕) อา (แทนศัพท์ “อภิมุขํ” แปลว่า ข้างหน้า, ตรงหน้า) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง อิย ปัจจัย : อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติทำไว้ ข้างหน้า” (คือศิษย์พึงดำเนินตาม) (๖) อา (แทนศัพท์ “อาปาณโกฏิกํ” แปลว่า ตลอดชีวิต) ลงหน้า จรฺ ธาตุ ในความประพฤติ ลง อิย ปัจจัย
  • 3. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๓ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม : อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย สำเร็จรูปเป็น “อาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือพึง ปรนนิบัติตลอดชีวิต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า – “อาจารย์ : (คำนาม) ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่า มีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง (ส.; ป. อาจริย)” ดังนั้น คำว่า “กมฺมวาจา” และ “อาจริย” เมื่อนำมาสมาสกันจึงเป็น คำว่า “กมฺมวาจาจริย” หรือ “กรรมวาจาจารย์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า – “กรรมวาจาจารย์ : (คำนาม) อาจารย์ผู้ให้สำเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด (ส. กรฺมวาจา + อา จารฺย ว่า อาจารย์)” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) บอกไว้ว่า “กรรมวาจาจารย์ : พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาประกาศในท่ามกลางสงฆ์ใน การอุปสมบท” ขยายความ : ในการทำสังฆกรรมที่ต้องประกาศให้สงฆ์ทราบหรือต้องขอมติจากสงฆ์ เช่น การมอบผ้า กฐิน และการอุปสมบท เป็นต้น ตามหลักพระวินัยจะต้องสวด “กรรมวาจา” คือ คำประกาศท่ามกลางที่ ประชุมสงฆ์ ภิกษุผู้ทำหน้าที่สวด “กรรมวาจา” นั้น มีคำเรียกชื่อว่า “กรรมวาจาจารย์” ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่า “คู่สวด” การที่เรียกว่า “คู่สวด” จะต้องมี ๒ รูป แต่ความจริงแล้ว “กรรมวาจาจารย์” แม้มีรูปเดียวก็ใช้ได้ แต่ที่นิยมให้มี ๒ รูปนั้น มีสันนิษฐานว่า ประสงค์จะให้อีกรูปหนึ่งทำหน้าที่สวดเทียบทานเพื่อให้การสวด กรรมวาจาปราศจากข้อบกพร่องตามหลักพระธรรมวินัย ภิกษุอีกรูปหนึ่งที่ทำหน้าที่สวดเทียบทานนี้ มีคำเรียกต่างออกไปว่า “อนุสาวนาจารย์” ซึ่งทั้งคำว่า “กรรมวาจาจารย์” และ “อนุสาวนาจารย์” รวมเรียกว่า “คู่สวด” ส่วนคำว่า “อุปัชฌาย์อาจารย์” ที่นิยมพูดนั้น ตามคติของโบราณาจารย์ คำว่า “อาจารย์” ท่าน หมายถึง “กรรมวาจาจารย์” และ “อนุสาวนาจารย์” ทั้ง ๒ คำนี้ ท่านนับถือ “อุปัชฌาย์อาจารย์” เสมอ ด้วยบิดามารดา โดยเหตุผลว่า เป็นผู้ทำกิจทำหน้าที่ตามพระวินัยให้เกิดเพศสงฆ์ขึ้นในพระพุทธศาสนา คนในสมัยโบราณท่านจึงเคารพพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของตนอย่างยิ่ง
  • 4. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๔ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม หน้าที่ของพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้ ความหมายของกรรมวาจาจารย์ (กำ-มะ-วา-จา-จาน) ไว้ว่า “อาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา คือ ภิกษุผู้ทำหน้าที่ สวดประกาศในท่ามกลางสงฆ์เวลาทำพิธีอุปสมบท เพื่อให้สงฆ์ทั้งนั้นทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวของ อุปสัมปทาเปกข์ หรือผู้ขอบวช และถามมติของสงฆ์ว่า จะยอมรับผู้ขอบวชให้เป็นภิกษุหรือไม่ เรียกกันว่า พระกรรมวาจาจารย์” พระกรรมวาจาจารย์ย่อมมาคู่กับพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งทำหน้าที่บอกอนุศาสน์หรือคำสอน เกี่ยวกับระเบียบวินัยเบื้องต้นแก่ผู้บวชที่เป็นภิกษุใหม่ ในปัจจุบัน ทั้งสองรูปทำหน้าที่เหมือนกัน คือ สวด ประกาศ ฉะนั้น จึงรวมเรียกว่า "คู่สวด" หรือ "พระคู่สวด" ส่วนหน้าที่บอกอนุศาสน์ ปัจจุบันท่าน กำหนดให้เป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ หรือพระอุปัชฌาย์จะมอบหมายแก่พระกรรมวาจาจารย์รูปใด รูปหนึ่งก็กระทำได้ คุณสมบัติของพระกรรมวาจาจารย์ พระภิกษุผู้จะเป็นกรรมวาจาจารย์ และอนุสาวนาจารย์ ต้องประกอบด้วยสมบัติ ๓ ประการ คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีสติ ฯ ๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ สัมมาทิฏฐิ พหูสูต เคยได้ยินได้ฟังมากมีปัญญา ฯ ๓. รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำปาติโมกข์ได้แม่นยำ ฯ ทั้งมีพรรษาได้ ๕ หรือยิ่งกว่า องค์เหล่านี้บกพร่องบางอย่างได้ แต่ที่ขาดไม่ได้ คือ การกำหนดพรรษา ฯ ตามมติของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง กำหนด ว่า พระภิกษุผู้จะเป็นพระกรรมวาจาจารย์นั้น สมควรมีพรรษาพ้น ๑๐ ตั้งอยู่ในชั้นเถรภูมิ อันมีภูมิรู้และ ภูมิธรรมที่ดี มีความเข้าใจในการคณะสงฆ์ และมีวุฒิภาวะเพียงพอในการอบรมสั่งสอนพระนวกะได้ นอกจากนี้ ยังต้องมีคุณสมบัติโดยอนุโลมตามข้อ ๘ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ในปัจจุบัน การแต่งตั้งพระกรรมวาจาจารย์ นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว ยังกำหนดเอาพระภิกษุ ผู้มีตำแหน่งทางการปกครองระดับวัด ที่มิได้เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นพื้นอีกด้วย
