SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  46
Télécharger pour lire hors ligne
เรียงความแก้กระทู้ธรรม
นักธรรม ชั้นตรี
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร
ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
คำนำ
ในหลายปีการศึกษาที่ผ่านมา ข้าพเจ้า ได้จัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม วิชาเรียงความแก้กระทู้
ธรรม ด้วยวิธีดั้งเดิมที่สืบ ๆ กันมา แต่ผลสัมฤทธิ์กลับไม่ได้สูงขึ้น ยังมีนักเรียนพระปริยัติธรรมที่ไม่เข้าใจในการเขียน
เรียงความแก้กระทู้ธรรมอยู่มาก ส่งผลให้การสอบธรรมสนามหลวงที่ผ่านมา มีนักเรียนไม่สามารถทำข้อสอบวิชานี้ได้
เท่าที่ควร
ต่อมา ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ ข้าพเจ้า ได้ทดลองการจัดการเรียนรู้ในวิชานี้ใหม่ โดยแบ่งเป็น สองกลุ่ม กลุ่ม
หนึ่ง จัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม คืออธิบายรูปแบบ วิธีการเขียน แล้วให้ทดลองเขียนเลย อีกกลุ่มหนึ่ง ใช้การเรียนรู้
อย่างเป็นระบบไปทีละส่วนตั้งแต่หาคำสำคัญ ฝึกเขียนอธิบาย ฝึกการเชื่อมความ การสรุปความ แล้วจึงให้เขียน
เรียงความตามรูปแบบ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่สองนี้ได้ผลดีกว่ากลุ่มแรก ส่งผลให้นักเรียนพระปริยัติธรรมในปีนั้น ที่ได้
ศึกษาแบบใหม่ ผ่านทั้งหมด
ดังนั้น เนื้อหาในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมฉบับนี้ จึงถือว่าเป็นอุปการะแก่นักเรียนพระปริยัติธรรม โดยใช้
กระบวนการสั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้ส่วนประกอบย่อย แล้วใช้ประสบการณ์นั้นมาเรียงร้อยให้เป็นประสบการณ์ใหม่
และทางสำนักศาสนศึกษาฯ คาดหวังความรู้ ความเข้าใจให้เกิดแก่พระภิกษุ สามเณร เพื่อจะได้มีหลัก หรือแนวทางใน
การศึกษาวิชานี้ให้สัมฤทธิ์ผล จนถึงที่สุดคือสามารถสอบผ่านในการสอบธรรมสนามหลวง และมีภูมิรู้ที่นำไปศึกษาใน
ขั้นสูงสืบไป
ประโยชน์ใดอันเกิดแต่หนังสือนี้ ข้าพเจ้า ขอบูชาพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
และท่านบูรพาจารย์ทั้งหลาย ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ข้าพเจ้าจนสามารถทำหนังสือเล่มนี้สำเร็จสมประสงค์
ขอความดำรงคงอยู่สถาพรแห่งพระศาสนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จงสถิตเป็น
มั่นคงสืบไปตราบนานเท่านาน
พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร
ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
สารบัญ
หน้า
โครงสร้างวิชา ๑
ความเบื้องต้นแห่งการเรียงความแก้กระทู้ธรรม ๓
พุทธศาสนสุภาษิตและคำสำคัญ ๕
กระทู้ธรรม และการวางแผนการเขียน ๙
คัมภีร์ ๑๔
วิธีการแต่งกระทู้ธรรมและสำนวนโวหาร ๑๗
การเชื่อมความและการสรุปความ ๒๓
รูปแบบและการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ๓๐
ระเบียบการตรวจและข้อผิดพลาด ๓๓
พุทธศาสนสุภาษิตที่ควรจำ ๓๘
บรรณานุกรม ๔๓
๑
โครงสร้างวิชา
วิชาพื้นฐานหลัก พระปริยัติธรรม แผนกธรรม
วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม ระดับ นักธรรมชั้นตรี
คาอธิบายวิชา
ศึกษาความหมาย ประโยชน์ หลักการ องค์ประกอบ และโครงสร้างของการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
ลาดับขั้นตอนของการเขียน สานวนโวหาร ธรรมภาษิต และคัมภีร์ที่มาของธรรมภาษิต รูปแบบการเขียน
การตรวจให้คะแนนของสนามหลวงแผนกธรรม
ค้นหา ฝึกเขียน อธิบายคาสาคัญ (Key Word) อธิบายความแก้ของธรรมภาษิต การเชื่อมความ การสรุป
ความ สานวนโวหาร โดยใช้การบูรณาการในวิชาต่าง ๆ ของนักธรรมชั้นตรี ตามรูปแบบที่สนามหลวงแผนกธรรม
กาหนด ได้อย่างสมเหตุสมผล
ตระหนักและเห็นความสาคัญในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม และนาไปพัฒนาเป็นพื้นฐานใน
การแสดง บรรยาย ปาฐกถาธรรมต่อไป
ผลการเรียนรู้
๑. รู้และเข้าใจความหมาย และประโยชน์ของการเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้
๒. รู้และเข้าใจหลักการ องค์ประกอบ และโครงสร้างของการเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้
๓. เขียนอธิบายธรรมภาษิต เชื่อมความ สรุปความ โดยใช้สานวนโวหาร และภาษาที่สละสวยได้
๔. เขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ตามรูปแบบของสนามหลวงแผนกธรรมได้อย่างสมเหตุสมผล โดยสามารถอ้าง
สุภาษิต ๑ ภาษิต และบอกชื่อคัมภีร์ได้ถูกต้อง สมภูมิ
ขอบข่ายเนื้อหา
๑. พุทธศาสนสุภาษิต
๒. การหาคาสาคัญในพุทธศาสนสุภาษิต
๓. การอธิบายคาสาคัญ และพุทธศาสนสุภาษิต
๔. การวางแผนเพื่อตีความพุทธศาสนสุภาษิต
๕. คัมภีร์อ้างอิง
๖. สานวนโวหาร
๗. การเชื่อมความและการสรุปความ
๘. รูปแบบ และหลักการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
๙. ฝึกการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
๒
หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร
อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสตึ.
คนเราถึงมีชาติกาเนิดต่า แต่หากขยันหมั่นเพียร มีปัญญาประกอบด้วย
อาจาระและศีลก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว.
๓
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นวิชาแรกของการสอบธรรมสนามหลวง เพราะนับเป็นการแสดงออกซึ่ง
ความรู้ความเข้าใจในเชิงบูรณาการแห่งองค์ความรู้ในวิชาธรรม พุทธ และวินัย ของผู้ทาการศึกษาพระปริยัติธรรม
แผนกธรรม ทั้งยังเป็นวิชาหลักสาคัญอันเป็นเครื่องหมายกาหนดรู้และเข้าใจ หรือประเมินผลการเรียนรู้ในวิชา
ระดับนักธรรมนี้ เพราะการจะเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมนี้ได้ จาต้องได้รับความรู้ในวิชาการต่าง ๆ ให้ถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์ข้อกาหนด มีความรู้ที่ทั้งลึกและกว้าง พร้อมนาความรู้นั้นมาพลิกแพลงแต่งเติมอรรถาธิบายหัวข้อ
กระทู้ธรรมอย่างแยบยล โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาธรรม อันเป็นวิชาหลักที่นักเรียนพระปริยัติธรรมจาเป็นต้อง
นามาใช้เป็นฐานในการเขียนเรียงความ อธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่ายด้วยภาษาของตนที่สละสลวย เหมาะสม
ประกอบพร้อมไปด้วยสานวนโวหาร ยกตัวอย่างให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น และที่สุดแห่งวิชานี้ คือย่อมทาให้นักเรียน
พระปริยัติธรรมนั้น มีความรู้ความสามารถในการแสดงธรรม บรรยายธรรม ปาฐกถาธรรม หรือกล่าวสอนธรรม
ได้อย่างมีหลัก มีแบบแผน อันจะเป็นการยกระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างและมีประสิทธิภาพบังเกิด
ประสิทธิผลต่อไป
ความสาคัญของการศึกษาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นวิชาสาคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมทุกระดับ ถือเป็น
วิชาที่รวบรวมเอาภูมิรู้ในทุกกระบวนวิชาของนักธรรมมาใช้เพื่ออธิบาย สั่งสอน ทั้งตนเองและผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม
ซึ่งมีความสาคัญที่ต้องรู้และเข้าใจเป็นอรรถเบื้องต้นอยู่ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทาให้นักเรียนพระปริยัติธรรมเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของธรรม
๒. ทาให้นักเรียนพระปริยัติธรรมได้เข้าใจถึงผลดีผลเสีย กล่าวคือรู้เท่าทันคุณและโทษของการปฏิบัติ
ตามและไม่ปฏิบัติตามธรรม
๓. ให้เข้าใจในชีวิตและรู้จักแสวงหาความสุขโดยมีธรรมะเป็นเครื่องชี้แนวทาง
๔. ช่วยพัฒนาด้านจิตใจของมนุษย์ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี ละความชั่ว ประกอบความดี โดยพยายามงดเว้น
ความชั่วโดยเด็ดขาด
ความหมายของคาว่า “เรียงความแก้กระทู้ธรรม”
คาว่า “เรียงความแก้กระทู้ธรรม” เป็นกลุ่มคาที่ประกอบด้วยคาหลัก ๆ ๔ คา ได้แก่
๑. เรียงความ หมายถึง การเอาถ้อยคา สานวน มาประกอบร้อยเรียงให้เป็นเรื่องราว หรือการนาคา
กลุ่มคา หรือวลี สานวน ข้อความ มาเรียงร้อยให้เรียบร้อย ถูกต้องตามหลักภาษา และหลักการเขียนทาง
ภาษาไทย อ่านแล้วได้ใจความดี
ความเบื้องต้นแห่งการเรียงความแก้กระทู้ธรรม
๔
๒. แก้ หมายถึง ทาให้คลายจากลักษณะที่แน่น ที่ติดกันอยู่ ที่เป็นปมเป็นเงื่อนอยู่
๓. กระทู้ หมายถึง หัวข้อ หรือข้อความที่ตั้งให้อธิบายความ ขยายความ ในที่นี้ หมายเอา กระทู้ธรรม
ได้แก่ หัวข้อธรรม
๔. ธรรม หมายถึง คุณความดี คาสั่งสอน หลักปฏิบัติในศาสนา ในที่นี้ หมายเอา พระธรรมคาสั่งสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงภาษิต คือตรัสไว้ดีแล้ว
ดังนั้น เรียงความแก้กระทู้ธรรม จึงหมายถึง การแต่งอธิบายขยายเนื้อความแห่งหัวข้อธรรมภาษิตให้
กระจ่างชัด แจ่มแจ้ง ด้วยหลักภาษาที่สละสลวย
ประโยชน์ของการศึกษาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
๑. ส่งเสริมความเจริญทางด้านจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักเรียนพระปริยัติธรรม
๒. ทาให้นักเรียนพระปริยัติธรรมรู้จักลาดับความคิด สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนออกมาให้
ผู้อื่นเข้าใจตามต้องการได้
๓. รู้จักเลือกถ้อยคาสานวนโวหารได้ถูกต้องตามหลักภาษา
๔. ส่งเสริมให้นักเรียนพระปริยัติธรรมเขียนได้ถูกต้องตามแบบที่นิยม
๕
พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคาที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนามาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง คาสอน หรือถ้อยคาอันท่านกล่าวดีแล้วทางพระพุทธศาสนา อันเปรียบ
เหมือนข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตาม แต่ในคานี้ มิได้หมายความเฉพาะคาที่พระพุทธองค์ตรัส
ไว้เท่านั้น แต่ย่อมหมายเอาภาษิตโดยทั่วไปนั่นเอง
คาสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ ๙ ประการ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ
พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในคาสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจานวนมาก เป็นเนื้อความ
สั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรม
ประจาใจ เพื่อนาไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนาไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามใน
ชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย
ตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิต
อตฺตา หเว ชิต เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
อสาธุ สาธุนา ชิเน พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา เมตตาเป็นเครื่องค้าจุนโลก
พุทธศาสนสุภาษิต ธรรมภาษิต และกระทู้ธรรม
ดังที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น ว่า พุทธศาสนสุภาษิต นั้นเป็นถ้อยคาที่ท่านกล่าวไว้ดีแล้ว อันเสมือนข้อคิด ข้อ
เตือนใจ หรือเป็นคาสั่งสอนทางพระพุทธศาสนานั้น ยังมีอีก ๒ คาที่น่าสนใจ ซึ่งอาจพบเจอได้ในที่ต่าง ๆ ได้แก่
ธรรมภาษิต และ กระทู้ธรรม
คาว่า “ธรรมภาษิต” หมายถึง การกล่าวธรรม หรือถ้อยคาที่แสดงธรรม ส่วนคาว่า “กระทู้ธรรม” หมายถึง
หัวข้อแห่งธรรม หรือหลักแห่งธรรม จากความหมายของทั้งสองคา ก็บ่งชี้ได้ว่า หมายถึงคาสอนทางพระศาสนา
โดยรวม มิได้เจาะจงว่าเป็นคาสอนของผู้ใด เป็นการกล่าวโดยรวม ซึ่งก็มีนัยเป็นแนวเดียวกับคาว่า “พุทธศาสน
สุภาษิต” นั่นเอง
พุทธศาสนสุภาษิตและคาสาคัญ
๖
หากประสงค์จะทราบว่าเป็นภาษิตของท่านใดในพระศาสนานี้ มักจะพบเจอคาบ่งบอกที่ชัดเจน เข้าใจได้
ทันที เป็นต้นว่า พุทธภาษิต พุทธพจน์ พุทธวจนะ คาเหล่านี้ล้วนบ่งบอกว่าเป็นพระดารัสของสมเด็จพระชินสีห์
บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เถรภาษิต หรือสาวกภาษิต หมายเอาภาษิตที่เหล่าพระเถระ พระสาวกของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้กล่าว แม้นว่าเป็นภาษิตของพระโพธิสัตว์ ก็จักเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต รวมถึงภาษิต
ของเหล่าเทวดา มักจะใช้ว่า เทวภาษิต หรือระบุชื่อก็มี เช่น สักกภาษิต เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อจะพิจารณาภาษิตนั้น ๆ พึงพิจารณาให้ดี ว่าเป็นภาษิตของผู้ใด และใช้คาให้ถูกกับบุุคคล ซึ่ง
เรื่องนี้ ในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นเรื่องสาคัญมาก บ่งบอกถึงภูมิรู้ของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในระดับ
นักธรรมชั้นโท และชั้นเอก หากว่าไม่ทราบว่าเป็นภาษิตของผู้ใด ก็ให้ใช้คากลาง ๆ คือ “ธรรมภาษิต” เท่านั้น
การค้นหาคาสาคัญ (Key Word) ในกระทู้ธรรม
คาสาคัญ ในภาษาอังกฤษตรงกับคาว่า Key Word ซึ่งเป็นคาแสดงเนื้อหาสาคัญ หรือหัวข้อหลักใหญ่ใน
ความนั้น ๆ ที่มีข้อความแวดล้อมสนับสนุนอยู่
คาสาคัญในกระทู้ธรรม เป็นคาหลักที่แสดงหัวข้อธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ พระเถรเจ้า หรือเทวดา ใช้เป็นคาหลักในการตรัส หรือกล่าวภาษิต ที่อมความไว้ ซึ่งนักเรียน
พระปริยัติธรรม สามารถนามาอธิบาย ขยายความให้กระจ่างชัดเจนได้
นอกจากนี้ คาสาคัญในแต่ละภาษิตนั้น อาจไม่ได้มีเพียงคาเดียว สามารถมีได้หลายคา ขึ้นอยู่กับ
ความสาคัญอันเรียงไล่กันลงมา เมื่อนักเรียนรู้จักค้นหาคาสาคัญในแต่ละธรรมภาษิต จะเป็นอุปการะในการเขียน
เรียงความมาก ซึ่งจะสามารถนาคาเหล่านี้มาอธิบายขยายไปเรื่อย ๆ จนครบความ ของธรรมภาษิตนั้นได้นับเป็น
วิธีหนึ่งในการช่วยวางโครงสร้างการเขียนเรียงความได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับการฝึกหัดเขียนเรียงความแบบ
ดั้งเดิมนั้น ไม่มีการฝึกหาคาสาคัญ ให้นักเรียนทดลองเขียนเอง เสมือนงมเข็มในมหาสมุทร ทาให้นักเรียนไม่เข้าใจ
เขียนไม่ได้และเขียนได้น้อย ใจความวกวนดุจคนไม่มีการวางแผนที่ดีนั่นเอง แต่หากให้นักเรียนได้เริ่มจากการหา
คาสาคัญนี้แล้ว ย่อมเขียนได้ผลดีกว่าแบบดั้งเดิม
การเขียนอธิบายคาสาคัญของกระทู้ธรรม
คาว่า “อธิบาย” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒๕๔๖ : ๑๓๒๔) ได้ให้ความหมาย
ไว้ว่า ก. ไขความ , ขยายความ , ชี้แจง
ฉะนั้น จึงพอสรุปได้ว่า การเขียนอธิบาย คือ การเขียนไขความ การเขียนขยายความ หรือการเขียนชี้แจง
ซึ่งเป็นการเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งอย่างถูกต้องชัดเจน โดยมุ่งที่จะบอกว่าสิ่งนั้น ๆ มี
ลักษณะมีสภาพหรือข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนให้รายละเอียด เหตุผล ที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ แต่ที่สาคัญ
ผู้เขียน ต้องมีประสบการณ์ หรือภูมิรู้ที่สั่งสมมาดีอีกประการหนึ่งด้วย
๗
แบบฝึกหัด
๑. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม ค้นหาคาสาคัญจากธรรมภาษิตที่กาหนดให้ต่อไปนี้
๑) ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
๒) ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ บุญนาสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
๓) สีล โลเก อนุตฺตร ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
๔) อตฺตาน ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิต ย่อมฝึกตน
๕) จิตฺต คุตฺต สุขาวห จิตที่คุ้มครองแล้วนาสุขมาให้
๖) ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
๗) นย นยติ เมธาวี คนมีปัญญา ย่อมแนะนาทางที่ควรแนะนา
๘) สุกร สาธุนา สาธุ ความดี อันคนดีทาง่าย
๙) ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
๑๐) อปฺปมตฺตา น มียนฺติ ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