  • 5. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๕ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ความรู้พระกรรมวาจาจารย์ สิ่งที่พระกรรมวาจาจารย์ จำเป็นต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งต้องสามารถนำมาปฏิบัติ ได้อย่างชำนาญ และถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดการวิบัติ โดยเฉพาะอย่างวิธีการสวดกรรมวาจาด้วยภาษามคธ อันเป็นไปตามหลักบาลีไวยากรณ์ ซึ่งนับเป็นคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของพระกรรมวาจาจารย์ด้วย ความรู้ที่พระกรรมวาจาจารย์ต้องมีนั้น ให้อนุโลมตามข้อ ๔ แห่งระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนด วิธีปฏิบัติในหน้าที่พระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งงดเสียแต่หน้าที่พระอุปัชฌาย์เท่านั้น ได้แก่ ๑. หน้าที่เจ้านาค เช่น การขานนาค ๒. หน้าที่พระกรรมวาจาจารย์ เช่น สวดญัตติ อนุสาวนา ได้คล่องแคล่วเป็นอักขรสมบัติ ๓. การบอกอนุศาสน์ ๔. สมบัติ คือ วัตถุ สีมา ปริส กรรมวาจา และวิบัติซึ่งตรงกันข้าม ๕. อัฏฐบริขารที่สำคัญขาดไม่ได้ ๖. การนับอายุอุปสัมปทาเปกข์ และการตั้งนามฉายา ๗. การสวดนาคเดี่ยวหรือหลายนาค ต้องสมมติให้สวด เพื่อรู้จักเปลี่ยนวิภัตติ และการันต์ เฉพาะที่ใช้ในกรรมวาจา ๘. การนับเวลาสำเร็จญัตติจตุตถกรรม เป็นต้น
  • 6. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๖ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ส่วนที่ ๑ ความรู้พระกรรมวาจาจารย์ภาคปฏิบัติ พระภิกษุผู้จะเป็นพระกรรมวาจาจารย์นั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ อุปสัมปทาเปกข์ (หน้าที่เจ้านาค) หน้าที่กรรมวาจาจารย์ (หน้าที่คู่สวด) รวมถึงการบอกอนุศาสน์ เป็นต้น ได้โดยเรียบร้อยด้วยดีทุกหน้าที่ ดังต่อไปนี้ การปฏิบัติหน้าที่อุปสัมปทาเปกข์ คำขอบรรพชาแบบเดิม อุปสัมปทาเปกข์พึงยืนประณมมือ กล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้ อุกาสะ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ // อุกาสะ การุญญัง กัตวา / ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต // อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าแล้วกล่าวคำขอบรรพชาต่อไปว่า อะหัง ภันเต / ปัพพัชชัง ยาจามิ // ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต / ปัพพัชชัง ยาจามิ // ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต / ปัพพัชชัง ยาจามิ // สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / อิมัง กาสาวัง คะเหตวา / ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / อิมัง กาสาวัง คะเหตวา / ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / อิมัง กาสาวัง คะเหตวา / ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // อุปสัมปทาเปกข์ พึงน้อมผ้าไตรจีวรถวายแด่พระอุปัชฌายะ แล้วกล่าวต่อไปว่า
  • 7. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๗ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / เอตัง กาสาวัง ทัตวา / ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / เอตัง กาสาวัง ทัตวา / ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ / นิพพานะ / สัจฉิกะระณัตถายะ / เอตัง กาสาวัง ทัตวา / ปัพพาเชถะ มัง ภันเต / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // เมื่ออุปสัมปทาเปกข์เปล่งวาจาขอบรรพชาจบแล้ว พึงถอดเสื้อของตนออก สอดแขนขวาเข้าใน อังสะที่พระอุปัชฌายะสวมให้ แล้วจึงนั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌายะจะกล่าว สอนเรื่องการบรรพชาอุปสมบทต่อไป คำขอไตรสรณคมน์และศีลแบบเดิม อุปสัมปทาเปกข์พึงยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้ อุกาสะ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ // อุกาสะ การุญญัง กัตวา / ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะ เม ภันเต // อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าประณมมือกล่าวคำขอไตรสรณคมน์และศีลต่อไปว่า อะหัง ภันเต / สะระณะสีลัง ยาจามิ // ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต / สะระณะสีลัง ยาจามิ // ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต / สะระณะสีลัง ยาจามิ // การปฏิบัติหน้าที่พระกรรมวาจาจารย์ การให้ไตรสรณคมน์และศีลแบบเดิม พระอาจารย์พึงลุกขึ้นนั่งคุกเข่ากราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วไปนั่ง ณ อาสนะที่จัดไว้เป็นเอกเทศ จากหมู่สงฆ์ เมื่ออุปสัมปทาเปกข์เข้าไปหาพระอาจารย์ถวายเครื่องสักการะ และกราบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง และยืนประณมมือกล่าวคำแสดงความเคารพและคำอ้อนวอนขอโอกาสแล้ว นั่งคุกเข่ากล่าวคำขอ