๑๑) ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
๑๒) กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล
๑๓) ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ บุญอันโจรนาไปไม่ได้
๑๔) อพฺยาปชฺฌ สุข โลเก ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
๑๕) สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
๑๖) อกฺโกเธน ชิเน โกธ พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
๑๗) สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
๑๘) มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิก คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
๑๙) มาตา มิตฺต สเก ฆเร มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
๘
๒๐) ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม สมาคมกับคนพาลนาทุกข์มาให้
๒. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม เขียนคาจากัดความหรืออธิบายความหมายของคาต่อไปนี้ มาให้เข้าใจ
๑) สังขาร ๒) ปัญญา
๓) สัตว์โลก ๔) กรรมดี
๕) ความสงบ ๖) บาป
๗) ศีล ๘) ความโลภ
๙) ความประมาท ๑๐) ตน
๑๑) ความดี ๑๒) กาม
๑๓) ธรรม ๑๔) ผู้แพ้
๑๕) ทุกข์ ๑๖) ผู้ให้
๑๗) ความจน ๑๘) ความอดทน
๑๙) บุญ ๒๐) อานาจ
๙
กระทู้ธรรม
กระทู้ธรรม หรือ ธรรมภาษิต ตามหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - ๒ - ๓ นั้น (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะ
ของนักธรรม ชั้นตรี) มีรูปแบบเฉพาะ ทั้งการอ่านและการเขียน จึงเป็นต้องสาเหนียกให้รู้และเข้าใจเป็นพื้นฐานใน
การศึกษาขั้นสูงต่อไป
อตฺตา หเว ชิต เสยฺโย.
ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.
ขุ.ธ. ๒๕/๒๙
๑. กระทู้ธรรม เป็นบทบาลีที่แสดงหัวข้อธรรม ในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมนี้ แบ่งเป็น กระทู้ตั้ง ๑
กระทู้รับ ๑
๒. บาลี บทตั้ง เป็นธรรมภาษิตที่เขียนในรูปของภาษาบาลีเท่านั้น ห้ามเขียนเป็นภาษาบาลีแบบไทย
๓. คาแปล บทตั้ง เป็นบทแปล ความหมายของบาลี บทตั้ง เราจะนาคาแปลนี้มาหาคาสาคัญ และเขียน
อธิบายขยายความจากคาแปลนี้
๔. อักษรย่อคัมภีร์ แสดงที่มาของธรรมภาษิตนั้น ว่ามาจากพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ใด และยังมีตัวเลข
ซึ่งตัวเลขหน้า / บอกเล่มที่ และตัวเลขหลัง / บอกเลขที่หน้า (รายละเอียดชื่อคัมภีร์จักกล่าวต่อไป)
การวางแผนการเขียนอธิบายความกระทู้ธรรม
การเขียนอธิบายความกระทู้ธรรม มีหลักสาคัญในการเขียนที่นักเรียนพระปริยัติธรรมต้องเข้าใจในชั้นต้น
๓ ประการ ดังนี้
๑. ตีความหมาย
๒. ขยายความให้ชัดเจน
๓. ตั้งเกณฑ์อธิบาย
ตีความหมาย ได้แก่ การค้นหาคาสาคัญ (Key Word) และการให้คาจากัดความของคาสาคัญ และให้
คาอธิบายข้อธรรมในบริบทแวดล้อมนั้น ว่า ข้อธรรมนั้น มีคาสาคัญว่าอะไร มีความหมายอย่างไร บริบทแวดล้อม
กล่าวถึงสิ่งใด เช่น ธรรมภาษิตที่ว่า “นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี” มีคาสาคัญ
ที่จาเป็นต้องเลือกมาอธิบายก่อน ได้แก่ คาว่า “ปัญญา” มีคาจากัดความว่า “ความรอบรู้ในกองสังขาร” หรือ
“ความรู้” บริบทที่แวดล้อมคือ ไม่มีแสงสว่างใดเสมอเหมือน
กระทู้ธรรม และการวางแผนการเขียน
๑. กระทู้ธรรม
๒. บาลี บทตั้ง
๓. คาแปล บทตั้ง
๔. อักษรย่อคัมภีร์
๑๐
ขยายความให้ชัดเจน ได้แก่ การขยายเนื้อความของคาซึ่งได้ให้ความหมายไว้แล้ว คือ ต้องตีความ
ต่อไปว่า ปัญญา มีเท่าไร และเหตุใดจึงไม่มีแสงสว่างอื่น ๆ เสมอด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา เป็นต้น
ตั้งเกณฑ์อธิบาย ได้แก่ การวางโครงร่างที่จะอธิบายเนื้อความของเนื้อหาว่ามีอะไรบ้าง มีผลดีผลเสีย
อย่างไร มีข้อเปรียบเทียบหรือมีตัวอย่างมาประกอบให้เห็นเด่นชัดได้หรือไม่ และควรจะนับถึงผลกรรมนั้น ๆ
อย่างไร จึงจะทาให้ผู้อ่านผู้ฟังคล้อยตาม โดยเรียงเป็นลาดับขั้นตอนก่อนหลัง ไม่สับสนวกไปวนมา
เฉกเช่นเดียวกับ อธิบายสิ่งยากให้ง่าย อธิบายให้รอบด้าน ค่อยเป็นค่อยไปจนหมดความ
การพิจารณาการเขียนอธิบายกระทู้ธรรม
การพิจารณาการเขียนอธิบายกระทู้ธรรม ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม สังเกตดูจากความหมายของบาลี
แห่งกระทู้ธรรม ว่าเรื่องนั้น มุ่งเน้นสิ่งใดเป็นหลักใหญ่ แล้วถอดคาไล่เรียงลาดับความสาคัญจากมากไปหาน้อย
และให้สังเกตบริบทแวดล้อมว่าอุ้มหรือมุ่งขยายคาใดเป็นหลัก คานั้น จักถือเป็นคาสาคัญแห่งกระทู้นั้น
เมื่อพิจารณาคาสาคัญแล้ว จึงมาดูบริบทแวดล้อมที่อมความนั้นไว้ แล้วตั้งเกณฑ์ที่ตนต้องอธิบายให้
ดาเนินความไปถึงตามคาแปลบาลีนั้น ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างการพิจารณากระทู้ธรรมเบื้องต้น
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก.
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
พิจารณา ก. คาสาคัญ ๑. สัตว์โลก
๒. กรรม
ข. แนวอธิบาย ๑. สัตว์โลก คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
๒. กรรม คืออะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง
๓. สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมอย่างไร
ตัวอย่างการเขียนอธิบาย
“สัตว์โลก หมายถึง หมู่สัตว์ที่มีชีวิต ดารงชีพอยู่บนโลก ซึ่งหมายเอาบุคคล เช่น ตัวเรา เป็นต้น มิใช่
สัตว์เดียรัจฉานทั่วไป ส่วนคาว่า กรรม แปลว่า การกระทา ซึ่งเป็นคากลาง ๆ ไม่บ่งชี้ชัดว่าเป็นส่วนดี หรือส่วนชั่ว
กรรม โดยทั่วไปมี ๒ ประเภท ได้แก่ กรรมดี ๑ กรรมชั่ว ๑ กรรมดี เป็นการกระทาในด้านดี ทาแล้วมีความสุขใจ
อิ่มเอิบใจ เป็นหลัก ไม่ว่าจะทางกาย มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ ไม่ทาร้ายร่างกาย เป็นต้น ส่วนทางวาจา มีการพูดดี
ไม่โกหก พูดแต่คาสุภาพ เป็นต้น และทางใจ มีการคิดดี ไม่พยาบาท จองเวรใคร เป็นต้น แต่กรรมชั่ว ย่อมมีเหตุ
ในทางตรงข้าม ไม่ว่าจะทางกาย มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ทางวาจา มีการพูดโกหก เพ้อเจ้อ ส่อเสียด เป็นต้น
ทางใจ มีความคิดอาฆาต พยาบาท เป็นต้น ทั้งสามทางนี้ เป็นกรรมชั่ว บุคคลใด หรือสัตว์โลกใดที่ดารงชีพอยู่ใน
สังสารวัฏฏ์นี้ ประกอบพร้อมด้วยความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบกรรมดี หากแม้นว่า
บุคคลใด หรือสัตว์ใด ประกอบพร้อมด้วยกรรมชั่ว ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบกรรมชั่ว ใน
๑๑
พระศาสนานี้ มีความเชื่อตามหลักแห่งเหตุและผลอยู่ประการหนึ่งว่า หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น หมายถึง
ใครทาเช่นไร ก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น อาทิเช่น พระภิกษุ ประพฤติตนอยู่ในพระวินัย ไม่ก้าวล่วง สิกขาบทใด ๆ ย่อม
ไม่วิปปฏิสารเดือดร้อนใจ อยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์ได้อย่างสงบ ไปแห่งหนตาบลใดก็อาจหาญ รื่นเริงในคุณแห่งศีล
ของตน หรือในนิทานจีน เช่น คนฆ่าสัตว์ขายเลี้ยงชีพ เป็นอาจิณ เมื่อก่อนจะสิ้นวายชีวา ก็มีอาการร้อนรน ดุจ
สัตว์ที่ตนได้ฆ่าฉะนั้น เป็นต้น เพราะฉะนั้น บุคคลใด หรือสัตว์โลกใด ประพฤติปฏิบัติตนเช่นไร ก็ไม่อาจพ้น
อานาจแห่งกรรมที่ตนได้กระทาไว้เป็นแน่แท้ทีเดียว”
๑๒
แบบฝึกหัด
๑. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม พิจารณากระทู้ธรรมต่อไปนี้ ตามแนวการพิจารณากระทู้ธรรมที่ได้ศึกษามา
๑) อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.
ขุ.ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖
๒) ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ.
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด.
ขุ.ธ. ๒๕/๓๓
๓) จิตฺต คุตฺต สุขาวห.
จิตที่คุ้มครองแล้วนาสุขมาให้.
ขุ.ธ. ๒๕/๑๓
๔) สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ.
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนาไปสู่ทุคคติ.
ขุ.ธ. ๒๕/๔๗
๕) ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นาสุขมาให้.
ส.ส. ๑๕/๕๘
๒. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม พิจารณากระทู้ธรรมต่อไปนี้ แล้วเขียนบรรยายกระทู้ธรรมนั้นมาตามหลัก
การเขียนเบื้องต้นที่ได้ศึกษามา
๑) อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุล สุข.
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๒) ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา.
สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกาลัง.
องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗
๑๓
๓) วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร.
ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑
๔) ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ.
บุญนาสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต.
ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
๕) นิพฺพาน ปรม สุข.
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
๑๔
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์ต่อไปนี้ จะมีประโยชน์เมื่อนามาใช้ในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักเรียน
พระปริยัติธรรม จึงจาเป็นต้องศึกษา กาหนด จด จา ให้ดี อย่าให้ผิดพลาด
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย อิติวุตฺตก
ขุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
คัมภีร์
๑๕
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย สคาถวคฺค
ส.ม. สวดมนต์ฉบับหลวง
ร.ร. ๔ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔
ว.ว. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
๑๖
ส.ฉ. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)
ส.ส. สมเด็จพระสังฆราช (สา)
--/-- เลขหน้า / บอกเล่ม, เลขหลัง / บอกหน้า
๑๗
วิธีการแต่งกระทู้ธรรม
การแต่งกระทู้ธรรม ตามหลักการมีอยู่ ๒ แบบ คือ
๑. แบบตั้งวง คือ อธิบายความหมายของธรรมข้อนั้น ๆ เสียก่อนแล้วจึงขยายความออกไป
๒. แบบตีวง คือ บรรยายเนื้อความไปก่อนแล้ว จึงวกเข้าหาความหมายของกระทู้ธรรมนั้น
ส่วนมากผู้แต่งกระทู้ธรรม มักจะนิยมแต่งแบบที่ ๑ คือ แบบตั้งวง อธิบายความหมายภาษิตนั้นก่อนแล้ว
จึงขยายความให้ชัดเจนต่อไป ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สะดวก ไล่ไปทีละขั้นตอน
ภาษาในการใช้
๑. ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้อง มีประธาน กริยา กรรม
๒. ไม่ใช้ภาษาตลาด ภาษาแสลง
๓. ไม่ใช้ภาษาพื้นเมือง หรือภาษาท้องถิ่น
๓. ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
สานวนโวหาร
โวหาร หมายถึง ถ้อยคาที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อสื่อ
ให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
ประเภทของโวหาร
ในการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ อาจใช้โวหารที่เหมาะแก่ข้อความของเรื่องราวนั้น ๆ ซึ่งโวหารแบ่งได้ ๕
ประเภท ดังนี้
๑. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้บอกกล่าว เล่าเรื่อง อธิบาย หรือบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจน
ความรู้ต่าง ๆ อย่างละเอียด เป็นการกล่างถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน โดยชี้ให้เห็นถึงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์
สาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์ สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น เพื่อให้ผู้รับ
สารเข้าใจเนื้อหา สาระอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เนื้อหา ที่บรรยายอาจเป็นเรื่องที่สมมุติหรือเรื่องจริงก็ได้ เรื่องที่ใช้
บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนตารา รายงาน บทความ เรื่องเล่า จดหมาย บันทึก ชีวประวัติ ตานาน
เหตุการณ์ บรรยายภาพ บรรยายธรรมชาติ บรรยายบุคลิกลักษณะบุคคล สถานที่ รายงานหรือจดหมายเหตุ
การรายงานข่าว การอธิบายความหมายของคา การอธิบายกระบวนการ การแนะนา วิธีปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ
เป็นต้น
วิธีการแต่งกระทู้ธรรมและสานวนโวหาร
๑๘
ตัวอย่างบรรยายโวหาร
ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษแล้ว แต่แรกภูเขานี้เป็นที่เคารพบูชา
ของชนพื้นเมืองเผ่าไอนุซึ่งปัจจุบันยังอยู่ตามหมู่เกาะฮอกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ ที่อยู่เหนือสุดชาวไอนุขนานนาม
ภูเขานี้ตามชื่อเทพธิดา “ฟูชิ” (fuchi) ผู้เป็นเทพธิดาแห่งอัคคี ชาวญี่ปุ่นยังคงนับถือภูเขาไฟฟูจิต่อมา และ
เรียกชื่อตามที่พวกไอนุตั้งไว้ บรรดาผู้นับถือศาสนาชินโตเชื่อว่าในธรรมชาติทุกรูปแบบจะมีเทพ หรือ กามิ
(kami) สถิตอยู่ แต่เทพที่สถิตในภูเขาจะศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ ภูเขาฟูจิซึ่งสูงที่สุดและงามที่สุดในประเทศ จึง
ได้รับความเคารพเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นสถานที่สถิตของทวยเทพ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างความ ลึกลับของ
สวรรค์ และความเป็นจริงของโลกมนุษย์
(เกศกานดา จตุรงคโชค (บรรณาธิการ): โลกพิสดาร แดนพิศวง)
๒. พรรณนาโวหาร คือ โวหารที่ใช้กล่าวถึงเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่างละเอียด
สอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกลงไปเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย ใช้ใน
การพูดโน้มน้าวอารมณ์ของผู้ฟัง หรือเขียนสดุดี ชมเมือง ชมความงามของบุคคล สถานที่และแสดงอารมณ์
ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้น
การใช้พรรณนาโวหาร ควรมีความประณีตในการเลือกใช้ถ้อยคาสานวนที่ไพเราะเพราะพริ้ง เล่นคา เล่น
อักษร ใช้ถ้อยคาทั้งเสียงและความหมายให้ตรงกับความรู้สึกที่ต้องการพรรณนา รู้จักปรุงแต่งถ้อยคา ให้ผู้รับสาร
เกิดภาพพจน์ ใช้โวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน รู้จักเลือกเฟ้นเนื้อหาว่าส่วนใดควรนามาพรรณนา ต้อง
เข้าใจเนื้อหาที่จะพรรณนาเป็นอย่างดี และพรรณนาให้เป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกโดยไม่เสแสร้ง บางกรณีอาจ
ต้องใช้อุปมาโวหารหรือสาธกโวหารประกอบด้วย
ตัวอย่างพรรณนาโวหาร
เขาใช้แขนยันพื้นดิน อาการเหนื่อยอ่อน กลิ่นน้าฝนบนใบหญ้าและกลิ่นไอดินโซนเข้าจมูกวาบหวิว อยาก
ให้มีใครซักคนผ่านมาพบ เพื่อพาเขากลับไปหาหมอในหมู่บ้าน มดหลายตัวเดินสวนขบวนผ่านไปมา มันไม่มีทีท่า
จะสนใจเขาเลยแม้แต่น้อย เขามองดูมันอย่างเลื่อนลอยทาไมมัน จึงเฉยเมยกับฉัน มันคงรู้แน่ ฉันอยากให้มันเป็น
คนจริง ๆ ฉันจะต้องกลับบ้านให้ได้ เขาคิดพลางเหม่งมองดูยอดสนของหมู่บ้าน หาดเสี้ยวเห็นอยู่ไม่ไกล
ดวงอาทิตย์สีแดงเข้มกาลังคล้อยลงเหนือยอดไม้ทางทิศตะวันตก
(นิคม รายวา: คนบนต้นไม้)
๓. อุปมาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจความหมาย อารมณ์ความรู้สึก หรือ
เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มักใช้ประกอบโวหารประเภทอื่น เช่น เทศนาโวหาร บรรยายโวหาร โดยเฉพาะพรรณนา
โวหาร เพราะจะช่วยให้รสของถ้อยคาและรสของเนื้อความไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น ทั้งสารที่เป็นรูปธรรมและ
นามธรรม การเปรียบเทียบอาจเปรียบความเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือลักษณะ
๑๙
ตรงกันข้าม หรือเปรียบเทียบโดยให้ผู้รับสารโยงความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่ง โดยอาจกล่าวลอย ๆ หรืออาจ
ใช้คาแสดงการเปรียบเทียบ ซึ่งมีอยู่หลากหลาย เช่น เหมือน เสมือน คล้าย ดุจ ดัง ดั่ง ดุจดั่ง ราว ดูราว ปาน
เพียง ประหนึ่ง เช่น เฉก ฯลฯ
การใช้อุปมาโวหารควรเลือกใช้ถ้อยคาที่เข้าใจง่าย และสละสลวย แสดงการเปรียบเทียบได้ถูกต้อง
เหมาะสมกับเนื้อหา และจังหวะ ลีลา ซึ่งอาจกล่าวลอย ๆ ก็ได้ เนื้อหาที่จะเปรียบเทียบควรเป็นเนื้อหาที่อธิบายให้
เข้าใจได้ยาก เปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย หรือสิ่งที่ผู้รับสารรู้ดีอยู่แล้ว และข้อความที่จะยกมาเปรียบเทียบ
(อุปไมย) กับข้อความที่นามาเปรียบเทียบ (อุปมา) จะต้องเหมาะสมกัน อุปมาโวหารใช้เป็นโวหาร เสริมบรรยาย
โวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนและน่าอ่านยิ่งขึ้น
ตัวอย่างอุปมาโวหาร
…ดังนี้เจ้าจะเห็นได้ว่าเมียที่พ่อจัดหาให้มีตระกูล สมชาติ สมเชื้อกันดี เพราะตระกูลของเราก็มั่งมี มีคน
นับหน้าถือตา ญาติพี่น้องทั้งฝ่ายบิดามารดาของนางก็บริบูรณ์ รูปร่างงามหาตาหนิมิได้ ผมดาราวกับแมลงผึ้ง หน้า
เปล่งปลั่งดั่งดวงจันทร์ เนตรประหนึ่งตากวาง จมูกแม้นดอกงา ฟันเทียบไข่มุก ริมฝีปากเพียงผลตาลึงสุก เสียง
หวานปานนกโกกิลา ขาคือลากล้วย เอวเหมาะเจาะไม่อ้วนเกิน เวลาย่างเดินแคล่วคล่องมีสง่าเสมอช้างทรง
เพราะฉะนั้นเจ้าจะหาทางตาหนิขัดข้องมิได้เลย...
(เสฐียรโกเศศ: กามนิต)
๔. สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการอธิบาย
เนื้อหาสาระ เพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้หนักแน่น สมเหตุสมผล ทาให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระในสิ่งที่
พูด หรือเขียนอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ดูสมจริง หรือน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นประกอบอาจเป็น
เรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวยาว ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสม เช่น ประสบการณ์ตรงของผู้ส่งสาร เรื่องราวของบุคคล
เหตุการณ์ นิทาน ตานาน วรรณคดี เป็นต้น สาธกโวหารมักใช้เป็นอุทาหรณ์ประกอบอยู่ในเทศนาโวหาร หรือ
อธิบายโวหาร
การใช้สาธกโวหาร ควรใช้ถ้อยคาภาษาที่เข้าใจง่าย รู้จักเลือกว่าเนื้อหาตอนใดควรใช้ตัวอย่าง หรือเรื่องราว
ประกอบ และตัวอย่างที่ยกมา ประกอบต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ สมเหตุสมผล สาธก
โวหารมักแทรกอยู่ในโวหารอื่น ๆ เช่น บรรยายโวหาร หรือเทศนาโวหาร
ตัวอย่างสาธกโวหาร
ถ้าเธอไม่อยากอยู่กับฉันจริงจริง ยินยอมทุกสิ่ง ให้เธอทิ้งไป ฉันขอแค่เพียงให้เวลาหน่อยได้ไหม อยาก
เล่านิทานให้ฟัง ชาวนาคนหนึ่งมีชีวิตลาพัง ไปเจองูเห่ากาลังใกล้ตายสงสาร จึงเก็บเอามาเลี้ยงโดยไม่รู้ สุดท้ายจะ
เป็นอย่างไร คอยดูแลด้วยความจริงใจ ห่วงใย และคอยให้ความรักเป็นกังวลว่ามันจะตาย เฝ้าคอยเอาใจทุก
๒๐
อย่าง แต่สุดท้ายชาวนาผู้ชายใจดี ด้วยความที่เขาไว้ใจ น่าเสียดายกลับต้องตายด้วยพิษงู นิทานมันบอกให้
ยอมรับความจริง ว่ามีบางสิ่งไม่ควรไว้ใจ อะไรบางอย่างที่ทาดีซักแค่ไหน ไม่เชื่อง ไม่รัก ไม่จริง
(สีฟ้า: ชาวนากับงูเห่า)
๕. เทศนาโวหาร คือ โวหารที่มุ่งโน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เป็นการกล่าวในเชิงอบรม
แนะนาสั่งสอน เสนอทัศนะ ชี้แนะ หรือโน้มน้าว ชักจูงใจโดยยกเหตุผล ตัวอย่าง หลักฐาน ข้อมูล
ข้อเท็จจริง สุภาษิต คติธรรมและสัจธรรมต่าง ๆ มาแสดงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่กระจ่างจนยอมรับ
เชื่อถือมีความเห็น คล้อยตาม และปฏิบัติตาม โวหารประเภทนี้มักใช้ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน อธิบาย
หลักธรรม และคาชี้แจงเหตุผล ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเสนอทัศนะ เป็นต้น
การใช้เทศนาโวหารควรใช้ถ้อยคาภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ใช้ถ้อยคาในการชี้แจงเหตุผลที่กล่าวถึง
ให้แจ่มแจ้งชัดเจน และชี้แจงไปตามลาดับไม่สับสนวกวน ควรใช้โวหารอื่นประกอบด้วยเพื่อให้ชวนติดตาม
การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ อาจจะใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้ง
อุปมาโวหาร และสาธกโวหารด้วย มักใช้กับงานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น
ความเรียง เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า เทศนาโวหารเป็นโวหารที่มุ่งสั่งสอน
ตัวอย่างเทศนาโวหาร
“…เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้าน
การรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางการออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
ชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีการใช้ หมายความว่า วิธีใช้คามาประกอบเป็นประโยคนับเป็น
ปัญหาที่สาคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ารวยในคาของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ารวยพอ จึงต้องมี
การบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...”
“...ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคาออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความอันแท้จริงอยู่เนือง ๆ
ทั้งการออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามี
ภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้...”
(พระราชดารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
สานวนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมที่ดี ส่วนใหญ่จะใช้โวหารทั้ง ๕ ประเภทข้างต้นเป็นพื้น แต่ที่
สาคัญขาดมิได้และใช้เป็นหลักในการเขียน คือใช้สานวนแบบเทศนาโวหาร โดยมีหลักการเขียนสังเขป ดังนี้
๑. ข้อความที่เขียนนั้นจะต้องมีเหตุผลใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
๒. มีอุทาหรณ์และหลักคติธรรม
๓. ผู้เขียนจะต้องแสดงให้เห็นว่า ตนมีลักษณะและคุณสมบัติพอเป็นที่เชื่อถือได้
๒๑
หลักย่อ ๆ ที่ควรจา เป็นเกณฑ์อธิบายในการแต่งกระทู้
๑. วิเคราะห์ศัพท์ คือ การแสดงความหมายของกระทู้ตั้งแล้ววางเค้าโครงที่จะแต่งต่อไป
๒. ขยายความ คือ การอธิบายให้กว้างออกไปตามแนวกระทู้ตามเหตุและผล
๓. เปรียบเทียบ คือ ยกข้อความที่ตรงข้ามกันมาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นได้ชัดในสิ่งที่พูดไป
๔. ยกสุภาษิตรับ คือ การนากระทู้สุภาษิตมารับมาอ้าง
๕. ยกตัวอย่าง คือ ยกตัวอย่างธรรมะ หรือบุคคล สถานที่มาเป็นตัวอย่าง
๖. สรุปความ คือ ย่อความที่กล่าวมาแล้วนั้นให้เข้าใจง่าย ก่อนที่จะจบกระทู้
๒๒
แบบฝึกหัด
คาสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม เขียนอธิบายกระทู้ธรรมต่อไปนี้ โดยใช้หลักการ และใช้โวหารต่าง ๆ ที่ศึกษา
มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๑) ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺข ชินาติ.
ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.
ขุ.ธ. ๒๕/๖๓
๒) ปิยาน อทสฺสน ทุกฺข.
การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์.
ขุ.ธ. ๒๕/๒๖/๔๓
๓) อนตฺถชนโน โกโธ.
ความโกรธก่อความพินาศ.
องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙
๔) ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
คนโกรธมีวาจาหยาบ.
ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๗๓
๕) ย เว เสวติ ตาทิโส.
คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น.
ว.ว.
๒๓
การเชื่อมความ
การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ในระดับชั้นนักธรรมชั้นตรี สนามหลวงแผนกธรรมกาหนดให้
นักเรียนพระปริยัติธรรม เขียนอธิบายกระทู้ธรรม และนากระทู้ธรรมอีกบทหนึ่งมารับ โดยเขียนอธิบายให้มี
ความสอดคล้องสมความกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเขียนเชื่อมความระหว่างทั้ง ๒ กระทู้นั้น นักเรียนพระ
ปริยัติธรรม จาต้องเขียนเกริ่นนาหรือกล่าวถึง อธิบายถึงกระทู้ธรรมอีกบทที่นามารับกระทู้ธรรมบทตั้งพอได้
ใจความสั้น ๆ แล้วจึงมาอธิบายใจความทั้งหมดของกระทู้ธรรมที่นามารับอีกครั้ง
เพราะฉะนั้น นักเรียนพระปริยัติธรรม จักเขียนอย่างไรให้ได้ความสนิทดี นับเป็นเรื่องที่นักเรียน
พระปริยัติธรรม จาต้องฝึกฝนในการกาหนด จด จา และฝึกเขียนอยู่เสมอ
การสรุปความ
การสรุปความ เป็นการนาเอาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนเองได้เขียนอรรถาธิบายกระทู้ธรรมทั้ง ๒ บทนั้น
มาเขียนใหม่ ด้วยสานวนภาษาของตน ซึ่งเมื่อเขียนแล้วเนื้อควาวมเดิมจะสั้นลง แต่มีใจความสาคัญหรือความคิด
รวบยอดที่เป็นหลักปฏิบัติ ความจาเป็น หรือข้อเท็จจริงที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ตัวอย่างการเขียนเชื่อมความ
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร.
คาว่า ทุกข์ คือสภาพที่บีบคั้นเบียดเบียน มีความลาบาก ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มีความคับแคบใจ
อันมีเหตุมาจากความไม่สมปรารถนา ไม่ได้ดังใจ ได้สิ่งของบางอย่างมาแล้วไม่ถูกใจ ตลอดถึงการพลัดพรากจาก
ของรักของชอบใจ เป็นเหตุแห่งความทุกข์เป็นความลาบาก กล่าวโดยที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า สังขารร่างกาย
นี้ก็เป็นทุกข์ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความทุกข์เป็นความจริง เป็นทุกข์อริยสัจ ความทุกข์นี้มีมาประจา
กับตัวเราแล้วตั้งแต่เกิด มีความลาบากในการที่จะหาเลี้ยงชีพ ทั้งตัวเองและคนอื่น แม้การศึกษาเล่าเรียนของเรานี้
ก็เหมือนกัน เป็นความทุกข์ เป็นความลาบาก แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาสั่งสอนให้พวกเรามองให้เห็น
ความทุกข์ และก็ให้ยอมรับว่ามันมีอยู่จริง ไม่ให้จมปรักอยู่กับมัน ไม่ให้เศร้าโศกและเสียใจกับสิ่งที่ทาให้เกิดทุกข์
พระพุทธองค์ทรงสอน หาทางหนีจากความทุกข์ หาทางแก้ทุกข์ เพื่อที่จะให้มีความทุกข์น้อยลง ให้มีความสุข
ตามปกติที่ใจมุ่งหวัง ในการที่จะหนีจากความทุกข์ หาทางแก้ทุกข์นั้นพระองค์ก็ทรงสอนให้มีความเพียรก็คือ
ประการแรก เพียรพยายามไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่เรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ความสุขของเรา
ประการที่สามเพียรพยายามทาสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่เรา และประการที่สี่เพียรพยายามความดีสิ่งที่ดีที่มีอยู่ในตัว
การเชื่อมความและการสรุปความ
๒๔
ของเราแล้วให้คงอยู่ต่อไป นี้คือทางที่จะแก้ความทุกข์ ทางที่จะพ้นจากความทุกข์ ความเพียรสี่ประการนี้ เป็น
สิ่งที่คนเรามนุษย์สามารถที่จะทาได้ เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์เหล่าอื่น
ซึ่งสามารถฝึกฝน ทาตนให้พ้นจากทุกข์เหล่านั้นได้ สมดังพระพุทธภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา ว่า
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ.
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนได้แล้ว เป็นผู้ประเสริฐ.
แสดงว่า มนุษย์เรานี้ เป็นผู้ฝึกฝนตนเองได้ ด้วยความเพียรพยายามของตัวเขาเองในการศึกษาเล่าเรียน
ของเรานี้ก็เช่นกัน กว่าที่เราจะจบมาได้แต่ละชั้นก็มีความยากลาบาก และยิ่งในการที่เราจบมีเกรดที่ดีแล้วไม่ใช่
เรื่องง่าย เราต้องใช้ความเพียรพยายามฝึกฝนต้นเองหมั่นศึกษาค้นคว้า ละสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเรา
เอาใจใส่ในงานที่ครูอาจารย์มอบหมายให้ ไม่เกียจคร้าน เมื่อเราหมั่นขยันอดทนฝึกฝนอยู่อย่างนี้ ก็จะเห็นได้ว่า
ความยากลาบากเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราก็จะได้รับผลสาเร็จในการศึกษา และภาคภูมิใจในตัวของเรา ไม่
เฉพาะตัวเราแม้คนอื่นก็จะยกย่องสรรเสริญว่าเป็นเด็กดี หรือเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าหากขาดการฝึกฝนแล้วไซร้ จะ
กล่าวได้ว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐก็หาไม่ จะเป็นคนดีได้อย่างไร
สรุปความว่า ความทุกข์ ความลาบากของมนุษย์ต่าง ๆ นานา ของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถจะ
เอาชนะได้ สามารถบรรลุความสุข ผ่านความทุกข์นั้นได้ ก็เพราะความเพียร ดังที่กล่าวมาว่า ประการแรกเพียร
สังวรระวังไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่ตัวเรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่ไม่ดีนั้น ประการที่สามเพียรสั่งสมความดี
หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเรา และประการที่สี่เพียรรักษาความดีนั้นไว้ให้อยู่กับตัวเรานาน ๆ เมื่อฝึกตนเอง
ได้แล้วก็จะเป็นคนที่มีแต่สวัสดีภาพ เป็นผู้ประเสริฐ
๒๕
แบบฝึกหัด
คาสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม ฝึกเขียนการเชื่อมความจากกระทู้ธรรมที่กาหนดให้
๑)
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน
ขุ.ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖
ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
ขุ.ธ. ๒๕/๓๓
๒)
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ
จิตที่คุ้มครองแล้วนําสุขมาให้
ขุ.ธ. ๒๕/๑๓
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนําไปสู่ทุคคติ
ขุ.ธ. ๒๕/๔๗
๓)
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นําสุขมาให้
สํ.ส. ๑๕/๕๘
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
คาสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม ฝึกเขียนสรุปความจากข้อความที่กาหนดให้
๑) ก. ...ศีลแปลว่า ปกติ, สารวม ผู้มีศีลจึงเรียกได้ว่าผู้สารวม, ผู้เป็นปกติ ศีลนั้นมีหลายระดับสาหรับ
บุคคลที่มีสถานะและภูมิธรรมต่างกันไป ศีล ๕ เป็นศีลเบื้องต้นสาหรับคนทั่วไป ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล เป็นศีล
สาหรับอุบาสก, อุบาสิกาที่สมาทานเพื่อรักษาศีลในวันอุโบสถหรือวันพระ ศีล ๑๐ เป็นศีลสาหรับสามเณรหรือผู้ถือ
บวชบางกลุ่ม ศีล ๒๒๗ เป็นศีลสาหรับพระภิกษุ ศีล ๓๑๑ เป็นศีลสาหรับภิกษุณี ศีลนั้นเป็นพื้นฐานหรือเป็น
รากฐานของการสร้างกุศลทั้งปวง เช่น ในศีล ๕ อันประกอบด้วย การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์, การงดเว้นจาก
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม, การงดเว้นจากการพูดปด, การงดเว้น
จากการดื่มน้าเมา โดยศีล ๕ นี้เรียกอีกอย่างว่านิจศีล เพราะเป็นศีลที่เราควรรักษาให้บริสุทธิ์เป็นนิตย์ จะเห็นได้ว่า
ศีลทั้ง ๕ นี้จะตรงกับหลักธรรมอื่น ๆ หลายหมวด เช่น ในกายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และในมรรคมีองค์ ๘ ก็มี
หัวข้อธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศีลหลายประการ ในการที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั้นอาศัยสติคอยเตือนไม่ให้ล่วงศีล...
ข. ...สติ คือ ความระลึกได้ ข้อที่ว่าเป็นเครื่องตื่นในโลกนั้นหมายความว่าบุคคลผู้มีสติ จะเป็นผู้ที่
รู้ตัวอยู่เสมอว่ากาลังทาสิ่งใดอยู่ ทาการงานสิ่งใดก็ไม่ผิดพลาด ส่วนอีกความหมายหนึ่งยังหมายถึงการมีใจจดจ่อ
อยู่ในงานหรือสิ่งที่กาลังทาอยู่ เหตุเพราะว่าจิตของเรานั้นจะไม่หยุดนิ่งอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดนานนัก ดังนั้นหากเรามี
สติคอยกากับการงานหรือกิจกรรมนั้นก็จะไม่เกิดความผิดพลาด ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นเมื่อเรามีสติคอยกากับก็
จะช่วยไม่ให้เรากระทาการสิ่งใดที่ล่วงศีลดังนี้แล้ว ศีลก็จะบริสุทธิ์อยู่ได้...
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่

Contenu connexe

Tendances

ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Padvee Academy
 
อักษรย่อ
อักษรย่ออักษรย่อ
อักษรย่อSAM RANGSAM
 
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมคำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมniralai
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยchatsawat265
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1Gawewat Dechaapinun
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานีkhorntee
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือSAKANAN ANANTASOOK
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Sp'z Puifai
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมWatcharapol Wiboolyasarin
 
ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์Proud N. Boonrak
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบthnaporn999
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบthnaporn999
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาPadvee Academy
 
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพเฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพกึม จันทิภา
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพ็ญลักษณ์ สุวรรณาโชติ
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนkrubuatoom
 

Tendances (20)

ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
อักษรย่อ
อักษรย่ออักษรย่อ
อักษรย่อ
 
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมคำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานี
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
 
1 อิศรญาณภาษิต ok
1 อิศรญาณภาษิต  ok1 อิศรญาณภาษิต  ok
1 อิศรญาณภาษิต ok
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
 
ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์ใบความรู้ศาสนาคริสต์
ใบความรู้ศาสนาคริสต์
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
 
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพเฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
 

Similaire à หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่

เทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนเทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนkittitach06709
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)niralai
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยนภสร ยั่งยืน
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยNetchanOk Maneechai
 
ระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วยระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วยVachii Ra
 
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจShe's Kukkik Kanokporn
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยKorakob Noi
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยJutamart Bungthong
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยArm Watcharin
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยChaya Kunnock
 
ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่Beeby Bicky
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยpanggoo
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยmoohmed
 

Similaire à หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่ (20)

เทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนเทคนิคการสอน
เทคนิคการสอน
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
 
ครูมืออาชีพ
ครูมืออาชีพครูมืออาชีพ
ครูมืออาชีพ
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
 
ครูมืออาชีพ
ครูมืออาชีพครูมืออาชีพ
ครูมืออาชีพ
 
ระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วยระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่
 
ระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วยระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วย
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ครุผู้ช่วยช่วยTtg
ครุผู้ช่วยช่วยTtgครุผู้ช่วยช่วยTtg
ครุผู้ช่วยช่วยTtg
 

Plus de Theeraphisith Candasaro

คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทคู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทTheeraphisith Candasaro
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐Theeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATETheeraphisith Candasaro
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อTheeraphisith Candasaro
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์Theeraphisith Candasaro
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคTheeraphisith Candasaro
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย Theeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกTheeraphisith Candasaro
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์Theeraphisith Candasaro
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติTheeraphisith Candasaro
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ Theeraphisith Candasaro
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีTheeraphisith Candasaro
 
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารรายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารTheeraphisith Candasaro
 

Plus de Theeraphisith Candasaro (20)

คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทคู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นโท ปี 2563
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
 
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
บทอาศิรวาท เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑๐
 
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATEแผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
แผนปฏิบัติการการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระดับวัด UPDATE
 
e-Donatin
e-Donatine-Donatin
e-Donatin
 
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อคู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
คู่มือพระอุปัชฌายะฉบับย่อ
 
คำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศลคำแผ่บุญกุศล
คำแผ่บุญกุศล
 
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์แผนปฏิรูปสมบูรณ์
แผนปฏิรูปสมบูรณ์
 
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาคคำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
คำผิดที่พบบ่อยในวิชาบุรพภาค
 
หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย หลักสัมพันธ์ไทย
หลักสัมพันธ์ไทย
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอกกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นเอก
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
 
Put the right man on the right job
Put the right man on the right jobPut the right man on the right job
Put the right man on the right job
 
ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์ปัจจัยในกิริยากิตก์
ปัจจัยในกิริยากิตก์
 
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติโครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
โครงการบรรพชาสามเณร นักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
 
คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ คุณธรรมข้าราชการ
คุณธรรมข้าราชการ
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
 
สารัตถะ ชีวิต
สารัตถะ ชีวิตสารัตถะ ชีวิต
สารัตถะ ชีวิต
 
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารรายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
รายงานการประเมินผลการยกร่างหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
 

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่

  • 2. คำนำ ในหลายปีการศึกษาที่ผ่านมา ข้าพเจ้า ได้จัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรม แผนกธรรม วิชาเรียงความแก้กระทู้ ธรรม ด้วยวิธีดั้งเดิมที่สืบ ๆ กันมา แต่ผลสัมฤทธิ์กลับไม่ได้สูงขึ้น ยังมีนักเรียนพระปริยัติธรรมที่ไม่เข้าใจในการเขียน เรียงความแก้กระทู้ธรรมอยู่มาก ส่งผลให้การสอบธรรมสนามหลวงที่ผ่านมา มีนักเรียนไม่สามารถทำข้อสอบวิชานี้ได้ เท่าที่ควร ต่อมา ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ ข้าพเจ้า ได้ทดลองการจัดการเรียนรู้ในวิชานี้ใหม่ โดยแบ่งเป็น สองกลุ่ม กลุ่ม หนึ่ง จัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม คืออธิบายรูปแบบ วิธีการเขียน แล้วให้ทดลองเขียนเลย อีกกลุ่มหนึ่ง ใช้การเรียนรู้ อย่างเป็นระบบไปทีละส่วนตั้งแต่หาคำสำคัญ ฝึกเขียนอธิบาย ฝึกการเชื่อมความ การสรุปความ แล้วจึงให้เขียน เรียงความตามรูปแบบ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่สองนี้ได้ผลดีกว่ากลุ่มแรก ส่งผลให้นักเรียนพระปริยัติธรรมในปีนั้น ที่ได้ ศึกษาแบบใหม่ ผ่านทั้งหมด ดังนั้น เนื้อหาในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมฉบับนี้ จึงถือว่าเป็นอุปการะแก่นักเรียนพระปริยัติธรรม โดยใช้ กระบวนการสั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้ส่วนประกอบย่อย แล้วใช้ประสบการณ์นั้นมาเรียงร้อยให้เป็นประสบการณ์ใหม่ และทางสำนักศาสนศึกษาฯ คาดหวังความรู้ ความเข้าใจให้เกิดแก่พระภิกษุ สามเณร เพื่อจะได้มีหลัก หรือแนวทางใน การศึกษาวิชานี้ให้สัมฤทธิ์ผล จนถึงที่สุดคือสามารถสอบผ่านในการสอบธรรมสนามหลวง และมีภูมิรู้ที่นำไปศึกษาใน ขั้นสูงสืบไป ประโยชน์ใดอันเกิดแต่หนังสือนี้ ข้าพเจ้า ขอบูชาพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และท่านบูรพาจารย์ทั้งหลาย ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ข้าพเจ้าจนสามารถทำหนังสือเล่มนี้สำเร็จสมประสงค์ ขอความดำรงคงอยู่สถาพรแห่งพระศาสนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จงสถิตเป็น มั่นคงสืบไปตราบนานเท่านาน พระมหาธีรพิสิษฐ์ จนฺทสาโร ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม สำนักศาสนศึกษาวัดเขาเชิงเทียนเทพาราม พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
  • 3. สารบัญ หน้า โครงสร้างวิชา ๑ ความเบื้องต้นแห่งการเรียงความแก้กระทู้ธรรม ๓ พุทธศาสนสุภาษิตและคำสำคัญ ๕ กระทู้ธรรม และการวางแผนการเขียน ๙ คัมภีร์ ๑๔ วิธีการแต่งกระทู้ธรรมและสำนวนโวหาร ๑๗ การเชื่อมความและการสรุปความ ๒๓ รูปแบบและการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ๓๐ ระเบียบการตรวจและข้อผิดพลาด ๓๓ พุทธศาสนสุภาษิตที่ควรจำ ๓๘ บรรณานุกรม ๔๓
  • 4. ๑ โครงสร้างวิชา วิชาพื้นฐานหลัก พระปริยัติธรรม แผนกธรรม วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม ระดับ นักธรรมชั้นตรี คาอธิบายวิชา ศึกษาความหมาย ประโยชน์ หลักการ องค์ประกอบ และโครงสร้างของการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ลาดับขั้นตอนของการเขียน สานวนโวหาร ธรรมภาษิต และคัมภีร์ที่มาของธรรมภาษิต รูปแบบการเขียน การตรวจให้คะแนนของสนามหลวงแผนกธรรม ค้นหา ฝึกเขียน อธิบายคาสาคัญ (Key Word) อธิบายความแก้ของธรรมภาษิต การเชื่อมความ การสรุป ความ สานวนโวหาร โดยใช้การบูรณาการในวิชาต่าง ๆ ของนักธรรมชั้นตรี ตามรูปแบบที่สนามหลวงแผนกธรรม กาหนด ได้อย่างสมเหตุสมผล ตระหนักและเห็นความสาคัญในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม และนาไปพัฒนาเป็นพื้นฐานใน การแสดง บรรยาย ปาฐกถาธรรมต่อไป ผลการเรียนรู้ ๑. รู้และเข้าใจความหมาย และประโยชน์ของการเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้ ๒. รู้และเข้าใจหลักการ องค์ประกอบ และโครงสร้างของการเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้ ๓. เขียนอธิบายธรรมภาษิต เชื่อมความ สรุปความ โดยใช้สานวนโวหาร และภาษาที่สละสวยได้ ๔. เขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ตามรูปแบบของสนามหลวงแผนกธรรมได้อย่างสมเหตุสมผล โดยสามารถอ้าง สุภาษิต ๑ ภาษิต และบอกชื่อคัมภีร์ได้ถูกต้อง สมภูมิ ขอบข่ายเนื้อหา ๑. พุทธศาสนสุภาษิต ๒. การหาคาสาคัญในพุทธศาสนสุภาษิต ๓. การอธิบายคาสาคัญ และพุทธศาสนสุภาษิต ๔. การวางแผนเพื่อตีความพุทธศาสนสุภาษิต ๕. คัมภีร์อ้างอิง ๖. สานวนโวหาร ๗. การเชื่อมความและการสรุปความ ๘. รูปแบบ และหลักการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ๙. ฝึกการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
  • 5. ๒ หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสตึ. คนเราถึงมีชาติกาเนิดต่า แต่หากขยันหมั่นเพียร มีปัญญาประกอบด้วย อาจาระและศีลก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว.
  • 6. ๓ วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นวิชาแรกของการสอบธรรมสนามหลวง เพราะนับเป็นการแสดงออกซึ่ง ความรู้ความเข้าใจในเชิงบูรณาการแห่งองค์ความรู้ในวิชาธรรม พุทธ และวินัย ของผู้ทาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ทั้งยังเป็นวิชาหลักสาคัญอันเป็นเครื่องหมายกาหนดรู้และเข้าใจ หรือประเมินผลการเรียนรู้ในวิชา ระดับนักธรรมนี้ เพราะการจะเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมนี้ได้ จาต้องได้รับความรู้ในวิชาการต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ข้อกาหนด มีความรู้ที่ทั้งลึกและกว้าง พร้อมนาความรู้นั้นมาพลิกแพลงแต่งเติมอรรถาธิบายหัวข้อ กระทู้ธรรมอย่างแยบยล โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาธรรม อันเป็นวิชาหลักที่นักเรียนพระปริยัติธรรมจาเป็นต้อง นามาใช้เป็นฐานในการเขียนเรียงความ อธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่ายด้วยภาษาของตนที่สละสลวย เหมาะสม ประกอบพร้อมไปด้วยสานวนโวหาร ยกตัวอย่างให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น และที่สุดแห่งวิชานี้ คือย่อมทาให้นักเรียน พระปริยัติธรรมนั้น มีความรู้ความสามารถในการแสดงธรรม บรรยายธรรม ปาฐกถาธรรม หรือกล่าวสอนธรรม ได้อย่างมีหลัก มีแบบแผน อันจะเป็นการยกระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างและมีประสิทธิภาพบังเกิด ประสิทธิผลต่อไป ความสาคัญของการศึกษาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นวิชาสาคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมทุกระดับ ถือเป็น วิชาที่รวบรวมเอาภูมิรู้ในทุกกระบวนวิชาของนักธรรมมาใช้เพื่ออธิบาย สั่งสอน ทั้งตนเองและผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม ซึ่งมีความสาคัญที่ต้องรู้และเข้าใจเป็นอรรถเบื้องต้นอยู่ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ทาให้นักเรียนพระปริยัติธรรมเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของธรรม ๒. ทาให้นักเรียนพระปริยัติธรรมได้เข้าใจถึงผลดีผลเสีย กล่าวคือรู้เท่าทันคุณและโทษของการปฏิบัติ ตามและไม่ปฏิบัติตามธรรม ๓. ให้เข้าใจในชีวิตและรู้จักแสวงหาความสุขโดยมีธรรมะเป็นเครื่องชี้แนวทาง ๔. ช่วยพัฒนาด้านจิตใจของมนุษย์ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี ละความชั่ว ประกอบความดี โดยพยายามงดเว้น ความชั่วโดยเด็ดขาด ความหมายของคาว่า “เรียงความแก้กระทู้ธรรม” คาว่า “เรียงความแก้กระทู้ธรรม” เป็นกลุ่มคาที่ประกอบด้วยคาหลัก ๆ ๔ คา ได้แก่ ๑. เรียงความ หมายถึง การเอาถ้อยคา สานวน มาประกอบร้อยเรียงให้เป็นเรื่องราว หรือการนาคา กลุ่มคา หรือวลี สานวน ข้อความ มาเรียงร้อยให้เรียบร้อย ถูกต้องตามหลักภาษา และหลักการเขียนทาง ภาษาไทย อ่านแล้วได้ใจความดี ความเบื้องต้นแห่งการเรียงความแก้กระทู้ธรรม
  • 7. ๔ ๒. แก้ หมายถึง ทาให้คลายจากลักษณะที่แน่น ที่ติดกันอยู่ ที่เป็นปมเป็นเงื่อนอยู่ ๓. กระทู้ หมายถึง หัวข้อ หรือข้อความที่ตั้งให้อธิบายความ ขยายความ ในที่นี้ หมายเอา กระทู้ธรรม ได้แก่ หัวข้อธรรม ๔. ธรรม หมายถึง คุณความดี คาสั่งสอน หลักปฏิบัติในศาสนา ในที่นี้ หมายเอา พระธรรมคาสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงภาษิต คือตรัสไว้ดีแล้ว ดังนั้น เรียงความแก้กระทู้ธรรม จึงหมายถึง การแต่งอธิบายขยายเนื้อความแห่งหัวข้อธรรมภาษิตให้ กระจ่างชัด แจ่มแจ้ง ด้วยหลักภาษาที่สละสลวย ประโยชน์ของการศึกษาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ๑. ส่งเสริมความเจริญทางด้านจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักเรียนพระปริยัติธรรม ๒. ทาให้นักเรียนพระปริยัติธรรมรู้จักลาดับความคิด สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนออกมาให้ ผู้อื่นเข้าใจตามต้องการได้ ๓. รู้จักเลือกถ้อยคาสานวนโวหารได้ถูกต้องตามหลักภาษา ๔. ส่งเสริมให้นักเรียนพระปริยัติธรรมเขียนได้ถูกต้องตามแบบที่นิยม
  • 8. ๕ พุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคาที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนามาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้ พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง คาสอน หรือถ้อยคาอันท่านกล่าวดีแล้วทางพระพุทธศาสนา อันเปรียบ เหมือนข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตาม แต่ในคานี้ มิได้หมายความเฉพาะคาที่พระพุทธองค์ตรัส ไว้เท่านั้น แต่ย่อมหมายเอาภาษิตโดยทั่วไปนั่นเอง คาสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ ๙ ประการ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในคาสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจานวนมาก เป็นเนื้อความ สั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรม ประจาใจ เพื่อนาไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนาไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามใน ชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย ตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิต อตฺตา หเว ชิต เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร อสาธุ สาธุนา ชิเน พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา เมตตาเป็นเครื่องค้าจุนโลก พุทธศาสนสุภาษิต ธรรมภาษิต และกระทู้ธรรม ดังที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น ว่า พุทธศาสนสุภาษิต นั้นเป็นถ้อยคาที่ท่านกล่าวไว้ดีแล้ว อันเสมือนข้อคิด ข้อ เตือนใจ หรือเป็นคาสั่งสอนทางพระพุทธศาสนานั้น ยังมีอีก ๒ คาที่น่าสนใจ ซึ่งอาจพบเจอได้ในที่ต่าง ๆ ได้แก่ ธรรมภาษิต และ กระทู้ธรรม คาว่า “ธรรมภาษิต” หมายถึง การกล่าวธรรม หรือถ้อยคาที่แสดงธรรม ส่วนคาว่า “กระทู้ธรรม” หมายถึง หัวข้อแห่งธรรม หรือหลักแห่งธรรม จากความหมายของทั้งสองคา ก็บ่งชี้ได้ว่า หมายถึงคาสอนทางพระศาสนา โดยรวม มิได้เจาะจงว่าเป็นคาสอนของผู้ใด เป็นการกล่าวโดยรวม ซึ่งก็มีนัยเป็นแนวเดียวกับคาว่า “พุทธศาสน สุภาษิต” นั่นเอง พุทธศาสนสุภาษิตและคาสาคัญ
  • 9. ๖ หากประสงค์จะทราบว่าเป็นภาษิตของท่านใดในพระศาสนานี้ มักจะพบเจอคาบ่งบอกที่ชัดเจน เข้าใจได้ ทันที เป็นต้นว่า พุทธภาษิต พุทธพจน์ พุทธวจนะ คาเหล่านี้ล้วนบ่งบอกว่าเป็นพระดารัสของสมเด็จพระชินสีห์ บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เถรภาษิต หรือสาวกภาษิต หมายเอาภาษิตที่เหล่าพระเถระ พระสาวกของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้กล่าว แม้นว่าเป็นภาษิตของพระโพธิสัตว์ ก็จักเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต รวมถึงภาษิต ของเหล่าเทวดา มักจะใช้ว่า เทวภาษิต หรือระบุชื่อก็มี เช่น สักกภาษิต เป็นต้น ดังนั้น เมื่อจะพิจารณาภาษิตนั้น ๆ พึงพิจารณาให้ดี ว่าเป็นภาษิตของผู้ใด และใช้คาให้ถูกกับบุุคคล ซึ่ง เรื่องนี้ ในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นเรื่องสาคัญมาก บ่งบอกถึงภูมิรู้ของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในระดับ นักธรรมชั้นโท และชั้นเอก หากว่าไม่ทราบว่าเป็นภาษิตของผู้ใด ก็ให้ใช้คากลาง ๆ คือ “ธรรมภาษิต” เท่านั้น การค้นหาคาสาคัญ (Key Word) ในกระทู้ธรรม คาสาคัญ ในภาษาอังกฤษตรงกับคาว่า Key Word ซึ่งเป็นคาแสดงเนื้อหาสาคัญ หรือหัวข้อหลักใหญ่ใน ความนั้น ๆ ที่มีข้อความแวดล้อมสนับสนุนอยู่ คาสาคัญในกระทู้ธรรม เป็นคาหลักที่แสดงหัวข้อธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระเถรเจ้า หรือเทวดา ใช้เป็นคาหลักในการตรัส หรือกล่าวภาษิต ที่อมความไว้ ซึ่งนักเรียน พระปริยัติธรรม สามารถนามาอธิบาย ขยายความให้กระจ่างชัดเจนได้ นอกจากนี้ คาสาคัญในแต่ละภาษิตนั้น อาจไม่ได้มีเพียงคาเดียว สามารถมีได้หลายคา ขึ้นอยู่กับ ความสาคัญอันเรียงไล่กันลงมา เมื่อนักเรียนรู้จักค้นหาคาสาคัญในแต่ละธรรมภาษิต จะเป็นอุปการะในการเขียน เรียงความมาก ซึ่งจะสามารถนาคาเหล่านี้มาอธิบายขยายไปเรื่อย ๆ จนครบความ ของธรรมภาษิตนั้นได้นับเป็น วิธีหนึ่งในการช่วยวางโครงสร้างการเขียนเรียงความได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับการฝึกหัดเขียนเรียงความแบบ ดั้งเดิมนั้น ไม่มีการฝึกหาคาสาคัญ ให้นักเรียนทดลองเขียนเอง เสมือนงมเข็มในมหาสมุทร ทาให้นักเรียนไม่เข้าใจ เขียนไม่ได้และเขียนได้น้อย ใจความวกวนดุจคนไม่มีการวางแผนที่ดีนั่นเอง แต่หากให้นักเรียนได้เริ่มจากการหา คาสาคัญนี้แล้ว ย่อมเขียนได้ผลดีกว่าแบบดั้งเดิม การเขียนอธิบายคาสาคัญของกระทู้ธรรม คาว่า “อธิบาย” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒๕๔๖ : ๑๓๒๔) ได้ให้ความหมาย ไว้ว่า ก. ไขความ , ขยายความ , ชี้แจง ฉะนั้น จึงพอสรุปได้ว่า การเขียนอธิบาย คือ การเขียนไขความ การเขียนขยายความ หรือการเขียนชี้แจง ซึ่งเป็นการเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งอย่างถูกต้องชัดเจน โดยมุ่งที่จะบอกว่าสิ่งนั้น ๆ มี ลักษณะมีสภาพหรือข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนให้รายละเอียด เหตุผล ที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ แต่ที่สาคัญ ผู้เขียน ต้องมีประสบการณ์ หรือภูมิรู้ที่สั่งสมมาดีอีกประการหนึ่งด้วย
  • 10. ๗ แบบฝึกหัด ๑. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม ค้นหาคาสาคัญจากธรรมภาษิตที่กาหนดให้ต่อไปนี้ ๑) ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ๒) ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ บุญนาสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต ๓) สีล โลเก อนุตฺตร ศีลเป็นเยี่ยมในโลก ๔) อตฺตาน ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิต ย่อมฝึกตน ๕) จิตฺต คุตฺต สุขาวห จิตที่คุ้มครองแล้วนาสุขมาให้ ๖) ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด ๗) นย นยติ เมธาวี คนมีปัญญา ย่อมแนะนาทางที่ควรแนะนา ๘) สุกร สาธุนา สาธุ ความดี อันคนดีทาง่าย ๙) ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ๑๐) อปฺปมตฺตา น มียนฺติ ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย ๑๑) ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง ๑๒) กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล ๑๓) ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ บุญอันโจรนาไปไม่ได้ ๑๔) อพฺยาปชฺฌ สุข โลเก ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก ๑๕) สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง ๑๖) อกฺโกเธน ชิเน โกธ พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ ๑๗) สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง ๑๘) มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิก คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน ๑๙) มาตา มิตฺต สเก ฆเร มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
  • 11. ๘ ๒๐) ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม สมาคมกับคนพาลนาทุกข์มาให้ ๒. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม เขียนคาจากัดความหรืออธิบายความหมายของคาต่อไปนี้ มาให้เข้าใจ ๑) สังขาร ๒) ปัญญา ๓) สัตว์โลก ๔) กรรมดี ๕) ความสงบ ๖) บาป ๗) ศีล ๘) ความโลภ ๙) ความประมาท ๑๐) ตน ๑๑) ความดี ๑๒) กาม ๑๓) ธรรม ๑๔) ผู้แพ้ ๑๕) ทุกข์ ๑๖) ผู้ให้ ๑๗) ความจน ๑๘) ความอดทน ๑๙) บุญ ๒๐) อานาจ
  • 12. ๙ กระทู้ธรรม กระทู้ธรรม หรือ ธรรมภาษิต ตามหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - ๒ - ๓ นั้น (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะ ของนักธรรม ชั้นตรี) มีรูปแบบเฉพาะ ทั้งการอ่านและการเขียน จึงเป็นต้องสาเหนียกให้รู้และเข้าใจเป็นพื้นฐานใน การศึกษาขั้นสูงต่อไป อตฺตา หเว ชิต เสยฺโย. ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี. ขุ.ธ. ๒๕/๒๙ ๑. กระทู้ธรรม เป็นบทบาลีที่แสดงหัวข้อธรรม ในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมนี้ แบ่งเป็น กระทู้ตั้ง ๑ กระทู้รับ ๑ ๒. บาลี บทตั้ง เป็นธรรมภาษิตที่เขียนในรูปของภาษาบาลีเท่านั้น ห้ามเขียนเป็นภาษาบาลีแบบไทย ๓. คาแปล บทตั้ง เป็นบทแปล ความหมายของบาลี บทตั้ง เราจะนาคาแปลนี้มาหาคาสาคัญ และเขียน อธิบายขยายความจากคาแปลนี้ ๔. อักษรย่อคัมภีร์ แสดงที่มาของธรรมภาษิตนั้น ว่ามาจากพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ใด และยังมีตัวเลข ซึ่งตัวเลขหน้า / บอกเล่มที่ และตัวเลขหลัง / บอกเลขที่หน้า (รายละเอียดชื่อคัมภีร์จักกล่าวต่อไป) การวางแผนการเขียนอธิบายความกระทู้ธรรม การเขียนอธิบายความกระทู้ธรรม มีหลักสาคัญในการเขียนที่นักเรียนพระปริยัติธรรมต้องเข้าใจในชั้นต้น ๓ ประการ ดังนี้ ๑. ตีความหมาย ๒. ขยายความให้ชัดเจน ๓. ตั้งเกณฑ์อธิบาย ตีความหมาย ได้แก่ การค้นหาคาสาคัญ (Key Word) และการให้คาจากัดความของคาสาคัญ และให้ คาอธิบายข้อธรรมในบริบทแวดล้อมนั้น ว่า ข้อธรรมนั้น มีคาสาคัญว่าอะไร มีความหมายอย่างไร บริบทแวดล้อม กล่าวถึงสิ่งใด เช่น ธรรมภาษิตที่ว่า “นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี” มีคาสาคัญ ที่จาเป็นต้องเลือกมาอธิบายก่อน ได้แก่ คาว่า “ปัญญา” มีคาจากัดความว่า “ความรอบรู้ในกองสังขาร” หรือ “ความรู้” บริบทที่แวดล้อมคือ ไม่มีแสงสว่างใดเสมอเหมือน กระทู้ธรรม และการวางแผนการเขียน ๑. กระทู้ธรรม ๒. บาลี บทตั้ง ๓. คาแปล บทตั้ง ๔. อักษรย่อคัมภีร์
  • 13. ๑๐ ขยายความให้ชัดเจน ได้แก่ การขยายเนื้อความของคาซึ่งได้ให้ความหมายไว้แล้ว คือ ต้องตีความ ต่อไปว่า ปัญญา มีเท่าไร และเหตุใดจึงไม่มีแสงสว่างอื่น ๆ เสมอด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา เป็นต้น ตั้งเกณฑ์อธิบาย ได้แก่ การวางโครงร่างที่จะอธิบายเนื้อความของเนื้อหาว่ามีอะไรบ้าง มีผลดีผลเสีย อย่างไร มีข้อเปรียบเทียบหรือมีตัวอย่างมาประกอบให้เห็นเด่นชัดได้หรือไม่ และควรจะนับถึงผลกรรมนั้น ๆ อย่างไร จึงจะทาให้ผู้อ่านผู้ฟังคล้อยตาม โดยเรียงเป็นลาดับขั้นตอนก่อนหลัง ไม่สับสนวกไปวนมา เฉกเช่นเดียวกับ อธิบายสิ่งยากให้ง่าย อธิบายให้รอบด้าน ค่อยเป็นค่อยไปจนหมดความ การพิจารณาการเขียนอธิบายกระทู้ธรรม การพิจารณาการเขียนอธิบายกระทู้ธรรม ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม สังเกตดูจากความหมายของบาลี แห่งกระทู้ธรรม ว่าเรื่องนั้น มุ่งเน้นสิ่งใดเป็นหลักใหญ่ แล้วถอดคาไล่เรียงลาดับความสาคัญจากมากไปหาน้อย และให้สังเกตบริบทแวดล้อมว่าอุ้มหรือมุ่งขยายคาใดเป็นหลัก คานั้น จักถือเป็นคาสาคัญแห่งกระทู้นั้น เมื่อพิจารณาคาสาคัญแล้ว จึงมาดูบริบทแวดล้อมที่อมความนั้นไว้ แล้วตั้งเกณฑ์ที่ตนต้องอธิบายให้ ดาเนินความไปถึงตามคาแปลบาลีนั้น ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างการพิจารณากระทู้ธรรมเบื้องต้น กมฺมุนา วตฺตตี โลโก. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม. พิจารณา ก. คาสาคัญ ๑. สัตว์โลก ๒. กรรม ข. แนวอธิบาย ๑. สัตว์โลก คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ๒. กรรม คืออะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ๓. สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมอย่างไร ตัวอย่างการเขียนอธิบาย “สัตว์โลก หมายถึง หมู่สัตว์ที่มีชีวิต ดารงชีพอยู่บนโลก ซึ่งหมายเอาบุคคล เช่น ตัวเรา เป็นต้น มิใช่ สัตว์เดียรัจฉานทั่วไป ส่วนคาว่า กรรม แปลว่า การกระทา ซึ่งเป็นคากลาง ๆ ไม่บ่งชี้ชัดว่าเป็นส่วนดี หรือส่วนชั่ว กรรม โดยทั่วไปมี ๒ ประเภท ได้แก่ กรรมดี ๑ กรรมชั่ว ๑ กรรมดี เป็นการกระทาในด้านดี ทาแล้วมีความสุขใจ อิ่มเอิบใจ เป็นหลัก ไม่ว่าจะทางกาย มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ ไม่ทาร้ายร่างกาย เป็นต้น ส่วนทางวาจา มีการพูดดี ไม่โกหก พูดแต่คาสุภาพ เป็นต้น และทางใจ มีการคิดดี ไม่พยาบาท จองเวรใคร เป็นต้น แต่กรรมชั่ว ย่อมมีเหตุ ในทางตรงข้าม ไม่ว่าจะทางกาย มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ทางวาจา มีการพูดโกหก เพ้อเจ้อ ส่อเสียด เป็นต้น ทางใจ มีความคิดอาฆาต พยาบาท เป็นต้น ทั้งสามทางนี้ เป็นกรรมชั่ว บุคคลใด หรือสัตว์โลกใดที่ดารงชีพอยู่ใน สังสารวัฏฏ์นี้ ประกอบพร้อมด้วยความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบกรรมดี หากแม้นว่า บุคคลใด หรือสัตว์ใด ประกอบพร้อมด้วยกรรมชั่ว ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบกรรมชั่ว ใน
  • 14. ๑๑ พระศาสนานี้ มีความเชื่อตามหลักแห่งเหตุและผลอยู่ประการหนึ่งว่า หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น หมายถึง ใครทาเช่นไร ก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น อาทิเช่น พระภิกษุ ประพฤติตนอยู่ในพระวินัย ไม่ก้าวล่วง สิกขาบทใด ๆ ย่อม ไม่วิปปฏิสารเดือดร้อนใจ อยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์ได้อย่างสงบ ไปแห่งหนตาบลใดก็อาจหาญ รื่นเริงในคุณแห่งศีล ของตน หรือในนิทานจีน เช่น คนฆ่าสัตว์ขายเลี้ยงชีพ เป็นอาจิณ เมื่อก่อนจะสิ้นวายชีวา ก็มีอาการร้อนรน ดุจ สัตว์ที่ตนได้ฆ่าฉะนั้น เป็นต้น เพราะฉะนั้น บุคคลใด หรือสัตว์โลกใด ประพฤติปฏิบัติตนเช่นไร ก็ไม่อาจพ้น อานาจแห่งกรรมที่ตนได้กระทาไว้เป็นแน่แท้ทีเดียว”
  • 15. ๑๒ แบบฝึกหัด ๑. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม พิจารณากระทู้ธรรมต่อไปนี้ ตามแนวการพิจารณากระทู้ธรรมที่ได้ศึกษามา ๑) อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ. ตนแล เป็นที่พึ่งของตน. ขุ.ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖ ๒) ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ. ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด. ขุ.ธ. ๒๕/๓๓ ๓) จิตฺต คุตฺต สุขาวห. จิตที่คุ้มครองแล้วนาสุขมาให้. ขุ.ธ. ๒๕/๑๓ ๔) สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ. กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนาไปสู่ทุคคติ. ขุ.ธ. ๒๕/๔๗ ๕) ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ. ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นาสุขมาให้. ส.ส. ๑๕/๕๘ ๒. ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม พิจารณากระทู้ธรรมต่อไปนี้ แล้วเขียนบรรยายกระทู้ธรรมนั้นมาตามหลัก การเขียนเบื้องต้นที่ได้ศึกษามา ๑) อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุล สุข. ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์. ขุ.ธ. ๒๕/๑๘ ๒) ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา. สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกาลัง. องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗
  • 16. ๑๓ ๓) วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ. คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร. ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑ ๔) ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ. บุญนาสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต. ขุ.ธ. ๒๕/๕๙ ๕) นิพฺพาน ปรม สุข. นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
  • 17. ๑๔ อักษรย่อบอกนามคัมภีร์ อักษรย่อบอกนามคัมภีร์ต่อไปนี้ จะมีประโยชน์เมื่อนามาใช้ในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักเรียน พระปริยัติธรรม จึงจาเป็นต้องศึกษา กาหนด จด จา ให้ดี อย่าให้ผิดพลาด องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาต องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย จตุกฺกนิปาต องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกกนิปาต องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาต องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย ทสกนิปาต องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย ปญฺจกนิปาต องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย สตฺตกนิปาต ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย อิติวุตฺตก ขุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย อุทาน ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย จริยาปิฏก ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย จูฬนิทฺเทส ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต คัมภีร์
  • 18. ๑๕ ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย เถราคาถา ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถา ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย ปฏิสมฺภิทามคฺค ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย พุทฺธวํส ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย มหานิทฺเทส ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย วิมานวตฺถุ ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย เปตวตฺถุ ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย สตฺตนิปาต ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺค ที. มหา. ทีฆนิกาย มหาวคฺค ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก ม. ม. มชฺฌิมนิกาย มชฺฌิมปณฺณาสก วิ. จุล. วินัยปิฏก จุลฺลวคฺค วิ. ภิ. วินัยปิฏก ภิกฺขุณีวิภงฺค วิ. มหา. วินัยปิฏก มหาวคฺค วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก มหาวิภงฺค สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย นิทานวคฺค สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย มหาวารวคฺค สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย สคาถวคฺค ส.ม. สวดมนต์ฉบับหลวง ร.ร. ๔ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔ ว.ว. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
  • 19. ๑๖ ส.ฉ. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ส.ส. สมเด็จพระสังฆราช (สา) --/-- เลขหน้า / บอกเล่ม, เลขหลัง / บอกหน้า
  • 20. ๑๗ วิธีการแต่งกระทู้ธรรม การแต่งกระทู้ธรรม ตามหลักการมีอยู่ ๒ แบบ คือ ๑. แบบตั้งวง คือ อธิบายความหมายของธรรมข้อนั้น ๆ เสียก่อนแล้วจึงขยายความออกไป ๒. แบบตีวง คือ บรรยายเนื้อความไปก่อนแล้ว จึงวกเข้าหาความหมายของกระทู้ธรรมนั้น ส่วนมากผู้แต่งกระทู้ธรรม มักจะนิยมแต่งแบบที่ ๑ คือ แบบตั้งวง อธิบายความหมายภาษิตนั้นก่อนแล้ว จึงขยายความให้ชัดเจนต่อไป ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สะดวก ไล่ไปทีละขั้นตอน ภาษาในการใช้ ๑. ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้อง มีประธาน กริยา กรรม ๒. ไม่ใช้ภาษาตลาด ภาษาแสลง ๓. ไม่ใช้ภาษาพื้นเมือง หรือภาษาท้องถิ่น ๓. ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น สานวนโวหาร โวหาร หมายถึง ถ้อยคาที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อสื่อ ให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร ประเภทของโวหาร ในการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ อาจใช้โวหารที่เหมาะแก่ข้อความของเรื่องราวนั้น ๆ ซึ่งโวหารแบ่งได้ ๕ ประเภท ดังนี้ ๑. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้บอกกล่าว เล่าเรื่อง อธิบาย หรือบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจน ความรู้ต่าง ๆ อย่างละเอียด เป็นการกล่างถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน โดยชี้ให้เห็นถึงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์ สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น เพื่อให้ผู้รับ สารเข้าใจเนื้อหา สาระอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เนื้อหา ที่บรรยายอาจเป็นเรื่องที่สมมุติหรือเรื่องจริงก็ได้ เรื่องที่ใช้ บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนตารา รายงาน บทความ เรื่องเล่า จดหมาย บันทึก ชีวประวัติ ตานาน เหตุการณ์ บรรยายภาพ บรรยายธรรมชาติ บรรยายบุคลิกลักษณะบุคคล สถานที่ รายงานหรือจดหมายเหตุ การรายงานข่าว การอธิบายความหมายของคา การอธิบายกระบวนการ การแนะนา วิธีปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น วิธีการแต่งกระทู้ธรรมและสานวนโวหาร
  • 21. ๑๘ ตัวอย่างบรรยายโวหาร ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษแล้ว แต่แรกภูเขานี้เป็นที่เคารพบูชา ของชนพื้นเมืองเผ่าไอนุซึ่งปัจจุบันยังอยู่ตามหมู่เกาะฮอกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ ที่อยู่เหนือสุดชาวไอนุขนานนาม ภูเขานี้ตามชื่อเทพธิดา “ฟูชิ” (fuchi) ผู้เป็นเทพธิดาแห่งอัคคี ชาวญี่ปุ่นยังคงนับถือภูเขาไฟฟูจิต่อมา และ เรียกชื่อตามที่พวกไอนุตั้งไว้ บรรดาผู้นับถือศาสนาชินโตเชื่อว่าในธรรมชาติทุกรูปแบบจะมีเทพ หรือ กามิ (kami) สถิตอยู่ แต่เทพที่สถิตในภูเขาจะศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ ภูเขาฟูจิซึ่งสูงที่สุดและงามที่สุดในประเทศ จึง ได้รับความเคารพเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นสถานที่สถิตของทวยเทพ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างความ ลึกลับของ สวรรค์ และความเป็นจริงของโลกมนุษย์ (เกศกานดา จตุรงคโชค (บรรณาธิการ): โลกพิสดาร แดนพิศวง) ๒. พรรณนาโวหาร คือ โวหารที่ใช้กล่าวถึงเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่างละเอียด สอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกลงไปเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย ใช้ใน การพูดโน้มน้าวอารมณ์ของผู้ฟัง หรือเขียนสดุดี ชมเมือง ชมความงามของบุคคล สถานที่และแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้น การใช้พรรณนาโวหาร ควรมีความประณีตในการเลือกใช้ถ้อยคาสานวนที่ไพเราะเพราะพริ้ง เล่นคา เล่น อักษร ใช้ถ้อยคาทั้งเสียงและความหมายให้ตรงกับความรู้สึกที่ต้องการพรรณนา รู้จักปรุงแต่งถ้อยคา ให้ผู้รับสาร เกิดภาพพจน์ ใช้โวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน รู้จักเลือกเฟ้นเนื้อหาว่าส่วนใดควรนามาพรรณนา ต้อง เข้าใจเนื้อหาที่จะพรรณนาเป็นอย่างดี และพรรณนาให้เป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกโดยไม่เสแสร้ง บางกรณีอาจ ต้องใช้อุปมาโวหารหรือสาธกโวหารประกอบด้วย ตัวอย่างพรรณนาโวหาร เขาใช้แขนยันพื้นดิน อาการเหนื่อยอ่อน กลิ่นน้าฝนบนใบหญ้าและกลิ่นไอดินโซนเข้าจมูกวาบหวิว อยาก ให้มีใครซักคนผ่านมาพบ เพื่อพาเขากลับไปหาหมอในหมู่บ้าน มดหลายตัวเดินสวนขบวนผ่านไปมา มันไม่มีทีท่า จะสนใจเขาเลยแม้แต่น้อย เขามองดูมันอย่างเลื่อนลอยทาไมมัน จึงเฉยเมยกับฉัน มันคงรู้แน่ ฉันอยากให้มันเป็น คนจริง ๆ ฉันจะต้องกลับบ้านให้ได้ เขาคิดพลางเหม่งมองดูยอดสนของหมู่บ้าน หาดเสี้ยวเห็นอยู่ไม่ไกล ดวงอาทิตย์สีแดงเข้มกาลังคล้อยลงเหนือยอดไม้ทางทิศตะวันตก (นิคม รายวา: คนบนต้นไม้) ๓. อุปมาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจความหมาย อารมณ์ความรู้สึก หรือ เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มักใช้ประกอบโวหารประเภทอื่น เช่น เทศนาโวหาร บรรยายโวหาร โดยเฉพาะพรรณนา โวหาร เพราะจะช่วยให้รสของถ้อยคาและรสของเนื้อความไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น ทั้งสารที่เป็นรูปธรรมและ นามธรรม การเปรียบเทียบอาจเปรียบความเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือลักษณะ
  • 22. ๑๙ ตรงกันข้าม หรือเปรียบเทียบโดยให้ผู้รับสารโยงความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่ง โดยอาจกล่าวลอย ๆ หรืออาจ ใช้คาแสดงการเปรียบเทียบ ซึ่งมีอยู่หลากหลาย เช่น เหมือน เสมือน คล้าย ดุจ ดัง ดั่ง ดุจดั่ง ราว ดูราว ปาน เพียง ประหนึ่ง เช่น เฉก ฯลฯ การใช้อุปมาโวหารควรเลือกใช้ถ้อยคาที่เข้าใจง่าย และสละสลวย แสดงการเปรียบเทียบได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเนื้อหา และจังหวะ ลีลา ซึ่งอาจกล่าวลอย ๆ ก็ได้ เนื้อหาที่จะเปรียบเทียบควรเป็นเนื้อหาที่อธิบายให้ เข้าใจได้ยาก เปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย หรือสิ่งที่ผู้รับสารรู้ดีอยู่แล้ว และข้อความที่จะยกมาเปรียบเทียบ (อุปไมย) กับข้อความที่นามาเปรียบเทียบ (อุปมา) จะต้องเหมาะสมกัน อุปมาโวหารใช้เป็นโวหาร เสริมบรรยาย โวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนและน่าอ่านยิ่งขึ้น ตัวอย่างอุปมาโวหาร …ดังนี้เจ้าจะเห็นได้ว่าเมียที่พ่อจัดหาให้มีตระกูล สมชาติ สมเชื้อกันดี เพราะตระกูลของเราก็มั่งมี มีคน นับหน้าถือตา ญาติพี่น้องทั้งฝ่ายบิดามารดาของนางก็บริบูรณ์ รูปร่างงามหาตาหนิมิได้ ผมดาราวกับแมลงผึ้ง หน้า เปล่งปลั่งดั่งดวงจันทร์ เนตรประหนึ่งตากวาง จมูกแม้นดอกงา ฟันเทียบไข่มุก ริมฝีปากเพียงผลตาลึงสุก เสียง หวานปานนกโกกิลา ขาคือลากล้วย เอวเหมาะเจาะไม่อ้วนเกิน เวลาย่างเดินแคล่วคล่องมีสง่าเสมอช้างทรง เพราะฉะนั้นเจ้าจะหาทางตาหนิขัดข้องมิได้เลย... (เสฐียรโกเศศ: กามนิต) ๔. สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการอธิบาย เนื้อหาสาระ เพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้หนักแน่น สมเหตุสมผล ทาให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระในสิ่งที่ พูด หรือเขียนอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ดูสมจริง หรือน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นประกอบอาจเป็น เรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวยาว ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสม เช่น ประสบการณ์ตรงของผู้ส่งสาร เรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ นิทาน ตานาน วรรณคดี เป็นต้น สาธกโวหารมักใช้เป็นอุทาหรณ์ประกอบอยู่ในเทศนาโวหาร หรือ อธิบายโวหาร การใช้สาธกโวหาร ควรใช้ถ้อยคาภาษาที่เข้าใจง่าย รู้จักเลือกว่าเนื้อหาตอนใดควรใช้ตัวอย่าง หรือเรื่องราว ประกอบ และตัวอย่างที่ยกมา ประกอบต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเป็นเรื่องที่น่าสนใจ สมเหตุสมผล สาธก โวหารมักแทรกอยู่ในโวหารอื่น ๆ เช่น บรรยายโวหาร หรือเทศนาโวหาร ตัวอย่างสาธกโวหาร ถ้าเธอไม่อยากอยู่กับฉันจริงจริง ยินยอมทุกสิ่ง ให้เธอทิ้งไป ฉันขอแค่เพียงให้เวลาหน่อยได้ไหม อยาก เล่านิทานให้ฟัง ชาวนาคนหนึ่งมีชีวิตลาพัง ไปเจองูเห่ากาลังใกล้ตายสงสาร จึงเก็บเอามาเลี้ยงโดยไม่รู้ สุดท้ายจะ เป็นอย่างไร คอยดูแลด้วยความจริงใจ ห่วงใย และคอยให้ความรักเป็นกังวลว่ามันจะตาย เฝ้าคอยเอาใจทุก
  • 23. ๒๐ อย่าง แต่สุดท้ายชาวนาผู้ชายใจดี ด้วยความที่เขาไว้ใจ น่าเสียดายกลับต้องตายด้วยพิษงู นิทานมันบอกให้ ยอมรับความจริง ว่ามีบางสิ่งไม่ควรไว้ใจ อะไรบางอย่างที่ทาดีซักแค่ไหน ไม่เชื่อง ไม่รัก ไม่จริง (สีฟ้า: ชาวนากับงูเห่า) ๕. เทศนาโวหาร คือ โวหารที่มุ่งโน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เป็นการกล่าวในเชิงอบรม แนะนาสั่งสอน เสนอทัศนะ ชี้แนะ หรือโน้มน้าว ชักจูงใจโดยยกเหตุผล ตัวอย่าง หลักฐาน ข้อมูล ข้อเท็จจริง สุภาษิต คติธรรมและสัจธรรมต่าง ๆ มาแสดงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่กระจ่างจนยอมรับ เชื่อถือมีความเห็น คล้อยตาม และปฏิบัติตาม โวหารประเภทนี้มักใช้ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน อธิบาย หลักธรรม และคาชี้แจงเหตุผล ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเสนอทัศนะ เป็นต้น การใช้เทศนาโวหารควรใช้ถ้อยคาภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ใช้ถ้อยคาในการชี้แจงเหตุผลที่กล่าวถึง ให้แจ่มแจ้งชัดเจน และชี้แจงไปตามลาดับไม่สับสนวกวน ควรใช้โวหารอื่นประกอบด้วยเพื่อให้ชวนติดตาม การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ อาจจะใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้ง อุปมาโวหาร และสาธกโวหารด้วย มักใช้กับงานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า เทศนาโวหารเป็นโวหารที่มุ่งสั่งสอน ตัวอย่างเทศนาโวหาร “…เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้าน การรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางการออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีการใช้ หมายความว่า วิธีใช้คามาประกอบเป็นประโยคนับเป็น ปัญหาที่สาคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ารวยในคาของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ารวยพอ จึงต้องมี การบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...” “...ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคาออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความอันแท้จริงอยู่เนือง ๆ ทั้งการออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามี ภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้...” (พระราชดารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) สานวนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมที่ดี ส่วนใหญ่จะใช้โวหารทั้ง ๕ ประเภทข้างต้นเป็นพื้น แต่ที่ สาคัญขาดมิได้และใช้เป็นหลักในการเขียน คือใช้สานวนแบบเทศนาโวหาร โดยมีหลักการเขียนสังเขป ดังนี้ ๑. ข้อความที่เขียนนั้นจะต้องมีเหตุผลใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ๒. มีอุทาหรณ์และหลักคติธรรม ๓. ผู้เขียนจะต้องแสดงให้เห็นว่า ตนมีลักษณะและคุณสมบัติพอเป็นที่เชื่อถือได้
  • 24. ๒๑ หลักย่อ ๆ ที่ควรจา เป็นเกณฑ์อธิบายในการแต่งกระทู้ ๑. วิเคราะห์ศัพท์ คือ การแสดงความหมายของกระทู้ตั้งแล้ววางเค้าโครงที่จะแต่งต่อไป ๒. ขยายความ คือ การอธิบายให้กว้างออกไปตามแนวกระทู้ตามเหตุและผล ๓. เปรียบเทียบ คือ ยกข้อความที่ตรงข้ามกันมาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นได้ชัดในสิ่งที่พูดไป ๔. ยกสุภาษิตรับ คือ การนากระทู้สุภาษิตมารับมาอ้าง ๕. ยกตัวอย่าง คือ ยกตัวอย่างธรรมะ หรือบุคคล สถานที่มาเป็นตัวอย่าง ๖. สรุปความ คือ ย่อความที่กล่าวมาแล้วนั้นให้เข้าใจง่าย ก่อนที่จะจบกระทู้
  • 25. ๒๒ แบบฝึกหัด คาสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม เขียนอธิบายกระทู้ธรรมต่อไปนี้ โดยใช้หลักการ และใช้โวหารต่าง ๆ ที่ศึกษา มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๑) ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺข ชินาติ. ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง. ขุ.ธ. ๒๕/๖๓ ๒) ปิยาน อทสฺสน ทุกฺข. การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์. ขุ.ธ. ๒๕/๒๖/๔๓ ๓) อนตฺถชนโน โกโธ. ความโกรธก่อความพินาศ. องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙ ๔) ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา. คนโกรธมีวาจาหยาบ. ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๗๓ ๕) ย เว เสวติ ตาทิโส. คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น. ว.ว.
  • 26. ๒๓ การเชื่อมความ การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ในระดับชั้นนักธรรมชั้นตรี สนามหลวงแผนกธรรมกาหนดให้ นักเรียนพระปริยัติธรรม เขียนอธิบายกระทู้ธรรม และนากระทู้ธรรมอีกบทหนึ่งมารับ โดยเขียนอธิบายให้มี ความสอดคล้องสมความกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเขียนเชื่อมความระหว่างทั้ง ๒ กระทู้นั้น นักเรียนพระ ปริยัติธรรม จาต้องเขียนเกริ่นนาหรือกล่าวถึง อธิบายถึงกระทู้ธรรมอีกบทที่นามารับกระทู้ธรรมบทตั้งพอได้ ใจความสั้น ๆ แล้วจึงมาอธิบายใจความทั้งหมดของกระทู้ธรรมที่นามารับอีกครั้ง เพราะฉะนั้น นักเรียนพระปริยัติธรรม จักเขียนอย่างไรให้ได้ความสนิทดี นับเป็นเรื่องที่นักเรียน พระปริยัติธรรม จาต้องฝึกฝนในการกาหนด จด จา และฝึกเขียนอยู่เสมอ การสรุปความ การสรุปความ เป็นการนาเอาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนเองได้เขียนอรรถาธิบายกระทู้ธรรมทั้ง ๒ บทนั้น มาเขียนใหม่ ด้วยสานวนภาษาของตน ซึ่งเมื่อเขียนแล้วเนื้อควาวมเดิมจะสั้นลง แต่มีใจความสาคัญหรือความคิด รวบยอดที่เป็นหลักปฏิบัติ ความจาเป็น หรือข้อเท็จจริงที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ตัวอย่างการเขียนเชื่อมความ วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ. คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร. คาว่า ทุกข์ คือสภาพที่บีบคั้นเบียดเบียน มีความลาบาก ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มีความคับแคบใจ อันมีเหตุมาจากความไม่สมปรารถนา ไม่ได้ดังใจ ได้สิ่งของบางอย่างมาแล้วไม่ถูกใจ ตลอดถึงการพลัดพรากจาก ของรักของชอบใจ เป็นเหตุแห่งความทุกข์เป็นความลาบาก กล่าวโดยที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า สังขารร่างกาย นี้ก็เป็นทุกข์ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความทุกข์เป็นความจริง เป็นทุกข์อริยสัจ ความทุกข์นี้มีมาประจา กับตัวเราแล้วตั้งแต่เกิด มีความลาบากในการที่จะหาเลี้ยงชีพ ทั้งตัวเองและคนอื่น แม้การศึกษาเล่าเรียนของเรานี้ ก็เหมือนกัน เป็นความทุกข์ เป็นความลาบาก แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาสั่งสอนให้พวกเรามองให้เห็น ความทุกข์ และก็ให้ยอมรับว่ามันมีอยู่จริง ไม่ให้จมปรักอยู่กับมัน ไม่ให้เศร้าโศกและเสียใจกับสิ่งที่ทาให้เกิดทุกข์ พระพุทธองค์ทรงสอน หาทางหนีจากความทุกข์ หาทางแก้ทุกข์ เพื่อที่จะให้มีความทุกข์น้อยลง ให้มีความสุข ตามปกติที่ใจมุ่งหวัง ในการที่จะหนีจากความทุกข์ หาทางแก้ทุกข์นั้นพระองค์ก็ทรงสอนให้มีความเพียรก็คือ ประการแรก เพียรพยายามไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่เรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ความสุขของเรา ประการที่สามเพียรพยายามทาสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่เรา และประการที่สี่เพียรพยายามความดีสิ่งที่ดีที่มีอยู่ในตัว การเชื่อมความและการสรุปความ
  • 27. ๒๔ ของเราแล้วให้คงอยู่ต่อไป นี้คือทางที่จะแก้ความทุกข์ ทางที่จะพ้นจากความทุกข์ ความเพียรสี่ประการนี้ เป็น สิ่งที่คนเรามนุษย์สามารถที่จะทาได้ เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งสามารถฝึกฝน ทาตนให้พ้นจากทุกข์เหล่านั้นได้ สมดังพระพุทธภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา ว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ. ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนได้แล้ว เป็นผู้ประเสริฐ. แสดงว่า มนุษย์เรานี้ เป็นผู้ฝึกฝนตนเองได้ ด้วยความเพียรพยายามของตัวเขาเองในการศึกษาเล่าเรียน ของเรานี้ก็เช่นกัน กว่าที่เราจะจบมาได้แต่ละชั้นก็มีความยากลาบาก และยิ่งในการที่เราจบมีเกรดที่ดีแล้วไม่ใช่ เรื่องง่าย เราต้องใช้ความเพียรพยายามฝึกฝนต้นเองหมั่นศึกษาค้นคว้า ละสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเรา เอาใจใส่ในงานที่ครูอาจารย์มอบหมายให้ ไม่เกียจคร้าน เมื่อเราหมั่นขยันอดทนฝึกฝนอยู่อย่างนี้ ก็จะเห็นได้ว่า ความยากลาบากเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราก็จะได้รับผลสาเร็จในการศึกษา และภาคภูมิใจในตัวของเรา ไม่ เฉพาะตัวเราแม้คนอื่นก็จะยกย่องสรรเสริญว่าเป็นเด็กดี หรือเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าหากขาดการฝึกฝนแล้วไซร้ จะ กล่าวได้ว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐก็หาไม่ จะเป็นคนดีได้อย่างไร สรุปความว่า ความทุกข์ ความลาบากของมนุษย์ต่าง ๆ นานา ของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถจะ เอาชนะได้ สามารถบรรลุความสุข ผ่านความทุกข์นั้นได้ ก็เพราะความเพียร ดังที่กล่าวมาว่า ประการแรกเพียร สังวรระวังไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่ตัวเรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่ไม่ดีนั้น ประการที่สามเพียรสั่งสมความดี หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเรา และประการที่สี่เพียรรักษาความดีนั้นไว้ให้อยู่กับตัวเรานาน ๆ เมื่อฝึกตนเอง ได้แล้วก็จะเป็นคนที่มีแต่สวัสดีภาพ เป็นผู้ประเสริฐ
  • 28. ๒๕ แบบฝึกหัด คาสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม ฝึกเขียนการเชื่อมความจากกระทู้ธรรมที่กาหนดให้ ๑) อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งของตน ขุ.ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖ ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด ขุ.ธ. ๒๕/๓๓ ๒) จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตที่คุ้มครองแล้วนําสุขมาให้ ขุ.ธ. ๒๕/๑๓ สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนําไปสู่ทุคคติ ขุ.ธ. ๒๕/๔๗ ๓) ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นําสุขมาให้ สํ.ส. ๑๕/๕๘ อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์ ขุ.ธ. ๒๕/๑๘ คาสั่ง ให้นักเรียนพระปริยัติธรรม ฝึกเขียนสรุปความจากข้อความที่กาหนดให้ ๑) ก. ...ศีลแปลว่า ปกติ, สารวม ผู้มีศีลจึงเรียกได้ว่าผู้สารวม, ผู้เป็นปกติ ศีลนั้นมีหลายระดับสาหรับ บุคคลที่มีสถานะและภูมิธรรมต่างกันไป ศีล ๕ เป็นศีลเบื้องต้นสาหรับคนทั่วไป ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล เป็นศีล สาหรับอุบาสก, อุบาสิกาที่สมาทานเพื่อรักษาศีลในวันอุโบสถหรือวันพระ ศีล ๑๐ เป็นศีลสาหรับสามเณรหรือผู้ถือ บวชบางกลุ่ม ศีล ๒๒๗ เป็นศีลสาหรับพระภิกษุ ศีล ๓๑๑ เป็นศีลสาหรับภิกษุณี ศีลนั้นเป็นพื้นฐานหรือเป็น รากฐานของการสร้างกุศลทั้งปวง เช่น ในศีล ๕ อันประกอบด้วย การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์, การงดเว้นจาก การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม, การงดเว้นจากการพูดปด, การงดเว้น จากการดื่มน้าเมา โดยศีล ๕ นี้เรียกอีกอย่างว่านิจศีล เพราะเป็นศีลที่เราควรรักษาให้บริสุทธิ์เป็นนิตย์ จะเห็นได้ว่า ศีลทั้ง ๕ นี้จะตรงกับหลักธรรมอื่น ๆ หลายหมวด เช่น ในกายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และในมรรคมีองค์ ๘ ก็มี หัวข้อธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศีลหลายประการ ในการที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั้นอาศัยสติคอยเตือนไม่ให้ล่วงศีล... ข. ...สติ คือ ความระลึกได้ ข้อที่ว่าเป็นเครื่องตื่นในโลกนั้นหมายความว่าบุคคลผู้มีสติ จะเป็นผู้ที่ รู้ตัวอยู่เสมอว่ากาลังทาสิ่งใดอยู่ ทาการงานสิ่งใดก็ไม่ผิดพลาด ส่วนอีกความหมายหนึ่งยังหมายถึงการมีใจจดจ่อ อยู่ในงานหรือสิ่งที่กาลังทาอยู่ เหตุเพราะว่าจิตของเรานั้นจะไม่หยุดนิ่งอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดนานนัก ดังนั้นหากเรามี สติคอยกากับการงานหรือกิจกรรมนั้นก็จะไม่เกิดความผิดพลาด ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นเมื่อเรามีสติคอยกากับก็ จะช่วยไม่ให้เรากระทาการสิ่งใดที่ล่วงศีลดังนี้แล้ว ศีลก็จะบริสุทธิ์อยู่ได้...