  • 8. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๘ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ไตรสรณคมน์และศีลจบแล้ว พระอาจารย์พึงกล่าวคำนมัสการพระรัตนตรัย ให้อุปสัมปทาเปกข์กล่าวตาม ดังนี้ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ // นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ // นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ //ฯ พระอาจารย์กล่าวสั่งให้กล่าวตามว่า “ยะมะหัง วะทามิ, ตัง วะเทหิ (หลายคนว่า วะเทถะ)” // อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” // พระอาจารย์ กล่าวให้ไตรสรณคมน์ อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวตามไปเป็นตอน ๆ ดังนี้ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ // ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ // สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ // ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ // ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ // ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ // ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ // ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ // ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ // พระอาจารย์กล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง” // อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” // เมื่ออุปสัมปทาเปกข์ได้รับไตรสรณคมน์เสร็จแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นสามเณรแล้ว ต่อไปสามเณรพึงรับ สิกขาบท ๑๐ ต่อไป โดยว่าตามทีละบท ดังนี้ ๑. พระอาจารย์กล่าวนำว่า ปาณาติปาตา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม ปาณาติปาตา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๒. พระอาจารย์กล่าวนำว่า อะทินนาทานา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม อะทินนาทานา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
  • 9. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๙ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๓. พระอาจารย์กล่าวนำว่า อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๔. พระอาจารย์กล่าวนำว่า มุสาวาทา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม มุสาวาทา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๕. พระอาจารย์กล่าวนำว่า สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๖. พระอาจารย์กล่าวนำว่า วิกาละโภชะนา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม วิกาละโภชะนา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๗. พระอาจารย์กล่าวนำว่า นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๘. พระอาจารย์กล่าวนำว่า มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ //
  • 10. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๐ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ๙. พระอาจารย์กล่าวนำว่า อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // ๑๐. พระอาจารย์กล่าวนำว่า ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี // สามเณรกล่าวสมาทานตาม ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี // พระอาจารย์กล่าวนำว่า สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // สามเณรกล่าวสมาทานตาม สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ // พระอาจารย์กล่าวนำว่า อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ // สามเณรพึงกล่าวคำสรุปศีล ๓ จบ ดังนี้ อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ // อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ // อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ // แล้วจึงกราบพระอาจารย์ ๑ ครั้ง จากนั้นยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ // แล้วนั่งคุกเข่ากราบอีก ๓ ครั้ง ต่อมา สามเณรพึงรับถวายบาตร และกรวยแก้วเครื่องสักการะ สามเณรพึงอุ้มบาตรและกรวยแก้ว เครื่องสักการะ ประนมมือ เดินเข่าเข้าไปในสังฆสันนิบาต แล้วถวายกรวยแก้วสักการะ และบาตรแด่ พระอุปัชฌายะ จากนั้นพึงกราบพระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง และพึงเปล่าวาจาขอนิสัยต่อไป ว่าดังนี้ คำขอนิสัยแบบเดิม อุปสัมปทาเปกข์พึงยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้ อุกาสะ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ // อุกาสะ การุญญัง กัตวา // นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต // อุปสัมปทาเปกข์พึงนั่งคุกเข่าแล้วกล่าวคำขอนิสัยต่อไปว่า
  • 11. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๑ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม อะหัง ภันเต / นิสสะยัง ยาจามิ // ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต / นิสสะยัง ยาจามิ // ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต / นิสสะยัง ยาจามิ // อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ // อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ // อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ // การให้นิสัย เมื่ออุปสัมปทาเปกข์กล่าวคำขอนิสัยและคำขอให้เป็นพระอุปัชฌายะจบแล้ว พระอุปัชฌายะจัก กล่าวตอบรับการให้นิสัย และการรับเป็นพระอุปัชฌายะ โดยสามเณรพึงกล่าวตอบ ดังนี้ พระอุปัชฌายะกล่าวว่า : ปะฏิรูปัง // (สมควร) อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับว่า : อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ // (ขอรับ กระผม) พระอุปัชฌายะกล่าวว่า : โอปายิกัง // (ชอบด้วยอุบาย) อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับว่า : สัมปะฏิจฉามิ // (ขอรับ) พระอุปัชฌายะกล่าวว่า : ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ (หลายคนว่า สัมปาเทถะ) // (เธอจงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อม ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด) อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวรับว่า : สัมปะฏิจฉามิ // (ขอรับ) เมื่อกล่าวรับจบแล้ว อุปสัมปทาเปกข์พึงกล่าวคำรับเป็นภาระธุระของกันและกันสืบต่อไปว่า อัชชะตัคเคทานิ เถโร / มัยหัง ภาโร / อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร // อัชชะตัคเคทานิ เถโร / มัยหัง ภาโร / อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร // อัชชะตัคเคทานิ เถโร / มัยหัง ภาโร / อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร // แล้วจึงกราบ ๑ ครั้ง จากนั้นยืนประณมมือกล่าวคำขอขมาโทษ ดังนี้ วันทามิ ภันเต / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต / มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง // สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง / สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ // แล้วนั่งคุกเข่ากราบอีก ๓ ครั้ง
  • 12. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๒ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม การบอกบาตรและจีวร (หน้าที่พระอุปัชฌาย์ที่พระกรรมวาจาจารย์ควรรู้) ต่อแต่นั้น พระอุปัชฌายะจักคล้องสายโยงบาตรให้อุปสัมปทาเปกข์ จากนั้นจึงกล่าวให้โอวาทเรื่อง การถือนิสัย และบอกบาตรและจีวร อุปสัมปทาเปกข์พึงรับคำตามนี้ว่า “ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ // อุปัชฌัง คาหาเปตฺวา / ปัตตะจีวะรัง อาจิกขิตัพพันติ // หิทัง อุปะสัมปะทายะ ปุริมะกิจจัง ภะคะวะตา วุตตัง // ตันทานิ มะยา เต อุปัชฌาเยนะ สะตา ตะทา จิกขะเนนะ อะนุกาตัพพัง โหติ // ตันเต สักกัจจัง โสตัพพัง //” อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” // พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยันเต ปัตโต” // อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” // พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยัง สังฆาฏิ” // อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” // พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยัง อุตตะราสังโค” // อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” // พระอุปัชฌายะกล่าวว่า “อะยัง อันตะระวาสะโก” // อุปสัมปทาเปกข์พึงรับว่า “อามะ ภันเต” // เมื่ออุปสัมปทาเปกข์รับคำพระอุปัชฌายะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จักสั่งให้อุปสัมปทาเปกข์ไปยืนที่ที่จัด ไว้ให้นอกสังฆสันนิบาตว่า “คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ” โดยห้ามมิให้เหยียบ หรือยืนอยู่บน อาสนะผ้าขาวที่ปูไว้ แล้วหันหน้าหาพระประธานประนมมือรอพระกรรมวาจาจารย์มาสอนซ้อมถาม อันตรายิกธรรม การสวดกรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ พึงนั่งคุกเข่าผินหน้าไปทางพระประธาน กราบ พระรัตนตรัย ๓ ครั้ง แล้วตั้งนะโม ๕ ชั้น ดังนี้
  • 13. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๓ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม (๑) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ// (๒) ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ// (๓) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต// (๔) อะระหะโต สัมมา// (๕) สัมพุทธัสสะ// เมื่อตั้ง นะโม ๕ ชั้นจบแล้ว กราบพระรัตนตรัย ๑ ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบผินหน้าเข้าหากันตามเดิม ประณมมือสวดกรรมวาจาสมมติตน เพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ ดังนี้ กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ แบบเดี่ยว (พระอุปัชฌาย์ ฉายาว่า “ติสสะทัตโต” อุปสัมปทาเปกข์ ฉายาว่า “อุตตะโร”) สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง / อุตตะรัง / อะนุสาเสยยัง // กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ แบบคู่ (พระอุปัชฌาย์ ฉายาว่า “ติสสะทัตโต” อุปสัมปทาเปกข์ ฉายาว่า “อุตตะโร” และ “อุตตะโม”) สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง/ อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อะนุสาเสยยัง // ต่อแต่นั้น พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์พึงลุกออกจากที่ประชุมสงฆ์ไปยืน ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ พึงสวดสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกข์ ดังนี้ คำสอนซ้อมอันตรายิกธรรม สุณะสิ๊ / อุตตะระ / อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล // ยัง ชาตัง / ตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉันเต // สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง // อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง // มา โข วิตถาสิ // มา โข มังกุ อะโหสิ // เอวันตัง ปุจฉิสสันติ // สันติ๊ / เต เอวะรูปา / อาพาธา //
  • 14. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๔ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม พระอาจารย์ถามว่า อุปสัมปทาเปกข์ตอบ กุฏฐัง นัตถิ ภันเต // คัณโฑ นัตถิ ภันเต // กิลาโส นัตถิ ภันเต // โสโส นัตถิ ภันเต // อะปะมาโร นัตถิ ภันเต // มะนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต // ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต // ภุชิสโสสิ๊ อามะ ภันเต // อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต // นะสิ๊ ราชะภะโฏ อามะ ภันเต // อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต // ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต // ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต // กินนาโมสิ อะหัง ภันเต / อุตตะโร นามะ // โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต / อายัสมา ติสสะทัตโต นามะ // ครั้นแล้ว พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์พึงกลับเข้าไป ณ ที่ประชุมสงฆ์ นั่งคุกเข่า กราบพระรัตนตรัย ๑ ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบประณมมือสวดกรรมวาจาเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่สงฆ์ ดังนี้ กรรมวาจาเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่สงฆ์ แบบเดี่ยว สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // อะนุสิฏโฐ โส มะยา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อุตตะโร / อาคัจเฉยยะ // พระกรรมวาจาจารย์พึงกวักมือกล่าวเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้ามาว่า “อาคัจฉาหิ”
  • 15. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๕ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม กรรมวาจาเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่สงฆ์ แบบคู่ สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // อะนุสิฏฐา เต มะยา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / อาคัจเฉยยุง // พระกรรมวาจาจารย์พึงกวักมือกล่าวเรียกอุปสัมปทาเปกข์เข้ามาว่า “อาคัจฉะถะ” กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอบถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเปกข์ แบบเดี่ยว สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง / อุตตะรัง / อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยัง // กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอบถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเปกข์ แบบคู่ สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // อะหัง / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยัง // จากนั้น พระกรรมวาจาจารย์ กลับยังอาสนะแล้ว พระกรรมวาจาจารย์ กราบ ๑ ครั้ง และสวด กรรมวาจาเรียกให้อุปสัมปทาเปกข์เข้าหมู่แล้ว เมื่ออุปสัมปทาเปกข์เดินเข้ามาเพียงขอบเขตแห่งสังฆ สันนิบาต พึงหยุด นั่งคุกเข่าลงเพียงปลายแดนสังฆสันนิบาต จากนั้นจึงเปล่งวาจาขออุปสมบท ดังต่อไปนี้ คำขออุปสมบท แบบเดี่ยว สังฆัมภันเต / อุปะสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามิ // อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ //
  • 16. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๖ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม คำขออุปสมบท แบบคู่ สังฆัมภันเต / อุปะสัมปะทัง ยาจามะ // อุลลุมปะตุ โน ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามะ // อุลลุมปะตุ โน ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง / อุปะสัมปะทัง ยาจามะ // อุลลุมปะตุ โน ภันเต สังโฆ / อะนุกัมปัง อุปาทายะ // คำสวดถามอันตรายิกธรรม พระกรรมวาจาจารย์ พึงสวดถามอันตรายิกธรรมกับอุปสัมปทาเปกข์ทีละคน ดังต่อไปนี้ สุณะสิ๊ / อุตตะโร / อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล // ยัง ชาตัง / ตัง ปุจฉามิ // สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง // อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง // สันติ๊ / เต เอวะรูปา อาพาธา // พระอาจารย์ถามว่า อุปสัมปทาเปกข์ตอบ กุฏฐัง นัตถิ ภันเต // คัณโฑ นัตถิ ภันเต // กิลาโส นัตถิ ภันเต // โสโส นัตถิ ภันเต // อะปะมาโร นัตถิ ภันเต // มะนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต // ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต // ภุชิสโสสิ๊ อามะ ภันเต // อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต // นะสิ๊ ราชะภะโฏ อามะ ภันเต // อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต // ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต // ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต // กินนาโมสิ อะหัง ภันเต / อุตตะโร นามะ // โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต / อายัสมา ติสสะทัตโต นามะ //
  • 17. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๗ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ญัตติจตุตถกรรมวาจาอุปสมบท แบบเดี่ยว สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // สังโฆ / อุตตะรัง อุปะสัมปาเทยยะ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // เอสา ญัตติ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัง อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ // ทุติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัง อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ // ตะติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัง อุตตะโร / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข // ปะริสุทโธ อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัง อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ // อุปะสัมปันโน สังเฆนะ / อุตตะโร / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ขะมะติ / สังฆัสสะ // ตัสมา ตุณหี // เอวะเมตัง ธาระยามิ //
  • 18. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๘ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ญัตติจตุตถกรรมวาจาอุปสมบท แบบคู่ สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยะทิ / สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อุปะสัมปาเทยยะ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // เอสา ญัตติ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโร จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ จะ / อุตตะมัสสะ จะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ // ทุติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโร จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ จะ / อุตตะมัสสะ จะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ // ตะติยัมปิ / เอตะมัตถัง วะทามิ // สุณาตุ / เม ภันเต สังโฆ // อะยัญจะ อุตตะโร / อะยัญจะ อุตตะโม / อายัสมะโต ติสสะทัตตัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา // ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ // ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง // อุตตะโร จะ / อุตตะโร จะ / สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // สังโฆ / อุตตะรัญจะ / อุตตะมัญจะ / อุปะสัมปาเทติ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ยัสสายัสมะโต ขะมะติ // อุตตะรัสสะ จะ / อุตตะมัสสะ จะ / อุปะสัมปะทา / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // โส ตุณหัสสะ // ยัสสะ / นักขะมะติ // โส ภาเสยยะ //
  • 19. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๑๙ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม อุปะสัมปันนา สังเฆนะ / อุตตะโร จะ / อุตตะโม จะ / อายัสมะตา ติสสะทัตเตนะ อุปัชฌาเยนะ // ขะมะติ / สังฆัสสะ // ตัสมา ตุณหี // เอวะเมตัง ธาระยามิ // การลงเวลาสำเร็จความเป็นภิกษุภาวะ เมื่อพระกรรมวาจาจารย์สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาถึงคำว่า “โส ภาเสยยะ” ครั้งที่ ๓ แล้ว พระอุปัชฌายะพึงลงเวลาที่อุปสัมปทาเปกข์สำเร็จเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนาสมบูรณ์แล้ว การบอกอนุศาสน์ เมื่อพระกรรมวาจาจารย์ สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาถึงคำว่า “เอวะเมตัง ธาระยามิ” แล้ว เป็นอัน จบญัตติจตุตถกรรมวาจาในการทำอุปสมบทกรรมแล้ว พระภิกษุใหม่นั้น พึงนำบาตรออกจากตัววางไว้ข้าง ซ้ายมือ นั่งพับเพียบประณมมือ ตั้งใจคอยรับฟังการบอกอนุศาสน์ ซึ่งพระอุปัชฌายะจะบอกเอง หรือจะ มอบให้พระกรรมวาจาจารย์ หรือพระอนุสาวนาจารย์บอกแทน ตามความเหมาะสมต่อไป ก่อนแต่จะบอกอนุศาสน์เป็นภาษาบาลีนั้น พระอุปัชฌายะ หรือพระกรรมวาจาจารย์ หรือพระอนุ สาวนาจารย์ ผู้ได้รับการมอบหมายให้บอกอนุศาสน์แทน พึงกล่าวสรูปสอนโดยย่อดังนี้ “สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่า เมื่อเสร็จกิจอุปสมบทแล้ว ให้บอกอนุศาสน์สอน นวกภิกษุ อนุศาสน์มี ๘ ประการ แบ่งเป็นนิสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ เครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกว่า นิสัยฯ ก็แล นิสัย ๔ นั้น คือ เที่ยวบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนไม้ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า รวม ๔ นี้ เป็นเครื่องอาศัย ของบรรพชิตฯ สิ่งที่บรรพชิตทำไม่ได้ เรียกว่า อกรณียกิจ ฯ ก็แล อกรณียกิจ ๔ นั้น คือ เสพเมถุน ลักทรัพย์ ฆ่าสัตว์ อวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน รวม ๔ นี้ บรรพชิตทำไม่ได้ ต่อไปนี้ จักสอน ด้วยภาษาพระบาลี ซึ่งมีความสังเขปดังอธิบายมาแล้วนั้นฯ คำบอกอนุศาสน์แบบเดิม ตาวะเทวะ ฉายา เมตัพพา // อุตุปปะมาณัง อาจิกขิตัพพัง // ทิวะสะภาโค อาจิกขิตัพโพ // สังคีติ อาจิกขิตัพพา // จัตตาโร นิสสะยา อาจิกขิตัพพา // จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตัพพานีติ // หิทัง อุปะสัมปะทายะ ปัจฉิมะกิจจัง ภะคะวะตา วุตตัง // ตันทานิ มะยา เต อุปัชฌาเยนะ สะตา (ถ้า
  • 20. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๐ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม บอกแทนพระอุปัชฌายะว่า อุปัชฌาเยนะ อาณัตเตนะ สะตา) ตะทาจิกขะเนนะ อะนุกาตัพพัง โหติ // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) สักกัจจัง โสตัพพัง // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๑) ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะซีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลากะภัตตัง ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๒) ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๓) รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๔) ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๕) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุนโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ / อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ // โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธเนนะ ชีวิตุง // เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//
  • 21. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๑ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๖) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง / อันตะมะโส ติณะสะลากัง อุปาทายะ // โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หะริตัตตายะ // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง// พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๗) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ / อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะ // โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ / อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา ทวิธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ // เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” (๘) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ / อันตะมะโส สุญญาคาเร อะภิระมามีติ // โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ / ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา มัคคัง วา ผะลัง วา // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติ โย ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียันติ // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบ พระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง
  • 22. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๒ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม คำบอกอนุศาสน์แบบใหม่ อะนุญญาสิ โข ภะคะวา อุปะสัมปาเทตวา จัตตาโร นิสสะเย จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตุง // (๑) ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะซีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลากะภัตตัง ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง // (๒) ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง // (๓) รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา // (๔) ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา // ตัตถะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย // อะติเรกะลาโภ / สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง // (๕) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุนโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ / อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ // โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธเนนะ ชีวิตุง // เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง// (๖) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง / อันตะมะโส ติณะสะลากัง อุปาทายะ // โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หะริตัตตายะ // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//
  • 23. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๓ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม (๗) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ / อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะ // โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ / อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา ทวิธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ // เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง // (๘) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ / อันตะมะโส สุญญาคาเร อะภิระมามีติ // โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ / ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา มัคคัง วา ผะลัง วา // อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย // เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา // เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา / อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติ โย ตันเต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียันติ // อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ // สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา // ยาวะเทวะ ตัสสะ มะทะนิมมะทะนัสสะ ปิปาสะวินะยัสสะ อาละยะสะมุคฆาตัสสะ วัฏฏูปัจเฉทัสสะ // ตัณหักขะยัสสะ วิราคัสสะ นิโรธัสสะ นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ // ตัตถะ สีละปะริภาวิโต สะมาธิ มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส // สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา // ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ // เสยยะถีทัง / กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา // ตัสมาติหะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต ธัมมะวินะเย / สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิจิตตะสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา / ตัตถะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตัพพัง // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบ พระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง
  • 24. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๔ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม การบอกอนุศาสน์แบบย่อ ในกรณีมีความรีบด่วน เพื่อย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น นิยมบอกอนุศาสน์แบบย่อ โดยไม่ต้องบอก อานิสงส์แห่งความปฏิบัติตามไตรสิกขา บอกเพียงข้อปฏิบัติเท่านั้น โดยบอกอนุศาสน์ตั้งแต่ต้นมา ตามลำดับแล้วบอกย่อเฉพาะข้อความตอนท้าย ดังนี้ คำบอกอนุศาสน์แบบย่อเฉพาะข้อความตอนท้าย อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ // สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา // ตัสมาติหะ เต (ถ้าหลายรูปเปลี่ยนเป็น โว) อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต ธัมมะวินะเย / สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิจิตตะสิกขา สิกขิตัพพา / อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา / ตัตถะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตัพพัง // พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อามะ ภันเต” แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบ พระอุปัชฌายะ ๓ ครั้ง
  • 25. คู่มือพระกรรมวาจาจารย์ ๒๕ พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร รวบรวม ส่วนที่ ๒ ความรู้เพิ่มเติมสำหรับพระกรรมวาจาจารย์ การตั้งนามฉายา ======================= ฉายาของอุปสัมปทาเปกข์นั้น เป็นนามที่ต้องยกขึ้นสู่กรรมวาจา พระอุปัชฌายะต้องตั้งให้ และ ต้องตั้งให้ถูกต้องตามหลักบาลีไวยากรณ์และความนิยมในปัจจุบัน การตั้งฉายานั้น มี ๒ แบบ คือ ๑. ตั้งตามวันเกิด ๒. ตั้งตามชื่อหรือนามสกุล แบบที่ ๑ เอาวันเกิดของอุปสัมปทาเปกข์เป็นนิมิต โดยเอานามบริวาร ยึดตำราทักษาเป็นหลัก ในตำราดังกล่าวกำหนดนามไว้ ๘ คือ บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาฬกัณณี โดยมีอักษร ๘ หมู่เป็นหลักดังนี้ วิธีนับ เกิดวันใด ให้นับหนึ่งลงในอักษรหมู่สำหรับวันนั้น ๆ แล้วนับเวียนขวาว่า บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาฬกัณณี ตัวอย่าง นายธวัช เกิดวันอังคาร บริวารอยู่ที่อักษร หมู่ที่ ๓ ถ้าตั้งฉายาขึ้นต้นด้วย จ ฉ ช ฌ ญ เช่น จนฺทรํสี หรือ ชุติปญฺโญ เป็นนามบริวาร ขึ้นต้นด้วย ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เช่น ฐานงฺกโร เป็นนามอายุ ขึ้นต้นด้วย ต ถ ท ธ น เช่น ตาณงฺกโร เป็นนามเดช ขึ้นต้นด้วย ป ผ พ ภ ม เช่น ปญฺญาธโร เป็นนามศรี ถ้าขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว